-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-* นานาสาระเรื่องเกษตร
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 38, 39, 40 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 27/10/2011 1:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 39

ลำดับเรื่อง.....


987. ยูเอ็น ชี้โลกในอนาคต ขาดแคลนอาหาร อย่างหนัก
988. วุ้นมะพร้าว เพิ่มมูลค่า ด้วยการหมัก
989. การใช้เชื้อรามาช่วยผลิตไบโอดีเซล
990. อ้อย-พืชสงกรานต์ลดโลกร้อน

991. วิกฤติอาหารโลก อานิสงส่งออกไทย...
992. ชาวนาพิจิตรสู้ภัยแล้ง ปลูกถั่ว ขายถังละ 600
993. การเลี้ยงเป็ดในโรงเรือนระบบปิด
994. เทคนิคเตรียมดินสมัยใหม่ ลดต้นทุน-เพิ่มผลผลิต ต่อไร่
995. เทคโนโลยีชีวภาพกับการเพิ่มผลผลิตพืชน้ำมัน

996. เทคนิคการปลูกข้าว โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์
997. ปลูกอ้อย ระบบ "น้ำหยด" เทคนิคง่ายๆ เพิ่มผลผลิต
998. ปรับปรุงพันธุ์พืช เพิ่มผลผลิตด้วยเทคนิค Ion beam bio-engineering
999. แตงหวาน (แคนตาลูป)
1,000. มทส.เผยเทคนิค เพิ่มผลผลิตปลูกอ้อย

1,001. 9 สิ่งมหัศจรรย์ เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดิน
1,002. ปุ๋ยชีวภาพ : เพื่อการเพิ่มผลผลิตให้แก่พืช
1,003. การผลิตและการเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าวสาลี อ.บ่อเกลือ จ.น่าน
1,004. ความนิยมมกับการปลูกผักระบบเกษตรอินทรีย์ในปัจจุบัน
1,005. ความหลากหลายของราแมลงในประเทศไทย

1,006. ชีวินทรีย์ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
1,007. การเหนี่ยวนำให้เกิดการตกไข่ของโคนม
1,008. เทคโนโลยีย้ายฝากตัวอ่อนโคนม
1,009. พาหะของไวรัสทอร่าในกุ้งขาว
1,010. สวทช.จับมือเอกชนพัฒนาพันธุ์พืชเศรษฐกิจไทย

1,011. การบำรุงดิน และการใส่ปุ๋ย สวนผลไม้

----------------------------------------------------------------------------------------------






987. ยูเอ็น ชี้โลกในอนาคต ขาดแคลนอาหาร อย่างหนัก







อนาคตโลกจะประสบกับปัญหาการขาดแคลนอาหาร เพราะจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว ส่งผลให้ราคาอาหารทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ และสูงกว่าปีที่ผ่านมาถึง 39% "ส่งออก" พร้อมหาช่องทางใหม่ เพิ่มผลการผลิต และรักษาคุณภาพอาหาร

จากที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization : FAO) และองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development : OECD) คาดการณ์ว่าในช่วง 10 ปีนี้ราคาเมล็ดธัญพืชจะสูงขึ้นเป็น 20% ราคาเนื้อจะสูงขึ้น 30% และการผลิตอาหารจะต้องเพิ่มขึ้นเป็น 70% ในปี 2050 เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น

เอฟเอโอ มีรายงานว่า ราคาอาหารที่สูงขึ้นเป็นผลมาจากผลผลิตที่ล้มเหลวในหลายภาคส่วนของโลก จากสภาวะอากาศ แปรปรวน ภาวะน้ำท่วมในหลายภูมิภาคของโลก เหตุไฟไหม้ใหญ่ที่รัสเซีย รวมถึงประชากรโลกเพิ่มปริมาณมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเกิดใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน และอินเดีย ชนชั้นกลางในประเทศเหล่านี้เมื่อเพิ่มจำนวนมากขึ้น มีรายได้ความเป็นอยู่ดีขึ้น การบริโภคจึงเน้นอาหารที่มีคุณภาพมากขึ้น โดยเฉพาะความนิยมบริโภคเนื้อสัตว์จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตอาหารไปทั้ง ระบบ กล่าวคือ จากจำนวนแคลอรี่ที่เท่ากัน แคลอรี่จากเนื้อสัตว์จะมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าเมล็ดพืชมาก อีกทั้งจะต้องผลิตถั่วเหลืองและข้าวโพดเพิ่มขึ้นเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์อีกด้วย

นอกจากนี้ ราคาพลังงานยังมีส่วนสำคัญที่ทำให้ต้นทุนอาหารเพิ่มขึ้น เพราะน้ำมันคือองค์ประกอบสำคัญที่ซ่อนอยู่ในทุกกระบวนการผลิต ตั้งแต่การใช้เครื่องยนต์ในการทำไร่ไถนา การใช้ปุ๋ยเคมีที่ได้จากปิโตรเลียม การขนส่ง การปรุงอาหาร ในขณะที่โลกต้องประสบวิกฤติพลังงานอย่างหนักอยู่แล้ว ราคาพลังงานที่สูงขึ้น ทำให้หลายประเทศหันมาส่งเสริมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพเป็นพลังงานทาง เลือก และด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดการแย่งชิงพื้นที่เพาะปลูกเพื่อนำไปผลิตพลังงานแทน ที่จะใช้ผลิตอาหาร นอกจากน้ำมันแล้ว น้ำก็เป็นต้นทุนที่สำคัญในกระบวนการผลิตอาหาร แม้ว่าจะสามารถวางแผนระบบชลประทานเพื่อรองรับกับการทำการเกษตรไว้แล้ว แต่ก็ยังส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นอยู่ดี

เอฟเอโอ พยากรณ์ว่าในช่วง 10 ปีข้างหน้านี้ราคาอาหารโลกโดยเฉลี่ยน่าจะสูงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการอาหารและต้นทุนอาหารที่สูงขึ้น อีกทั้งราคาอาหารในทศวรรษหน้าจะยิ่งมีความผันผวนมากขึ้น จากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งทั่วโลก อย่างไรก็ตาม FAO ได้ให้ความสำคัญและส่งเสริมให้เกิดการลงทุนทั้งด้านการผลิต การวิจัยเพื่อรักษาพื้นที่การเกษตรเอาไว้ การเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นทันกับความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งการหารือร่วมกันถึงวิธีการเก็บสต็อกสินค้าเกษตรและอาหารเอาไว้ใช้ใน ยามจำเป็น



นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า

จากแนวโน้มความรุนแรงของความมั่นคงทางด้านอาหารที่เกิดขึ้นทั่วโลก จะทำให้ราคาสินค้าเกษตรไทยในภาพรวมสูงขึ้นประมาณ 10% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และหากเกิดปัญหาภัยพิบัติ เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม โรคระบาดซ้ำอีกครั้งในช่วงฤดูกาลเพาะปลูกที่เริ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคมเป็นต้น ไป จะส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรในภาพรวมสูงพุ่งสูงขึ้นไปอีก โดยคาดว่ายอดส่งออกอาหารในปี 2554 จะมีมูลค่ากว่า 855,000 ล้านบาท มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 6.5 ใกล้เคียงกับปี 2553 ที่มีอัตราเติบโตร้อยละ 6.4 ชี้ได้ถึงอานิสงส์เศรษฐกิจโลกขยายตัวร้อยละ 4.4 และภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้มีความต้องการอาหารเพิ่มสูงขึ้น

ขณะเดียวกันก็อาจต้องเผชิญปัจจัยเสี่ยงด้านวัตถุดิบขาดแคลนและมีราคาแพง จากความแปรปรวนของสภาพอากาศและราคาพลังงาน ทั้งภาวะเงินเฟ้อ และแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยล้วนกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ได้ทั้งสิ้น ผู้ประกอบการไทยควรทำแผนบริหารความเสี่ยงจากสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพื่อให้รับมือได้ทัน นอกจากนี้ ควรจับตาวิกฤตินิวเคลียร์ในญี่ปุ่นและภูมิอากาศแปรปรวนซึ่งเป็นโอกาสส่งออก อาหารไทยทั้งสิ้น

จากข้อมูลพบว่า การนำเข้าอาหารของญี่ปุ่นในปี 2553 ญี่ปุ่นนำเข้าอาหารจากทั่วโลกมูลค่า 51,327 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสหรัฐอเมริกาเป็นแหล่งนำเข้าอาหารสำคัญอันดับ 1 มูลค่าถึง 12,070 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 24% ของมูลค่าที่ญี่ปุ่นนำเข้าจากทุกแหล่ง จีนมีสัดส่วน 14% ส่วนไทยมีสัดส่วน 6.6% (มูลค่าสินค้าอาหารจากไทยมีมูลค่า 3,383 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

ความต้องการอาหารที่มากขึ้น จึงสวนทางกับปริมาณการผลิตที่ไม่สามารถรองรับความต้องการดังกล่าวได้


ด้วยข้อจำกัดมากมายทั้งในแง่พื้นที่ ปริมาณน้ำ คุณภาพดิน เทคโนโลยีที่นำมาใช้ ในอนาคตอันใกล้โลกจึงมีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนอาหารเข้าขั้นรุนแรง ทางออกของวิกฤตินี้จึงอยู่ที่การหาวิธีการใหม่ๆ มาเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น หากเราสามารถบริหารจัดการระบบการผลิตได้อย่างมีคุณภาพครอบคลุมทั้งระบบ โอกาสการต่อรองในตลาดก็ย่อมมีสูงขึ้น



ประเทศไทยจะมีความมั่นคงทางด้านอาหารและสามารถเพิ่มผลผลิตป้อนประชากรโลกได้ ทันต่อความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี



อนาคตนอกจากจะต้องเผชิญปัญหาด้านพลังงานที่มีอยู่อย่างจำกัดและใกล้หมดลง ยังต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนอาหารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประเทศไทยในฐานะที่เป็นฐานผลิตอาหารแหล่งสำคัญป้อนประชากรโลก มีความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์และสภาพอากาศที่เหมาะสมสำหรับการทำ เกษตรกรรม ควรเตรียมความพร้อมโดยเฉพาะแผนการผลิตในภาพรวมให้สอดคล้องกับฤดูกาลหรือสภาพ อากาศที่เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานระบบน้ำให้พอเพียง เน้นการวิจัยเพื่อหาพันธุ์พืชที่ทนแล้ง ต้านทานโรคระบาด ศึกษาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิต สนับสนุนการนำไบโอเทคโนโลยีมาใช้ในภาคเกษตรมากขึ้น และหากเราสามารถบริหารจัดการระบบการผลิตได้อย่างมีคุณภาพครอบคลุมทั้งระบบ โอกาสการต่อรองในตลาดก็ย่อมมีสูงขึ้น ประเทศไทยจะมีความมั่นคงทางด้านอาหารและสามารถเพิ่มผลผลิตป้อนประชากรโลกได้ ทันต่อความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี" นางนันทวัลย์ กล่าวเพิ่มเติม



ที่มา http://news.thaipbs.or.th

http://variety.thaiza.com[/color]


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:51 am, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 27/10/2011 2:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

988. วุ้นมะพร้าว เพิ่มมูลค่า ด้วยการหมัก





วุ้นมะพร้าว หรือ วุ้นสวรรค์ หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “NATA de coco” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกระบวนการหมักน้ำมะพร้าว ซึ่งเป็นของเหลือทิ้งทางการเกษตร โดยกิจกรรมของแบคทีเรียกรดน้ำส้ม (Acetic acid bacteria) ที่พบได้ทั่วไปในการทำน้ำส้มสายชูหมักตามธรรมชาติ แบคทีเรียกรดน้ำส้มนี้มีชื่อเรียกว่า Acetobacter xylinum ผลผลิตจากกระบวนการหมักของแบคทีเรียกรดน้ำส้มนี้คือ โพลิแซคคาร์ไรด์ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “วุ้นน้ำมะพร้าว (วุ้นสวรรค์)” นั้นเอง แผ่นวุ้นนี้เป็นเซลลูโลส (Bacterial cellulose) ซึ่งเป็นพอลิเมอร์ของน้ำตาลกลูโคสเรียงต่อกันเป็นสายยาวด้วยพันธะเบต้า -1,4 ไกลโคซิดิค (B-1,4 glycosidic bond) และกรดน้ำส้ม (กรดอะซิติก) ซึ่งมีรสเปรี้ยว

จากคุณสมบัติ และลักษณะโครงสร้างทางเคมีของวุ้นน้ำมะพร้าวนี้ เมื่อมนุษย์รับประทานเข้าไป ในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์จะไม่มีน้ำย่อยหรือเอนไซม์ใดๆ ที่สามารถย่อย สลายวุ้นน้ำมะพร้าวนี้ได้ ดังนั้น วุ้นน้ำมะพร้าวจึงถูกจัดเป็นสารอาหารประเภทเส้นใยอาหาร (Dietary fiber)

จากคุณสมบัติดีเด่นของวุ้นน้ำมะพร้าวจึงมีผู้นิยมบริโภค โดยใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารเพื่อการลดน้ำหนัก และเป็นประโยชน์ในด้านการส่งเสริมและ/หรือช่วยระบบขับถ่าย ตลอดจนสามารถนำมาแปรรูป/ประยุกต์ใช้เป็นอาหาร และ/หรือส่วนประกอบของอาหารคาวหวานได้มากมายหลายชนิด เช่น ยำ หรือใช้ แทนปลาหมึก หรือแมงกะพรุนในอาหารประเภทต่างๆ วุ้นลอยแก้ว รวมมิตร โยเกิรต์ ไอศกรีม และเยลลี่ เป็นต้น


ปริมาณและสารอาหารในวุ้นมะพร้าว ประกอบด้วย
• น้ำ 94.40 %
• ไขมัน 0.05 %
• ไฟเบอร์ 1.10 %
• เถ้า 0.77 %
• คาร์โบไฮเดรต 3.00 %
• แคลเซียม 34.50 มิลลิกรัม/100 กรัม
• เหล็ก 0.20 มิลลิกรัม/100 กรัม
• ฟอสฟอรัส 22.00 มิลลิกรัม/100 กรัม
• ไทอามีน 0.01 มิลลิกรัม/100 กรัม
• ไรโบเฟลวิน 0.06 มิลลิกรัม/100 กรัม
• ไนอาซีน 0.22 มิลลิกรัม/100 กรัม
(ข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์บริการ,2518)



การผลิตวุ้นน้ำมะพร้าว (วุ้นสวรรค์)
วัตถุดิบและอุปกรณ์
การเตรียมหัวเชื้อเริ่มต้น (starter)
• น้ำมะพร้าวสดใหม่ 100 มิลลิลิตร (ซีซี.)
• น้ำตาลทราย (0.5-1.0%) 0.5-1.0 กรัม
• หัวเชื้อวุ้น Acetobacter xylinum
• ขวดแก้วสะอาด (เช่น ขวดโซดา)
• สำลีและกระดาษสมุดหน้าเหลือง/กระดาษปอนด์


การผลิตวุ้นน้ำมะพร้าว
• น้ำมะพร้าวจากผลแก่ ..................... 1 ลิตร
• น้ำตาลทราย (0.5-1.0%) ............. 50-100 กรัม
• หัวน้ำสมสายชู (5%) ................... 1 ช้อนโต๊ะ
• สารแอมโมเนียมซัลเฟต ................. 0.5-1.0 กรัม
• เหล้าขาว (เอทธานอล) ................. 100-150 00 มล.
• หัวเชื้อ A.xylinum ..................... 100-200 มล.

หมายเหตุ; * ถ้าไม่มีไม่ต้องใส่



วิธีการเตรียมหัวเชื้อเริ่มต้น
1. นำน้ำมะพร้าวและน้ำตาลทรายผสมกันตามอัตราส่วนข้างต้นผสมในหม้อ
2. ปิดฝาหม้อ ต้มให้เดือดนาน 10-15 นาที
3. นำไปบรรจุลงในขวดแก้วสะอาด ปิดปากขวดด้วยจุกสำลี
4. นำไปหล่อเย็นในอ่างน้ำ
5. เมื่อขวดอาหานเย็นแล้ว เติมหัวเชื้อวุ้นบริสุทธิ์ลงไปปิดจุกสำลีแล้วหุ้มด้วยกระดาษสมุดหน้าเหลือง หรือกระดาษหนังสือพิมพ์
6. นำไปบ่มไว้ที่อุณภูมิห้อง เป็นเวลาประมาณ 2-3 วัน เชื้อจะเจริญเติบโต โดยจะสังเกตเห็นแผ่นวุ้นขุ่นๆ เป็นชั้นบางๆ พร้อมใช้งานเพื่อเป็นหัวเชื่อเริ่มต้น


วิธีการผลิตวุ้นน้ำมะพร้าว
1. นำน้ำมะพร้าวมาผสมกับน้ำตาลทรายและแอมโมเนียมซัลเฟต ตามอัตราส่วนข้างต้น ลงในหม้อ
2. ปิดฝาหม้อแล้วต้มให้เดือดนาน 10-15 นาที
3. จากนั้นนำหม้อมาหล่อเย็นในอ่างน้ำ
4. ทิ้งไว้พออุ่นๆ จึงเติมกรดอะซิติกเหล้าขาว และหัวเชื้อวุ้นลงไป ผสมให้เข้ากัน ( ผสมทุกอย่างตามอัตราส่วนที่กำหนดและถ้าต้องการการผลิตแผ่นวุ้นหลายๆแผ่นจะ ต้องเพิ่มอัตราส่วนตามกำหนด)
5. นำถาดสเตนเลสหรือถาดพลาสติกที่เตรียมไว้ (โดยผ่านการลวกฆ่าเชื้อถาดด้วยน้ำร้อนเรียบร้อยแล้ว ปิดถาดด้วยกระดาษปอนด์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยการใช้เตารีดร้อนๆ)
6. เปิดกระดาษออกเล็กเล็กน้อย เพื่อเติมอาหารเลี้ยงเชื้อวุ้นข้างต้นลงไปในถาดโดยให้มีความสูงประมาณ 3-4 ซม. จากก้นถาด
7. ปิดด้วยกระดาษเหมือนเดิมเพื่อป้องกันฝุ่นหรือเชื้ออื่นลงไป แต่อากาศยังสามารถผ่านเข้าออกได้
8. นำไปวางไว้ในห้องบ่มเลี้ยงเชื้อเป็นระยะเวลา 7-14 วันโดยประมาณ หรือทำการเลี้ยงเชื้อจนกระทั่งอาหารเกือบแห้งจะได้แผ่นวุ้นที่มีความหนา ประมาณครึ่งหนึ่งของความสูงของอาหารเลี้ยงเชื้อ


ข้อควรระวัง
ในระหว่างบ่มเลี้ยงเชื้อห้ามย้ายและกระทบกระเถือนถาด โดยแผ่นวุ้นที่ผลิตได้จะมีกลิ่นเปรี้ยวเนื่องจากเชื้อวุ้นจะผลิตกรดน้ำส้ม (กรดอะซิติก) ซึ่งมีรสเปรี้ยวออกมาด้วย

หมายเหตุ
น้ำหมักส่วนที่เหลือจากการเก็บผลผลิต (แผ่นวุ้น) ออกไปแล้ว สามารถนำไปเป็นหัวเชื้อเริ่มต้นสำหรับการหมักครั้งต่อไปได้ หรือนำมากรองแล้วนำไปต้มพอเดือดเพื่อแปรรูปเป็นน้ำส้มสายชูหมักสำหรับปรุง อาหารได้


การแปรรูป
ก่อนนำมาประกอบอาหารหรือแปรรูป ต้องล้าง กรดออกให้หมดก่อน โดยนำแผ่นวุ้นทั้งแผ่น หรือตัดแผ่นวุ้นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมขนาดพอคำหรือเป็นเส้นๆก่อน แล้วนำมาแช่ในน้ำสะอาดนานประมาณ 2-3 คืนโดยหมั่นเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆ หรือเปลี่ยนถ่ายน้ำที่แช่วันละ 2 ครั้ง (เช้าเย็น) กลิ่นกรดและรสเปรี้ยวก็จางหายไป นำวุ้นข้างต้นขึ้นผึ่งให้สะเด็ดน้ำเพื่อเป็นวัตถุดิบในการแปรรูปเป็นอาหาร คาว หวาน ต่อไป หรือนำบรรจุขวดแก้วปิดผาสนิท แล้วนำไปต้มฆ่าเชื้อในน้ำเดือดนาน 30 นาที ตั้งทิ้งไว้ให้เย้นสามารถเก็บไว้บริโภคไว้ได้

เขียนโดย : อลิสรา คูประสิทธิ์


ที่มา:tist.or.th สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

http://supercheng.tv


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:52 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 27/10/2011 2:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

989. การใช้เชื้อรามาช่วยผลิตไบโอดีเซล






ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงที่ผลิตได้โดยใช้วัตถุดิบจากไขมันสัตว์หรือน้ำมัน จากพืชหลายชนิด เช่น ปาล์ม มะพร้าว สบู่ดำ งา น้ำมันพืชใช้แล้ว ฯลฯ โดยผ่านกระบวนการทำให้โมเลกุลเล็กลงจนอยู่ในรูปของเมทิลเอสเตอร์ (Methyl esters) ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล จากนั้นจึงนำมาแยกกลีเซอรีนออกและผ่านกระบวนการ Wash เพื่อกำจัดแอลกอฮอล์และสารเคมีอื่น ๆ ที่ตกค้าง จึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์กับเครื่องยนต์ดีเซลรอบต่ำเพื่อทดแทนการใช้น้ำมัน เชื้อเพลิงได้

ในกระบวนการผลิตไบโอดีเซลนั้นจำเป็นต้องใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาจากสารเคมีประ เภทโซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ การใช้สารเคมีดังกล่าวนอกจากจะได้เมทิล เอสเตอร์แล้ว ยังมีผลพลอยได้ในรูปของกลีเซอรีน แต่กลีเซอรีนที่ได้จากกระบวนการดังกล่าวนั้นมีสารเคมีเจือปนอยู่มาก จึงยังไม่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้เท่าที่ควร ซึ่งหากเป็นกลีเซอรีน บริสุทธิ์ก็จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์อุตสาหกรรมการผลิตสบู่ได้ในแต่ละปีจึงมีกลีเซอรีนจำนวนไม่น้อยที่ถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์

นักวิจัยจากทั่วโลกต่างให้ความสนใจศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพที่สกัดได้ จากธรรมชาติ โดยจะนำมาใช้ทดแทนสารเคมีในกระบวนการผลิตไบโอดีเซล ซึ่งถือเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยให้ได้กลีเซอรีนบริสุทธิ์ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ต่อไปได้ และป้องกันการปล่อยทิ้งกลีเซอรีนที่มีสารเจือปนออกสู่ธรรมชาติ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามมาในอนาคต

จนกระทั่งทีมวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เพื่อทำวิจัยค้นหาตัวเร่งปฏิกิริยาจากชีวภาพ ทีมวิจัยค้นหาตัวเร่งปฏิกิริยาจากชีวภาพ ทีมวิจัยใช้เวลาเพียง 3 ปี ก็ประสบผลสำเร็จ (2549-2551) จนปัจจุบันทีมวิจัยสามารถสกัดเอนไซม์ชนิดหนึ่งจากธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพ สามารถใช้ทดแทนสารเคมีได้ อีกทั้งกลีเซอรีนที่ได้จากการผลิตไบโอดีเซลนั้นยังมีความบริสุทธิ์อีกด้วย

รศ.ดร.วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่าทีมวิจัยจุฬาฯ ประสบความสำเร็จในการค้นพบตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพ (biocatalyst) จากวัตถุดิบที่มีในธรรมชาติอันประกอบไปด้วยแบคทีเรียในดิน จุลินทรีย์และเชื้อราที่เรียกว่า “เอนไซม์ไลเปส(lipase)” เป็นเอนไซม์ที่ใช้เร่งปฏิกิริยาการย่อยสลายไขมันได้ ผลิตภัณฑ์เป็นกรดไขมันอิสระและกลีเซอรีน นอกจากนี้ยังเร่งปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริ-ฟิเคชั่น สกัดได้จากพืช สัตว์ จุลินทรีย์ เชื้อรา และแบคทีเรีย นิยมใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมหลายประเภทได้แก่ ยารักษาโรค น้ำยาซักล้าง อาหาร เครื่องสำอาง และเชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งสามารถใช้แทนสารโซเดียมไฮดรอกไซด์หรือโปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ในกระบวนการ ผลิตไบโอดีเซลได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพดีกว่าตรงที่ได้ กลีเซอรีนที่บริสุทธิ์


enzyme lipase
“ตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพที่ค้นพบยังมีข้อจำกัดที่มีต้นทุนการผลิตค่อนข้าง สูงเมื่อเทียบการตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีที่ใช้กันอยู่ทั่วไป จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนให้ถูกลงโดยทีมวิจัยได้ ศึกษากระบวนการทำให้เชื้อสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ คาดว่าหากการทดลองในขั้นต่อไปประสบผลสำเร็จจะช่วยลดต้นทุนการผลิตไบโอดีเซล ลงได้มาก” นักวิจัยกล่าว

นอกจากนี้ทีมวิจัยยังได้ศึกษาการทำให้แบคทีเรียกลายพันธุ์ และเพิ่มความสามารถของเชื้อในการเร่งปฏิกิริยาใช้เร็วขึ้น จากเดิมต้องใช้เวลาประมาณ 1 วัน ให้เหลือเพียงครึ่งวัน ตลอดจนสามารถเร่งปฏิกิริยาได้โดยไม่ต้องพึ่งพาความร้อนและการควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยลดการใช้พลังงานในระหว่างการผลิตได้มาก อีกทั้งยังขยายกำลังการผลิตเอนไซม์จากระดับทดลองในห้องปฏิบัติการสู่ระดับ การทดลองใช้กับโรงงานต้นแบบเพื่อศึกษาประสิทธิภาพการผลิตในประมาณมาก เทียบเท่ากับการผลิตระดับอุตสาหกรรมที่ 10,000–100,000 ลิตรต่อปี ซึ่งหากผลที่ได้มีความคุ้มค่าอาจขยายผลไปสู่เชิงพาณิชย์ต่อไป



ที่มา : วารสารรักษ์พลังงาน

http://supercheng.tv


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:52 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 27/10/2011 2:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

990. อ้อย-พืชสงกรานต์ลดโลกร้อน





สำนักข่าว Reuters ตีพิมพ์เรื่อง ‘Sugarcane grown for fuel cools Brazil’s climate’ = “ปลูกอ้อยเป็นเชื้อเพลิงทำ (บรรยากาศ) บราซิลเย็น”, ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

การศึกษาใหม่ (ตีพิมพ์ใน Nature Climate Change) พบว่า การปลูกอ้อยทดแทนพืชเกษตรอื่นๆ เช่น ถั่วเหลือง ฯลฯ เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนน้ำมัน มีส่วนช่วยให้บรรยากาศโดยรอบเย็นลงได้

ภาพ แผนที่การปลูกอ้อย เดิมปลูกมากในเอเชียใต้ (แถบสีแดงอิฐหรือสีปูน = ปากีสถาน-อินเดีย), ยุคที่สองพ่อค้ามุสลิมนำไปปลูก (แถบสีเขียว)

อ้อยโตเป็นพืชตระกูลหญ้า (หญ้า-ไผ่-อ้อย-ธัญพืช เช่น ข้าว ฯลฯ) ที่โตเร็ว มีแหล่งกำเนิดในเอเชียใต้-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีหลักฐานการปลูกในปากีสถานก่อน ต่อมามีการปลูกในอินเดีย และแพร่กระจายไปทั่วโลกโดยพ่อค้ามุสลิมนำไปปลูกในอียิปต์ (ลุ่มแม่น้ำไนล์), และบริเวณใกล้ทะเลในอาฟริกาเหนือ สเปน ตะวันออกกลาง (น่าจะนำไปทางเรือทำให้มีการกระจายตามชายฝั่ง-แม่น้ำ)

อ.สกอต ลาวรี (Scott Loarie – ชื่อเป็นแบบนี้ ไม่ได้เกี่ยวกับซุปไก่หรือเพื่อนบ้านของไทย) จากสถาบันวิทยาศาสตร์คาร์เนกีกล่าวว่า อ้อยให้ประโยชน์กับทุกฝ่าย (win-win; win = ชนะ ได้รับประโยชน์) คือ ทำให้โลกหวานด้วยเย็นด้วยกลไกที่ต้นไม้ทำให้บรรยากาศรอบๆ เย็นลงได้แก่

(1). มีการดูดน้ำจากดิน และคายน้ำอออกไปในอากาศในระหว่างการสังเคราะห์แสง
(2). สะท้อน และดูดซับแสงแดด (ต้นไม้ที่มีความหนาทึบสูง หรือมีระดับต่างกันหลายชั้น เช่น ป่าทึบ ฯลฯ มีแนวโน้มจะดูดซับแสงแดดด้วย สะท้อนแสงด้วยดีกว่าบ้านเรือน หรือพืชเกษตร)

บราซิลใช้แอลกอฮอล์จากอ้อยเป็นพลังงานทดแทนประมาณ 1/4 ของน้ำมันที่ใช้ในยานพาหนะ (รถ เรือ)

การศึกษานี้พบว่า การปลูกอ้อยช่วยลดอุณหภูมิบรรยากาศรอบๆ ได้ 0.93 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับพืชเกษตรชนิดอื่น (crops), หรือทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ (pasture)

ทีนี้ถ้าเทียบความสามารถในการทำให้บรรยากาศรอบๆ เย็นลงพบว่า ป่าทำให้เย็นได้มากกว่าอ้อย 1.55 องศาเซลเซียส อ้อยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นแก๊สเรือนกระจกสำคัญที่ทำให้โลกร้อนได้มากประมาณ 20-30 เท่าของพืชเกษตรอื่นๆ เนื่องจากเป็นพืชโตเร็ว

การศึกษานี้บอกเป็นนัยว่า ถ้าเรามีการศึกษาวิจัยว่า พืชชนิดใดดูดซับคาร์บอน ไดออกไซด์ได้มากหรือน้อย อาจนำไปสู่ภาษีส่งเสริม “โลกเย็น” ได้เช่นกัน

ตัวอย่างเช่น ลดภาษีให้คนที่ปลูกต้นไม้ยืนต้น โดยเฉพาะเขตเมือง, ลดภาษีให้กับบุคคล หรือองค์กรที่ปลูกต้นไม้ยืนต้นนาน 3 ปีขึ้นไป ฯลฯ

ถึงตรงนี้… ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ



ที่มาบทความโดย : นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์

http://supercheng.tv


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:53 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 27/10/2011 2:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

991. วิกฤติอาหารโลก อานิสงส่งออกไทย...


ท่ามกลางภาวะเชื่องช้าทางเศรษฐกิจ ภัยร้ายในตลาดเงินและตลาดทุนโลก และสงครามค่าเงินยังคงมีเรื่องที่ต้องจับตาอีกประการหนึ่ง คือ ภาวะของการขาดแคลนอาหารโลก และวิกฤตราคาสินค้าอาหาร

ยิ่งเป็นช่วงที่ สภาพอากาศ และภัยธรรมชาติกำลังตอบโต้และเอาคืนประชากรโลกในเกือบทุกประเทศด้วยความ ผันผวนเช่นนี้แล้ว สินค้าหลายชนิดที่ต้องพึ่งพิงธรรมชาติและภูมิอากาศจำต้องรับผลกระทบอย่าง เลี่ยงไม่ได้

ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) คาดการณ์ราคาสินค้าจำพวกเนื้อสัตว์ น้ำตาล ข้าว ข้าวสาลี และข้าวโพด ว่ามีความอ่อนไหว และไม่แน่นอนสูง มีความเป็นไปได้มากว่าราคาจะวิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 25 ปีนี้

ปกติแล้ว ประชาชนส่วนมากในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาใช้รายได้ราว 6070% ไปกับเรื่องของอาหาร ดังนั้นภาวะการขาดแคลนซึ่งนำมาสู่ภาวะราคาสินค้าที่กระเตื้องขึ้นจะส่งผล กระทบโดยตรงต่อรายได้ และการดำรงชีวิต

กระทั่งทางเวิลด์แบงก์ต้องขยายโครงการความช่วยเหลือด้านวิกฤตอาหาร (Global Food Crisis Response Programme :GFRP) ซึ่งเป็นการมอบเงินมูลค่าถึง 760 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับหลายประเทศที่มีความเสี่ยงต่อภาวะความผันแปรของราคาอาหาร

สำทับเสียงจากทางองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) ซึ่งเกรงกระทั่งว่าจะเกิดเป็น “วิกฤต” ด้านอาหารครั้งใหญ่ นำไปสู่ภาวะราคาสินค้าที่ทะยานขึ้นเหมือนเมื่อช่วงปี 2007-2008 ที่ผ่านมา

ก่อนหน้านี้ ที่ประเทศโมซัมบิกเกิดจลาจลแย่งชิงขนมปังจนกระทั่งมีผู้เสียชีวิตถึง 12 ราย มีรายงานภาวะขาดแคลนผลผลิตข้าวสาลีในรัสเซีย เนื่องจากภาวะความแห้งแล้งเข้าเยี่ยมเยือน

แม้กระทั่งรัฐบาลอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ รวมทั้งบราซิล เคนยา ไนจีเรีย ก็แง้มเตือนประชากรในประเทศถึงความเป็นไปได้ของภาวะขาดแคลนอาหารที่อาจจะ เกิดขึ้นในช่วงปี 2554 เนื่องจากผลของความแห้งแล้ง และภาวะความเสียหายจากน้ำท่วมในปีนี้

และเชื่อว่าขณะนี้บรรดาเทรดเดอร์กำลังใช้กำลังภายในกลยุทธ์ธุรกิจเร่งสต๊อกสินค้า เพื่อปล่อยขายในช่วงที่มีราคาสูง

ทั้งนี้ ตัวเลขและการคาดการณ์ดังกล่าวมีเค้าลางความเป็นไปได้สูง ด้วยดัชนีในหลายๆ ด้าน

ดัชนีราคาสินค้าโลกเมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ขยับขึ้นราว 5% และในขณะนี้กำลังลอยอยู่ในระดับที่สูงที่สุดในรอบ 2 ปี ข้อมูลนี้เปิดเผยโดยทางสหประชาชาติ (ยูเอ็น)

ย้อนกลับไปดูทิศทางโดยรวมในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ก็จะพบว่าราคาข้าวสาลี และข้าวโพดเพิ่มสูงขึ้น 57% ขณะที่ราคาข้าวเพิ่มขึ้น 45% และราคาน้ำตาลเพิ่มขึ้น 55%

หรือกระทั่งเจาะลงไปที่ราคาของสินค้าจากภาคอื่นๆ ก็จะเห็นแนวโน้มไม่ต่างกัน

ข้าวสาลี พืชพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากข้าวโพด และข้าว โดยมีจีนเป็นผู้ครองสัดส่วนการผลิตมากที่สุด โดยในตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในชิคาโก (The Chicago Board of Trade) ก็มีสัญญาณของวิกฤต ด้วยราคาของข้าวสาลีไต่ระดับสูงขึ้นมากกว่าครึ่งนับตั้งแต่ช่วงเดือน มิ.ย.

คาร์กิลล์ บริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านการเกษตรรายใหญ่ของสหรัฐ และซูเคร เอ ดองเคร ของฝรั่งเศส สองผู้ค้าน้ำตาลทรายดิบรายใหญ่ของโลก ซึ่งครองสัดส่วนราว 1 ใน 3 ของตลาด ก็กังวลกับสถานการณ์น้ำตาลในโลกเช่นกัน โดยชี้ว่าในช่วงอีก 23 เดือนนี้ อุปทานจะลดต่ำลงมาก และจะเป็นปัจจัยที่ผลักให้ราคาน้ำตาลถีบตัวสูงขึ้นอีก จนอาจทำให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกเหยียบทำสถิติสูงสุดในรอบ 30 ปี

สำหรับตลาดข้าวทางสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (ไออาร์อาร์ไอ) เตือนว่า ภัยทางธรรมชาติทั้งภาวะน้ำท่วมในปากีสถาน ผสมปนเปกับทั้งความแห้งแล้งและน้ำท่วมในจีนจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ปริมาณผล ผลิตข้าวในตลาดโลกลดลงราว 510% ซึ่งแม้จะไม่ส่งผลรุนแรงกระทั่งดันราคาข้าวในตลาดโลกซ้ำรอยภาวะวิกฤตในปี 2008 แต่ด้วยกลไกตลาด เมื่ออุปทานลดลง ราคาก็จะผันผวน

แม้จะเป็นเรื่องที่น่าวิตกอีกประเด็นหนึ่งของโลก ที่ต้องเร่งอุดรอยรั่ว ทว่าภาวะดังกล่าวสำหรับเกษตรกรไทยแล้ว น่าจะข่าวดี และโอกาสชิ้นโต ในฐานะผู้ส่งออกสินค้าเกษตร ทั้งน้ำตาล ข้าว เป็นอันดับต้นๆ ของโลก

สิ่งที่ต้องหวังก็เพียงแต่ว่า ภัยธรรมชาติจะไม่มาย่ำยีไทยมากจนกระทั่งเสียโอกาสทองครั้งนี้ไป

เพราะที่มาของความผันผวนของราคาสินค้าโลกที่เกิดขึ้น ปัจจัยหลักล้วนมากจากสภาพอากาศที่มาลดทอนผลผลิตทั้งสิ้น

รายงานของทางยูเอ็นว่าเรื่องของภาวะภัยพิบัติในพื้นที่เอเชียแปซิฟิก แนะว่า รัฐบาลของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคต้องพัฒนาศักยภาพในการประเมินความเสี่ยง และการรับมือกับภัยพิบัติให้มากขึ้น เพราะจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจะเห็นชัดเจนมากว่า ภูมิภาคนี้มีความเสี่ยงสูงที่จะต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติที่รุนแรง และนั่นย่อมไม่ต่างจากการเอาภาวะเศรษฐกิจของประเทศเป็นตัวประกัน

โอกาสของเกษตรกรไทย บนวิกฤตราคาอาหารโลกครั้งนี้ เห็นทีจะต้องอยู่ที่การประเมินและการรับมือพิบัติภัยด้วยเป็นสำคัญ



http://www.biothai.net/news/6057
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 27/10/2011 2:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

992. ชาวนาพิจิตรสู้ภัยแล้ง ปลูกถั่ว ขายถังละ 600


ชาวนาพิจิตรนอกเขตชลประทานเจอวิกฤตภัยแล้งแต่สู้ไม่ถอย หันปลูกพืชตระกูลถั่วที่ใช้น้ำน้อย อายุสั้นเพียงแค่ 60 วัน ก็เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทั้งจังหวัดปลูกกว่า 20,000 ไร่ จังหวะโชคดีทั่วโลกวิกฤตขาดแคลนอาหาร พ่อค้าพืชไร่แห่รับซื้อถึงที่ให้ราคาสูงถึงถังละ 600 บาท นำไปทำวุ้นเส้น, ถั่วงอก และอาหารเจ

วันนี้ 21 ก.พ. 2554 นายพยุงศักดิ์ สิทธิลภ นักวิชาการชำนาญการ สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร เปิดเผยว่า

ในพื้นที่ อ.ทับคล้อ อ.ดงเจริญ อ.บึงนาราง พื้นที่กว่า 1 หมื่น 5 พันไร่ อยู่นอกเขตชลประทานจึงไม่สามารถทำนาปรัง ดังนั้น จึงส่งเสริมให้ปลูกพืชตระกูลถั่ว โดยเฉพาะถั่วเขียว ซึ่งปลูกง่าย ใช้น้ำน้อย อายุแค่ 60 วัน ก็เก็บเกี่ยวได้ อีกทั้งเป็นพืชบำรุงดินและการปลูกสลับกับการทำนาข้าว เป็นการตัดวงจรเพลี้ยกระโดดได้อีกช่องทางหนึ่ง ชาวนาจึงหันมาปลูกถั่วเขียวกันเป็นจำนวนมาก


โดย นายเชิด ปิ่นจรัล อายุ 57 ปี อยู่บ้านเลขที่ 57/1 หมู่ 9 บ้านวังหลุม ต.วังหลุม อ.ตะพานหิน และ นางณัฐยา กล้าหาญ อายุ 40 ปี อยู่บ้านเลขที่ 77 หมู่ 13 บ้านน้ำเคือง ต.ท้ายทุ่ง อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ซึ่งเป็นเกษตรกร กล่าวว่า ทำนาปรังไม่ได้เนื่องจากขาดน้ำจึงหันมาปลูกถั่วเขียว ซึ่งได้ผลผลิตไร่ละ 150 ถึง 180 กก. แต่ปีนี้โชคดีตลาดมีความต้องการสูง จึงขายได้ถึงถังละ 600 บาท ซึ่งส่วนใหญ่จะมีพ่อค้ามาขอรับซื้อถึงไร่ โดยจะนำไปแปรรูปเพื่อทำเป็นวุ้นเส้น, ถั่วงอก และอาหารเจ จึงทำให้ขายได้ราคาอย่างงดงาม ในการปลูกพืชใช้น้ำน้อยในช่วงวิกฤตภัยแล้ง ดังกล่าว


ในส่วนของนางเบี้ยว ท้าวสุข อายุ 85 ปี อยู่บ้านเลขที่ 603 หมู่ 2 บ้านวัดป่าเรไร ต.ท้ายทุ่ง อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ซึ่งมารับจ้างเก็บถั่วเขียว เปิดเผยว่า แถบนี้ทั้งตำบลเมื่อถึงหน้าแล้งก็จะแห้งแล้งมาก แต่คนแถวนี้ขยันสู้ชีวิต จะเกี่ยวข้าวเสร็จช่วงปลายเดือน พฤศจิกายน จากนั้นก็จะไถกลบตอซังข้าวและหว่านถั่วเขียวทันที เนื่องจากความชื้นในดินยังพอมีอยู่ จังหวะกับปีนี้มีฝนหลงฤดู จึงทำให้ผลผลิตงอกงาม แถมขายได้ราคาดี จนทำให้อาชีพเสริมปลูกถั่วเขียวแล้ว ได้เงินเป็นกอบเป็นกำมากกว่าการปลูกข้าวเสียอีก ส่วนตนเองก็มารับจ้างเก็บถั่วเขียวได้ค่าจ้าง กก.ละ 5 บาท วันหนึ่งๆ เก็บถั่วเขียวได้ 40-50 กก. ก็ได้ค่าตอบแทนเกือบ 200 บาท ซึ่งถือว่ามีรายได้พออยู่พอกินเพียงแค่ประหยัดก็ใช้ชีวิตในชนบทได้อย่างสุขสบาย ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของใน
หลวงที่ทรงชี้ทางสว่างให้กับคนไทยดังกล่าว



http://www.phichittoday.com/news/02.54/news21025403.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/10/2011 7:52 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 27/10/2011 3:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

993. การเลี้ยงเป็ดในโรงเรือนระบบปิด



เทคโนฯ เลี้ยงเป็ดระบบปิด อีกก้าวธุรกิจ เอส.ที.ดี.เจริญฟาร์ม



การใช้โรงเรือนระบบปิด หรืออีแวป ในการเลี้ยงสัตว์ปีกอย่างเช่น ไก่ แม้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่สำหรับการเลี้ยงเป็ดกระทงเพิ่งมีเป็นครั้งแรก หลังบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ นำเทคโนโลยีการเลี้ยงจากอิสราเอลมาใช้กับบริษัทคู่ค้าเลี้ยงเป็ดในโรงเรือน และใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการเลี้ยงในทุกขั้นตอนและสามารถตรวจสอบย้อนกลับ ได้ จนเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ

“เราลงทุนกับธุรกิจนี้ประมาณ 85 ล้าน กู้จากธนาคาร 30% และเงินส่วนตัวอีก 70% มีทั้งหมด 16 โรงเรือน โรงเรือนละ 12,000 ตัว รวม 192,000 ตัว ทางซีพีเอฟมีการประกันราคาเป็ดของเราเอาไว้ที่กิโลกรัมละ 47.67 บาท โดยมีต้นทุนต่อตัว 95 บาท รายได้เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วจะได้กำไรตัวละ 2 บาท คาดจะสามารถคืนทุนได้ภายใน 7 ปี”

อนุชา จิรายุสกมล ผู้บริหารทายาทรุ่นที่ 2 ของ เอส.ที.ดี.เจริญฟาร์ม เลขที่ 1 หมู่ 7 ต.บ่อทอง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี มองโอกาสทางธุรกิจในการเลี้ยงเป็ดกระทงด้วยระบบโรงเรือนปิด โดยก่อนที่จะเข้าร่วมเป็นบริษัทคู่ค้าของซีพีเอฟ ได้รับความเสียหายในการเลี้ยงเป็ดไม่ต่ำกว่า 5% เนื่องจากเป็นการเลี้ยงแบบฝากทุ่ง แต่หลังจากที่เข้ารับคำแนะนำและร่วมเซ็นสัญญากับซีพีเอฟ ทำให้อัตราความเสียหายลดลงไม่เกิน 2.5%

เขายอมรับว่า การตัดสินใจลงทุนฟาร์มเลี้ยงเป็ดในครั้งนี้เป็นเพราะมองเห็นโอกาสอันดีใน ธุรกิจและเชื่อมั่นในเทคโนโลยีการเกษตรที่ซีพีเอฟถ่ายทอดให้อย่างไม่ปิดบัง ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงเป็ดด้วยคอมพิวเตอร์ การปฏิบัติตามหลักเอลนิมอล เวลแฟร์ ระบบการป้องกันโรค รวมถึงการติดตามให้คำปรึกษา ตลอดจนการประกันราคาผลผลิต ทำให้ฟาร์มเลี้ยงเป็ดมีความเสี่ยงน้อยลง

สำหรับวิธีการเลี้ยงนั้นจะมีการส่งอาหารจากไซโลเก็บอาหารเป็ดความจุ 7 ตัน จำนวน 2 ใบต่อ 1 โรงเรือนตลอดเวลา เพื่อให้เป็ดมีการเจริญเติบโตเร็ว โดยมีพนักงานคอยดูแลโรงเรือนละ 1 คน และพนักงานทั่วไปอีกจำนวน 27 คน ซึ่งระยะเวลาในการเลี้ยงจะแบ่งเป็น 4 ระยะ โดยระยะแรกใช้เวลา 6-7 วัน หรือ 8-9 วัน โดยจะมีพนักงานคอยให้อาหาร 3 เวลาและมีการสุ่มตรวจน้ำหนัก ส่วนระยะที่ 2 ใช้เวลา 30 วัน มีพนักงานเข้าไปตรวจภายในโรงเรือนเพียงแค่วันละ 2 ครั้ง คือ เช้าและเย็น

ส่วนระยะที่ 3 ใช้เวลา 10-14 วัน ซึ่งเป็นระยะที่เป็ดได้รับการฉีดวัคซีน โดยผู้เลี้ยงต้องมีการตรวจเช็กดูว่าเป็ดมีการแพ้วัคซีนที่ฉีดให้หรือไม่ จากนั้นจึงเข้าสู่ระยะสุดท้าย ใช้เวลาประมาณ 30-40 วัน ซึ่งเป็นระยะที่อันตรายที่สุดของการเลี้ยงเป็ด เพราะหากเป็ดเกิดป่วยหรือได้รับความเสียหายก็จะทำให้ผู้เลี้ยงขาดทุนทันที

ขณะที่ ดวงมนู ลีลาวณิชย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสด้านกิจการไก่กระทงและเป็ดกระทง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ระบุว่าซีพีเอฟถือผู้นำในธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารที่มีเทคโนโลยีการ ผลิตชั้นสูง มีมาตรฐานในระดับสากลและด้วยแนวคิดการสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่เกษตรกร ตลอดจนผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการรุ่นใหม่ส่งวงการปศุสัตว์ไทย ทำให้ซีพีเอฟมุ่งเน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่บริษัทมีอยู่ให้แก่เกษตรกรและ ผู้ประกอบการ สร้างผลผลิตป้องโรงงานแปรรูป

“ในอดีตที่ผ่านมาซีพีเอฟมีการส่งเสริมการเลี้ยงเป็ดสู่เกษตรกรรายย่อย เป็นจำนวนมาก โดยใช้วิชาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยพัฒนาปรับปรุงกระบวนการเลี้ยง ภายใต้โครงการซีพีเอฟพัฒนาสู่ระบบฟาร์มปิดตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว เมื่อเกิดวิกฤติไข้หวัดนกในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ฟาร์มของเกษตรกรเหล่านี้จึงไม่มีปัญหาได้รับผลกระทบแต่อย่างใด” ดวงมนู กล่าว

ปัจจุบันซีพีเอฟมีผลผลิตเป็ดกระทงทั้งหมดจำนวน 4 แสนตัวต่อสัปดาห์ เป็นผลผลิตที่เกิดจากฟาร์มเป็นของบริษัทเองจำนวน 10 ฟาร์ม ฟาร์มของเกษตรกรรุ่นใหม่อีก 10 ฟาร์มและอีกส่วนหนึ่งเป็นเป็ดจากฟาร์มของเกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงในโรงเรือน ระบบปิดนั่นเอง

สุรัตน์ อัตตะ


http://news.enterfarm.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:58 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 27/10/2011 3:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

994. เทคนิคเตรียมดินสมัยใหม่ ลดต้นทุน-เพิ่มผลผลิต ต่อไร่


ปัจจัยสำคัญในการเพิ่มผลผลิตแก่เกษตรกร นอกจากจะอาศัยเมล็ดพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพในการเพาะปลูกแล้ว การเตรียมดินที่ดี ก่อนการเพาะปลูกเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญ ที่เกษตรกรไม่ควรละเลย เพราะดินเป็นแหล่งให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช


นางดาเรศร์ กิตติโยภาส ผู้อำนวยการกองส่งเสริมวิศวกรรมเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวถึง ความสำคัญของการเตรียมดินก่อนการเพาะปลูกว่า ดินถือเป็นหัวใจสำคัญของการก่อเกิดพืชพันธุ์ต่างๆ ดินเป็นแหล่งที่ให้อากาศ สำหรับการหายใจทำให้เกิดพลังงานเพื่อการดึงดูดน้ำ และธาตุอาหารที่เหมาะแก่การเจริญเติบโต ทำให้ได้ต้นพืชที่ดีมีผลผลิตสูง ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มและลดต้นทุนค่าด้านปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะปุ๋ย ซึ่งขณะนี้ราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันโลก


ดังนั้น เพื่อเป็นการรณรงค์ให้เกษตรกรให้ความสำคัญในการเตรียมดินก่อนการเพาะปลูก โดยเฉพาะการปลูกพืชไร่สมัยใหม่ กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ให้เกษตรกรทั่วประเทศให้ความสำคัญในการเตรียมดินก่อนการเพาะปลูก โดยเริ่มจาก 4 จังหวัดนำร่องคือกำแพงเพชร สระแก้ว นครราชสีมา และสระบุรี พื้นที่ 5,000 ไร่ ซึ่งพบว่าหลังจากเกษตรกรหันมาเตรียมดินก่อนการเพาะปลูกตามวิธีการที่กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำ ส่งผลให้ผลผลิตมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นเป็น 6-7 ตันต่อไร่ จากเดิมที่มีผลผลิตเฉลี่ยเพียง 3.5 ตันต่อไร่ เท่านั้น


การเตรียมดินที่ดี เกษตรกรจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจชนิดต่างๆของดินเพื่อจะได้ปรับและแก้ไขปัญหาการใช้ดินให้เหมาะกับพืชแต่ละชนิด โดยดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินมากสุดคือกลุ่มดินเหนียวและค่อนข้างเหนียว อย่างไรก็ตามประเทศไทย มีพื้นที่การเกษตรกว่า 131 ล้านไร่


ดังนั้นในแต่ละพื้นที่ย่อมมีปัญหาที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาดินดาน ดินเปรี้ยวและดินเค็ม ทำให้แนวทางการแก้ปัญหาในพื้นที่ดินที่มีปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องใช้วิธีการสมัยใหม่ อาทิ การนำเครื่องจักรด้านการเกษตรต่างๆ เป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวกแก่เกษตรกร ในการเตรียมดิน โดยการแก้ปัญหาดินดานนั้น อาจต้องใช้เครื่องจักรไถระเบิดดินดานเพื่อทำลายชั้นดินดาน เพื่อปรับโครงสร้างดินทำให้ดินโปร่ง รากหยั่งได้ การไถหัวหมู เป็นเครื่องมือไถกลบพืชบำรุงดิน และการใช้เครื่องพรวนย่อยให้ละเอียดเพื่อห่อหุ้มเมล็ดและท่อนพันธุ์ ป้องกันการระเหยของน้ำใต้ดิน ส่วนในพื้นที่นา สามารถใช้ไถหัวหมู เพื่อไถกลบตอซังฟางข้าวได้ผลดี โดยไม่ต้องทำการเผาตอซังซึ่งเป็นการทำลายชั้นดินและเกิดปัญหามละพิษ


นอจากนี้ยังมีเครื่องมือเพื่อย่อยหน้าดินหลังการไถกลบตอซังฟางข้าว เพื่อให้ก้อนดินมีขนาดเล็กและเรียบพร้อมสำหรับการหว่านและดำ ใช้ในกรณีได้รับการจัดสรรน้ำชลประทานมากเพียงพอในการเตรียมดิน และเครื่องมือพรวน 2 แถว เป็นเครื่องมือไถพรวนย่อยก้อนดินหลังการไถกลบตอซังฟางข้าว เพื่อเป็นการเก็บรักษาความชิ้นในดินไว้ตลอดฤดูเพาะปลูก ใช้ในกรณีได้รับการจัดสรรน้ำชลประทานไม่เพียงพอในช่วงการเตรียมดิน


สำหรับข้อมูลเปรียบเทียบผลผลิตพืชในแปลงเตรียมดินวิธีการที่ดีและวิธีการทั่วไป พบว่า สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวโพดจากเดิม เฉลี่ย 600 กก./ไร่เพิ่มเป็น 1,000 กก./ไร่ ส่วนผลผลิตอ้อยพบว่าเดิมมีผลผลิตเฉลี่ย 4,080กก./ไรเพิ่มเป็น 5,700กก./ไร่ และผลผลิตข้าวพบว่าผลผลิตเดิม 390 กก./ไร่เพิ่มเป็น 490กก./ไร่


อย่างไรก็ตาม สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเตรียมดินนั้นเนื่องจากมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นกรมส่งเสริมการเกษตรจึงดำเนินการส่งเสริมให้แต่ละชุมชนมีวิสาหกิจ บริการเครื่องกลทางการเกษตร โดยให้กลุ่มสมาชิกในวิสาหกิจนั้นๆบริหารจัดการเครื่องจักรกลเอง สำหรับเกษตรกรที่สนใจวิธีการเตรียมดินที่ดี ติดต่อได้ที่ กองส่งเสริมวิศวกรรมเกษตร สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร โทร 02-940-6175




ที่มา http://www.naewna.com/news.asp?ID=104963

http://topicstock.pantip.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:59 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 27/10/2011 4:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

995. เทคโนโลยีชีวภาพกับการเพิ่มผลผลิตพืชน้ำมัน

ศ.ดร.มรกต ตันติเจริญ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ





เป้าหมายพลังงานชาติบรรลุ ถ้าเพิ่มปริมาณชีวมวล
ประเทศไทยให้ความสำคัญในการส่งเสริมการผลิต/การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพโดยเฉพาะในภาคขนส่งซึ่งเป็นภาคที่มีการใช้พลังงานสูงสุด รัฐบาลมีเป้าหมายเพิ่มการใช้เอทานอลเป็น 2.4 ล้านลิตร/วัน และไบโอดีเซล 3.0 ล้านลิตร/วัน ภายในปี พ.ศ. 2554 แต่ปัจจุบัน (กค. 2551) การผลิตเอทานอลและไบโอดีเซลมีปริมาณเฉลี่ย 1 ล้านลิตร/วัน และ 1.44 ล้านลิตร/วัน เท่านั้น ทั้งนี้สาเหตุประการหนึ่งอาจเนื่องมาจากราคาวัตถุดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น ปริมาณวัตถุดิบส่วนใหญ่ถูกป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมเดิมที่มีอยู่ เช่น อุตสาหกรรมน้ำตาลและแป้งมัน รวมทั้งผลผลิตต่อพื้นที่ของพืชพลังงานอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การส่งเสริมการผลิตและใช้พลังงานจากเอทานอลและไบโอดีเซลยังต่ำกว่าเป้าหมาย


ศักยภาพทางพันธุกรรม ขุมทรัพย์ที่รอการพัฒนา
พืชพลังงานที่มีศักยภาพใช้ในการผลิตเอทานอล ประกอบด้วย อ้อย/กากน้ำตาล และมันสำปะหลัง สำหรับไบโอดีเซล คือ ปาล์มน้ำมัน


การเพิ่มปริมาณผลผลิตพืชพลังงานโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหรือการเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็น ดังเห็นได้จากกรณีบราซิลและออสเตรเลียมีผลผลิตอ้อยต่อพื้นที่สูงกว่าไทย ทำให้ต้นทุนการผลิตเอทานอลจากอ้อยของทั้งสองประเทศต่ำกว่าไทย และต้นทุนของบราซิลถือว่าต่ำที่สุดในโลก


อ้อย มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่มีศักยภาพทางพันธุกรรมที่จะให้ผลผลิตสูงสุดถึง 45 ตัน/ไร่ 13 ตัน/ไร่ และ 15 ตัน/ไร่ ตามลำดับ

เมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศของอ้อย มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมันของไทยปัจจุบันมีค่า 11.8 ตัน/ไร่ 3.5 ตัน/ไร่ และ 2.8 ตัน/ไร่ ตามลำดับ



อย่างไรก็ดี เมื่อดูศักยภาพทางพันธุกรรมของพันธุ์อ้อย หรือมันสำปะหลังของไทยที่เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อปลูกภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม พบว่า ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูงกว่าผลผลิตเฉลี่ยของประเทศ ตัวอย่างเช่น มันสำปะหลังพันธุ์ KU 50 ระยอง 9 และระยอง 7 สามารถให้ผลผลิตได้สูงถึง 6 ตันต่อไร่ ตามลำดับ เช่นเดียวกับผลการทดสอบอ้อยในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ (Multilocation test) ที่พบว่า มีอ้อยหลายสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตมากกว่า 20 ตันต่อไร่ จากศักยภาพพันธุกรรมของพันธุ์แนะนำของไทย แสดงให้เห็นว่า การเลือกใช้พันธุ์ที่เหมาะสม รวมถึงการใช้การจัดการเข้าช่วย เช่น การให้น้ำ และปุ๋ย สามารถเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่ของพืชพลังงานของไทย และในระยะยาวสามารถที่จะใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อให้ผลผลิตต่อพื้นที่ เข้าสู่ค่าสูงสุดทางทฤษฎีของพืชแต่ละชนิดได้


จากข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกและศักยภาพของพันธุกรรมพืชพลังงานไทยแสดงให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้มากที่ประเทศไทยจะเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่และมีปริมาณมากพอที่จะบรรลุเป้าหมายด้านพลังงานของประเทศโดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ปลูกในกรณีของอ้อยและมันสำปะหลัง แต่ยังมีความจำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ปลูกของปาล์มน้ำมันอยู่บ้าง







ทั่วโลกตื่นตัวลงทุนวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชพลังงาน
เทคโนโลยีชีวภาพได้รับการยอมรับจากนานาประเทศว่าเป็นเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาประเทศ จากประสบการณ์ของการปรับปรุงพันธุ์พืชอาหารโลกเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ พบว่าในระยะเวลา 50 ปี (ปี พ.ศ.2493-2543) การปรับปรุงพันธุ์เพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ของพืชอาหารของโลกได้มากถึง 3 เท่าตัว

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพช่วยย่นระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์แบบดั้งเดิม จากมากกว่า 10 ปีเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง โดยไม่ต้องรอให้ลักษณะที่ต้องการแสดงออกมาก่อน (เช่น ให้ต้นโต ติดเมล็ด) เพื่อเลือกต้นที่ต้องการ เนื่องจากสามารถตรวจว่ามียีนที่ควบคุมลักษณะดังกล่าวอยู่ในต้นอ่อนหรือไม่ ถ้าไม่ทราบตำแหน่งของยีนที่ต้องการอาจใช้ตำแหน่งยีนเครื่องหมายที่อยู่ใกล้กับยีนที่ต้องการมากที่สุด วิธีนี้เรียกว่า “Marker Assisted Selection” หรือ MAS

สำหรับกรณีพืชในกลุ่มประชากรเดียวกันหรือกลุ่มสปีชีส์ใกล้เคียงกันที่มีความหลากหลายต่ำ ไม่สามารถหาพันธุกรรมที่ต้องการในกลุ่มเดียวกันหรือใกล้เคียงกันได้ จำเป็นต้องหาพันธุกรรมที่ต้องการจากสิ่งมีชีวิตกลุ่มอื่น และเนื่องจากเป็นกลุ่มที่ต่างกันจึงไม่สามารถผสมพันธุ์และคัดเลือกได้ตามปกติ จึงใช้ “เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม” ซึ่งมีข้อได้เปรียบ คือ นำเฉพาะยีนที่ต้องการใส่เข้าไป ทำให้การปรับปรุงพันธุ์ค่อนข้างง่าย เร็ว และจำเพาะ แต่ข้อจำกัด คือต้องทำการค้นหายีน ทราบโครงสร้างและหน้าที่ของยีน โดยทั้งนี้ การใช้เทคโนโลยีจีโนมและหลังจีโนมศึกษาหน้าที่และกลไกการทำงานของเซลล์ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเซลล์และสิ่งแวดล้อม และการทำงานทั้งระบบ สามารถค้นหายีนและไขความลับสิ่งมีชีวิต ตัวอย่างการศึกษาเปรียบเทียบการแสดงออกของยีนในสภาวะต่างๆ เช่น สภาวะปกติกับสภาวะที่ได้รับความเครียด ทำให้ทราบว่ามียีนอะไรบ้างที่ตอบสนองต่อสภาวะที่เปลี่ยนไป ซึ่งนอกจากทำให้เข้าใจกลไกการตอบสนองของพืชต่อสภาวะที่ไม่เหมาะสมแล้ว ยังนำไปสู่การค้นหายีนในพืชที่ศึกษา เพื่อนำไปใช้ในการตัดต่อพันธุกรรมและใช้ประโยชน์ในพืชอื่นๆ ต่อไป

ทิศทางการวิจัยและพัฒนาพันธุวิศวกรรมเพื่อการผลิตพลังงานชีวภาพของโลก แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก เน้นพัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรมให้มีผลผลิตต่อพื้นที่เพิ่มขึ้นโดยพัฒนาพืชให้มีลักษณะต้านทานโรค/แมลงศัตรูพืช เช่น พัฒนาปาล์มต้านทานแมลง อ้อยต้านทานหนอนกอ และพัฒนามันสำปะหลังต้านทานไวรัส การพัฒนาพืชที่ทนทานต่อภาวะที่ไม่เหมาะสม เช่น อ้อยทนแล้ง การพัฒนาพืชให้มีประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงสูง เพื่อให้มีการเติบโตเร็วและให้ผลผลิตสูง มีลักษณะที่เอื้อต่อการเก็บเกี่ยว เช่น ให้ผลผลิตพร้อมกัน หรือสุกแก่พร้อมกัน รวมทั้ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในพืชให้เหมาะสมเป็นพลังงานทางเลือก เช่น เปลี่ยนแปลงโครงสร้างสารในพืชเพื่อให้หมักเป็นเอทานอลง่ายขึ้น ตัวอย่าง อ้อยมีปริมาณน้ำตาลสูง Duckweed ย่อยเซลลูโลสให้เป็นน้ำตาลในต้นพืชเอง เป็นต้น และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสารในพืชให้เป็นไบโอดีเซล

กลุ่มที่สอง เน้นพัฒนาการผลิตจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม การผลิตเอนไซม์เพื่อเปลี่ยนวัตถุดิบจากน้ำตาลและเซลลูโลสให้อยู่ในรูปน้ำตาลหมักง่าย เป็นวิธีการที่ทั่วโลกให้ความสนใจ อย่างไรก็ดี กระบวนการพัฒนาพันธุวิศวกรรมพืช ให้ความสำคัญอย่างมากต่อการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพด้านสิ่งแวดล้อมและอาหารก่อนที่จะมีการวางตลาดหรือส่งเสริมให้เกิดการใช้

ภาครัฐ และภาคเอกชนทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ สหรัฐอเมริกา เช่น กระทรวงพลังงาน และกระทรวงเกษตรฯ สนับสนุนทุนวิจัยจีโนมมันสำปะหลัง สถาบัน J. Craig Venture ลงทุนวิจัยจีโนมละหุ่งซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับมันสำปะหลัง บราซิล ลงทุนเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อพัฒนาสายพันธุ์อ้อยมายาวนานกว่า 20 ปี มีสายพันธุ์อ้อย 140 สายพันธุ์ ออสเตรเลีย ใช้ MAS พัฒนาพันธุ์อ้อยที่สะสมน้ำตาลได้เร็ว อ้อยจีเอ็มโอมีปริมาณซูโครสสูง เป็นต้น มาเลเซีย บริษัท Asiatic Centre for Genome Technology Sdn Bhd (ACGT) ของมาเลเซียร่วมมือกับบริษัทสหรัฐอเมริกา Synthetic Genomics (SGI) ประกาศความสำเร็จของการทำ first draft จีโนมปาล์มน้ำมัน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2551

โดยทั้งนี้ ทิศทางการลงทุนดังกล่าวมีแนวโน้มของการทำวิจัยในลักษณะเป็นเครือข่ายระหว่างสถาบัน เช่น The Global Cassava Partnership (GCP-21) เป็นความร่วมมือระหว่าง 21 ประเทศ จากทวีปอเมริกา ยุโรป แอฟริกา และเอเชีย ภายใต้โครงการ the Global Cassava Development Strategy IFAD/FAO ต้องการยกระดับผลผลิตมันสำปะหลังของโลกด้วยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเป็นเครื่องมือสำคัญ





ก้าวกระโดดด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ
ประเทศไทยมีการใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอเป็นเครื่องมือในการปรับปรุงพันธุ์พืช ตัวอย่างความสำเร็จเช่น พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมเฉียบพลัน ทนอยู่ใต้น้ำได้ 15-21 วัน โดยไม่ตาย ฟื้นตัวหลังน้ำท่วมได้ดี และให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์เดิมในสภาพน้ำท่วม

ด้านการวิจัยและพัฒนาพืชดัดแปรพันธุกรรม มีหน่วยงานราชการและมหาวิทยาลัยต่างๆ วิจัยและพัฒนาพืช จีเอ็ม ได้แก่ มะละกอต้านทานโรคจุดวงแหวน พริกต้านทานโรคใบด่างประ สับปะรดต้านทานสารกำจัดวัชพืช มะเขือเทศต้านทานโรคใบหงิกเหลือง เป็นต้น

พืชบางชนิดมีการทดสอบภาคสนามไปแล้วส่วนหนึ่ง เช่น มะละกอต้านทานไวรัสจุดวงแหวน ก่อนที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้กระทรวงเกษตรฯ ยุติการดำเนินการทดลองความปลอดภัยทางชีวภาพของพืชพันธุกรรมทุกชนิดในระดับไร่/นา เมื่อ 3 เมษายน 2544 ตามข้อเสนอสมัชชาคนจน และถึงแม้ว่า ครม. มีมติเห็นควรให้มีการทดสอบพืชดัดแปรพันธุกรรมในแปลงทดลองของทางราชการเมื่อ 25 ธันวาคม 2550 แต่จากความเข้มงวดและกฏเกณฑ์ต่างๆ ทำให้ยังไม่มีการนำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติทดสอบแต่อย่างใด

นอกเหนือจากพันธุ์ และสภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยกำกับการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืชแล้ว ปฏิสัมพันธ์ของพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิตพืชเช่นกัน ดังนั้น เกษตรกรจึงควรเลือกใช้พันธุ์ให้เหมาะสมกับแต่ละสภาพพื้นที่ปลูก และมีการจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ได้แก่



การให้น้ำและปุ๋ยในช่วงเวลาที่พืชต้องการ ตัวอย่าง

- อ้อย การให้น้ำที่เหมาะสมเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ได้มากกว่า 20 ตัน/ไร่

- มันสำปะหลัง ถ้าขาดน้ำใน 6 เดือนแรก ผลผลิตแป้งและคุณภาพแป้งด้อยลง แต่ถ้ามีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอพร้อมการบำรุงดินจะมีผลผลิตเฉลี่ยมากกว่า 6 ตัน/ไร่

- ปาล์มน้ำมัน หากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะยับยั้งการสร้างและการเจริญของดอกและเซลล์สืบพันธุ์ รวมทั้งเกิดการหลุดร่วงของดอก ทำให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลง






การจัดการศัตรูพืชเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคใบขาวในอ้อย ที่ได้ทำความเสียหายเป็นพื้นที่กว่าล้านไร่ สาเหตุหลักเป็นการแพร่ระบาดผ่านท่อนพันธุ์ การควบคุมโรค คือ การผลิตขยายท่อนพันธุ์ปลอดโรคด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การพัฒนาเทคนิคการผลิตอ้อยปลอดโรคใบขาวจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเจริญ และตรวจสอบการปนเปื้อนของโรคในต้นพันธุ์ด้วยเทคนิคทางชีววิทยาโมเลกุล ทั้งนี้ ยังจำเป็นต้องดำเนินการควบคู่กับการจัดการในแปลงผลิตเพื่อเฝ้าระวังแมลงพาหะ

อย่างไรก็ดี วิธีการควบคุมโรคใบขาวที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดคือ การใช้พันธุ์ต้านทานโรค แต่เนื่องจากยังไม่มีอ้อยสายพันธุ์ใดที่ต้านทานโรคใบขาวได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมเพื่อนำพันธุ์อ้อยที่ให้ผลผลิตสูงมาปรับปรุงเพิ่มคุณสมบัติความต้านทานต่อโรคใบขาว

ดังนั้น กลยุทธ์ระยะสั้น คือ การส่งเสริมใช้พันธุ์ดีที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม กลยุทธ์ระยะกลาง-ยาว คือการใช้เทคโนโลยีจีโนม เทคโนโลยีโมเลกุลเครื่องหมาย และพันธุวิศวกรรม เพื่อปรับปรุงพันธุ์ให้ทนต่อศัตรูพืช พันธุ์ที่ใช้ปุ๋ยและน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และพันธุ์ที่ให้คุณสมบัติพิเศษ เช่น ความหวานสูง แป้งเม็ดเล็กเพื่อให้ย่อยสลายได้ง่าย มีสัดส่วนกรดไขมันที่เหมาะสม กลยุทธ์ดังกล่าวมีส่วนสำคัญในการเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ ให้เป็นไปตามเป้าหมายของกระทรวงพลังงาน และความต้องการของอุตสาหกรรมในอนาคต



http://rescom.trf.or.th/display/keydefaultp.aspx?id_colum=164
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 27/10/2011 4:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

996. เทคนิคการปลูกข้าว โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์

โดย นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา




การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ และเพิ่มผลผลิตข้าวให้สูงขึ้น ทำการค้นคว้าวิจัยระหว่างปี พ.ศ. 2519-2540 ทั้งในดินเหนียว ดินร่วนปนดินเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทรายและดินทราย ที่จังหวัดนครราชสีมา ปทุมธานี พิษณุโลก ราชบุรี สุรินทร์และปัตตานี

พบว่าการใช้ปุ๋ยหมักจากฟางข้าว ในนา 2 ปีแรก ไม่ทำให้ผลผลิตข้าวพันธุ์ กข.7 เพิ่มขึ้นแต่จะแสดงผลในปีที่ 3 เป็นต้นไป ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น ตามอัตราปุ๋ยหมักฟางข้าวที่ใส่และจะเพิ่มอีก เมื่อใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 2,000 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี 8-4-4 กก. ของ N-P-K 2O กก./ไร่ โดยใช้ติดต่อกัน 2 ปี ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 89-146%


ปี 2530-2542 ทำการทดลองในดินร่วนปนทรายชุดร้อยเอ็ด ที่สถานีทดลองข้าวสุรินทร์ พบว่าอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับข้าว กข.23 คือ ใบและกิ่งอ่อน ของต้นกระถินยักษ์อัตรา 1,200 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กก. N ต่อไร่ ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 81% แต่สำหรับข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 อัตราปุ๋ยพืชสดที่ดีที่สุด คือ 600 กก./ไร่ อัตราปุ๋ยพืชสด 300 กก./ไร่ ใส่ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจน 12 กก. N ต่อไร่ เพิ่มผลผลิตได้ 53%


ปี 2536-2541 การทดลองระบบการปลูกพืชควบโดยปลูกกระถินยักษ์เป็นแถวคู่ ระยะ 50 x 50 ซม. ในแนวขวางทางลาดเทของพื้นที่ สลับกับพื้นที่ปลูกข้าวสาลี โดยใช้แถบต้นกระถินยักษ์ 1 ม. ต่อแถบข้าวสาลี 3 ม. แล้วตัดต้นกระถินยักษ์สูงจากระดับพื้น 50 ซม. นำส่วนที่ตัดออกใส่ลงในนาข้าวสาลีร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 4-4-4 กก. ของ N-P-K 2O กก./ไร่ จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 84%

ปี 2539-2541 ทดลองใช้กากสะเดาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานีและสถานีทดลองข้าวโคกสำโรง อัตรา 500 กก./ไร่ ทำให้ผลผลิตข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เพิ่มขึ้น 44 และ 56 % ตามลำดับ


ประเทศไทยมีดินเสื่อมโทรม 224.9 ล้านไร่ ดินมีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.5% ประมาณ 98.7 ล้านไร่ ดินส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่เป็นดินทราย มีอินทรียวัตถุเฉลี่ย 0.56 %เปอร์

การเพิ่มอินทรียวัตถุโดยการใส่วัสดุอินทรีย์ลงไปในดิน เช่น การไถกลบตอซังข้าว เศษพืช ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และอุตสาหกรรมจะช่วยในการปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น


ประเทศไทยปลูกข้าวได้ผลผลิตเฉลี่ยปีละประมาณ 20 ล้านตัน ซึ่งจะมีฟางข้าวประมาณ 10 ล้านตัน ฟางข้าวส่วนนี้จะออกไปจากแปลงนา ทำให้ดินต้องสูญเสียอินทรียวัตถุเป็นปริมาณมากในทุก ๆ ปี ดังนั้น จึงควรนำเอาฟางข้าวมาทำเป็นปุ๋ยหมักใส่กลับลงดินในแปลงนาข้าว เพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดินและเพิ่มผลผลิตข้าวโดยใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี

นอกจากนี้ยังมีกระถินยักษ์ซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่วยืนต้นที่ขึ้นได้ดี โตเร็ว แตกกิ่งก้านมากมีใบดก ระบบรากลึกทนแล้งได้ดี และมีจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจนจากอากาศที่ปมราก จึงเป็นพืชที่เหมาะสมเป็นพืชสดบำรุงดิน การนำเอากระถินยักษ์มาปลูกบนคันนาแล้วตัดเอาใบและกิ่งอ่อนใส่เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว หรือการปลูกกระถินยักษ์ในระบบพืชควบกับข้าวสาลี โดยตัดเอาใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสดใช้ได้ตลอดไป โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะเป็นหนทางในการปรับปรุงบำรุงดิน และเพิ่มผลผลิตข้าวสาลีได้ และจากการนำเอาเมล็ดสะเดามาสกัดเป็นสารกำจัดแมลงศัตรูพืช ทำให้มีกากสะเดา เป็นวัสดุเหลือใช้เมื่อวิเคราะห์พบว่ามีไนโตรเจนมากกว่า 3% ควรนำมาเป็นปุ๋ยใช้ในนาข้าวได้



วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ได้อัตราปุ๋ยหมักฟางข้าวในการเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสงเมื่อใส่อย่างเดียวหรือใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมีในระยะยาว

2. เพื่อให้ได้อัตราใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์ ที่ปลูกบนคันนาเป็นปุ๋ยพืชสดเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสงและไวต่อช่วงแสง เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี

3. เพื่อศึกษาระบบการปลูกพืชควบโดยใช้กระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสดร่วมกับการปลูกข้าวสาลีในการเพิ่มผลผลิตข้าวสาลี

4. เพื่อให้ได้อัตรากากสะเดาที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสง

5. เพื่อศึกษาผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมักฟางข้าว กระถินยักษ์และกากสะเดา) ต่อการเปลี่ยนสมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน)



ความเป็นมา
ในปีงบประมาณ 2524 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เห็นความสำคัญในการใส่ปุ๋ยหมักซึ่งเป็นปุ๋ยที่ผลิตจากเศษพืช และมูลสัตว์นำมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงบำรุงดินและเสริมการใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยหมักที่ผลิตขึ้นเอง ตามโครงการเร่งรัดปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ(ปุ๋ยหมัก) เกษตรกร 20 จังหวัดสามารถผลิตปุ๋ยหมักได้ 57.460 ต้น

ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (2525-2529) รัฐบาลมีนโยบายในการลดต้นทุนการผลิตโดยดำเนินงานตามโครงการเร่งรัดปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของดิน ส่งเสริมการเป็นประโยชน์ของปุ๋ยเคมี ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี ส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักการผลิตและการใช้ปุ๋ยหมักรวมถึงการเพิ่มผลผลิตและรายได้ของเกษตรกร มีเป้าหมายผลิตปุ๋ยหมัก 690,000 ตัน ในพื้นที่ 72 จังหวัด

ในปี 2530 - 2534 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยหมัก 870,000 ตัน ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสด 32,054 ไร่ ในปี 2534 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดนโยบายด้านดินและปุ๋ย โดยเน้นความจำเป็นในการยกระดับความสำคัญของการบำรุงดินให้เป็นนโยบายสำคัญ

ในปี 2535-2539 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 ส่งเสริมการทำและใช้ปุ๋ยหมัก 910,000 ตัน ส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์และใช้ปุ๋ยพืชสด จัดอบรมผู้นำเกษตรกร เป้าหมายปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ 840,000 ไร่ โดยใช้ฟางข้าว กระถินยักษ์และกากสะเดา และในปัจจุบันรัฐบาลให้ความสำคัญกับการทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืน จึงต้องสนับสนุนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวต่อไป



คุณลักษณะดีเด่นของเทคโนโลยี
1. ฟางข้าวเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเมื่อนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักจะทำให้การใช้วัสดุอินทรีย์มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

2. ปุ๋ยหมักฟางข้าวมีธาตุอาหารพืชปริมาณมากพอสมควร กล่าวคือ มี...
ไนโตรเจน .............. 2.16%
ฟอสฟอรัส .............. 1.18%
โพแทสเซียม ........... 1.31%
แคลเซียม .............. 2.29%
แมกนีเซียม ............. 0.44%
ซัลเฟอร์ ................ 0.41%

3. ปุ๋ยหมักฟางข้าวมีอัตราส่วนคาร์บอนและไนโตรเจนต่ำ (C/N = 11.94) ทำให้ไนโตรเจนละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อข้าวได้เร็ว ปุ๋ยหมักฟางข้าวทำให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น คือ ดินจับตัวเป็นเม็ดมากขึ้น ลดความแข็งของดินและลดความหนาแน่นรวม

4. ปุ๋ยหมักฟางข้าวทำให้ดินมีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น ช่วยดูดปุ๋ยไนโตรเจนจากปุ๋ยเคมีไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นช่วยลดการสูญเสียไนโตรเจน ลดการใช้ปุ๋ยเคมีและช่วยในการเจริญเติบโต มีรากมากขึ้น ดัชนีพื้นที่ใบข้าวเพิ่มขึ้น ทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น

5. การปลูกกระถินยักษ์บนคันนา เพื่อนำมาเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว เป็นการนำพื้นที่ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์

6. กระถินยักษ์มีธาตุอาหารไนโตรเจนสูง 3.7-4.3% และมีธาตุอาหารพืชต่าง ๆ (แคลเซียม. แมกนีเซียม. โพแทสเซียม. และไนเตรท) ในระดับสูง

7. ใบและกิ่งอ่อนของกระถินยักษ์เพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น รักษาธาตุอาหารในดิน ใบและกิ่งอ่อนของกระถินยักษ์ช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี เพิ่มผลผลิตและคุณภาพของข้าว

8. ระบบการปลูกพืชควบกระถินยักษ์และข้าวสาลี ช่วยในการปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าวสาลี จากการใช้กระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสด

9. การใช้กากสะเดาซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้มาเป็นปุ๋ยอินทรีย์กับข้าว ทำให้ดินมีสมบัติทางกายภาพดีขึ้น ให้ธาตุอาหารและเพิ่มผลผลิตข้าว



การประเมินคุณค่าของเทคโนโลยี
1. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวร่วมกับปุ๋ยเคมีติดต่อกัน 20-22 ปี ทำให้ผลผลิตข้าวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 1,000 กก.ต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี 8-4-4 กก.ของ N-P-K 2O กก./ไร่ ให้ผลผลิตข้าว กข.7 เพิ่มขึ้น 115%, 99% และ 72% ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถานีทดลองข้าวพิมาย และสถานีทดลองข้าวสุรินทร์ ตามลำดับ

และผลผลิตข้าว กข.7 เพิ่มขึ้น 146%, 117% และ 89% เมื่อใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 2,000 กก./ต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี 8-4-4 กก.ของ N-P-K 2O/ไร่ ตามลำดับ

2. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวติดต่อกัน 12 ปี ทำให้ดินมีอินทรีย์วัตถุที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น

3. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวทำให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น กล่าวคือ ทำให้การจับตัวของเม็ดดินเพิ่มขึ้น ความแข็งของดินลดลง ความหนาแน่นของดินลดลง

4. การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวช่วยเพิ่มการดูดธาตุอาหารในต้นและเมล็ดข้าว เพิ่มดัชนีพื้นที่ใบ ปริมาณรากและการดูดน้ำของราก

5. ใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์อัตรา 1,200 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กกN/ไร่ เพิ่มผลผลิตข้าว กข23 เพิ่มขึ้น 81%

6. ใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์อัตรา 300 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กก. N/ไร่ หรือใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์อัตรา 600 กก./ไร่ อย่างเดียวเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 เพิ่มขึ้น 53%

7. การใช้กระถินยักษ์ติดต่อกัน 10 ปี ทำให้ดินมีสมบัติทางเคมีและกายภาพดีขึ้น ช่วยให้ข้าวดูดธาตุอาหารจากดินได้มากขึ้น ปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินให้สูงขึ้น

8. การปลูกพืชควบระหว่างกระถินยักษ์กับข้าวสาลีร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 4-4-4 กิโลกรัมของ N-P-K 2O กก./ไร่ ติดต่อกัน 6 ปี ทำให้ผลผลิตข้าวสาลีเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 84% และอินทรีย์วัตถุในดินเพิ่มขึ้นด้วย

9. การใส่กากสะเดาอัตรา 500 กก./ไร่ เพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินทรายปนดินร่วนและดินเหนียวปนทราย 44 และ 56% ตามลำดับ


คำแนะนำวิธีการใช้
1. การทำปุ๋ยหมักฟางข้าว กองฟางข้าวในที่ร่มมีขนาดกอง 2x5 ม. รดน้ำให้ชุ่มพร้อมกับเหยียบให้แน่นพอสมควร จนกองสูงประมาณ 25 ซม. โรยมูลสัตว์และปุ๋ยยูเรียหรือแอมโมเนียมซัลเฟตเพื่อช่วยให้ฟางข้าวสลายตัวเร็วขึ้น แล้วกองชั้นต่อๆ ไป ทำเช่นเดียวกันจนกองมีความสูง 1.00-1.50 ม. โดยใช้ฟางข้าว มูลสัตว์และปุ๋ยเคมีอัตราส่วน 100 ต่อ 10 ต่อ 1 ควรกลับกองปุ๋ยทุกๆ เดือน

หลังกลับกองปุ๋ยครั้งที่สองแล้ว 2 อาทิตย์ จึงกลับอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นกองปุ๋ยหมักก็จะเหมาะแก่การนำไปใช้แล้ว ปกติแล้วปุ๋ยหมักจะมีค่าของ คาร์บอน/ไนโตรเจน ประมาณ 20

2. ใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวอัตรา 2 ตัน/ไร่ โดยหว่านให้ทั่วแปลงขณะเตรียมดินแล้วไถกลบลงไปในดินทันทีก่อนปักดำข้าว 20 วัน ใส่ปุ๋ย 16-20-0 ในดินเหนียวหรือ 16-16-8 ในดินทรายอัตรา 30 กก./ไร่ ก่อนปักดำข้าว 1 วัน แล้วคราดกลบและใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 กก./ไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก สำหรับนาหว่านน้ำตมใส่ปุ๋ย 16-20-0 หรือ 16-16-8 อัตรา 30 กก./ไร่ หลังข้าวงอก 30 วัน และใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 กก./ไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก

3. การปลูกกระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวใช้กระถินยักษ์พันธุ์เปรูหรือ K8 ปลูกบนคันนา ควรเริ่มปลูกในช่วงฤดูฝนหรือในระยะที่ดินมีความชื้นพอ ถ้าเป็นคันนาแคบควรปลูกเป็นแถวเดียวระยะระหว่างต้น 50 ซม. ถ้าคันนากว้างควรปลูกเป็นแถวคู่ระยะระหว่างต้น x ระยะระหว่างแถวเท่ากับ 50 x 50 ซม. การตัดแต่งกิ่งเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสด ถ้าฝนตกตามปกติกระถินยักษ์จะโตเร็ว เริ่มตัดใบและกิ่งอ่อนได้ใน 4-5 เดือนของปีแรก ควรตัดแต่งครั้งแรกเมื่อกระถินยักษ์สูง 2 ม. โดยตัดให้เหลือตอสูงเหนือพื้นดิน 1 ม. ส่วนของกระถินยักษ์ที่จะนำไปใส่เป็นปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดินให้เลือกตัดเอาเฉพาะใบและกิ่งอ่อนและตัดแต่งทุก 2 เดือน หรือเมื่อต้นกระถินยักษ์สูง 2 ม.

4. การใส่กระถินยักษ์เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว ใช้ใบและกิ่งอ่อนของกระถินยักษ์หว่านในแปลงปลูกข้าวแล้วไถกลบก่อนปักดำข้าว 15 วัน โดยใช้ใบและกิ่งอ่อนอัตรา 1,200 กก./ไร่ ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กก.N/ไร่ (ยูเรีย 26 กก./ไร่) ที่ระยะกำเนิดช่อดอก สำหรับข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง ส่วนข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสงใช้ใบและกิ่งอ่อนของกระถินยักษ์หว่านแล้วไถกลบก่อนปักดำข้าว 15 วัน โดยใช้ใบและกิ่งอ่อนอัตรา 300 กก./ไร่ และใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 12 กก.N/ไร่ (ยูเรีย 26 กก./ไร่) ที่ระยะกำเนิดช่อดอกหรือใช้ใบและกิ่งอ่อนกระถินยักษ์อัตรา 600 กก./ไร่ อย่างเดียวก่อนปักดำข้าว 15 วัน

5. การปลูกกระถินยักษ์ร่วมกับข้าวสาลี โดยปลูกกระถินยักษ์ในปีแรก โดยปลูกเป็นแถบ 2 แถวคู่ระยะ 50 x 50 ซม. ขวางความลาดเทของพื้นที่สลับกับแถบของข้าวสาลีในอัตราส่วนกระถินยักษ์กว้าง 1 ม. ข้าวสาลีกว้าง 3 ม. ในปีที่ 2 และปีต่อ ๆ ไป ตัดกระถินยักษ์ส่วนที่เกิน 50 ซม. ใส่เป็นปุ๋ยพืชสดในพื้นที่ปลูกข้าวสาลีร่วมกับการใช้ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กก./ไร่ ที่ระยะหลังข้าวสาลีงอก 20 วัน และตัดกระถินยักษ์ส่วนที่เกิน 50 ซม. ใส่เป็นปุ๋ยพืชสดในพื้นที่ปลูกพืชหลัก เช่น ข้าวไร่ เป็นต้น ปลูกสลับกับข้าวสาลี

6. ใส่กากสะเดา อัตรา 500 กก./ไร่ ไถกลบก่อนปักดำข้าว 1 สัปดาห์


การเผยแพร่
เผยแพร่โดยกลุ่มงานวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยข้าวและธัญพืชเมืองหนาว กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร ลาดยาว จตุจักร กทม. 10900. หรือ โทร 02-5797515



http://www.kasetsomboon.org/th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 9:00 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 27/10/2011 5:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

997. ปลูกอ้อย ระบบ "น้ำหยด" เทคนิคง่ายๆ เพิ่มผลผลิต













ปัจจุบันวงการเกษตรมีการพัฒนาการมากขึ้น โดยเฉพาะภาคการเพาะปลูกที่จะทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น อย่างอ้อยซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยมายาวนาน และปัจจุบันเป็นพืชพลังงานด้วย เดิมทีเกษตรกรปลูกอาศัยเทวดาช่วยดูแล อาศัยน้ำจากน้ำฝน จึงได้ผลผลิตไร่ละเพียง 7-8 ตัน ปัจจุบันมีการประยุกต์ปลูกระบบน้ำหยดทำให้ผลผลิตสูงขึ้นเท่าตัว บางพื้นที่เคยปรากฏมาแล้วได้สูงสุดถึงไร่ละ 28 ตัน

อภิวัฒน์ บุญทวี ผู้อำนวยการด้านอ้อย บริษัท สวนเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด (มิตรผล) บอกว่า ตลอดระยะที่ผ่านมาการดำเนินธุรกิจของกลุ่มมิตรผล มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจที่มุ่งสู่มาตรฐานสากล เพื่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีการเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้ในระบบการจัดการของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาวิจัยสายพันธุ์อ้อยใหม่ๆ ที่คุณสมบัติเหมาะกับแต่ละพื้นที่ พร้อมกับมีการลงทุน 90 ล้านบาท พัฒนาระบบน้ำ ด้วยการวางระบบชลประทานให้ครอบคลุมพื้นที่ 3.2 หมื่นไร่ ในพื้นที่ของเครือข่ายใน จ.ชัยภูมิและใกล้เคียง ดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2554

ในปี 2554-2556 อภิวัฒน์ บอกว่า มีแผนจะลงทุนอีก 300 ล้านบาท เพื่อขยายระบบชลประทานในพื้นที่ปลูกอ้อยเป็น 60-65% จากพื้นที่ปลูกอ้อยทั้งหมด 1.2 ล้านไร่ที่เป็นเครือข่ายในรูปแบบของคอนแทร็กฟาร์มมิ่งกับกลุ่มมิตร เพื่อให้เกษตรกรปลูกอ้อยระบบน้ำหยด โดยโรงงานน้ำตาลจะลงทุนสร้างแหล่งน้ำ และชาวไร่เป็นผู้ลงทุนเชื่อมต่อแหล่งน้ำเข้าไปยังไร่ด้วยระบบท่อ ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นการส่งเสริมและช่วยเหลือเกษตรกรแล้ว ทางกลุ่มมิตรผลเองก็ต้องการเพิ่มผลผลิตต่อไร่มากขึ้น เพื่อจัดหาวัตถุดิบให้เพียงพอกับความต้องการของโรงงานน้ำตาล โดยมีเป้าหมายเพิ่มผลผลิตต่อไร่ จากปัจจุบัน 7-8 ตันต่อไร่ เป็น 17 ตันต่อไร่ บางพื้นที่ว่าการปลูกด้วยระบบน้ำหยด เคยให้ผลผลิตสูงสุดถึงไร่ละ 28 ตัน

ไฉน ศรีเชียงษา เกษตรกรบ้านหนองหิน ต.หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย อีกคนหนึ่งที่หันมาปลูกอ้อยระบบน้ำหยด บอกว่า เขามีไร่อ้อย 1,000 ไร่ ทุกวันนี้ให้ผลผลิตไร่ละราว 12 ตัน บางพื้นที่กว่า 15 ตัน ส่วนพันธุ์อ้อยใช้พันธุ์แอลเค 92-11 (LK 92-11) แอลเค 84-200 และขอนแก่น 3 ทำให้เขามีรายได้ต่อ 1 ฤดูกาลปลูก (11 เดือน) ไร่ละ 1.3 หมื่นบาท รวมแล้วมีรายได้ฤดูกาลปลูกละหลายล้านบาท จากเดิมปลูกพันธุ์เค 200 ใช้วิธีสูบน้ำปล่อยตามร่องในไร่ได้ผลผลิตราวไร่ละ 6-8 ตันเท่านั้น

เช่นเดียวกับ พิมล สุภาพเพชร เกษตรกรบ้านหนองแซง ต.บ้านแก้ง อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ อายุ 41 ปี บอกว่า ปกติที่ไร่ของเขาดินค่อนข้างดีปลูกอ้อยแบบดูดน้ำเข้าในร่องที่ขุดในไร่อ้อยจะได้ผลผลิตไร่ละราว 12-13 ตัน พอทราบว่าการปลูกด้วยวิธีน้ำหยดจะได้ผลผลิตสูง จึงตัดสินใจลงทุนซื้อท่อพลาสติก เจาะรูรอบข้างไปฝังระหว่างแถวของอ้อยใช้เงินไร่ละครั้งแรก 7,500 บาท ใช้ได้ 7-8 ปี ปรากฏว่า หลังจากปลูกอ้อยระบบน้ำหยดแล้วทำให้มีผลผลิตตกไร่ละ 20 ตัน แต่บางครั้งใช้ระบบน้ำฝอย คือวางท่อบนดินเสี่ยงที่หนูจะกัดได้

ขณะที่ วิชัย ฤาชา รองประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำมิตรบ้านลาด ต.บ้านแก้ง อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ บอกว่า เดิมทีในหมู่บ้านของเขาระบบน้ำไม่ดี เวลาปลูกอ้อยให้ผลผลิตไร่ละ 8-9 ตัน พอมีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำมิตรบ้านลาด จึงตัดสินใจลงทุนร่วมโครงการด้วย โดยการขุดสระในพื้นที่ 1 ไร่ สูบน้ำจากโครงการทำให้ตอนนี้มีน้ำเพียงพอจึงได้ผลผลิตไร่ละเฉลี่ยแล้วกว่า 15-20 ตัน ปัจจุบันราคาอ้อยอยู่ที่ตันละ 1,050 บาท เขามีที่ไร่ 46 ไร่ สามารถเลี้ยงครอบครัวได้เป็นอย่างดี

"กลุ่มผู้ใช้น้ำมิตรบ้านลาดมีราว 90 คน ร่วมกันลงทุนพัฒนาแหล่งน้ำและวางท่อส่งน้ำเข้าไร่ รวมแล้วเป็นเงิน 2.4 ล้านบาท ครอบคลุมพื้นที่ 1,360 ไร่ โดยทางโรงงานน้ำตาลมิตรภูเขียวเป็นผู้ปล่อยเงินทุนให้ก่อน และมาผ่อนชำระภายในเวลา 4 ปี รวมแล้วถ้าเฉลี่ยผลผลิตทั้งกลุ่มตกไร่ละ 17 ตัน" วิชัยกล่าว

การปลูกอ้อยระบบน้ำหยด นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย เนื่องจากให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ต้องอาศัยน้ำจากธรรมชาติบางพื้นที่กว่า 1 เท่าตัว



"ดลมนัส กาเจ"




http://www.komchadluek.net


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:54 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 27/10/2011 6:32 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

998. ปรับปรุงพันธุ์พืช เพิ่มผลผลิตด้วยเทคนิค Ion beam bio-engineering


นักวิทยาศาสตร์จีนได้ศึกษาถึงผลของอนุภาคไอออนต่างๆที่มีต่อต้นพืช และได้นำเอา ไอออนที่อยู่ในสถานะของ พลาสมา มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชในด้านต่างๆ เช่น ลักษณะของโครงสร้าง คุณภาพและผลผลิต รวมทั้งภูมิต้านทานต่อโรค-แมลงและสภาพแวดล้อม ตัวอย่างภาพที่นำมาแสดงในที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จที่น่าสนใจศึกษาติดตามเป็นอย่างยิ่ง



ผลของใบถั่วเหลืองที่เกิดจากการชักนำของ พลาสมาไอออน จำนวนแผ่นใบจะเพิ่มจาก 3 เป็น 4 ,5, 6, 7 และ 8 ใบ




ลักษณะที่เปลี่ยนไปของต้นถั่วเหลืองที่แตกกิ่งก้านอีกมากมาย




เมล็ดถั่วเหลืองที่ได้จากต้นที่ ชักนำด้วย พลาสมาไอออน (ซ้ายมือ) กับเมล็ดที่ได้จากถั่วเหลืองปกติพันธุ์เดียวกัน



เมล็ดถั่วหลากสีที่ได้จากขบวนการ พลาสมาไอออน



ข้าวโพดที่ติดฝักมากขึ้น (ซ้ายมือ)



พืชที่ผ่านขบวนการนี้(ซ้ายสุด 3 แถว) ปลูกในสารอุ้มน้ำ เพื่อนำไปปลูกฟื้นฟูพื้นทรายที่เสื่อมโทรม




เกษตรกรกำลังหว่านเมล็ดข้าวที่ผ่านการ Treat จาก Ion beam ด้วยเครื่องหว่านเมล็ด
ซึ่งมีระยะการพักตัวและระยะเวลาการปลูกสั้นลง ไม่ไวต่อแสงและทนต่ออากาศที่หนาวเย็นได้ดี ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงกว่าเดิม (1,000 กิโลกรัม/ไร่) เพิ่มรายได้เป็น 10 เท่าต่อหนึ่งฤดูกาลเพาะปลูก




สาร GA ที่มีอยู่ในใบแตงโมอันเกิดจากการชักนำด้วยขบวนการนี้ มีสูงกว่าในใบ แปะก้วย ถึง 80 %



[img]http://www.eco-agrotech.com[/img]
ดอกคาร์เนชั่น ที่แตกต่างกันทั้งสีและฟอร์มที่เห็นทางขวามือนั้น เกิดจากขบวนการ
Ion beam bio-engineering จากต้นแม่พันธุ์ทางซ้ายมือทั้งสิ้น




http://www.eco-agrotech.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 9:32 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 27/10/2011 6:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

999. แตงหวาน (แคนตาลูป)





เหอท่าว เป็นเมืองเกษตรกรรมที่อยู่ในมณฑล ซินเจียง (ซินเกียง) ขึ้นชื่อลือชาว่าเป็นแหล่งปลูกแตงหวานแคนตาลูป ที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล สามารถผลิตแตงหวาน มี่กวา ที่มีรสชาติหอมหวานและมีคุณภาพดีที่สุดในประเทศจีน ได้มีการจัดส่งผลผลิตไปจำหน่ายตามหัวเมืองใหญ่ๆค่อนประเทศ รวมทั้งมีการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศอีกด้วย

ปัญหาอย่างหนึ่งที่เกษตรกรได้ประสบเรื่อยมาก็คือ ความเสียหายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาของการขนส่งเป็นเวลาหลายวัน ทำให้แตงที่ส่งไปจำหน่ายยังพื้นที่ห่างไกลนั้นเน่าเสียหายเป็นจำนวนไม่น้อย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทีมงานของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่นำโดย ศาสตราจารย์ ฟาง เทียนฉี และศาสตราจารย์ ฮาซือ อากูลา ได้ทำการ ตัดต่อถ่ายโอนยีน ACC ที่ต้านการสร้างฮอร์โมน และยีน ACC ที่ต้านการออกซิเดชั่นของฮอร์โมนใส่ลงในแตงชนิดนี้เป็นผลสำเร็จในปี ค.ศ. 1994 ทำให้ได้สายพันธุ์แตงหวาน มี่กวา ที่คงความสดได้ทนนานโดยไม่เน่าเสียหายได้นานถึง 2 เดือน ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทดสอบปลูกในแปลงปลูกบังคับจำกัดขอบเขตเพื่อประเมินผลกระทบด้านต่างๆต่อไปแล้ว



แตง มี่กวา ที่เก็บเกี่ยวเป็นเวลานานถึง 2 เดือน


[img]http://www.eco-agrotech.com
แตง มี่กวา ที่เก็บเกี่ยวนานแค่ 7 ถึง 10 วัน


http://www.eco-agrotech.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=440941&Ntype=2


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 9:37 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 27/10/2011 6:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,000 มทส.เผยเทคนิค เพิ่มผลผลิตปลูกอ้อย





มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เผยเทคนิคเพิ่มผลผลิตอ้อยปลูกในภาคอีสานแนะเกษตรกรใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรบำรุงดินควบคู่กับการให้น้ำและปุ๋ยอย่างถูกวิธี ส่งผลให้เกษตรกรสามารถปลูกแบบไว้ตอได้ในรุ่นต่อไปงดการเผาทำลายพื้นที่เพาะปลูกและประหยัดต้นทุนในการผลิต


นครราชสีมา – ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) : ผศ.ดร.สุดชล วุ้นประเสริฐ หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พร้อมด้วย นางสาวสุมาลี โพธิ์ทอง นักศึกษาบัณฑิตศึกษาระดับปริญญาเอก ได้นำผู้สื่อข่าวเข้าชมพื้นที่ของงานวิจัยในการเพิ่มผลผลิตอ้อยปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ แปลงทดลอง ฟาร์มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดย ผศ.ดร.สุดชน วุ้นประเสริฐ ได้กล่าวถึงภาพรวมของด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมของอ้อยในประเทศไทยว่า อ้อยถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อประเทศอย่างยิ่ง

ทั้งนี้จากข้อมูลพบว่าประเทศไทยมีการบริโภคน้ำตาลภายในประเทศปีละประมาณ 1.6–1.7 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 17,000-19,000 ล้านบาท และส่งออกจำหน่ายในตลาดโลกปีละกว่า 3 ล้านตัน นำรายได้เข้าประเทศประมาณ 20,000– 30,000 ล้านบาทต่อปี โดยประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก รองจากบราซิล สหภาพยุโรป มีสัดส่วนในตลาดโลกร้อยละ 9.5 โดยมีตลาดที่สำคัญคือ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ หากมองด้านรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยจะมีรายได้จากการจำหน่ายอ้อยทั้งหมดประมาณ 30,000 ล้านบาท ต่อปี คิดเป็นร้อยละ 4 ของรายได้ภาคเกษตรทั้งหมด




จากสถิติพบว่าในปี 2551 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกอ้อยประมาณ 6.51 ล้านไร่ มีผลผลิตต่อปีเฉลี่ย 11.81 ตันต่อไร่ ปี 2552 มีพื้นที่ปลูก 6.02 ล้านไร่ มีผลผลิตเฉลี่ย 10.48 ตันต่อไร่และในปี 2553 มีพื้นที่ปลูก 6.31 ล้านไร่ และมีผลผลิตต่อปีเฉลี่ย 10.47 ตันต่อไร่ ทั้งนี้พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ของประเทศจะอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานโดยมีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 2.27-2.80 ล้านไร่ หรือคิดเป็นพื้นที่ 39–43 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ในการปลูกทั่วประเทศ ขณะที่ผลผลิตเฉลี่ยของอ้อยที่ผลิตได้ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเพียง 10.29–11.09 ตันต่อไร่ ซึ่งถือว่าต่ำกว่าผลผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศ เหตุผลสำคัญที่ทำให้ผลผลิตต่ำได้แก่สภาพพื้นที่ปลูกอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนทรายหรือดินทราย มีการระบายน้ำดี แต่ความสามารถในการอุ้มน้ำและธาตุอาหารต่ำ อีกทั้งเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกอ้อยแบบอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติจึงส่งผลให้หลังจากการตัดอ้อยปลูกแล้วไม่สามารถไว้ตอในรุ่นต่อไปได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากความชื้นและธาตุอาหารที่ไม่เพียงพอ หากเปรียบเทียบกับการเพาะปลูกในภาคกลางจะพบว่าเกษตรกรสามารถที่จะลดต้นทุนในการผลิตโดยสามารถไว้ตอได้หลายตอ ดังนั้นจึงเป็นแนวคิดในการวิจัยในเรื่องการจัดการดินและน้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตและศักภาพในการไว้ตอในเขตพื้นที่ภาคอีสานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

นางสาวสุมาลี โพธิ์ทอง นักศึกษาบัณฑิตศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช มทส.ได้นำแนวคิดในการจัดการดินและน้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาออกแบบงานวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์และอุ้มน้ำดีขึ้นโดยเน้นศึกษาวิธีการ ปริมาณ ความถี่ในการให้น้ำและปุ๋ยที่เหมาะสมรวมถึงการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในท้องถิ่น อาทิ ขุยมะพร้าวและขี้เถ้าแกลบ มาช่วยในการปรับปรุงดินอีกทางหนึ่ง

ทั้งนี้ได้แบ่งการทดลองออกเป็น 4 แปลง โดยในแต่ละแปลงได้ทำการควบคุมระบบการให้น้ำดังนี้

1. แปลงจากน้ำฝนธรรมชาติ
2. แปลงทดลองให้น้ำไหลไปตามร่อง (Furrow)
3. แปลงทดลองให้น้ำระบบน้ำหยดบนผิวดิน และ
4. แปลงทดลองให้น้ำระบบน้ำหยดใต้ดิน

โดยแต่ละแปลงจะมีการควบคุมกระบวนการใช้วัสดุปรับปรุงดิน 3 กรรมวิธี คือ

1. ไม่ใช้วัสดุปรับปรุงดิน
2. ใส่ขุยมะพร้าวตามแถวปลูก อัตรา 2-3 ตัน/ไร่
3. ใส่ขี้เถ้าแกลบ อัตรา 2-3 ตัน/ไร่ ร่วมกับกรรมวิธีการให้ปุ๋ย 4 กรรมวิธี คือ

1. ใส่ปุ๋ย NPK ตามประเภทของเนื้อดิน
2. ใส่ปุ๋ย NPK ตามค่าวิเคราะห์ดิน
3. ใส่ปุ๋ย NPK + ธาตุอาหารรอง ตามค่าวิเคราะห์ดิน และ
4. ใส่ปุ๋ย NPK + ธาตุอาหารรอง + จุลธาตุ ตามค่าวิเคราะห์ดิน





สำหรับในแปลงระบบน้ำหยดจะถูกปรับระบบการให้ปุ๋ยไปกับระบบน้ำเพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของอ้อยปลูกและความสมบูรณ์ของต้นต่อการไว้ตอในรุ่นต่อไป โดยใช้อ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ซึ่งเป็นผลงานการปรับปรุงพันธุ์ของศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น กรมวิชาการเกษตร เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างพันธุ์แม่คือ โคลน 85-2-352 กับ K 84-200 ซึ่งเป็นพันธุ์พ่อ และมีการปรับปรุงเรื่อยมาเพื่อคัดเลือกสายพันธุ์จนได้อ้อยสายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติที่ดี ทั้งนี้จากภาพรวมของงานวิจัยจะพบว่าการจัดการน้ำและธาตุอาหารในแปลงทดลองนั้นส่งผลให้ได้ผลผลิตอ้อยที่มีคุณภาพสามารถที่จะไว้ตอในรุ่นต่อไปได้

(หมายเหตุ : สามารถทราบข้อมูลผลผลิตต่อไร่หลังจากเก็บเกี่ยวในวันที่ 7 มีนาคม และ 11 มีนาคม 2554)

ทั้งนี้หากเกษตรกรในภาคอีสานสามารถที่จะไว้ตอได้จะสามารถประหยัดต้นทุนการผลิตอ้อยปลูกจาก 5,670 บาท เหลือเพียง 2,090 บาท/ไร่



ผศ.ดร.สุดชล วุ้นประเสริฐ กล่าวเพิ่มเติม ว่า จากการวิจัยในครั้งนี้ทางสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช มทส. ต้องการส่งเสริมและแนะนำให้เกษตรกรในเขตภาคอีสาน หันมาให้ความสำคัญต่อการให้น้ำและธาตุอาหารในการเพาะปลูกอ้อยมากยิ่งขึ้น โดยการนำระบบน้ำหยดใต้ดินและการให้ปุ๋ยที่ตรงตามความต้องการของพืชมาปรับใช้ ทั้งนี้หากเกษตรกรหันมาใช้ระบบน้ำหยดใต้ดินจะสามารถควบคุมการให้น้ำและให้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งการให้น้ำในระบบน้ำหยดใต้ดินนั้นจะมีการสูญเสียความชื้นน้อยกว่า การให้น้ำหยดบนผิวดินหรือการให้น้ำแบบอื่น อีกทั้งยังเป็นการประหยัดแรงงานการเพาะปลูกในระยะยาว ทั้งนี้จากประมาณการคาดว่าเกษตรกรจะคุ้มทุนตั้งแต่ปีแรกเนื่องจากสามารถเพิ่มผลผลิตได้ไม่ต่ำกว่า 20 ตันต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าที่เกษตรกรผลิตได้เฉลี่ย10 -11 ตันต่อไร่ รวมทั้งยังสามารถประหยัดต้นทุนการปลูกโดยใช้ท่อนพันธุ์ในปีที่ 2 โดยอาจไว้ตอได้มากกว่า 1 รุ่น อีกทั้งค่าความหวานหรือ CCS (Commercial Cane Sugar) ที่ได้ จากการทดลองก็สูงกว่ามาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายซึ่งกำหนดไว้ที่ 10 CCS.โดยจากการสุ่มตัวอย่างในการวิเคราะห์คุณภาพของผลผลิตในแปลงที่ปลูกแบบระบบน้ำบนผิวดินมีค่า CCS เท่ากับ 12.66 และแปลงที่ให้น้ำหยดบนผิวดินมีค่า CCS เท่ากับ 13.16 (ส่วนแปลงที่ปลูกโดยอาศัยน้ำฝนและแปลงให้น้ำหยดใต้ผิวดินวัดค่า CCS ได้ในวันที่ 7 มีนาคม 2554 )

ทั้งนี้หากเกษตรกรที่สนใจสามารถติดต่อขอเข้าชมแปลงทดลองแบบหมู่คณะได้ที่ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โทรศัพท์ 044 -224204 ในวันและเวลาราชการ


http://www.koratdailynews.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:54 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 28/10/2011 7:18 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,001. 9 สิ่งมหัศจรรย์ เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดิน


วาระแห่งการใช้ปุ๋ยแห่งชาติ
9 สิ่งมหัศจรรย์ เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดิน
สนับสนุนนโยบายอาหารปลอดภัยของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์


ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมของประเทศไทยอย่างไม่ถูกต้องทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของดินปรากฏขึ้นในทุกภาคของประเทศไทย จึงมีที่ดินเสื่อมโทรมมากถึง 98.7 ล้านไร่ หรือประมาณ 75% ของพื้นที่เพาะปลูก ประกอบกับกระแสโลกที่มีการพัฒนาการเกษตรกรรมเคมีที่มุ่งเน้นด้านการแข่งขันเป็นหลัก มิได้คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อม

การใช้ปุ๋ยเคมีเป็นจำนวนมากเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้กับดินในการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของพืช การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช ผลจากการทำเกษตรกรรมเคมีดังกล่าวได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อดิน น้ำ อากาศ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนสิ่งมีชีวิตต่างๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


ปี 2547 รัฐบาลจึงได้กำหนดให้เป็นปีแห่งความปลอดภัยด้านอาหาร มีการรณรงค์เพื่อให้ตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมีที่ใช้ทางการเกษตร ที่ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตมนุษย์ โดยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเกษตรเคมีเป็นเทคโนโลยีชีวภาพมากขึ้น

กรมพัฒนาที่ดิน เป็นหน่วยงานหนึ่งในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีภารกิจการจัดการดินในด้านการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงและคุ้มทุนอย่างยั่งยืน และมีนโยบายทำการเกษตรแบบปลอดภัยและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ศึกษาวิจัยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร “9 สิ่งมหัศจรรย์ของกรมพัฒนาที่ดิน” เพื่อนำไปส่งเสริมเผยแพร่ให้เกษตรกรดังนี้


พืชปุ๋ยสด
เป็นพืชตระกูลถั่ว สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินและเป็นประโยชน์ต่อพืช โดยทำการปลูกเพื่อไถกลบในช่วงระยะเวลาออกดอก และทิ้งไว้ให้ย่อยสลายในดิน จึงสามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้ต่อไป พืชตระกูลถั่วที่เหมาะสมสำหรับเป็นพืชปุ๋ยสด เช่น โสนอัฟริกัน ปอเทือง


หญ้าแฝก
พืชมหัศจรรย์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำเป็นพืชที่เจริญเติบโตด้วยการแตกกอ มีระบบรากยาวหยั่งลึก สามารถเก็บกักน้ำและความชื้นได้ดี นำมาใช้ประโยชน์ในด้านอนุรักษ์ดินและน้ำ การฟื้นฟูทรัพยากรดิน และรักษาสภาพแวดล้อม


ปุ๋ยหมัก สูตร พด.1
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายเศษพืชเพื่อผลิตเป็นปุ๋ยหมักสำหรับใช้ปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน


ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ สูตร พด.2
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายเศษพืช ปลาและหอยเชอรี่ในลักษณะสดเพื่อผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์น้ำสำหรับในการเร่งการเจริญเติบโตของราก ใบ ลำต้น การออกดอกและติดผล


จุลินทรีย์ป้องกันโรครากและโคนเน่าของพืช สูตร พด.3
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อสาเหตุโรครากและโคนเน่าของพืชเศรษฐกิจ เช่น ส้ม ทุเรียน สับปะรด ยางพารา พืชไร่ พืชผัก และไม้ดอก นอกจากนี้ยังสามารถปลดปล่อยธาตุอาหารในดินให้เป็นประโยชน์ต่อพืช ซึ่งเป็นการป้องกันการเข้าทำลายของโรคพืชและต้นพืชมีความแข็งแรง


สารปรับปรุงบำรุงดิน สูตร พด.4
เป็นสารปรับปรุงบำรุงดินที่ได้จากการผสมวัสดุธรรมชาติ ใช้ในการปรับปรุงสมบัติของดินให้เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกทุกชนิด และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี


สารกำจัดวัชพืช สูตร พด.5
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการผลิตกรดและฮอร์โมนสูงใช้ในการกำจัดวัชพืชโดยใช้ในอัตราเข้มข้นสูงทำการฉีดพ่นลงบนวัชพืชและทำการไถกลบ เพื่อการเตรียมดิน ช่วยลดการใช้สารเคมีและเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม


สารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็น สูตร พด.6
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการสกัดสารที่เป็นประโยชน์จากพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ เพื่อใช้ในการนำไปฉีดพ่นต้นพืชเป็นการป้องกันหรือไล่แมลงศัตรูพืชไม่ให้เข้ามาทำลายพืชที่เพาะปลูกได้


สารป้องกันแมลงศัตรูพืช สูตร พด.7
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการสกัดสารที่เป็นประโยชน์จากพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการฉีดพ่นต้นพืชเป็นการป้องกันหรือไล่แมลงศัตรูพืชไม่ให้เข้ามาทำลายพืชที่ปลูกได้


จาก 9 สิ่งมหัศจรรย์เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดินสู่การพัฒนาส่งเสริมและขยายผลเพื่อเพิ่มผลผลิต 10% ลดต้นทุน 10% ลดการใช้สารเคมี 50% ให้กับเกษตรกร 2 ล้านครอบครัวในปี 2547 ผ่านเครือข่ายหมอดินอาสา อบต. นักเรียน เช่น

- การปลูกแฝกในพื้นที่การเกษตร
- การปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยบำรุงดิน
- การใช้สารเร่ง พด.1 พด.3 และ พด.3 สำหรับเพิ่มคุณภาพและผลผลิตน้ำยางพารา
- การใช้สารเร่ง พด.1 พด.2 และ พด.3 สำหรับเพิ่มคุณภาพและผลผลิตเห็ดฟาง
- การเปลี่ยนขยะให้เป็นทองโดยใช้สารเร่ง พด.6 เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากขยะสดบ้านเรือน


กรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการนำปัจจัยการผลิตไปใช้ในการส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตพืชเพิ่มขึ้น เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้นและเศรษฐกิจดีขึ้น ดังนั้นกรมพัฒนาที่ดินจึงให้ความสำคัญ 9 ชนิดนี้และให้ชื่อว่า “9 สิ่งมหัศจรรย์” โดยนำมาใช้บูรณาการร่วมกับระบบการปลูกพืชเพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัยและเป็นแนวทางในการทำระบบเกษตรอินทรีย์ต่อไป


การต่อเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์สารเร่งของกรมพัฒนาที่ดิน
1. การขยายเชื้อจุลินทรีย์ในสารเร่ง พด.1 ทำปุ๋ยหมัก นำรำหยาบ 5 กก. ผสมกับมูลสัตว์ 5 กก. ใส่ลงในประสอบปุ๋ยหรือถุงพลาสติก คลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นละลายสารเร่ง พด.1 ในน้ำ และนำไปผสมคลุกเคล้ากับส่วนผสมวัสดุ โดยให้มีความชื้นประมาณ 60% รัดปากถุงไว้ ตั้งทิ้งไว้บนพื้นซีเมนต์ หลบแดดและฝนเป็นเวลา 7 วัน จะได้เชื้อจุลินทรีย์ย่อยสลายเศษพืชเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม จึงเก็บไว้เป็นต้นต่อเชื้อในการทำปุ๋ยหมักต่อไป โดยใช้เชื้อที่ขยายได้จำนวน 200 กรัม ต่อการหมักวัสดุเศษพืช 1 ตัน


2. การขยายเชื้อจุลินทรีย์ในสารเร่ง พด.2 พด.2 พด.6 และ พด.7 เพื่อผลิตสารชีวภาพ นำสารเร่งจุลินทรีย์ 1 ซอง ผสมกับกากนำตาล 2 ล. และน้ำ 5 ล. ใส่ลงในถังพลาสติก ผสมให้เข้ากันแล้วปิดฝา หมักไว้เป็นเวลา 7 วัน เชื้อจะเจริญเติบโตเต็มที่ จากนั้นนำเชื้อที่ขยายได้ผสมกับรำหยาบหรือปุ๋ยหมัก 5 กก. เพื่อลดความชื้น และผึ่งให้แห้งในที่ร่มและเก็บไว้ในถุงพลาสติกสำหรับเป็นต้นตอเชื้อในการผลิตสารชีวภาพต่อไป โดยใช้เชื้อที่ขยายได้จำนวน 100 กรัม ต่อการผลิตสารชีวภาพ 50 ล.


3. การขยายเชื้อจุลินทรีย์ในสารเร่ง พด.3 ควบคุมโรครากและโคนเน่าของพืช
นำรำหยาบหรือมูลสัตว์ 2 กก. ผสมกับรำข้าว 2 กก. ใส่ลงในกระสอบปุ๋ยหรือถุงพลาสติก คลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นละลายสารเร่ง พด.3 ในน้ำ แล้วนำไปผสมคลุกเคล้ากับส่วนผสมวัสดุ โดยให้มีความชื้นประมาณ 60% รัดปากถุงไว้ ตั้งไว้บนพื้นซีเมนต์ หลบแดดและฝนเป็นเวลา 7 วันจะได้เชื้อจุลินทรีย์ควบคุมโรคพืชเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม จึงเก็บไว้สำหรับเป็นต้นตอเชื้อในการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ควบคุมโรคพืชต่อไป โดยใช้เชื้อที่ขยายได้จำนวน 100 กรัม ต่อการขยายเชื้อในปุ๋ยหมัก 100 กก.

“ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตรของกรมพัฒนาที่ดิน ช่วยเพิ่มคุณภาพดิน ผลผลิตพืช รักษาสิ่งแวดล้อม สนับสนุนวาระแห่งชาติปุ๋ยชีวภาพ และนโยบายอาหารปลอดภัย”



http://www.kasetcity.com/data/articledetails.asp?GID=261


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/10/2011 7:48 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 28/10/2011 7:40 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,002. ปุ๋ยชีวภาพ : เพื่อการเพิ่มผลผลิตให้แก่พืช





นันทกร บุญเกิด
กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร บางเขน กรุงเทพฯ



ปุ๋ยชีวภาพ หมายถึง วัสดุที่มีเชื้อจุลินทรีย์เป็นตัวออกฤทธิ์ในการก่อให้เกิดปฏิกิริยาเพื่อการเพิ่มผลผลิตพืช ในด้านช่วยให้อาหารแก่พืชโดยตรง หรือทำให้พืชได้รับธาตุอาหารที่ต้องการ เช่น เชื้อไรโซเบียม จะต้องมีแบคทีเรียในสกุลไรโซเบียมเป็นตัวการสำคัญ ซึ่งเมื่อใส่ลงไปในดินพร้อมกับปลูกถั่ว มันจะเข้าไปสร้างปมที่รกถั่วช่วยให้ถั่วใช้ธาตุไนโตรเจนในอากาศเป็นปุ๋ยได้ หรือเชื้อราไมโคไรซ่าก็เช่นกัน จะเข้าสู่รากพืชและช่วยดูดซับธาตุอาหารในดินโดยเฉพาะฟอสฟอรัสให้พืชใช้ในการสร้างการเจริญเติบโตได้

จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นปุ๋ยชีวภาพ แบ่งเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่ตรึงไนโตรเจนจากอากาศ และกลุ่มที่ช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากไนโตรเจนในอากาศ

ผลผลิตที่ได้จากการเพาะปลูกของเกษตรกรไทยยังต่ำอยู่ เพราะดินมีความเสื่อมโทรมขาดปุ๋ย และอัตราการใช้ปุ๋ยเฉลี่ยของเกษตรกรไทยต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ

ปุ๋ยที่มีความสำคัญมากและแนะนำให้เกษตรกรใช้ก็คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โปแตสเซียม ประเทศไทยนับว่าโชคดีที่ดินส่วนใหญ่มักไม่ขาดโปแตสเซียมอย่างรุนแรงแต่จะขาดไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ซึ่งพืชทุกชนิดมีความต้องการไนโตรเจนสูงมาก

ไนโตรเจนมีอยู่มากมายในอากาศ ฟอสฟอรัสก็มีอยู่ในรูปหินฟอสเฟตและมีเทคโนโลยีที่สามารถจะนำเอาขบวนการนี้มาปรับปรุงใช้เพื่อนำวัตถุดิบเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์แก่พืชได้ ซึ่งวิธีการต่าง ๆ เหล่านี้จะได้กล่าวต่อไป

การตรึงไนโตรเจนทางชีวภาพ
การตรึงไนโตรเจนทางชีวภาพเป็นขบวนการทางชีววิทยาที่จุลินทรีย์ดินบางกลุ่มที่มีเอนไซม์ไนโตรจิเนส สามารถเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนเป็นปุ๋ยให้พืชใช้ในการเจริญเติบโตได้ จุลินทรีย์ดังกล่าวนี้ แบ่งเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

๑. กลุ่มที่ต้องอาศัยร่วมกับพืชจึงจะตรึงไนโตรเจนได้ ได้แก่ ไรโซเบียมสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน บางชนิด
๒. กลุ่มที่ตรึงไนโตรเจนได้เองโดยไม่จำเป็นที่จะต้องอาศัยอยู่กับพืชใด ๆ ซึ่งมีเป็นจำนวนมากทั้ง แบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน

เมื่อเปรียบเทียบศักยภาพในการตรึงไนโตรเจนของจุลินทรีย์ทั้ง ๒ กลุ่มนี้ พบว่า พวกที่อาศัยอยู่ร่วมกับพืชจะตรึงไนโตรเจนได้สูงกว่ามาก เช่น ไรโซเบียมกับพืชตระกูลถั่ว หรือสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินกับแหนแดง เป็นต้น

จากการทดลองพบว่าจุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจนร่วมกับพืชชั้นสูง สามารถจะตรึงไนโตรเจนได้มากพอแก่ความต้องการของพืชโดยไม่ต้องพึ่งปุ๋ยไนโตรเจน ดังเช่น ไรโซเบียมกับพืชตระกูลถั่ว ซึ่งเทคโนโลยีทางด้านนี้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปแล้ว จนกระทั่งมีโรงงานผลิตเชื้อไรโซเบียมขนาดใหญ่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในประเทศที่พัฒนาแล้ว รวมทั้งประเทศไทยโดยกรมวิชาการเกษตรด้วย

ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีโรงงานผลิตเชื้อไรโซเบียมแล้ว แต่ก็มิได้หมายความว่าเราประสบผลสำเร็จทางด้านนี้ทั้งหมด ไรโซเบียมเป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับเกษตรกร เชื้อไรโซเบียมเป็นสิ่งที่มีชีวิต สามารถนำไปใช้และผลตอบสนองได้เช่นเดียวกันกับปุ๋ยเคมี แต่วิธีการใช้ไม่เหมือนกัน จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อหาวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้น เพื่อให้ไรโซเบียมสามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆดีขึ้น และจำเป็นที่จะต้องมีถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรให้เข้าใจถึงวิธีการใช้ที่ถูกต้อง

ในด้านพืชอื่น ๆ เช่น ข้าวนั้นประเทศไทยมีการปลูกมาก เกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยน้อยมาก หรือบางรายอาจไม่มีการใช้ปุ๋ยเลย แต่ก็ยังคงได้ผลผลิตพอสมควรถึงแม้ว่าจะไม่เท่ากับการใส่ปุ๋ย จากการวิจัยพบว่าจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจนบางกลุ่มสามารถที่จะเพิ่มไนโตรเจนให้แก่นาข้าวได้ เช่น แหนแดง

การที่จะนำจุลินทรีย์ในกลุ่มนี้ไปใช้ในการเพิ่มผลผลิตจึงเป็นสิ่งที่จะต้องทำการศึกษาวิจัยให้ละเอียดและเป็นขั้นตอน ซึ่งถ้าประสบผลสำเร็จก็จะเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการเพิ่มผลผลิตที่มีต้นทุนต่ำมากที่สุด

จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการทำให้ฟอสฟอรัสเป็นประโยชน์แก่พืช
ฟอสฟอรัส เป็นธาตุอาหารพืชที่สำคัญธาตุหนึ่ง พืชมักจะได้รับธาตุฟอสฟอรัสไม่เพียงพอทั้ง ๆ ที่บางครั้งในดินก็มีธาตุนี้อยู่เป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากว่าฟอสฟอรัสมีการละลายไม่ดีและมักจะทำให้อยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์แก่พืชถ้าหากมันมีความเป็นกรด-ด่าง(pH)ต่ำหรือสูงไป และอีกประการหนึ่งก็คือธาตุฟอสฟอรัสมีการเคลื่อนที่ในดินได้น้อยมาก รากพืชจะต้องชอนไชไปยังแหล่งที่มันละลายจึงจะได้รับประโยชน์พืชที่มีระบบรากไม่ดีจึงมักได้รับธาตุนี้ไม่เพียงพอ

ปัจจุบันนี้มีการค้นพบจุลินทรีย์ดินที่เป็นเชื้อราชนิดหนึ่งเรียกว่า ไมโคไรซ่า สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้ ไมโคไรซ่า เป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในรากพืชในระบบพึ่งพาอาศัยกัน เมื่อมันอาศัยอยู่ที่รากพืช เส้นใยส่วนหนึ่งจะอยู่ในรากพืช และอีกส่วนหนึ่งซึ่งอยู่ในดินจะชอนไชไปในอนุภาคของดิน เส้นใยนี้สามารถดูดธาตุอาหารในดินให้แก่พืชได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุฟอสฟอรัส ดังนั้นพืชที่มีเชื้อราไมโคไรซ่าอาศัยอยู่ จึงมักได้รับธาตุอาหารฟอสฟอรัสในปริมาณที่เพียงพอ นอกจากนี้ไมโครไรซ่ายังมีความสามารถช่วยป้องกันไม่ให้ฟอสฟอรัสที่ละลายออกมามาก ถูกตรึงโดยปฏิกิริยาทางเคมีของดินด้วย เพราะมันจะช่วยดูดซับเก็บไว้ในพืช

ไมโคไรซ่ามี ๒ ชนิด คือ เอ็คโตไมโคไรซ่า และ เอ็นโดไมโคไรซ่า สำหรับชนิดแรกนี้มีเส้นใยรวมตัวกันอยู่ นอกรากมีขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่ามักจะอยู่ร่วมกับไม้ยืนต้น ส่วนพวกหลังนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ร่วมกับพืชไร่ทั่ว ๆ ไป เช่น พืชตระกูลหญ้า ตระกูลถั่ว และไม้ยืนต้นบางชนิด

ถึงแม้จะทราบว่าไมโครไรซ่ามีประโยชน์มาก แต่การใช้ก็ยังไม่แพร่หลาย โดยเฉพาะพวกเอ็นโดไมโคไรซ่า ยังไม่สามารถที่จะทำการเลี้ยงและขยายปริมาณได้ ทีละมาก ๆ เพราะยังไม่สามารถที่จะขยายพันธุ์ได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่สังเคราะห์ขึ้น

ในประเทศไทยมีหินฟอสเฟตอยู่ในปริมาณมาก แต่การนำมาใช้ยังไม่แพรหลาย เพราะว่ามีเปอร์เซนต์ฟอสเฟตที่จะละลายออกมาให้พืชใช้ได้น้อย การที่จะใช้หินฟอสเฟตให้เป็นประโยชน์จะต้องทำการแปรรูปให้มีการละลายดีขึ้น

ปัจจุบันพบว่ามีจุลินทรีย์ดินหลายชนิด ทั้งแบคทีเรียและเชื้อรา สามารถที่จะทำให้หินฟอสเฟตละลายเป็นประโยชน์แก่พืชได้ เช่น บาซิลลัส ซูโดโมแนส ไทโอบาซิลลัส แอสเปอร์จิลลัส เพนนิซิลเลียม และอื่น ๆอีกมากมาย การที่จะทำให้หินฟอสเฟตละลายดีจะต้องทำให้สภาพนั้นเป็นกรด ดังนั้นจุลินทรีย์พวกนี้จะต้องเป็นตัวการทำให้เกิดกรดออกมาละลายฟอสฟอรัส จึงสมควรทำการวิจัยเพื่อที่จะทำการปรับปรุงจุลินทรีย์เหล่านี้ให้มีประสิทธภาพในการละลายหินฟอสเฟต ซึ่งถ้าประสบผลสำเร็จก็จะทำให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรเป็นอันมาก เพราะว่าหินฟอสเฟตมีราคาถูกมาก

จุลินทรีย์ที่ย่อยเศษพืช
ในประเทศไทยพบว่ามีวัสดุเหลือใช้จำพวกพืชเป็นจำนวนมาก ซึ่งแบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ ๆ คือ พวกที่อยู่ในไร่นาและที่อยู่ในแหล่งชุมชน และทั้ง ๒ แหล่งนี้สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้

การที่วัสดุพืชเหล่านี้จะถูกแปรสภาพเป็นปุ๋ยจะต้องมีการกระทำโดยจุลินทรีย์ และโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ในดินมีจุลินทรีย์ที่สามารถย่อยเศษวัสดุพืชอยู่แล้วเป็นจำนวนมาก เพียงปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม มันก็สามารถจะดำเนินกิจกรรมได้ ดังนั้นการที่จะได้มีการศึกษาหาจุลินทรีย์ที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นี้ ก็จะเป็นประโยชน์

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า แหล่งแหล่งวัสดุพืชเหลือใช้มีอยู่ ๒ แหล่ง วิธีการปฏิบัติและจุลินทรีย์ที่นำมาใช้จึงควรจะแตกต่างกัน สำหรับเศษพืชที่มีอยู่ในแหล่งชุมชนหรือในโรงงานจะต้องมีการกำจัดให้หมดไปโดยเร็ว และมีผลพลอยได้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์ที่ใช้ในขบวนการนี้จึงจะต้องมีความสามารถย่อยสลายเศษพืชได้อย่างรวดเร็ว ไม่มีความจำเพาะต่อวัสดุมากนัก และจะต้องมีความทนทานต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงมาก

สำหรับจุลินทรีย์ที่จะใช้กับวัสดุในไร่นานั้น ควรจะเป็นไปในทางตรงกันข้าม คือ ไม่ควรทำให้เศษพืชนั้นสลายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะเราต้องการให้มีอินทรีย์วัสดุอยู่ในดินมากที่สุดเพื่อช่วยให้เกิดกิจกรรมหลาย ๆ อย่างในดิน เช่น ในด้านการอุ้มน้ำระบายอากาศป้องกันการจับตัวและแข็งตัวของดิน และก่อให้เกิดกิจกรรมจุลินทรีย์ในดิน ดังนั้นการใช้จุลินทรีย์ย่อยวัสดุเหลือใช้ในไร่นาจึงควรมุ่งในด้านที่จะให้เป็นแหล่งอาหารและพลังงานของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดประโยชน์ทางด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น จุลินทรีย์ในกลุ่มที่ตรึงไนโตรเจน ได้แก่ อโซโตแบคเตอร์ อโซสไปริลลัม และอื่น ๆ

จากการวิจัยพบว่า อโซสไปริลลัม สามารถย่อยสลายฟางข้าวที่อยู่ในดิน และในขณะเดียวกันก็สามารถตรึงไนโตรเจนลงสู่ดินได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีจุลินทรีย์ในกลุ่มที่สามารถทำให้หินฟอสเฟตละลาย ก็ต้องการใช้วัสดุเหล่านี้ เพื่อให้เกิดกิจกรรมดังกล่าว ดังนั้นถ้าหากได้มีการปรับปรุงงานวิจัยให้สอดคล้องซึ่งกันและกันก็จะได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้น

ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิตพืช โดยการใช้ปุ๋ยชีวภาพ
ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ส่วนใหญ่เป็นดินที่มีลักษณะดินร่วนหรือทรายขาดคุณสมบัติในการจับปุ๋ย โดยเฉพาะไนโตรเจน ดังนั้นการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนจึงมักไม่มีประสิทธิภาพ มีการสิ้นเปลืองสูง แต่พืชส่วนใหญ่ต้องการไนโตรเจนมาก การปรับปรุงดินให้ได้ผลจึงควรเริ่มจากพืชที่มีการตรึงไนโตรเจนร่วมกับจุลินทรีย์ได้ เช่น พืชตระกูลถั่วทั้งที่เป็นพืชไร่ พืชคลุมดิน พืชอาหารสัตว์ตลอดจนไม้ยืนต้น ไม้ยืนต้นที่โตเร็วส่วนมากจะเป็นพืชตระกูลถั่วที่สามารถตรึงไนโตรเจนร่วมกับไรโซเบียม และที่ไม่ใช่พืชตระกูลถั่วที่รู้จักกันดีก็คือ สนประดิพัทธ์ และสนทะเล ซึ่งสามารถตรึงไนโตรเจนร่วมกับแฟรงเคีย กรมวิชาการเกษตร สามารถผลิตได้ทั้งไรโซเบียมและแฟรงเคีย

ในนาข้าว พืชที่ตรึงไนโตรเจนและได้ผ่านการทดลองแล้วว่าสามารถใช้เพิ่มผลผลิตข้าวได้เป็นอย่างดีก็ได้แก่แหนแดง ซึ่งกรมวิชาการเกษตรมีสายพันธุ์ดีที่ผ่านการคัดเลือกไว้แล้วเป็นจำนวนมาก รวมทั้งสายพันธุ์ที่เหมาะกับดินทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย

การใช้จุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจนโดยอิสระ เพื่อเพิ่มผลผลิตพืชนั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้ในบางกรณี แต่ยังขาดข้อมูลในด้านการใช้ในไร่นา และการปฏิบัติที่เหมาะสม จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติม

จุลินทรีย์ที่ช่วยให้ธาตุฟอสฟอรัสในดินเป็นประโยชน์แก่พืชนั้นก็มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะไมโคไรซ่า แต่ก็ยังไม่พร้อมที่จะนำไปใช้ได้อย่างกว้างขวาง เพราะขณะนี้เรายังไม่สามารถผลิตเป็นเชื้อได้ จึงควรมีการวิจัยเพิ่มเพื่อหาทางปรับปรุงการใช้ประโยชน์จากไมโคไรซ่าและการผลิตเชื้อ




http://www.thaikasetsart.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:55 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 28/10/2011 7:47 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,003. การผลิตและการเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าวสาลี อ.บ่อเกลือ จ.น่าน



จากที่นาทิ้งร้างในช่วงฤดูแล้งสู่การผลิตข้าวสาลีนำมาซึ่งอาชีพและรายได้ที่เพิ่มขึ้น



แม้ว่าข้าวสาลีซึ่งเป็นธัญพืชเมืองหนาว ไม่ใช่พืชหลักสำหรับเกษตรกรไทย แต่ในบางพื้นที่ โดยเฉพาะเกษตรกรในภาคเหนือตอนบน ข้าวสาลีเป็นพืชทางเลือกหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการสร้างรายได้ และเป็นแหล่งอาหารของชุมชน เกษตรกรเหล่านี้สนใจปลูกข้าวสาลีเป็นพืชหลังนาเพื่อสร้างรายได้ เนื่องจากเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีอากาศหนาวและปลูกได้ในพื้นที่ที่มีน้ำจำกัด ซึ่งไม่เหมาะกับพืชหลังนาชนิดอื่นๆ ในช่วงปี 2539/40-2543/44 เป็นช่วงการส่งเสริมของหน่วยงานรัฐโดยการสนับสนุนปัจจัยการผลิต ทำให้มีพื้นที่ปลูกข้าวสาลีประมาณ 3,000-10,000 ไร่ ผลผลิตรวมอยู่ในช่วง 400-1,000 ตัน/ปี แต่ผลผลิตในแปลงเกษตรกรเฉลี่ยเพียง 150-180 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งค่อนข้างต่ำ

อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน เป็นหนึ่งในพื้นที่ปฏิบัติการของ ศูนย์ภูฟ้าพัฒนา ในโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประชากรร้อยละ 96 ประกอบอาชีพทางการเกษตร มีพื้นที่ทำการเกษตร 57,000 ไร่ จากข้อมูลการสำรวจสภาพเศรษฐกิจของโครงการพัฒนาความมั่นคงพื้นที่ลุ่มน้ำน่านฯ พื้นที่ 9 ปี 2543 พบว่า ราษฎรมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีประมาณ 16,000 บาท เป็นรายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 4,460 บาท และนอกภาคเกษตรเฉลี่ย 11,500 บาท ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมาก ทำให้เกษตรกรปล่อยที่นาทิ้งร้างในช่วงฤดูแล้งเพื่อออกไปรับจ้างในตัวเมือง


สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) เห็นความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและมูลค่าผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลี ซึ่งนำไปสู่การสร้างอาชีพเสริมให้เกษตรกร จากการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ และผลผลิตที่แปรรูป เป็นการใช้ประโยชน์พื้นที่นาได้อย่างเต็มที่ตลอดฤดูกาล ลดปัญหาการย้ายถิ่นในฤดูแล้ง และเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจากปัจจุบันต้องพึ่งพาการนำเข้าในพื้นที่ ในรูปของผลิตภัณฑ์จากแป้งข้าวสาลี เช่น บะหมี่ ขนมเบเกอรี่ต่างๆ รวมทั้งเชื่อมโยงไปสู่โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน


ไบโอเทคจึงร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ กรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินโครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและเพิ่มมูลค่าผลผลิตของข้าวสาลี เพื่อการใช้ประโยชน์พื้นที่นาในฤดูแล้ง อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน โดยมีการศึกษาศักยภาพของผลผลิต องค์ประกอบของผลผลิต และคุณภาพของข้าวสาลีสายพันธุ์ต่างๆ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการคัดและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ การจัดการเขตกรรมและเทคโนโลยีการเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าวสาลีเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น บะหมี่ ขนม ให้กับเกษตรกรที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน


ผลการดำเนินงาน
จากการดำเนินงานพบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 29 ราย เพิ่มผลผลิตข้าวสาลีจากเดิม เฉลี่ย 180 กิโลกรัม/ไร่ เป็น 320 กิโลกรัม/ไร่ โดยผลผลิตที่ได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

1) เก็บไว้เป็นเมล็ดพันธุ์ในฤดูการผลิตต่อไป
2) ส่งจำหน่ายให้กับบริษัทผลิตแป้งซึ่งที่ผ่านมาบริษัทแปซิฟิก ฟลาวมิลค์ จำกัด ให้การสนับสนุนรับซื้อในราคาประกัน และช่วยเหลือค่าขนส่งกับเกษตรกร
3) แปรรูปเป็นแป้งและผลิตภัณฑ์ในระดับท้องถิ่น

ทำให้เกษตรกรมีรายได้เสริมจากการปลูกข้าวสาลีประมาณ 1,500 บาทต่อไร่ และจากการศึกษาเปรียบเทียบศักยภาพของสายพันธุ์ข้าวสาลีพบว่า สายพันธุ์ลำปาง 4 มีความเหมาะสมเนื่องจากสีเมล็ดเหลืองสว่างสม่ำเสมอ เมล็ดอวบ เปอร์เซ็นต์ความชื้นและเถ้าต่ำ แต่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนสูงซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ดีเป็นที่ต้องการในการผลิตแป้งระดับอุตสาหกรรม

โครงการฯ ได้พัฒนาเครื่องโม่แป้งข้าวสาลีต้นแบบ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตในระดับชุมชน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้มากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องที่ใช้ในที่อื่นๆ ของประทศไทย โดยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจากเดิม 60 กิโลกรัมต่อชั่วโมง เป็น 190 กิโลกรัมต่อชั่วโมง เปอร์เซ็นต์ที่ผลิตเป็นแป้งประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ทำให้มีเครื่องโม่แป้งข้าวสาลีต้นแบบเพื่อผลิตแป้งข้าวสาลีจำหน่าย และแปรรูปผลิตภัณฑ์ในชุมชน นอกจากนี้ โครงการฯ ได้ร่วมกับศูนย์ภูฟ้าพัฒนา ถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลีสู่ชุมชน โดยการฝึกอบรมการแปรรูปแป้งข้าวสาลีเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เส้นบะหมี่ ขนม เพื่อการบริโภคในท้องถิ่น และจัดทำเป็นโครงการอาหารกลางวันของนักเรียน เป็นการเพิ่มอาชีพทางเลือกให้กับชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)




http://guru.sanook.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:55 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 28/10/2011 7:57 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,004. ความนิยมมกับการปลูกผักระบบเกษตรอินทรีย์ในปัจจุบัน





ปัจจุบันคนไทยเริ่มหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพกันมากขึ้น กระแสความด้านต้องการบริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์ เป็นหัวใจที่สำคัญอย่างหนึ่ง การเข้าถึงธรรมชาติเป็นอีกกระแสหนึ่งของความนิยม สังเกตได้จากกระแสความต้องการผลผลิตทางการเกษตรในระบบเกษตรอินทรีย์ กำลังมีความต้องการและเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ ของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ

เกษตรกรเองก็อยากปลอดภัยจากสารเคมี ไม่มีใครอยากใช้สารเคมีเพราะอันตรายทั้งตนเองและผู้บริโภค แต่ถ้าไม่ใช้แล้วจะใช้อะไรทดแทน ปัญหาในการเพราะปลูกที่เกษตรกรพบมี 2 ประการใหญ่คือ เรื่อง ดินตาย หรือความไม่อุดมสมบูรณ์ของดินถ้าไม่ใช้ปุ๋ยเคมีแล้วจะใช้อะไรทดแทน และปัญหาของการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ถ้าไม่ใช้สารเคมีแล้วจะใช้อะไรทดแทน

แนวทางที่จะปรับปรุงแก้ไขให้ดินตายกลับกลายเป็น ดินที่มีชีวิตสามารถเพาะปลูกพืชให้ได้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพดีไม่ว่าจะเป็นพืชอะไรก็ตามและต้องเป็นแนวทางที่จะสามารถผลิตผลผลิต ที่ปลอดภัยจากสารพิษทางการเกษตร ทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม สามารถทำเป็นอาชีพได้อย่างยั่งยืน ซึ่งก็คือ แนวทางการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมี แต่จะใช้ความสำคัญของดินเป็นอันดับแรก ด้วยการปรับปรุงดินให้มีพลังในการเพาะปลูก เหมือนกับดินในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ และใช้หลักการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยไม่ใช้สารเคมี โดยการนำทรัพยากรธรรมขาติที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นวิธีการที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อมไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค สามารถให้ผลผลิตที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพ เป็นระบบเกษตรที่มีความยั่งยืนเป็นอาชีพที่มั่นคง



ที่มาของเกษตรอินทรีย์
โดยธรรมชาติของป่าไม้จะมีต้นไม้นานาชนิดขึ้นปะปนกันอยู่เต็มไปหมดมีใบไม้หล่นทับถมกันสัตว์ป่าถ่ายมูลไว้ที่ผิวหน้าดินคลุกเคล้ากันกับใบไม้และซากพืชมูลสัตว์รวมทั้งซากสัตว์ โดยมีสัตว์เล็กๆ เช่น ไส้เดือน กิ้งกือ จิ้งหรีด ฯลฯ กัดแทะเป็นชิ้นเล็กๆ และมีจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินช่วยย่อยสลายจนกลายเป็นฮิวมัสซึ่งเป็นแหล่งธาตุอาหารพืชและใช้ในการเจริญเติบโตของต้นไม้ในป่านั่นเอง

ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเอาปุ๋ยเคมีไปใส่ในป่า ซึ่งเกษตรการสามารถเลียนแบบป่าได้โดยการใช้ปุ๋ยเคมี นอกจากนี้ใบไม้และเศษพืชที่ปกคลุมผิวดินเป็นการคลุมผิวหน้าดินไว้ป้องกันการสูญเสียความชื้นภายในดินทำให้หน้าดินอ่อนนุ่มสะดวกต่อการไชชอนของรากพืชไม่มีใครนำเอายาฆ่าแมลงไปฉีดพ่นให้ต้นไม้ในป่าแต่ต้นไม้ในป่าก็เจริญเติบโตแข็งแรงต้านทานโรคและแมลงได้ตามธรรมชาติ ถึงแม้จะมีโรคและแมลงรบกวนบ้างก็ไม่ถึงขั้นเสียหายและยังสามารถให้ผลผลิตได้ตามปกติ นั่นก็คือ ต้นมี่ขึ้นอยู่บนดินที่มีความอุดมสมบูรณ์จะสามารถต้านทานโรคและแมลงได้ นอกจากนี้พืชในป่าก็มิได้เป็นพืชชนิดเดียวกันทั้งหมด แต่เป็นพืชหลากหลายชนิดทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพมีแหล่งอาหารที่หลากหลายของแมลง และแมลงบางชนิดก็เป็นแมลงศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช ดังนั้นจึงเกิดสมดุลตามธรรมชาติโอกาสที่แมลงศัตรูพืชจะระบาดจนเกิดความเสียหายจึงมีน้อย ดังนั้นเกษตรการจึงสามารถจำลองสภาพป่าไว้ในไร่-นา โดยการปลูกพืชให้หลากหลายชนิด ซึ่งเป็นที่มาของการเกษตรในระบบอินทรีย์หลักการผลิตผักอินทรีย์ เป็นหลักการที่เลียนแบบมาจากป่าที่สมบูรณ์นั่นเอง ซึ่งจะประกอบด้วยหลักทางการเกษตรที่คำนึงถึง ดิน พืช แมลงและสภาพแวดล้อมควบคู่กันไปทุกด้าน



ขั้นตอนการปลูกผักระบบเกษตรอินทรีย์
• การไถพรวนและเตรียมแปลง ต้องทำการไถพรวนให้พื้นที่ในแปลงโล่งแจ้งพร้อมที่จะทำการวางรูปแบบแปลง ในการวางรูปแบบแปลงจะต้องวางไปตามตะวัน เนื่องจากพืชใช้แสงแดดปรุงอาหารและแสงแดดฆ่าเชื้อโรค แปลงที่จะปลูกพืชผักนั้นความกว้างไม่ควรเกิน 1 เมตร ส่วนความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ ส่วนพื้นที่ที่ยังทำแปลงปลูกพืชไม่ทันให้เอาพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียวหรือถั่วมะแฮะมาหว่านคลุมดินเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสด เป็นการปรับปรุงบำรุงดินไปพร้อมกับเป็นการป้องกันแมลงที่จะมาวางไข่ในพงหญ้าด้วย

• ปลูกพืชสมุนไพรไล่แมลง ให้ปลูกก่อนที่จะปลูกพืชหลักคือพืชผักต่างๆ (เสริมกับการป้องกัน) พืชสมุนไพรที่กันแมลงรอบนอกเช่น สะเดา ชะอม ตะไคร้ หอม ข่า ปลูกห่างกัน 2 เมตร โดยรอบพื้นที่ ส่วนต้นด้านในกันแมลงในระดับต่ำโดยปลูกพืชสมุนไพรเตี้ยลงมาเช่น ดาวเรือง กระเพรา โหระพา ตะไคร้หอม พริกต่างๆ ปลูกห่างกัน 1 เมตร และที่จะลืมไม่ได้เลยก็คือจะต้องปลูกตะไคร้หอมทุกๆ 3 เมตร แซมโดยรอบพื้นที่ด้านในด้วย

• การแยกแปลงปลูกยกแปลงเพื่อปลูกพืชผัก แต่ก่อนที่จะปลูกจะต้องมีการปรับสภาพดินในแปลงปลูก โดยการใส่ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ที่ตากแห้งแล้วจะใส่มากน้อยขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินที่จะทำแปลงปลูกพืชอินทรีย์ (ห้ามใช้มูลสัตว์สด) ทำการพรวนคลุกดินให้ทั่วทิ้งไว้ 7 วัน ก่อนปลูก

ปลูกพืชสมุนไพรกันแมลง ให้ปลูกที่ขอบแปลงก่อน เช่น กุ๋ยฉ่าย คื่นฉ่าย และระหว่างแปลงก็ทำการปลูกกระเพรา โหระพา พริกต่างๆ เพื่อป้องกันแมลงก่อนที่จะทำการปลูกพืชผัก พอครบกำหนด 7 วัน พรวนดินอีกครั้งแล้วนำเมล็ดพันธุ์พืชมาหว่านแต่เมล็ดพันธุ์พืชส่วนใหญ่เป็นเมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมีจึงต้องนำเอาเมล็ดพันธุ์ผักมาล้าง โดยการนำน้ำที่มีความร้อน (50-55 C ) วัดได้ด้วยความรู้สึกของตัวเราเองคือเอานิ้วมือจุ่มลงไปถ้าทนความร้อนได้ก็ให้นำเมล็ดพันธุ์พืชแช่ลงไป นาน 30 นาที แล้วจึงนำขึ้นมาคลุกกับกากสะเดา หรือ สะเดาผงแล้วนำไปหว่านลงแปลงที่เตรียมไว้คลุมฟางและรดน้ำ

การเตรียมน้ำสมุนไพรไล่แมลง ก่อนรดน้ำทุกวันควรขยำขยี้ใบ ตะไคร้หอมแล้วใช้ไม้เล็กๆ ตีใบกระเพรา โหระพา ข่า ฯลฯ เพื่อให้เกิดกลิ่นจากพืชสมุนไพรออกไล่แมลง ควรพ่นสารสะเดาอย่างต่อเนื่องทุกๆ 3-7 กันก่อนแก้ถ้าปล่อยให้โรคแมลงมาแล้ว จะแก้ไขไม่ทัน เพราะว่าไม่ใช้สารเคมี ควรดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด

การเก็บเกี่ยว เมื่อถึงอายุควรเก็บเกี่ยวทันทีถ้าทิ้งไว้จะสิ้นเปลืองสารสมุนไพรในการปลูกพืชอินทรีย์ในระยะแรกผลผลิตจะได้น้อยกว่าพืชเคมี ประมาณ 34.40 % ผลดีคือทำให้สุขภาพของผู้ผลิตดีขึ้นไม่ต้องเสียค่ายา (รักษาคน) สิ่งแวดล้อมก็ดีด้วย รายได้ก็เพิ่มกว่าพืชเคมีหากทำอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่องผลผลิตจะไม่ต่างกับการปลูกพืชโดยใช้สารเคมีเลย

ปลูกพืชหมุนเวียน หลังจากที่ทำการเก็บเกี่ยวพืชแรกไปแล้ว ไม่ควรปลูกพืชชนิดเดียวกับพืชแรเช่น ในแปลงที่ 1 ปลูกผักกาดเขียวปลีได้ผลผลิตดีหลักเก็บผลผลิตไปแล้วปลูกซ้ำอีก จะไม่ได้ผลเลย ควรปลูกสลับชนิดกัน เช่น ปลูกผักกาดเชียวปลี แล้วตามด้วยผักบุ้งจีน เก็บผักบุ้งจีนแล้วตามด้วยผักกาดหัว เก็บผักกาดหัวแล้วตามด้วยผักปวยเล้ง เก็บปวยเล้งตามด้วยตั้งโอ๋ ทำเช่นนี้ทุกๆ แปลงที่ปลูกแล้วจะได้ผลผลิตดี

การปลูกพืชอินทรีย์ ปลูกได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอนแต่จะต้องปลูกพืชสมุนไพรก่อนและต่อเนื่อง แล้วต้องปลูกพืชสมุนไพรสลับลงไปในแปลงพืชผักเสมอ แล้วต้องทำให้พืชสมุนไพรต่างๆ เกิดการช้ำ จะได้มีกลิ่น ไม่ใช่ปลูกเอาไว้เฉยๆ การปลูกพืชแนวตั้งคือ พืชที่ขึ้นค้าง เช่น ถั่วผักยาวมะระจีน ฯลฯ และแนวนอน คือ พืชผักต่างๆ คะน้า กระหล่ำปลี ปวยเล้ง ตั้งโอ๋ ฯลฯ ทุกพืชที่ปลูกในแปลงเกษตรอินทรีย์

การปลูกพืชสมุนไพรในแปลงเพื่อไล่แมลง ยังสามารถนำเอาพืชสมุนไพรเหล่านี้ไปขายเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งด้วย หลังจากทำการเก็บเกี่ยวพืชผักแล้วควรรีบทำความสะอาดแปลงไม่ควรทิ้งเศษพืชที่มีโรคแมลงไว้ในแปลง ให้รีบนำไปทำลายนอกแปลง ส่วนเศษพืชที่ไม่มีโรคแมลงก็ให้สับลงแปลงเป็นปุ๋ยต่อไป



หลักการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์
• การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพ และปุ๋ยพืชสด ส่วนปุ๋ยจุลินทรีย์ชีวภาพ ได้แก่ ไรโซเบียม,เชื้อรา ฯลฯไมโคไรซ่า ปุ๋ยและจุลินทรีย์เหล่านี้จะให้ทั้งธาตุหลักลาตุอาหารรองแก่พืชอย่างครบถ้วน จึงใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี

• การคลุมดิน ทำได้โดยใช้เศษพืชต่างๆ จากไร-นา เช่น ฟางหญ้าแห้ง ต้นถัว ใบไม้ ขุยมะพร้าว เศษเหลือทิ้งจากไร่นา หรือ กระดาษหนังสือพิมพ์ พลาสติกคลุมดิน หรือการปลูกพืชคลุมดิน การคลุมดินมีประโยชน์หลายประการ คือ ช่วยป้องกันการชะล้างของน้าดินและรักษาความชุ่มชื้นของดินเป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำ ช่วยทำให้หน้าดินอ่อนนุ่มสะดวกต่อการไชชอนของรากพืช ซึ่งประโยชน์ต่างๆ ของการคลุมดินดังกล่าวมาจะช่วยส่งเสริมให้พืชเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดี

• การปลูกพืชหมุนเวียน เนื่องจากพืชแต่ละชนิดต้องการธาตุอาหารแตกต่างกันทั้งชนิดและปริมาณ อีกทั้งระบบรากยังมีคามแตกต่างกันทั้งในด้านการแผ่กว้างและหยั่งลึกถ้ามีการจัดระบบการปลูกพืชอย่างเหมาะสมแล้วจะทำให้การใช้ธาตุอาหารมีทั้งที่ถูกใช้และสะสมสลับกันไปทำให้ดินไม่ขาดธาตุอาหารธาตุใดธาตุหนึ่ง



หลักการป้องกันและกำจัดโรคและแมลงศัตรูผักโดยไม่ใช้สารเคมี
• การป้องกันและกำจัดโดยวิธีกล โดยไม่ใช้สารเคมี เช่น การใช้มือจับแมลงมาทำลาย การใช้มุ้งตาข่าย การใช้กับดักแสงไฟ การใช้กับดักกาวเหนียวเป็นต้น


• การใช้ตาข่ายไนล่อนสีขาว หรือสีฟ้าคลุมแปลงผัก
เพื่อป้องกันผีเสื้อกลางคืนมาวางไข่ที่ใบพืชผักสามารถป้องกันแมลงประเภทหนอนใยผัก หนอนกระทู้ และหนอนผีเสื้ออื่นๆ ได้ แต่ด้วงหมัดผักกาดและเพลี้ยอ่อนยังเข้าไปทำลายพืชผักได้ ให้ใช้สารควบคุมแมลงจากดอกไพรีทรินฉีดพ่น การปลูกผักในมุ้งมีข้อเสียตรงที่ไม่มีต้นไม้บังลม เมื่อมีลมพายุขนาดย่อมพัดมาอย่างรุนแรงในฤดูแล้ง มุ้งไนล่อนซึ่งใหญ่มากจะถูกลมตีแตกเสียหายทั้งหลัง การใช้มุ้งตาขายครอบแปลงขนาดเล็ก หรือขนาดผ้าคลุมแปลงเพาะกล้าจะไม่เกิดปัญหามุ้งแตกเพราะลมแต่อย่างใด


• การใช้กับดักแมลงสีเหลืองเคลือบวัสดุเหนียว
แมลงศัตรูพืชจะชอบบินเข้าหาวัตถุสีเหลืองมากที่สุด หากใช้วัสดุที่มีลักษณะข้นเหนียวไปทาเคลือบวัสดุสีเหลือง เช่น แกลลอนน้ำมันเครื่องสีเหลือง ถังพลาสติกสีเหลือง แผ่นพลาสติกสีเหลือง แผ่นไม้ทาสีเหลืองหรือแผ่นสังกะสีทาสีเหลือง วางติดตั้งบนหลักไม้ให้อยู่เหนือต้นพืชเล็กน้อย หรือติดตั้งในแปลงปลูกผักห่างกันทุก 3 ตารางเมตร ให้แผ่นสีเหลืองสูงประมาณ 1 เมตร ขนาดแผ่นสีเหลืองควรมีขนาด 1 ตารางฟุต ก็จะลดอันตรายการทำลายของแมลงกับพืชผักของเราได้อย่างมากแมลงศัตรูพืชที่เข้ามาติดกับดักสีเหลองได้แก่แมลงงันหนอนชอนใบ ผีเสื้อกลางคืนของหนอนกระทู้หลอดหอม ผีเสื้อกลางคืน ของหนอนใบผัก ผีเสื้อกลางคืนของหนอนกระทู้ผัก ผีเสื้อกาลางคืนของหนอนคืบกะหล่ำ แมลงวันทอง แลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น และเพลี้ยอ่อน กาวเหนียวที่มีขายในท้องตลาด มีชื่อว่า “ อพอลโล่ ” หรือ “ คันริว ” ป้ายกาวเหนียวครั้งหนึ่งจะอยู่ทนได้นาน 10-15 วัน ส่วนผสมของกาวเหนียวที่กรมวิชาการเกษตรทำร่วมกับผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นและใช้ได้ผลดีในประเทศไทยคือ น้ำมันละหุ่ง 150 ซีซี ผงยางสน 100 กรัม ไขคาร์นาบัว 10-12 กรัม อุ่นให้ร้อน กวนให้เช้ากันตั้งทิ้งให้เย็น แล้วนำไปใช้ได้เลย



หลักการควบคุมแมลงศัตรูพืชผักโดยใช้สารสกัดจากพืชในธรรมชาติ
• นิโคติน (Nicotine) เป็นสารเคมีธรรมชาติที่พบในใบยาสูบใช้ป้องกันกำจัดแมลงพวกปากดูด เช่น เพลี้ย มวน ฯลฯ และใช้เป็นยารมกำจำแมลงในเรือนเพาะชำ

• ทีโนน (Rotenone) เป็นสารเคมีในธรรมชาติสกัดมาจากต้นใต้ดินและรากของต้นหางไหล หรือโล่ติ้น หรือดวดน้ำ นอกจากนั้นยังสามารถสกัดได้จากรากและต้นของต้อนหนอนตายยาก (Stemona) และจากใบและเมล็ดของมันแกว มนุษย์ใช้สารโรทีโนนจากโล่ติ้น เป็นยาเบื่อปลามาตั้งแต่สมัยโบราณมีพิษน้อยต่อสัตว์เลือดอุ่น รากป่นแห้งของต้นหนอนตายอยาก สามารถกำจัดแมลงในล้าน ได้แก่ เรือด หมัด ลูกน้ำยุง และหนอนแมลงวัน และกำจัดแมลงศัตรูพืชได้แก่ ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนใยผัก แมลงวันแตง เพลี้ยอ่อนฝ้าย หนอนกะหล่ำ หนอนแตง เป็นต้น สารทีโนนนี้เป็นสารที่มีพิษต่อระบบหายใจของสิ่งมีชีวิต แมลงที่ถูกสารนี้จะมีอาการขาดออกซิเจน เป็นอัมพาต และตายในที่สุด

• ไพรีทริน (Pyrethrin) เป็นสารเคมีธรรมชาติที่มนุษย์สกัดได้จากดอกแงของไพรีทรัม ซึ่งมีสีขาวอยู่ในวงศ์ Compositae (ตระกูลเก๊กฮวยม,เบญจมาศ) ชอบขึ้นและเจริญเติบโตได้ดีในที่มีอากาศเย็น สารไพรีทรินเป็นสารฆ่าแมลงประเภทถูกตัวตาย ซึ่งเป็นพิษต่อระบบประสาทของแมลง โดยเข้าไปสกัดประจุโซเดียมบนผิวของเส้นประสาท ทำให้ระบบไฟฟ้าของเส้นประสาทหยุดชะงัก ทำให้แมลงสลบโดยทันทีและตานในที่สุด ไพรีทรินมีอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นน้อยมากเนื่องจากสลายตัวได้รวดเร็วในร่างกายของคนและสัตว์เลี้ยง คนที่แพ้อาจมีอาการคล้ายคนเป็นโรคหอบหืด ไม่มีพิษตาค้างสลายตัวได้ดีในสิ่งแวดล้อม สารเคมีสังเคราะห์คล้ายพวกไพรีทรินทมีหลายชนิดที่มีคุณสมบัติในการกำจัดแมลงศัตรูพืชคือ เพลี้ยอ่อน หมัดกระโดด ตั๊กแตน หนอนผีเสื้อกะหล่ำ หนอนกะหล่ำใหญ่ เพลี้ยจักจั่นฝ้าย หนอนเจาะมะเขือ และ หนอนแมลงงันเจาะต้นถั่ว

• สะเดา (Azadiracgta indica) สารฆ่าแมลงมีในทุกส่วนของต้นสะเดาแต่จะมีมากที่สุดในเมล็ด แมลงที่สารสะเดาสามารถควบคุมและกำจัดได้คือ ด้วงงวงข้าวโพด หนอนเจาะสมอฝ้าย เพลี้ยอ่อนทั่วไป เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หนอนใยผัก หนอนกระทู้ ด้วงหมัด เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว หนอนแมลงวันชอนใบ ไรทั่วไป เพลี้ยกระโดดหลังขาว แมลงหวี่ขาว เต่ามะเขือ หนอนเจาะยอดกะหล่ำ เป็นต้น สารออกฤทธิ์ของสะเดาได้ แก่ azadirachtin,Salannin,Meliantriol และ Nimbin ซึ่งจะหมดฤทธิ์ในสภาพที่มีแดด ซึ่งมีรังสีอัลตราไวโอเล็ต จึงควรใช้สารสะเดากับพืชเวลาเย็น หรือตอนกลางคืน สารสะไม่เป็นอันตรายต่อแมลงพวกต่อ แตน ผึ้ง สัตว์เลือดอุ่น และมนุษย์

การใช้ บดเมล็ดสะเดาให้ละเอียด ห่อด้วยผ้าขาวบาง แช่น้ำ 1 คืน ด้วย อัตราการใช้ผงสะเดา 25-30 กรัม/ลิตร หรือเมล็ดสะเดาบด 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร แช่น้ำเป็นเวลา 1-2 คืน แล้วกรองเอากากออก ใช้ฉีดพ่นป้องกันกำจัดแมลงได้ โดยนำไปฉีดพ่นเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืชได้เลย ควรผสมยาจับใบทุกครั้งที่มีการฉีดพ่น



หลักการปลูกพืชหลายชนิด
เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในไร่-นา ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชได้ เนื่องจากการปลูกพืชหลายชนิดจะทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีแหล่งอาหารที่หลากหลายของแมลงจึงมีแมลงหลายชนิดมาอาศัยอยู่ร่วมกัน
ในจำนวนแมลงเหล่านี้จะมีทั้งแมลงที่เป็นศัตรูพืชและแมลงที่เป็นประโยชน์ที่จะช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืชให้คล้ายคลึงกับธรรมชาติในป่าที่อุดมสมบูรณ์นั่นเองมีหลายวิธีได้แก่ ปลูกดาวเรืองเพื่อไล่ไส้เดือนในดิน ปลูกผักหลายชนิด

• การปลูกพืชหมุนเวียน เป็นการไม่ปลูกพืชชนิดเดียวกันหรือตระกูลเดียวกัน ติดต่อกันบนพื้นที่เดิม การปลูกพืชหมุนเวียนจะช่วยหลีกเลี่ยงการระบาดของโรคและแมลง และเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงดิน

• การปลูกพืชแซม การเลือกพืชมาปลูกร่วมกัน หรือแซมกันนั้นพืชที่เลือกมานั้นต้องเกื้อกูลกัน เช่น ช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืช ช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้อีกชนิดหนึ่ง ช่วยคลุมดิน ช่วยเพิ่มรายได้ก่อนเก็บเกี่ยวพืชหลัก เป็นต้น

ดังนั้นจะเห็นได้ว่ากระแสความด้านต้องการบริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์ ความต้องการผลผลิตทางการเกษตรในระบบเกษตรอินทรีย์ กำลังมีความต้องการและเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ เกษตรกรเองก็อยากปลอดภัยจากสารเคมี ไม่มีใครอยากใช้สารเคมีเพราะอันตรายทั้งตนเองและผู้บริโภค แต่ถ้าไม่ใช้แล้วจะใช้อะไรทดแทน ปัญหาในการเพราะปลูกที่เกษตรกรพบมี 2 ประการใหญ่คือ เรื่อง ดินตาย หรือความไม่อุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าไม่ใช้ปุ๋ยเคมีแล้วจะใช้อะไรทดแทน และปัญหาของการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ถ้าไม่ใช้สารเคมีแล้วจะใช้อะไรทดแทน

แนวทางที่จะปรับปรุงแก้ไขให้ดินตายกลับกลายเป็นดินที่มีชีวิต สามารถเพาะปลูกพืชให้ได้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพดีไม่ว่าจะเป็นพืชอะไรก็ตามและต้องเป็นแนวทางที่จะสามารถผลิตผลผลิตที่ปลอดภัยจากสารพิษทางการเกษตร ทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม สามารถทำเป็นอาชีพได้อย่างยั่งยืน ซึ่งก็คือ แนวทางการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมี แต่จะใช้ความสำคัญของดินเป็นอันดับแรก ด้วยการปรับปรุงดินให้มีพลังในการเพาะปลูก เหมือนกับดินในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ และใช้หลักการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยไม่ใช้สารเคมี โดยการนำทรัพยากรธรรมขาติที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นวิธีการที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อมไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค สามารถให้ผลผลิตที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพ เป็นระบบเกษตรที่มีความยั่งยืนเป็นอาชีพที่มั่นคงในระดับประเทศต่อไป





ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
http://guru.sanook.com/pedia/topic/ความนิยมมกับการปลูกผักระบบเกษตรอินทรีย์ในปัจจุบัน/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 28/10/2011 9:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,005. ความหลากหลายของราแมลงในประเทศไทย


รา เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีทั้งประโยชน์และทำให้เกิดโรคกับสิ่งมีชีวิต ไม่ว่า มนุษย์ พืช หรือ สัตว์ “ราแมลง” เป็นตัวอย่างหนึ่งของราที่อาศัยแมลงเป็นเจ้าบ้าน เจริญเติบโตในตัวแมลงที่มีชีวิต จนในที่สุดแมลงตาย ราต้องหาเจ้าบ้านใหม่ โดยการสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ที่มีสปอร์ งอกออกมาจากซากแมลง สปอร์ถูกดีดออกและตกลงไปบนแมลงตัวใหม่ เป็นวัฎจักรเรื่อยไป


...........


ราแมลงบางชนิด ในบางช่วงของวงจรชีวิต อาจอยู่เป็นอิสระในดินไม่ต้องการเจ้าบ้านอาศัย แม้ทำให้เกิดโรคกับแมลง แต่มนุษย์ใช้ประโยชน์ราแมลงมาเป็นเวลานาน ราแมลงชนิดหนึ่งที่คนจีนเรียก “ถังเฉ่า” ถูกนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรชูกำลัง ปัจจุบันมีราคาแพงมาก มีชุกชุมในประเทศภูฏาน ราแมลงหลายชนิดถูกนำมาผลิตเป็นสารปราบแมลงศัตรูพืช ทดแทนการใช้สารเคมี


คณะนักวิจัย จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ศึกษาความหลากหลายของราแมลงในประเทศไทย พบว่ามีความหลากหลายสูงมาก โดยพบราแมลงมากกว่า 400 สปีชีส์ เช่น พบแมลงที่ตายแล้วเกาะติดบนใบไม้ กิ่งไม้ มีเส้นใยราคลุมอยู่บนตัวแมลงหรือมีช่อสปอร์งอกออกมา ราแมลงบางชนิดถูกพบโดยแมลงที่ตายฝังตัวอยู่ใต้ดิน แต่เห็นช่อสปอร์รา แทงขึ้นมาเหนือดิน บางชนิดมีสีหรือเป็นช่อคล้ายดอกไม้ จากการศึกษาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 10 ปี ประเทศไทยนับเป็นแหล่งเก็บรวบรวมราแมลงที่มีความหลากหลายมากที่สุดในโลก


ในด้านการใช้ประโยชน์ นักวิจัยไบโอเทคได้แยกราบริสุทธิ์ นำไปตรวจว่าราสร้างสารออกฤทธิ์ที่อาจยับยั้งเชื้อที่ก่อโรคในมนุษย์ได้หรือไม่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนายาใหม่ พบว่ามีสารที่น่าสนใจในการยับยั้งเชื้อก่อโรคในหลอดทดลอง เช่น วัณโรค มาลาเรีย เป็นต้น การค้นพบสารใหม่ๆ จำนวนมาก ทำให้นักวิจัยไบโอเทคได้รับเชิญให้เขียนบทความตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำของโลกเผยแพร่ไปทั่ว


ไบโอเทค ได้สนับสนุน รศ.ดร.สืบศักดิ์ สนธิรัตน์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศึกษาการใช้ราแมลงผลิตสารปราบไส้เดือนฝอย ทำให้ควบคุมความเสียหายจากการที่ไส้เดือนฝอยเข้าทำลายมันฝรั่ง ไม้ดอก และสนับสนุน รศ.ดร.จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาการใช้ราแมลงในการปราบหนอนที่ทำลายผักและหน่อไม้ฝรั่ง


จากผลงานที่เผยแพร่อย่างกว้างขวาง ผ่านวารสารวิชาการนานาชาติ และเว็บไซต์ไบโอเทค ทำให้พิพิธภัณฑ์ “National Museum of Emerging Science and Innovation” ของประเทศญี่ปุ่น ขอข้อมูลราแมลงจากประเทศไทย ไปจัดแสดงนิทรรศการให้ประชาชนญี่ปุ่นได้ชม

ผู้สนใจศึกษาราแมลงได้ที่เว็บไซต์ http://bbh.biotec.or.th




ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
http://guru.sanook.com/pedia/topic/ความหลากหลายของราแมลงในประเทศไทย/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 28/10/2011 9:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,006. ชีวินทรีย์ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช


การนำเข้ายาปราบศัตรูพืชของไทยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2546-2548 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรรายงานว่า ประเทศไทยนำเข้ายาปราบศัตรูพืชมากกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี การใช้สารเคมีฉีดพ่นในแปลงเกษตรกร และสารเคมีตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเกษตรกรและ ผู้บริโภค รัฐบาลจึงมีนโยบายลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539) เป็นต้นมา โดยสนับสนุนการวิจัยเพื่อหาสิ่งทดแทนเพื่อลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช



ภาพเปรียบเทียบหัวมันฝรั่งที่ใช้ และไม่ใช้เชื้อราเพซิลโลมัยซีส ไลลาซินัส



ไข่ไส้เดือนฝอยที่ถูกเชื้อราเข้าทำลาย


ศัตรูพืชมีทั้งแมลงศัตรูพืช และจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ตัวอย่างแมลงศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนใยผัก จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคพืช มีทั้ง เชื้อรา และแบคทีเรีย เช่น เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคไหม้ในข้าว และโรคเหี่ยวในมะเขือเทศ เป็นต้น สารเคมีที่ใช้จึงมีทั้งสารเคมีฆ่าแมลง และสารเคมียับยั้งเชื้อรา โดยทั่วไปในระบบนิเวศวิทยาที่สมดุล ศัตรูพืชถูกควบคุม หรือมีศัตรูธรรมชาติอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น หนอนกออ้อย ถูกควบคุมด้วยแตนเบียน หรือ ราแมลงเป็นราที่ทำให้เกิดโรคในแมลง ทำให้แมลงตาย มีการพบราแมลงที่เข้าทำลายแมลงหลายชนิด เช่น เพลี้ย มด และหนอนผีเสื้อ การนำสิ่งมีชีวิต (หรือผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิต) ที่มีอยู่ในธรรมชาติเหล่านี้ มาเพาะเลี้ยง และนำกลับไปใช้ในการควบคุมศัตรูพืช เรียกว่า การใช้ชีวินทรีย์ การใช้ชีวินทรีย์มีจุดประสงค์เพื่อลดหรือควบคุมประชากรศัตรูพืช ให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับพืช


ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สนับสนุนงานวิจัย และพัฒนาด้านชีวินทรีย์เพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืช โดยมุ่งเน้นการค้นหาจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่มีศักยภาพจากธรรมชาติ นำมาเพาะเลี้ยง พัฒนาเป็นสูตรสำเร็จในลักษณะสูตรผง หรือน้ำ เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน เก็บรักษาได้เป็นเวลานาน โดย ประสิทธิภาพการเข้าทำลายศัตรูพืชไม่ลดลง ตลอดจนให้ออกฤทธิ์ได้เร็วขึ้น (ใช้เวลาไม่นานในการเข้าทำลายศัตรูพืช)


จนถึงปัจจุบัน ได้มีผลิตภัณฑ์แบคทีเรียบีที ควบคุมหนอนใยผัก หนอนคืบกะหล่ำ หนอนกระทู้หอม และหนอนแปะใบส้ม ซึ่งได้ถ่ายทอดไปให้บริษัท ที เอฟ ไอ กรีนไบโอเทค จำกัด (ผลงานของ ศ.ดร. อมเรศ ภูมิรัตน มหาวิทยาลัยมหิดล โดยการสนับสนุนจาก ไบโอเทค และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย) ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนผลิต และจำหน่ายจากกรมวิชาการเกษตรเรียบร้อยแล้ว ผลิตภัณฑ์บีที อีกสายพันธุ์หนึ่ง เป็นผลงานที่ไบโอเทค สนับสนุน กรมวิชาการเกษตร ในการพัฒนาความสามารถการผลิตบีที และการทำสูตรสำเร็จ และได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้บริษัท อะโกรไบโอเมท จำกัด


นอกจากแมลงแล้ว ไส้เดือนฝอยนับเป็นศัตรูพืชที่สำคัญ ไบโอเทค สนับสนุน ดร.สืบศักดิ์ สนธิรัตน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำรวจ และรวบรวมเชื้อรา ในแหล่งปลูกพืชทุกภาคของประเทศที่มีไส้เดือนฝอยรากปมระบาด และทดสอบประสิทธิภาพเชื้อรา ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม รวมทั้งพัฒนาสูตรอาหารเทียมเลี้ยงเชื้อราที่เหมาะสมได้ ผลิตภัณฑ์เชื้อราเพซิลโลมัยซีส ไลลาซินัส ใช้กำจัดไส้เดือนฝอย ซึ่งเป็นศัตรูของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญหลายชนิด เช่น มันฝรั่ง มะเขือเทศ ปทุมมา และกล้วยไม้ สามารถเข้าทำลายไข่ไส้เดือยฝอยรากปมได้ดี จึงถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตเชื้อราควบคุมไส้เดือยฝอยรากปม ให้กับ บริษัท อะโกรไบโอเมท จำกัด นำไปผลิตเป็นการค้า ในปี พ.ศ.2548




ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
http://guru.sanook.com/pedia/topic/ชีวินทรีย์ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 28/10/2011 9:38 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,007. การเหนี่ยวนำให้เกิดการตกไข่ของโคนม


การเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพที่สร้างงานและรายได้ให้กับเกษตรกรไทยมากว่า 40 ปี ประกอบกับภาครัฐให้การสนับสนุนและรณรงค์ให้มีการบริโภคนมเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันมีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมรวม 23,439 ครอบครัว มีจำนวนโคนมทั้งหมด 408,350 ตัว ให้ผลผลิตน้ำนม 2,045 ตัน/วัน อย่างไรก็ตาม ผลผลิตน้ำนมในประเทศยังไม่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ทั้งนี้ปริมาณน้ำนมดิบที่ผลิตได้ในปี 2547 ประมาณ 746,646 ตัน ในขณะที่การบริโภคภายในประเทศสูงถึง 1.5-1.6 ล้านตัน/ปี





ปัญหาที่สำคัญของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมคือ ความสมบูรณ์พันธุ์ของแม่โคในฟาร์ม การเลี้ยงโคนมในประเทศเกือบทั้งหมดใช้วิธีผสมเทียมเพื่อปรับปรุงพันธุกรรมของแม่โค และลดภาระการเลี้ยงดูพ่อโค แต่ปัญหาที่มักพบคือ แม่โคไม่แสดงอาการเป็นสัด รวมทั้งปัญหาทางด้านของระบบสืบพันธุ์ แม่โคจำนวนมากจึงพลาดโอกาสได้รับการผสมเทียมและตั้งท้อง วิธีการแก้ไขปัญหาแบบหนึ่งคือ ใช้การเหนี่ยวนำให้เกิดการตกไข่และผสมเทียมตามระยะเวลาที่กำหนด โดยไม่ต้องสังเกตอาการเป็นสัดของแม่โค เทคโนโลยีนี้ได้พัฒนาและเริ่มประยุกต์ใช้ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ.2538 แต่วิธีการนี้มีค่าใช้จ่ายสูงมากและให้ผลไม่ดีนักในแม่โคที่เลี้ยงในประเทศไทย เนื่องจากความแตกต่างทางสรีระของแม่โคที่เลี้ยงดูในสภาวะแวดล้อมที่ต่างกัน


ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีการเหนี่ยวนำการตกไข่และผสมเทียมตามเวลาที่กำหนด วิธีการนี้ได้ทดสอบมาแล้วระยะหนึ่งพบว่า ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจและมีราคาถูก (ครั้งละ 200 บาท) ซึ่งถูกกว่าวิธีที่พัฒนาในมลรัฐวิสคอนซิน ประเทศสหรัฐอเมริกา ถึง 5 เท่า ที่สำคัญอย่างยิ่งคือใช้ได้ผลค่อนข้างดีกับโคที่เลี้ยงในประเทศไทย


ปัจจุบันเกษตรกรจำนวนมากให้ความสนใจกับเทคโนโลยี ซึ่งไบโอเทคได้ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีและให้บริการเหนี่ยวนำการตกไข่ให้กับแม่โค โดยให้ทางฟาร์ม/สหกรณ์เป็นผู้ผสมเทียม โดยได้ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีและให้บริการไปแล้วกับสหกรณ์และบริษัทหลายแห่ง ได้แก่ สหกรณ์โคนมพิมาย และสหกรณ์โคนมปากช่อง จ.นครราชสีมา สหกรณ์โคนมหนองโพ และสหกรณ์โคนมเขาขลุง จ.ราชบุรี รวมทั้งบริษัทที่ดำเนินกิจการฟาร์มโคนมขนาดใหญ่หลายแห่ง ได้นำเทคโนโลยีนี้ไปประยุกต์ใช้ เช่น บริษัท เอพีพีเดรีฟาร์ม จำกัด หจก.น้ำฝนฟาร์ม ฟาร์มคุณคมสัน และ หจก.ยินดีฟาร์ม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้จัดบริการเหนี่ยวนำการตกไข่ และผสมเทียมแก่เกษตรกรรายย่อย ทำให้แม่โคของเกษตรกรที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์กลับมาตั้งท้องได้


ไบโอเทคได้ปรับเทคโนโลยีนี้เพื่อใช้กับแม่โคเนื้อ และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรในอำเภอเมือง จ.มหาสารคาม ผลการดำนินงานดังกล่าวทำให้แม่โคที่มีปัญหาการผสมพันธุ์ติดยากกลับมาตั้งท้องได้ การใช้เทคโนโลยีดังกล่าวทำให้มูลค่าของแม่โคที่มีปัญหาเรื่องระบบสืบพันธุ์มีราคาเพิ่มขึ้นจากการเป็นโคคัดทิ้งที่มีราคาเพียงตัวละ 12,000-15,000 บาท กลายเป็นแม่โคที่มีมูลค่าถึงตัวละ 30,000-32,000 บาท




ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
http://guru.sanook.com/pedia/topic/การเหนี่ยวนำให้เกิดการตกไข่ของโคนม/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 28/10/2011 9:44 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,008. เทคโนโลยีย้ายฝากตัวอ่อนโคนม


เทคโนโลยีย้ายฝากตัวอ่อนในโค ถูกใช้อย่างแพร่หลายในต่างประเทศนานกว่า 30 ปี ปัจจุบัน ทั่วโลกผลิตตัวอ่อนจากแม่โคตัวให้ เพื่อย้ายฝากตัวอ่อนแก่แม่โคตัวรับมากกว่า 500,000 ตัวอ่อนต่อปี เทคโนโลยีย้ายฝากตัวอ่อนช่วยเร่งการเพิ่มปริมาณโคนมพันธุ์ดี ที่ให้ผลผลิตน้ำนมสูง ช่วยลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการค้ากับต่างประเทศ โดยเฉพาะในภาวะที่อุตสาหกรรมโคนมไทยอยู่ในภาวะวิกฤติ เทคโนโลยีย้ายฝากตัวอ่อนยังช่วยคัดเลือกเพศตัวอ่อน ก่อนการย้ายฝาก จึงเพิ่มโอกาสการได้โคเพศเมียมากขึ้น


ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สนับสนุน สพ.ญ.จุรีย์รัตน์ สำเร็จประสงค์ จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนาเทคโนโลยีย้ายฝากตัวอ่อนในโคเพื่อใช้ในเชิงธุรกิจ โดยศึกษาความเป็นไปได้ของการนำเทคโนโลยีย้ายฝากตัวอ่อนไปใช้ในระดับฟาร์ม ศึกษาการตอบสนองต่อฮอร์โมนกระตุ้นการตกไข่ของแม่โคกับความสามารถในการผลิตตัวอ่อน การตอบสนองต่อฮอร์โมนเหนี่ยวนำการเป็นสัดในแม่โคตัวรับ การผลิตตัวอ่อนคุณภาพดี การตรวจเพศตัวอ่อนโดยวิธีพีซีอาร์ รวมไปถึงศึกษาอัตราการตั้งท้องหลังการฝากตัวอ่อนแช่แข็งและตัวอ่อนสด




การย้ายฝากตัวอ่อน


[img]http://guru.sanook.com
ตัวอ่อนโคอายุ 7 วัน


[img]http://guru.sanook.com[/img]
การตรวจเพศจากเซลล์ตัวอย่าง หลอดที่พบการเรืองแสงสีชมพูเข้ม แสดงว่าเป็นเพศผู้




ขั้นตอนการย้ายฝากตัวอ่อนโค
ขั้นตอนการย้ายฝากตัวอ่อน เริ่มจากการเหนี่ยวนำการเป็นสัดในแม่โคตัวให้และโคตัวรับ จากนั้นฉีดฮอร์โมนกระตุ้นการตกไข่ และผสมเทียมแม่โคตัวให้ภายใน 12 ชั่วโมงหลังอาการสัด 2–3 ครั้ง จึงเก็บตัวอ่อน 7 วันหลังจากอาการสัดวันแรก ประเมินคุณภาพตัวอ่อนที่เก็บได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ ตัวอ่อนที่ได้จะย้ายฝากในแม่โคตัวรับทันที หรือแช่แข็งไว้ใช้ เมื่อแม่โคตัวรับมีความพร้อม ถ้าต้องการแยกเพศเพื่อคัดเลือกตัวอ่อนเพศเมีย ตรวจได้โดยใช้วิธีพีซีอาร์ก่อนการฝากตัวอ่อน


การผลิตลูกโคโดยใช้เทคโนโลยีการย้ายฝากตัวอ่อน ช่วยให้แม่โคพันธุ์ดีซึ่งในธรรมชาติให้ลูกได้อย่างมาก 1 ตัวต่อปี เพิ่มความสามารถผลิตลูกโคได้มากถึง 15-20 ตัวต่อปี เพราะสามารถเก็บตัวอ่อนได้เฉลี่ย 5-6 ตัวอ่อนต่อครั้ง และเก็บได้ทุก 2 เดือน สามารถนำตัวอ่อนไปฝากให้โคตัวรับ ซึ่งไม่จำเป็นที่แม่โคตัวรับ (แม่อุ้มท้อง) ต้องเป็นแม่โคพันธุ์ดี แต่ต้องมีความพร้อมในการฝาก


การผลิตตัวอ่อนจากแม่โคตัวให้ที่ให้ผลผลิตน้ำนมสูง และพ่อโคที่มีพันธุกรรมดี ร่วมกับการใช้เทคนิคการเลือกเพศ ช่วยให้ผลิตลูกโคเพศเมียที่ให้น้ำนมคุณภาพดีได้จำนวนมาก การย้ายฝากตัวอ่อนจึงมีศักยภาพช่วยเพิ่มจำนวนโคนมพันธุ์ดีได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การเลี้ยงโคนมและอุตสาหกรรมผลิตนมของประเทศ มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ไบโอเทค จึงสนับสนุนการนำเทคโนโลยีย้ายฝากตัวอ่อนไปใช้ประโยชน์ โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ผู้สนใจ รวมทั้งผลักดันเทคโนโลยีดังกล่าวให้ดำเนินงานในรูปแบบเอกชน โดยจัดตั้ง บริษัท พัฒนาโคนมไทย จำกัด ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง สวทช. สหกรณ์โคนม และบริษัทเอกชน ผู้สนใจติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท พัฒนาโคนมไทย จำกัด 669 หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ กิ่งอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว 27250 หรือโทรศัพท์ 02-5646700 ต่อ 3129, 3112



ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
http://guru.sanook.com/เทคโนโลยีย้ายฝากตัวอ่อนโคนม_/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 9:36 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 28/10/2011 9:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,009. พาหะของไวรัสทอร่าในกุ้งขาว


กุ้งกุลาดำเคยเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของไทย มีมูลค่าส่งออกปีละไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาท แต่เมื่อประสบปัญหาโรคระบาดในกุ้งกุลาดำครั้งใหญ่ จากไวรัสชนิดก่อโรครุนแรง คือ ไวรัสหัวเหลือง และไวรัสตัวแดงดวงขาว เมื่อปี 2538 และต่อมาในปี 2544 เริ่มประสบปัญหากุ้งกุลาดำโตช้า ผลผลิตลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปัญหาดังกล่าวเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจึงเปลี่ยนไปเลี้ยงกุ้งขาวมากขึ้น เนื่องจากเลี้ยงง่าย ได้ผลผลิตที่สูงกว่า โดยในปี 2548 มีการเลี้ยงถึง 340,000 ตัน และมีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำเพียง 32,000 ตัน



[img]http://guru.sanook.com
ลักษณะของกุ้งติดเชื้อไวรัสทอร่าซินโดรม


กุ้งขาวไม่ใช่กุ้งพื้นเมืองของประเทศไทย จึงต้องนำเข้าพ่อแม่พันธุ์จากต่างประเทศ ที่ต้องผ่านการตรวจโรคก่อนการนำเข้า อย่างไรก็ตาม การขยายตัวการเลี้ยงกุ้งขาวมีอัตราสูงมาก ทำให้มีการลักลอบนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ กุ้งขาว จากประเทศที่เคยมีการระบาดของไวรัสทอร่า- ซินโดรม เข้ามาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการระบาดในการเลี้ยงกุ้งขาว สร้างความเสียหายต่อระบบการเลี้ยงอย่างมาก

นอกจากเกิดการระบาดในกุ้งขาวด้วยกันเอง และทำให้กุ้งขาวตายแล้ว ยังมีการตรวจพบไวรัสทอร่าในกุ้งกุลาดำ และในกุ้งก้ามกราม ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากมีการเลี้ยงร่วมกัน รวมทั้งเกษตรกรมักโยนกุ้งขาวที่ตายให้กุ้งก้ามกรามกิน แม้ว่ากุ้งกุลาดำที่ติดไวรัสทอร่าไม่เป็นโรค แต่เนื่องจากสารพันธุกรรมของไวรัสทอร่าเกิดความผันแปรได้อย่างรวดเร็ว โดยตรวจพบการกลายพันธุ์ของไวรัสทอร่าในกุ้งขาว จึงอาจเป็นไปได้ที่การกลายพันธุ์ดังกล่าว จะนำไปสู่การก่อโรคในกุ้งกุลาดำ และสัตว์น้ำอื่น ๆ ในอนาคต


การศึกษาพาหะของไวรัสทอร่าในกุ้งขาว
การศึกษาการแพร่กระจายของไวรัสทอร่าสู่สัตว์น้ำอื่น ๆ โดยการศึกษาพาหะนำโรคนำไปสู่การป้องกันการแพร่กระจายของโรค โดยป้องกันไม่ให้สัตว์ที่เป็นพาหะอาศัยอยู่ในระบบการเลี้ยง ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สนับสนุน นางวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย นักวิจัยไบโอเทค จากหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาพาหะของไวรัสทอร่าซินโดรม โดยใช้เทคนิคพีซีอาร์ โดยมีการเก็บตัวอย่างสัตว์ชนิดต่าง ๆ ที่พบในบริเวณฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาวที่พบการติดเชื้อไวรัสทอร่า ในจังหวัดราชบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี และจันทบุรี สัตว์ที่เก็บเป็นต้นว่า กุ้งฝอย ปูแสม ปูก้ามดาบ เพรียง แมลงปอ และปลาหมึก

ผลการตรวจ พบไวรัสทอร่าในกุ้งฝอย และปูแสม และเพื่อทดสอบว่า ไวรัสทอร่าสามารถถ่ายทอดจากกุ้งขาวไปยังสัตว์ดังกล่าวได้จริง จึงทำการเลี้ยง กุ้งฝอย ปูแสม และสัตว์ชนิดอื่น เช่น ปูก้ามดาบ ที่ปลอดเชื้อร่วมกับกุ้งขาวที่ติดเชื้อ ซึ่งหลังจากการเลี้ยงไปเป็นเวลาประมาณ 3 วัน สามารถตรวจพบไวรัสในกุ้งฝอย ปูแสม และปูก้ามดาบ ซึ่งการถ่ายทอดเชื้อเกิดจากการอยู่ร่วมกัน และเกิดจากการกินเนื้อกุ้งขาวที่ตายระหว่างการเลี้ยง นอกจากนั้น เมื่อนำกุ้งฝอยที่ติดเชื้อไปเลี้ยงร่วมกับกุ้งขาวที่ปลอดเชื้อ สามารถพบการติดเชื้อในกุ้งขาวเช่นกัน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ไวรัสทอร่า สามารถแพร่กระจายไปยังสัตว์น้ำหลายชนิด ซึ่งอาจทำให้สัตว์น้ำเหล่านั้นเป็นหรือไม่เป็นโรค โดยสัตว์ที่ติดเชื้อสามารถเป็นพาหะ แพร่ไวรัสกลับไปยังกุ้งขาว ทำให้กุ้งขาวติดเชื้อและตายได้


คำแนะนำสำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งขาว
1. ในการใช้พ่อแม่พันธุ์กุ้งขาว ควรมีการตรวจสอบว่า พ่อแม่พันธุ์ปลอดจากโรคทอร่าหรือไม่ หรือมีการสุ่มตรวจลูกกุ้งเพื่อลดความเสี่ยง

2. ควรกำจัดพาหะ เช่น กุ้งฝอย ปูแสม ปูก้ามดาบ ออกไปจากระบบการเลี้ยง และมีการป้องกัน และเฝ้าระวังไม่ให้หลุดรอดเข้ามาในบ่อเลี้ยงกุ้งขาว

3. หลีกเลี่ยงการเลี้ยงกุ้งขาวร่วมกับการเลี้ยงสัตว์น้ำที่เสี่ยงต่อการติดโรคไวรัสทอร่า และไม่ใช้กุ้งขาวที่ตายจากการติดเชื้อทอร่าไปเลี้ยงกุ้งอื่น





ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
http://guru.sanook.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 9:35 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 28/10/2011 9:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,010. สวทช.จับมือเอกชนพัฒนาพันธุ์พืชเศรษฐกิจไทย


สวทช. ร่วมกับบริษัท แอ๊ดวานซ์ อาเชี่ยน พัฒนางานวิจัยพันธุ์พืชเศรษฐกิจ-พืชพลังงานไทย ยกระดับคุณภาพผลผลิต สร้างรายได้ให้ภาคเกษตร


[img]http://www.nstda.or.th

รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับบริษัท แอ๊ดวานซ์ อาเชี่ยน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มชัยโยเอเอ (Shaiyo-aa) เพื่อพัฒนางานวิจัยพันธุ์พืชเศรษฐกิจ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้ให้ความสนใจที่จะเช่าพื้นที่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เพื่อจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชของบริษัทฯ อีกทั้งยังมีความสนใจร่วมกับ สวทช. ในการวิจัยพัฒนาด้านพืชเศรษฐกิจ-พืชพลังงานของประเทศไทยอีกด้วย ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้มีการดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมกับศูนย์วิจัยแห่งชาติทั้งสี่ศูนย์ของ สวทช. มาแล้ว โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาพันธุ์ยูคาลิปตัส การตรวจวิเคราะห์คุณภาพเนื้อไม้เพื่ออุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ ดังนั้นการจัดทำบันทึกข้อตกลงครั้งนี้จึงทำให้ความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายมีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นในการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ


คุณศิริวรรณ ดำเนินชาญวณิชย์ ประธานกรรมการบริษัท แอ๊ดวานซ์ อาเชี่ยน จำกัด กล่าวว่า บริษัท แอ็ดวานซ์ อาเชี่ยน จำกัด เป็นหน่วยงานวิจัยของกลุ่มบริษัท ชัยโยเออ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนางานวิจัยและพันธุ์พืชเศรษฐกิจโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาพันธุ์พืชให้มีความเหมาะสมและคุ้มค่าต่อการเพาะปลูก อีกทั้งให้มีความเหมาะสมกับการนำไปพัฒนาต่อในอุตสาหกรรมเพื่อความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งความร่วมมือกับ สวทช. ในครั้งนี้จะมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการยกระดับคุณภาพของผลผลิตและราคาแก่พืชผลการเกษตรไทย



http://www.nstda.or.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 9:34 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 30/10/2011 10:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,011การบำรุงดินและการใส่ปุ๋ยสวนผลไม้

โดย นายวิจิตร วังใน และนายปวิณ ปุณศรี



๑. การบำรุงดิน
ในบรรดาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตทั้งทางกิ่ง ใบ และการผลิดอกออกผลของไม้ผล นอกจากฟ้าอากาศแล้ว อาหารพืชหรือปุ๋ยนับว่าเป็นปัจจัยโดยตรงในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช อาหารพืชเกือบทั้งหมดจะได้มาจากดิน ชาวสวนจึงมักจะคำนึงถึงเรื่องดินแต่เพียงอย่างเดียว ในปีหนึ่งๆ ต้นไม้จะดูดอาหารไปใช้เป็นจำนวนมาก ถ้าไม่มีการเติมธาตุอาหารลงไปแทนส่วนที่สูญหายไป จะทำให้ดินจืดลงทุกทีและในที่สุดดินที่ว่านั้นจะใช้ปลูกต้นไม้ไม่ได้ผล เมื่ออาหารไม่เพียงพอ การเจริญเติบโตของพืชก็จะผิดปกติ และในที่สุดพืชอาจจะตายได้

พืชต้องการธาตุอาหารต่างๆ จากดิน คือไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซี่ยมแมกนีเซียม กำมะถัน นอกจากนี้ต้องการธาตุ อาหารรอง เช่น แมงกานีส โบรอน ทองแดงเหล็ก สังกะสี และโมลีบดินัม อาหารพืชที่เราให้ลงไปในดินจะมีทั้งอินทรียสาร และอนินทรียสารอินทรียสาร เช่น ใบไม้ผุ หญ้าหมัก มูลสัตว์ จะช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้นเช่น ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี นอกจากนี้จะเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินบ้าง แต่น้อยมาก ตัวอย่างเช่น มูลวัวหรือควาย จะมีธาตุอาหารโดยประมาณ คือ ไนโตรเจน ๐.๘-๑.๓% กรดฟอสฟอริก ๐.๓-๐.๙% เป็นต้น ต้นไม้จะไม่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในทันที แต่จะ ปล่อยให้ปุ๋ยผุพังโดยผ่านกระบวนการต่างๆ เสียก่อน และจะมีจุลินทรีย์ในดินเข้าช่วยด้วยอาหารพืชที่อยู่ในรูปอนินทรียสาร เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต แอมโมเนียมไนเตรต โซเดียมไนเตรต แอมโมเนียมฟอสเฟต ยูเรีย สารเหล่านี้ เป็นแหล่งที่มาของธาตุไนโตรเจน (N) สารพวกซุปเปอร์ฟอสเฟต ดับเบิลซุปเปอร์ฟอสเฟต แคลเซียมฟอสเฟต กระดูกป่น และแอมโมเนียมฟอสเฟตจะให้ธาตุฟอสฟอรัส (P) ส่วนสารที่ให้ธาตุโพแทช (K) ที่นิยมกันมากคือ โพแทสเซียมคลอไรด์ และโพแทสเซียมซัลเฟต ดินจำเป็นต้องได้ธาตุอาหารจากปุ๋ยอนินทรีย์เมื่อดินที่ไม้ผลขึ้นอยู่นั้นมีธาตุอาหารต่างๆ ไม่เพียงพอ การใส่ปุ๋ยควรกระทำเมื่อพืชขาดธาตุอาหารและใส่ในจำนวนพอดีไม่ขาดไม่เกินตลอดจนให้ธาตุอาหารที่พืชต้องการ
[กลับหัวข้อหลัก]


๒. การใส่ปุ๋ยสวนผลไม้
การให้ปุ๋ยไม้ผลนั้นแตกต่างจากการให้ปุ๋ยพืชที่มีรากตื้นๆ เช่น พืชไร่หรือผัก และเนื่องจากไม้ผลยืนต้นมีอายุยืนนานผลของการใส่ปุ๋ยจึงมีความสำคัญยิ่งกว่า เพราะการขาดธาตุอาหารบางอย่างใช้เวลานานจึงจะแสดงอาหารให้เห็น การให้ปุ๋ยไม้ผลมีปัจจัยที่จะต้องพิจารณาหลายอย่างด้วยกัน เช่น ดิน อายุของต้นชนิดของไม้ผล ปริมาณน้ำฝน ตลอดจนวิธีปฏิบัติงานสวน จึงไม่สามารถกำหนดวิธีและอัตราการให้ปุ๋ยที่แน่นอนตายตัวลงไปได้ ฉะนั้นการให้ปุ๋ยในแต่ละสวนอาจแตกต่างกันออกไป สำหรับหลักทั่วไปในการพิจารณาให้ปุ๋ย ควรมีดังนี้

๒.๑ ควรทราบปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินหรือในส่วนต่างๆ ของต้นไม้ว่ามีเพียงพอหรือไม่และธาตุอาหารเหล่านั้นพืชสามารถจะเอาไปใช้เป็นประโยชน์ได้มากน้อยเพียงไร การทดสอบเพื่อหาปริมาณธาตุอาหารอาจทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น การวิเคราะห์ดิน การวิเคราะห์ส่วนของพืชและการทดลองปุ๋ย ตลอดจนการสังเกตอาการของต้นไม้

๒.๒ ควรทราบความต้องการของต้นไม้ในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโตว่าระยะไหนต้นไม้ต้องการอาหารมากที่สุด และระยะไหนต้นไม้ต้องการธาตุอาหารอะไรมาก ปกติเราแบ่งการเจริญเติบโตของต้นไม้ออกเป็น ๒ ตอน คือ การเจริญทางกิ่งใบ กับการเกิดดอกติดผล ระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโตจะต้องการธาตุอาหารแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น กล้วยเมื่อเราปลูกจากหน่อ ในช่วง ๓ เดือนแรกจะกินปุ๋ยน้อย พอเริ่มเข้าเดือนที่ ๔ ซึ่งเป็นระยะแตกเนื้อสาวของกล้วย และจะกินเวลาจนถึงสิ้นเดือนที่ ๖ ช่วงนี้กล้วยต้องการปุ๋ยเป็นจำนวนมากและต้องการไนโตรเจนสูง จึงควรโหมให้ปุ๋ยตั้งแต่เดือนที่ ๔ ถึงเดือนที่ ๖ พอเลยระยะนี้ไปแล้วพืชจะต้องการปุ๋ยลดลง ถ้าเราใส่ปุ๋ยมากพืชก็จะนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นการให้ปุ๋ยกล้วยเมื่อเลยเดือนที่ ๖ หลังจากปลูกไปแล้วควรเป็นปุ๋ยที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพของกล้วย นั่นคือ ควรมีธาตุโพแทชสูง

๒.๓ ควรใส่ปุ๋ยเพื่อให้ต้นไม้ให้ผลกำไรมากที่สุด พืชโดยทั่วไปต้องการธาตุอาหาร NRazz:K: ในอัตราส่วน ๕:๑:๒ ซึ่งในอัตราส่วนนี้ธาตุอาหารทั้ง ๓ จะมีอำนาจเท่าๆ กัน และธาตุอาหารจะเป็นประโยชน์ต่อพืชมากที่สุด หรือจะกล่าวอีกอย่าง หนึ่งถ้าดินปลูกพืชไม่มีธาตุอาหารอะไรอยู่เลย และสภาพแวดล้อมอื่นเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช ถ้าเราให้ปุ๋ยพืช NRazz:K: ในอัตรา ๕:๑:๒: แล้วพืชนั้นจะเจริญเติบโตสามารถให้ดอกผลอย่างดียิ่งเพราะธาตุทั้งสามไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน

๒.๔ การใส่ปุ๋ยควรแบ่งใส่หลายๆ ครั้งต่อปีธาตุอาหารบางอย่าง เช่น ไนโตรเจน เมื่อให้ลง ไปในดินแล้วจะไหลซึมได้ง่าย ถ้าเราให้ในปริมาณมากๆ ในครั้งเดียวพืชจะเอาไปใช้ไม่ทัน และธาตุอาหารอื่นๆ ก็มีลักษณะคล้ายๆ กัน กล่าวคือ พืชจะทยอยใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้ปุ๋ยเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ การใส่ปุ๋ยจึงควรแบ่งใส่ ๒-๓ ครั้ง หรือมากกว่าต่อปี ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงอายุของต้นไม้ด้วยไม้ผลที่ยังเล็กอยู่ควรแบ่งใส่หลายๆ ครั้ง เพราะระบบรากยังไม่แข็งแรงพอ ไม้ผลที่โตแล้วมักแบ่งใส่เป็น ๓ ครั้งต่อปี เช่น ครั้งแรกให้ก่อนหรือต้นฤดูฝน ครั้งที่สองให้ตอนปลายฤดูฝน และอีกครั้งหนึ่งตอนก่อนออกดอก หรือหลังเก็บเกี่ยวผลแล้วอย่างไรก็ดีควรพิจารณาสภาพท้องที่ และชนิดของไม้ผลประกอบด้วย



http://guru.sanook.com/enc_preview.php?id=1169
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 38, 39, 40 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 39 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©