-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 04 DEC *เลี้ยงปลาสลิดเดี่ยวผสมในบ่อในนา
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 04 DEC *เลี้ยงปลาสลิดเดี่ยวผสมในบ่อในนา
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 04 DEC *เลี้ยงปลาสลิดเดี่ยวผสมในบ่อในนา

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 04/12/2015 7:15 am    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาทางวิทยุ 04 DEC *เลี้ยงปลาสลิดเดี่ยวผสมในบ่อในน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางรายการวิทยุ 04 DEC

AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...

* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

----------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......

-----------------------------------------------------------



จาก : (097) 481-74xx
ข้อความ : ผมมีที่นา 20 ไร่ อยู่อ่างทอง ติดแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าฝนดึงน้ำขึ้นมาทำนาได้ รบกวนผู้พันนำเสนอวิธีเลี้ยงปลาสลิดในนาข้าวด้วยครับ ผมต้องขุดสระในนาข้าวอย่างไร .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าฝนดึงน้ำขึ้นมาใช้ได้ หน้าแล้งปกติก็ดึงได้ แต่ถ้าเป็นหน้า ที่แล้งผิดปกติ คือ แล้งหนักแล้งสาหัส แล้งอย่างปีนี้แล้วก็อาจจะต่อปีหน้าปีถัดไปด้วย จะมีน้ำให้ดึงไหม ขนาดข้าวใช้น้ำน้อยกว่าปลายังไม่ไหว ถ้าคิดจะเลี้ยงปลา ขอให้ดูเรื่องน้ำด้วย

ข้าวอยู่ในนา-ปลาอยู่ในบ่อ-บ่ออยู่ในนา .... ข้าวอยู่ครั้งละ 4 เดือน-ปลาอยู่ครั้งละ 1 ปี
จะทำนา รถไถ-รถดำ-รถเกี่ยว ต้องเข้าทำงาน ถ้าพื้นที่งานมีบ่อขวางอยู่ จะทำยังไง ?
เพราะฉะนั้น หากจะทำทั้งนาข้าวทั้งบ่อปลาในที่เดียวกันก็ต้องแยกกัน ให้เครื่องจักรลงทำงานได้

ถือเป็นเรื่องดี มิติเก่าเอามาปัดฝุ่นใหม่ ข้าวกับปลาปลากับข้าว ข้าวพลาดปลาอยู่ข้าวอยู่ปลาพลาด เป็นตัวตายตัวแทนกัน สบายคนเลี้ยงข้าวปลูกปลา .... งานนี้วางแผนการใช้พื้นที่ให้ดี ทำดีทำถูกต้อง นอกจากทำครั้งเดียวอยู่ได้นานตลอดชีวิตแล้ว ยังเป็นมรดกให้ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า แถมสร้างมูลค่าที่ดินให้เพิ่มขึ้นอีกด้วยแน่ะ

เลี้ยงปลาในนาข้าว มี 2 รูปแบบ คือ
1. มีร่องน้ำข้างคันนา กว้าง/ลึก/ยาว ตามความจำเป็นและเหมาะสม ให้เป็นที่อยู่ของปลา เริ่มปล่อยลูกปลาในร่องนี้ .... ต่อมาให้มีต้นข้าวในแปลงนา (หว่าน/ดำ) ระยะแตกกอยังไม่มีน้ำในแปลงนา ปลาจะไปอยู่ในร่องข้างคันนา ต้องรอให้ต้นข้าวสูงครึ่งหน้าแข้ง (น้ำลึก 20 ซม.) จึงปล่อยน้ำเข้า แล้วปล่อยให้ปลาแหวกว่ายไปมาระหว่างในดงต้นข้าวกับร่องน้ำข้างคันนา .... ขณะที่มีปลาอยู่ ในนาต้องมีน้ำตลอดเวลา ต้นข้าวก็จะสูงเรื่อยๆตามธรรมชาติของต้นข้าว ว่ากันตั้งแต่ระยะ แตกกอทั้งท้อง-ออกรวง-น้ำนม รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 3 เดือน เมื่อถึงเวลาจะเกี่ยวข้าวก็ต้องเอาน้ำออกก่อนวันเกี่ยว 10-15 วัน ให้หน้าดินแห้งรถเกี่ยวลงทำงานได้ ช่วงไม่มีน้ำในแปลงข้าวนี้ ปลาจะไปอยู่ในร่องข้างคันนาแทน เกี่ยวข้าวเสร็จก็ต้องรีบทำนารอบใหม่ แล้วเติมน้ำใหม่เพื่อให้มีน้ำสำหรับปลา.... อายุปลาตั้งแต่เริ่มปล่อยถึงโตจนจับ (ปลาเล็ก) ได้ประมาณ 8 เดือน ถ้าจะเอาปลาใหญ่ ก็จะต้องทำนาข้าวซ้ำ 3-4 รุ่น

ปัญหา คือ :
- การควบคุมปลาจากแปลงข้าวไปร่องน้ำ หรือจากร่องน้ำมาแปลงข้าว .... ทำยังไง ?
- ต้นข้าวสูงทะลึ่งน้ำ ต้นล้มรถเกี่ยวทำงานยาก ให้ผลผลิตน้อย ........... เพราะอะไร ?
- เลี้ยงปลาให้เป็นปลาใหญ่ ค่อนข้างยากเพราะต้องใช้ระยะเวลานาน ...... คุ้มกันเหรอ ?
- ทำกิจกรรมร่วม (เลี้ยงเป็ด เลี้ยงกบ เลี้ยงไก่บนบ่อปลา) ไม่ได้ .......... ไม่เอาเหรอ ?

2. ขุดสระขนาด 2 ไร่ ลึก 50 ซม.- 1 ม.ในแปลงข้าว สำหรับให้ปลาอยู่เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ บรรดาปัญหาเลี้ยงปลาในแปลงข้าวทุกปัญหาจะหมดไปอย่างสิ้นเชิง นอกจากนั้น ยังมีโอกาสเปลี่ยนนาข้าวไปปลูกถั่วไร่ (ไม่มีน้ำ) ขายผลผลิตแล้วไถกลบเศษซากต้นถั่วบำรุงดินได้อีกด้วย .... นอกจากปลาแล้ว ยังมีกิจกรรมเกษตรอย่างอื่น เช่น ปลูกผักบนคันบ่อ/คันนา เลี้ยงเป็ดริมบ่อ เลี้ยงกบกระชังในบ่อ ให้เลือกทำได้อีก

เกษตรผสมผสาน เนื้อที่ 20 ไร่ :
- ขุดสระ 2-4 ไร่ กิจกรรมร่วมกับน้ำ (ปลา ไก่ กบ เป็ด)
- ผักสวนครัว บนคันบ่อ/บนคันนา
- ทำนาข้าวแบบพันธะสัญญา (ขายข้าวปลูก แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม ผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่อง)

ไม่มีความยากจนในหมู่ของคน ขยัน+ฉลาด คิดเป็น-ทำเป็น-ขายเป็น มีแต่รวยกับรวยและรวยกับรวย .... แต่ถ้า ขยัน+ไม่ฉลาด คิดไม่เป็น ทำไม่เป็น ขายไม่เป็น ก็รวยแต่รวยเละ

งานนี้ระวังอย่างเดียว ขะโมยกลุ่มเพลี้ยปั๊คอั้พ !



http://www.eto.ku.ac.th/neweto/e-book/fish/planakow.pdf
ก า ร เ ลี้ ย ง ป ล า ใ น น า ข้ า ว

http://agrimedia.agritech.doae.go.th/book/book-others/OU019.pdf
ก า ร เ ลี้ ย ง ป ล า ใ น น า ข้ า ว
-------------------------------------------------------------------

ความรู้เรื่องปลาสลิด :
การเลี้ยงปลาสลิด :

ปลาสลิดหรือปลาใบไม้เป็นปลาน้ำจืด ซึ่งเป็นปลาพื้นบ้านของประเทศไทย มีแหล่ง กำเนิดอยู่ในที่ลุ่มภาคกลาง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster pectoralis และนิยมเลี้ยงกันมากบริเวณภาคกลาง ส่วนที่พบในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ นั้น เป็นพันธุ์ปลาที่ส่งไปจากเมือง ไทย เมื่อประมาณ 80-90 ปีที่ผ่านมา และเรียกว่าสยาม หรือเซียมสำหรับแหล่งปลาสลิดที่มีชื่อเสียเป็นที่รู้สักว่ามีรสชาติดี เนื้ออร่อย คือ ปลาสลิดบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ แต่ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมได้ขยายตัวอย่างแพร่หลายทำให้น้ำธรรมชาติที่จะระบายลงสู่บ่อเลี้ยงปลาสลิดมีคุณสมบัติไม่เหมาะสม

ส่วนพื้นที่ดินพรุทางภาคใต้ในเขตจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นดินเปรี้ยว ใช้เป็นที่เลี้ยงปลาสลิดได้ เพราะปลาสลิดเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย อดทนต่อความเป็นกรด และน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนน้อยได้ดี มีห่วงโซ่อาหารสั้น คือ กินแพลงก์ตอนเป็นอาหารต้นทุนการผลิตต่ำ โดยจะเลี้ยงอยู่ในนา คนเลี้ยงปลาสลิดเรียกว่า ชาวนาปลาสลิด และบ่อเลี้ยงปลาสลิดเรียก แปลงนาปลาสลิดหรือล้อมปลาสลิด กรมประมงจึงได้ส่งเสริมให้เลี้ยงปลาสลิดในพื้นที่จังหวัดอื่น เช่น สมุทรสาคร เพื่อเพิ่มผลผลิตให้มีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภค และส่งเป็นสินค้าออกในรูปผลิตภัณฑ์ปลาสลิดเค็มตากแห้ง

อุปนิสัย :

ปลาสลิดชอบอยู่ในบริเวณทีมีน้ำนิ่ง เช่น หนอง บึง ตามบริเวณที่มีพันธุ์ไม้น้ำ เช่น ผักและสาหร่าย เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยกำบังตัวและก่อหวอดวางไข่ เนื่องจากปลาชนิดนี้โตเร็วในแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอาหารพวกพืช ได้แก่ สาหร่าย พืชและสัตว์เล็ก ๆ จึงสามารถนำปลาสลิดมาเลี้ยงในบ่อและนาข้าวได้เป็นอย่างด

รูปร่างลักษณะ :

ปลาสลิดมีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ แต่ขนาดโตกว่า ลำตัวแบนข้างมีครีบ ท้องยาวครีบเดียว สีของลำตัวมีสีเขียวออกเทาหรือมีสีคล้ำเป็นพื้น และมีริ้วดำพาดขวางตามลำตัวจากหัวถึงโคนหาง เกล็ดบนเส้นข้างตัวประมาณ 42-47 เกล็ด ปากเล็กยืดหดได้ ปลาสลิดซึ่งมีขนาดใหญ่เต็มที่จะมีความยาวประมาณ 20 ซม.

ในปัจจุบันการเลี้ยงปลาสลิดเป็นอาชีพเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายทั้งนี้เพราะปลาสลิดมีราคาดีสำหรับการเลี้ยงปลาสลิดที่นิยมกันจำแนกได้ เป็น 4 ประเภท ดังนี้

การเลี้ยงปลาในบ่อ :

เป็นการดัดแปลงบ่อเดิมที่เป็นบ่อล่อปลา มาเป็น บ่อเลี้ยงปลาแบบถาวรขนาดบ่อก็ไม่แน่นอน ส่วนความลึกก็อยู่ประมาณ 1.5-2.5 ม.

การเลี้ยงแบบรวมหรือแบบผสม :
เป็นการเลี้ยงปลาสลิดร่วมไปกับการเลี้ยงปลาชนิดอื่นๆ โดยเลือกปลาที่กินอาหารตามความลึกต่างระดับกันหรือกินอาหารคนละประเภท โดยมีผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งการเลี้ยงแบบนี้ จะมีอัตราส่วนการปล่อยปลา ดังนี้

ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาสลิด ปลาช่อน ...... อัตรา 4:4:1:1 ปล่อย 11 ตัว / ตร.ม.
ปลานิล ปลาสลิด ปลาช่อน .................... อัตรา 6:4:1 ปล่อย 11 ตัว / ตร.ม.
ปลานิล ปลาใน ปลาสลิด ...................... อัตรา 5:2:3 ปล่อย 3 ตัว / ตร.ม.

การเลี้ยงปลาในร่องสวน :
เป็นการใช้เนื้อที่สวนให้เกิดประโยชน์โดยการเลี้ยงปลาในร่องซึ่งร่องก็จะมีขนาดแตกต่างกันไปตามความต้องการ ของผู้เลี้ยงโดยทั่วไปจะมีขนาดกว้าง 2-3 ม. ลึก 1.5 ม. ความยาวไม่จำกัด

การเลี้ยงปลาในนาข้าว :

ควรเลี้ยงปลาสลิดในนาที่สามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 4-6 เดือน และต้องมีน้ำขังอย่างน้อย 30 ซม. ตลอดฤดูทำนา เหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นที่นาตั้งแต่ 5ไร่ขึ้นไป มิฉะนั้นจะไม่คุ้มการลงทุน เพราะต้องทำคันนาให้สูงกว่าเดิม 50 ซม แล้วขุดคูรอบคันนากว้างประมาณ 80 ซม. เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของปลา และควรมีบ่อรวมปลาอยู่มุมหนึ่งมุมใดของนา โดยให้มีขนาดกว้าง 3-5 ม. ยาว 6 ม. ลึก 1.5 ม. ซึ่งการปล่อยปลาเมื่อได้ไถคราด และดำนาไปแล้ว 10 วัน จึงปล่อยปลาได้ สำหรับปลาสลิดที่ปล่อยขนาด 5-7 ซม. อัตราการปล่อย 500 ตัว/ไร่

การเลี้ยงปลาในนาปลา :

การเลี้ยงแบบนี้เป็นการดัดแปลงจากการเลี้ยงปลาในนาข้าวเป็นการเลี้ยงปลาลิดอย่างเดียวไม่มีการปลูกข้าว โดยเริ่มเลี้ยงที่ จ.สมุทรปราการซึ่งก็มีเหตุผลมาจากการปลูกข้าว ต้องใช้ทุนสูงจึงได้หันมาเลี้ยงปลาอย่างเดียวการเลี้ยงปลาแบบนี้ควรมีพื้นที่ตั้งแต่ 5-10ไร่ขึ้นไป และต้องเสริมคันนาให้สูงกว่าระดับเดิม 50 ซม. กว้าง 2 ม.

http://www.fisheries.go.th/sf-naratiwas/salid.html
-------------------------------------------------------

เทคโนประมง :

ทะนุพงศ์ กุสุมา ณ อยุธยา

ปลาสลิดในนาข้าว ภูมิปัญญาสร้างอาชีพ ของ ปัญญา โตกทอง ที่อัมพวา :

ปี 2537 เป็นปีแรกที่ คุณปัญญา โตกทอง เกษตรกรแห่งจังหวัดสมุทรสงคราม ได้ตัดสินใจเริ่มต้นการประกอบอาชีพเลี้ยงปลาสลิดในนาข้าว และได้กลายเป็นก้าวสำคัญของความสำเร็จในวันนี้

วันนี้กล่าวได้ว่า เขาคือ เกษตรกรหัวก้าวหน้าที่ประสบความสำเร็จในอาชีพ และได้กลายเป็นแบบอย่างแก่เพื่อนเกษตรกร โดยล่าสุดได้รับการคัดเลือกเป็น Smart Farmer ต้นแบบของจังหวัดสมุทรสงคราม

สำหรับ Smart Farmer เป็นนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ต้องการพัฒนาเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง หรือ Smart Farmer ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความภูมิใจในการเป็นเกษตรกร มีความรอบรู้ในระบบการผลิตด้านเกษตรของแต่ละสาขาอาชีพ อีกทั้งยังมีความสามารถในเชิงวิเคราะห์ เชื่อมโยงในการบริหารจัดการการผลิตและการตลาด ทั้งนี้ จะมี Smart Officer ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของทุกหน่วยงานช่วยขับเคลื่อนให้ Smart Farmer ทำงานด้วยความคล่องตัว

ทั้งนี้ การคัดเลือก Smart Farmer ดำเนินการโดยสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดได้คัดกรองเกษตรกรจากทุกอำเภอ จำนวนทั้งสิ้น 12,263 ราย แบ่งการคัดกรอด้วยการแยกอำเภอ แยกอาชีพ และคุณสมบัติต่างๆ ที่กำหนดไว้ และมีเกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์ต่างๆ จนได้เป็น Smart Farmer จำนวน 1,433 ราย คิดเป็น 12% ของเกษตรกรทั้งหมด

สำหรับการคัดเลือก Smart Farmer ต้นแบบดำเนินการใน 3 สาขาอาชีพ ได้แก่ ด้านพืช (เกษตรผสมผสาน), ด้านประมง และด้านปศุสัตว์ สาขาละ 1 ราย รวม 3 ราย

คุณวิโรจน์ ชลวิริยะกุล เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวว่า ในอำเภออัมพวามีเกษตรกรที่เลี้ยงปลาสลิดอยู่ 304 ราย มีพื้นที่เลี้ยงทั้งหมด 5,892.35 ไร่ มีปริมาณผลผลิต 1,666.39 ตัน และมีมูลค่า 77.68 ล้านบาท

เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม เปิดเผยว่า คุณปัญญา โตกทอง นับเป็นเกษตรกรที่มีความเหมาะสมที่สุดทางด้านประมง ทั้งนี้ เพราะเขาเลี้ยงปลาสลิดด้วยการจัดโซนนิ่ง โดยใช้พื้นที่ทำนาเลี้ยงปลา แล้วยังมีองค์ความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาสลิดแบบอินทรีย์ที่ใช้ธรรมชาติด้วยการตัดหญ้าเป็นอาหารปลา จนทำให้มีรายได้ดี ทั้งที่ก่อนหน้านี้เคยพบปัญหาและอุปสรรคเรื่องระบบน้ำที่เปิดเข้า-ออก ระหว่างน้ำเค็มและน้ำจืด เนื่องจากในพื้นที่ของจังหวัดมีการทำเกษตรทั้งการเลี้ยงกุ้ง และปลูกพืช

กระทั่ง คุณปัญญา ได้ทำหน้าที่เป็นแกนหลักของกลุ่มชาวบ้านในการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นร่วมกับทาง สกว. ในการจัดรูปแบบการจัดการน้ำในคลองตำบลแพรกหนามแดง เพื่อแก้ไขปัญหาระบบการเปิด-ปิด ประตูระบายน้ำ และในปัจจุบันได้แก้ไขเรียบร้อยแล้ว

ส่วนหนึ่งของความสำเร็จในครั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่ คุณปัญญาได้ทำงานร่วมกับ สกว. ทำให้เขาได้เรียนรู้กระบวนการของแนวคิด ที่ต้องนำข้อมูลจากการจดบันทึกมาวิเคราะห์ก่อนตัดสินใจ นอกจากความโดดเด่นในการเลี้ยงปลาสลิดแล้ว เขายังสามารถเป็นต้นแบบให้เกษตรกรรายอื่นได้" คุณวิโรจน์ กล่าว

เริ่มจากไม่รู้ ทำตามเพื่อนบ้าน :

อาชีพดั้งเดิมของคุณปัญญาคือ การช่วยพ่อ-แม่เลี้ยงกุ้งในนามาก่อน กระทั่งมีครอบครัวจึงแยกออกมาทำเอง แต่ไม่นานอาชีพนี้เกิดปัญหาขึ้นและกระทบกับรายได้ของครอบครัว จนทำให้จำเป็นต้องหยุดทันที เพื่อป้องกันภาระหนี้สิน

แต่แล้ว ในปี 2537 คุณปัญญา ตัดสินใจมาตั้งต้นใหม่ด้วยการเลี้ยงปลาสลิดในพื้นที่นาข้าว จำนวน 30 กว่าไร่ ทั้งๆ ที่ตัวเขาเองไม่มีความรู้ด้านนี้มาก่อนเลย เพียงแต่ทำตามเพื่อนบ้าน

ความด้อยประสบการณ์ และขาดความรู้ ความชำนาญ จึงทำให้การออกสตาร์ทอาชีพเลี้ยงปลาสลิดของคุณปัญญาดูไม่ดีนัก ทั้งนี้เพราะเพียงปีแรกเขาทำได้เพียง 5 หมื่นบาทเท่านั้น ถือว่าขาดทุนและเสียเวลามาก

จากบุคลิกและนิสัยที่มีความมุ่งมั่น ทุ่มเท พร้อมกับความเชื่อมั่นในตัวเอง ส่งผลให้คุณปัญญาเร่งสะสมประสบการณ์และเรียนรู้วิธีการเลี้ยงปลาสลิดหลายอย่าง จนเมื่อเข้าปีที่ 3 ทำให้เขามีรายได้เพิ่มขึ้นและมองเห็นตัวเลขกำไรบ้าง ซึ่งในตอนนั้นมีรายได้ปีละ 3 แสนกว่าบาท ที่เป็นเช่นนั้นเพราะได้เรียนรู้วิธี และแนวทางการเลี้ยงปลาที่ถูกต้อง และสามารถลดต้นทุนได้

เหตุผลที่ประสบความสำเร็จและมีเงินเหลือ เพราะใช้วิธีการเลี้ยงแบบธรรมชาติ ด้วยการฟันหญ้าให้ปลาเป็นอาหาร พอเข้าปีที่ 4 เป็นต้นมา รายได้ชักเพิ่มขึ้น เป็นปีละ 6 แสนกว่าบาทไปจนถึง 2 ล้านกว่าบาท จนถึงในปัจจุบันนี้

ความสำเร็จที่เกิดขึ้น คุณปัญญา บอกว่าไม่ได้มาจากประสบการณ์ที่เรียนรู้มาด้วยตัวเองเพียงอย่างเดียว แต่หากถ้าเขาไม่ได้ถูกอบรมบ่มเพาะนิสัยการจดบันทึกสถิติข้อมูลการเลี้ยงปลาสลิดทุกวัน จากทาง สกว. แล้ว วันแห่งความสำเร็จเช่นนี้คงไม่เกิดขึ้น

คุณปัญญา เล่าว่า อาชีพการเกษตรในจังหวัดสมุทรสงครามมีการใช้น้ำจืดและน้ำเค็ม จึงเกิดปัญหาการใช้น้ำในพื้นที่ทำการเกษตรของเกษตรกร แล้วสร้างความเสียหายต่อผลผลิต ดังนั้น ปัญหาดังกล่าวจึงถูกนำมาแก้ไขบนโต๊ะเจรจาและมี สกว. เป็นหน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือ

กระทั่งในที่สุดทุกอย่างจบลงด้วยการที่ชาวบ้านในตำบลแพรกหนามแดงได้ประตูระบายน้ำบานใหม่ที่ถูกพัฒนารูปแบบและการทำงานที่ได้มาตรฐาน อีกทั้งยังสามารถเอื้อประโยชน์โดยตรงกับเกษตรกรทุกกลุ่มอาชีพ

เลี้ยงอย่างไร ? :

คุณปัญญา บอกว่า เขาใช้เนื้อที่นา จำนวน 30 ไร่ เพื่อเลี้ยงปลาสลิด โดยจะมีร่องล้อมรอบ และแต่ละร่องมีความกว้าง 1.5-2 ม. ความลึก 1-1.2 ม. คันบ่อไม่ควรให้น้ำท่วมถึง และสามารถเก็บกักน้ำได้ในระดับ 50-70 ซม. บ่อมีลักษณะสี่เหลี่ยม ทำประตูน้ำไว้เข้า-ออก

ที่มุมหนึ่งของแปลงนา ให้สร้างเป็นนาหรือบ่อขนาดเล็ก มีพื้นที่ 10% ของแปลงนาทั้งหมด ไว้สำหรับใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์และปล่อยให้ปลาสลิดผสมพันธุ์วางไข่ อีกทั้งยังต้องขุดบ่อพักเลน ขนาด 50 ตร.ว. และบ่อขังปลา

บนพื้นที่นาต้องปล่อยให้หญ้าขึ้นหนาแน่น เพื่อให้เป็นที่ก่อหวอดและวางไข่ของปลาสลิด และควรรักษาระดับน้ำให้สูง 30-50 ซม. ตลอดระยะเวลาการเลี้ยง

แต่ที่สำคัญในบ่อเลี้ยงต้องมีหญ้า เพราะหญ้ามีความสำคัญและประโยชน์ต่อการอยู่อาศัยของปลาสลิดมาก โดยใช้เป็นที่กำบังลมและฝนของหวอดไข่ปลา เป็นที่หลบภัยของลูกปลาวัยอ่อนจากศัตรู เป็นปุ๋ยสำหรับก่อให้เกิดอาหารธรรมชาติของพวกแพลงตอนและสัตว์หน้าดิน เป็นกำบังป้อง กันไม่ให้อุณหภูมิบนแปลงนาร้อนจนเกินไป เมื่อมีแสงแดดจัด และการหมักหญ้าในนาก่อนเพาะฟัก ประมาณ 2-3 สัปดาห์ จะช่วยแก้ปัญหาความเป็นกรดของน้ำได้

เจ้าของบ่อปลาสลิดให้รายละเอียดว่า การให้อาหารปลาสลิดที่เลี้ยงมี 2 แบบ คือใช้หญ้าอ่อนที่มีอยู่ตามธรรมชาติ โดยจะฟันหญ้าอ่อนให้ปลาสลิด ที่มีอายุราว 20 วัน ให้กินทุก 15 วัน ไปจนเมื่อปลาอายุได้สัก 4 เดือน

กระทั่งเหลือแต่หญ้าแก่ที่ลอยน้ำ จึงให้นำหลักไม้ปักเป็นจุดเพื่อให้หญ้าแก่รวมกันเป็นกอ ครั้นพอสักเดือนจะมีหญ้ารุ่นใหม่แตกขึ้นมา จากนั้นจึงพลิกกอหญ้าเพื่อให้หญ้าอ่อนจมน้ำเป็นอาหารปลาอีกครั้ง

พอปลาอายุสัก 3 เดือน จะเริ่มให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปควบคู่ไปด้วย โดยทำยอเป็นที่ให้อาหาร ปักยอให้ทั่วบ่อ สำหรับบ่อที่ใช้เลี้ยงอยู่จำนวน 30 ไร่นี้ ทำยอได้ 400 จุด ให้อาหารในอัตรา 2% ของน้ำหนักตัว ให้เพียงวันละครั้งตอนเช้า สำหรับอาหารเม็ดสั่งมาคราวละ 300-400 กระสอบ และสั่งทุก 15 วัน

พอช่วงบ่ายจะออกตรวจดูตามจุดต่างๆ เพื่อดูว่าจำนวนอาหารในแต่ละวันเหมาะสมเพียงใด เพราะถ้าวันใดมากไปอาหารเหลือจะลด ทั้งนี้ เพื่อลดต้นทุนและป้องการน้ำเสีย แต่ถ้าวันใดอาหารหมดเกลี้ยง พอวันรุ่งขึ้นจะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้จะมีการสุ่มน้ำหนักและขนาดของปลา พร้อมจดบันทึกไว้ทุก 15-20 วัน จนกว่าจะจับขาย"

คุณปัญญา ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า จำนวนอาหารเม็ดที่ใช้ คือ ปลา 1 กก. ใช้อาหารประมาณ 1.6-1.7 กก. อันนี้เป็นอัตราการแลกเนื้อ เพราะถ้าทำอัตราการแลกเนื้อได้ต่ำแล้วจะทำให้มีกำไรสูง ตรงนี้สำคัญและต้องใส่ใจมาก บางรายยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า อัตราแลกเนื้อคืออะไร

อย่างไรก็ตาม การเตรียมอาหารโดยการตัดหญ้าจะให้ผลล่าช้า คือ จะต้องใช้เวลานานกว่า 7 วัน ดังนั้น จึงมีการใส่ปุ๋ยคอกควบคู่ไปกับการตัดหญ้าด้วย โดยใส่ทุกวัน วันละ 2.5 กก. /ไร่ วิธีนี้จะช่วยให้เกิดอาหารในปริมาณมากและเร็วภายในเวลาเพียง 3 วัน ผลผลิตที่ได้ก็สูงกว่าการเลี้ยงแบบไม่ ใส่ปุ๋ย

สำหรับความสมบูรณ์ของอาหารธรรมชาติในนาปลานั้น ให้สังเกตดูน้ำว่าเป็นสีเขียวขุ่น โดย จุ่มมือลงไปประมาณแค่ข้อศอก ถ้ายังเห็นมืออยู่ในน้ำ ก็แสดงว่ายังใช้ไม่ได้ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะ อาหารตามธรรมชาติไม่เพียงพอ จึงควรตัดหญ้าหรือใส่ปุ๋ยเพิ่มลงไปอีก แต่ถ้ามองเห็นมือลางๆ นั่น แสดงว่าน้ำมีความสมบูรณ์สูง

ปลาสลิดมีนิสัยชอบกินอาหารเป็นจุดเป็นที่ นิสัยรักความสงบ น้ำนิ่ง น้ำเรียบ และน้ำทึบ ปลาสีขาวอยู่น้ำขาว และปลาสีดำอยู่น้ำดำ ปลาสลิดชอบอยู่ในน้ำที่มีสีแดงทึบ เขียวทึบ และดำทึบ แต่สีเขียวชอบมากที่สุด ดังนั้น จึงต้องสั่งปุ๋ยมาใส่ในบ่อจำนวนกว่าหมื่นลิตรเพื่อทำให้น้ำมีสีเขียว

เลี้ยง 9 เดือน จับขาย :

คุณปัญญา บอกว่า ปลาสลิดที่จับขายส่วนมาก มีขนาด 7-8 ตัว /กก. ซึ่งเป็นปลาที่ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 9 เดือน เขาบอกว่าจะมีพ่อค้าจากจังหวัดสมุทรปราการ มาเหมาเป็นรายใหญ่ นอกจากนั้น อาจมีรายอื่นแถวสุพรรณบุรี บ้านแพ้วมาร่วมด้วย

คุณปัญญาบอกรายละเอียดถึงวิธีการจับปลาขายว่า ควรใช้วิธีเปิดอวนออกเพื่อไม่ให้ปลาช้ำและมีน้ำหนักดี แต่ถ้าปลาขึ้นระหัดจะทำให้เสียเลือด และเสียน้ำหนัก เกล็ดปลาหลุด ปลาช้ำ มีเกษตรกรหลายรายใช้วิธีวิดปลาขึ้นแผง แต่ผมใช้วิธีเปิดออกและเป็นวิธีเดียวกับการเลี้ยงกุ้ง

เจ้าของบ่อปลาสลิดบอกต่อว่า อวนที่ใช้ดักปลาต้องมีขนาดยาวพอที่จะไม่ทำให้ปลาช้ำหรือตาย ควรระวังไม่ให้น้ำแห้งเร็วเกินไป ควรให้น้ำแห้งพื้นลาดในช่วงกลางวัน เพื่อปลาจะได้ลงร่องคันนาได้หมด และเมื่อน้ำไม่สามารถไหลลงได้แล้วจึงใช้ระหัดวิดออก และควรหาอวนล้อมรอบเพื่อไม่ให้ปลาติดระหัดขึ้นมาจนเวลาน้ำใกล้แห้งจึงนำอวนที่ใช้ล้อมไว้ออก แล้วจึงเริ่มเดินระหัดวิดน้ำเพื่อรวบรวมปลา ควรจับปลาให้เสร็จภายในวันเดียว เพราะภายหลังน้ำลดปลามักไม่กินอาหาร จึงอาจทำให้มีน้ำหนักลดลง

ถามว่า รู้หรือไม่ว่า จำนวนปลาในบ่อมีเท่าไร ต้องบอกว่ารู้จำนวนแน่นอนจากอาหารที่ให้ เพราะปลาหนัก 1 ตัน ใช้อาหารปริมาณ 20 กก. อย่างตอนนี้ใช้อาหารวันละ 500 กก. ดังนั้น มีปลาจำนวน 3.5-3.7 แสนตัว หรือประมาณ 25 ตัน คาดว่าเมื่อถึงเวลาขึ้นปลาน่าจะได้สัก 40 ตัน หรือไม่เกิน 4.2 หมื่น กก การที่สามารถกำหนดวันที่ได้แน่นอน เพราะมีการจดบันทึกรายละเอียดไว้ทุกอย่าง

คุณปัญญา มีคำแนะนำสำหรับผู้ที่กำลังเลี้ยงปลาสลิดหรือมีแผนจะเลี้ยงว่าการเก็บปลาสลิดไว้มากหรือน้อย ผู้เลี้ยงจะต้องดูความเหมาะสมในเรื่องทุนด้วยว่าจะไหวหรือไม่ เพราะหากต้นทุนไม่มาก ควรเก็บไว้สักไร่ละ 5 พันตัวก็พอ เพราะการมีปลามากต้องให้โปรตีนสูงซึ่งทำให้ต้นทุนสูงตามไปด้วย

ที่ผ่านมาพบว่า มีเกษตรกรบางรายที่ประสบปัญหาทำไม่ไหว เพราะไม่พิจารณาตัวเองให้ดีเสียก่อน กล้าเสี่ยงเกินไป หรือบางรายก็ทำตามกันโดยไม่ดูตัวเอง แต่สิ่งที่ข้อย้ำและละเลยไม่ได้คือการจดบันทึกและการสังเกต เพราะเมื่อใดที่เกิดปัญหาขึ้นสามารถย้อนกลับไปดูรายละเอียดในข้อมูลที่บันทึกไว้ได้

หากสนใจ สอบถามข้อมูลวิธีเลี้ยงปลาสลิดจาก คุณปัญญา โตกทอง ได้ที่โทร. (083) 706-6006. (083) 706-6006

http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05094011156&srcday=&search=no

----------------------------------------



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/06/2018 11:41 am, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
DangSalaya
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011
ตอบ: 1864

ตอบตอบ: 09/12/2015 11:32 pm    ชื่อกระทู้: ว่าด้วยการเลี้ยงปลาในนาข้าว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
สวัสดีครับลุงคิม ... และเพื่อนสมาชิกทั้งที่มีหนี้ และไม่มีหนี้ทุกท่าน

ว่าด้วยการเลี้ยงปลาในนาข้าว

คนไม่บ้าไม่กล้าทำ.....

ไปดูรูปการเลี้ยงปลาในนาข้าว กันดีกว่าครับ
(ขอขอบคุณภาพจากอาจารย์ประพันธ์ พงษ์ภู่ และ Kaijeaw.comมา ณ ที่นี้ด้วย)

ขอบอก....นาข้าวของ อาจารย์ประพันธ์ ฯ เป็นนาหยอด ใช้บังคับการหยอดด้วย รีโมทคอนโทรลควบคุมการหยอด....ซึ่งอาจารย์บอกไว้ว่า ใช้ข้าวเปลือกประมาณไม่เกิน 5 กิโลกรัมต่อไร่...


(1)

(2)
(1–2) เป็นการเลี้ยงปลาในนาข้าว....เห็นแล้วจะบ้าตาย นี่แหละครับ คนไม่บ้า ไม่กล้าทำ...ข้าวขึ้นเรียงเป็นแถว..สุดจะงาม ขึ้นเสมอกันดีจังเลย แล้วก็ดูปลาซีครับ.....น้ำใสไหลเย็นเห็นตัวปลา แหวกว่ายไปมาแบบสุขสำราญสบายใจแน่นขนัดไปหมด..... ที่เห็นแหวกว่ายอยู่นี่....เงินแสนมองเห็น ๆ ....แบบนี้แม้นาจะล่ม หรือข้าวราคาจะถูก....ไม่ต้องขาย เกี่ยวแล้ว เก็บเอาไว้เลี้ยงปลาสบายแฮ...

ส่วนเรื่องการทำนาต้องเปลี่ยนพฤติกรรมของชาวนาครับ เพราะสมัยนี้ส่วนมากที่เห็นเป็นชาวนามือถือเล่น Line เล่น Face ครับ

จำไว้นะครับ..
ข้าวเปลือก 1 กิโลกรัมมีประมาณ 40,000 เมล็ด
ข้าว 1 เมล็ด ปลูกแล้วส่วนมากจะได้ 15 รวง
ข้าว 1 รวงส่วนมากจะได้ข้าว 100 เมล็ด
ฉะนั้นปลูกข้าว 1 เมล็ดได้ข้าว 1,500 เมล็ด
เมื่อข้าวปลูก 40,000 เมล็ดหรือ 1 กิโลกรัมจะได้ผลผลิต
40,000 × 1,500 / 40,000 = 1,500 กิโลกรัมหรือ 1 เกวียนครึ่ง



อาจได้ประมาณ 1 เกวียน ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ดี แล้วทำไมที่ทำ ๆ กันน่ะ ได้ข้าวไม่ถึงเกวียนก็มี

.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©