-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 08/03/2013 6:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง


197. ชาวนาวัยรุ่นเงินล้าน
198. จบปริญญานิติฯ ทำนา 4 เดือน รายได้ 1 ล้าน
199. ชาวนาเงินล้าน 'ชัยพร พรหมพันธุ์' ปลูกข้าวเบา เอาชนะธรรมชาติ
200. ชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนาเงินล้าน

201. ลุงฟาง ทำนาโดยไม่ต้องทำนา
102. จากชาวนาเป็นเถ้าแก่ ขายพันธุ์ข้าวจนกำเงินล้าน
103. ทำไมชาวนาอินเดีย ถึงยากจนเหมือนชาวนาไทย ???
104. การปลูกข้าว แบบวิชาการ
105. โรคเมาตอซัง (Akiochi)

106. ข้าวหอมมะลิ : มหัศจรรย์แห่งพันธุกรรมข้าวไทย
107. ข้าวสาลีไทย : อาหารเพื่อสุขภาพ
108. น้ำคั้นต้นข้าวสาลีอ่อน
109. สายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ105 ทนดินเค็ม
110. ผลผลิตและคุณภาพข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 ที่ปลูกในฤดูนาปรัง

111. ''แอพพลิเคชั่น ใบข้าวฯ'' เทคโนโลยีไฮเทค ช่วยชาวนาเพิ่มผลผลิต
112. ข้าวไร่พันธุ์พญาลืมแกง
113. ข้าวเจ้าพันธุ์ กข45
114. ข้าวเหนียวดำพันธุ์หอมภูเขียว
115. ข้าวเหนียวพันธุ์ กข16

116. รวมภาพ 69 พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ภาคอีสาน...
117. ข้าวพันธุ์ใหม่ หอมมะลิ 106 และข้าวเหนียวหอม กข.6
118. ข้าวเจ้าพันธุ์ กข41, ข้าวเจ้าพันธุ์ กข43, ข้าวเจ้าพันธุ์ ขาวกอเดียว35
119. รวมภาพ 69. พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ภาคเหนือ
120. รวมภาพ 22 พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ภาคกลาง

121. รวมภาพ 11 พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ภาคใต้


------------------------------------------------------------------------------------



197. ชาวนาวัยรุ่นเงินล้าน





ชาวนาวัยรุ่นที่สามารถสร้างรายได้ กว่า 1 ล้านบาท ต่อการทำนาใน 1 รอบ โดยลงทุนเพียงแค่ 4 พันบาท โดยใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามาผสมผสาน รวมทั้งวิธีการทำนา แบบ เปียกสลับแห้งแกล้งข้าว จากแฟนเพจ ชาวนาวันหยุด ผ่านทางอินเทอร์เน็ต มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน

พื้นที่นากว่าร้อยไร่ ในอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ของนายอุทัยพงษ์ เกษธีระกุล อายุ 26 ปี ชาวนาวัยรุ่นคนนี้เริ่มบริหารจัดการนา 130 ไร่ตั้งแต่อายุ 21 ปี หลังจากจบการศึกษาจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


อุทัยพงษ์บอกว่า การบริหารจัดการนานั้นไม่ยาก เพียงแค่เตรียมดิน-น้ำเข้านา และเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว ส่วนการดูแลข้าวนั้น ปัจจุบันมีเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาผสมผสานในการทำนามากขึ้น รวมทั้งยังได้ค้นพบวิธีการทำนา แบบเปียกสลับแห้งแกล้งข้าว จากแฟนเพจ "ชาวนาวันหยุด" มาประยุกต์ใช้ ซึ่งทำให้ได้ผลผลิตสูงกว่า 1 ตันต่อไร่ และได้กำไรต่อไร่กว่าหนึ่งหมื่นบาทโดยลงทุนไปเพียงไร่ละ4 พันบาทเท่านั้น


อาชีพอิสระ อยู่กับธรรมชาติ และได้ผลตอบแทนดี เป็นคำนิยามของชาวนาวัยรุ่นคนนี้ ที่ให้นิยามกับอาชีพที่รัก โดยหลายคนเข้าใจว่าการเป็นกระดูกสันหลังของชาติจะต้องเหนื่อย ยากลำบากและมีรายได้ไม่มั่นคง ไม่เป็นที่ยกย่องของผู้คน ซึ่งแตกต่างจากชาวนาวัยรุ่นคนนี้อย่างสิ้นเชิง และยังให้แง่คิดว่า ในอนาคตอาชีพชาวนาจะเป็นอาชีพที่รวยมาก


วัยรุ่นชาวนามืออาชีพคนนี้บอกว่า การทำนายังคงใช้สารเคมีบ้าง แต่ได้พยายามปรับเปลี่ยนและหันมาทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งชาวนาส่วนใหญ่ มักมีความคิดว่า ต้องการเห็นผลผลิตหรือการปราบศัตรูพืชที่ได้ผลอย่างรวดเร็ว จึงยังนิยมใช้สารเคมีอยู่ รวมทั้งในอนาคตอยากเห็นรัฐบาลปลูกฝังแนวคิดใหม่ให้กับเด็กรุ่น ไม่ให้ดูถูกอาชีพการทำนา ที่ผลิตข้าวให้คนทั้งประเทศกินและยังส่งออกสร้างรายได้ ให้กับประเทศชาติอย่างมากอีกด้วย

by Wipa



http://campus.sanook.com

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/07/2020 9:46 am, แก้ไขทั้งหมด 29 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 08/03/2013 7:34 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

198. จบปริญญานิติฯ ทำนา 4 เดือน รายได้ 1 ล้าน








สัมผัสชีวิต ชัยพล ยิ้มไทร หนุ่มดีกรีปริญญามหาวิทยาลัย ที่ปฏิเสธหนทางชีวิตแบบที่คนส่วนใหญ่เลือก แต่หันหน้าสู่ผืนนาดินที่เป็นเสมือนพื้นที่สนามทดลองชีวิต ความหวังและความฝันของตน เขาบากบั่นทำนาจนกลายเป็นเศรษฐีเงินล้าน! อีกทั้งเพื่อเป็นการมุ่งมั่นพิสูจน์ศักดิ์ศรีความเป็นชาวนาที่ไม่ได้ต่ำต้อยด้อยค่าอย่างที่ใครหลายๆคนปรามาสเอาไว้!!

หนุ่มผิวคล้ำร่างใหญ่ วัย 27 ปี...เขาคือหนุ่มรักอิสระที่ดั้นด้นเดินทางไปหา ชัยพร พรหมพันธุ์ เพื่อขอคำแนะนำการทำเกษตรกรรม และชัยพร ก็คือ คนที่ทำให้เขาพบแสงสว่างของการเป็นชาวนา เมื่อได้รับคำแนะนำกลับมา หนุ่มคนนี้ก็ได้เช่าพื้นที่รกร้างในอำเภอเชียงราก จังหวัดปทุมธานี เพื่อเดินตามความฝันของตัวเองทันที

ชัยพล เริ่มลงมือทำนาตามแบบอย่างครูชัยพร ด้วยกับการทำนาแบบลดต้นทุน ไม่พึ่งปุ๋ย ไม่พึ่งยา เขาต้องตื่นตั้งแต่ตี 4 ทุกวัน เพื่อมาย่ำที่ดินรกร้างไปจนมืดค่ำสิ้นแสงตะวัน ท่ามกลางเสียงสบประมาทจากผู้เป็นพ่อที่ไม่เห็นด้วยกับการทำนาในแบบฉบับของเขาเลย ว่า "ไม่ได้แดกร๊อก ข้าวต้นเท่าเข็ม ริจะทำนาแบบไอ้พวก "กะเสด" ไม่ใช้ปุ๋ยใช้ยา ฮ่า ๆ"

แต่ทว่า เมื่อมีความมุ่งมั่นตั้งใจแล้ว ชัยพล จึงเดินหน้าอย่างสุดกำลัง เพื่อพิสูจน์ตัวเอง และพิสูจน์ให้คนรอบข้างเห็น จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ และเสียงดูถูก ในที่สุด ผืนนาว่าง ๆ ก็กลายเป็นเมล็ดข้าวสีทองสุกอร่าม สร้างรายได้ให้ชายหนุ่มผู้มองเห็นเกียรติและศักดิ์ศรีของชาวนา ปัจจุบัน ชัยพล ได้ผืนนากว้างไกลกว่าร้อยไร่ ที่ไม่ใช่แค่ที่ทำกิน แต่เป็นทั้งสนามชีวิต เป็นสถานที่พิสูจน์ความเชื่อ ความหวัง และความฝันของคนหนุ่มคนนี้ อีกทั้งยังทำให้เขาได้ค้นพบเป้าหมายของชีวิต ซึ่งนับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเกิดมาเป็นมนุษย์

ที่มา: TeeNee.com / Youtube






http://men.postjung.com/638723.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 08/03/2013 9:10 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

199. ชาวนาเงินล้าน 'ชัยพร พรหมพันธุ์' ปลูกข้าวเบา เอาชนะธรรมชาติ





ตลอดชั่วอายุเท่าที่จำได้ "ชัยพร พรหมพันธุ์" เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ปี 2538 ชาว ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี เขาบอกว่า ยึดอาชีพทำนาตลอด ซึ่งเดิมก็ทำนาเหมือนกับชาวนาทั่วไป ทำให้ช่วงฤดูฝนเกิดความเสียหาย เนื่องจากบางปีเกิดภาวะน้ำท่วม ในที่สุด ชัยพร สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีง่ายๆ หาแนวทางหนีน้ำท่วมด้วยการเลือกปลูกข้าวพันธุ์เบา จนทำให้เขาตั้งฉายาว่า "ชาวนาเงินล้าน"



ชัยพร บอกว่า เหตุการณ์มหาอุทกภัยเมื่อปี 2554 ชาวนาประสบปัญหาข้าวเกิดความเสียหายเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้ ทุกคนอยู่ในภาวะขาดทุน สูญเสียทรัพย์สิน เงินทองและกำลังใจ แต่เขาเป็นชาวนามาแต่กำเนิดและเรียนรู้วิธีการทำนามาทุกรูปแบบ จึงหันมาปลูกข้าวหนีน้ำ หรือที่เรียกกันว่า ข้าวเบา ใช้ระยะเวลาในการปลูกเพียง 3 เดือน ก็เก็บเกี่ยวข้าวได้แล้ว เป็นแนวทางการรับมือน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นอีก แต่คนอื่นส่วนใหญ่หรือเกือบ 100%ปลูกข้าวหนัก ที่ต้องใช้เวลาในการปลูก 4 เดือน เพราะเห็นแก่ราคาดีกว่าข้าวเบาเกวียนละ 1,000 บาท แต่พอน้ำท่วมกลับเสียหายยับเยิน

“ผมและคนในชุมชน หมู่ 1 หมู่ 2 หมู่ 8 ของ อ.บางปลาม้าทั้งทุ่ง กว่า 50% จึงหันมาปลูกข้าวเบากัน ใช้ระยะเวลาในการเติบโตสั้นเราจะสามารถเก็บเกี่ยวข้าวภายในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งจะหนีน้ำทัน และเรายังขายข้าวให้โรงสีข้าวได้ เราจึงไม่เสี่ยงกับการขาดทุนด้วย" ชัยพร กล่าว

จากความสำเร็จในการปลูกข้าวหนีน้ำ หรือข้าวเบา ของ ชัยพร ทำให้หลายหน่วยงานขอเข้าศึกษาข้อมูล อย่างล่าสุดมีกลุ่มผู้นำการเปลี่ยนแปลงสังคม (นปปส.) ลงพื้นที่ศึกษาดูงานที่ อ.บางปลาม้า เพื่อเรียนรู้การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในภาคเกษตรกรรม โดยมี ชัยพร ช่วยบรรยาย



สำหรับข้าวเบานั้น ปัจจุบันในประเทศมีให้เกษตรกรเลือกหลายสายพันธุ์ อาทิ
ข้าวเจ้าไวต่อแสง ได้แก่ กข15, น้ำสะกุย 19,
ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง ได้แก่ สุพรรณบุรี 2, ชัยนาท 2, พัทลุง, บางแตน, กข29,
ข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสง ได้แก่ หางยี 71, เหนียวอุบล 2, กข 12

เป็นต้น



http://www.komchadluek.net

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/07/2020 9:46 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 08/03/2013 10:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

200. ชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนาเงินล้าน





บุคคลต้นแบบของผมท่านนี้เขาเป็นชาวนาครับ แต่เขาเป็นชาวนาที่ไม่เหมือนชาวนาที่ผมเคยรู้จัก เขาทำนาโดยไม่เคยเอาเปรียบดินไม่เคยทำร้ายธรรมชาติ พี่ชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนาในวัย 48 อยู่บ้านเลขที่ 35 หมู่ที่ 1 ตำบลบางใหญ่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอบางปลาม้า สมรสกับคุณวิมล พรหมพันธุ์ บุตรมี 3 คน เป็นชาย 1 คน หญิง 2 คน เป็นชาวนาที่ผมถือว่าไม่ธรรมดาในความคิดผม ผมได้รู้จักชีวิตพี่เขาผ่านรายการ “คนค้นคน” และได้ตามศึกษาชีวิตพี่ชัยพรต่อจากการหาสื่ออื่นๆ มาอ่านเพิ่มเติม

ในปัจจุบันพี่ชัยพร กับศรีภรรยาจะช่วยกันทำนาบนพื้นที่ 102ไร่ โดยทำนาได้ปีละ 2ครั้ง บนหลักความคิดที่พึ่งตนเอง เปิดใจ ช่างคิด ช่างประดิษฐ์ และช่างสังเกตธรรมชาติรอบตัว แล้วนำสิ่งของเหลือใช้มาประยุกต์ใช้ในการทำนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด มหัศจรรย์


"เวลาที่เราทำอะไรด้วยความปราณีต ผลที่ได้มันก็จะดี แต่ถ้าเริ่มต้นชุ่ยๆ ผลที่ได้มันก็ชุ่ย"

นี่คือคำพูดสอดรับกับผลลัพท์ในแต่ละปีที่พี่ชัยพร สร้างขึ้นมา แต่ละปีพี่ชัยพรจะมีกำไรจากการขายข้าวหลังหักค่าใช้จ่าย ประมาณเกือบ 2ล้านบาทต่อปี สำหรับการทำนา 2ครั้งต่อปี ต้นทุนที่พี่ชัยพรใช้ต่อไร่ค่าใช้จ่ายอยู่ประมาณ 2พันบาทเท่านั้น โดยปัจจุบันมีการให้เงินเดือนตนเองกับภรรยามีเงินเดือน คนละ 50,000 ถึง 60,000บาท ต่อเดือน ประยุกต์คำนวณจากการที่ไม่ต้องจ้างคนอื่นมาทำนา





พี่ชัยพรเล่าว่าสิ่งที่สร้างความแตกต่างให้กับการทำนาของเขา ที่ต่างจากคนอื่นคือ การช่างสังเกต ช่างสงสัย ช่างทดลอง และกล้าได้กล้าเสีย พร้อมกับเล่าให้ฟังว่า


"ทำนาเคมีมา 20 กว่าไร่ ครั้งแรกปี 2525 ได้ข้าว 13 เกวียน จำได้แม่นเลย ขายได้เกวียนละ 2,000 บาท ขาดทุนยับ พอดูหนทาง เลยไปสมัครเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน คิดว่าจะได้เบิกเงินค่าเรียนลูก เพราะมองอนาคตแล้วว่าไม่มีปัญญาส่งลูกแน่ แต่ปี 2531 เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอาละวาดหนัก แถวบ้านเราโดนกันหมด ก็พอดีอาจารย์เดชา ศิริภัทร ทำเรื่องนาอินทรีย์และใช้สมุนไพร มาขอทำแปลงทดลองปลูกสมุนไพร พ่อก็แบ่งนาให้ 5 ไร่ ด้วยความเกรงใจ อาจารย์ก็เริ่มทดลองใช้สะเดาสู้กับเพลี้ย เครื่องไม้เครื่องมือเยอะ ผมก็ไปช่วยอาจารย์ฉีด ก็ฉีดไปยังงั้น เราไม่ได้ศรัทธาอะไร แต่ปรากฎว่าแปลงนาที่สารเคมีเสียหายหมด ส่วนแปลงนาที่ฉีดสะเดากลับไม่เป็นอะไร

ผมก็เริ่มจะเชื่อแล้ว แต่ก็ยังไม่เต็มร้อย เลยเอามาทำในนาของผมเอง ซึ่งปีนั้นชาวนาโดนเพลี้ยกันเยอะมาก หน่วยปราบศัตรูพืชจังหวัด เขาเลยเอายาที่ผสมสารเคมีมาแจก ผมก็ลองเอามาใช้ โดยแบ่งว่าแปลงนานี้ฉีดสารเคมี แปลงนานี้ฉีดสะเดา ซึ่งผลก็ปรากฎออกมาว่า แปลงนาที่ฉีดสะเดาปลอดภัยดี เก็บเกี่ยวข้าวก็ดี แต่แปลงที่ฉีดสารเคมีตายหมด ตั้งแต่นั้นมาก็เลยเชื่อสนิทใจ แล้วมาลองทำเองดู ผมก็หักกิ่งก้านสะเดามาใส่ครกตำเอง ภรรยาก็บ่นว่าทำไปทำไมเสียเวลา แต่ผมรั้น คือยังไงก็ขอลองหน่อย ก็เอาไปฉีดแล้วข้าวก็ได้เกี่ยว ผลผลิตก็ออกมาดีเกินคาด ทีนี้ชาวบ้านก็แห่มาขอสูตรเอาไปทำบ้าง แต่ก็ไม่ค่อยมีใครประสบผลสำเร็จ เพราะเขาใช้สมุนไพรคู่กับยาเคมี บางคนใช้เคมีจนเอาไม่อยู่แล้วถึงหันมาใช้สะเดา พอมันไม่ได้ผลทันตาเห็น ก็กลับไปใช้สารเคมีกันเหมือนเดิม ” เกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำนา กล่าว





ทุกครั้งที่ขายข้าวได้ พี่ชัยพรจะนึกถึงบุคคลที่นำเอาวิธีเกษตรอินทรีย์มาให้เขาได้รู้จัก และปรับใช้ในที่นาของเขา จนมีเงินเหลือเก็บ ...
"ถ้าผมไม่ได้เจออาจารย์เดชาก็คงไม่ได้เกิดหรอก คงไม่ได้ส่งลูกเรียนปริญญาโทไป 2 คน อีกคนก็ว่าจะเรียนปีหน้า ลูกมาทีเอาเงินค่าเทอมทีละ 40,000 – 50,000 บาท ก็ยังเฉย ๆ เรามีให้"

พี่ชัยพรทำนาด้วยหลักธรรมชาติเกษตรอินทรีย์มากว่า 30ปีแล้ว ได้ผลผลิตดีทุกปีไม่เคยขาดทุน ปีไหนที่ข้าวราคาไม่ดี อย่างแย่สุดก็จะขาดทุนกำไร อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้พวกเราได้รู้จักตัวตนของผู้ชายคนนี้มาก เพราะพี่ชัยพรเป็นคนใจกว้าง ไม่เคยปกปิดกลยุทธ์หรือกรรมวิธีในการทำนาให้เกิดผลดีที่สุดใครมีปัญหาเกี่ยวกับการปลูกข้าว พี่ชัยพรจะช่วยแนะนำให้ตลอด

3ปีที่ผ่านมานี้ พี่ชัยพร จัดสรรแบ่งเวลาในแต่ละวันอย่างเต็มประสิทธิภาพ คือ ก่อนรับประทานข้าวเช้า พี่ชัยพรจะออกไปนา ไปติดตั้งเครื่องสูบน้ำ หรือทำกิจกรรมต่างๆ ในช่วงเวลาเช้าให้เสร็จสิ้นก่อน เพราะในช่วงสายๆ ของแต่ละวันจะมีประชาชนผู้สนใจ นักศึกษามาขอคำแนะนำหรือขอชมการทำนาตามแนวทางแบบอย่างที่พี่ชัยพรทำ รวมถึงการไปเป็น Guest Speaker ให้กับองค์กรเอกชนและภาครัฐหลายแห่งตลอดมา แม้ตรงนี้เอง พี่ชัยพรจะเคยบอกว่ามันทำให้เขาไม่มีเวลาไปดูแลข้าวในนาอย่างที่เขาเคยมีเวลา และกว่าจะส่งแขกเสร็จ กลับไปเก็บเครื่องมือต่างๆ ก็เข้านอนประมาณ ห้าทุ่มทุกวันก็ไม่ได้ทำให้เขารู้สึกเสียดายผลผลิตที่ไม่ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยอย่างตอนก่อนจะเป็นที่รู้จักของประชาชน





ในด้านวิสัยทัศน์ พี่ชัยพรปัจจุบันเปรียบเสมือนเป็นผู้นำความคิดของชุมชน พี่ชัยพรวางแนวทางให้กับสังคมสำหรับการเตรียมความพร้อมรับอุทกภัย ที่คนที่ราบลุ่มมีสิทธิ์เจอกันทุกปี และจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยพิบัติเมื่อปี 2554 ชาวนาประสบปัญหาข้าวเกิดความเสียหายเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้ ทุกคนอยู่ในภาวะขาดทุน สูญเสียทรัพย์สิน เงินทองและกำลังใจ ตนซึ่งเป็นชาวนามาแต่กำเนิดและเรียนรู้วิธีการทำนามาทุกรูปแบบ


ดังนั้นพี่ชัยพรมองว่าการหันมาปลูกข้าวหนีน้ำ หรือที่เรียกกันว่าข้าวเบา ซึ่งใช้ระยะเวลาในการปลูกเพียง 3 เดือนก็เก็บเกี่ยวข้าวได้แล้วเป็นแนวทางการรับมือน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นอีก ซึ่งในปีที่ผ่านมาชาวนาส่วนใหญ่หรือเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์จะปลูกข้าวหนัก ที่ต้องใช้เวลาในการปลูก 4 เดือน เนื่องจากได้ราคาดีกว่าข้าวเบาเกวียนละ 1,000 บาท อีกทั้งข้าวหนักเป็นข้าวที่รัฐบาลรับประกันราคา

“ผมและคนในชุมชน หมู่ 1 หมู่ 2 หมู่ 8 ของ อ.บางปลาม้าทั้งทุ่ง กว่า 50 เปอร์เซ็นต์ จึงหันมาปลูกข้าวเบากันในปีนี้ จากที่แทบไม่มีใครปลูกเลย เพราะเมื่อหันมาปลูกข้าวที่ใช้ระยะเวลาในการเติบโตสั้นเราจะสามารถเก็บ เกี่ยวข้าวภายในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งจะหนีน้ำทัน และเรายังขายข้าวให้กับโรงสีข้าวได้ เราจึงไม่เสี่ยงกับการขาดทุนด้วยการปลูกข้าวหนัก เพราะเมื่อปีที่แล้วน้ำท่วมนาข้าวแค่เพียง 2 สัปดาห์ ผมเสียเงินไปถึง 4 แสนบาท นอกจากนี้ชาวนาที่ปลูกข้าวอยู่ในละแวกเดียวกันยังรวมกลุ่มกันช่วยกันดูแลที่นา

หากเกิดปัญหาน้ำท่วมขึ้นอีกในปีนี้ ทุกคนก็จะช่วยกันลงแรงหรือลงแขกวิดน้ำออกจากที่นา ช่วยกันเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อให้ทันก่อนที่น้ำจะท่วมนา นอกจากนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเห็นว่าชาวบ้านรวมตัวกันในการรับมือ กับภาวะน้ำท่วมก็ยินดีเข้ามาช่วยสนับสนุนเครื่องมือต่างๆ ด้วย เช่น เครื่องสูบน้ำ เชื้อเพลิง เป็นต้น เป็นความสามัคคีในชุมชนเพื่อรับมือกับอุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้นอีกครั้งก็ ได้” พี่ชัยพร กล่าวไว้





จากการได้ศึกษาชีวิตพี่ชัยพร ทำให้ผมรู้สึกว่าผู้ชายคนนี้มีหัวใจที่สุดยอด ในทุกๆปัญหาพี่ชัยพรมักมีทางออกให้กับงานความรับผิดชอบของตนเองตลอด และคุณสมบัติที่ทำให้ชัยพรมีความโดดเด่น ฉีกกรอบจากชาวนาทั่วไป มีความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) ที่มีความชัดเจนในหลักของ

1. การมีอิทธพลอย่างมีอุดมการณ์
2. การสร้างแรงบันดาลใจที่ดีให้กับผู้อื่นหรือคนรอบข้าง
3. การสร้างจุดเปลี่ยนทางความคิดให้เกิดปัญญา
4. การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และยังเป็นแรงบันดาลใจ (Inspiration) ให้คนอื่นๆได้





สำหรับตัวผมเองได้มุมมองชีวิตที่ดีที่เกี่ยวกับงาน คือ หากเราอยากได้ผลลัพท์ที่ดี เราต้องทำอย่างปราณีตในทุกๆขั้นตอนแล้วผลลัพท์จะออกมาดีตาม เนื่องจากผมทำงานด้านแรงงานสัมพันธ์ จุดเล็กๆที่เริ่มจากการพูดคุยถ้าเราไม่ปราณีต ไม่สนใจเอาใจใส่ในการพูดคุย ผลลัพท์อาจจบลงที่ศาลแรงงานได้เสมอ อีกสิ่งคือความเสียสละที่พี่ชัยพรแสดงให้เห็นชัดเจนพร้อมยินดีที่จะสละเวลาในการดูแลกระเป๋าตังค์คือผลผลิตนาข้าวของตัวเองทั้ง 102ไร่อย่างทั่วถึง สละมาทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมในการที่จะนำความรู้ที่ตนเองมีและชำนาญ แบ่งปันให้กับผู้อื่นอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย และตรงนี้เองส่วนตัวผมเชื่อว่าธรรมชาติจะคืนสิ่งล่ำค่าให้พี่ชัยพรอย่างแน่นอนครับ
ขอบคุณท่านอาจารย์นุ่นที่สั่งการบ้านเราในวิชา Talent Management ทำให้เราได้มีโอกาสมาสังเคราะห์ความคิดเรา ได้เรียนรู้ว่าประสบการณ์ของทุกชีวิตมีคุณค่ากับเรามากเพียงใด และเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตเราได้แน่นอนเพียงเราเปิดใจมองมันครับ





ภาพและคำพูดตัดบางส่วนจากนิตยสาร ค.ฅน ฉบับเดือนตุลาคม 52 และจากคลิป รายการคนค้นคน ตอน ชาวนาเงินล้าน และบทสัมภาษณ์ในยูทูป

เขียนโดย Arr Piyarattanastien



http://cafedelarny.blogspot.com/2012/07/my-role-model.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 08/03/2013 7:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


201. ลุงฟาง ทำนาโดยไม่ต้องทำนา






ในอัลบั้ม “หากหัวใจยังรักควาย” ของวงคาราบาว เพลงชุดท้ายในแผ่นที่ 2 มีชื่อว่า “ลุงฟาง”

เพลงนี้เกิดมาจากการเรียบเรียงเรื่องราวของชายชาวญี่ปุ่นที่ชื่อมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ ชายผู้ที่กลับคืนสู่วิธีธรรมชาติด้วยการทำนาโดยไม่ต้องทำนา เก็บเวลาไว้คุยกับตะวัน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเพลงนี้ทำให้หลายคนรู้จักมาซาโนบุ ฟูกูโอกะไม่ต่างจากหนังสือ “ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว” (ในชื่อภาษาไทย) ที่เขาเขียน

แต่ปัจจุบันศาสตร์ที่ว่าด้วยการ “ทำนา โดยไม่ต้องทำนา” นี้ ดูจะกลายเป็นวิถีที่ล้าหลังและโบราณไม่ต่างจากอายุของลุงฟาง

ในวันที่เทคโนโลยียกระดับขีดความสามารถไปข้างหน้าเพื่อสนองต่อความต้องการบริโภคจำนวนมากของคนบางกลุ่ม หลักปฏิบัติ 4 ข้อ ใจความสำคัญอันว่าด้วย

(1) ไม่ไถพรวนดิน
(2) ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี หรือทำปุ๋ยหมัก
(3) ไม่จำกัดวัชพืช ไม่ว่าด้วยการถากถางหรือใช้ยากำจัดวัชพืช
(4) ไม่ใช้สารเคมี

ดูจะเป็นสิ่งไม่ทันกาล เพราะถึงจะมีข้อดี
1.) สมดุลทางธรรมชาติไม่ถูกทำลาย
2.) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อคนและสัตว์
3.) สามารถปรับปรุงการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมให้ดีขึ้น
4.) ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพปราศจากสารพิษ
5.) ลดต้นทุนการผลิต และใช้แรงงานน้อย

แต่ก็มีสิ่งที่เป็นจุดอ่อนหรือข้อเสียเช่นกัน
1.) ต้องใช้เวลาในการศึกษาและทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ
2.) เห็นผลช้า ไม่รวดเร็วทันใจ
3.) เกษตรกรต้องมีความพยายามและมีความอดทน
4.) ผลิตผลไม่สวยงามเมื่อเทียบกับการเกษตรสมัยใหม่
5.) ไม่สามารถผลิตเป็นการค้าได้ทีละมากๆ

ซึ่งข้อเสียที่ว่า ส่งผลบรรษัทให้ข้ามชาติ และในชาติหลายรายผลิตสารเคมี ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงต่างๆ ออกมาเพื่อกระตุ้นการเติบโตของพืชผลให้แก่เกษตรกรออกขายสู่ตลอดอย่างทันท่วงที





ไม่ใช่ว่าจะเห็นนวัตกรรมนี้ว่าดีกว่า แต่สิ่งที่ว่าดีก็มีข้อเสียเหมือนกับที่การทำนาโดยไม่ต้องทำนามีข้อเสียเช่นกัน

กลางเดือนมกราคม ไทยตกเป็นข่าวใหญ่ในเวทีโลก เมื่อทางกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (อียู) ได้ทำการระงับส่งออกสินค้าพืชผัก 16 ชนิด อาทิ กะเพรา โหระพา พริกขี้หนู ฯลฯ จากประเทศไทยเป็นการชั่วคราว เนื่องจากการตรวจพบว่าพืชผักที่ว่านั้นมีสารเคมีตกค้างจากการผลิต

หลังจากเกิดเรื่องนี้ขึ้น ผู้ใหญ่ในกระทรวงที่เกี่ยวข้องก็ออกมาประกาศกร้าวว่าต่อไปนี้จะตรวจสอบผู้ ส่งออกสินค้าทางการเกษตรอย่างจริงจัง ใครที่ส่งของผิดหลักคุณภาพมาจะถูกลงโทษอย่างเด็ดขาด

ถึงกระนั้นในเวลาเดียวเมื่อลองตรวจสอบลงในรายละเอียดก็พบเรื่องชวนตกใจ

ประเทศไทยใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เรานำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชปีละเกือบ 140 ล้านกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่านำเข้าประมาณ 17,000 ล้านบาท ในขณะที่รัฐบาลไทยอนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากที่สุด ในโลกถึง 25,000 ชื่อ ส่วนมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม อนุญาตให้ขึ้นทะเบียนพันกว่าชื่อเท่านั้น

สารเคมีที่ใช้กันมากใน ไทยอย่างคาร์โบฟูแรน (ยาฆ่าแมลง) ทางประเทศผู้ผลิตคือสหรัฐอเมริกาได้สั่งเลิกใช้แล้ว และทางกลุ่มประเทศอียูก็ได้ห้ามใช้และนำเข้าอย่างเด็ดขาด

จึงไม่แปลกที่ไทยจะต้องถูกแบนสินค้าส่งออกทางการเกษตร
ลองกลับมาดูใจความสำคัญของการทำนาโดยไม่ต้องทำนาใหม่อีกหน

1) ไม่ไถพรวนดิน
2) ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี หรือทำปุ๋ยหมัก
3) ไม่จำกัดวัชพืช ไม่ว่าด้วยการถากถางหรือใช้ยากำจัดวัชพืช
4) ไม่ใช้สารเคมี

แท้จริงแล้วก็คือ “การแทรกแซงธรรมชาติของมนุษย์ให้เหลือน้อยที่สุด” หรือจะเรียกว่าเป็นการทำเกษตรแบบดั้งเดิมก็ว่าได้


ลองดูเพิ่มเติมในข้อที่บอกว่าไม่ใช้สารเคมี มีคำอธิบายว่า
“เมื่อพืชอ่อนแอลงเพราะผลจากการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ได้แก่การไถพลิกดิน การใช้ปุ๋ย เป็นต้นทำให้เกิดความไร้สมดุลของโรคพืช และแมลงก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ในการเกษตร”

“ธรรมชาตินั้นหากปล่อยไว้ตามลำพังก็จะอยู่ในสภาพสมดุล แมลงที่เป็นอันตรายและโรคพืชมักมีอยู่เสมอแต่ในธรรมชาตินั้นมันจะไม่เกิดขึ้นจนถึงระดับที่ต้องใช้สารที่มีพิษเหล่านั้นเลย”

“วิธีการควบคุมโรคและแมลงที่เหมาะสมคือการปลูกพืชที่แข็งแรง ในสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์”

นั้นเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่า หลักการดังกล่าวไม่เพียงแต่จะฟื้นฟูดินและระบบนิเวศน์ในไร่นาให้กลับมีชิวิตชีวาพร้อมพรั่งดังเดิม หากยังเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พรรณไม้และพืชผล ทั้งในทางปริมาณและคุณภาพเหนือกว่าเกษตรกรรมแผนใหม่ซึ่งเน้นวิทยาการขั้นสูง

แล้ววันนี้เราจะยังจะกลับไปพึ่งพิงสารเคมีที่ผลต่อการทำลายธรรมชาติอีกทำไม


http://jrninedog.wordpress.com

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/07/2020 9:47 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 08/03/2013 10:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

102. จากชาวนาเป็นเถ้าแก่ ขายพันธุ์ข้าวจนกำเงินล้าน


ถึงแม้ว่าวันนี้ราคาข้าวที่ชาวนาขายได้จะแกว่งไปแกว่งมา มีขึ้นมีลงให้คนวงการข้าวไม่ว่าจะเป็นชาวนา โรงสี พ่อค้าต้องประคับประคองหัวใจเป็นพิเศษ บางพื้นที่ก็เจอราคาลดลงวูบจนต้องเดินขบวนประท้วง ดังที่เกิดในจังหวัดเชียงรายและกาฬสินธุ์ แต่ที่นั่นอาจเป็นเพราะฤดูที่ผ่านมาชาวนาแห่ปลูกข้าวเหนียวกันมากเกินไป หลังจากที่ฤดูก่อนหน้าโน้น ราคาข้าวเหนียวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์จนลดการปลูกข้าวหอมมะลิแล้วหันมาปลูกข้าวเหนียว ประกอบกับฝนตกข้าวความชื้นสูง แต่อย่างไรก็ดีโดยภาพรวมราคาข้าวเปลือกที่ชาวนาขายได้ในช่วงนี้ (มีนาคม-พฤษภาคม) ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าปีที่ผ่านมา





ชาวนาหลายพื้นที่มีความอยู่ดีกินดีขึ้น จากราคาข้าวที่ขึ้นถึงตันละหมื่นบาทดังที่ทีมข่าว "ฐานเศรษฐกิจ" ได้ลงสำรวจพื้นที่และสอบถามชาวนาช่วงปลายเดือนมีนาคม

ลุงสงเคราะห์ ชูแตง ชาวนาวัย 58 ปี อยู่ที่อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี บอกว่าขายข้าวรอบนี้มีกำไรเท่าตัวและได้กำเงินเป็นหลักแสนครั้งแรกในชีวิตของการทำนาต่อรอบ (รอบละ 50 ไร่) หากแต่ลุงสงเคราะห์ไม่มั่นใจว่าปลูกรอบใหม่จะกำไรอย่างนี้หรือไม่ ด้วยเหตุปัจจัยการผลิตเพิ่มสูงขึ้นมาก

แม้ชาวนาหลายคนเพิ่งจะได้มีโอกาสกำเงินแสน แต่ชาวนาที่ตำบลนางลือ และตำบลท่าชัย อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท เขากำเงินล้านกันมาหลายปีแล้ว เขาทำกันได้อย่างไร ฉบับก่อนหน้าเราได้พาไปทำความรู้จักตำบลนางลือและตำบลท่าชัย อย่างคร่าวๆ แล้วว่าที่นี่คือแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชาวนาสองตำบลนี้เขาทำนาแต่ไม่ได้ขายข้าวให้กับโรงสี ฉบับนี้ทีมข่าวจะพาไปเจาะลึกหาคำตอบและรู้จักชาวนาที่พลิกผันตัวเองจากชาวนาธรรมดาๆ มาเป็นเถ้าแก่กำเงินล้าน

วรรณา เกิดศรี ชาวนาวัย 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 131 หมู่ 12 ต.นางลือ อ.เมือง จ.ชัยนาท บอกว่าชีวิตเกิดมาเป็นชาวนาโดยกำเนิด เมื่อก่อนทำนา 50 ไร่ ได้ผลผลิตข้าวประมาณ 30-40 ตัน ข้าวที่ผลิตได้ไม่ได้ขายให้กับโรงสีแต่จะขายให้กับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท มีรายได้จากการขายข้าวรอบหนึ่ง (ประมาณ 4 เดือน) หักต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ เหลือรายได้หลักหมื่นบาท ทรัพย์สินที่มีอยู่ก็แค่รถไถนา 1 คันกับรถปิกอัพ 1 คัน เหมือนกับชีวิตชาวนาทั่วๆไป






เมื่อเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตออกมา แล้วขายให้กับศูนย์ฯบางปีศูนย์ฯรับซื้อไม่หมด จึงติดป้ายประกาศไว้หน้าบ้านว่า "มีพันธุ์ข้าวขาย" เมื่อมีคนเข้ามาซื้อเยอะขึ้น ประกอบกับราคาข้าวในปีนั้นตกต่ำมาก เธอระบุไม่ได้ว่าเป็นปีไหนเพียงแต่จำได้ว่าเป็นปีที่ขายข้าวได้ราคาต่ำมากจนอยู่ไม่ไหว จึงเลิกขายข้าวให้กับศูนย์ฯ แล้วหาวิธีทำอย่างไรจะขายข้าวได้ราคาแพง ในที่สุดก็ลองทำพันธุ์ข้าวขายเอง โดยเริ่มจากที่นาของตัวเอง 50 ไร่ก่อน

"เราทำเองขายเอง ทำให้เรามีเงินหมุนเวียนต่อเนื่องทุกเดือน ต่างจากที่เราขายขาดให้กับศูนย์ฯไปเลยที่เดียวก็คือจบกันเลย แล้วค่อยเริ่มมาทำรอบใหม่ หลังจากที่เริ่มทำเฉพาะที่นาของตัวเอง 50 ไร่ ได้ขยายพื้นที่เพิ่มเรื่อยๆ มาถึงวันนี้มีเครือข่าย (ลูกแปลง)ประมาณ 20 คน รวมพื้นที่ปลูกข้าว 300 ไร่ ซึ่งพื้นที่ปลูก 300 ไร่จะไม่ได้ปลูกพร้อมกัน ใช้ระบบการจัดการหมุนเวียนกันปลูกเพื่อจะได้มีการเก็บเกี่ยวอย่างต่อเนื่อง เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วนำมาสู่กระบวนการตากให้แห้ง คัดพันธุ์ บรรจุถุง ซึ่งปัจจุบันจำหน่ายพันธุ์ข้าวกิโลกรัมละประมาณ 22 บาท"

สำหรับช่องทางการจำหน่ายเธอบอกว่าเวลานี้แค่ทำโกดังเก็บพันธุ์ข้าวไว้ที่บ้าน มีเพื่อนเกษตรกรทำนาทั่วประเทศเข้ามาซื้อถึงบ้าน ระยะเวลาจากการพลิกผันตัวเองจากชาวนามาเป็นเถ้าแก่ขายพันธุ์ข้าวยี่ห้อ "ชาวนาเงินล้าน" ถึงวันนี้ผ่านไป 7-8 ปี ที่นาที่ตัวเองมีอยู่ 50 ไร่ก็ให้เขาเช่า วรรณา ยอมรับด้วยความภาคภูมิใจว่าวันนี้เธอไม่ใช่ชาวนา แต่เป็น "เถ้าแก่" ขายพันธุ์ข้าว มีเงินหมุนเวียนแต่ละเดือนหลักล้านบาท ไม่ใช่หลักหมื่นเหมือนเมื่อก่อน มีทรัพย์สินไม่ใช่แค่รถไถนากับรถปิกอัพ 1 คัน แต่พลันที่เธอตื่นขึ้นมาเธอต้องคิดเงินหลักล้าน นอกจากนี้เธอยังมีทรัพย์สินโกดังเก็บสินค้า 2 แห่งมูลค่าแห่งละ 1 ล้านกว่าบาท รถหกล้อ 1 คัน รถสิบล้อ 1 คัน รถปิกอัพอีก 3 คัน





เช่นเดียวกับกัญญา จันทร์ขาว วัย 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 166 หมู่ 12 ต.นางลือ อ.เมือง จ.ชัยนาท ซึ่งเธอบอกว่าเมื่อก่อนทำนา 50 ไร่ ทำนาปลูกข้าวขายให้กับศูนย์ฯ แต่การขายข้าวให้กับศูนย์ฯซึ่งเป็นข้าวเพื่อใช้ทำพันธุ์แม้จะได้ราคาที่สูงกว่าขายให้กับโรงสี แต่กว่าจะได้เงินช้าประมาณ 2 เดือนถึงจะได้ จึงปลูกข้าวและทำเป็นเมล็ดพันธุ์ขายเอง กระทั่งวันนี้เธอมีลูกแปลง 10 คน พื้นที่ปลูกประมาณ 300 ไร่ หมุนเวียนเก็บเกี่ยวได้ทุกเดือนขายได้ทุกเดือน

วันนี้ช่องทางจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวตรา "เรือนไทยสีทอง" ของเธอไม่ได้มีจุดจำหน่ายเฉพาะที่จังหวัดชัยนาทเท่านั้น หากแต่เธอยังมีสาขาจำหน่ายอีก 4 แห่งได้แก่ที่จังหวัดกำแพงเพชร 1 แห่ง จ.พิจิตร 1 แห่ง นครสวรรค์ 2 แห่ง ที่ชัยนาทกับพิจิตร เธอลงทุนสร้างโกดังเก็บเอง ส่วนที่กำแพงเพชรกับนครสวรรค์เป็นโกดังเช่า

กัญญา ยอมรับว่าหลังจากที่ยกระดับจากชาวนามาเป็นเถ้าแก่ขายพันธุ์ข้าว ฐานะการเงินดีขึ้น รู้จักเงินหลักล้านบาท กระนั้นก็ดี เธอบอกว่าทำพันธุ์ข้าวขายมีความเสี่ยงตรงที่อายุพันธุ์ข้าวจะอยู่ได้นานประมาณ 8 เดือนเท่านั้น หากเก็บไว้นานเกินกว่านี้ข้าวจะไม่งอก เพราะฉะนั้นเมื่อใกล้ 8 เดือนก็ต้องนำขายให้โรงสี ซึ่งจะต้องขาดทุนเพราะราคาข้าวพันธุ์จะสูงกว่าราคาข้าวที่โรงสีรับซื้อ

สำหรับจุฑามาส จิ๋วรี วัย 30 ปีคนนี้ แม้ว่าคุณพ่อจะรับราชการกรมชลประทาน คุณแม่เป็นแม่บ้าน แต่เธอมีสายเลือดลูกชาวนาเพราะคุณปู่คุณย่าประกอบอาชีพทำนา หลังจากที่จบปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อปี 2547 เธอกลับบ้านเกิดจังหวัดชัยนาททันที ไม่ลังเลที่จะคิดเริ่มต้นทำงานที่กรุงเทพฯแต่อย่างใด เธอเริ่มต้นอาชีพที่บ้านเกิดด้วยการหุ้นกับน้าผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวจำหน่าย ถึงวันนี้ทำมาได้เกือบ 4 ปีแล้ว เธอบอกว่าธุรกิจราบรื่นและเติบโตเป็นลำดับ วันนี้เธอมียอดขายเดือนละ 200 ตันหรือประมาณ 4 ล้านกว่าบาท

"เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ชาวนาทั่วประเทศต้องการมีมากถึง 1 ล้านตันต่อปี แต่ส่วนราชการผลิตให้ได้เพียง 70,000 ตันต่อปี ยังมีช่องว่างตลาดอีกมาก" จุฑามาสให้เห็นผลทำธุรกิจผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวจำหน่าย





ส่วนกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวต.นางลือ-ท่าชัย จ.ชัยนาท ทองอยู่ ปิ่นทอง รองประธานกลุ่มฯ บอกว่า เป็นกลุ่มที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท มาตั้งแต่ปี 2522 จากเดิมมีสมาชิก 9 ราย พื้นที่จัดทำแปลง 200 ไร่ ปัจจุบันมีสมาชิก 110 ราย พื้นที่จัดทำแปลง 2,600 ไร่ ปี 2550 มียอดขาย 700 ตัน กำไร 200,000 บาท ปันผลให้สมาชิกคนละ 13% ถือว่าเป็นรายได้เพิ่มเติมที่ดีสำหรับสมาชิกนอกเหนือจากรายได้จากการขายข้าว และปีนี้ได้ตั้งเป้าผลิตเพิ่มเป็น 1,000 ตัน

นายมานิตย์ ฤาชา ผู้อำนวยการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท กล่าวว่า เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ที่ชาวนาใช้ปลูกต่อไร่อัตราสูงมากคือประมาณ 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ แต่อัตราที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 15 กิโลกรัมต่อไร่ การใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่อัตราสูงทำให้เมล็ดพันธุ์ข้าวไม่เพียงพอในส่วนของกรมการข้าวเดิมตั้งเป้าผลิตปีนี้ 70,000 ตัน หลังจากที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นห่วงเกษตรกรขาดแคลนพันธุ์ข้าวจึงได้ตั้งเป้าผลิตเพิ่มเป็น 100,000 ตัน

อย่างไรก็ดีถึงแม้จะผลิตเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร จึงทำให้มีเกษตรกรจำนวนมากทำธุรกิจผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวจำหน่าย รวมถึงโรงสีต่างๆ มีการผลิตจำหน่ายเช่นเดียวกัน การผลิตกันจำนวนมากๆ มีความเป็นไปได้ที่จะได้เมล็ดพันธุ์ด้อยคุณภาพ ซึ่งทางกรมได้แนะนำเกษตรกรที่ซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวไปปลูกให้ตรวจสอบดูความสม่ำเสมอของเมล็ด พร้อมกันนี้ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรแต่ละคนทำแปลงพันธุ์ข้าวเพื่อผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ใช้เอง เนื่องจากเวลานี้การควบคุมคุณภาพยังทำได้ยาก มีเพียงพ.ร.บ.พันธุ์พืชของกรมวิชาการเกษตร ที่กำหนดให้ผู้รวบรวมและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเท่านั้น

ช่องว่างทางการตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีอยู่จำนวนมาก ทำให้ชาวนาจังหวัดชัยนาทมองเห็นโอกาสและพลิกผันชีวิตตัวเองจากชาวนามาเป็นเถ้าแก่ค้าพันธุ์ข้าว ข้าวยังไม่ทันขึ้นถึงตันละหมื่นแต่พวกเขากำเงินล้านกันมาก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนชาวนาที่ขายข้าวให้กับโรงสีวันนี้ยังต้องลุ้นมีโอกาสกำเงินล้านกันหรือไม่



http://www.oknation.net/blog/korming/2008/05/19/entry-3
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 13/03/2013 7:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

103. ทำไมชาวนาอินเดีย ถึงยากจนเหมือนชาวนาไทย ???





อินเดีย จัดเป็นชาติที่มีคนจนมากที่สุดในโลก แต่ !! อินเดียก็จัดเป็นชนชาติที่ฉลาดที่สุดในโลกเช่นเดียวกัน

อินเดีย มีมหาเศรษฐีระดับเกิน 100 ล้านบาท ประมาณ 60-70 ล้านคน จากจำนวนประชากรประมาณ 1,200ล้านคน แค่เศรษฐีในอินเดียก็มีมากกว่าประชากรไทยทั้งประเทศ

อินเดีย ยังมีมหาเศรษฐีรวยติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกด้วย และมหาเศรษฐีของอินเดียที่ติดอันดันในฟอร์บส์ มีมากร่วมๆ 50 คน

อินเดีย เป็นแหล่งกำเนิดศาสนาที่สำคัญของโลกหลายศาสนา
นี่คงพอให้เห็นภาพรวมของอินเดียพอสังเขป

หลังจากไทยหลุดจากแชมป์ส่งออกข้าวมากที่สุดในโลกปีนี้ ก็มีอินเดียกับเวียดนาม ที่ก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโลก ซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่า ชาติไหนจะคว้าแชมป์ไปแน่นอนในปีนี้

แต่สิ่งหนึ่งที่ชาวนาอินเดียเหมือนกับชาวนาไทยอย่างหนึ่งก็คือ ส่วนใหญ่ชาวนายังยากจนเหมือนกัน ซึ่งก็มีสาเหตุต่อนข้างเหมือนกันก็คือ

ชาวนาอินเดีย ก็โดนหลอกให้ปลูกข้าวเชิงเดี่ยว เพื่อการจำหน่ายและส่งออก เหมือนที่เกษตรกรไทยโดนหลอก โดยหลอกว่า ปลูกข้าวจำนวนเยอะๆ ใช้ปุ๋ยเร่งผลผลิตเยอะๆ ใช้ยาฆ่าแมลงเยอะๆ จะทำให้ได้ผลผลิตข้าวที่มากมาย ซึ่งจะทำให้ชาวนารวย

ซึ่งนั่นคือผลพวงจากการปฏิวัติสีเขียว (green revolution) โดยสหรัฐอเมริกา ธนาคารโลก และบริษัทการเกษตรของสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมกันหลอกให้ประเทศด้อยพัฒนาหลงเชื่อทำเกษตรเชิงเดี่ยวเน้นปริมาณเพื่อการส่งออก

และเพราะหลงเชื่อสหรัฐอเมริกา และบริษัทเอกชนอเมริกา ทำให้จนแล้วจนรอด ชาวนาอินเดียก็ไม่เคยได้รวยสักที เพราะสุดท้ายเงินก็ไปหมดกับค่าปุ๋ย ค่ายา เสียหมด นั่นเพราะเกษตรเชิงเดี่ยวคือต้นตอที่ทำให้เกษตรกรอินเดียต้องตกเป็นทาสของ บริษัทการเกษตรต่างชาติไป

บริษัทต่างชาติ ที่เข้ามากอบโกยด้วยการขายปุ๋ย ขายยา กลับรวยเอาๆ
ชาวนาอินเดียประท้วงบริษัท Monsanto บรฺิษัทการเกษตรต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย


แถมเมล็ดพันธุ์ดั้งเดิมต่างๆ เกษตรกรอินเดียก็สูญเสียความเป็นเจ้าของ เพราะล้วนแต่ต้องไปซื้อเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์แล้วจากบริษัทเกษตรต่างชาติ ซึ่งพอเกษตรกรซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัทเกษตรต่างชาติแล้ว ก็เพาะปลูกได้แค่รุ่นเดียว ก็ต้องขายผลผลิตไปจนหมด เพราะไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เพาะปลูกในฤดูกาลต่อไปได้

เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ที่ซื้อจากบริษัทต่างชาติ เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ถูกปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิศวพันธุศาสตร์ (รวมถึงพืช GMO) ซึ่งเมล็ดพันธุ์เหล่านี้เหมือนถูกวางระเบิดเวลาไว้ คือ ปลูกได้แค่รุ่นเดียว หากเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เพาะปลูกในคราวต่อไปอีก พืขชนิดนั้นจะไม่ให้ผลผลิตดีเท่าซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่จากบริษัทการเกษตรต่างชาติ

(ถ้าในไทยก็มี บ.เจียไต๋ ในเครือ ซีพี เป็นบรฺิษัทผลิตเมล็ดพันธุ์ขาย คุมตลาดเมล็ดพันธุ์ อันดับ 1 ของไทย)

อีกทั้งเมล็ดพันธุ์ที่ซื้อจากบริษัทเกษตร ต่างชาติไม่สามารถทนทานต่อโรคและแมลงได้เท่าพันธุ์พื้นเมืองเดิมๆ จึงต้องเร่งปุ๋ยเร่งยาเท่านั้น จึงได้จะผลผลิตมากๆ ตามที่ต้องการ

โฆษณาเรื่องปุ๋ย ยา ในอินเดียจึงระบาดแพร่หลายเหมือนโฆษณาปุ๋ยยาในประเทศไทย รายการเกี่ยวกับการเกษตร ก็มักจะมีโฆษณาชวนเชื่อให้เกษตรกรอินเดียซื้อปุ๋ยซื้อยา ยี่ห้อนั้นๆ มาใช้ เพราะใช้แล้วจะรวย

สุดท้ายแล้ว เกษตรกรก็ไม่รวยสักที ในขณะที่พวกขายปุ๋ยขายยารวยเอาๆ เมื่อบางปีเกษตรกรเจอภัยธรรมชาติ เงินที่เกษตรกรไปกู้มาทำการเกษตรก็พลอยเจ๊งไปด้วย สุดท้ายไม่มีเงินจ่ายค่ายาค่าปุ๋ย และค่าเมล็ดพันธุ์

เพราะเกษตรกรต่างหลงเชื่อที่บริษัทปุ๋ยยาโฆษณา จึงใช้ยาใช้ปุ๋ยมากจนดินเกิดความแห้งแล้ง ผลกระทบทำให้ดินเสีย สุดท้ายก็เจ๊งอีก บริษัทปุ๋ยก็หลอกขายผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ต่อไปอีกว่า ต้องใช้ตัวนี้แทนถึงจะดีขึ้น เกษตรกรก็เชื่ออีก

หรืออย่างเช่นยาฆ่าแมลง พอแมลงมันดื้อยา เกษตรกรก็ต้องเปลี่ยนยาตัวใหม่อีก ซึ่งพอเปลี่ยนยาตัวใหม่ทีไร ราคายาก็แพงขึ้นทุกครั้ง

สุดท้ายนี่คือวงจรอุบาทว์ ที่เกษตรกรอินเดีย ชาวนาอินเดียเผชิญมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปี (เช่นเดียวกับเกษตรกรไทย)

จนในที่สุด จึงมีเกษตรกร ชาวนา ฆ่าตัวตายเพราะหนี้มันท่วมหัว ซึ่งก็ไม่ต่างจากเกษตรกรไทยเท่าไหร่ เพราะความรวยไปตกอยู่ที่บริษัทปุ๋ยยาแทบทั้งหมด จึงมีชาวนาอินเดียล้มละลายจากหนี้สิน จนฆ่าตัวตายปีละหลายคน



ปัญหาทั้งหมดเกิดจากอะไรล่ะ ?
ก็เกิดจากโดนรัฐบาล นายทุน บริษัทต่างชาติหลอกใช้เกษตรกรอินเดีย ทำเกษตรเชิงเดี่ยว ละทิ้งการเกษตรผสมผสานแบบดั้งเดิม ละทิ้งความขยันในเรือกสวนไร่นา หันไปใช้เครื่องทุ่นแรงอย่างปุ๋ยและยาฆ่าแมลง และเมล็ดพันธฺุ์ที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์จากบริษัทเกษตรต่างชาติแทน เพื่อหวังผลผลิตเยอะๆ เพื่อการส่งออก

สุดท้าย มีแต่นักการเมือง นายทุน และบริษัทเกษตรต่างชาติที่รวยเอาๆ
นั่นจึงทำให้ชาวนาอินเดียวต้องยากจนอยู่ทุกวันนี้

แล้วทางรอดคืออะไร ? ทางรอดของชาวนาอินเดีย ก็ไม่ต่างจากชาวนาไทย คือ ต้องหันกลับมาใช้เกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ เกษตรพอเพียง แบบที่ในหลวงเราทรงสอนไง

ที่อินเดีย เขามี Dr. Vandana Shiva ที่ พยายามส่งเสริมให้เกษตรกรอินเดีย หันกลับมาเลิกใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงในการทำเกษตร เพื่อลดต้นทุนการผลิต หันมาผลิตเมล็ดพันธุ์ขึ้นเอง ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากบริษัทต่างชาติ ซึ่งการเกษตรแบบนี้เหมือนกับที่ในหลวงเราทรงสอน แต่ที่อินเดียเขาเรียกการเกษตรแบบนี้ว่า การเกษตรแบบชีวภาพ

ดร.วานนาดา ชีวา เป็นผู้รณรงค์ให้เกษตรกรและชาวนาอินเดีย ออกจากวงจรอุบาทว์ที่บริษัทเกษตรต่างชาติหลอกไว้ ด้วยการให้เกษตรกรเลิกใช้เมล็ดพันธุ์จากบริษัทต่างชาติ เลิกใช้ปุ๋ย และยาฆ่าแมลง ให้เกษตรกรหันกลับมาทำการเกษตรแบบดั้งเดิม ที่ไม่พึ่งพาเครื่องทุ่นแรงเหล่านั้น ซึ่งเหมือนกันกับทฤษฎีใหม่ของในหลวงของเรา โดยไม่ได้ลอกเลียนแบบกันเลย

นั่นเพราะเกษตรพอเพียง เกษตรธรรมชาติ คือ สิ่งที่มีมาแล้วแต่บรรพบุรุษของชนทุกชาตินั่่นเอง

ในประเทศไทยเรา ตอนนี้ก็กำลังเกิดปัญหาที่บริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งต่างชาติและไทย เป็นผู้ขายเมล็ดพันธุ์ให้แก่เกษตรกร จนเกิดปัญหาหลายเรื่องๆ ในตอนนี้เช่นกัน


ที่มา: http://akelovekae.blogspot.com



http://board.postjung.com/651879.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 17/03/2013 6:35 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


104. การปลูกข้าว แบบวิชาการ



การทำนาข้าว หมายถึง การปลูกข้าว การปลูกข้าวในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น ๓ วิธีด้วยกัน ดังนี้
๑. การปลูกข้าวไร่
๒. การปลูกข้าวนาดำ
๓. การปลูกข้าวนาหว่าน

หลังจากทำการปลูกข้าวแล้ว ยังมีขั้นตอนอื่นๆที่สำคัญที่จะต้องคำนึงถึง ดังต่อไปนี้
๑. การดูแลรักษา
๒. การเก็บเกี่ยว
๓. การนวดข้าว
๔. การทำความสะอาดเมล็ดข้าว
๕. การตากข้าว
๖. การเก็บรักษาข้าว


การปลูกข้าวไร่
การปลูกข้าวไร่ หมายถึง การปลูกข้าวบนที่ดอนและไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก ชนิดของข้าวที่ปลูกก็เรียกว่า ข้าวไร่ พื้นที่ดอนส่วนมาก เช่น เชิงภูเขามักจะไม่มีระดับ คือ สูง ๆ ต่ำ ๆ จึงไม่สามารถไถเตรียมดินและปรับระดับได้ง่าย ๆ เหมือนกับพื้นที่ราบ เพราะฉะนั้นชาวนามักจะปลูกแบบหยอด โดยขั้นแรกทำการตัดหญ้าและต้นไม้เล็กออก แล้วทำความสะอาดพื้นที่ที่จะปลูกแล้วใช้หลักไม้ปลายแหลมเจาะดินเป็นหลุมเล็ก ๆ ลึกประมาณ ๓ เซนติเมตร ปากหลุมมีขนาดกว้างประมาณ ๑ นิ้ว หลุมนี้มีระยะห่างกันประมาณ ๒๕ x ๒๕ เซนติเมตร ระหว่างแถวและระหว่างหลุมภายในแถว ปกติจะต้องหยอดเมล็ดพันธุ์ทันทีหลังจากที่ได้เจาะหลุม โดยหยอด ๕-๘ เมล็ดต่อหลุม หลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวแล้วก็ใช้เท้ากลบดินปากหลุม เมื่อฝนตกลงมาหรือเมล็ดได้รับความชื้นจากดิน ก็จะงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นข้าว เนื่องจากที่ดอนไม่มีน้ำขังและไม่มีการชลประทาน การปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียว พื้นดินที่ปลูกข้าวไร่จะแห้งและขาดน้ำทันทีเมื่อสิ้นฤดูฝน ดังนั้นการปลูกข้าวไร่จะต้องใช้พันธุ์ที่มีอายุเบา โดยปลูกในต้นฤดูฝน และแก่เก็บเกี่ยวได้ในปลายฤดูฝน การปลูกข้าวไร่ ชาวนาจะต้องหมั่นกำจัดวัชพืช เพราะที่ดอนมักจะมีวัชพืชมากกว่าที่ลุ่ม เนื้อที่ที่ใช้ปลูกข้าวไร่ในประเทศไทยมีจำนวนน้อย และมีปลูกมากในภาคเหนือและภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางปลูกข้าวไร่น้อยมาก


การปลูกข้าวในนาดำ
การปลูกข้าวในนาดำ เรียกว่า การปักดำ ซึ่งวิธีการปลูกแบ่งออกได้เป็นสองตอน ตอนแรกได้แก่การตกกล้าในแปลงขนาดเล็ก และตอนที่สองได้แก่การถอนต้นกล้าเอาไปปักดำในนาผืนใหญ่ ดังนั้น การปลูกแบบปักดำอาจเรียกว่า indirect seeding ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
๑. การเตรียมดิน
๒. การตกกล้า
๓. การปักดำ



การเตรียมดิน
การเตรียมดินสำหรับปลูกข้าวแบบปักดำ ต้องทำการเตรียมดินดีกว่าการปลูกข้าวไร่ ซึ่งมีการไถดะ การไถแปร และการคราด ปกติการไถและคราดในนาดำมักจะใช้แรงวัว ควาย หรือแทร็กเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่าควายเหล็ก หรือไถยนต์เดินตาม ทั้งนี้เป็นเพราะพื้นที่นาดำนั้นได้มีคันนาแบ่งกั้นออกเป็นแปลงเล็ก ๆ ขนาดแปลงละ ๑ ไร่หรือเล็กกว่านี้ คันนามีไว้สำหรับกักเก็บน้ำ หรือปล่อยน้ำทิ้งจากแปลงนา นาดำจึงมีการบังคับน้ำในนาได้บ้างพอสมควร ก่อนที่จะทำการไถจะต้องรอให้ดินมีความชื้นพอที่จะไถได้เสียก่อน ปกติจะต้องรอให้ฝนตกจนมีน้ำขังในผืนนา หรือไขน้ำเข้าไปในนาเพื่อทำให้ดินเปียก



การตกกล้า
การตกกล้า หมายถึง การเอาเมล็ดไปหว่านให้งอก และเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นต้นกล้า เพื่อเอาไปปักดำ การตกกล้าสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกันคือ
การตกกล้าในดินเปียก
การตกกล้าในดินแห้ง
การตกกล้าแบบดาปก



การตกกล้าในดินเปียก
การตกกล้าในดินเปียก จะต้องเลือกหาพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินดีเป็นพิเศษ สามารถป้องกันนกและหนูที่จะเข้าทำลายต้นกล้าได้เป็นอย่างดี และมีน้ำพอเพียงกับความต้องการ การเตรียมดินก็มีการไถดะ ไถแปร และคราด ดังได้กล่าวมาแล้ว แต่ต้องยกเป็นแปลงสูงกว่าระดับน้ำในผืนนานั้นประมาณ ๓-๕ เซนติเมตร ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เมล็ดที่หว่านลงไปจมน้ำและดินนั้นเปียกชุ่มอยู่เสมอด้วย จะเป็นการดียิ่งขึ้นถ้าแปลงนี้ได้แบ่งออกเป็นแปลงย่อยขนาดกว้าง ๕๐ เซนติเมตร และมีความยาวขนานไปกับทิศทางลม ระหว่างแปลงเว้นช่องว่างไว้สำหรับเดินประมาณ ๓๐ เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นกล้าถูกทำลายโดยโรคไหม้หรือแมลงบางชนิด เมล็ดพันธุ์ที่เอามาตากกล้าจะต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ปราศจากเชื้อโรคต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้จะต้องทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์เสียก่อน โดยแยกเอามาเฉพาะเมล็ดที่สมบูรณ์ และเอาเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ซึ่งมีน้ำหนักเบากว่าปกติทิ้งไป

เอาเมล็ดที่ต้องการตกกล้าใส่ถุงผ้าไปแช่ในน้ำนาน ๑๒-๒๔ ชั่วโมง แล้วเอาขึ้นมาวางไว้บนแผ่นกระดานในที่ที่มีลมถ่ายเทได้สะดวก และเอาผ้าหรือกระสอบเปียกน้ำคลุมไว้นาน ๓๖-๔๘ ชั่วโมง ซึ่งเรียกว่าการหุ้ม หลังจากที่ได้หุ้มเมล็ดไว้ครบ ๓๖-๔๘ ชั่วโมงแล้ว เมล็ดข้าวก็จะงอก จึงเอาไปหว่านลงบนแปลงกล้าที่ได้เตรียมไว้ ก่อนที่จะหว่านเมล็ดลงบนแปลงกล้า ควรใส่ปุ๋ยพวกที่ให้ธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเสียก่อน และใช้ไม้กระดานลูบแปลงเพื่อกลบปุ๋ยลงไปในดิน หากดินดีอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย ปกติใช้เมล็ดพันธุ์จำนวน ๔๐-๕๐ กิโลกรัมต่อเนื้อที่แปลงกล้าหนึ่งไร่ เมื่อต้นกล้ามีอายุครบ ๒๕-๓๐ วัน นับจากวันหว่านเมล็ด ต้นกล้าก็จะมีขนาดโตพอที่จะถอนเอาไปปักดำได้ การตกกล้าแบบนี้เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในการทำนาดำในประเทศไทย


การตกกล้าในดินแห้ง
การตกกล้าในดินแห้ง ในกรณีที่ชาวนาไม่มีน้ำเพียงพอสำหรับการตกกล้าในดินเปียก ชาวนาอาจทำการตกกล้าบนที่ดินซึ่งไม่มีน้ำขัง โดยเอาเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ที่ยังไม่ได้เพาะให้งอก ไปโรยไว้ในแถวที่เปิดเป็นร่องเล็ก ๆ ขนาดแถวยาวประมาณ ๑ เมตร จำนวนหลายแถว แล้วกลบด้วยดินเพื่อป้องกันนกและหนู หลังจากนั้นก็รดน้ำแบบรดน้ำผักวันละ ๒ ครั้ง เมล็ดก็จะงอกขึ้นมาเป็นต้นกล้าเหมือนกับการตกกล้าในดินเปียก ปกติใช้เมล็ดพันธุ์จำนวน ๗-๑๐ กรัมต่อหนึ่งแถวที่มีความยาว ๑ เมตร และแถวห่างกันประมาณ ๑๐ เซนติเมตร หลังจากโรยเมล็ดและกลบดินแล้ว ควรหว่านปุ๋ยพวกที่ให้ธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสลงไปด้วย



การตกกล้าแบบดาปก
การตกกล้าแบบดาปก การตกกล้าแบบนี้เป็นที่นิยมทำกันมาก ในประเทศฟิลิปปินส์ ขั้นแรกทำการเตรียมพื้นที่ดินเหมือนกับการ ตกกล้าในดินเปียก แล้วยกเป็นแปลงสูงกว่าระดับน้ำ ๕-๑๐ เซนติเมตร หรือใช้พื้นที่ดอนเรียบหรือเป็นพื้นคอนกรีต ก็ได้ แล้วใช้กาบของต้นกล้วยต่อกันเป็นกรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๑ เมตร และยาวประมาณ ๑.๕ เมตร ต่อจากนั้นเอาใบกล้วยที่ไม่มีก้านกลางวางเรียงเพื่อปู เป็นพื้นที่ในกรอบนั้น ให้เอาด้านล่างของใบหงายขึ้นและไม่ให้มีรอยแตกของใบ เพราะฉะนั้นใบกล้วยที่ปูพื้นนั้นจะต้องวางซ้อนกันเป็นทอด ๆ แล้วเอา เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ ซึ่งได้เพาะให้งอกแต่ยังไม่มีรากโผล่ ออกมาโรยลงไปในกรอบที่เตรียมไว้นี้ ใช้เมล็ดพันธุ์หนัก ๓ กิโลกรัมต่อเนื้อที่ ๑ ตารางเมตร ดังนั้นเมล็ดพันธุ์ที่โรยลงไปในกรอบ จะซ้อนกันเป็น ๒-๓ ชั้น หลังจากโรยเมล็ดแล้ว จะต้องใช้บัวรดน้ำชนิดรูเล็กมาก รดลงในกรอบที่โรยเมล็ดนี้วันละ ๒-๓ ครั้ง ในที่สุดเมล็ดก็จะงอกและเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นต้นกล้า ข้อสำคัญในการตกกล้าแบบนี้ คือ ต้องไม่ให้น้ำท่วมแปลงกล้า ต้นกล้าแบบนี้อายุประมาณ ๑๐-๑๔ วัน ก็พร้อมที่ใช้ปักดำได้หรือจะเอาไปปักดำกอละหลาย ๆ ต้น ซึ่งเรียกว่า ซิมกล้า เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งและโตสำหรับปักดำจริง ๆ ซึ่งนิยมทำกันมากในภาคเหนือของประเทศไทย การที่จะเอาต้นกล้าไปปักดำ ไม่จำเป็นต้องถอนต้นกล้าเหมือนกับวิธีอื่น ๆ เพราะรากของต้นกล้าเกาะกันแน่นระหว่างต้น และรากก็ไม่ได้ทะลุใบกล้วยลงไปในดิน ฉะนั้นชาวนาจึงทำการม้วนใบกล้วยแบบม้วนเสื่อ โดยมีต้นกล้าอยู่ภายในการม้วนก็ ควรม้วนหลวม ๆ แล้วขนไปยังแปลงนาที่จะปักดำ



การปักดำ
การปักดำ เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ ๒๕-๓๐ วัน จากการตกกล้าในดินเปียกหรือการตกกล้าในดินแห้ง ก็จะโตพอที่จะถอนเอาไปปักดำได้ สำหรับต้นกล้าที่ได้มาจากการตกกล้าแบบดาปกนั้น ในเมืองไทยยังไม่เคยปฏิบัติ คิดว่าจะต้องมีอายุประมาณ ๒๐ วัน จึงเอาไปปักดำได้ เพราะต้นกล้าขนาด ๑๐-๑๔ วันนั้น อาจมีขนาดเล็กเกินไปที่จะใช้ปักดำในพื้นที่นาของเรา ขั้นแรกให้ถอนต้นกล้าขึ้นมาจากแปลงแล้วมัดรวมกันเป็นมัด ๆ ถ้าต้นกล้าสูงมากก็ให้ตัดปลายใบทิ้ง สำหรับต้นกล้าที่ได้มาจากการตกกล้าในดินเปียก จะต้องสลัดเอาดินโคลนที่รากออกเสียด้วย แล้วเอาไปปักดำในพื้นที่นาที่ได้เตรียมไว้ พื้นที่นาที่ใช้ปักดำควรมีน้ำขังอยู่ประมาณ ๕-๑๐ เซนติเมตร เพราะต้นข้าวอาจถูกลมพัดจนพับลงได้ในเมื่อนานั้นไม่มีน้ำอยู่เลย ถ้าระดับน้ำในนานั้นลึกมาก ต้นข้าวที่ปักดำอาจจมน้ำในระยะแรก และทำให้ต้นข้าวจะต้องยึดต้นมากกว่าปกติ จนมีผลให้แตกกอน้อย การปักดำที่จะให้ได้ผลผลิตสูง จะต้องปักดำให้เป็นแถวเป็นแนว และมีระยะห่างระหว่างกอมากพอสมควร โดยทั่วไปแล้วการปักดำมักใช้ต้นกล้าจำนวน ๓-๔ ต้นต่อกอ ระยะปลูกหรือปักดำ ๒๕ x ๒๕ เซนติเมตร ระหว่างกอและระหว่างแถว


นาหว่าน
การปลูกข้าวนาหว่าน เป็นการปลูกข้าวโดยเอาเมล็ดพันธุ์หว่านลงไปในพื้นที่นาที่ได้ไถเตรียมดินไว้โดยตรง ซึ่งเรียกว่า direct seeding การเตรียมดินก็มีการไถดะและไถแปร ปกติชาวนาจะเริ่มไถนาสำหรับปลูกข้าวนาหว่านตั้งแต่เดือนเมษายน เนื่องจากพื้นที่นาสำหรับปลูกข้าวนาหว่านไม่มีค้นนากั้น จึงสะดวกแก่การไถด้วยรถแทร็กเตอร์ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีชาวนาจำนวนมากที่ใช้ แรงวัวและควายไถนา การปลูกข้าวนาหว่านมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การหว่านสำรวย การหว่านคราดกลบหรือไถกลบ และการหว่านน้ำตม


การดูแลรักษาต้นข้าว
ในระหว่างการเจริญเติบโตของต้นข้าว ตั้งแต่การหยอดเมล็ด การหว่านเมล็ด การปักดำ ต้นข้าวต้องการน้ำและปุ๋ยสำหรับการเจริญเติบโต ในระยะนี้ต้นข้าวอาจถูกโรคและแมลงศัตรูข้าวหลายชนิดเข้ามาทำลายต้นข้าว โดยทำให้ต้นข้าวแห้งตาย หรือผลผลิตต่ำและคุณภาพเมล็ดไม่ได้มาตรฐาน เพราะฉะนั้นนอกจากจะมีวิธีการปลูกที่ดีแล้ว จะต้องมีวิธีการดูแลรักษาที่ดีอีกด้วย ผู้ปลูกจะต้องหมั่นออกไปตรวจดูต้นข้าวที่ปลูกไว้เสมอ ๆ ในแปลงที่ปลูกข้าวไร่ จะต้องมีการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ย และพ่นยาเคมีเพื่อป้องกันและกำจัดโรคแมลงศัตรูที่อาจเกิดระบาดขึ้นได้ ในแปลงกล้าและแปลงปักดำ จะต้องมีการใส่ปุ๋ย มีน้ำเพียงพอกับความต้องการของต้นข้าว และพ่นยาเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูข้าว นอกจากนี้ชาวนาจะต้องหมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงปักดำอีกด้วย เพราะวัชพืชเป็นตัวที่แย่งปุ๋ยไปจากต้นข้าว ในพื้นที่นาหว่าน ชาวนาจะต้องกำจัดวัชพืชโดยใช้สารเคมีพ่น หรือใช้แรงคนถอนทิ้งไปก็ได้ นอกจากนี้จะต้องพ่นสารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงอีกด้วย เนื่องจากพื้นที่นาหว่านมักจะมีระดับน้ำลึกกว่านาดำ ฉะนั้น ชาวนาควรใส่ปุ๋ยก่อนที่น้ำจะลึก ยกเว้นในพื้นที่ที่น้ำไม่ลึกมาก ก็ให้ใส่ปุ๋ยแบบนาดำทั่ว ๆ ไป


การเก็บเกี่ยว
เมื่อดอกข้าวได้บานและมีการผสมเกสรแล้วหนึ่งสัปดาห์ ภายในที่ห่อหุ้มด้วย lemma และ palea ก็จะเริ่มเป็นแป้งเหลวสีขาว ในสัปดาห์ที่สองแป้งเหลวนั้นก็จะแห้งกลายเป็นแป้งค่อนข้างแข็ง และในสัปดาห์ที่สามแป้งก็จะแข็งตัวมากยิ่งขึ้นเป็นรูปร่างของเมล็ดข้าวกล้อง แต่มันจะแก่เก็บเกี่ยวได้ ในสัปดาห์ที่สี่นับจากวันที่ผสมเกสร จึงเป็นที่เชื่อถือได้ว่า เมล็ดข้าวจะแก่พร้อมเก็บเกี่ยวได้หลังจากออกดอกแล้วประมาณ 28-30 วัน ชาวนาในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ใช้เคียวสำหรับเกี่ยวข้าวทีละหลาย ๆ รวง ส่วนชาวนาในภาคใต้ใช้แกระสำหรับเกี่ยวข้าวทีละรวง เคียวที่ใช้เกี่ยวข้าวมีอยู่ ๒ ชนิด ได้แก่ เคียวนาสวน และเคียวนาเมือง เคียวนาสวนเป็นเคียววงกว้าง ใช้สำหรับเกี่ยวข้าวนาสวนซึ่งได้ปลูกไว้แบบปักดำ แต่ถ้าผู้ใช้มีความชำนาญก็อาจเอาไปใช้เกี่ยวข้าวนาเมืองก็ได้ ส่วนเคียวนาเมืองเป็นเคียววงแคบและมีด้ามยาวกว่าเคียวนาสวน เคียวนาเมืองใช้เกี่ยวข้าวนาเมือง ซึ่งได้ปลูกไว้แบบหว่าน ข้าวที่เกี่ยวด้วยเคียวไม่จำเป็นต้องมีคอรวงยาว เพราะข้าวที่เกี่ยวมาจะถูกรวบมัดเป็นกำ ๆ ส่วนข้าวที่เกี่ยวด้วยแกระจำเป็นต้องมีคอรวงยาว เพราะชาวนาต้องเกี่ยวเฉพาะรวงที่ละรวงแล้วมัดเป็นกำ ๆ

ข้าวที่เกี่ยวด้วยแกระชาวนาจะเก็บไว้ในยุ้งฉางซึ่งโปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และจะทำการนวดเมื่อต้องการขาย หรือต้องการสีเป็นข้าวสาร ข้าวที่เกี่ยวด้วยเคียวซึ่งปลูกไว้แบบปักดำ ชาวนาจะทิ้งไว้ในนาจนหมดซัง เพื่อตากแดดให้แห้งเป็นเวลา ๓-๕ วัน สำหรับข้าวที่ปลูกแบบหว่านพื้นที่นาจะแห้งในระยะเก็บเกี่ยว ข้าวจึงแห้งก่อนเก็บเกี่ยว ข้าวที่เกี่ยวแล้วจะกองทิ้งไว้บนพื้นที่นาเป็นรูปต่าง ๆ กันเป็นเวลา ๕-๗ วัน เช่น รูปสามเหลี่ยม แล้วจึงขนมาที่ลานสำหรับนวด ข้าวที่นวดแล้วจะถูกขนย้ายไปเก็บไว้ในยุ้งฉาง หรือส่งไปขายที่โรงสีทันทีก็ได้



การนวดข้าว
การนวดข้าว หมายถึง การเอาเมล็ดข้าวออกจากรวง แล้วทำความสะอาดเพื่อแยกเมล็ดข้าวลีบและเศษฟางข้าวออกไป เหลือไว้เฉพาะเมล็ดข้าวเปลือกที่ต้องการเท่านั้น ขั้นแรกจะต้องขนข้าวที่เกี่ยวจากนาไปกองไว้บนลานสำหรับนวด การกองข้าวสำหรับนวดก็มีหลายวิธี แต่หลักสำคัญมีอยู่ว่าการกองจะต้องเป็นระเบียบ ถ้ากองไม่เป็นระเบียบมัดข้าวจะอยู่สูง ๆ ต่ำ ๆ ทำให้เมล็ดข้าวได้รับความเสียหายและคุณภาพต่ำ ปกติจะกองไว้เป็นรูปวงกลม

ชาวนามักจะนวดข้าวหลังจากที่ได้ตากข้าวให้แห้งเป็นเวลา ๕-๗ วัน ซึ่งเมล็ดข้าวเปลือกมีความชื้นประมาณ ๑๓-๑๕% เมล็ดที่ได้เกี่ยวมาใหม่ ๆ จะมีความชื้นประมาณ ๒๐-๒๕% การนวดข้าวก็ใช้แรงสัตว์ เช่น วัว ควาย ขึ้นไปเหยียบย่ำเพื่อขยี้ให้เมล็ดหลุดออกจากรวงข้าว รวงข้าวที่เอาเมล็ดออกหมดแล้ว เรียกว่า ฟางข้าว ที่กล่าวนี้เป็นวิธีหนึ่งของการนวดข้าว ซึ่งที่จริงแล้วการนวดข้าวมีหลายวิธี เช่น การนวดแบบฟาดกำข้าว การนวดแบบใช้คำย่ำ การนวดแบบใช้ควายย่ำ การนวดโดยใช้เครื่องทุ่นแรงย่ำ


การทำความสะอาดเมล็ดข้าว
การทำความสะอาดเมล็ดข้าวหมายถึง การเอาข้าวเปลือกออกจากสิ่งเจือปนอื่น ๆ ซึ่งทำได้โดยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
๑. การสาดข้าว ใช้พลั่วสาดเมล็ดข้าวขึ้นไปในอากาศ เพื่อให้ลมที่ได้จากการกระพือพัดเอาสิ่งเจือปนออกไป ส่วนเมล็ดข้าวเปลือกที่ดีก็จะตกมารวมกันเป็นกองที่พื้น

๒. การใช้กระด้งฝัด โดยใช้กระด้งแยกเมล็ดข้าวดีและสิ่งเจือปนให้อยู่คนละด้านของกระด้ง แล้วฝัดเอาสิ่งเจือปนทิ้ง วิธีนี้ใช้กับข้าวที่มีปริมาณน้อย ๆ

๓. การใช้เครื่องสีฝัด เป็นเครื่องมือทุ่นแรงที่ใช้หลักการให้ลมพัดเอาสิ่งเจือปนออกไป โดยใช้แรงคนหมุนพัดลมในเครื่องสีฝัดนั้น พัดลมนี้อาจใช้เครื่องยนต์เล็ก ๆ หมุนก็ได้ วิธีนี้เป็นวิธีทำความสะอาดเมล็ดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง


การตากข้าว
เพื่อรักษาคุณภาพเมล็ดข้าวให้ได้มาตรฐานอยู่เป็นเวลานาน ๆ หลังจากนวดและทำความสะอาดเมล็ดแล้ว จึงจำเป็นต้องเอาข้าวเปลือกไปตากอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะเอาไปเก็บไว้ในยุ้งฉาง ทั้งนี้เพื่อให้ได้เมล็ดข้าวเปลือกที่แห้ง และมีความชื้นของเมล็ดประมาณ ๑๓-๑๕% เมล็ดข้าวในยุ้งฉางที่มีความชื้นสูงกว่านี้ จะทำให้เกิดความร้อนสูงจนคุณภาพข้าวเสื่อม นอกจากนี้จะทำให้เชื้อราต่าง ๆ ที่ติดมากับเมล็ดขยายพันธุ์ได้ดี จนสามารถทำลายเมล็ดข้าวเปลือกได้เป็นจำนวนมาก การตากข้าวในระยะนี้ ควรตากบนลานที่สามารถแผ่กระจายเมล็ดข้าวให้ได้รับแสงแดดโดยทั่วถึงกัน และควรตากไว้นานประมาณ ๓-๔ แดด ในต่างประเทศเขาใช้เครื่องอบข้าว เพื่อลดความชื้นในเมล็ด ซึ่งเรียกว่า drier โดยให้เมล็ดข้าวผ่านอากาศร้อน


การเก็บรักษาข้าว
หลังจากชาวนาได้ตากเมล็ดข้าวจนแห้ง และมีความชื้นในเมล็ดประมาณ ๑๓-๑๕% แล้วนั้น ชาวนาก็จะเก็บข้าวไว้ในยุ้งฉาง เพื่อไว้บริโภคละแบ่งขาย เมื่อข้าวมีราคาสูง และอีกส่วนหนึ่งชาวนาจะแบ่งไว้ทำพันธุ์ ฉะนั้นข้าวพวกนี้จะต้องเก็บไว้เป็นอย่างดี โดยรักษาให้ข้าวนั้นมีคุณภาพได้มาตรฐานอยู่ตลอดเวลาและไม่สูญเสียความงอก ข้าวพวกนี้ควรเก็บไว้ในยุ้งฉางที่ดี ซึ่งทำด้วยไม้ยกพื้นสูงอย่างน้อย ๑ เมตร อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อจะได้ระบายความชื้นและความร้อนออกไปจากยุ้งฉาง นอกจากนี้หลังคาของฉางจะต้องไม่รั่ว และสามารถกันน้ำฝนไม่ให้หยดลงไปในฉางได้ ก่อนเอาข้าวขึ้นไปเก็บไว้ในยุ้งฉางจำเป็นต้องทำความสะอาดฉางเสียก่อน โดยปัดกวาดแล้วพ่นด้วยยาฆ่าแมลง



http://jrninedog.wordpress.com

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/07/2020 9:48 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 20/03/2013 12:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

105. โรคเมาตอซัง (Akiochi)


พบมาก : นาชลประทาน ภาคกลาง
สาเหตุ : ไม่มีเชื้อสาเหตุ เกิดจากความเป็นพิษของสภาพดินและน้ำ

อาการ : เริ่มพบอาการเมื่อข้าวอายุประมาณ 1 เดือน หรือ ระยะแตกกอ ต้นข้าวจะแสดงอาการคล้ายขาดธาตุไนโตรเจน ต้นแคระแกร็น ใบซีดเหลืองจากใบล่างๆ มีอาการโรคใบจุดสีน้ำตาล จะพบเมื่อการเน่าสลายของเศษซากพืชในนายังไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดสารพิษ เช่น สารซัลไฟด์ ไปทำลายรากข้าวทำให้เกิดอาการรากเน่าดำ รากไม่สามารถดูดธาตุอาหารจากดินได้ ต้นข้าวจึงแสดงอาการขาดธาตุอาหาร และจะสร้างรากใหม่ในระดับเหนือผิวดิน ปัญหานี้มักเกิดจากการที่เกษตรกรทำนาอย่างต่อเนื่อง และไม่มีการพักนา



อาการโรคใบจุดสีน้ำตาล



อาการคล้ายขาดธาตุไนโตรเจน



อาการรากเน่าดำ


การแพร่ระบาด เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่มีเชื้อสาเหตุ จึงไม่มีการระบาดติดต่อกัน
การป้องกันกำจัด
• ระบายน้ำเสียในแปลงออก ทิ้งให้ดินแห้งประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้รากข้าวได้รับอากาศ หลังจากนั้นจึงนำน้ำใหม่เข้าและหว่านปุ๋ย
• หลังเก็บเกี่ยวข้าว ควรทิ้งระยะพักดินประมาณ 1 เดือน ไถพรวนแล้วควรทิ้งระยะให้ตอซังเกิดการหมักสลายตัวสมบูรณ์อย่างน้อย 2 สัปดาห์
• ไม่ควรให้ระดับน้ำในนาสูงมากเกินไปและมีการไหลเวียนของน้ำอยู่เสมอ


http://www.brrd.in.th/rkb/disease%20and%20insect/index.php-file=content.php&id=130.htm




คลิก.
http://www.brrd.in.th/rkb/disease%20and%20insect/index.php.htm
ศัตรูข้าว และการป้องกันกำจัด...


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 20/03/2013 2:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

106. ข้าวหอมมะลิ : มหัศจรรย์แห่งพันธุกรรมข้าวไทย






คนจีนมีสุภาษิตว่าด้วยเรื่องการกินอยู่บทหนึ่งว่าก่อนตายต้องกินอาหารสี่อย่าง ถึงจะมิอายฟ้าดิน คือ หอยเป๋าฮื้อ รังนก หูฉลาม และข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวเชื้อชาติไทย ถือกำเนิดในเมืองไทย ปัจจุบันได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นข้าวอร่อยที่สุดในโลก ทุกวันนี้ข้าวไทยส่งข้าวหอมมะลิไปขายที่ประเทศจีนมากที่สุด เพราะชาวจีนชื่นชอบรสชาติและกลิ่นหอมของข้าวมะลิ ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวไทยพันธุ์พื้นเมืองชนิดหนึ่ง ที่ชาวบ้านแถบเมืองชลบุรีเป็นผู้ค้นพบ 50 กว่าปีก่อน มีสีขาวเหมือนดอกมะลิ และมีกลิ่นหอมเหมือนใบเตย (ไม่ใช่กลิ่นหอมเหมือนดอกมะลิที่เข้าใจกัน) ไม่เฉพาะคนไทยเท่านั้น ชาวต่างประเทศก็นิยมกินข้าวหอมมะลิมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทุกวันนี้ประมาณข้าวไทยส่งออกปีล่ะ 5 ล้าน กว่าตัน เกือบครึ่งหนึ่งเป็นข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมมะลิโด่งดังจนบริษัทขายข้าวในสหรัฐอเมริกาบริษัทหนึ่ง ตั้งชื่อยี่ห้อข้าวชนิดที่มีกลิ่นเหมือนข้าวโพดคั่วว่า จัสมาติ ไรซ์ เลียนแบบ จัสมิน ไรซ์ จนมีการประท้วงจนมีข้าวเกรียวกราวไปทั่วโลก ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวของข้าวหอมมะลิตั้งแต่เป็นเมล็ดพันธุ์จนออกเป็นร่วงเป็นเมล็ดพราว ถูกบรรจุใส่ถูก ใส่กระสอบเดินทางไปทุกมุมโลก



จากปิ่นแก้วถึงดอกมะลิ
“ประเทศไทยเป็นแหล่งพันธุกรรมข้าวอันอุดมสมบรูณ์และมีความหลากหลาย ชาวนาไทยสมัยก่อน คือ นักวิจัยการเกษตร รุ่นแรกที่คัดเลือก ปรับปรุงพันธุ์ให้เหมาะสมกับการปลูกในแต่ล่ะท้องถิ่น โดยพัฒนาพันธุ์จากข้าวป่าซึ่งเป็นแหล่งพันธุกรรมอย่างดีในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว โดยเฉพาะการสร้างพันธุ์ให้ต้านทานโรค แมลง หรือทนทานต่อสภาพแวดล้อม เพราะธรรมชาติของป่าจะมีระยะเวลาในการฟักตัวนานแรมปีเพื่อความอยู่รอดหากเมล็ดข้าวป่ารวงสู่ดินในสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยจะสามารถอยู่ในดินได้นาน เกือบปีเพื่อรอฝน คนโบราณจึงปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่ปลูกจากข้าวป่านั้นเอง หากยังไม่มีการรวบรวมพันธุ์อย่างเป็นทางการ จึงกระทั่งถึงราชการที่ 5 ก่อนหน้านั้นเราส่งข้าวไปขายยุโรปผ่านบริษัทของอินเดีย แล้วมีข่าวว่าข้าวไทยขายสู้ข้าวอินเดียไม่ได้ เพราะข้าวไทยส่วนมากแตกหัก แต่ข้าวที่อินเดียเมล็ดยาวสวยกว่า ช่วงเวลานั้นราชการที่ 5 เสด็จประพาสยุโรป พระองค์ทรงตั้งข้อสังเกตว่า ชาวนาไทยอาจปลูกข้าวหลายพันธุ์มากเกินไป ไม่มีการคัดแยกเมล็ดพันธุ์ พระองค์ท่านทรงมองการณ์ไกล จึงทรงมีพระราชดำริให้เกษตรกรนำพันธุ์ข้าวพื้นเมืองมาประกวดกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2450 ที่อำเภอธัญบุรี พันธุ์ข้าวที่ส่งประกวดนั้นทางการได้นำมาปลูกเพื่อคัดเลือกพันธุ์ที่มีคุณภาพเมล็ดดีจนได้เป็นข้าวพันธุ์ดีแนะนำให้เกษตรกรปลูก พันธุ์ข้าวชุดแรกที่รัฐบาลแนะนำในปี พ.ศ. 2479 คือข้าวพวงเงิน ตามประวัติได้มาจากขุนพิบาล ตลิ่งชัน ธนบุรี ข้าวทองระย้าดำ ได้มาจากนายปิ๋ว บางน้ำเปรี้ยวฉะเชิงเทรา ข้าวน้ำดอกไม้ได้มาจากนายมา ลาดกระบังพระนคร และพันธุ์ข้าวปิ่นแก้ว ซึ่งได้ตัวอย่างมาจากนายจวน ศรีราชา ชลบุรี มีความยาวหลังจากสีแล้ว 8.4 มิลลิเมตร ข้าวพันธุ์ปิ่นแก้วมีชื่อเสียงโด่งดังเพราะไปชนะเลิศการประกวดพันธุ์ข้าวของโลกที่ประเทศแคนาดา “ ดร.สงกรานต์ จิตรากร ผู้เชี่ยวชาญพันธุ์ข้าวแห่งสถาบันวิจัยข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เล่าถึงการพัฒนาข้าวไทยในอดีต

ต่อมาระหว่าง พ.ศ. 2493-2495 มีการรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองทั่วประเทศอย่างจริงจัง เพื่อค้นหาข้าวพันธุ์ดีแนะนำให้เกษตรกรปลูก ผลจาการประเมินลักษณะเมล็ดและการคัดเลือกจากพันธุ์ข้าวประมาณ 6, 000 ตัวอย่าง ก็ได้ข้าวพันธุ์ดีหลายพันธุ์ที่ใช้แนะนำให้เกษตรกรปลูก ในจำนวนนี้มีพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งต่อมาเลือกกันว่า ข้าวหอมะลิ รวมอยู่ด้วย

ข้าวขาวดอกมะลิ 105 พบครั้งแรกในท้องที่แหลมประดู่ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดยนายจรูญ ตัณฑาวุฒ ได้นำมาปลูกไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 จนกระทั่ง พ.ศ. 2493 กรมการข้าว กระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการรวบรวมข้าวพันธุ์ของประเทศ พนักงานข้าวอำเภอบางคล้ารวบรวมรวงข้าวจากอำเภอบางคล้าจำนวน 199 รวงมาเพาะเป็นต้นข้าวเรียงเป็นแถวได้ 199 แถว แล้วปรากฏว่าต้นข้าวแถวที่ 105 ดีที่สุด มีเมล็ดข้าวยาวเรียว ขาวใส มีกลิ่นหอม จึงเอาแถวที่ 105 มาเป็นแม่พันธุ์และกลายเป็นข้าวหอมมะลิที่ปลูกกันทั่วประเทศในเวลานี้ แต่ต้องเข้าใจในเดิมนั้น ชื่อของเค้าไม่ได้หมายความว่าหอมเหมือนดอกมะลิ และมีกลิ่นหอมเหมือนใบเตย ต่อมาเรียกเพี้ยนไปจึงกลายเป็นข้าวหอมมะลิ ข้าวพันธุ์นี้นิยมปลูกเป็นข้าวนาปี เพราะข้าวขาวมะลิเป็นข้าวที่ไวต่อแสง” ดร.สงกรานต์อธิบาย

ข้าวที่ไวต่อแสงหมายถึงพันธุ์ข้าวที่จะออกดอกในวันที่กลางคืนยาวกว่ากลางวันเท่านั้น ซึ่งก็คือฤดูหนาว ข้าวที่ปลูกในฤดูนาปีส่วนใหญ่จะเป็นข้าวที่ไวต่อแสง ส่วนข้าวนาปรังเป็นข้าวที่ไม่ไวต่อแสง ปลูกได้ตลอดปีในเดือนใดก็ได้ เมื่อพันธุ์เหล่านี้อายุครบกำหนด ก็จะออกดอกรวงไว้ให้เก็บเกี่ยวได้

“ข้าวที่ไวต้องแสงจะออกดอกเมื่อใกล้หน้าฝนต่อหน้าหนาว เดือนตุลาก็เริ่มออกดอกแล้ว หน้าหนาวนั้นจะมืดเร็วช่วงแสงกลางวันจะน้อยกว่า 12 ชั่วโมง เราถึงเรียกข้าวว่าเป็นพืชวันสั้น แต่พันธุ์ข้าวที่ไม่ไวต่อแสงนั้นแม้แสงจะมากกว่าหรือน้อยกว่า 12 ชั่วโมงแต่ล่ะวันก็ไม่มีผล ปลูกได้ทั้งปี” คุณสุเทพ ลิ้มทองกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยข้าวให้ความกระจ่าง

ตามนโยบายข้าวประจำปี 2537-2544 กำหนดเขตการปลูกข้าวขาวหอมมะลิ 105 เพื่อการส่งออกใน 10 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ยโสธร ร้อยเอ็ด สกลนคร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุดรธานี และอุบลราชธานี



http://www.brrd.in.th

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/07/2020 9:49 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 20/03/2013 2:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

107. ข้าวสาลีไทย : อาหารเพื่อสุขภาพ


ข้าวสาลีชนิดใช้ทำขนมปัง (Bread Wheat)



ข้าวสาลีชนิดใช้ทำมักกะโรนี (Durum Wheat)


ข้าวสาลีเป็นธัญพืชเมืองหนาวที่สามารถปลูกได้ในประเทศไทย และเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศหนาวเย็น จึงเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ภาคเหนือตอนบนซึ่งมีอากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว และเป็นพืชทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำมาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกร่วมระบบกับพืช ปลูกอื่นในฤดูหนาว ข้าวสาลีที่ปลูกได้มีทั้งชนิดใช้แป้งทำขนมปัง Bread Wheat และ ชนิดใช้แป้งทำมักกะโรนี Durum Wheat

แต่ข้าวสาลีพันธุ์รับรองที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นข้าวสาลีชนิดใช้แป้งทำขนม ปัง สามารถปลูกได้ทั้งในสภาพไร่และสภาพนาอาศัยน้ำชลประทาน นับวันข้าวสาลีเป็นธัญพืชเมืองหนาวที่มีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของคนไทยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ซึ่งชีวิตประจำวันเป็นไปในลักษณะเร่งรีบ อุปนิสัยการบริโภค ต้องการเวลาในการปรุงอาหารที่รวดเร็ว ประกอบกับข้าวสาลีมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีปริมาณโปรตีนสูง และคาร์โบไฮเดรต ในกลุ่มที่เรียกว่า Photosugar ซึ่งใช้เป็นอาหารเสริม

ปัจจุบันข้าวสาลีพันธุ์รับรองยังมีอยู่น้อย โดยเป็นพันธุ์ส่งเสริมแก่เกษตรกร จำนวน 6 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์สะเมิง 1, สะเมิง 2, แพร่ 60, ฝาง 60 อินทรี 1 และอินทรี 2 และการให้ผลผลิตยังมีความแปรปรวนสูงขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ

การวิจัยและพัฒนาข้าวสาลีที่ผ่านมา จะมุ่งเน้นหาพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพตรงตามความต้องการของอุตสาหกร รมเบเกอรี่ แต่ปัจจุบันมีการตื่นตัวในด้านสุขอนามัย มีการใช้ประโยชน์จากข้าวสาลีเพื่อเป็นอาหารเสริมสุขภาพมากขึ้น จึงได้เกิดโครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวสาลีในเขตภาคเหนือตอนบนเพื่อยก ระดับผลผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลี ในด้านการพัฒนาพันธุ์พบว่ามีข้าวสาลีหลายสายพันธุ์ที่มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูง กว่าข้าวสาลีพันธุ์ฝาง 60 เช่น FNBW8112-2-3, SMGBWS85701, LARTC-BWS 95113, UBNBWS90017, SMGBWS87121, FNBW8310-1-SMG-1-1-1, LARTC-WS95025 และ LARTC-BWS95204



บทความโดย นางสุธีรา มูลศรี นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ
ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง



http://www.brrd.in.th

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/07/2020 9:50 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 20/03/2013 3:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

108. น้ำคั้นต้นข้าวสาลีอ่อน





วิธีการเพาะข้าวสาลี
1. นำเมล็ดข้าวสาลีแช่น้ำ 1 คืน จากนั้นนำไปหว่านบนวัสดุเพาะในกระถางหรือตะกร้าที่สามารถระบายน้ำได้ วัสดุเพาะต้องระบายน้ำได้ดี และไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี
2. รดน้ำบางๆแบบพ่นฝอย โดยอาจใช้กระบอกฉีดพ่น พอชื้น แล้วใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ปิดไว้
3. วันรุ่งขึ้น เปิดกระดาษหนังสือพิมพ์ รดน้ำแบบวันแรกแล้วปิดกระดาษหนังสือพิมพ์ไว้ดังเดิม ทำเช่นนี้ทุกวันจนเห็นใบอ่อนข้าวสาลีงอกออกมา จึงเอากระดาษหนังสือพิมพ์ออก
4. รดน้ำบางๆแบบพ่นฝอย ทุกวัน แต่อย่าให้ชื้นมากเพราะจะทำให้เกิดเชื้อราได้
5. เมื่อข้าวสาลีออกใบที่ 2 หรือสูงประมาณ 8 นิ้ว (ใช้เวลาประมาณ 10 วัน) สามารถตัดใบไปทำน้ำคั้นได้ โดยใช้กรรไกรสะอาดตัดเหนือดินประมาณ 1/2 นิ้ว
6. รดน้ำบางๆแบบพ่นฝอยต่อทุกวัน อีกประมาณ 5-7 วัน สามารถตัดใบไปทำน้ำคั้นรุ่นที่ 2 ได้อีกครั้ง


บทความโดย นางสุธีรา มูลศรี นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ
ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง


http://www.brrd.in.th

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/07/2020 9:50 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 20/03/2013 3:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

109. สายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ105 ทนดินเค็ม











ความสำคัญ :
พื้นที่ดินเค็มประมาณ 7% ของพื้นที่ดินทั้งหมดทั่วโลก ในพื้นที่ปลูกข้าวของประเทศไทยมีความเค็มกระจายอยู่ทั้งในพื้นที่ปลูกข้าวนาชลประทานและนาน้ำฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักพบสภาพดินเค็มกระจายโดยทั่วไป และเนื่องด้วยพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนปริมาณความเค็มจึงเพิ่มมากขึ้นในช่วงที่ไม่มีน้ำขังในนา เช่น ช่วงฝนทิ้งช่วง ซึ่งจะไปทำให้ข้าวลดการเจริญเติบโต และทำให้รวงไม่ติดเมล็ดส่งผลให้ผลผลิตเสียหายเป็นอย่างมาก

การพัฒนาสายพันธุ์ :
ภายใต้โครงการความร่วมมือนักวิจัยได้พัฒนาสายพันธุ์ข้าวให้มีลักษณะทนต่อสภาพดินเค็ม (Salt tolerance) โดยได้นำข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ผสมพันธุ์กับข้าวสายพันธุ์ FL530 ซึ่งมียีนทนเค็ม Salt Tอยู่บนโครโมโซมที่ 1 ทำการคัดเลือกต้นที่มีลักษณะทางการเกษตรที่ดีจากประชากรข้าวที่ได้จากการผสมพันธุ์ร่วมกับการใช้โมเลกุลเครื่องหมายดีเอ็นเอช่วยในการคัดเลือก (Marker assisted selection- MAS) จนได้สายพันธุ์ข้าวเจ้าหลายสายพันธุ์ที่ปรับตัวได้ดีในสภาพดินเค็ม และทำการประเมินผลผลิตในศูนย์วิจัยข้าว และพื้นที่เกษตรกร

ผลการดำเนินงาน :
ได้สายพันธุ์ข้าว UBN02123-50 (R)-B-2 ซึ่งมีความสามารถในการทนต่อสภาพความเค็มที่ดีกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 และมีลักษณะต้นและเมล็ดคล้ายขาวดอกมะลิ 105 มีคุณภาพหุงต้มที่ดี ข้าวสุกนุ่มเหนียวและมีกลิ่นหอมคล้ายกับขาวดอกมะลิ 105


(จากผลการดำเนินงานภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ)



http://www.brrd.in.th

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/07/2020 9:51 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 20/03/2013 3:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

110. ผลผลิตและคุณภาพข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 ที่ปลูกในฤดูนาปรัง

(งานวิจัย)

ธานี ชื่นบาน 1, สุรพล ใจดี 1, เดชา เดชาวุธ 1, ณัฐชัย ศิริพานิชเจริญ 2, สมใจ สาลีโท 2, ปริชาติ คงสุวรรณ 3, พิษณุ หินตั้ง 3, กัญญา เชื้อพันธุ์ 4


บทคัดย่อ
ศึกษาผลของการใช้เทคโนโลยีการผลิต เช่น วันปลูก การใช้ปุ๋ย อัตราเมล็ดพันธุ์ ของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 ที่ปลูกในฤดูนาปรัง ต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดและผลตอบแทนที่ได้รับ ในแปลงเกษตรกรจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และ หนองคาย ในฤดูนาปรังปี 2553/54 ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่
(1) การสำรวจ ประเมินผลผลิตและศึกษาคุณภาพของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข15
(2) อัตราเมล็ดพันธุ์และอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับข้าวขาวดอกมะลิ 105
(3) วันปลูกที่เหมาะสมสำหรับข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 ที่ปลูกในฤดูนาปรัง


ผลการศึกษา พบว่า
(1) การสำรวจ ประเมินผลผลิตและศึกษาคุณภาพของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 นั้น
- เกษตรกรในเขตจังหวัดสุรินทร์ได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 442 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้เหนือต้นทุนเฉลี่ย 2,205 บาท/ไร่
- จังหวัดบุรีรัมย์ได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 394 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้เหนือต้นทุนเฉลี่ย 1,270 บาท/ไร่ และ
- จังหวัดหนองคายได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 349 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้เหนือต้นทุนเฉลี่ย 2,669 บาท/ไร่


(2) อัตราเมล็ดพันธุ์และอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับข้าวขาวดอกมะลิ 105
- ที่จังหวัดสุรินทร์ พบว่า อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ต่างกันไม่ทำให้ผลผลิตข้าวแตกต่างกัน ในขณะที่อัตราปุ๋ย 9-6-6 กิโลกรัม N-P2O5-K2O /ไร่ ทำให้ได้ผลผลิตสูงที่สุด คือ 476 กิโลกรัมต่อไร่
- ที่จังหวัดบุรีรัมย์พบว่า อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ต่างกันไม่ทำให้ผลผลิตข้าวแตกต่างกัน ในขณะอัตราปุ๋ยต่างกันทำให้ผลผลิตข้าวมีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยอัตราปุ๋ยที่ทำให้ได้ผลผลิตสูงที่สุดคือ 6-6-6 กิโลกรัม N-P2O5-K2O /ไร่ ได้ผลผลิต 375 กิโลกรัมต่อไร่
- ส่วนที่จังหวัดหนองคายพบว่า อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ต่างกันทำให้ผลผลิตข้าวมีความแตกต่างกัน โดยมีผลต่อจำนวนรวงต่อตารางเมตรและเปอร์เซ็นต์เมล็ดดี อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ทำให้ได้ผลผลิตสูงที่สุด คือ 25 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิต 427 กิโลกรัมต่อไร่ อัตราปุ๋ยที่ต่างกันทำให้ผลผลิตข้าวแตกต่างกัน โดยอัตราปุ๋ยที่ทำให้ได้ผลผลิตสูงที่สุดคือ 9-6-6 กิโลกรัม N-P2O5-K2O /ไร่ และ


(3) วันปลูกที่เหมาะสมสำหรับข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 ที่ปลูกในฤดูนาปรัง
- ที่จังหวัดสุรินทร์พบว่า การปลูกวันที่ 18 ธันวาคมให้ผลผลิตสูงที่สุด 523 กิโลกรัมต่อไร่
- ที่จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า อิทธิพลของวันปลูกเป็นไปในแนวทางเดียว โดยการปลูกวันที่วันที่ 18 ธันวาคมให้ผลผลิตสูงที่สุด 676 กิโลกรัมต่อไร่ และ
- ที่จังหวัดหนองคาย พบว่าการปลูกวันที่ 18 ธันวาคมให้ผลผลิตสูงที่สุด 467 กิโลกรัมต่อไร่



http://www.brrd.in.th

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/07/2020 9:52 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 22/03/2013 1:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

111. ''แอพพลิเคชั่น ใบข้าวฯ'' เทคโนโลยีไฮเทค ช่วยชาวนาเพิ่มผลผลิต





















“ข้าว” เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีวัฒนธรรมการรับประทานข้าวเป็นอาหารหลักมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ประเทศไทยนับเป็นประเทศหนึ่งที่มีบทบาทในการส่งออกข้าว แต่ด้วยปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ไม่มีคุณภาพ การใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในปริมาณที่มาก ทำให้มีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อผลผลิตข้าวของชาวนาทั้งสิ้น!

ด้วยปัญหาหลายประการที่ส่งผลต่อข้าว ทำให้หลายภาคส่วนมีเป้าหมายที่จะนำองค์ความรู้ ความชำนาญมาช่วยเหลือชาวนา ปัญหาหนึ่งที่พยายามหาหนทางในการแก้ไข คือ ปัญหาในเรื่องการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในนาข้าวอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่ากับราคา และไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสีย เนื่องจากการใช้ปุ๋ยเคมีของชาวนายังคงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ซึ่งทำให้มีการใช้ปุ๋ยในนาข้าวกันอย่างกว้างขวาง แต่ปริมาณการใช้ต่อพื้นที่ยังไม่เหมาะสม ส่วนใหญ่จะไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการทำให้ยังไม่สามารถเพิ่มผลผลิตในข้าวได้มากนัก แต่กลับทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงเกินไป

ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการฝ่ายหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค อธิบายให้ฟังว่า ปุ๋ยเคมีที่ชาวนานิยมใช้ คือ ปุ๋ยยูเรีย ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจนสูง ช่วงที่ใส่เหมาะสำหรับช่วงการใส่ปุ๋ยให้กับพืชที่มีสภาวะน้ำน้อย สามารถสลายตัวในน้ำได้เร็ว พืชสามารถดูดซับธาตุอาหารไปใช้ได้ง่าย ช่วยบำรุงส่วนใบ ก้านใบของพืช ช่วยให้พืชใบเขียวเร็ว แต่ข้อควรระวังคือ การให้ปุ๋ยยูเรียในปริมาณมากหรือใช้ปุ๋ยยูเรียร่วมกับปุ๋ยสูตรอื่นที่มีเปอร์เซ็นต์ไนโตรเจนสูงอยู่แล้ว จะทำให้พืชน็อกปุ๋ยได้

“แล้วชาวนาจะรู้ได้อย่างไรว่าข้าวในระยะต่าง ๆ ต้องการธาตุไนโตรเจนเท่าไหร่ ตรงนี้หน่วยงานหลักที่สำคัญ คือ กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้นำแผ่นเทียบสี (Leaf Color Chart) หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า แอลซีซี (LCC) ซึ่งพัฒนาโดยสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติที่ฟิลิปปินส์มาช่วยแก้ไขและลดปัญหาการใช้ปุ๋ยที่ไม่มีประสิทธิ ภาพ โดยการใช้แผ่นเทียบสีกับใบของต้นข้าวว่าต้องการธาตุไนโตรเจนเท่าใดจึงจะเหมาะสม”

จากการใช้แผ่นเทียบสีในประเทศไทยที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของชาวนา และเพื่อให้ชาวนาใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้ดำเนิน การต่อยอดจากแนวคิดแผ่นเทียบสี มาจัดทำเป็น แอพพลิเคชั่น ที่มีชื่อว่า ใบข้าว เอ็นเค (BaiKhao NK ) ขึ้น ซึ่งเป็นการพัฒนามาจากเครื่องตรวจวัดสีสารละลายและได้รับโจทย์เกี่ยวกับการดูสีของใบข้าวที่เดิมนักวิชาการเกษตรหรือเกษตรกรผู้ทำนาจะใช้การเทียบสีด้วยสายตามนุษย์ซึ่งมีความผิดพลาดได้ง่าย มาเป็นเครื่องตรวจวัดสีของใบข้าว ที่สามารถ ประเมินการขาดธาตุไนโตรเจนและโพแทส เซียมของต้นข้าวในนาได้ว่าขาดมากน้อยแค่ไหน

’โดยทีมวิจัยได้พัฒนาต่อยอดมาเป็นแอพพลิเคชั่นบนมือถือสมาร์ทโฟนที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ที่มีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ สามารถใช้อ่านสีของใบข้าวเพื่อการประเมินความต้องการธาตุอาหารไนโตรเจนและโพแทสเซียมของต้นข้าวในนา โดยไม่ต้องใช้สารเคมี และไม่ต้องทำลายใบข้าว โดยจะแสดงปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนและโพแทสเซียมที่เหมาะสมที่ชาวนาควรใส่ให้กับต้นข้าวในนาในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโต ช่วยลดต้นทุนในการเพาะปลูกได้”

สำหรับปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจนได้มีการสอบเทียบและอ้างอิงปริมาณการใส่ปุ๋ยยูเรียด้วยวิธีการวัดแบบกำหนดเวลาจากแผ่นเทียบสีใบข้าวมาตรฐานที่มีแถบสี 4 ระดับ และ 6 ระดับ ของกรมการข้าว จากการทดสอบในภาคสนามที่สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติที่ฟิลิปปินส์ พบว่า อุปกรณ์แอพพลิเคชั่นใบข้าวเอ็นเคสามารถตรวจวัดสีของใบข้าวแล้วประมาณออกมาเป็นปริมาณการใส่ปุ๋ยยูเรียได้ถูกต้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ตามความต้องการของต้นข้าวในนาในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโต จากการทดสอบในภาคสนาม 120 ครั้ง ส่วนการประเมินธาตุโพแทสเซียมได้มีการทดสอบกับศูนย์วิจัยข้าวของกรมการข้าว พบว่า ถูกต้องร้อยละ 77.2 จากการทดสอบในภาคสนาม 57 ครั้ง ซึ่งทางทีมวิจัยจะทำการวิจัยและพัฒนา ต่อไป

ด้านวิธีการใช้งานไม่ยุ่งยาก ดร.ศรัณย์ กล่าวว่า การทำงานจะใช้ได้กับโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนที่เป็นระบบแอนดรอยด์ 2.2 ขึ้นไป โดยจะต้องดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นเสียก่อน ที่ Play Store เสิร์ชคำว่า BaikhaoNK เมื่อติดตั้งเสร็จก็สามารถใช้งานได้ทันที เมื่อเข้าสู่โปรแกรมจะมีคู่มืออธิบายขั้นตอนการใช้งาน

จากนั้น เพียงชาวนานำใบข้าวที่อยู่ในลำดับที่ 3 รองจากยอดของลำต้น มาวางบนกระดาษสีขาวแล้วใช้แอพพลิเคชั่นใบข้าวเอ็นเคถ่ายภาพ หลังจากนั้นโปรแกรมจะตรวจสอบระดับสีและคำนวณเปรียบเทียบกับแผ่นเทียบสีใบข้าวตามมาตรฐานของกรมการข้าว พร้อมบอกปริมาณปุ๋ยที่ชาวนาจำเป็นต้องใช้ เท่านี้ชาวนาก็สามารถใส่ปุ๋ยได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

“เทคนิคดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนในการเพาะปลูก เนื่องจากมีการใส่ปุ๋ยในปริมาณที่พอดีไม่มากเกินความจำเป็น รวมทั้ง ช่วยลดการชักนำการเกิดโรคและการระบาดของแมลงในแปลงนาที่มีสาเหตุมาจากต้นข้าวงอกงามมากกว่าปกติแต่ทั้งนี้แม้แอพพลิเคชั่นใบข้าวเอ็นเคจะพัฒนาขึ้นมาโดยอาศัยข้อมูลการเทียบสีใบข้าวเพื่อจัดการปุ๋ยไนโตรเจนสำหรับการปลูกข้าวในนาชลประทาน เนื่องจากสายพันธุ์ของต้นข้าวและพื้นที่การเพาะปลูกอาจส่งผลต่อการดูดซับธาตุอาหารของต้นข้าวในปริมาณที่แตกต่างกัน ดังนั้น ภายหลังจากการวัดสีของใบข้าวแล้ว ถ้าต้องการใส่ปุ๋ยให้ในปริมาณที่เหมาะสมจริง ๆ ควรขอคำปรึกษาและข้อแนะนำจากศูนย์วิจัยข้าวในแต่ละพื้นที่โดยตรงเสียก่อน”

สำหรับเกษตรกรที่ต้องการใช้แอพ พลิเคชั่นใบข้าวเอ็นเคแต่ยังไม่มีสมาร์ทโฟนใช้ สามารถใช้แผ่นเทียบสีใบข้าวของกรมการข้าวแทนได้ หรือเกษตรกรคนใดที่อยู่ในพื้นที่ของโครงการหมู่บ้านลดต้นทุนก็สามารถประสานกับหัวหน้าโครงการในหมู่บ้านเพื่อประสานขอข้อมูลและความช่วยเหลือในเรื่องของอุปกรณ์ได้ ซึ่งในอนาคตจะมีความร่วมมือระหว่างเนคเทค กับ กรมการข้าว เพื่อทำการขยายผลในการนำแอพพลิเคชั่นใบข้าวเอ็นเค เข้าไปใช้ในหมู่บ้านต้นแบบที่กรมการข้าวได้จัดตั้งขึ้น สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินปริมาณการใส่ปุ๋ยให้พอดีไม่มากเกินความต้องการของต้นข้าว เพื่อให้เป็นต้นแบบของหมู่บ้านลดต้นทุนและเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการวัดสีใบข้าวก่อนการใส่ปุ๋ย

แอพพลิเคชั่นใบข้าวเหมาะสำหรับเกษตรกร หน่วยงานหรือผู้ให้บริการต่าง ๆ ที่ต้องการวัดสีใบข้าวเพื่อทำการประเมินความต้องการธาตุไนโตรเจนก่อนการใส่ปุ๋ย ให้กับต้นข้าว ถึงแม้ว่าตอนนี้เกษตรกรบางคนอาจจะยังไม่มีสมาร์ทโฟนใช้หรือยังไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีเหล่านี้ แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ สมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ต จะมีราคาที่ถูกลงและเข้ามาแทนที่โทรศัพท์มือถือที่ทุกครัวเรือนมีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นั่นหมายความว่า เกษตรกรจะมีสมาร์ทโฟนใช้และสามารถเข้าถึงแอพพลิเคชั่นใบข้าวนี้ได้ด้วยเช่นเดียวกัน.


วิธีการใช้ แอพพลิเคชั่น ใบข้าว เอ็นเค
ขั้นตอนการติดตั้ง
1. เข้าไปที่ Play สโตร์ (Play Store)
2. เลือก ค้นหา แล้วพิมพ์คำว่า “ใบข้าว” หรือ “BaiKhaoNK”
3. เลือก ติดตั้ง (Install)
4. เลือก ยอมรับและดาวน์โหลด (Accept & Download)
5. เลือก เปิด (Open)


ขั้นตอนการใช้งาน
1. เปิดโปรแกรม BaiKhaoNK
2. เปิดคู่มือการใช้งาน (ควรเปิดอ่านเพื่อให้เข้าใจถึงการใช้งานที่ถูกต้อง ซึ่งรายละเอียดเบื้องต้นจะเป็นดังข้อ 3-10) โดยเลือก เมนู --> ช่วยเหลือ
3. ตัดกระดาษสีขาวขนาด 80 แกรม (เช่น กระดาษ A4 สีขาว) ให้มีขนาด กว้าง 8 ซม. ยาว 15 ซม.
4. จากนั้นพับครึ่งกระดาษตามขวางเพื่อไม่ให้อ่อนเกินไป
5. เลือกใบข้าวใบลำดับที่ 3 รองจากยอดของลำต้นที่ต้องการตรวจวัดวางด้านบนตรงกลางกระดาษ
6. ใช้โปรแกรม BaiKhaoNK มองกระดาษที่มีใบข้าวพาดอยู่เรียบร้อยแล้ว โดยให้ใบข้าวอยู่ในบริเวณของกรอบสีเขียวและให้กระดาษสีขาวอยู่ภายในมุมมองของกล้อง
7. สัมผัสบนหน้าจอตรงบริเวณที่เป็นใบข้าวหรือกรอบสีเขียวเพื่อทำการถ่ายภาพและประมวลผล
8. สังเกตผลลัพธ์และปริมาณการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนที่แนะนำ
9.สัมผัสที่ตัวอักษรของระยะการเจริญเติบโตเพื่อทำการเลือกระยะของการเจริญเติบโตและปริมาณปุ๋ยที่เหมาะสม
10. สัมผัสปุ่ม Measure เพื่อทำการวัดครั้งต่อไป


ทีมวาไรตี้



http://www.dailynews.co.th/article/224/191743
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 22/03/2013 2:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

112. ข้าวไร่พันธุ์พญาลืมแกง





แหล่งที่เก็บรวบรวม :
เทือกเขาเพชรบูรณ์ จังหวัด เลย ชัยภูมิ

ลักษณะประจำพันธุ์ :
เป็นข้าวไร่ข้าวเหนียว ทรงกอตั้ง ปล้องสีเหลือง ใบสีเขียวอ่อน ยาวเรียว ออกดอกประมาณวันที่ 20 กันยายน ลำต้นค่อนข้างแข็ง จำนวนรวงต่อกอ 8-10 รวงต่อกอ เปลือกเมล็ดสีฟาง รูปร่างเมล็ดใหญ่

ผลผลิตประมาณ :
310 กิโลกรัม/ไร่



ลักษณะเด่น :
อายุเบา ข้าวนึ่งสุกนุ่มและมีกลิ่นหอม

คุณประโยชน์ :
ชาวนาแถบเทือกเขาสูง ส่วนใหญ่ปลูกเพื่อการบริโภคเป็นหลัก ส่วนที่เหลือนิยมนำไปทำขนมต่างๆ เช่น ข้าวต้ม ข้าวเม่า

หมายเหตุ :
อยู่ในระหว่างการคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์ เพื่อขอรับรองพันธุ์ สำหรับผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ให้แก่เกษตรกรชาวนาต่อไป



http://www.brrd.in.th/library/index.php?option=com_content&view=article&id=131&Itemid=48
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 22/03/2013 3:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

112. ข้าวเจ้าพันธุ์ กข45





ประวัติ
ข้าวเจ้าพันธุ์ กข45 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวสายพันธุ์ PCRBR83012–267-5 (ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวพันธุ์หอมนายพล กับ IR46) กับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรีเมื่อ ปี 2532 ปลูกข้าวพันธุ์ผสมชั่วที่ 1 ปี 2533 ปลูกคัดเลือกชั่วอายุที่ 2-5 ปี 2534-2537 ปลูกศึกษาพันธุ์ ปี 2538–2540 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ปี 2541–2543 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตใน นาราษฎร์ที่ อำเภอเมือง และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอเมือง และอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ปี 2544–2548 ปลูกทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน ปี 2547-2550 ปลูกทดสอบความสามารถการยืดปล้อง ปี 2548–2549 ปลูกทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว ปี 2551-2552 ผลิตเมล็ดพันธุ์คัดและปลูกประเมินผลผลิตและการยอมรับของเกษตรกรภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีจำนวน 100 แปลง ที่อำเภอต่างๆ ของจังหวัดปราจีนบุรี ปี 2552/53 คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติรับรองพันธุ์ ชื่อ กข45 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2553

ลักษณะประจำพันธุ์
เป็นข้าวเจ้าน้ำลึกไวต่อช่วงแสงออกดอกประมาณวันที่ 25 ตุลาคม ถึง 2 พฤศจิกายน ปลูกในพื้นที่ที่มีระดับน้ำไม่เกิน 100 เซนติเมตร มีความสามารถยืดปล้องได้ดีที่ระดับน้ำ 90 เซนติเมตร ลำต้นสูงประมาณ 170 เซนติเมตร ลำต้นสูงประมาณ 170 เซนติเมตร ทรงกอตั้ง ต้นแข็งปานกลาง ใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง รวงยาว 27.7 เซ็นติเมตร เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ยาว 10.2 มิลลิเมตร กว้าง 2.73 มิลลิเมตร และหนา 2.09 มิลลิเมตร เมล็ดข้าวกล้องรูปร่างเรียว ยาว 7.44 มิลลิเมตร กว้าง 2.33 มิลลิเมตร และหนา 1.83 มิลลิเมตร คุณภาพการสีดีมาก เมล็ดข้าวขาวใส มีท้องไข่น้อย สีเป็นข้าว 100% ได้ ปริมาณอมิโลสต่ำ (16.35%) อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ ความคงตัวของแป้งสุกอ่อน (80 มม.) อัตราการยืดตัวของข้าวสุก 1.67 เท่า ข้าวเมื่อหุงต้มด้วยอัตราส่วน ข้าวต่อน้ำเป็น 1 ต่อ 1.7 เท่า(โดยน้ำหนัก)นุ่มเหนียว และมีกลิ่นหอม ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ประมาณ 9 สัปดาห์

ผลผลิต
ประมาณ 520 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
1. เป็นข้าวเจ้าน้ำลึกที่มีผลผลิตสูง
2. สามารถปลูกได้ทั้งในนาน้ำตื้นและน้ำลึกไม่เกิน 100 เซนติเมตร
3. เมล็ดยาวเรียว คุณภาพการสีดีมาก มีท้องไข่น้อย คุณภาพหุงต้มรับประทานดี ข้าวสุกนุ่มเหนียว และมีกลิ่นหอม

พื้นที่แนะนำ
เหมาะสำหรับพื้นที่นาน้ำฝนภาคกลาง ภาคตะวันออกที่มีระดับน้ำในนาไม่เกิน 100 เซนติเมตร น้ำในนาควรแห้งช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน

ข้อควรระวัง
อ่อนแอมากต่อโรคไหม้ และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ไม่แนะนำให้มีการปลูกในพื้นที่ที่มีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล


http://www.brrd.in.th/library/index.php?option=com_content&view=article&id=131&Itemid=48


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 22/03/2013 4:03 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 22/03/2013 3:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

114. ข้าวเหนียวดำพันธุ์หอมภูเขียว





แหล่งที่เก็บรวบรวม
อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

ลักษณะประจำพันธุ์
เป็นข้าวเหนียว ทรงกอตั้ง ปล้องสีเขียวปนม่วง ใบสีเขียวเข้ม ยาว 68 เซนติเมตร กว้าง 1.4 เซนติเมตร รวงยาว 20 เซนติเมตร จำนวนเมล็ดต่อรวง 100 เมล็ด จำนวนรวงต่อกอ 8 รวงต่อกอ ออกดอกประมาณวันที่ 25 กันยายน ลำต้นค่อนข้างแข็ง เปลือกเมล็ดสีม่วงดำ รูปร่างปานกลาง ยาว 7 มิลลิเมตร กว้าง 2.6 มิลลิเมตร หนา 1.8 มิลลิเมตร ข้าวนึ่งสุกนุ่ม มีกลิ่นหอม

ผลผลิตประมาณ
250 กิโลกรัม/ไร่


ลักษณะเด่น
เป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงจึงปลูกได้ทั้งในฤดูนาปีและนาปรัง โดยใช้ปลูกเป็นพืชร่วมระบบกับพืชอื่นได้ เช่น พริก ข้าวโพด หรือปลูกแซมในสวนยางพารา และมีความสามารถต้านทานต่อโรคไหม้ดี (ระดับคะแนน 1)

คุณประโยชน์
เปลือกหุ้มเมล็ดมีสีเข้ม จึงมีสารแอนโทไซยานิน ช่วยบำรุงสมอง บำรุงเลือด นิยมนำไปทำขนมต่างๆ เช่น ข้าวเหนียวสังขยา ข้าวหลาม ข้าวต้มมัด ข้าวเหนียวดำเปียก ข้าวเกรียบว่าว

หมายเหตุ
อยู่ในระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อขอรับรองพันธุ์ สำหรับผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ ให้แก่เกษตรกรชาวนาต่อไป


http://www.brrd.in.th/library/index.php?option=com_content&view=article&id=131&Itemid=48


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 22/03/2013 4:13 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 22/03/2013 4:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

115. ข้าวเหนียวพันธุ์ กข16





ประวัติ
ข้าวเหนียวพันธุ์ กข16 ได้จากการผสมพันธุ์ฤดูนาปี พ.ศ. 2539 ระหว่าง พันธุ์ กข6 ข้าวคุณภาพดี เป็นพันธุ์แม่ และพันธุ์ หางยี 71 ข้าวต้านทานต่อโรคไหม้ และอายุสั้น เป็นพันธุ์พ่อ ฤดูนาปรังพ.ศ.2540- ฤดูนาปี พ.ศ. 2540 ผสมกลับ (backcross) ไปหาพันธุ์ กข6 จำนวน 2 ครั้ง ฤดูนาปี พ.ศ. 2541-2543 ปลูกและคัดเลือกแบบสืบประวัติ จนได้สายพันธุ์ KKN97057-7-1-1 ฤดูนาปี พ.ศ. 2544-2545 ศึกษาพันธุ์ เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ที่ศูนย์วิจัยข้าวขอนแก่น และเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูนาปี พ.ศ. 2546 เปรียบเทียบผลผลิตระหว่างภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูนาปี พ.ศ. 2547-2548 เปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันนอกเฉียงเหนือ จำนวน 10 แห่ง ประเมินความชอบลักษณะทางการเกษตร และคุณภาพหุงต้มรับประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม ฤดูนาปี พ.ศ. 2548 ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ นำรวงข้าวที่เก็บรักษาไว้มาปลูกแบบรวงต่อแถว จำนวน 200 รวง คัดเลือกลักษณะที่เกษตรกรต้องการ ได้รวงที่ 46 ให้ชื่อสายพันธุ์ KKN97057-7-1-1-CMI-46 นาปี พ.ศ. 2549-50 ปลูกศึกษาพันธุ์ และเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ฤดูนาปี พ.ศ. 2551 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ภาคเหนือตอนบน จำนวน 5 แห่ง ประเมินความชอบลักษณะทางการเกษตร และคุณภาพการหุงต้มรับประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม ฤดูนาปี พ.ศ. 2552 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคไหม้ วิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพและเคมีของเมล็ด ศึกษาการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติรับรองพันธุ์ ชื่อ กข16 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2553

ลักษณะประจำพันธุ์
เป็นข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสง ออกดอกประมาณวันที่ 13-22 ตุลาคม ลักษณะกอตั้ง ความสูง 133-149 เซนติเมตร ลำต้นแข็งปานกลาง ใบสีเขียว ใบธงตั้ง รวงยาว 25.9 เซนติเมตร ลักษณะรวง แน่นปานกลาง คอรวงยาว ข้าวเปลือกสีน้ำตาล ยาว 10.1 มิลลิเมตร กว้าง 2.97 มิลลิเมตร หนา 2.05 มิลลิเมตร ข้าวกล้องค่อนข้างป้อม ยาว 7.03 มิลลิเมตร กว้าง 2.38 มิลลิเมตร หนา 1.76 มิลลิเมตร คุณภาพการสีดี สีได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว 43.9 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ เมื่อนึ่งสุกมีกลิ่นหอม เนื้อสัมผัสค่อนข้างนุ่ม

ผลผลิต
เฉลี่ย 633 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูง
2. ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้ (Pyricularia grisea Sacc.) ในภาคเหนือตอนบน
3. เป็นข้าวอายุสั้นกว่าพันธุ์ กข6 ประมาณ 1 สัปดาห์ ช่วยกระจายแรงงานในระยะเก็บเกี่ยว และความสูงน้อยกว่าพันธุ์ กข6 ประมาณ 10 เซนติเมตร ลดปัญหาข้าวหักล้มระยะเก็บเกี่ยว
4. เป็นข้าวเหนียวเมล็ดปานกลาง คุณภาพการสีดี คุณภาพหุงต้มรับประทานเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และมีกลิ่นหอม

พื้นที่แนะนำ
เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาน้ำฝนภาคเหนือตอนบน บริเวณที่ฝนหมดเร็ว และในพื้นที่ที่เกษตรกรต้องการปลูกพืชหลังฤดูทำนา

ข้อควรระวัง
ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง แมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว



http://www.brrd.in.th/library/index.php?option=com_content&view=article&id=131&Itemid=48
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 22/03/2013 8:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

117. ข้าวพันธุ์ใหม่ หอมมะลิ 106 และข้าวเหนียวหอม กข.6





นักวิทย์ยีนข้าวหอมคว้านักเทคโนโลยีเด่น

"อภิชาติ วรรณวิจิตร" นักวิจัยเกษตรศาสตร์ และเจ้าของสิทธิบัตรยีนข้าวหอม คว้ารางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นปี 53 จากผลงานการปรับปรุงพันธุ์ข้าวทนแล้ง ต้านทานโรคแมลง ประกาศเดินหน้าวิจัยต่อ ตั้งเป้าค้นหาข้าวลักษณะเด่นปีละ 1 สายพันธุ์

ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการโครงการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยรายชื่อผู้ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประจำปี 2553 ว่า ในครั้งนี้คณะกรรมการได้พิจารณาให้ทีมวิจัยของ รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร และคณะวิจัย 21 คน จากศูนย์พันธุกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กับผลงานการพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มกลิ่นหอมมะลิ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียว ที่เดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวต่อเนื่องมาจนถึงปีที่ 12

ผลงานการวิจัยดังกล่าวได้นำมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูงในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมและข้าวเหนียว ได้เป็นข้าวสายพันธุ์ใหม่มากถึง 8 สายพันธุ์ที่มีลักษณะเด่น โดยเพิ่มคุณสมบัติการต้านทานโรคแมลง สามารถเพาะปลูกได้ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่นในพื้นที่แล้ง หรือพื้นที่ดินเค็ม และด้วยเทคโนโลยีดังกล่าวช่วยให้ระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์สั้นลง และเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรได้เพาะปลูกข้าวสายพันธุ์ใหม่อย่าง หอมมะลิ 106 และข้าวเหนียวหอม กข.6 ซึ่งปัจจุบันมีการเพาะปลูกข้าวสายพันธุ์ดังกล่าวในปริมาณมากถึง 80%

“ผลงานการวิจัยของ ดร. อภิชาติ และคณะ เน้นการปรับปรุงพันธุ์พืชโดยไม่ใช้วิธีดัดแปรพันธุกรรม หรือจีเอ็มโอ ซึ่งเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งทีมวิจัยดังกล่าวยังได้ศึกษายีนความหอมในพืชอื่นเช่นถั่วเหลือง ซึ่งมีคุณลักษณะเด่นด้านความหอมไม่แพ้ข้าวเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ต่อไป” ประธานกรรมการโครงการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น กล่าว

รศ.อภิชาติ วรรณวิจิตร หัวหน้าศูนย์พันธุกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กล่าวว่า ปัจจุบันนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวสามารถพัฒนาเทคโนโลยีค้นหาข้าวสายพันธุ์ใหม่ด้วยการดึงลักษณะเด่นของข้าวแต่ละสายพันธุ์ในระดับพันธุกรรม หรือการแสดงออกของยีนที่แตกต่าง หรือ Molecular Maker Snip ซึ่งทำให้การค้นหาข้าวสายพันธุ์ใหม่ทำได้เร็วขึ้น ในช่วง 3 ปี จากเดิมที่ต้องใช้เวลานานกว่า 10 ปี กว่าจะได้ข้าว 1 สายพันธุ์

“เทคโนโลยีทำให้การขยายพันธุ์ข้าวเดินหน้าไปอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องลงทุนเป็นจำนวนมากเหมือนที่ผ่านมา เพราะกว่าจะได้ข้าวสายพันธุ์ใหม่ต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง 10 ล้านบาท แต่ผลการวิจัยสามารถค้นหาข้าวสายพันธุ์ที่มีหลายคุณลักษณะเด่นในสายพันธุ์เดียว ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่เทคนิคจีเอ็มโอทำไม่ได้”

แม้เงินทุนวิจัยจะคงที่แต่การที่นักวิจัยรู้ลำดับพันธุกรรมและความแตกต่างของยีนสำคัญๆ ในข้าว ทำให้กระบวนการปรับปรุงพันธุ์ข้าวในอนาคตทำได้รวดเร็วขึ้น อีกทั้งในระยะยาวต้นทุนการพัมนาสายพันธุ์ข้าวยังมีแนวโน้มถูกลง โดยร่วมมือกับกรมการข้าวและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์แจกจ่ายพันธุ์ข้าวให้ถึงมือเกษตร

“ผมตั้งเป้าว่าจะพัฒนาข้าวสายพันธุ์ให้ได้ปีละ 1 สายพันธุ์ ภายในปี 2555 นอกจากนี้ทีมวิจัยยังได้ร่วมกับศูนย์วิจัยข้าวระดับนานาชาติถอดรหัสจีโนมข้าว ช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านการปรับปรุงพันธุ์โดยไม่ต้องใช้เทคนิคจีเอ็มโอ ตลอดจนมองถึงยีนความหอมซึ่งพบในพืชอื่น เช่น ยีนของมะพร้าวน้ำหอมซึ่งส่วนตัวมองว่าน่าสนใจ” เจ้าของรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นกล่าว

พร้อมกันนี้มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ยังได้ตัดสินรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ที่มอบให้แก่นักเทคโนโลยีที่มีผลงานเด่นและอายุไม่เกิน 35 ปี จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ ผศ.โชติรัตน์ รัตนามหัทธะ จากภาควิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากผลงานการใช้ไดนามิกไทม์วอร์ปปิงในการทำเหมืองข้อมูล ,

ผศ.พิมพ์ทอง ทองนพคุณ จากคณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา จากผลงานการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตนาโนซิลเวอร์เคลย์และเทคนิคการขึ้นรูปเครื่องประดับเงินจากนาโนซิลเวอร์เคลย์ และ ผศ.ยอดเยี่ยม ทิพย์สุวรรณ์ จากภาควิชาวิศวคอมพิวเตอร์ จากผลงานการสร้างเครื่อง Smart Doser ผสมสารละลายด้วยระบบไมโครคอนโทรลเลอร์ และกาสรพัฒนาเทคโนโลยีควบคุมโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ในระดับอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่จะได้รับรางวัลประติมากรรมเรือใบซูเปอร์มดและเหรียญรางวัลเรือใบเรือใบซูเปอร์มด พร้อมเงินรางวัล 6 แสนบาท สำหรับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น และ 1 แสนบาทสำหรับนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 356 ในวันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2553 ณ ศูนย์การประชุมไบเทค บางนา



http://www.komchadluek.net/detail/20101011/75966/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%99.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 23/03/2013 7:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พันธุ์ข้าวรับรอง ปี 2552 (3 พันธุ์)


118. ข้าวเจ้าพันธุ์ กข41




ประวัติ
ข้าวเจ้าพันธุ์ กข41 ได้จากการผสม 3 ทางระหว่าง ลูกผสมชั่วที่ 1 ของ CNT85059-27-1-3-2 และสุพรรณบุรี 60 นำไปผสมพันธุ์กับ RP217-635-8 ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาทในฤดูนาปี 2539 ปลูกชั่วอายุที่ 1 ในฤดูนาปี 2540 และปลูกคัดเลือกชั่วอายุที่ 2 และ 3 จนได้เมล็ดชั่วอายุที่ 4 ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท จากนั้นนำไปปลูกชั่วอายุที่ 5 – 6 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ตั้งแต่ฤดูนาปรัง 2541 ถึง ฤดูนาปรัง 2542 จนได้สายพันธุ์ CNT96028-21-1-PSL-1-1 ปลูกศึกษาพันธุ์ฤดูนาปรัง 2543 และเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีฤดูนาปี 2544 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก จากนั้นนำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก และสถานีทดลองข้าวชัยนาทและลพบุรี ในฤดูนาปี 2545 ถึงฤดูนาปี 2550 นำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ที่นาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก ลพบุรี สิงห์บุรี และชัยนาท ตั้งแต่ฤดูนาปี 2546 ถึง ฤดูนาปี 2550 ทดสอบผลผลิตการยอมรับของเกษตรกรตั้งแต่ฤดูนาปี 2547 – 2550 ในนาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย อุตรดิตถ์ ชัยนาท และกำแพงเพชร ทดสอบเสถียรภาพผลผลิตในฤดูนาปี 2550 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก แพร่ อุบลราชธานี สกลนคร สุรินทร์ ปทุมธานี สุพรรณบุรี และพัทลุง คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติรับรองพันธุ์ ชื่อ กข41 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552

ลักษณะประจำพันธุ์
พันธุ์ กข41 เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว 105 วัน ความสูงประมาณ 104 เซนติเมตร กอตั้ง ต้นแข็ง ใบและกาบใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง คอรวงโผล่พ้นจากกาบใบธงเล็กน้อย ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ความยาวรวงเฉลี่ย 29.0 เซนติเมตร รวงค่อนข้างแน่น น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ดเฉลี่ย 28.8 กรัม ข้าวเปลือกมีสีฟาง ยาว 10.40 มิลลิเมตร กว้าง 2.53 มิลลิเมตร หนา 2.05 มิลลิเมตร เมล็ดข้าวกล้องรูปร่างเรียวยาว 7.73 มิลลิเมตร กว้าง 2.23 มิลลิเมตร หนา 1.81 มิลลิเมตร ปริมาณ อมิโลสสูง (27.15%) อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ มีคุณภาพการสีดีได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวสูงถึง 46.6 เปอร์เซ็นต์ ระยะพักตัว 9-10 สัปดาห์

ผลผลิต
เฉลี่ย 722 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
1. ผลผลิตสูง มีเสถียรภาพดี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 722 กก./ไร่ สูงกว่าสุพรรณบุรี 1 (645 กก./ไร่) และชัยนาท 1 (640 กก./ไร่) คิดเป็นร้อยละ 12 และ 13 ตามลำดับ แต่ไม่แตกต่างจากพิษณุโลก 2 (719 กก./ไร่)
2. ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคไหม้
3. คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดีเป็นข้าวเจ้าเมล็ดยาวเรียว ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดี สามารถสีเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ได้

พื้นที่แนะนำ
เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาชลประทาน ภาคเหนือตอนล่าง สำหรับเป็นทางเลือกของเกษตรกร ในการป้องกันการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

ข้อควรระวัง
อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในระดับสูงเกินไปจะทำให้เกิดโรครุนแรง อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในเขตจังหวัดนครปฐมและปทุมธานี การปลูกในช่วงกลางเดือนกันยายน – พฤศจิกายน จะกระทบอากาศเย็นทำให้ผลผลิตต่ำกว่าปกติ





ข้าวเจ้าพันธุ์ กข43




ประวัติ
ข้าวเจ้าพันธุ์ กข43 ได้จากการผสมเดี่ยวระหว่างพันธุ์ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี และพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี ในฤดูนาปรัง พ.ศ. 2542 และปลูกคัดเลือกชั่วที่ 2-7 จนได้สายพันธุ์ SPR99007-22-1-2-2-1 ปลูกทดสอบผลผลิตในสถานี ระหว่างสถานี ในนาราษฎร์ ทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี ทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน ทดสอบเสถียรภาพการให้ผลผลิตในสภาพที่แตกต่างกัน ทดสอบศักยภาพผลผลิตในนาเกษตรกร และประเมินการยอมรับของเกษตรกรภาคกลาง ตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปี 2551 คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติรับรองพันธุ์ ชื่อ กข43 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552

ลักษณะประจำพันธุ์
เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 95 วัน ปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม ความสูงประมาณ 103 ซม. ทรงกอตั้ง ต้นค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียวจาง ใบธงเอนปานกลาง ข้าวเปลือกสีฟาง ยาว 10.90 มิลลิเมตร กว้าง 2.63 มิลลิเมตร หนา 2.10 มิลลิเมตร น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 30.40 กรัม ข้าวกล้องสีขาว รูปร่างเรียว ยาว 7.59 มิลลิเมตร กว้าง 2.18 มิลลิเมตร หนา 1.85 มิลลิเมตร ท้องไข่น้อย มีปริมาณอมิโลสต่ำ (18.82 %) คุณภาพของเมล็ดทางการหุงต้มรับประทานดี ข้าวสุกนุ่มเหนียว มีกลิ่นหอมอ่อน มีระยะพักตัว 5 สัปดาห์

ผลผลิต
ประมาณ 561 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
1. อายุการเก็บเกี่ยวสั้น 95 วันเมื่อปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม
2. คุณภาพของเมล็ดทางการหุงต้มรับประทาน ดี ข้าวสุกนุ่ม มีกลิ่นหอมอ่อน
3. ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

พื้นที่แนะนำ
พื้นที่นาชลประทาน พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานและเกษตรกรมีช่วงเวลาในการทำนาน้อยกว่าพื้นที่ปลูกข้าวอื่น ๆ และ/หรือพื้นที่ที่มีปัญหาข้าววัชพืชระบาด

ข้อควรระวัง
เนื่องจากเป็นข้าวอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ไม่ควรปลูกร่วมกับข้าวที่มีอายุต่างกันมากอาจจะเสียหายจากการทำลายของนกและหนูได้ ข้าวพันธุ์นี้มีลำต้นเล็กการใส่ปุ๋ยอัตราสูงอาจทำให้ข้าวล้มได้และข้าวพันธุ์นี้อ่อนแอต่อโรคไหม้ที่พิษณุโลก



ข้าวเจ้าพันธุ์ ขาวกอเดียว35




ประวัติ
ข้าวเจ้าพันธุ์ ขาวกอเดียว 35 คัดเลือกมาจากข้าวขาวกอเดียวที่อยู่ในงานอนุรักษ์พันธุกรรมข้าว ซึ่งเป็ นข้าวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพิจิตร มีคุณภาพการหุงต้มดี ปลายข้าวทำผลิตภัณฑ์เส้นได้ดีเป็นที่ต้องการของตลาดค้าข้าว ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก เก็บรวบรวมพันธ์ุในปี 2527 ที่บ้านเขาดิน ต.เขาเจ็ดลูกกิ่ง อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร นำมาปลูกอนุรักษ์พันธุกรรมเพื่อบันทึกลักษณะทางสัณฐานวิทยา จนถึงปี 2546 และในปี 2547ปลูกข้าวโดยคัดเลือกแบบรวม (mass selection) จากลักษณะทรงต้นที่ดี มีเมล็ดยาวเรียว ท้องไข่น้อย และอายุเก็บเกี่ยวประมาณต้นเดือนธันวาคม ปี 2548 ปลูกขยายเมล็ดพันธุ์ และทดสอบคุณภาพการทำเส้นด้วยเครื่อง RVA (rapid viscosityanalysis) และเครื่อง Brabender พบว่ามีคุณสมบัติความข้นหนืดที่คาดคะเนว่าสามารถทำเส้นได้ดี ปี 2549 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ทดสอบรสสัมผัสโดยการชิม และทดสอบการทำผลิตภัณฑ์เส้น ปี 2550-2551 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ระหว่างสถานี ในนาราษฎร์ ทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมีทดสอบการตอบสนองต่ออัตราปุ๋ยไนโตรเจน ทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกร และการยอมรับของเกษตรกร คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติรับรองพันธุ์ ชื่อ ขาวกอเดียว 35เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552

ลักษณะประจำพันธุ์
เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวต้นเดือนธันวาคม ความสูงเฉลี่ย 190 เซนติเมตร ลักษณะทรงกอแบะใบและกาบใบสีเขียว มุมปลายใบตก มีขนบนแผ่นใบ ใบธงหักลงคอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง ยอดเกสรตัวเมียสีขาวปลายยอดดอกสีขาว น้ำหนักข้าวเปลือก 11.1 กิโลกรัมต่อถังข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด หนัก 27.30 กรัม เปลือกเมล็ดสีฟางข้าวเปลือกยาว 10.00 มิลลิเมตร กว้าง 2.51 มิลลิเมตร หนา2.07 มิลลิเมตร ข้าวกล้องรูปร่างเรียว ยาว 7.55 มิลลิเมตรกว้าง 2.12 มิลลิเมตร หนา 1.74 มิลลิเมตร ปริมาณอมิโลสสูง(27.4 %) มีระยะพักตัว 7 สัปดาห์

ผลผลิต
ประมาณ 500 กิโลกรัมต่อไร่


ลักษณะเด่น
6.1 คุณภาพเมล็ดดี คือมีท้องไข่น้อย เมล็ดยาว รูปร่างเรียวคุณภาพการสีดีมาก สามารถทำเป็นข้าวสาร 100เปอร์เซ็นต์ ได้คุณภาพการหุงต้มและรับประทาน เป็นที่นิยมของเกษตรกรในภาคเหนือตอนล่าง
6.2 ข้าวร่วนค่อนข้างแข็ง ปลายข้าวสามารถนำเข้าสู่อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เส้นได้ดี เช่น เส้นขนมจีน

พื้นที่แนะนำ
เหมาะสำหรับนาน้ำฝนพืน้ ที่ลุ่มน้ำลึกในเขตจังหวัดพิจิตรที่มีน้ำแห้งนาปลายเดือนพฤศจิกายน และจังหวัดอื่น ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน

ข้อควรระวัง
อ่อนแอต่อเพลีย้ กระโดดสีน้ำตาล โรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง



http://www.brrd.in.th

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/07/2020 9:53 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 24/03/2013 4:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

119. รวมภาพ 69. พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ภาคเหนือ...



1.



2.



3.



4.



5.



6.



7.



8.



9.



10.



11.



12.



13.



14.



15.



16.



17.



18.



19.



20.



21.



22.



23.



24.



25.



26.



27.



28.



29.



30.



31.



32.



33.



34.



35.



36.



37.



38.



39.



40.



41.



42.



43.



44.



45.



46.



47.



48.



49.



51.



52.



53.



54.



55.



56.



57.



58.



59.



60.



61.



62.



63.



64.



65.



66.



67.



68.



69.





ที่มา : มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)
ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวแพร่ : ถ.ร้องกวาง-งาว ต.แม่ยางฮ่อ อ.ร้องกวาง จ.แพร่ 54140 โทรศัพท์ 0 5465 4661 โทรสาร 0 5465 4537 e-mail : pre_rsc@ricethailand.go.th



http://pre-rsc.ricethailand.go.th/rfsc/photo_rice_north/north.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 24/03/2013 10:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

120. รวมภาพ 22 พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ภาคกลาง




1.



2.



3.



4.



5.



6.



7.



8.



9.



10.



11.



12.



13.



14.



15.



16.



17.



18.



19.



20.



21.



22.



http://sathai.org/th/institute-of-sustainable-agriculture-safi/sa-knowledge-and-technique/item/89-federation-region-107-indigenous-rice-seed.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 25/03/2013 11:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

121. พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ภาคใต้



1.



2.



3.



4.



5.



6.



7.



8.



9.



10.



11.



http://sathai.org/th/institute-of-sustainable-agriculture-safi/sa-knowledge-and-technique/item/89-federation-region-107-indigenous-rice-seed.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/03/2013 6:24 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 28/03/2013 4:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง....


122. วิธีทำ "ข้าวงอก" ง่ายๆ ด้วยตัวเอง
123. กว่า 30 ปีธุรกิจเพาะต้นกล้าข้าว ต้นตำรับจากไต้หวันสู่ชาวนาไทย
124. จากทุ่งข้าวสู่โลกออนไลน์ ไปเป็นชาวนาวันหยุดกันดีกว่า !
125. สุดยอด ! ชาวนาไต้หวัน ทุบสถิติโลก ปลูกข้าว

126. ชาวนาจีนเจ๋ง ! เพาะ "โคตรข้าว" ผลผลิตสูงทำลายสถิติโลก
127. ผลศึกษามะกันชี้ ข้าวปลูกครั้งแรกในโลกบนแดนมังกร
128. การปลููกข้าววไว้ทำพันธุ์เอง
129. การปลูกข้าวพันธุ์ดีไว้ทำพันธุ์
130. ข้าวพันธุ์ใหม่ของโลกที่น่ากลัว

131. แอบดูชาวนา……ญี่ปุ่น
132. วิธีการควบคุมวัชพืชในนาข้าวโดยไม่ใช้สารเคมี
133. กลุ่มนักปรับปรุงพันธุ์ข้าว มก. พบยีนความหอม
134. ปลูก "ข้าวอินทรีย์" ในแปลงซีเมนต์ อยากรู้อยากลอง "สมพร บุญแก้ว"
135. ยอดข้าวราชินี ให้ความเป็นหนุ่มสาวกระชุ่มกระชวย

136. ความสูญเสียจากการเก็บเกี่ยวข้าวโดยใช้เครืองเกี่ยวนวด
137. รวม พันธุ์ข้าวไร่ พันธุ์ข้าวนาสวน
138. ข้าว18 สายพันธุ์ ไม่รับจำนำ
139. ข้าวเหนียว กข4 (RD4)
140. วิถีเกษตรย้อนยุคที่อุบลราชธานี เกษตรกรรมยั่งยืน ด้วยพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน

141. ข้าวบาสมาติ ข้าวชั้นหนึ่งของอินเดีย มีกลิ่นหอมและรสชาติดี
142. พลิกดินเค็ม สู่นาข้าวอินทรีย์
143. ''แอพพลิเคชั่นใบข้าวฯ'' เทคโน ช่วยชาวนาเพิ่มผลผลิต
144. พันธุ์ข้าวช่วยชาติ 'กข49' ต้านเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลชนิดใหม่
145. พันธุ์ข้าวช่วยชาติ

146. หลักการผลิตข้าวอินทรีย์
147. การใช้พืชปุ๋ยสดในนาข้าวอินทรีย์

----------------------------------------------------------------------------------------





122. วิธีทำ "ข้าวงอก" ง่ายๆ ด้วยตัวเอง





เรียนรู้วิธีการง่ายๆ ในการทำ "ข้าวงอก" ทานด้วยตัวเอง เผยประโยชน์ต่อร่ายกายครบครัน ช่วยชะลอความแก่ นอนหลับสบาย
ควบคุมน้ำตาลและคลอเลสเตอรอลในกระแสเลือด ช่วยขับสารแห่งความสุข แถมยังป้องกันมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย

กระแสการรับประทาน "ข้าวงอก" ได้หวนกลับมาอีกครั้ง จึงมีโอกาสได้ทดลองทำข้าวงอกทานเองอีกหน เพื่อนำประสบการณ์
และวิธีการทำข้าวงอก ซึ่งเรียนรู้มาจากมูลนิธิขวัญข้าวและโรงเรียนชาวนาแห่งสุพรรณบุรี มาถ่ายทอดให้แก่ผู้อ่านต่อไป

นายเดชา ศิริภัทร ผู้อำนวยการมูลนิธิขวัญข้าว ให้ความรู้เกี่ยวกับข้าวงอกว่า การรับประทานข้าวงอกเกิดขึ้นที่ประเทศจีนเมื่อ
นานมาแล้ว แต่ได้รับความนิยมมากที่ประเทศญี่ปุ่น เพราะชาวแดนอาทิตย์อุทัยเชื่อว่า "ข้าวงอกให้พลังแห่งชีวิต"

วิธีการทำ "ข้าวงอก" สามารถทำได้ด้วยตนเองอย่างไม่ลำบาก และไม่จำเป็นต้องไปหาซื้อแพงๆ มารับประทาน เริ่มจากการเลือก
"ข้าวกล้อง" เป็นอันดับแรก โดยต้องเน้นเลือกข้าวกล้องที่สดใหม่และเมล็ดสมบูรณ์มาเพาะ เนื่องจากจะสามารถงอกได้ดี โดย
เมล็ดข้าวกล้องต้องมีอายุไม่เกิน 1 ปี เพราะมี "จมูกข้าว" และ "เปลือกหุ้มเมล็ด" อยู่ ทำให้มีพลังชีวิตค่อนข้างสมบูรณ์
นอกจากนี้ ข้าวกล้องต้องไม่บรรจุในถุงสุญญากาศ ไม่มีแมลงรบกวน และถ้าเป็น "ข้าวกล้อง อินทรีย์" ได้ ก็ยิ่งดีเข้าไปอีก

จากนั้น นำข้าวกล้องไปซาวน้ำและแช่น้ำไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง ต่อมาก็เทข้าวที่อุ้มน้ำใส่ผ้าสะอาดและมีความหนานุ่ม โดยอาจ
เลือกใช้เสื้อยืดเก่าหรือผ้าขนหนูเก่าก็ได้ แล้วใช้ผ้าห่อคลุมให้มิดชิด แต่พอมีอากาศให้เมล็ดข้างหายใจ พรมน้ำแค่พอชุ่ม แต่
อย่าให้แฉะ ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง

ถ้าเตรียมแช่ข้าวไว้เย็นวันศุกร์ นำมาบ่มในผ้าเช้าวันเสาร์ พอถึงเช้าวันอาทิตย์ก็สามารถหุงข้าวรับประทานได้ เพราะแค่
เพียงข้ามคืน เราจะสามารถสังเกตเห็นจมูกข้าวสีขาว โผล่ขึ้นมาชัดเจน

เมล็ดข้าวที่ถูกบ่มแล้วสามารถนำไปหุงให้สุกได้เลย แต่มีเคล็บลับในการหุง คือ ต้องใส่น้ำน้อยกว่าการหุงตามปกติเกือบครึ่งหนึ่ง

ข้าวงอกที่หุงสุกจะมีกลิ่นหอมแปลกจากข้าวธรรมดา เมล็ดข้าวจะไม่จับเป็นก้อน กินหอมนุ่มอร่อยลิ้น หากค่อยๆ เคี้ยวจะสามารถ
รับรสนุ่มหวานที่แปลกไปจากเดิม

ประโยชน์ของข้าวงอก
พลังชีวิตในข้าวงอก คือ สารกาบ้า (Gamma - Aminobutyric Acia หรือ GABA) ซึ่งเป็นสารที่เกิดขึ้นในกระบวน
การฟื้นชีวิตของเมล็ดข้าว ทั้งนี้ สารกาบ้ามีอยู่ในเมล็ดข้าวและจะมีเพิ่มขึ้นเมื่อเป็นข้าวงอก อายุ 1 - 2 วัน เมื่อเข้าสู่วันที่
3 สารกาบ้าจะลดลงเรื่อยๆ

"สารกาบ้า" เป็นกรดอะมิโน ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทในระบบประสาทส่วนกลาง และเป็นสารสื่อประสาทประเภทยับ
ยั้ง ทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมอง ทำให้ผ่อนคลายและนอนหลับสบาย นอกจากนี้ ยังช่วยกระตุ้นต่อมไร้ท่อ ซึ่งผลิตฮอร์โมน
ที่ช่วยการเจริญเติบโตและเกิดสารป้องกันไขมัน ชื่อ "Lipotropic"

สารกาบ้ายังช่วยทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายสม่ำเสมอ ชะลอความชรา ความคุมระดับน้ำตาลและพลาสมาคลอเลสเตอรอล
ในกระแสเลือก รวมทั้งขับเอ็นไซม์ เพื่อขจัดสารพิษออกจากร่ายการ แถมยังช่วยกระตุ้นการขับน้ำดีสู่ลำไส้ เพื่อย่อยสลาย
ไขมัน ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ และช่วยขับสารแห่งความสุข

ส่วนในวงการแพทย์มีการใช้ "สารกาบ้า" รักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคลมชัก

เห็นไหมละว่า ประโยชน์เพียบจริงๆ !!!



ที่มา นิตยสาร "ฉลาดซื้อ" ฉบับที่ 93 เขียนโดย นก อยู่วนา romsuan@hotmail.com

(ติดต่อ "ฉลาดซื้อ" ได้ที่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 4/2 ซ.วัฒนโยธิน แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0-2248-3734-7 โทรสาร 0-2248-3733 อีเมล webmaster@consumerthai.org)


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1229735925&catid=02


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/05/2013 9:00 am, แก้ไขทั้งหมด 31 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13  ถัดไป
หน้า 9 จากทั้งหมด 13

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©