-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ผมสงสัยจริงๆ (เรื่องอ้อย) ........................ BBEAM
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 14 ก.ค
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 14 ก.ค

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 14/07/2011 7:54 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 14 ก.ค ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 14 ก.ค.


***********************************************

สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ.....

กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.10–09.00 และ 20.05-20.30 ทุก2วัน

เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว
ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

**********************************************




จาก : (081) 849-43xx
ข้อความ : ลุงคิมคะ นาหนูอยู่ตลิ่งชัน ตอนนี้มีหนอนกอระบาด อยากถามประสบการณ์ของลุงคิม ใช้ยาตัวไหนดีคะ...ขอบคุณค่ะ


ตอบ :
- ถามสั้นจัง แบบนี้ตอบยาวเขียนหนังสือได้เป็นเล่มเลย รู้มั้ย
- แล้วรู้ได้ไงว่าเป็หนอนกอ ถ้ารู้จักหนอนกอ ก็น่าจะรู้วิธี ป้องกันกำจัด ด้วยนะ ถึงจะเรียกว่ารู้จริงเอางี้ ไหนก็ไหนๆ เลยตามเลย หนอนกอก็หนอนกอ ถามหนอนกอก็จะตอบหนอนกอ เอางี้นะ

สังเกตุ :
1. มีฝูงนกนางแอ่นถลาลมบินโฉบไปโฉบมาเหนือแปลงข้าว แล้วก็โฉบลงไปที่ต้นข้าว นั่นแหละ นกมันโฉบกินแม่ผีเสื้อของหนอนกอที่กอละ
2. สำรวจต้นข้าวบางต้น ใบธงหรือในที่อยู่ด้านในสุดของกอ อยู่กลางกอเลย มีสีเหลืองซีด ให้ถอนข้าวต้นนั้นขึ้นมา แล้วผ่าตามยาวของต้น ให้เห็นใจกลางกอ ก็จะเห็นมีตัวหนอนสีขาวๆ ขนาดปลายไม้จิ้มฟัน ยาวซักครึ่ง ซม. อยู่ในนั้น นั่นแหละ หนอนกอของแท้

วิธีกำจัด :
ใช้สารสกัดหัวกลอยสด 50-100 ซีซี./น้ำ 20 ล. อย่างเดียวเดี่ยวๆ ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง ฉีด 3 รอบ แบบวันเว้นวัน จะช่วยขับไล่แม่ผีเสื้อไห้หนีไป

อันนี้รู้ได้ไงว่าแม่ผีเสื้อหนีไปแล้ว ก็สังเกตุที่นกนางแอ่นถลาลมอีกนั่นแหละ เมื่อไม่มีนกบินโฉบไปโฉบมาอยู่อีกก็แสดงว่า ไม่มีมีเหยื่อแม่ผีเสื้ออยู่ในแปลงนาอีกแล้วไงล่ะ....


คลิกไปดูรายละเอียดเรื่องหนอนกอข้าวต่อนะ....

http://www.brrd.in.th/rkb/data_005/rice_xx2-05_bug05.html#2

-----------------------------------------------------------------------------------------------------



จาก : (089) 529-1269
ข้อความ : ผมละสะใจจริงๆ กับคำว่า "ศาลาตอแหล" ...... จนถึงวันนี้แล้ว ชาวนาบางคนยังไม่ยอมรับความจริง วันๆเห็นนั่นคุยโม้อยู่ที่ศาลตอแหลนั่นแหละ

ตอบ :
NO COMMEN


------------------------------------------------------------------------


จาก : (085) 547-86xx
ข้อความ : วันนี้ดู ทีวี. พูดถีงข้าวดอกข่า จ.พังงา ไม่ทราบว่าลุงคิมได้ดู ทีวี.หรือเปล่า อยากให้ลุงคิมเล่าเรื่องนี้ให้ฟังบ้าง.......ขอบคุณครับ


ตอบ :
- วันนี้ไม่ได้ดู แต่เคยดูใน ทีวี.มาบ้างแล้ว
- เป็นข้าวพื้นเมืองประจำพื้นที่หรือประจำถิ่นที่มีมานานนับ 100-1,000 ปี หรือกว่านี้ เช่นเดียวข้าวพันธุ์พื้นเมืองพันธุ์อื่นๆที่มีอยู่ทั่วประเทศไทย ปกติจะมีชื่อจังหวัดต่อท้ายชื่อพันธุด้วย เช่น ข้าวดอกข่าพังงา ข้าวสังข์หยดพัทลุง ข้าวเสาไห้สระบุรี เป็นต้น

- ข้าวพื้นเมือง ก็เหมือนกับพืชพื้นเมืองอื่นๆ ทุกสายพันธุ์ ทุกชนิด คือ ไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมี แม้ไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีซึ่งเป็นสารอาหาร แต่ก็ยังต้องการสารอาหาร ดังนั้น เมื่อไม่ให้สารอาหารจากปุ๋ยเคมีก็ต้องให้สารอาหารที่เป็นสารอินทรีย์แทน และแทนในปริมาณที่เพียงพอต่อพัฒนาการด้วย.....สารอาหารที่เป็นอินทรีย์แท้ๆ ในน้ำหมักชีวิภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง (ปลาทะเล เลือด ไขกระดูก นม ไข่ น้ำมะพร้าว กากน้ำตาล สับปะรด) จึงน่าจะเหมาะสมที่สุด

- ปุ๋ยคอก ปุ่ยหมัก ยิบซั่ม กระดูกป่น ก็คือปุ๋ยอินทรีย์ที่ให้อินทรีย์สารเป็นสารอาหาร

- เป็นข้าวที่เหมาะสำหรับพื้นที่สูง เช่น เชิงเขา ไหล่เขา ซึ่งไม่มีน้ำหล่อ หลังจากปลูกแล้วควรมีการให้น้ำบ้างเป็นครั้งคราวพอหน้าดิชื้น ก็จะช่วยให้ได้ผลผลิตดีขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ




อ้างอิง :

ดอกข่า! ข้าวไร่พันธุ์ดี ของจังหวัดพังงา ควรค่าแก่การอนุรักษ์
เทคโนโลยีชาวบ้าน

อุษณี เจียมรา

ข้าว เป็นพืชอาหารหลักของคนไทย แต่พื้นที่ปลูกข้าวนับวันจะลดน้อยถอยลงไปทุกปี เนื่องจากปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการขยายตัวของชุมชนเมือง การเปลี่ยนพื้นที่ไปทำสถานที่ท่องเที่ยว การเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกพืชชนิดอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า โดยเฉพาะพื้นที่ในภาคใต้

แต่สำหรับจังหวัดพังงายังมีพี่น้องเกษตรกรกลุ่มหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการปลูกข้าว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าวไร่ เนื่องจากสภาพพื้นที่เหมาะสม โดยการปลูกระหว่างแถวยางพาราและปาล์มน้ำมันที่ปลูกใหม่ – 3 ปี พันธุ์ข้าวที่ปลูก ได้แก่ พันธุ์ดอกข่า พันธุ์อ่อนยายยอ ข้าวเหลือง และข้าวเข็มเงิน

ในที่นี้จะขอกล่าวถึง ข้าวดอกข่า ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง คุณภาพดี ของจังหวัดพังงา ที่พี่น้องเกษตรกรนิยมปลูกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นพันธุ์ดั้งเดิมสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ นอกจากจะปลูกไว้บริโภคภายในครัวเรือนแล้ว ยังจำหน่ายเป็นรายได้ให้กับครอบครัว ในราคาตันละ 20,000-25,000 บาท

ลักษณะประจำพันธุ์
ระยะแตกกอเต็มที่
- มีขนบนแผ่นใบ
- สีของแผ่นใบมีสีเขียว
- สีของกาบใบมีสีเขียว
- มุมของยอดแผ่นใบตั้งตรง
- สีของลิ้นใบมีสีขาว
- รูปร่างของลิ้นใบมีลักษณะแหลม
- หูใบมีสีเขียวอ่อน
- ข้อต่อใบมีสีเขียวอ่อน

ระยะออกรวง
- เส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้น 2.6 มิลลิเมตร
- ปล้องมีสีเขียว
- ทรงกอตั้ง
- ยอดเกสรตัวเมียมีสีขาว
- กลีบรองดอกสีฟาง
- ไม่มีหางข้าว

ลักษณะเด่น
ข้าวดอกข่า เป็นข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองที่มีความต้านทานต่อโรค เมล็ดยาว สีของเมล็ดข้าวสารมีสีน้ำตาลแดงอมม่วง เมื่อสุกจะมีกลิ่นหอม คล้ายกลิ่นใบเตย รสชาติอร่อย ข้าวไม่แข็ง หุงขึ้นหม้อ

วิธีการปลูก
ใช้วิธีการหยอดหลุม วิธีนี้ใช้กันทั่วไป เหมาะกับทุกสภาพ โดยเฉพาะพื้นที่ลาด โดยการทำไม้สำหรับเจาะหลุม เรียกว่า ไม้สัก ยาวประมาณ 2 เมตร เป็นลักษณะกลมพอเหมาะกับมือ เจาะหลุมให้ลึก ประมาณ 3 เซนติเมตร ขนาดหลุมกว้าง 1 นิ้ว ระยะห่างของหลุม ประมาณ 25 X 25 เซนติเมตร หลังจากนั้น หยอดเมล็ดข้าวลงในหลุมทันที ซึ่งเกษตรกรใช้กระบอกไม้ไผ่หรือกระบอกที่ทำจากท่อ พีวีซี นำเมล็ดข้าวใส่แล้วหยอด หลุมละ 5-8 เมล็ด กลบดินปากหลุมด้วยกระบอกที่ใส่ข้าวปลูก เมื่อฝนโปรยลงมาหรือเมล็ดได้รับความชื้นจากดินก็จะเจริญเติบโตเป็นต้นข้าวให้ผลผลิตต่อไป การปลูกข้าวไร่ เกษตรกรจะต้องหมั่นดูแลกำจัดวัชพืช เพราะในที่ดอนจะมีวัชพืชมากกว่าในที่ลุ่ม

ระยะเวลาปลูก
เริ่มปลูกเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เก็บเกี่ยวเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม

พื้นที่ปลูก ประมาณ 1,200 ไร่ อยู่ในพื้นที่ตำบลบางทอง อำเภอท้ายเหมือง และตำบลตากแดด อำเภอเมืองพังงา ผลผลิตเฉลี่ย ประมาณ 400 กิโลกรัม/ไร่

การเก็บเกี่ยว
ใช้วิธีการ “ลงแขก” ซึ่งเป็นประเพณีและภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไม่ให้สูญหายไป สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวข้าวไร่ เรียกว่า “แกระ” โดยจะเกี่ยวทีละรวง แล้วมัดเป็นกำๆ ตากแดด 3-5 วัน

คุณบุญฤทธิ์ คงเรือง หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร รักษาราชการแทนเกษตรจังหวัดพังงา กล่าวว่า จังหวัดพังงาได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้พี่น้องเกษตรกรใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในระหว่างแถวของยางพาราและปาล์มน้ำมันที่ยังเล็ก โดยการปลูกข้าวไร่ ซึ่งปริมาณการผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการภายในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับศูนย์วิจัยข้าวกระบี่ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ข้าวดอกข่า และคัดเลือกพันธุ์เพื่อจะได้พันธุ์ที่บริสุทธิ์ไว้ส่งเสริม และจะได้แจกจ่ายให้กับพี่น้องเกษตรกรเพื่อไว้ทำพันธุ์ต่อไป

คุณไมตรี เจียมรา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ประจำตำบลตากแดด อำเภอเมืองพังงา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในการส่งเสริมการปลูกข้าวไร่ ตำบลตากแดด ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ ปี 2552-2553 โดยได้ดำเนินการจัดงานคืนพันธุ์ข้าวสู่ชาวตากแดด และจัดทำแปลงสาธิตการปลูกข้าวไร่ โดยดำเนินการในกลุ่มสายใยรักแห่งครอบครัว ได้ผลตอบแทนเป็นอย่างดี ไม่มีศัตรูรบกวน ควรที่จะส่งเสริมให้พี่น้องเกษตรกรปลูกไว้บริโภคภายในครัวเรือนและจำหน่ายเป็นรายได้ให้กับครอบครัว


สอบถามเพิ่มเติม หรือซื้อผลผลิตได้ที่ คุณไมตรี เจียมรา โทร. (089) 973-2275

http://soclaimon.wordpress.com/2011/04/30/%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B8%B5/

------------------------------------------------------------------------
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©