kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 15/07/2011 5:43 am ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 15 ก.ค |
|
|
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 15 ก.ค.
***********************************************
สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ.....
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.1009.00 และ 20.05-20.30 ทุกวัน
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว
ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986
**********************************************
จาก : (088)439-21xx
ข้อความ : จิ๊บเบอเรลลิน และ ยาชูกำลังใจ ใส่ข้าวมีประโยชน์อย่างไร ? ใช้ตอนไหน ? ผมถามคนที่ใช้บอกว่าไม่รู้.....จิ๊บเบอเรลลิน มีอยู่ในน้ำมะพร้าวอ่อนต้องหมักข้ามปี หรือว่าใช้เลย คุณลุงช่วยให้ความรู้ผมที.....ขอบพระคุณมากครับ/หลานโก้
ตอบ :
- จิ๊บเบอเรลลินกันต้นข้าว น่าจะ (เน้นย้ำ...น่าจะ) ใช้ตอนต้นเล็ก ถึง แตกกอ กรณีที่ต้องการยืดลำต้นให้ยาว (สูง) อย่างที่ชาวนาพูดว่า "ข้าวพุ่ง-ข้าวพุ่ง" ดีจัง แต่ไม่คิดหรอกว่าลักษณะของต้นข้าวอย่างหนึ่ง คือ ต้นยาวรวงสั้น - ต้นข้าวสั้นรวงยาว แล้วก็ไม่เข็ดที่ว่า ข้าวต้นสูงมากจะล้ม ..... แบบนี้แล้ว จิ๊บเบอเรลลิน ดีหรือไม่ดีสำหรับต้นข้าวล่ะ
- ยาชูกำลัง-ยาชูกำลัง น่าจะเป็นคำพูดเพื่อโฆษณาชวนให้ชื้อซะมากกว่ามั้ง อันนี้ไม่รู้จริงๆว่าคืออะไร ที่จริงก็น่าจะถามย้อนไปหน่อยนะว่า ใน "ยาชูกำลัง" มันมีสารอาหารหรือฮอร์โมนพืชตัวไหน ให้มันรู้เรื่องรู้ราวกันไปเลย คนไม่รู้ (ไม่ใช่คนโง่) เท่านั้นที่หลงเชื่อคำพูดพวกนี้ ยุคนี้ต้องแยกให้ออกระหว่าง "โฆษณาประชาสัมพันธ์-โฆษณาชวนเชื่อ-โฆษณาหลอกลวง-โฆษณาเกินจริง" ต่างกันยังไง
- ในน้ำมะพร้าวอ่อนมีสารจิ๊บเบอเรลลิน เป็นจิ๊บฯ อินทรีย์ หรือฮอร์โมนธรรมชาติ ปกติเขาใช้ในงานเพาะเนื้อเยื่อ นอกจากน้ำมะพร้าวอ่อนแล้ว ในเมล็ดเริ่มงอกก็มีจิ๊บเบอเรลลินเหมือนกัน ส่วนอัตราใช้ ซัก 1:500 ก็น่าจะพอแล้ว ส่วนในน้ำมะพร้าวแก่มี ไซโตไคนิน. ฟอสเฟต. กลูโคส. เอสโตรเจน. .... ทั้งน้ำมะพร้าวอ่อน นำมะพร้าวแก่ ใช้สดใหม่ดีที่สุด แต่ถ้าหมักก่อน หมักข้ามปี ก็ไม่เสียหาย ยังใช้การได้เหมือนใหม่ๆ
อ้างอิง :
การออกฤทธิ์ทางสรีรวิทยาที่สำคัญของจิบเบอเรลลิน [3]
- กระตุ้นการขยายตัวของเซลล์ โดยการเพิ่มความยืดหยุ่นของผนังเซลล์ ทำให้เซลล์มีรูปร่างยืดยาวขึ้น
- กระตุ้นการเจริญของรากโดยเฉพาะการเจริญของรากแรกเกิด (Radicle)
- รากต้องการจิบเบอเรลลินในปริมาณที่น้อยกว่าลำต้น เช่น รากต้องการ GA3 ในระดับนาโนโมลาร์ แต่ยอดต้องการในระดับไมโครโมลาร์ [4]
- จิบเบอเรลลินมีผลต่อพัฒนาการของดอกโดยเฉพาะพัฒนาการของก้านชูเกสรตัวผู้และกลีบดอก บริเวณที่มีการสร้างจิบเบอเรลลินมากในดอก คือ ผนังของอับละอองเรณูและในละอองเรณู การสร้างจิบเบอเรลลินในอับละอองเรณูนี้จะควบคุมพัฒนาการของดอกทั้งหมด
- กระตุ้นการติดผล ในพืชหลายชนิด เช่น ส้ม มะเขือเทศ องุ่น การได้รับจิบเบอเรลลินช่วยให้เกิดการติดผลโดยไม่ต้องผสมเกสรได้
- กระตุ้นการงอกของเมล็ด แสงสีแดงกระตุ้นการงอกของเมล็ดได้โดยกระตุ้นให้มีการสร้างจิบเบอเรลลินมากขึ้น และส่งผลต่อการตอบสนองของเนื้อเยื่อต่อจิบเบอเรลลิน พืชบางชนิดเช่น Arabidopsis และผักกาดหอม ซึ่งต้องการแสงสว่างในการงอก การเพิ่มจิบเบอเรลลินจะส่งผลต่อการงอกของพืชเหล่านี้เช่นเดียวกับการได้รับแสงสว่าง[5]
- การเปลี่ยนเพศดอก จิบเบอเรลลินช่วยทำให้พืชตระกูลแตง หรือพืชที่แยกดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย เกิดดอกตัวผู้มากขึ้นได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงพันธุ์พืช
- การกระตุ้นการพักตัวของพืช จิบเบอเรลลินช่วยทำลายระยะพักตัวของพืชทั้งการพักตัวของตาและเมล็ด โดยข่มฤทธิ์ของ ABA ซึ่งทำให้เกิดระยะพักตัว
- หลังการงอก จิบเบอเรลลินสนับสนุนการยืดตัวของข้อและการแผ่ขยายของใบ
- กระตุ้นการทำงานของแคมเบียมในพืชหลายชนิด เช่น แอพริคอด บีโกเนีย และมันฝรั่ง
- ควบคุมให้พืชอยู่ในสภาวะอ่อนวัย เช่น การทำให้ใบของ Hedera helix คงอยู่ในสภาพของใบในระยะอ่อนวัย ซึ่งมีความสวยงามกว่าใบในระยะเต็มวัยพร้อมสืบพันธุ์ได้
- กระตุ้นการออกดอก การได้รับจิบเบอเรลลินสามารถทดแทนความต้องการช่วงแสงยาวในช่วงกลางวันของพืชวันยาว และความต้องการความหนาวเย็นก่อนออกดอกของพืชได้
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99
กรดจิบเบอเรลลิคที่พบในอาหารเลี้ยงเชื้อรานั้นมีโครงสร้างทางเคมี และกิจกรรมทางชีววิทยาเหมือนกับกรดจิบเบอเรลลิคในพืชปกติทุก ๆ ชนิด (พืชปกติหมายถึงพืชที่ไม่เป็นโรค) มีสารประกอบประเภทนี้จำนวนมากที่แยกเป็นสารบริสุทธิ์ได้จากพืชชั้นสูง ในปัจจุบันมีจิบเบอเรลลินซึ่งเป็นชื่อเรียกทั่ว ๆ ไปของสารประกอบประเภทนี้ ประมาณไม่น้อยกว่า 80 ชนิด ชื่อเรียกสารประกอบชนิดนี้จะตั้งชื่อดังนี้ คือ Gibberellins A1 (GA1), A2, A3 เป็นต้น โดยที่กรดจิบเบอเรลลิค คือ GA3
http://web.agri.cmu.ac.th/hort/course/359311/PPHY10_hormone.htm
--------------------------------------------------------------------------------------
จาก : (089)809-76xx
ข้อความ : ขอให้ลุงคิมพูดเรื่องทำให้ใบมะเขือที่แก่ร่วง แต่ ดอก-ผล ไม่ร่วง....ขอบคุณครับ
ตอบ :
มะเขือไม่ใช่ไม้ประเภท ต้องทำให้ใบแก่ร่วงก่อนจึงจะออกดอก ที่ร่วงน่ะ มันร่วงของมันเอง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน กลุ่มสร้างใบ กับกลุ่มสร้างดอก ภายในต้น
คุณใช้ฮอร์โมนไข่ไทเป.นั่นแหละ ในนั้นมีสารอาหาร (ปุ๋ย) กลุ่มสร้างตาดอกพร้อมกับกลุ่มยับยั้งการแตกใบอ่อน หรือแตกใบอ่อน (ยอด) อยู่แล้ว เมื่อมะเขือต้นใดได้รับสารอาหารสองกลุ่มนี้แล้วจะมีดอกตามมาเอง.....ไม่ใช่แค่นี้นะ ปัจจัยเรื่อง "ดิน-น้ำ-แสงแดด/-อุณหภูมิ/สายพันธุ์-โรค" ก็มีส่วนเกี่ยวด้วย เพราะถึงอย่างไร ฮอร์โมนไข่ไทเป.ไม่ใช่ปุ๋ยวิเศษ
มะเขือไม่เหมือนพริก.....ถ้าพริกบ้าใบ ให้เด็ดใบแก่โคนกิ่งทิ้งซัก 1 ใน 4 ของจำนวนใบในกิ่งนั้น จากนั้นให้ฮอร์โมนไข่ไทเปเข้าไป รับรองออกไม่เลิกแน่คราวนี้
--------------------------------------------------------------------------------------
จาก : (081)103-26xx
ข้อความ : ใช้สูตร 1:3:5 หรือ 6-20-30 กับมะเขือดกมากครับ ติดยันดอกตัวผู้ ผมเรียกมันว่าสูตร "โคตรดก" ครับ .... (อ๋อง เมืองกาญน์)
ตอบ :
THANK YOU......VERY GOOD
-------------------------------------------------------------------------------------- |
|