ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 02/10/2011 1:31 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
หน้าที่ 30
ลำดับเรื่อง.....
762. การปลูกผักหวานป่า
763. ต้นตะกู พืชโตเร็ว
764. สตรอเบอรี่ แปลงขนาดใหญ่ ปลูกในกระถาง....
765. ปั่น 'ตะกูยักษ์' ต้มนักลงทุน นักวิชาการเตือน ไม่รู้จริงอย่าเสี่ยง
766. สุดยอดผลไม้ เก๋ากี่ หรือ แฮปปี้ เบอร์รี่ หรือ โกจิ เบอร์รี่
767. คุณประโยชน์ที่สำคัญโดยสรุปจากโกจิเบอรี่
768. รวมรูป ผลไม้ตระกูลเบอรี่ และผลไม้เมืองหนาว
769. องุ่นไม่มีเมล็ดมี 3 แบบ
770. ข้าวลืมผัว....
771. ฮ่องกง ได้รับผลกระทบจากโครงการ จำนำข้าว ของไทย
772. ผลผลิตองุ่นกว่างซีสูงติด 1 ใน 10 อันดับแรกของจีนแล้ว
773. กว่างซี ค้นพบเทคนิคการปลูกองุ่นถีจื่อ ในพื้นที่จีนตอนใต้
774. ครึ่งปี 2554 ยูนนาน นำเข้าผลไม้เพิ่ม 39% มังคุดไทย ครองอันดับ 1
775. ฝูเจี้ยนขยายสวนนวัตกรรมเกษตรไต้หวันเพิ่มอีก 3 แห่ง
776. ฟักทองยักษ์
777. นาโนบอล
778. การใช้นาโน 863 ในวงการเพาะปลูก
779. เครื่องวัดความสุกแก่ทุเรียน
780. เครื่องหว่านข้าวแห้งติดรถแทรกเตอร์
781. เพาะกล้าผัก...ธุรกิจที่กำลังมาแรง .
782. ดัดแต่งทรงพุ่มมังคุดอย่างไร ให้ติดผลมีคุณภาพดี .
783. อินเดียตัดต่อพันธุ์ซูเปอร์มันฝรั่ง โปรตีนสูงกว่าปกติ 60%
784. ใช้น้ำหมักชีวภาพ แทนกรดฟอร์มิก ในยางถ้วย
785. ไม้อัดยุคใหม่ ผลิตจากวัชพืช
786. ใช้น้ำหมักชีวภาพในยางถ้วย เแทนกรดฟอร์มิก
------------------------------------------------------------------------------------------------
762. การปลูกผักหวานป่า
ผักหวานผักหวานเป็นพืชที่ใช้ปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด และยังเป็นพืชสมุนไพร ผักหวานมี 2 ชนิด คือ ผักหวานบ้าน
และผักหวานป่า เพื่อความเข้าใจผักหวานทั้ง 2 ชนิด ขออธิบายโดยสรุป ดังนี้
ผักหวานบ้าน (EUPHORBIACEAE:Sauropus abicans)
ผักหวานบ้านเป็นไม้พุ่มต้นเล็ก ๆ ใบ
คล้ายใบมะยม แต่มีนวลขาว ๆ บนหน้าใบ ดอกเล็กเป็น ช่อสีแดง ๆ ขาว ๆ คล้ายใบมะยมมาก แต่ ผลเล็กกว่า มีสีเขียว
อ่อนนวล ๆ จานรอง ผลมีสีแดงเข้มติดห้อยย้อยตามกิ่งใต้ ใบน่าดูมาก ต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต มีขึ้นตามพื้นที่ลุ่ม
ต่ำ และทั่ว ๆ ไป และปลูกกันบ้างตามบ้านสวน
ผักหวานป่า (OPILLACEAE :Melientha Suavis)
ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลาง ใบใหญ่ยาวคล้ายใบมะตูมผิวขาวนวล ผลกลม ๆ เล็ก ๆ สีแดงรับประทาน
ได้ มีขึ้นเอง ตามป่าราบ มีทุกภาคในประเทศไทย ใบอ่อน ใช้รับประทานได้เช่นใบผักหวานบ้าน แต่รสหวานดี กว่าผักหวาน
บ้านมาก การเก็บใบผักหวานไปรับประทานต้อง ใช้การสังเกตและพิจารณาให้ละเอียด โดยมีต้นไม้ อีกชนิดหนึ่งเรียก
ว่า "ต้นเสน" เป็นไม้ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ลำต้นออกมีสี หม่น ๆ และใบหนากว่ากันเล็กน้อย ใบต้น เสนถ้ารับประทาน
เข้าไปจะทำให้คลื่นเหียนอาเจียน คอแห้งอ่อนเพลียหมดสติ ถ้ากำลังน้อยอาจตายได้ ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
วิธีการปลูก
ผักหวานบ้านเป็นพืชที่ปลูกง่ายนิยมใช้ต้นอ่อนมา ปลูกในสวน ริมรั้วบ้านหรือที่ใกล้แหล่งน้ำ ปลูกเพียง 4-5 ต้นก็นำใบมา
ปรุง อาหารได้
ผักหวานป่า เป็นพืชป่าที่ปลูกค่อนข้างมาก มี ผู้ทดลองปลูกหลายวิธี เช่น
1. นำเมล็ดที่ร่วงจากต้นใหม่ ๆ มา เพาะในถุงพลาสติกเมื่อเป็นต้นอ่อนแล้วย้ายไปปลูก ในหลุมดิน
2. นำต้นอ่อนที่ขึ้นอยู่ในป่ามา อนุบาลในถุงพลาสติก เมื่อโตพอควรแล้วย้ายลง หลุมที่เตรียมไว้
3. ตัดกิ่งมาเพาะชำในถุงพลาสติก ตั้ง ไว้ในเรือนเพาะชำจนติดรากแล้วย้ายลง หลุมดิน
อย่างไรก็ตามเมื่อย้ายต้นผักหวานจากที่เดิม ไปปลูกในหลุมดินที่เตรียมไว้ผักหวานมักเหี่ยว เฉาและตายในที่สุด สาเหตุที่เป็น
เช่นนี้ เพราะรากผักหวานมีปมจับจุลินทรีย์ใน ดินเมื่อปมเหล่านี้กระทบกระเทือนผักหวานก็ตาย ใน
ปัจจุบันได้มีนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้ค้นคิด ปุ๋ยจุลินทรีย์เร่งให้รากผักหวานผลิตปม จับธาตุอาหารให้แข็งแรง และสามารถ
เพาะผักหวานออก แพร่หลายอย่างได้ผลจนสามารถปลูกเป็นสวนต้น ผักหวานป่าได้
คุณค่าประโยชน์
3.1 คุณค่าด้านสมุนไพร แพทย์ตามชนบทใช้ รากผักหวานป่าเป็นยาระงับความร้อน ถอนพิษไข้ ซ้ำ ไข้กลับ เนื่องจากรับประทาน
ของแสลงส่วนผักหวาน ป่านอกจากจะใช้
รากเป็นยาสงบพิษร้อน กระสับกระส่าย ยังมีสรรพคุณแก้น้ำดีพิการแก้เชื่อมมัว
3.2 คุณค่าด้านอาหาร ผักหวานใช้เป็นอาหาร ได้หลายชนิดนับแต่ ต้มจิ้มน้ำพริกหรือ แจ่ว ผัด อ่อม และแกง
ผักหวานป่าพืชสมุนไพร
ขึ้นชื่อว่าของป่าย่อมเป็นของหายาก และกว่าจะได้มาต้องใช้เวลา เช่นเดียวกับผักหวานป่าของพ่อประมวล วอนนอก เกษตรกร
บ้านดงบัง ตำบลคอนฉิม อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งปลูกผักหวานป่า บนพื้นที่กว่า 2 ไร่ จำนวนประมาณ 12,000 ต้น
กำลังให้ผลผลิต พ่อประมวล เล่าให้ฟังว่าได้แนวความคิดเอาปลูกผักหวานป่ามาปลูก โดยเริ่มแรกจาก
พ่อบุญเต็ม ชัยลา ปราชญ์ชาวบ้านได้เหมารถพาเกษตรกรไปศึกษาดูงานที่บ้านหม้อ จังหวัดสระบุรี ตนจึงคิดอยากจะปลูกผักหวาน
บ้าง จึงขอซื้อต้นกล้าผักหวานจากพ่อบุญเต็ม ต้นละ 15 บาท จำนวน 100 ต้น ปลูกบนพื้นที่ 1 งานช่วงหลังได้ซื้อ เมล็ดพันธุ์
ในราคากิโลกรัมละ 250 บาท มาเพาะกล้าปลูกเอง พ่อประมวลได้เล่าถึงขั้นตอนการจัดการแปลงผักหวานตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึง
เก็บเกี่ยวให้ฟัง
การเตรียมดิน
ดินที่ปลูกในรอบแรก จำนวน 100 ต้น เป็นดินที่ได้มาจากการขุดบ่อเลี้ยงปลา จึงต้องมีการปรับเกลี่ยหน้าดินให้เสมอกัน ปลูก
รอบแรกจะไม่มีการยกร่องแต่ในรอบหลังที่ปลูกจากการเพาะเมล็ดได้มีการยกร่อง
การปลูก เตรียมหลุมปลูกให้พอดีกับถุงกล้าหรืออาจจะกว้างกว่าถุงเล็กน้อย ระยะปลูก 2 X 2 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกผสม
กับหน้าดินทิ้งไว้ 15 วัน ให้ปุ๋ยคอกเย็น
การถอดถุงต้นกล้าลงหลุม พ่อประมวลบอกว่าต้องระวังอย่าให้ดินแตกหรือรากผักหวานขาด เพราะจะทำให้ผักหวานหยุดการ
เจริญเติบโต ต้องทำอย่างระมัดระวัง หลังจากปลูกต้องรดน้ำทุกวันและควรทำที่พรางแสงแดดให้โดยใช้ทางมะพร้าวหรือจะปลูก
ไม้ให้ร่มเงาไปพร้อมเลย ที่สวนจะเป็นต้นแค เพราะเป็นไม้ที่โตเร็วและสามารถเก็บดอกจำหน่ายและบริโภคได้
การเพาะเมล็ดผักหวานป่าอย่างไรให้รอดตาย
1) นำเมล็ดมาล้างขุดเนื้อหุ้มเมล็ดออกทิ้ง ขัดล้างให้สะอาด แล้วแยกเมล็ดที่ลอยน้ำทิ้ง นำเมล็ดที่จมขึ้นมาผึ่งลม 2 วัน ห้าม
ตากแดด
2) นำเมล็ดมาคลุกกับทรายให้ทั่ว แล้วเอาทรายทับด้านบนไม่ให้เห็นเมล็ดผักหวาน
3) คลุมด้วยกระสอบป่านรดน้ำทุกวันประมาณ 3 อาทิตย์ เมล็ดผักหวาน จะเริ่มแทงรากยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
4) ย้ายลงถุงเพาะที่เตรียมไว้ โดยผสมแกลบเผา +ปุ๋ยคอก ในอัตรา 3 : 1 โดยประมาณ
5) นำไปเก็บไว้ในร่ม รดน้ำทุกวัน จนต้นกล้าผักหวานอายุ 1 เดือน จึงย้ายลงหลุมปลูกที่เตรียมไว้
พ่อประมวล เล่าต่อว่าต้นกล้าที่ย้ายลงหลุม ถ้ามีใบเลี้ยงติดอยู่กับต้นกล้ายิ่งดีโอกาสรอดจะมากกว่าที่ไม่มีใบเลี้ยง
การดูแลรักษา
การให้น้ำ
ในการปลูกช่วงแรก ๆ รดน้ำทุกวัน พอผักหวานตั้งตัวได้แล้วให้เหลือรดน้ำอาทิตย์ละครั้ง หลังจากปลูกได้ 15 วัน จะให้ฮอร์โมนพืช
(ทุ่งเศรษฐี, ไบโอซาน) ที่สวนจะให้น้ำด้วยระบบน้ำหยดในช่วงเริ่มปลูกใหม่ๆ แต่ในช่วงหลังได้เปลี่ยนมาใช้ระบบสปริงเกอร์
การให้ปุ๋ย
จะใส่เฉพาะปุ๋ยคอกและปุ๋ยชีวภาพ ประมาณ 12 ปี๊บต่อต้น โดยโรยรอบ ๆ ห่างจากต้นประมาณ 50 เซนติเมตร หรือโรยตามร่อง
ปีละ 2 ครั้ง
ครั้งแรก..... ใส่ก่อนผักหวานแตกยอดและออกดอก
ครั้งที่ 2 .... ใส่หลังเก็บเกี่ยวยอดหมดแล้วเพื่อบำรุงต้น และมีการเสริมฮอร์โมนพืช เป็นครั้งคราวในช่วงเก็บผลผลิต ที่สำคัญที่สวน
ของพ่อประมวลจะไม่มีการใส่ปุ๋ยเคมี
โรค / แมลง / วัชพืชและการป้องกันกำจัด
ผักหวานป่าเป็นพืชที่พบโรคแมลงน้อย ที่สวนจะมีหนอนกัดกินใบและยอดอ่อนแต่ไม่มาก และเสี้ยนดินในช่วงปลูกใหม่ ๆ วัชพืช
จะพบบ้างในช่วงหน้าฝน
การป้องกันและการกำจัด
พ่อประมวลเล่าว่าตนจะเดินสำรวจแปลงผักหวานเสมอถ้าพบหนอนจะใช้วิธีกำจัดด้วยมือ ถ้าเป็นดักแด้จะเก็บออกมาทำลายจะไม่ใ
ช้สารเคมี
การกำจัดวัชพืช
ใช้วิธีถอนเอา เพราะถ้าใช้จอบถากจะทำให้รากผักหวานกระทบกระเทือน ต้นผักหวานป่าและชะงักการเจริญเติบโตและตายควรใช้
วิธีการถอนหรือใช้เคียวเกี่ยววัชพืชจะดีกว่า
การเก็บเกี่ยว
เมื่อผักหวานป่ามีอายุประมาณ 3 ปี จะเริ่มเก็บผลผลิต โดยการตัดยอดอ่อนยาวประมาณ 1520 เซนติเมตร ซึ่งจะเก็บผล
ผลิตประมาณเดือน กุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ช่วงที่ผักหวานออกมากที่สุดคือเดือน มีนาคมถึงเดือนเมษายน การเก็บยอด
ผักหวานป่าจะเก็บในช่วงเช้าถึงเที่ยง จากนั้นนำยอดผักหวานป่าที่เก็บมาจุ่มในน้ำที่สะอาดอย่างเร็วนำมาวางบนแคร่แล้วคลุม
ด้วยผ้าที่ชุบน้ำเพื่อไม่ให้ยอดผักหวานเหี่ยว
เทคนิคการทำผักหวานให้ออกนอกฤดู
เราสามารถกำหนดการแตกยอดของผักหวานป่าได้ วิธีการ คือ การตัดแต่งกิ่งผักหวานป่าทั้งต้นเพื่อกระตุ้นโดยการรูดใบแก่
บนต้นออกเกือบหมดในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ให้เหลือใบติดกิ่งอยู่บ้างแต่น้อยมาก พร้อมหักกิ่งแขนงออกครึ่งหนึ่งของ
ความยาวกิ่ง ถ้าหักกิ่งยาวเกินไป ยอดอ่อนที่แตกออกมาจะไม่สวย ผอม และออกน้อย หลังจากที่ตัดแต่งกิ่งเสร็จจะต้องให้น้ำ
บ่อยอย่างน้อย 3-5 วัน ต่อครั้ง ก่อนหน้าจะตัดแต่งกิ่งถ้ามีการให้ปุ๋ยคอกจะดีมากๆ ประมาณ 1 เดือน (มกราคม ) ผักหวานป่า
จะแตกยอดอ่อนออกมาให้เก็บขายได้โดยจะมียอดให้เก็บทุก ๆ 7 วัน
ต้นผักหวานป่าที่เก็บเกี่ยวนอกฤดูหมดแล้ว ควรพักต้นเลยและบำรุงด้วยปุ๋ยคอกและให้น้ำเพื่อจะผลิตผักหวานนอกฤดูในฤดูกาลต่อไป
แหล่งจำหน่าย
ขายส่งที่ตลาดอำเภอพล อ. หนองสองห้อง อ. บ้านไผ่ โดยขายกิโลกรัมละ 200 บาท ในช่วงต้นเดือนมกราคม กุมภาพันธ์
ส่วนช่วงที่ผักหวานออกมากจะขายได้กิโลกรัมละ 120 -170 บาท
ผักหวานป่าต้นหนึ่งสามารถเก็บยอดได้ประมาณ 800 กรัม/ต้น นับว่าเป็นรายได้ที่ดีมาก ๆ หลังจากเก็บยอดแล้วควรมีการให้
ปุ๋ยคอกและน้ำ เพื่อบำรุงต้นในช่วงที่ผักหวานพักต้นในช่วงหน้าฝน
นอกจากจะเก็บยอดขายแล้ว พ่อประมวล ยังได้มีการเพาะเมล็ดเพื่อจำหน่ายอีกทางหนึ่งด้วย ราคาจำหน่ายต้นละประมาณ 15-
20 บาท ผักหวานป่าจึงน่าเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งในการทำอาชีพด้านการเกษตร แต่การปลูกผักหวานป่ามีข้อจำกัด คือ การ
ขยายพันธุ์ที่ได้ผลดีที่สุด คือการเพาะเมล็ดเท่านั้น ทำให้การเจริญเติบโตช้าเก็บผลผลิตได้ช้าด้วยและการเก็บยอดจำหน่ายยัง
ไม่สามารถทำได้ตลอดทั้งปี
ข้อมูลเพิ่มเติม
พันธุ์ของผักหวานป่า
ผักหวานป่าจะมีด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ
1) พันธุ์ยอดสีเหลือง จะมีการเจริญโต ค่อนข้างช้ากว่าและทรงพุ่มจะเตี้ยกว่าพันธุ์ยอดเขียว
2) พันธุ์ยอดสีเขียว จะมีการเจริญโตดี เร็วกว่าพันธุ์ยอดสีเหลือง
ประโยชน์และคุณค่าทางสมุนไพรของผักหวานป่า
ผักหวานป่าเป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงมาก มีอายุยืนยาวนานเป็นร้อย ๆ ปี ใช้ประโยชน์ได้ทั้งใบอ่อน ยอดอ่อน และ
ช่อดอกนำมาบริโภค เพราะผักหวานป่ามีรสชาติที่อร่อย หวาน มัน กรอบ ปลอดภัยจากสารพิษ และอุดมด้วยคุณค่าทางอาหาร
ที่เป็นประโยชน์ เช่น สารเบต้า แคโรทีน วิตามิน ซี. และวิตามิน บี-2 เป็นต้น
คุณค่าทางสมุนไพร ใช้รากผักหวานป่าต้มดื่มระงับพิษ แก้พิษร้อน กระสับกระส่าย แก้น้ำดีพิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ เป็นยาลด
ไข้ ยางจากใบผักหวานป่าใช้กวาดคอเด็ก และแก้ลิ้นเป็นฝาขาว
http://invention53.blogspot.com/2009/11/blog-post_21.html
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2011 6:44 am, แก้ไขทั้งหมด 17 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 02/10/2011 1:48 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
763. ต้นตะกู พืชโตเร็ว
Miracle Tree ต้นไม้มหัศจรรย์
คุณลักษณะพิเศษของ ต้นตะกู
เป็นไม้ที่มีขนาดใหญ่ ปลูกง่าย ดูแลง่าย และโตเร็วมาก ทนต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงของทุกสภาวะอากาศ ยกเว้นพื้นที่
ที่มีอากาศเย็นจัดตลอดปี เนื่องจากตะกูเป็นไม้เมืองร้อน ต้นตะกูสามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศ ทนต่อสภาวะ
น้ำท่วมขัง (1 ปีขึ้นไป) และโดนไฟป่าไม่ตาย (อายุ 2 ปีขึ้นไป) สามารถปลูกได้ไร่ละประมาณ 150 ต้น ที่ความห่าง
3 x 3 ม. (กรณีตัดครั้งเดียวที่ 5 ปี)
ไม้ตะกู เป็นไม้ที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีไม้หวงห้าม ดังนั้นไม้นี้จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะทำเป็น ป่าไม้เศรษฐกิจ ไม้ตะกู มีน้ำหนัก
เบากว่าไม้ประดู่ และไม้มะค่า ถึง จะเป็นไม้เนื้ออ่อน แต่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันกับไม้สักแทบทุกประการ โดยเฉพาะ
เนื้อไม้ของต้นตะกูจะมีคุณภาพใกล้เคียงกับไม้สักทอง มีเนื้อไม้ละเอียดแน่นไม่บิดงอง่ายมีน้ำหนักใกล้เคียงกับไม้สัก
แต่จะเบากว่าเล็กน้อย ปลวก มอดไม่กิน (พันธุ์ก้านแดง) เนื้อไม้ดูสวยมาก การทำสีและผิวสามารถเพิ่มความสวย
งามได้อย่างมากเช่นเดียวกับไม้สัก
เพียงปีเดียวก็สามารถตัด ทำไม้เยื่อกระดาษได้เพราะอัตราการเจริญเติบโตที่เร็วมาก
ส่วนในปีที่ 3 สามารถตัดบางส่วน
เพื่อส่งแปรรูปทำเป็นไม้หน้า 4-8 และที่เหลือปลูกทิ้งไว้ห้าปีขึ้นไปก็สามารถนำมาแปรรูปเป็นไม้กระดาน ใช้ทำฝ้าเพดาน
ไม้ตกแต่งภายใน เสาบ้าน ประตู หน้าต่าง วงกบ ไม้อัดงานเฟอร์นิเจอร์หลากหลาย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ โซฟา เรือขุด ลัง
ใส่ของ เครื่องดนตรี ฯลฯงานฝีมือที่สวยงามต่าง ๆ เช่นกล่องใส่จิวเวอรี่ ของตกแต่งบ้านต่าง ๆ ด้ามปืน ดินสอ ของ
เล่น ฯลฯ ไม้ตะกูจัดเป็นไม้มงคล ที่ถูกกล่าวถึงอยู่ในตำนานเทพต่าง ๆ มากมาย
ปัจจุบันนี้ ปริมาณป่าไม้ที่ลดลงทุกขณะและอัตราประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้ความต้องการใช้ไม้เพื่อที่
อยู่อาศัยและอุตสาหกรรมต่าง ๆ สวนทางกัน โรงเลื่อยและผู้ค้าไม้ทั่วโลกขาดแคลนไม้ท่อนที่ป้อนเข้าโรงงาน โดย
เฉพาะไม้เพื่อทำบ้านเรือน และเฟอร์นิเจอร์ ไม้ตะกูนี้จะสามารถช่วยเพิ่มปริมาณไม้ในตลาดได้อย่างรวดเร็ว เพื่อตอบ
สนองความต้องการของตลาดที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีที่ดินปล่อยทิ้งว่างเปล่าไว้ ท่านสามารถปลูกไม้ตะกู ซึ่งเป็นป่าไม้เศรษฐกิจยุคใหม่นี้ได้ ลง
ทุนน้อย แต่มีผลกำไรงาม มีหลักประกันเรื่องแหล่งรับซื้อผลผลิต และการประกันราคาขั้นต่ำในการรับซื้อ นับว่าเป็นป่า
ไม้เศษรฐกิจยุคใหม่ และเป็นไม้ที่สามารถกู้วิกฤตเศรษฐกิจในครอบครัวของท่านได้จริง
ไม้ตะกูอาจไม่คุ้นหู เพราะใกล้จะสูญพันธุ์จากป่าของประเทศไทยแล้ว ป่าไม้ชนิดนี้มีขึ้นอยู่ทั่วไปในแถบภูมิภาคเอเซีย
มีมากทั้งในอินเดีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย
ในอดีต ตะกูเป็นพืชที่มีอยู่ในป่าไม้เมืองไทยเป็นจำนวนมาก แต่ถูกตัดเพื่อนำมาใช้ประโยชน์กันมากมายตะกูนั้นเพาะ
เมล็ดยาก ต้องขึ้นอยู่กับสภาพดินและอุณภูมิที่เหมาะสมเท่านั้น จึงไม่สามารถขึ้นได้เอง นอกเสียจากว่าต้นแม่พันธุ์จะ
อยู่ในพื้นที่ ที่เหมาะสมจริงๆ แต่เมื่อเพาะเมล็ดจนงอกเป็นต้นกล้าแล้ว หลังจากนั้นก็เลี้ยงง่ายและเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
และไม่ต้องดูแลอะไรมากมาย ยิ่งถ้าได้ลงดินแล้วจะแข็งแรง และมีระบบการหาอาหารที่เก่งมากเป็นพิเศษ
ต้นตะกู ปลูกง่าย โตเร็ว สูง 1530 เมตร ทนต่อสภาวะน้ำท่วมขัง และโดนไฟป่าไม่ตาย ปลูกได้ทุกพื้นที่ ที่ลุ่ม ที่ใกล้
น้ำ ที่เชิงเขา ริมสวน ริมสระน้ำ ดินลูกรัง ดินร่วน ดินทราย ดังนั้นในอดีตเมื่อถูกตัดหมดไป และไม่ได้มีการปลูกทด
แทน ต้นตะกูจึงค่อย ๆ หมดไปจนคนไทยในปัจจุบันแทบจะไม่รู้จักกันสักเท่าไหร่ ทั้ง ๆ ที่ประเทศเพื่อนบ้านของเรา
อย่างเช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปิน นั้น ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศกันมานานแล้ว
อีกทั้งผลพลอยได้ที่ไม่อาจมองข้ามในการปลูกต้นตะกู ก็คือ สามารถลดสภาวะเรือนกระจกได้อย่างดี เพราะไม้
ชนิดนี้เติบโตอย่างรวดเร็ว สามารถเพิ่มปริมาณปอดของโลกได้อย่างมากมายในระยะเวลาอันสั้นปัจจุบัน ต้นตะกูเริ่ม
เป็นที่รู้จักของคนไทยมากขึ้น และเริ่มปลูกกันบ้างแล้วในหลายพื้นที่ คาดว่าอีก 5 ปี ประเทศไทยจะมีป่าไม้ขนาดใหญ่
สามารถช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่โลก ลดปัญหาโลกร้อน ฝนตกต้องตามฤดูกาล ปัญหาน้ำป่าไหลหลากจะลดน้อยลง
เพราะเป็นพืชที่มีความอุ้มน้ำสูง ทั้งราก ลำต้น กิ่ง ก้าน และใบ เพียงท่านเริ่มปลูกในวันนี้ อีก 4-5 ปี ข้างหน้า ไม้จะ
โตกว่าไม้สักที่อายุนับร้อย ๆ ปี (ไม้สักอายุร้อยกว่าปีตอนนี้ ประเทศไทยไม่ต้องไปพยายามหาอีกแล้วครับ หมดไป
นานแล้ว) และที่สำคัญสามารถสร้างรายได้ ให้กับเจ้าของสวนอย่างงาม และยังช่วยลดการนำเข้าไม้จากต่างประเทศ
ได้ ปีละหลายหมื่นล้านบาท ช่วยกอบกู้ทั้งเรื่องของวิกฤตโลกร้อน และวิกฤตเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี เพียงพวกเราร่วม
มือร่วมใจกัน ปลูกไม้ตะกูเพื่อทดแทนป่าไม้เดิมที่สูญเสียไป
ไม้ตะกู....ป่าไม้เศรษฐกิจยุคใหม่ ไม้กู้วิกฤต
ปัจจุบัน ไม้..นับว่าเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ทุก วันนี้ ประเทศไทยเรา
ต้องนำเข้าไม้จากต่างประเทศ กันปีละหลายหมื่นล้านบาท เพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอุต
สาหกรรมเฟอนิเจอร์ ไม้ตะกูจึงถือเป็นไม้เศรษฐกิจยุคใหม่ เป็นไม้กู้วิกฤตเศรษฐกิจ ที่ลงทุนต่ำ เลี้ยงง่าย โตไว และได้
ผลกำไรหลายเท่าตัว นับว่าคุ้มค่าการลงทุนจริง ๆ อยาก ให้ท่าน ลองดูตารางเปรียบเทียบการลงทุนในหน้าถัดไป ท่าน
จะพบความมหัศจรรย์ของพืชชนิดนี้ และถ้าลองคำนวณรายได้แล้วจะรู้ว่าคุ้มค่ากับการลงทุนแค่ไหน ยกตัวอย่าง หาก
ปัจจุบันบุตรของท่านกำลังอยู่ในวัยเรียน ถ้าท่านปลูกต้นตะกูตอนนี้ ด้วยเงินลงทุนไม่มากมาย และรอเก็บเกี่ยวผลผลิต
ในอีก 5 ปีข้างหน้า ท่านจะมีเงินก้อนสำหรับส่งบุตรหลานของท่าน เรียนโรงเรียนดี ๆ ได้อย่าง สบาย ๆ ซึ่งในจำนวนเงิน
เท่ากัน ถ้าหากท่านฝากธนาคารไว้ ยังไงก็ไม่มีทางงอกเงยได้มากเท่ากับ ลงทุนปลูกต้นตะกูอย่างแน่นอน
จากหัวข้อบทความที่จั่วหัวเรื่องบทความนี้ นับว่าเป็นความเจ็บปวดของเกษตรกรผู้ปลูกตะกูยักษ์เป็นอย่างมาก วงจรการเกษตร
ของพืชชนิดนี้ถูกมองไปในภาพลบเพียงชั่วข้ามคืน เพียงผลประโยชน์จากอิทธิพลของสื่อ ที่ไม่มีข้อมูลที่แท้จริงอยู่ในมือ
แต่สนองตอบค่าจ้างที่นายทุนพืชต่างชนิดกัน ให้นำเสนอด้วยข้อมูลที่ผิดๆ จริงๆแล้วจรรยาบรรณของการเป็นสื่อมวลชน
ควรมีและควรตระหนักให้มาก ทุกวันนี้ภาพลักษณ์ของสื่อมวลชนก็ดูยำแย่ ในสายตาของประชาชนอยู่แล้ว มีการแบ่งพรรค
แบ่งพวก เสนอข้อมูลเพียงด้านที่ตนเองชอบ หรือสนองตอบอิทธิพลของนายทุน สิ่งที่ตามมาประชาชนเกิดความสับสนเกิด
ความเข้าใจผิดๆ อันที่จริงแล้วการที่จะนำเสนอข่าวสารข้อมูลต่อประชาชน ควรมีการคัดกรองที่ดีและถูกต้อง โดยเฉพาะ
ข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับการทำมาหากินของประชาชน เพราะนั่นมันหมายถึงปากท้อง และชีวิตความเป็นอยู่ และมันหมาย
ถึงสภาพของเศรษฐกิจชาติเป็นมหภาค
จาการที่สื่อมวลชน โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ที่นำเสนอ ทั้งภาพและเสียง ซึ่งประชาชนให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ ควรตระ
หนักเป็นอย่างมาก การนำเสนอภาพลักษณ์ที่เป็นภาพลบของการทำการเกษตรสวนป่าต้นตะกูยักษ์ ที่ไม่ได้ตรงกับความเป็น
จริงและผลลัพทธ์ที่ตามมามันจะเกิดอะไรขึ้น ในขณะที่ไม้ต่างชนิดกันก็กระหน่ำโฆษณาเชียร์กันสุดใจขาดดิ้น ด้วย
ราคาที่สูงกว่าความเป็นจริง อ้างโครงการที่สวยหรูพาดพิง...บางอย่าง.บางชนิดก็กระหน่ำซื้อโฆษณาเพื่อให้ประชาชน
ปลูก ทั้งที่ความเป็นจริงเป็นตัวทำลายดินอย่างที่ทราบอย่างที่เห็นกันทางสื่อโทรทัศน์..
น่าอนาถใจแท้. จริงๆแล้ว การมีข้อมูลที่ดีในการทำธุรกิจเกษตร เป็นเรื่องที่ดี แต่การนำข้อมูลที่เป็นภาพลบมาสกัดกันการขยาย
ตัวของพืชโตเร็วอย่างตะกูยักษ์. ไม่รู้ว่าเอาอะไรมาคิดกัน..ประชาชนที่เพาะตะกูขายตามข้างทาง ก็เป็นประชาชนที่ทำ
เพื่อปากเพื่อท้องเลี้ยงครอบครัว. ไม่ได้มีสื่อ อยู่ในมือที่จะโจมตีทำลายล้างใครต่อใคร เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ. การนำ
เสนอข้อมูลเพื่อผลประโยชน์ของพรรคพวกตัวเอง หรื่อกลุ่มนายทุนที่ว่าจ้าง ไม่สนใจว่าคนอื่นเขาจะเป็นอย่างไร. นำ
เสนออกมาได้อย่างไร"ว่าตะกูยักษ์ทำได้อย่างเก่งแค่ไม่จิ้มฟันหรือกล่องไม้ขีดไฟเท่านั้น นำมาทำโลงศพยังไม่ได้เลย"
จากข้อความนี้มันส่ออกมาเลยว่า คนที่นำเอาข้อมูลนี้มาเผยแพร่มันรู้ไม่จริง. เสียดายที่เป็นสื่อของประชาชนที่ประชาชนชื่นชอบ.
ไม้ตะกูที่สร้างบ้านเป็นหลังเคยไปดูไปถ่ายเอามาเผยแพร่ไหม ?
ไม้ตะกูทำเฟอร์นิเจอร์ทำไมไม่ไปถ่ายทำมาเผยแพร่ ?.
ไม้ตะกูทำฟืนชีวมวลผลิตกระแสไฟฟ้าทำไมไม่ไปเอามานำเสนอ?.
ภาพที่สมเด็จพระเทพฯทรงปลูกต้นตะกูทำไมไม่ไปนำมาเผยแพร่.
ข้อมูลที่อดีตนายกรัฐมนตรีพูดออกรายการโทรทัศน์และวิทยุทำไมไม่เอามาลง ?
ที่มาของชื่อไม้มหามงคลหรือตะกูยักษ์รู้ไหมใครตั้งชื่อ ?.
ไม้ตะกูยักษ์เป็นไม้เนื้อปานกลาง เป็นไม้นอกประเภทไม้หวงห้ามก็จริงอยู่ การที่นำเสนอออกทางสื่อว่าปลูกแล้วขายไม่
ได้ไม่รู้คิดได้ไง. ลองเอามันสมองของคนทำสื่อคิดดูก็ได้ว่า ขนาดไม้ฉำฉา ไม้ขนุน ไม้มะม่วง ไม้กฐินยักษ์ ไม้ขี้เหล็ก
โรงเลื่อยยังหาซื้อกันให้ว่อน.สำมะหาอะไรกับไม้ตะกูยักษ์มันจะขายไม้ได้ให้มันรู้ไป.
หรือจะคิดแบบชาวบ้านธรรมด้าธรรมดา แบบตาสีตาสา ที่สื่อไร้จรรยาบรรณพยายามยัดเยียดข้อมูลเพื่อตอบสนอความ
คิดว่าชาวบ้านเขาไม่ฉลาด แต่หารู้ไม่ว่าเดียวนี้ชาวบ้านเขาคิดเป็น เขาเข้าใจเลือกสรร ลองมาดูตัวอย่างกัน....
ไม้ตะกูยักษ์ขนาดอายุประมาณ 5-7 ปี ลำต้นวัดระดับอกเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ12-15 นิ้ว (โดยเฉลี่ย) ความสูง
จะอยู่ที่เฉลี่ย 25-28 เมตรโดยประมาณ ตัดออกเป็นท่อนซุงขนาดท่อนละ 5 เมตร หรือเท่ากับ 10 ศอก
เอาท่อนเต็มประสิทธิภาพที่จำนวน 4 ท่อน หรือคิดที่ 20 เมตร แต่ละท่อนเปิดปีกไม้ออก ใช้เฉพาะเนื้อไม้หลังจากที่
เปิดปีกออก เลื่อยเป็นไม้หน้า 8 นิ้ว หนา 1 นิ้ว จะได้ประมาณ 10 ตัว หรือเท่ากับ 100 ศอก (10 ศอก x 10 แผ่น)
ถ้าเอามาทำเป็นไม้แบบสำหรับก่อสร้าง ไม้หน้า 8 หนา 1 นิ้ว ราคาปัจจุบันคิดที่ศอกละ 25-28 บาท หรือ 1 แผ่นเท่า
กับ 10 ศอก คูณด้วย 25 บาท จะได้ตัวละ 250 บาท ถ้า 1 ท่อนได้ไม้ 10 แผ่น (ต้ว) จะได้มูลค่าท่อนละ 2,500 บาท
ในขณะเดียวกันไม้ตะกู 1 ต้น ได้ไม้อย่างต่ำ 4 ท่อน ก็เอา 2,500 คุณด้วย 4 ท่อน ก็จะเท่ากับ 10,000 บาท
นี่คือวิธีการคิดแบบไม้เกรดเดียวกับ ไม้ขนุน ไม้ฉำฉา ไม้มะม่วง หรือไม้นอกประเภทชนิดอื่นที่ใกล้เคียงกัน ที่ใช้ทำงาน
แบบเดียวหรือแบบคล้ายๆไม้แบบก่อสร้าง. ที่สำคัญ อัตราการบิดงอก็ค่อนข้างต่ำกว่าไม้ชนิดอื่น
จากพารากราฟข้างต้น นั่นคือการคิดมูลค่าแบบง่ายแบบไม้เกรดต่ำ แล้วถ้าเรานำมาทำเฟอร์นิเจอร์หรือนำมาใช้งานในเกรด
ที่อัพขึ้นไปอีกมูลค่าก็จะขยับไมตามมูลค่าชิ้นงาน
โดยเฉพาะที่สำคัญไม้ตะกูยักษ์ เป็นไม้เนื้อปานกลางที่มีความหนาแน่นของเนื้อไม้ ใกล้เคียงกับไม้สักด้วยแล้วละก็ การ
นำมาทำงานแกะสลักหรืองานฝีมือก็สามารถทำได้ดี เราต้องเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของไม้ ไม้ทุกชนิดจะมีคุณสมบัติ
การนำไปใช้งานคล้ายกัน ไม้ที่อายุของไม้ยังไม้โตได้ขนาด ใจไม้ยังไม่โตเต็มที่มันก็เหมือนกันทุกชนิด ถ้าคุณตัดเอามา
ใช้งานในขณะที่ไม้ยังไม่พร้อมใช้งาน คุณสมบัติของไม้ก็จะด้อยเป็นธรรมดา และมันก็จะใช้งานได้ไม่ดี แต่ถ้าเมื่อใดไม้มี
ขนาดพร้อมใช้งาน ใจไม้แข็งแรงมันก็มีประสิทธิภาพเต็มรูปแบบ ตามชนิดของอายุที่พร้อมใช้งานของไม้ชนิดนั้นๆ ใน
การนำไปใช้งานมันก็ได้ประสิทธิภภาพดี...
ต่อให้เป็นไม้สัก ไม้มะค่าโมง ไม้เต็งรัง หรือไม้ชนิดอื่น ที่ว่าดี ถ้าอายุของไม้ ขนาดของไม้ยังไม่ได้ มันก็ด้อยประสิทธิ
ภาพ ทำได้อย่างเก่งก็เป็นไม้จิ้มฟันเหมือนกัน เช่นกัน มันอยู่ที่ว่าอายุของไม้แต่ละชนิดที่พร้อมจะใช้งานได้ดีหรือไม่ มันจะ
อยู่ที่อายุกี่ปี
และนี่เป็นเพียงบทความตัวอย่างคร่าวๆ ที่ได้รับแรงจูงใจจากประสบการณ์จริง ที่ได้สัมผัสมาจากการทำธุรกิจเกษตร
ตะกูยักษ์
จากของจริงๆไม่ได้มาสัมผัสเพียงชั่วครู่ชั่วคราวแล้วเอามาเขียน ไม่ได้นั่งเทียนเขียน เพราะทุกถ้อยกระทงความที่พบมา
จริงๆด้วยตัวเอง และเสียความรู้สึกมากกับสื่อทำร้ายเกษตรกรผู้ปลูกตะกูยักษ์ ซึ่งมันเป็นการทำร้ายจิตใจกันเป็นอันมาก
ถ้ารู้ไม่จริงก็กรุณาอย่านำออกมาเสนอ เพราะมันจะเป็นการบอกถึงภูมิปัญญาและการขาดความรับผิดชอบจากผลของ
การนำเสนอ ของคนที่นำเสนอเอง
การเพาะปลูกตะกูยักษ์ ต้องอาศัยเวลา และกว่าเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า อะไรคือ จริงหรือไม่จริง ผู้ที่จะทำการเพาะ
ปลูกสวนป่าตะกูยักษ์ก็เสียโอกาส เกษตรกรผู้เพาะกล้าพันธ์ไม้ตะกูยักษ์ก็เสียรายได้ เสียความรู้สึก
เหรียญมีสองด้านเสมอฉันใด อย่ายัดเยียดให้ประชาชนคนทำมาหากินบริโภคสื่อด้วยความไว้เนื้อเชื่อถือ ได้รับข้อมูล
เพียงด้านเดียว เพราะความจริงย่อมปรากฏในที่สุด แต่ผลที่ปรากฎในเบื้องต้น กว่าความจริงจะกระจ่างชัด มันทำ
ร้ายจิตใจเกษตรกร
ก่อนจบบทความนี้ อยากให้คนที่ทำสื่อนำเสนอข้อมูลของต้นตะกูยักษ์ถามตัวเองก่อนว่าคุณรู้จักต้นตะกูยักษ์ดีแล้วหรือยัง
คุณเคยปลูกต้นตะกูยักษ์สักต้นไหม.นักวิชาการนักวิชาเกิน ที่กว่าจะตื่นมาดูตะกูยักษ์ชาวบ้านเขาปลูกไปเป็นล้านๆต้น
แล้ว รู้ดีแค่ไหน? ชีวิตนี้คุณเคยปลูกตะกูหรือเปล่า ถ้ามันไม่ดีอย่างที่นำเสนอทางสื่อ แล้วเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินพระองค์
ท่านจะทรงปลูกทำไม? ..... ตอบให้ฟังทีเถอะ
http://invention53.blogspot.com/2009/11/blog-post_5256.html
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/10/2011 8:42 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 03/10/2011 5:53 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
765. ปั่น 'ตะกูยักษ์' ต้มนักลงทุน นักวิชาการเตือน ไม่รู้จริงอย่าเสี่ยง
นักวิชาการด้านวนศาสตร์ เตือนประชาชนลงทุนปลูกไม้มหาเศรษฐีเสี่ยงขาดทุนยับ ชี้ "ต้นตะกูยักษ์" ถูกปั่นราคาเกินจริง
อวดอ้างเป็นไม้เนื้อแข็งเหมือนไม้สัก แถมโตเร็วและให้ผลกำไรมหาศาล เผยไม่มีตลาดรองรับเพราะเป็นไม้เนื้ออ่อน ไม่เหมาะ
ทำเฟอร์นิเจอร์หรือสร้างบ้าน
ดร.ดำรง ศรีพระราม คณบดีคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เปิดเผยว่า การส่งเสริมให้ประชาชน
ปลูกต้นไม้เศรษฐกิจในช่วงนี้ มีพ่อค้ากลุ่มหนึ่งปั่นราคาต้นไม้ให้สูงเกินจริง โดยเฉพาะต้นตะกูยักษ์ มีการโฆษณาผ่านทาง
เว็บไซต์และป้ายประกาศริมถนนทางหลวงสายตะวันออกและสายใต้ว่า เป็นไม้เศรษฐกิจตัวใหม่น่าจับตามอง ต้นใหญ่มี
เนื้อแข็งใกล้เคียงกับไม้สัก ปลูกง่าย โตเร็วเพียงไม่กี่ปี แต่ได้ผลกำไรมหาศาล เหมาะสำหรับแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์และ
โครงสร้างบ้านเรือน ดังนั้น ขอแจ้งเตือนผู้ซื้อต้นไม้ควรศึกษาความคุ้มค่าในแง่เศรษฐกิจอย่างรอบคอบเสียก่อน ไม่เช่นนั้น
จะขาดทุนย่อยยับได้
คณบดีคณะวนศาสตร์ ม.เกษตร อธิบายว่า วิธีปั่นราคาต้นไม้เศรษฐกิจ คือกำหนดราคาต้นกล้าให้มีราคาแพงกว่าต้นทุน
ที่แท้จริง คือ จากราคาปกติต้นละ 5-10 บาท แต่ตั้งราคาสูงถึง 80-100 บาท โดยอ้างว่าเป็นต้นไม้มหาเศรษฐี ปลูก
แล้วรวยภายในเวลา 3-5 ปี ต้นตะกู 1 ต้น ให้ผลตอบแทนหลายหมื่นบาท หรือปลูก 1 ไร่ ประมาณ 200 ต้น มี
รายได้ 5 แสนบาท โดยไม่มีอัตราเสี่ยง ยิ่งปลูกนานยิ่งมีราคาสูง ซึ่งเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ เพราะต้นตะกูเป็นไม้เนื้อ
อ่อน ไม่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และโครงสร้างบ้าน ตลาดรับซื้อไม่ชัดเจนแน่นอน
"ต้นตะกูไม่ใช่ไม้เนื้อแข็งเหมือนต้นสัก เพราะโตเร็ว เนื้อไม้อัดตัวไม่แน่น จึงไม่เหมาะกับการปลูกเพื่อเศรษฐกิจ ควรนำไป
ปลูกในเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติหรือฟื้นฟูสภาพป่า แต่มีพ่อค้าต้นไม้หัวใสจับทิศทางตลาดว่า ต้นไม้ชนิดใดโตเร็วก็โหมโฆษณา
อย่างหนัก เมื่อปีที่แล้วอดีตนายกฯ สมัคร สุนทรเวช กล่าวในรายการโทรทัศน์สนับสนุนให้ปลูกต้นตะกู อาจมีเจตนาดี
แต่ไม่รู้ว่าเป็นช่องทางให้พ่อค้ายิ่งปั่นราคาพุ่งสูงขึ้น" นักวิชาการด้านวนศาสตร์กล่าว
ดร.ดำรงกล่าวอีกว่า เมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา ก็มีขบวนการปั่นราคาไม้ใหญ่ เช่น ต้นเพาโลเนีย ต้นสะเดาช้าง ต้นกฤษณา
ว่า เป็นไม้เศรษฐี โดยกลุ่มพ่อค้าจะรวมตัวกันแล้วให้นักวิชาการด้านต้นไม้เป็นผู้คัดเลือกชนิด หรือพันธุ์ไม้ที่มีแนวโน้มจะได้รับ
ความนิยมสูง ยกตัวอย่าง ไม้กฤษณาถูกปั่นว่าเป็นไม้หอม สกัดน้ำมันหอมได้ในราคาหลักหมื่นหรือแสนบาทต่อขวด ขึ้นอยู่
กับคุณภาพ แต่ที่จริงแล้วธรรมชาติของต้นกฤษณาจะมีน้ำมันเพียง 1 ต่อ 100 ต้นเท่านั้น ที่สำคัญคืองานวิจัยทาง
วิทยาศาสตร์ก็ไม่ยืนยันว่า ต้นกฤษณาสกัดน้ำมันได้จริง คนรวยหลายคนถูกหลอกให้ซื้อเหมาทั้งแปลง ส่วนชาวบ้านทั่วไปมัก
ซื้อต้นกล้า
"เรื่องนี้ไม่ผิดกฎหมายก็จริง แต่ถือว่าผิดคุณธรรมในแง่ค้าขาย ผมสนับสนุนให้ทุกคนช่วยกันปลูกต้นไม้ จะเป็นไม้ชนิดใดก็
เกิดประโยชน์ต่อผืนดินทั้งสิ้น แต่ไม่ควรขายแพงเกินจริง เพราะผู้รับเคราะห์คือชาวบ้านที่สูญเสียเงินทองจำนวนมาก" ดร.ดำรง
กล่าว และแนะนำผู้ซื้อต้นไม้ ก่อนซื้อควรจะศึกษาองค์ประกอบต่างๆ ให้ชัดเจน ทาง ม.เกษตรศาสตร์ยินดีให้ข้อมูล.
http://www.thaipost.net/x-cite/110509/4472
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/10/2011 8:52 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 03/10/2011 6:51 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
766. สุดยอดผลไม้ เก๋ากี่ หรือ แฮปปี้ เบอร์รี่ หรือ โกจิ เบอร์รี่
โกจิเบอร์รี่
ตลอดช่วงหลายปีมานี้ โกจิเบอร์รี่ เริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลายขึ้น เมื่อถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมหลักในอาหารเสริม และเครื่องดื่ม
ประเภทฟังก์ชั่นนอลดริงก์ อันที่จริงแล้ว นอกจากนี้ ผลโกจิเบอร์รี่ยังได้รับการยกย่องจากนิตยสารไทม์ว่า เป็นสุดยอดผลไม้แห่งปี
และเป็นเครื่องดื่มยอดฮิตในหมู่ซุปเปอร์สตาร์ฮอลลีวูด ไม่ว่าจะเป็น มาดอนน่า, แคทเธอรีน ซีต้า โจนส์ และกวิเน็ต พัทโธรว์
จนได้รับการขนานนามให้เป็น แฮปปี้ เบอร์รี่
เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ทําไมดาวจรัสฟ้าแห่งวงการมายาฮอลลีวู้ดหลายๆ คนถึงไม่ยอมแก่ลงเลย ไม่ว่าจะเจอสักกี่ปีก็เหมือน
หยุดอายุผิวให้คงอ่อนเยาว์ กระจ่างใสได้ตลอดเวลา เคล็ดลับของพวกเธออยู่ที่ผลไม้สีแดงลูกเล็กๆ ที่เรียกว่า เก๋ากี่ หรือ แฮปปี้
เบอร์รี่ หรือ โกจิ เบอร์รี่ ที่เรียกได้ว่าจิ๋วแต่แจ๋ว เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าของ สารแอนติออกซิแดนท์
เก๋ากี่ หรือ ลีเซียม บาร์บารุ่ม (Lycium Barbarum) คือ ผลของต้นเก๋ากี้ เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งตระกูลเบอร์รีสีแดง มีลักษณะเป็นเ
มล็ดเล็กๆ ที่นิยมรับประทานในหมู่ชาวจีน ผลที่สุกแล้วจะมีสีแดงเหมือนเลือด จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า ฮ่วยกี้ เป็นยาบำรุงชั้นดี มีฤทธิ์
ปานกลาง รสหวาน เก๋ากี้ที่ดีต้องมีเม็ดใหญ่ สีแดง เนื้อหนา อ่อนนิ่ม รสหวาน การเก็บรักษา ควรเก็บไว้ในที่แห้ง อย่าให้ชื้น จะ
ทำให้เสื่อมคุณภาพ หรือขึ้นรา
ส่วนมากเรารู้จักเก๋ากี้ในเชิงสมุนไพรสำหรับประกอบอาหารเสียมากกว่า ส่วนที่ใช้เมล็ด ราก ก้านใบ และใบอ่อน ส่วนที่ใช้กัน
มากคือเมล็ด
เก๋ากี่ เป็นผลไม้ในตระกูลเบอร์รี่ที่มีถิ่นฐานอยู่ในแถบเทือกเขาหิมาลัย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากคุณไม่เคยได้ยินชื่อของโกจิ
เบอร์รี่มาก่อน เพราะถึงแม้ว่าผลไม้ดังกล่าวจะเป็นยาโบราณที่สําคัญที่ใช้ในประเทศเอเชียมาหลายชั่วอายุคนก็ตาม แต่ความลับ
ด้านประโยชน์ทางโภชนาการของผลดังกล่าวยังคงเป็นความลับที่ชาวโลกส่วนมากยังไม่ทราบ
ย้อนไป 4,000 ปี ก่อนคริสตกาล นักสมุนไพรชาวหิมาลายัน ได้ค้นพบความลับที่มีค่ามากที่สุดคือผลโกจิเบอร์รี่ท้องถิ่น ซึ่งต่อมา
ได้รับการถ่ายทอดสู่นักปรุงยาชาวจีน ทิเบต และอินเดีย จากการค้นคว้าและวิจัยของ Dr.Earl Mindell ค้นพบว่าผลโกจิเบอร์รี่
ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีสารแอนติออกซิแดนท์ในปริมาณมากถึง 25,300 (ในขณะที่ลูกพรุนซึ่งมีสาร
แอนติ-ออกซิแดนท์เป็นลําดับที่ 2 มีเพียง 5,700 ORAC เท่านั้น) โดยสารออกซิแดนท์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่อแก่ตัวลง
เป็นสาเหตุสําคัญของความแก่ก่อนวัยอันควร
สารสำคัญที่พบ :-
● กรดอะมิโน 18 ชนิด
● สังกะสี
● เหล็ก
● ทองแดง
● แคลเซียม
● เจอมันเนียม
● เซเรเนียม
● ฟอสฟอรัส
● มีโปรตีนมากกว่าโฮลวีต
● มีวิตามิน ซี เอ และบี 2
● มีแอนติอ็อกซิแดนต์คาโรตีนอยด์ จำนวนมากเช่น ไทอามีน เบต้าแคโรทีนและซีซานทีน
● มีพอลิแซ็กคาไรด์ 22 ชนิด โดยมี 4 ชนิดที่ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ ซึ่งทำหน้าที่เหมือนโมเลกุลหลักในร่างกาย
เมื่อเกิดการทำงานร่วมกันแล้วจะทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมและนำพาคำสั่งต่างๆ ซึ่งเซลล์ของร่างกายใช้ในการติดต่อสื่อสารถึงกัน
ผลลัพธ์คือระบบการทำงานของร่างกายจะสมบูรณ์ขึ้นและร่างกายใช้เพื่อซ่อมแซม ส่วนที่สึกหรอเป็นประจำ เพื่อสุขภาพที่ดีมีอายุ
ยืนยาว
สรรพคุณ
● แก้ไอ วิงเวียนศรีษะ
● ยาบำรุงร่างกายให้แข็งแรง
● แก้อาการอ่อนเพลีย
● บำรุงไต ปอด เลือด ตับ และสายตา เพิ่มความสามารถในการมองเห็น รักษาโรคตาบอดกลางคืน
● แก้โรคไตพร่อง
● ช่วยดูแลเรื่องผิวพรรณ ชะลอความชรา ลดน้ำหนัก
● เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค ช่วยต่อต้านมะเร็งและสามารถหยุดการเติบโตของเซลล์มะเร็ง
● ลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือดผู้เป็นเบาหวาน
● ลดความดันโลหิต
● ยับยั้งการเกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด
● ช่วยให้หัวใจแข็งแรง
● ช่วยสร้างเม็ดเลือดแข็งแรง
● ปรับปรุงเซลล์เม็ดเลือดขาว
● เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยระบบเจริญพันธุ์
● ป้องกันอาการคลื่นไส้ของหญิงมีครรภ์
● ลดอาการอักเสบและโรคไขข้ออักเสบ
● เพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ กระดูก ช่วยให้เหงือกแข็งแรง
● ปรับปรุงระบบการย่อย
● ป้องกันโรคภูมิแพ้
● ลดความเครียด อาการปวดศีรษะ
● ช่วยในการนอนหลับ
● ช่วยในเรื่องความจำ
● ทำให้รู้สึกสดชื่น
การใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารได้ เช่น
● ตุ๋นกับเนื้อสัตว์เป็นอาหารบำรุง
● โดยทั่วไปใช้เก๋ากี้ประมาณครั้งละ 6-12 กรัม ต้มรับประทานน้ำ ดื่มแทนน้ำชา
● ทำเป็นยาเม็ดลูกกลอน ดองเหล้า หรือต้มจนเปื่อยกรองเอากากออก
● ทำเป็นขนมรับประทานเป็นของว่าง เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งในยุคนี้ มีเทคโนโลยีและนวัตกรรม ใหม่ๆ สามารถเปลี่ยน
เก๋ากี้ ให้กลายมาเป็นน้ำผลไม้สกัดเข้มข้น รสชาติอร่อย กลายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่อยู่ในรูปน้ำผลไม้เสริมสร้างและบำรุง
สุขภาพ
เห็นหลายเว็บขายน้ำโกจิเบอร์รี่ ซึ่งขอบอกว่าราคาแพงมากแพง จนน่าตกใจเลย เพราะว่า แท้ที่จริงก็คือเก๋ากี้ เราก็สามารถทำ
กินเองที่บ้านได้ โดยเม็ดของเก๋ากี้เองก็มีหลายพันธุ์ แต่ขอแนะนำให้รับประทานพันธุ์ที่เป็นสีแดงครับสารอาหารเยอะกว่า เพราะว่า
เก๋ากี้มีปลูกทั่วไปในประเทศจีน แต่ที่ปลูกในมณฑลหนิงเซี่ย กานซู่ เหอเป่ย ส่านซี นั้นทีสรรพคุณดีที่สุด ซึ่งโกจินี้ อเมริกาได้ส่ง
นักวิจัยไปศึกษาถึงประเทศจีนเลยว่ามีประโยชน์อย่างไร
ที่มา bloggang
http://www.littlefiine.com/?p=2415
http://talk.mthai.com/topic/312461
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/10/2011 8:03 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 03/10/2011 7:04 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
767. คุณประโยชน์ที่สำคัญโดยสรุปจากโกจิเบอรี่
- ชะลอความชรา
- ควบคุมน้ำตาลในเม็ดเลือดแดง
- เสริมสร้างการทำงานของหัวใจ
- เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
- เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย (Immunity System)
เซ็ปเป้ บิวติ ดริ้งค์ สูตร เบอร์รี่ไบร์ท
เซ็ปเป้ บิวติ ดริ้งค์ เบอร์รี่ ไบร์ท สูตรใหม่! ผสมสารสกัดโกจิเบอร์รี่และลูทีน ใหม่ล่าสุดจากเซ็ปเป้ ด้วยน้ำมิกซ์เบอร์รี่จาก
มิกซ์เบอร์รี่เข้มข้น มีส่วนช่วยถนอมสายตา และปกป้องดวงตาจากแสง UV เหมาะสำหรับสาวๆ ทั้งวัยเรียนและวัยทำงาน
ที่ต้องใช้สายตาอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีวิตามินพรีมิกซ์ ที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ เหมาะสำหรับสาวๆ ที่ห่วงใยสุขภาพ
ดื่มง่ายและได้ประโยชน์
ส่วนประกอบที่สำคัญใน 1 ขวด (360 มล.)
น้ำองุ่นขาวจากน้ำองุ่นขาวเข้มข้น .................................... 10%
น้ำมิกซ์เบอร์รี่จากน้ำมิกซ์เบอรรี่เข้มข้น (แอปเปิ้ล, สตรอเบอร์รี่,
ราสเบอร์รี่, แบล็คเคอร์แรนท์, เชอร์รี่ และแครนเบอร์รี่) ............. 5%
น้ำตาล ................................................................... 3.6%
กรดซิตริก ................................................................ 0.1%
อะซิซัลเฟม เค ........................................................... 0.01%
วิตามินพรีมิกซ์ ........................................................... 0.01%
สารสกัดจากโกจิเบอร์รี่ .................................................. 0.0278%
ลูทีนและซีแซนทีน ...................................................... 0.0006%
ที่มา
http://www.sappe.com/sappe/products/berrybright.html
http://www.learners.in.th/blog/thai-fruits/499544
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/10/2011 8:04 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 03/10/2011 7:39 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
768. รวมรูป ผลไม้ตระกูลเบอรี่ และผลไม้เมืองหนาว
เชอร์รี่
บลูเบอร์รี่
บลูเบอร์รี่
ลูกพีช
แครนเบอร์รี่
แอปเปิ้ล
ลูกหม่อนหรือมัลเบอร์รี่
ลูกพรุน
ลูกพรุน
โกจิเบอร์รี่ค่ะ หรือ เก๋ากี่
ราสเบอร์รี่
ลูกหม่อนหรือมัลเบอร์รี่
http://picpost.postjung.com/135618.html#pic10 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 03/10/2011 9:59 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
769. องุ่นไม่มีเมล็ดมี 3 แบบ
1 stimulative parthenocarpy เกสรตัวผู้ตกบนยอดเกสรตัวเมีย(stigma)งอกลงไปตาม pollen tube แต่ไม่มีการปฏิสนธิ
ผลคือได้ผลที่ไม่มีเมล็ด เนื่องจาก embryoไม่สมประกอบ หลังดอกบานรังไข่ (ovule) จึงไม่พัฒนา เช่นพันธุ์ : Black Corinth
ต้องการการผสมเกสร แต่ไม่มีการสร้าง auxin ผลจึงเล็กมาก
2 stenospermocarpy มีการผสมเกสร และมีการปฏิสนธิ แต่ embryoจะฝ่อไปหลังปฏิสนธิ 2-4 สัปดาห์ ยังคงเหลือร่องรอยของ
เมล็ด(seed traces) เช่นพันธุ์ Thompson seedless,marroo seedless,crimpson seedless etc.(เป็นพันธุ์
ส่วนใหญ่ที่ปลูกเป็นการค้าในเมืองไทย) ผลจึงเล็ก แต่ไม่เล็กเท่า Black Corinth (ไข่ปลา) เพราะมีการสร้าง auxin
แบบจำกัด
3 empty-seededness มีการผสมเกสร และมีการปฏิสนธิ zygote พัฒนาจนมี seed coat แล้วเมล็ดก็ฝ่อแห้งไป เหลือ เมล็ด
เหี่ยว ๆ เนื่องจากมีการสร้าง auxin ขึ้นมามาก ลูกจึงใหญ่กว่า 2 แบบแรก เกิดขึ้นได้ทั้งโดยยีน และ สภาพแวดล้อม
พันธุ์ดั้งเดิมที่ไม่มีเมล็ด พบว่ามีถิ่นกำเนิดแถวเขตรอยต่อเอเชียยุโรปและชายฝังทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อัฟกานิสถาน อิหร่าน อินเดีย
ตอนบน เห็นได้จากชื่อพันธุ์ suntana ,suntanina (พันธุ์สุลตาน) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ต้นกำเนิดของพันธุ์ thompson seedless
ในอเมริกา พันธุ์เก่าแก่อีกพันธุ์คือ monuka นักผสมพันธุ์จะใช้ พันธุ์เก่าแก่เหล่าเป็นยีนตั้งต้น ในการพัฒนาองุ่นไม่มีเมล็ดต่อๆมา
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=5fdfffa97901bae1&clk=wttpcts
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/10/2011 10:09 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 03/10/2011 10:08 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
770. ข้าวลืมผัว....
ข้าวพันธุ์ ลืมผัว เดิมเป็นข้าวเหนียวนาปีของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง บ้านรวมไทยพัฒนาที่ 3 ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ
จังหวัดตาก ปลูกในสภาพไร่ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 650 เมตร และได้มีชาวไทยม้งนำเมล็ดพันธุ์มาปลูกบริเวณรอยต่อระหว่าง
อำเภอนครไทย และ ชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
ต่อมานายพนัส สุวรรณธาดา ตำแหน่งในขณะนั้น คือ เจ้าพนักงานการเกษตร 5 ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชา
การเกษตร (ปัจจุบัน เกษียณอายุราชการในตำแหน่งเจ้าพนักงานการเกษตร 6 ศูนย์วิจัยข้าวนครราชสีมา สำนักวิจัยและพัฒนา
ข้าว กรมการข้าว) ซึ่งไปปฏิบัติราชการโครงการในพระราชดำริภูขัด ภูเมี่ยง ภูสอยดาว บริเวณอำเภอนครไทย และ ชาติตระการ จังหวัด
พิษณุโลก ระหว่างปี 2533-37 ได้พบและสนใจข้าวพันธุ์นี้ จึงนำมาทดสอบเปรียบเทียบกับข้าวที่ปลูกจากแหล่งเดิม และคัดเลือก
พันธุ์ให้บริสุทธิ์ ระหว่างปี 2534-38 ณ ส่วนแยกของสถานีทดลองพืชสวนดอยมูเซอ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก เพื่อใช้ในโครงการ
ตามพระราชเสาวนีย์ของพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เมื่อคัดเลือกจนได้พันธุ์บริสุทธิ์แล้วได้มอบเมล็ดพันธุ์ให้นายไชยวัฒน์ วัฒนไชย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร ในขณะนั้น
(ปัจจุบันเกษียณอายุราชการในตำแหน่ง รองอธิบดีกรมการข้าว ขณะนี้ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากรมการข้าว) เพื่อถวายแด่สมเด็จ
พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่เสด็จมาเยี่ยมชมโครงการฯ
จากนั้นนายพนัสจึงได้ทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ในปี 2539 แล้วนำเมล็ดพันธุ์ที่ได้ไปให้ชาวไทยภูเขาเผ่าม้งที่ตำบลรวม
ไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ซึ่งเป็นแหล่งปลูกดั้งเดิม ไว้ปลูกขยายพันธุ์เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ด้วยวิธีการปลูกแบบชาวเขาที่มักปลูกข้าวหลายพันธุ์ใกล้กัน หรือปลูกด้วยกัน จึงทำให้ข้าวลืมผัวมีเมล็ดพันธุ์
ข้าวพันธุ์อื่นปน และไม่เป็นพันธุ์บริสุทธิ์
ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก โดยนายอภิชาติ เนินพลับ นางอัจฉราพร ณ ลำปาง เนินพลับ นายพงศา สุขเสริม และศูนย์วิจัยข้าวแพร่โดย
นายพจน์ วัจนะภูมิ จึงได้เริ่มทำการคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์อีกครั้งในปี 2550 เริ่มจากการคัดเลือกแบบหมู่ (mass selection)
และโดยการเลือกรวงในปี 2551 เพื่อนำมาปลูกแบบรวงต่อแถวเป็นพันธุ์คัดต่อไป
ข้าวพันธุ์นี้ เป็นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วงดำ หรือที่เรียกกันว่า ข้าวเหนียวดำ เป็นข้าวเหนียวที่มีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย เมื่อเคี้ยวจะรู้สึก
มันและนุ่มแบบหนุบๆ เนื่องจากเป็นข้าวกล้องที่ยังไม่ได้ผ่านการขัดสี ด้วยรสชาติที่อร่อย จึงเป็นที่มาของชื่อที่เรียกอยู่ในปัจจุบัน
ผลผลิตสูงสุดเมื่อปลูกในสภาพไร่และฟ้าอากาศ ที่เหมาะสม ได้ 490 กก./ไร่ เมื่อนำมาปลูกในพื้นราบ ผลผลิตที่ได้อยู่ระหว่าง 200-
350 กก./ไร่ และมีผู้กล่าวว่าเมื่อนำมาหุงกิน มีรสชาติที่อร่อยมากจนไม่อยากแบ่งให้ใครกินแม้กระทั่งสามีตนเอง จึงตั้งชื่อพันธุ์ข้าว
นี้ว่า "ข้าวพันธุ์ลืมผัว"
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=5734142dab059f89&clk=wttpcts |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 03/10/2011 10:44 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
771. ฮ่องกง ได้รับผลกระทบจากโครงการ จำนำข้าว ของไทย
นักเศรษฐศาสตร์ชาวฮ่องกงเผย ผู้บริโภคชาวฮ่องกงอาจได้รับผลกระทบจากโครงการ จำนำข้าว เพื่อช่วยเหลือชาวนาของรัฐบาลไทย
ตามที่รัฐบาลไทยได้ประกาศจะเริ่มดำเนินโครงการ จำนำข้าว (ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย
ได้ประกาศไว้ในช่วงระหว่างการหาเสียง) ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป โดยภายใต้โครงการดังกล่าว รัฐบาลจะรับจำนำข้าวจาก
ชาวนาโดยตรงในราคา 3,800 ดอลลาร์ฮ่องกง/ตัน (ประมาณ 15,000 บาท) โดยนับเป็นราคาที่สูงกว่าราคาข้าวในท้องตลาด (2,110
ดอลลาร์ฮ่องกง/ตัน หรือประมาณ 10,200 บาท/ตัน) ถึงร้อยละ 80 นั้น กลุ่มผู้ส่งออกข้าวไทยได้เปิดเผยว่า กลุ่มฯ คงไม่สามารถสู้ราคา
กับรัฐบาลได้ ดังนั้น หากรัฐบาลเริ่มดำเนินโครงการ จำนำข้าว อย่างเต็มรูปแบบ ราคาข้าวไทยในตลาดโลกน่าจะพุ่งขึ้นร้อยละ 35 จาก
ราคา 4,700 ดอลลาร์ฮ่องกง/ตัน เป็น 6,400 ดอลลาร์ฮ่องกง/ตัน ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาคาดการณ์ว่า ปรากฏการณ์
ดังกล่าวจะทำให้ปริมาณข้าวส่งออกของไทยลดลงร้อยละ 20
นาย Li Guanglin ผู้นำเข้าข้าวสารในฮ่องกงกล่าวว่า ในสมัยที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็เคยประกาศใช้
นโยบายลักษณะนี้ และจากประสบการณ์ที่ผ่านมาคาดว่า ราคานำเข้าข้าวสารไทยในฮ่องกงน่าจะสูงขึ้นร้อยละ 10 และเนื่องจากปัจจุบัน
ฮ่องกงยังมีข้าวสารในคลังเหลืออยู่ ราคาขายปลีกข้าวสารไทยจึงน่าจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2554 เป็นต้นไป และราคาข้าว
ไทยที่แพงขึ้นอาจส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อในฮ่องกงได้ อย่างไรก็ดี นาย Guan Chaozhao นักเศรษฐศาสตร์ชาวฮ่องกงคาดว่า
ราคาข้าวไทยไม่น่าจะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อมากนัก เพราะปัจจุบันตลาดฮ่องกงมีสินค้าทดแทนข้าวไทย อาทิ ข้าวเวียดนาม
และข้าวจีน ผู้บริโภคบางส่วนจึงอาจบริโภคข้าวน้อยลง หรือหันไปบริโภคข้าวราคาถูก สำหรับความห่วงกังวลว่าประเทศเวียดนามอาจ
ก้าวขึ้นเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดในโลกแทนประเทศไทยนั้น BIC ได้สอบถามข้อมูลและความเป็นไปได้จากสำนักงาน
ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองฮ่องกง ได้ทราบว่า แม้การคาดการณ์ดังกล่าวจะเป็นไปได้ แต่การที่ข้าวเวียดนามจะมาแทนที่
ข้าวไทยในตลาดฮ่องกงหรือในตลาดโลกคงต้องใช้ระยะเวลาอีกพอสมควร ทั้งนี้ BIC จะได้สอบถามความเห็นของผู้นำเข้าข้าวใน
ฮ่องกง และนำเสนอให้ทราบในโอกาสต่อไป
Last Update : 16 กันยายน 2554
โดย : ศศิภา ฉั่น
แหล่งข้อมูล : Oriental Daily (12 กันยายน 2554)
http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/china-economic-business/result.php?IBLOCK_ID=69&SECTION_ID=447&ELEMENT_ID=8615 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 03/10/2011 10:50 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
772. ผลผลิตองุ่นกว่างซีสูงติด 1 ใน 10 อันดับแรกของจีนแล้ว
เว็บไซต์รวมข่าว เขตฯ กว่างซีจ้วง: อุตสาหกรรมผลิตองุ่นของกว่างซีเติบโตอย่างรวดเร็วในปีที่ผ่านมา ผลผลิตองุ่นทั้งปีสูงติด
1 ใน 10 อันดับแรกของจีนแล้ว
ปี 53 ที่ผ่านมา ทั้งประเทศจีนมีพื้นที่เพาะปลูกองุ่นทั้งสิ้นกว่า 8.28 ล้านหมู่จีน (ประมาณ 3.48 ล้านไร่) ผลผลิตรวมทั้งปีจำนวน
8.43 ล้านตัน นายฉาว อู๋จี๋ (Chao Wu Ji, 晁无疾) เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมองุ่น สมาคมการตลาดผลไม้แห่งประเทศจีน
(China Fruit Marketing Association, 中国果品流通协会) และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมองุ่น สมาคมเกษตรศาสตร์
แห่งประเทศจีน (Chinese Society for Viticulture, Chinese Association of Agricultural Science
Societies, 中国农学会葡萄分会) เปิดเผยในงานเทศกาลองุ่นซิ่งอาน ครั้งที่ 3 (2011年广西桂林·兴安第三届
葡萄节) ประจำปี 2554 ณ เมืองกุ้ยหลิน เขตฯ กว่างซีจ้วง
ช่วงที่ผ่านมา อุตสาหกรรมองุ่นของกว่างซีเติบโตอย่างรวดเร็ว ภายใต้การสนับสนุนของพรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลเขตฯ
กว่างซีจ้วง
พื้นที่เพาะปลูกองุ่นของกว่างซีเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 ทุกปี ผลผลิตสูงติด 1 ใน 10 ของจีน และสูงเป็นอันดับ 1 จาก
11 มณฑลทางใต้ของจีน กลายเป็นแหล่งผลิตองุ่นที่ให้ผลผลิตปีละ 2 ครั้งที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ และได้รับการยอมรับอย่าง
สูงจากผู้เชี่ยวชาญในแวดวงอุตสาหกรรมองุ่นจากทั้งประเทศ
ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเขตฯ กว่างซีจ้วง ฉบับที่ 12 (ปี 54-5 ได้ตั้งเป้าหมายให้ภายในสิ้นปี 58 ทั่วทั้งเขตฯ
กว่างซีจ้วงจะมีพื้นที่เพาะปลูกองุ่น 500,000 หมู่จีน มีปริมาณผลผลิต 600,000 ตัน มูลค่ากว่า 3,600 ล้านหยวน
ปัจจุบัน พื้นที่เพาะปลูกองุ่นของอำเภอซิ่งอาน (Xing An County, 兴安县) มีจำนวน 120,000 หมู่จีน (ประมาณ 50,000
ไร่) มีปริมาณผลผลิตกว่า 180,000 ตัน จนได้รับการขนานนามว่าเป็น Turpan แห่งภาคใต้จีน [*]
องุ่นของอำเภอซิ่งอานมีลักษณะเด่นคือสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ปีละ 2 ครั้ง ใช้วิธีการเพาะปลูกที่เน้นระบบนิเวศ และสามารถ
ปลูกได้บนพื้นที่ภูเขา โดยช่วงที่ผ่านมา อุตสาหกรรมองุ่นของอำเภอซิ่งอานได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนมีความก้าวหน้า
ในด้านการแปรรูปองุ่น รวมถึงการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม
ปัจจุบัน ทุกมณฑลกำลังพัฒนาการผลิตองุ่นของตัวเอง อนาคตการแข่งขันภายในอุตสาหกรรมองุ่นจะเข้มข้นมากยิ่งขึ้น หวังว่า
ทุกคนจะต้องตั้งสติให้มั่น ติดตามแนวโน้มของตลาด สำรวจหาจุดอ่อนของตัวเอง ยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยขององุ่น
และสร้างความเข้มแข็งให้กับความสามารถในการแข่งขันและคุณภาพขององุ่น เพื่อสร้างหลักประกันแก่การพัฒนาที่ยั่งยืนของ
องุ่นซิ่งอาน นายฉาว ให้ความเห็นทิ้งท้าย
หมายเหตุ
Turpan (吐鲁番市) เป็นเมืองในเขตปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์ซินเจียงซึ่งมีชื่อเสียงด้านการเพาะปลูกองุ่น
Last Update : 23 สิงหาคม 2554
โดย : นายกตัญญู คณิตบัญชา
แหล่งข้อมูล : เว็บไซต์ http://www.gxnew.com.cn (广西新闻网) (21 สิงหาคม 2554)
เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง / ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง
http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/china-economic-business/result.php?IBLOCK_ID=69&SECTION_ID=444&ELEMENT_ID=8491 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 03/10/2011 10:55 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
773. กว่างซี ค้นพบเทคนิคการปลูกองุ่นถีจื่อ ในพื้นที่จีนตอนใต้
สำนักข่าวซินหัว-เขตฯ กว่างซีจ้วง : กว่างซีค้นพบวิธีปลูกองุ่นถีจื่อในสภาพภูมิอากาศร้อนในพื้นที่จีนตอนใต้
องุ่นชนิดหนึ่งซึ่งชาวจีนเรียกว่า ถีจื่อ (Ti Zi, 提子) เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีแดดจัด มีความชื้นในอากาศต่ำ และมีอุณหภูมิ
แตกต่างกันมากระหว่างกลางวันกับกลางคืน
ดังนั้น พื้นที่จีนตอนใต้จึงไม่เหมาะสำหรับการองุ่นถีจื่อ เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูง เกิดโรคระบาดง่าย
ทำให้ยอดอ่อนไม่สมบูรณ์ อัตราการติดดอกติดผลค่อนข้างต่ำ
นักวิจัยจากสถาบันเกษตรศาสตร์เขตฯ กว่างซีจ้วง (Guangxi Academy of Agricultural, 广西农科院) ได้ค้นพบเทคนิค
การปลูกองุ่นถีจื่อในพื้นที่จีนตอนใต้ ทำให้ผลผลิตองุ่นออกสู่ตลาดเร็วกว่าแหล่งผลิตหลักบริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซี และพื้นที่ภาคเหนือ
ของประเทศอย่างน้อย 30 วัน
เมื่อปี 52 นักวิจัยได้เริ่มทดลองปลูกองุ่นถีจื่อ 3-5 สายพันธุ์ ในพื้นที่ทดลอง 20 หมู่จีน (ประมาณ 8 ไร่เศษ) ในปีที่ 2 องุ่นให้
ผลผลิตต่อหน่วย(หมู่จีน)ประมาณ 800 กิโลกรัม มูลค่าการผลิตต่อหน่วยเกือบหมื่นหยวน และมาในปี 3 (ปี 54) มูลค่าการผลิต
ต่อหน่วยเพิ่มขึ้นเป็น 15,000 หยวนต่อหมู่จีน
นายหลี่ ลี่จื้อ (Li Li Zhi, 李立志) ผู้จัดการไร่สาธิตเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่กว่างซี และรองนักวิจัยประจำสถาบันเกษตรศาสตร์
เขตฯ กว่างซีจ้วง ให้ข้อมูลว่า 3 ปีที่ผ่านมา ได้มีการส่งเสริมพื้นที่สาธิตการปลูกองุ่นถีจื่อไปแล้วกว่า 1,000 หมู่จีน (ประมาณ 416 ไร่)
จากการติดตามและขยายผลการปลูก พบว่า หลังปีที่ 3 องุ่นถีจื่อให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อหน่วยมากกว่า 1.2 ตัน โดยองุ่นที่มีลักษณะพันธุ์
สุกเร็วจะออกสู่ตลาดช่วงต้นเดือน มิ.ย. ส่วนองุ่นพันธุ์สุกช้าจะออกสู่ตลาดช่วงปลายเดือน ก.ค. และผลผลิตออกสู่ตลาดเร็วกว่าแหล่ง
ปลูกองุ่นอื่น ๆ ของประเทศอย่างน้อย 1 เดือน
ปัจจุบัน องุ่นถีจื่อได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวจีนเป็นอย่างมาก ทำให้จำหน่ายได้ราคาสูงมาโดยตลอด
ประเทศจีนมีปริมาณการผลิตองุ่นถีจื่อเพียงประมาณร้อยละ 10 ของปริมาณการผลิตองุ่นทั้งหมด จึงไม่สามารถตอบสนองความ
ต้องการของผู้บริโภคซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้จีนต้องนำเข้าองุ่นถีจื่อจำนวนมากจากประเทศชิลี และสหรัฐอเมริกา
ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า องุ่นถีจื่อมีโอกาสทางการตลาดทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ เนื่องจากข้อจำกัดด้านการผลิต ทำให้
ยังมีช่องว่างการพัฒนาอยู่มาก
ทำไมไม่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างอาเซียน? เนื่องจากกลุ่มประเทศอาเซียนตั้งอยู่ในเขตร้อน สภาพภูมิอากาศในหลายประเทศ
จึงไม่เหมาะสำหรับการปลูกองุ่นถีจื่อ หรือหากปลูกได้ก็ต้องใช้ต้นทุนสูง จึงต้องพึ่งพาการนำเข้าเช่นเดียวกัน
Last Update : 04 สิงหาคม 2554
โดย : นายกฤษณะ สุกันตพงศ์
แหล่งข้อมูล : เว็บไซต์ http://www.gx.xinhuanet.com (广西新华网) (03 สิงหาคม 2554)
เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง / ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง
http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/china-economic-business/result.php?IBLOCK_ID=69&SECTION_ID=444&ELEMENT_ID=8333 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 03/10/2011 11:00 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
774. ครึ่งแรกปี 2554 ยูนนาน นำเข้าผลไม้เพิ่มขึ้น 39% มังคุดไทย ครองอันดับ 1
ข้อมูลจากกรมศุลกากรนครคุนหมิงระบุว่า ช่วงเดือน ม.ค. - มิ.ย. 2554 ด่านต่าง ๆ ของมณฑลยูนนานได้นำเข้าผลไม้สด
จากต่างประเทศรวม 273,600 ตัน คิดเป็นมูลค่า 245 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 39 และ
ร้อยละ 145 ตามลำดับ
ที่มา http://www.caexpo.com/ncms/upload/image/2011/07/01/144752299.jpg
หลังจากที่เส้นทางหลวงคุนหมิง กรุงเทพฯ เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ ต้นทุนและระยะเวลาการขนส่งสินค้าลดลงอย่างชัดเจน
จึงกระตุ้นให้นักธุรกิจส่วนใหญ่เลือกขนส่งผลไม้โดยผ่านเส้นทางดังกล่าว ทั้งนี้ ผลไม้สดสำคัญที่มณฑลยูนนานนำเข้าจากต่าง
ประเทศ ได้แก่ แตงโม แตงหอม กล้วยหอม มะม่วง และพุทราของพม่า ลิ้นจี่ของเวียดนาม และกล้วยหอมของลาว โดยปริมาณ
การนำเข้าแตงโม และกล้วยหอมคิดเป็นร้อย
ละ 80 ขึ้นไปของปริมาณการนำเข้าผลไม้สดทั้งหมดในมณฑลยูนนาน
จากข้อมูลของด่านบ่อหานพบว่า นับตั้งแต่ได้เริ่มนำเข้าผลไม้สดของไทยกลุ่มแรกในรูปแบบการค้าระหว่างประเทศเมื่อวันที่
19 พ.ค. 2554 ผลไม้สดของไทยได้หลั่งไหลเข้าสู่ตลาดของมณฑลยูนนานเป็นจำนวนมากโดยผ่านด่านบ่อหาน ทั้งนี้ มังคุด
เป็นผลไม้ที่มีปริมาณการนำเข้ามากเป็นอันดับที่ 1 ในผลไม้สดที่มณฑลยูนนานนำเข้าจากไทยทั้งหมดโดยผ่านด่านบ่อหาน
ข้อมูลเพิ่มเติม: หลังจากรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย และรัฐมนตรีสำนักงานควบคุมคุณภาพตรวจสอบ
และกักกันโรคของจีน (AQSIQ) ได้ร่วมกันลงนามในพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่ง
ออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างประเทศไทยและจีน เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2554 เป็นต้นมา ส่งผลให้ไทยและ
ยูนนานสามารถนำเข้า ส่งออกผลไม้ผ่านด่านทางบกอย่างเป็นทางการได้อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่จีนเคยระงับไปเมื่อเดือน
มี.ค. 2551 เนื่องจากจีนต้องการรับประกันเรื่องความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้ามาในช่วงกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงปักกิ่ง ทั้งนี้
พิธีสารดังกล่าวมีส่วนช่วยกระตุ้นการนำเข้าผลไม้จากไทยทางด่านบ่อหานเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยข้อมูลจากกรมพาฯิชย์มณฑล
ยูนนานระบุว่า มังคุด กล้วยหอม และทุเรียนของไทยเป็นสินค้านำเข้าสำคัญอันดับที่ 3 , 6, 9 ของมณฑลยูนนานในช่วงครึ่งแรก
ของปี 2554 ในขณะที่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 ผลไม้ทั้ง 3 ประเภทดังกล่าว ยังไม่ติดอันดับ 1 ใน 10 สินค้านำเข้าสำคัญ
จากไทยของมณฑลยูนนาน) โดยช่วงครึ่งแรกของปี 2554 มณฑลยูนนานได้นำเข้ามังคุด กล้วยหอม และทุเรียนจากไทย
คิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 16.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 860,000 ดอลลาร์สหรัฐ และ 440,000 ดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ
Last Update : 02 สิงหาคม 2554
โดย : นางสาวอุมาวดี แซ่ผู่
แหล่งข้อมูล : www.yn.xinhuanet.com(云南新华网) (01 สิงหาคม 2554)
มณฑลยูนนาน / ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ นครคุนหมิง
http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/china-economic-business/result.php?IBLOCK_ID=69&SECTION_ID=455&ELEMENT_ID=8297 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 03/10/2011 11:15 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
775. ฝูเจี้ยนขยายสวนนวัตกรรมเกษตรไต้หวันเพิ่มอีก 3 แห่ง
10 มิ.ย. 2554 (www.fj.xinhuanet.com) รายงานข่าวระบุว่า รัฐบาลมณฑลฝูเจี้ยนได้เปิดเผยถึงการขยายโครงการ
สวนนวัตกรรมเกษตรไต้หวันเพิ่มขึ้นอีก 3 แห่ง จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 4 แห่ง โดยสวนฯ 3 แห่งนี้จะตั้งอยู่ในพื้นที่เขตฝูชิงใน
นครฝูโจว(福州福清) เขตฮุ้ยอันในเมืองเฉวียนโจว(泉州惠安) และเขตหย่งอันในเมืองซานหมิง(三明永安)
สำหรับสวนฯ เดิมในเขตฝูชิงซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2548 ปัจจุบันมีโครงการลงทุนจากไต้หวันรวมทั้งสิ้น 47 โครงการ มีผลผลิต
มวลรวมเฉลี่ยต่อปีคิดเป็นมูลค่ากว่า 420 ล้านหยวน มีการเพาะปลูกพันธุ์พืชจากไต้หวันกว่า 500 สายพันธุ์ บนพื้นที่กว่า
70,000 หมู่ (1 หมู่ เท่ากับ 2.4 ไร่) การมีสวนฯ เพิ่มขึ้นอีกแห่งจะทำให้ฝูชิงกลายเป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านการเกษตร
ระหว่างช่องแคบไต้หวันที่สำคัญ
ส่วนในเขตฮุ้ยอันจะเน้นไปที่การเป็นแหล่งเพาะพันธุ์พืชและสัตว์น้ำ โดยจะมีการใช้พื้นที่น่านน้ำทั้งหมด 66.67 ตร.กม. และ
ในเขตหย่งอันจะให้เป็นแหล่งแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ รวมถึงจะจัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมด้วย
BIC เห็นว่า โครงการนี้ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าในความร่วมมือระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวัน ทั้งนี้การที่ไต้หวัน
ในฐานะที่มีความก้าวหน้าด้านการเกษตรเป็นลำดับต้นๆ ของเอเซียได้มาถ่ายทอดทักษะและเทคโนโลยีต่างๆ ให้แก่จีนแผ่นดิน
ใหญ่ เชื่อว่าจะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะสามารถช่วยยกระดับความสามารถด้านการเกษตรของจีนแผ่นดินใหญ่ได้
Last Update : 10 มิถุนายน 2554
โดย : ยุทธพงศ์ เอกปฐมศักดิ์
แหล่งข้อมูล : www.fj.xinhuanet.com (10 มิถุนายน 2554)
มณฑลฝูเจี้ยน / ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ เมืองเซี่ยเหมิน
http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/china-economic-business/result.php?IBLOCK_ID=69&SECTION_ID=444&ELEMENT_ID=7774 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 04/10/2011 5:13 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
776. ฟักทองยักษ์
ฟักทองที่เห็นในภาพนี้เป็นผลงานของ สวนสาธิตเกษตรไฮเทค เทียนสุ่ย (天水) ในมณฑล กานสู ที่ดึงดูดความสนใจของผู้คน
เข้าเยี่ยมชมเป็นจำนวนวมาก ทั้งนี้พืชผักที่ปลูกในสวนสาธิตแห่งนี้ได้นำเอาวิทยาการก้าวหน้าใหม่ๆมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มผล
ผลิต พืชผักที่ปลูกภายในสวนแห่งนี้ได้นำเอาวิธีการ ปลูกพืชแบบไร้ดินมาใช้เกือบทั้งหมด ดังเช่น ผลฟักทองยักษ์ที่เห็น
ในรูป และยังมีการปลูกแตงกวาที่แต่ละต้นแต่ละเถาให้ผลเก็บเกี่ยวได้ไม่น้อยกว่า 3,000 ลูก มะเขือเทศที่ให้ผลเก็บเกี่ยว
ได้ไม่ต่ำกว่า 20,000 ลูกต่อต้นเลยทีเดียว
ข่าวจาก กานสูยรึเป้า
http://www.eco-agrotech.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=447528&Ntype=2 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 04/10/2011 5:18 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
777. นาโนบอล
นาโนบอล เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นจากวัสดุนาโน ทำการวิจัยคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้งานด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยเฉพาะ
การใช้งานสะดวกง่ายดาย เพียงแค่นำเอาเชือกพลาสติก หรือเอ็นตกปลามาผูกร้อยในรูส่วนที่อยู่ปลายแหลมของ นาโนบอล
แล้วนำไปห้อยลอยไว้ในระดับกึ่งกลางน้ำในบ่อเพาะเลี้ยง คลื่นพลังงานฟาร์อินฟราเรดจากนาโนบอลจะถูกปลดปล่อยออก
มารอบทิศ แรงกระเพื่อมของคลื่นจะกระแทกกระทั้นให้มวลน้ำที่เกาะเกี่ยวกันเป็นกลุ่มใหญ่แตกกระจายออกเป็นกลุ่มที่
เล็กลงอยู่ในสภาพไบโพล่า (มีขั้ว + และ -) มีพลังงานมากขึ้น จึงสามารถดักจับออกซิเจนไว้ได้มากกว่าปกติ 2-3
เท่าตัว ปริมาณของออกซิเจนที่เพิ่มขึ้นนี้มีการรวมตัวเป็นโอโซน และแตกตัวออกเป็นออกซิเจนอิสระ รวมทั้งไฮดรอกซีล
ไอออนที่มีคุณสมบัติในการทำลายเชื้อโรค น้ำพลังงานเหล่านี้จึงสามารถลดเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อเกิดสะสมในบ่อน้ำ
เลี้ยงได้เป็นอย่างดี นาโนบอลยังสามารถควบคุมสาหร่ายที่เป็นภัยต่อกุ้งได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
เปรียบเทียบขนาดกุ้งขาวอายุ 2 เดือนครึ่งที่ไม่ใช้และใช้นาโนบอลในการเลี้ยง
จากการนำเอา นาโนบอล ไปแขวนกระจายทั่วบ่อเลี้ยง ที่กึ่งกลางระดับน้ำในบ่อเลี้ยงจำนวน 10 ตัวต่อเนื้อที่ 1 ไร่ สภาพ
น้ำในบ่อจะออกเป็นสีใส Ph จะค่อนไปทางด่างเล็กน้อยและค่อนข้างคงที่เหมาะสมต่อความเป็นอยู่ของสัตว์น้ำ เช่น กุ้งจะ
แข็งแรง เติบโตไว มีภูมิต้านทานโรคสูง ลดการใช้ยาและสารเคมีได้เป็นจำนวนมาก ผลลัพธ์ที่ออกมาน่าทึ่งฉงนใจเป็นอย่างยิ่ง
http://www.eco-agrotech.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=390992 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 04/10/2011 5:23 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
778. การใช้นาโน 863 ในวงการเพาะปลูก
เราสามารถนำอุปกรณ์ชิ้นนี้มาใช้งานกับพืชได้ทุกประเภท นับตั้งแต่ธัญพืช พืชไร่เศรษฐกิจ ผักกินใบ ผักกินผล แตงไร่แตงสวน
ไม้ดอกไม้ประดับ กล้วยต้น กล้วยไม้ สมุนไพรยาสูบ ไม้ยืนต้นจำพวกไม้ผล ไม้ประดับภูมิทัศน์หรือไม้ปลูกสวนสร้างป่า และ
อื่นๆอีกมากมาย
วิธีใช้
เอาปลายข้างหนึ่งของเอ็นสำหรับตกปลาหรือเชือก ผูกติดกับห่วงเล็กๆที่อยู่ข้างขอบอุปกรณ์ชิ้นนี้ ให้ความยาวของเอ็นหรือเชือก
เส้นนี้ยาวถึงขอบภาชนะที่ใช้บรรจุน้ำ เพื่อความสะดวกในการสาวดึงขึ้นมาทำความสะอาดผึ่งตากแดดเดือนละครั้ง ครั้งละ 10
ถึง 20 นาที (ระวังอย่าวางตากแดดนานเกินควร) เพื่อเป็นการขับไล่สารที่ยึดเกาะติดอยู่ตามผิวอุปกรณ์นี้ให้ระเหิดออกไปแล้ว
นำกลับไปหย่อนวางไว้ที่เดิม เพื่อให้การทำงานของมันมีประสิทธิภาพสม่ำเสมอ
ใช้บำบัดน้ำใช้ทางการเกษตรที่ใช้เป็นกิจวัตรโดยทั่วไป ด้วยการนำเอา นาโน 863 หย่อนวางตั้งไว้ก้นภานะที่บรรจุใส่น้ำให้
ด้านที่มีรูชี้หงายขึ้น วางแช่ไว้ในน้ำ 2 ชั่วโมงขึ้นไป (ยิ่งวางแช่นานก็ยิ่งให้ผลดี) ปริมาตรของน้ำที่บำบัดเพื่อใช้งานตั้งแต่
15 ลิตรขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 500 ลิตรต่อครั้ง แล้วนำน้ำที่บำบัดแล้วนี้ไปแช่เมล็ดพันธุ์ที่จะทำการเพาะปลูก นำไปละลาย
ปุ๋ยหรือสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่จะฉีดพ่นให้ทางใบ หรือนำเอาน้ำที่บำบัดแล้วนี้ไปราดรดต้นไม้ที่ปลูกไว้บริเวณรอบโคนต้น
ใช้บ่มแช่กระตุ้นการงอกของเมล็ดพันธุ์พืช โดยนำเอา นาโน 863 ไปวางไว้ที่ก้นภาชนะที่มีขนาดบรรจุไม่เกิน 30 กิโลกรัม
ให้ด้านที่มีรูหงายชี้ขึ้น นำเอาเมล็ดพันธุ์ที่จะทำการเพาะปลูกเทใส่ลงในถัง จากนั้นเอาน้ำที่บำบัดแล้วด้วย นาโน 863 ตาม
วิธีการที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น เทใส่ภาชนะบรรจุให้ท่วมเมล็ดพันธุ์ตามความเหมาะสมเป็นเวลา 2 ชั่วโมง หรือตามระยะเวลา
ที่เหมาะสมแก่พันธุ์พืชนั้นๆ แล้วนำเมล็ดพันธุ์ออกจากภาชนะ ผึ่งพอแห้ง แล้วนำไปหว่านลงแปลงเพาะ หรือแปลงปลูกต่อไป
การกระตุ้นการงอกของเมล็ดพืชที่ไม่เหมาะต่อการบ่มแช่ เมล็ดพันธุ์หรือชิ้นส่วนของพืชที่จะนำมาขยายพันธุ์ปลูกนั้น ไม่
เหมาะต่อการกระตุ้นความงอกด้วยการแช่พันธุ์ตามวิธีการข้อ 2 เช่น ถั่ว หัวมัน มันฝรั่ง ให้เอาน้ำที่ผ่านการแช่บำบัดด้วย
นาโน 863 มาแล้วฉีดพ่นชิ้นส่วนของพืชที่เตรียมการไว้แล้วพอเปียก แล้วคลุมด้วยแผ่นพลาสติกเป็นเวลา 5 ถึง 12
ชั่วโมงแล้วนำไปแปลงปลูกได้เลย
ใช้บำบัดน้ำที่ไขเข้าแปลงนา หรือแปลงปลูกพืชไร่ ด้วยการนำ นาโน 863 วางตั้งตรงปากทางน้ำเข้า ให้ด้านที่มีรู
หงายชี้ขึ้น ไขน้ำให้ไหลผ่าน นาโน 863 เข้าสู่แปลงนาหรือแปลงปลูก เมื่อระบายน้ำเข้าไร่นาได้ระดับเพียงพอแล้ว
จึงนำไปเก็บรักษาที่ๆแดดส่องไม่ถึง หรือวางแช่ไว้ในแปลงนาตลอดเวลาฤดูกาลเพาะปลูกก็ได้
ใช้บ่มปุ๋ยเคมี ปริมาณของปุ๋ยที่จะทำการบ่มไม่ควรเกิน 150 กิโลกรัม ต่อ นาโน 863 หนึ่งตัว ด้วยการนำเอา นาโน
863 วางสอดใส่ปากกระสอบปุ๋ยที่เปิดปากถุงแล้ว ให้ด้านที่มีรูคว่ำเข้าหาเนื้อปุ๋ย ปิดปากถุง วางบ่มไว้เป็นเวลาอย่าง
น้อย 5 ชั่วโมง (ยิ่งนานวารก็ยิ่งได้ผลดี) ส่วนการบ่มปุ๋ยอินทรีย์ก็ดำเนินการโดยวิธีเดียวกันกับการบ่มปุ๋ยเคมีดังกล่าว
แล้วจึงนำไปหว่านให้ต้นพืช
เพิ่มประสิทธิภาพของสารป้องกัน/กำจัดศัตรูพืช หรือปุ๋ยเคมีที่ละลายน้ำฉีดพ่นให้ทางใบ โดยการนำเอาน้ำที่ผ่านการ
บำบัดด้วย นาโน 863 มาแล้วตามวิธีการดังกล่าวข้างต้น มาละลายปุ๋ยหรือสารเคมีที่ใช้กำจัดป้องกันโรค-แมลงเพื่อ
ฉีดพ่นกับพืชเป้าหมาย จากการนี้สามารถลดปริมาณของปุ๋ย/สารเคมีที่ใช้ได้ถึง 1/3 ของจำนวนที่ใช้ตามปกติ แต่ทรง
ประสิทธิผลเท่าเดิม หรืออาจได้รับผลดีกว่าเดิมก็เป็นไปได้
ผลลัพธ์การใช้นาโน 863 ในวงการเพาะปลูก
- อัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์สูงขึ้น ต้นกล้า อวบอ้วนแข็งแรง รากยาวหนาแน่น
- เพิ่มกิจกรรมทางชีวะเคมีภายในของพืชมากขึ้น ใช้ประโยชน์ของกรดอะมิโนสูงขึ้น
- สารสีสารคลอโรฟีลล์ เพิ่มมากขึ้น
- กิจกรรมขบวนการแสงสังเคราะห์สูงขึ้น เติบโตได้ดีแม้ได้รับแสงแดดน้อยลง
- พืชดูดซับสะสมน้ำ-สารอาหารได้มากขึ้น ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น
- ลดการใช้ปุ๋ย-ยาสารเคมีลง คุณภาพผลผลิตดีขึ้น
ผลลัพธ์การใช้นาโน 863 ในวงการเพาะปลูก
อัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์สูงขึ้น ต้นกล้า อวบอ้วนแข็งแรง รากยาวหนาแน่น
เพิ่มกิจกรรมทางชีวะเคมีภายในของพืชมากขึ้น ใช้ประโยชน์ของกรดอะมิโนสูงขึ้น
สารสีสารคลอโรฟีลล์ เพิ่มมากขึ้น
กิจกรรมขบวนการแสงสังเคราะห์สูงขึ้น เติบโตได้ดีแม้ได้รับแสงแดดน้อยลง
พืชดูดซับสะสมน้ำ-สารอาหารได้มากขึ้น ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น
ลดการใช้ปุ๋ย-ยาสารเคมีลง คุณภาพผลผลิตดีขึ้น
http://www.eco-agrotech.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=390953 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 04/10/2011 5:52 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
779. เครื่องวัดความสุกแก่ทุเรียน
ลดปัญหาทุเรียนอ่อนด้วยเครื่องวัดความสุกแก่ทุเรียนโดยน้ำหนักแห้งผลงานกรมวิชาการเกษตร
โดย เคหการเกษตร
ทุเรียน เป็นผลไม้ที่มีความสำคัญของไทยทั้งบริโภคภายในประเทศและเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ แต่ปัญหาที่ผ่านมา คือ
มีการตัดทุเรียนอ่อนออกจำหน่าย ซึ่งอาจเกิดจากความผิดพลาดไม่ชำนาญในการตัดหรือเกิดจากความไม่รับผิดชอบของ
เจ้าของสวนและผู้ค้าที่ต้องการตัดทุเรียนออกมาขายให้ทันเวลา เป็นผลเสียตามมาอย่างมากกับวงจรการทำตลาด
ทุเรียนคุณภาพของไทย
ดร.ชูศักดิ์ ชวประดิษฐ์ วิศวกรการเกษตรชำนาญการพิเศษ กลุ่มวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว สถาบันวิจัยเกษตรวิศว
กรรม กรมวิชาการเกษตรพร้อมด้วยทีมนักวิจัย จึงได้ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือเพื่อช่วยแก้ปัญหาในการตัดทุเรียนอ่อน
ให้กับชาวสวนหรือผู้ประกอบการส่งออก ซึ่งมีความแม่นยำสูง ความผิดพลาดในการวัดไม่เกิน ± 1% เทียบ
เท่ากับการใช้คนที่มีความชำนาญสูงที่ปัจจุบันนิยมใช้กันอยู่ โดยเครื่องมือดังกล่าวมีชื่อว่า เครื่องวัดความสุกแก่ทุเรียน
โดยน้ำหนักแห้ง เป็นเครื่องวัดร้อยละของน้ำหนักเนื้อแห้งทางอ้อมโดยใช้ค่าคุณสมบัติทางไฟฟ้าได้แก่ความจุ
ไฟฟ้าของผลทุเรียน โดยจะวัดค่าที่ขั้วผลด้วยการเสียบหัวเข็มวัด สามารถกดสวิทช์อ่านค่าทราบผลได้ทันที โดย
สามารถวัดน้ำหนักแห้งของทุเรียนในช่วง 25%-40% ซึ่งครอบคลุมความสุกแก่ทุเรียนอ่อนจนถึงแก่จัด ข้อดี
ของการวัดด้วยเครื่องมือนี้คือ ไม่ทำให้ผลทุเรียนเสียหายเลย สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง
สามารถพกพาได้สะดวก
เครื่องวัดความสุกแก่ทุเรียนโดยน้ำหนักแห้ง สามารถทราบผลได้ภายใน 30 วินาที สะดวกในการทำงานพกพาได้ง่าย
ผลงานชิ้นนี้ได้ส่งเข้าประกวดในงาน งานประกวดผลงานประดิษฐ์คิดค้นเพื่อขอรับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัล
ผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2555 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 22-23 ก.ย. ที่ผ่านมา โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัย
แห่งชาติ (วช.) รายละเอียดจะนำเสนอในวารสารเคหการเกษตรต่อไป
http://www.kehakaset.com/index.php?option=com_content&view=article&id=524:2011-09-24-02-59-37&catid=38
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/10/2011 6:52 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 04/10/2011 6:09 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
780. เครื่องหว่านข้าวแห้งติดรถแทรกเตอร์
แนะนำเครื่องหว่านข้าวแห้งติดรถแทรกเตอร์ ผลงานกรมวิชาการเกษตร
เครื่องหว่านข้าวแห้งติดรถแทรกเตอร์ (Broadcaster for paddy attached with tractor)
ผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่เข้าร่วมประกวดในงาน
ประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2555 โดยทีมนักประดิษฐ์คุณสุรเวทย์ กฤษณะเศรณี และคุณสันธาน นาควัฒ
นานุกูล สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร ซึ่งมีวัตถุประสงค์ใช้กับเกษตรกรรายใหญ่ในการปลูก
ข้าวแห้งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อลดต้นทุนในการปลูกข้าวและลดความเสี่ยงในการที่ฝนทิ้งช่วง
ทำให้เกษตรกรสามารถปลูกข้าวได้เร็วขึ้นและทันฤดูกาล
ประโยชน์และข้อดีของเครื่องหว่านข้าว
- ทำให้เกษตรกรสามารถหว่านข้าวได้ทันฤดูกาล
- ทำให้การหว่านข้าวได้สม่ำเสมอและกลบเมล็ดข้าวได้ทั่วถึง เมล็ดข้าวฝังลึกทำให้ปลอดภัยจากนก หนู ทนแล้ง
และประหยัดเมล็ดพันธุ์
- ลดต้นทุนการผลิตข้าว เนื่องจากใช้แรงงานน้อยกว่าการหว่านด้วยคน
- ผลผลิตเพิ่มขึ้น 15-18% ต่อไร่ เนื่องจากการขึ้นของต้นข้าวสม่ำเสมอ อัตราต้นข้าวที่เหมาะสมกว่าการหว่านด้วยแรงคน
ยังมีข้อดีอีกมากมายพร้อมรายละเอียดของเจ้าเครื่องตัวนี้ สามารถติดตามอ่านได้ในวารสารเคหการเกษตร ในเดือน
พฤศจิกายน และเรานำภาพของเครื่องหว่านข้าวแห้งติดรถแทรกเตอร์ มาเรียกน้ำย้อยกันก่อนจะได้อ่านอย่างเจาะลึกอีกด้วยค่ะ
http://www.kehakaset.com/index.php?option=com_content&view=article&id=523:2011-09-24-02-08-08&catid=38
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/10/2011 6:52 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 04/10/2011 6:15 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
781. เพาะกล้าผัก...ธุรกิจที่กำลังมาแรง .
เรื่อง อรพรรณ วิเศษสังข์
และจุมพล สาระนาค
จากวารสารเคหการเกตร ฉบับเดือน พฤษภาคม 2554
การปลูกผักนั้นมีกระจัดกระจายกันอยู่ทั่วไปในทุกจังหวัด จะแตกต่างกันที่ชนิดพืชและปริมาณ เนื่องจากความแตกต่างกันใน
สภาพอากาศและสภาพพื้นที่ และรวมไปถึงวัฒนธรรมการบริโภคพืชผักในแต่ละภาคด้วย นอกจากเพื่อการบริโภคภายใน
ประเทศแล้ว พืชผักหลายๆชนิดยังต้องผลิตเพื่อการส่งออกซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอีกด้วย ด้วยสาเหตุที่
ความต้องการของตลาดเป็นไปอย่างต่อเนื่องและปริมาณสูง ส่งผลให้การปลูกพืชผักมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ทั้งเทค
โนโลยีในด้านการเขตกรรมและการป้องกันกำจัดศัตรูพืช
วิธีการปลูกพืชผักที่ปลูกโดยเมล็ดจะแตกต่างกันไปในแต่ละชนิดพืช พืชหลายๆชนิดจะเป็นการหว่านโดยตรง เช่น ผักบุ้ง
คะน้า ผักกาดเขียวปลี บางชนิดเป็นการหยอดหลุมในแปลงโดยตรง เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ข้าวโพดอ่อน การปลูก
พืชหลายๆชนิดที่ต้องย้ายกล้า เช่น พริก มะเขือเทศ มะเขือต่างๆ พืชบางชนิดจะใช้วิธีการปลูกหลายวิธีขึ้นอยู่กับฤดู
ปลูก เช่น ผักกาดขาวปลี บางช่วงจะใช้วิธีการย้ายปลูก แต่บางช่วงจะหว่านแล้วถอนแยกให้ได้ระยะที่เหมาะสม
การเพาะกล้าส่วนมากจะเพาะไว้ในแปลงเพาะใกล้ๆบริเวณที่จะปลูกพืชนั้นๆ หรือในบริเวณที่มีแหล่งน้ำสะดวก หรือ
บางครั้งในบริเวณที่มีน้ำท่วม เพื่อให้การปลูกเป็นไปตามฤดูการเกษตรกรจะจัดทำแปลงเพาะในบริเวณที่น้ำท่วม
ไม่ถึง หรือในบางแหล่งจะใช้ภาชนะที่ใช้ในครัวเรือนจนหมดสภาพแล้วเป็นภาชนะเพาะ เพื่อจะได้ดูแลต้นกล้าอย่าง
ใกล้ชิด เนื่องจากในปัจจุบันนี้เมล็ดพันธุ์พืชผักหลายๆชนิดเป็นเมล็ดพันธุ์ลูกผสม ที่ได้รับการพัฒนาให้มีผลผลิตสูง
มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งส่งผลให้ราคาเมล็ดพันธุ์สูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นวิธีการเดิมๆที่เกษตรกรจะ
ใช้เมล็ดหว่านในแปลงปลูกแล้วค่อยถอนต้นที่ขึ้นมากๆออกเพื่อให้เหลือต้นพืชผักในระยะปลูกที่เหมาะสม นั้นจะเป็น
การสิ้นเปลืองทั้งต้นทุนเมล็ดพันธุ์ และแรงงานที่จะต้องดูแลพืช และการจัดการถอนแยกพืช
เมื่อมีการปรับเปลี่ยนมาเป็นการเพาะกล้า ในระยะแรกเป็นการเพาะกล้าในแปลงปลูกดังกล่าวแล้วข้างต้น แต่ต่อมาจาก
การพัฒนาการปลูกพืชบางชนิดในโรงเรือนซึ่งรวมไปถึงพัฒนาวิธีการเตรียมกล้าให้เหมาะสมกับสภาพการปลูกในโรง
เรือน มีการพัฒนาอุปกรณ์เพาะปลูกต่างๆ เช่นถาดเพาะขนาดต่างๆตามความเหมาะสมของชนิดพืช ดินผสมสำหรับ
ใช้ในการเพาะในถาด หลายๆแหล่งพัฒนาถึงการใช้วัสดุปลูกที่นำเข้ามาจากต่างประเทศเป็นต้น และการพัฒนาดัง
กล่าวส่งผลให้มีการนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาปรับใช้กับการผลิตพืชผักนอกโรงเรือนหรือในแปลงปลูกทั่วๆไป
จากการที่เกษตรกรหัวก้าวหน้าบางรายนำเทคโนโลยีการเพาะกล้าในถาดหลุมมาใช้ จนมีผู้นำไปผลิตกล้าในถาดหลุม
จำหน่ายในหลายๆแหล่งปลูกพืช และในบางแหล่งจะเป็นการรับจ้างผลิตตามที่เกษตรกรต้องการ ซึ่งจากการสำรวจ
แหล่งปลูกผักที่จังหวัด ตาก เชียงใหม่ นครราชสีมา และ หนองคายพบว่าการเตรียมกล้านั้นร้อยละ 80 ที่ปรับเปลี่ยน
มาเป็นการเพาะกล้าในถาดเพาะ โดยแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะคือ
1. เกษตรกรเพาะเองจะมีอยู่น้อยมาก
2. มีผู้รับจ้างเพาะซึ่งมีทั้งรายย่อยและรายใหญ่ โดยเกษตรกรนำเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการปลูกไปให้ และกำหนดวันที่จะมา
รับกล้าไปปลูก และส่วนมากที่ได้มีโอกาสแวะเข้าไปดูกิจการจะอยู่ในกลุ่มนี้เป็นส่วนมาก เช่น การรับจ้างเพาะพริก
และมะเขือเทศที่ปากช่อง
ในเขตพบพระจะมีผู้รับจ้างอยู่หลายราย ทั้งรายเล็กที่มีโรงเรือนเป็นประเภทโรงเรือนชั่วคราว และรายใหญ่ที่มีโรงเรือน
มากกว่า 30 โรงเรือนพืชที่รับจ้างเพาะ เช่น พริก มะเขือเทศ มะเขือยาว ผักกาดขาวปลี (ลุ้ย) กะหล่ำปลี ดาวเรือง
มะละกอ เป็นต้น เกษตรกรจะนำเมล็ดมาให้พร้อมทั้งกำหนดวันที่จะมารับไปปลูก หรือบางครั้งผู้รับจ้างต้องนำต้นกล้า
ไปส่งถึงแปลงปลูก
3. เกษตรกรแจ้งความประสงค์กับผู้รับจ้างเพาะกล้า ว่าต้องการพืชอะไรสายพันธุ์อะไร ปริมาณเท่าไหร่ กำหนดจะ
ใช้เมื่อไหร่ แล้วผู้รับจ้างจะดำเนินการให้ตามที่ต้องการที่อำเภอสันทราย ซึ่งที่นี่จะเพาะพืชหลากหลายมากทั้งพืช
ผักและไม้ดอกหลากหลายชนิดแต่ที่นี่เมื่อเกษตรกรแจ้งความจำนงแล้วทางบริษัทจะจัดหาเมล็ดพันธุ์มาดำเนินการให้เลย
4. มีผู้เพาะกล้าจำหน่าย แต่มีไม่มากนัก จะพบเฉพาะในแหล่งที่มีการปลูกพืชนั้นกันเป็นพื้นที่ใหญ่ๆ จากการสำรวจ
พบที่ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ แห่งเดียว ที่มีการเพาะกล้าพริกจำหน่าย นอกจากนั้นจะเป็นการเพาะกล้าให้กับ
ลูกไร่ เช่นการปลูกมะเขือเทศส่งโรงงงานที่ จังหวัดหนองคาย
ข้อดีของการเพาะกล้าในถาดเพาะ
1. ถ้าเพาะเองสะดวกในการดูแลกล้าในพื้นที่ไม่มากนัก ทั้งการให้น้ำและศัตรูพืช
2. ทราบจำนวนกล้าที่จะใช้แน่นอน ไม่ต้องเพาะเผื่อมากนัก
3. ถ้าจ้างเพาะไม่ต้องเสียเวลาในการดูแลกล้า และไม่ต้องจ้างแรงงงานดูแลกล้า
4. ลดความเสี่ยงเกี่ยวกับต้นกล้า และ มีการรับประกันว่าจะได้ตรงตามเวลา
5. การย้ายกล้าโดยมีวัสดุปลูกติดไปด้วย โอกาสที่จะต้องปลูกซ่อมต่ำมาก
ความเสี่ยงของการเพาะอยู่ที่ผู้รับจ้าง
อย่างไรก็ตามในการเพาะเมล็ดพันธุ์จำหน่ายนั้น ผู้เพาะจะประสบปัญหาในด้านศัตรูพืชเช่นกัน โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับ
ต้นเน่ายุบ หรือโรคบนใบหลายๆชนิด เช่นโรคราน้ำค้าง โรคใบจุด โรคใบด่าง เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้มีโอกาสติดหรือ
ปนเปื้อนมากับเมล็ดพันธุ์ได้
http://www.kehakaset.com/index.php?option=com_content&view=article&id=532:2011-10-03-09-26-38&catid=38
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/10/2011 6:52 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 04/10/2011 6:25 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
782. ดัดแต่งทรงพุ่มมังคุดอย่างไร ให้ติดผลมีคุณภาพดี .
โดย เคหการเกษตร
ราชินีแห่งผลไม้อย่างมังคุด เป็นไม้ผลขนาดกลาง ใบหนาสดทั้งสองด้านและเขียวสดตลอดปี ทรงต้นเป็นแบบตั้งตรง
มีทรงพุ่มเท่ากันทุกด้าน ผลมังคุดที่มีคุณภาพมากที่สุด คือ ผลที่เกิดบริเวณกลางทรงพุ่มและผลที่เกิดบริเวณภายในทรงพุ่ม
ดังนั้น ต้องตัดแต่งกิ่งให้มีบริเวณตรงกลางทรงพุ่มโปร่งขึ้น โดยการตัดแต่งกิ่งด้านบนและด้านข้างออกเพื่อให้แสงเข้าถึง
มากขึ้นจะช่วยให้ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงดีทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพเนื่องจากได้รับอาหารอย่างเต็มที่
ทรงพุ่มธรรมชาติของมังคุดเป็นทรงปิรามิดหรือเลี้ยงยอดกลาง โดยกิ่งกลางของต้นจะเติบโตดีกว่ากิ่งอื่น ถือเป็นกิ่งหลัก
หรือกิ่งนำ และจะมีกิ่งข้างแตกออกมาจากลำต้น โดยกิ่งข้างที่แก่ที่สุดจะอยู่ล่างสุด กิ่งข้างนี้เรียกว่ากิ่งแขนงหลัก แต่
ด้วยปัญหาการจัดการทำให้ชาวสวนนิยมดัดแต่งควบคุมทรงพุ่มให้ต้นเตี้ยลง ภาพนี้เป็นทรงดัดแปลงยอดกลาง (Modified
Open Center) มีหลักการคือ ตัดแต่งให้ต้นเตี้ยลง แสงส่องได้ทั่วทรงพุ่ม ทำให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพขึ้น ช่วยลดค่า
ใช้จ่ายทั้งค่าแรงงาน ปุ๋ย และสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ตัดกิ่งแขนงหลักออกบางส่วนให้เหลือจำนวนพอเหมาะ ดึงกิ่งไม่ให้ห้อย พร้อมทั้งตัดปลายกิ่งไม่ให้พุ่มชนกัน
การรักษากิ่งแขนงย่อยที่แตกภายในทรงพุ่มหรือกิ่งกระโดงที่ชี้ขึ้น เพื่อให้เป็นกิ่งที่ให้ผลผลิตในฤดูถัดไป ดังนั้น ต้อง
ตัดแต่งกิ่งให้แสงส่องถึงภายในทรงพุ่มเพื่อให้ผลที่ติดบริเวณนี้มีคุณภาพดี
การใช้เชือกดึงให้กิ่งแขนงหลักทำมุมกับลำต้น 45-60 องศา เนื่องจากเป็นช่วงที่อาหารถูกส่งไปเลี้ยงผลได้คุณภาพดี
ปัญหากิ่งฉีกหักจากคนปืนขึ้นทำงาน สวนสุขจิตต์จึงแก้ไขด้วยการดัดแต่งควบคุมทรงพุ่มไม่ให้สูงเกินไป เพื่อให้
ทำงานได้สะดวก
ดัดแต่งควบคุมทรงพุ่มให้อยู่ในระดับที่ใช้บันไดปีนขึ้นทำงานได้เพื่อลดปัญหาการฉีกขาดจากคนปืน ต้นนี้อายุ 20 ปี
ใช้เวลาตัดแต่งกิ่งประมาณ 2 ชั่วโมง
การดัดแต่งควบคุมทรงพุ่มในรอบปี เน้นควบคุมความสูงทรงพุ่มไม่เกิน 5 เมตร
ต้นที่มีกิ่งแขนงย่อยจำนวนมาก กำลังรอการตัดแต่งจัดกิ่งแขนงย่อยโดยตัดกิ่งที่ห้อยลงทิ้ง ดูแลรักษากิ่งแขนงย่อย
ที่ชี้ขึ้นเพื่อให้ผลในฤดูถัดไป
ติดตามอ่านรายละเอียด ดัดแต่งทรงพุ่มไม้ผลอย่างไรให้ติดผลมีคุณภาพดีได้ใน "สถาปัตยกรรมทรงพุ่มไม้ผล" เร็วๆ นี้
http://www.kehakaset.com/index.php?option=com_content&view=article&id=531:2011-09-30-10-02-13&catid=38 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 04/10/2011 8:54 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
783. อินเดียตัดต่อพันธุ์ซูเปอร์มันฝรั่ง โปรตีนสูงกว่าปกติ 60%
มันฝรั่งจีเอ็มอุดมด้วยโปรตีน มีโปรตีนสูงกว่าหัวมันฝรั่งธรรมชาติถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ทั้งยังมีกรดอะมิโนที่จำเป็นหลายตัวใน
ปริมาณเข้มข้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ น่าจะช่วยหลายประเทศที่อดอยากรอดพ้นจากความหิวโหยได้
อินเดียตัดต่อพันธุ์ซูเปอร์มันฝรั่ง 'โปรตีน'สูงกว่าปกติ 60%
ที่มา : ข่าวสดรายวัน
เวลานี้หันไปทางไหนเทคโน โลยีก็แทรกแซงเข้ามาในทุกมิติของชีวิต ไม่เว้นแม้แต่เรื่องอาหารการกินที่เดี๋ยวนี้เต็มไปด้วย
อาหารตัดแต่งพันธุกรรมทั้งพืชและเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะในประเทศมหาอำนาจอย่างอเมริกาที่เปิดรับเรื่องนี้ด้วยความ
ยินดี แม้ว่าโลกจะมีอาหารอุดมสมบูรณ์มากขึ้นจากการได้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยในเรื่องการผลิต แต่อีกหลายมุม
ของโลกโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศโลกที่สามยังคงหิวโหยและขาดแคลน
นักวิทยาศาสตร์ประเทศอินเดียเห็นความจำเป็นที่จะต้องผลิตอาหารที่มีคุณภาพเพื่อมาต่อสู้กับความหิวโหยของเพื่อนร่วม
โลก จึงเลือก "หัวมันฝรั่ง" ซึ่งเป็นพืชเพาะปลูกง่ายในถิ่นทุรกันดารมาใช้ตัดต่อพันธุกรรม (จีเอ็ม) ประสบความสำเร็จใน
การสร้างมันฝรั่งที่อัดแน่นด้วยสารอาหารเป็น 'ซูเปอร์มันฝรั่ง'
มั่นฝรั่งมีปลูกอยู่ใน 125 ประเทศทั่วโลก ประชากรโลกกว่าพันล้านคนบริโภคมันฝรั่งทุกวัน มันฝรั่งทั่วไปมีโปรตีนต่ำ
มีเพียง 2 กรัมต่อมันฝรั่ง 100 กรัม และมีน้ำ 78 กรัม แต่โปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาร่างกาย
ดร.สุภรา จักราภารตี สังกัดสถาบันวิจัยพันธุกรรมพืชในกรุงนิว เดลีของอินเดีย ผู้นำการพัฒนาซูเปอร์มันฝรั่ง กล่าวว่า มัน
ฝรั่งจีเอ็มอุดม ด้วยโปรตีน มีโปรตีนสูงกว่าหัวมันฝรั่งธรรมชาติถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ทั้งยังมีกรดอะมิโนที่จำเป็นหลายตัวใน
ปริมาณเข้มข้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ น่าจะช่วยหลายประเทศที่อดอยากรอดพ้นจากความหิวโหยได้
งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารความก้าวหน้าด้านการศึกษาทางวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ระบุว่า นักวิจัยได้แยกพันธุกรรม หรือ ยีน
ที่ผลิตโปรตีนในดอกบานไม่รู้โรย ชื่อ AmA1 แล้วนำไปถ่ายใส่มันฝรั่ง ยีนตัวนี้ยังดูแลเรื่องกรดอะมิโนจำเป็นหลายตัว
เช่น ไลซีนและเมไธโอนีน ซึ่งถ้าเด็กขาดไลซีนจะทำให้สมองไม่พัฒนา ซูเปอร์มันฝรั่งเมื่อนำไปทำขนมขบเคี้ยวก็จะยิ่ง
ทำให้เด็กที่ชอบกินขนมได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น
http://www.apecthai.org/apec/th/environment.php?year=2010&id=126 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/10/2011 12:09 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
784. ใช้น้ำหมักชีวภาพแทนกรดฟอร์มิก
การผลิตเศษยาง หรือขี้ยาง ชาวสวนยางพารามักจะใช้สารเคมี ที่เรียกกันว่ากรดฟอร์มิก หยดลงในถ้วยน้ำยาง เพื่อทำให้น้ำยาง
จับตัวเป็นก้อนเร็วขึ้น แต่ไอระเหยจากกรดชนิดนี้มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ และหากไม่ระมัดระวังทำน้ำกรดฟอร์มิกกระเด็นไป
ถูกหน้ายาง ก็จะทำให้เกิดอาการเปลือกแห้งได้
ชาวสวนยางที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เค้าได้เปลี่ยนมาใช้น้ำหมักชีวภาพทดแทนสารเคมีซึ่งไม่เป็นอันตราย และได้ผลดี
ในช่วงฤดูฝนที่ฝนตกติดต่อกันแบบนี้ ชาวสวนยางในภาคใต้ มักจะผลิตยางก้อนถ้วย แทนการทำยางแผ่น ซึ่งคุณสุริยา ชูศรีกุล
เกษตรกรที่ตำบลบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ทดลองนำน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้สุก มาใช้ทดแทนกรด
ฟอร์มิก เทลงในถ้วยน้ำยางประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วคนให้เข้ากับน้ำยาง ทิ้งไว้เพียง 5 นาที น้ำยางจะจับตัวกันเป็นก้อน แต่
หากเป็นน้ำหมักชีวภาพที่หมักจากผลไม้สุก ที่มีรสเปรี้ยว เช่น สับปะรด ให้ลดเหลือเพียงครึ่งช้อนโต๊ะเท่านั้น
น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้สุกที่มีรสเปรี้ยว มีคุณสมบัติของความเป็นกรด หากยิ่งมีรสเปรี้ยวมาก จะยิ่งมีความเป็นกรดสูง จะทำให้
น้ำยางจับตัวเป็นก้อนได้ดีขึ้น ถึงแม้น้ำหมักชีวภาพจะกระเด็นไปถูกหน้ายาง หรือหยดลงดิน จะส่งผลดีต่อต้นยางเพราะจะเป็น
ปุ๋ยบำรุงดินบริเวณต้นยาง และไม่ทำให้หน้ายางเสีย
และที่สำคัญ ข้อดีของการใช้น้ำหมักชีวภาพก็คือ ขี้ยางจะ ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่เป็นอันตรายต่อตัวเกษตรกรเอง
(ติดต่อ คุณสุริยา ชูศรีกุล เกษตรกร จ.สุราษฎร์ธานี โทร.084-963-9388)
http://www.ch7.com/news/news_thailand_detail.aspx?c=2&p=8&d=100315 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/10/2011 12:25 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
785. ไม้อัดยุคใหม่ ผลิตจากวัชพืช
สาขาวิศวกรรมศาสตร์ เน้นวัสดุและชีวภาพ
โครงงาน New Particleboards by Objects Un-Benefit (ไม้อัดยุคใหม่ผลิตได้จากวัชพืช)
ผู้พัฒนา นายภีมเดช ประสิทธิ์วรเวทย์ นายมนภาส หะรารักษ์ และนายธนวรกฤต บางเขียว
โรงเรียน มงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม จ.เชียงใหม่
ที่ปรึกษา นายจักรพงษ์ บุญตันจีน
โครงงานนี้ได้รับรางวัลพิเศษ (Special Awards) อันดับที่ 3 จาก Sigma Xi, The Scientific Research Society
จากการประกวดในงาน Intel ISEF 2008 ณ เมืองAtlanta มลรัฐ Georgia ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 11-16
พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับโครงงานประเภททีมที่มีผลงานวิจัยยอดเยี่ยมในการบูรณาการสาขาวิทยาการ
ทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม
บทคัดย่อ
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง ไม้อัดยุคใหม่ผลิตได้วัชพืชเป็นการศึกษาทดลองการนำเอาวัชพืชและเศษวัสดุที่ได้หลังการเก็บเกี่ยว
ที่เป็นปัญหาในท้องถิ่นกลับมาทำให้เกิดประโยชน์โดยการผลิตเป็นปาร์ติเกิลบอร์ด ซึ่งการศึกษาทดลองได้แบ่งการทดลองเป็น
3 ตอนดังนี้
สมมติฐานที่ 1 : นำเศษไม้ไมยราบ เศษไม้มะม่วง และเศษฟางข้าวมาทดลองทำเป็นปาร์ติเกิลบอร์ด แล้วศึกษาหาค่าตามมาตร
ฐานอุตสาหกรรมว่าปาร์ติเกิลบอร์ดชนิดไหนนำมาทำเป็นไม้อัดได้ดีที่สุดผลออกมาว่า ไม้ไมยราบมีคุณสมบัติที่ดีที่สุดในการทำ
ปาร์ติเกิลบอร์ด ซึ่งมีค่าผลการทดลองคือ มีความหนาแน่น 510.25 กิโลกรัม ต่อ ลบ.ม. มีค่าความชื้น 6.77% มีค่าการดูดซึม
น้ำ 28.41% มีค่าการพองตัว 1.03% มีค่าน้ำหนักที่หายไปเมื่อนำไปไว้กับปลวกที่ 0.033 กรัม ไม่มีการเกิดรา มีการพองตัว
ของไฟเบอร์อยู่ที่ 662.2 ไมครอน
สมมติฐานที่ 2 : กาวลาเท็ก กาวแป้งเปียก และกาวยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ จะทำให้ปาร์ติเกิลบอร์ดมีคุณภาพแตกต่างกันหรือไม่
และผลการทดลองสรุปได้ว่า กาวที่ดีสุด คือ กาวลาเท็กซ์ซึ่งมีค่าการทดสอบคือ มีความหนาแน่น 513.48 กิโลกรัม ต่อ ลบ.ม.
มีค่าความชื้น 4.62% มีค่าการดูดซึมน้ำ 30.01% และมีค่าการพองตัว 1.17% มีค่าน้ำหนักที่หายไปเมื่อนำไปไว้กับปลวกที่
0.035 กรัม และไม่มีการเกิดรา
สมมติฐานที่ 3 : อัตราส่วนระหว่างกาวลาเท็กซ์กับเศษไม้ไมยราบ 1:20 1:10 และ 1:5 อัตราส่วนใดสามารถทำให้ปาร์ติเกิล
บอร์ดมีคุณภาพมากที่สุด ซึ่งผลการทดลองปรากฎว่าอัตราส่วน 1:20 เป็นอัตราส่วนที่ดีที่สุด ทำให้ปาร์ติเกิลบอร์ดมีคุณภาพดีที่สุด
ซึ่งมีผลการตรวจสอบดังนี้ มีความหนาแน่น 509.55 กิโลกรัมต่อลบ.ม. มีค่าความชื้น 5.45% มีค่าการดูดซึมน้ำ 29.56% และ
มีค่าการพองตัว 1.17% มีค่าน้ำหนักที่หายไปเมื่อนำไปไว้กับปลวกที่ 0.027 กรัม และไม่มีการเกิดรา ซึ่งหลังจากการทดลองผลิต
ปาร์ติเกิลบอร์ดได้สำเร็จแล้ว คณะผู้จัดทำก็ได้นำไปทดลองใช้งานจริงและผลปรากฎว่าปาร์ติเกิลบอร์ดที่ทำมาจากเศษไม้ไมยราบ
ไม่มีผลแตกต่างกับปาร์ติเกิลบอร์ดทั่วๆ ไปและยังมีน้ำหนักที่เบากว่าปาร์ติเกิลบอร์ดที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป และในเรื่องคุณภาพ
ความคงทนและความแข็งแรงก็ไม่ได้แตกต่างจากปาร์ติเกิลบอร์ดในท้องตลาดทั่วไป และยังสามารถป้องกันปลวกได้และไม่ต้อง
กังวลในเรื่องของการเกิดราเมื่อใช้งานที่อับชื้นอีกด้วย
http://fic.nectec.or.th/ysc13-example |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 05/10/2011 12:36 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
786. ใช้น้ำหมักชีวภาพในยางถ้วยเแทนกรดฟอร์มิก
โครงงาน Innovative Use of Anaerobic Effective Microorganisms for Natural Rubber Latex Coagulation (ผลตอบแทนและคุณภาพของยางก้อนถ้วยระหว่างการใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพกับกรดฟอร์มิก)
ผู้พัฒนา นายศุภชัย นิลดำ
โรงเรียน ขุนหาญวิทยาสรรค์ จ.ศรีสะเกษ
ที่ปรึกษา นางสาวไสว อุ่นแก้ว
โครงงานนี้ได้รับรางวัล Grand Awards อันดับที่ 4 สาขาวิศวกรรม-วัสดุศาสตร์ จากการประกวดในงาน Intel ISEF 2010 ณ เมือง San Jose มลรัฐ California ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 9-14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
บทคัดย่อ
ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติอันดับ 1 ของโลก โดยเฉพาะยางแท่งเอสทีอาร์ 20 มีปริมาณการส่งออกมากที่สุดประมาณ 80% ในกระบวนการผลิตยางแท่ง STR20 จะใช้ยางก้อนถ้วยเป็นวัตถุดิบหลัก การเตรียมยางก้อนถ้วยโดยทั่วไปจะใช้กรดฟอร์มิกในการจับตัวน้ำยางธรรมชาติ ซึ่งกรดฟอร์มิกมีราคาแพง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และใช้เวลาในการจับตัวนานอาจก่อให้เกิดความเสียหายในช่วงฤดูฝนของประเทศไทย นอกจากนี้ความเป็นพิษของกรดฟอร์มิกยังส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลของการจับตัวน้ำยางธรรมชาติเพื่อผลิตยางก้อนถ้วยด้วยน้ำหมักชีวภาพเแทนการจับตัวด้วยกรดฟอร์มิก โดยการใช้.....
- น้ำหมักชีวภาพจาก ผลไม้ที่มีความเข้มข้น 1.2 และ 4.0% โดยปริมาตร
- น้ำหมักชีวภาพจากพืชผักสีเขียวที่มีความเข้มข้น 1.2% โดยปริมาตร
- และกรดฟอร์มิกที่มีความเข้มข้นกรด 1.2, 4.0 และ 10.0% โดยปริมาตร
เมื่อใส่น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้ พืชผักสีเขียว และกรดฟอร์มิก ในปริมาณ 8.0%โดยปริมาตรของน้ำยางธรรมชาติ พบว่า .....
น้ำหมักชีวภาพทั้ง 2 ชนิด สามารถจับตัวน้ำยางธรรมชาติได้สมบูรณ์และเร็วกว่าการใช้กรดฟอร์มิกถึง 10 เท่า แม้ที่ความเข้มข้นน้อยกว่า อีกทั้งเร็วกว่าน้ำยางธรรมชาติที่เสียสภาพตามธรรมชาติถึง 360 เท่า
ผลการทดสอบคุณภาพของยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานยางแท่ง พบว่า ยางที่ได้จากการจับตัวด้วยน้ำหมักชีวภาพมีปริมาณสิ่งสกปรก ปริมาณเถ้า ปริมาณไนโตรเจน และปริมาณสิ่งระเหยใกล้เคียงกับการใช้กรดฟอร์มิก แต่ความอ่อนตัวเริ่มแรก ดัชนีความอ่อนตัวของยาง และความหนืดมูนนี่มีค่าที่ดีกว่ายางที่ได้จากการเสียสภาพตามธรรมชาติเช่นเดียวกับการใช้กรดฟอร์มิก
นอกจากนี้การจับตัวน้ำยางธรรมชาติด้วยน้ำหมักชีวภาพสามารถลดต้นทุนได้มากกว่า 50%
http://fic.nectec.or.th/ysc13-example |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|