ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 23/04/2010 9:15 pm ชื่อกระทู้: ฮอร์โมนพืช |
|
|
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับฮอร์โมนพืช (Fundamental of Plant Hormones)
ในระหว่าง 10 ปีที่ผ่านมานี้ จะเห็นได้ว่าชาวสวนมีความตื่นตัวรวมทั้งในหมู่นักวิชาการทางด้านการเกษตรเองที่ได้หันมามุ่งเน้นการศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มของสารที่เรียกว่า ฮอร์โมน กันอย่างกว้าวขวาง รวมทั้งชาวสวนเองก็ได้พยายามติดตามเพื่อเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่องด้วยตนเองเพื่อใช้สำหรับในการควบคุม บังคับพืชที่ปลูกให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการและเป็นการเพิ่มผลผลิตด้วย เช่น การบังคับให้มีการออกดอกก่อนฤดูการผลิตหรือบังคับให้มีการออกนอกฤดูกาลของการผลิตเพื่อหลีกเลียงปัญหาในด้านราคาที่ตกต่ำ หรือต้องการให้จำหน่ายได้ราคาสูงขึ้น จนทำให้มีแนวความคิดไปในทางที่ว่า ฮอร์โมนนั้นเป็นสารเทวดา สามารถกระทำอะไรก็ได้ อย่างไรก็ตามหากได้มีการศึกษาอย่างถ่องแท้เพื่อให้เข้าใจในเรื่องของสารฮอร์โมนแล้ว น่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักวิชาการและผู้ใช้ได้เป็นอย่างมาก
คำว่า ฮอร์โมน ได้ขอยืมมาจากทางสัตว์ ทำให้มีการอธิบายความหมายของคำนี้ไปในทิศทางเดียวกับฮอร์โมนในสัตว์ซึ่งมีส่วนที่ผิดออกไปจากทางฮอร์โมนพืชอยู่มาก ดังนั้น คำว่าฮอร์โมนพืช ซึ่งมักใช้ว่า Plant Hormones หรือ Phytohormones หรือ Plant Growth Substances ( คำว่า plant hormones นิยมใช้มากกว่า) นั่น คืออะไร ? สารที่เรียกว่า plant hormones นั้น คือสารอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้นมาในปริมาณเพียงเล็กน้อย ก็สามารถก่อให้เกิดกระบวนการทางสรีรวิทยา ( physiological Processes) ต่อการเจริญเติบโตของต้นพืช (plant growth and development) ได้โดยที่สารนี้มิใช่เป็นอาหารของพืชตามปกติ
สารฮอร์โมนพืชในธรรมชาติที่ค้นพบและเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 5 กลุ่ม อย่างไรก็ดี ยังมีการค้นพบสารกลุ่มใหม่ ๆ อีกหลายกลุ่ม แม้ว่าในปัจจุบันยังไม่ได้มีการรับรองเป็นสารฮอร์โมนพืชก็ตาม แต่หากมีหลักฐานจากผลการทดลองมากขึ้นมาสนับสนุนแล้วก็คิดว่าอาจมีสารฮอร์โมนพืชกลุ่มใหม่เกิดขึ้นในระยะอันใกล้นี้ค่อนข้างแน่นอน สารเหล่านี้ ได้แก่ กลุ่ม Polyamines และกลุ่ม Brassinolides หรือ Brassinosteroids การใช้สารฮอร์โมนพืชในขณะนี้ ส่วนใหญ่แล้วเป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นกว่า 90% มีเพียงส่วนน้อยที่มาจากธรรมชาติโดยตรง เช่น กลุ่ม gibberellins ซึ่งได้มาจากการเพาะเลี้ยงเชื้อรา Gibberella fujikuroi แล้วสกัดสารออกมา สารสังเคราะห์เหล่านี้เข้าไปมีบาทต่อ physiological process ของต้นพืชคล้ายคลึงกับสารฮอร์โมนพืชที่สร้างเองตามธรรมชาติ ดังนั้น การเรียกชื่อว่าเป็นฮอร์โมนพืชเพียงอย่างเดียวจึงไม่ถูกต้อง จึงได้เรียกกันใหม่ว่าเป็น สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช หรือ Plant Growth Regulators (PGR) ซึ่งคำว่า ควบคุม นี้ มีความหมายทั้งในด้านการเร่งและลดการเจริญเติบโตให้ไปในทิศทางที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม คนไทยยังนิยมเรียกกันว่า ฮอร์โมน อยู่
สารฮอร์โมนพืชทั้ง 5 กลุ่มที่ทั้งจากธรรมชาติและการสังเคราะห์ มีดังนี้
1. Auxins สารโดยธรรมชาติของกลุ่มนี้ได้แก่ IAA (Indole-3-acetic acid) สารนี้สังเคราะห์มาจาก amino acid tryptophan ในส่วนตายอด ใบอ่อน และเมล็ดที่กำลังพัฒนา มีการเคลื่อนย้ายจากยอดสู่โคน ( basipetal)
บทบาท
1. cell enlargement กระตุ้นให้มีการขยายเซลล์และการเติบโตของลำต้น
2. cell division กระตุ้นให้มีการแบ่งเซลล์ของ cambium
3. vascular tissue differentiation โดยเฉพาะ xylem และ phloem
4. root initiation ในส่วนของกิ่งปักชำและการแตกรากแขนง
5. tropistic response โดยชักนำให้โค้งงอต่อ gravity หรือแสง
6. apical dominace โดยกดดันมิให้ตาข้างเจริญ
7. delay leaf senescence
8 . inhobit or promote leaf and fruit abscission
9. induce fruit setting and growth
10. delay fruit ripening
11. promote flowering in bromeliads
12. promote femaleness in dioecious flowers
สาร auxins โดยทั่วไปในระดับความเข้มข้นต่ำแล้วมักมีผลส่งเสริมให้ด้านการเจริญเติบโตในทางตรงข้าม หากใช้ในระดับความเข้มข้นที่สูงมากขึ้นกลับมีผลในการยับยั้งการเจริญเติบโต ซึ่งมักใช้ในรูปของสารกำจัดวัชพืช ( herbicides) สารกลุ่มนี้อาจแบ่งย่อยตามลักษณะของโครงสร้างทางเคมีได้อีก 4 กลุ่มย่อยด้วยกัน ดังนี้
1. Indole group เป็นกลุ่มที่ประกอบด้วย indle ring อยู่ในโครงสร้าง มีเพียง IAA เท่านั้นที่มาจากธรรมชาติ นอกนั้นเป็นสารสังเคราะห์ขึ้นทั้งสิ้น รวมทั้งสารในอีก 3 กลุ่มด้วย เนื่องจาก IAA สลายตัวได้รวดเร็วมากในธรรมชาติ จึงไม่มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในด้านการเกษตร ดังนั้น จึงได้มีการสังเคราะห์สารที่มีลักษ
โดย: [03] (IP)
--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 1
ณะโครงสร้างคล้ายคลึงกัน คือ IBA (Indole-3-butyric acid) ซึ่งมีความคงทนมากกว่า สารในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ใช้สำหรับช่วยเร่งการออกรากของกิ่งปักชำหรือกิ่งตอน
2. Naphthyl group สารกลุ่มนี้มี naphtyl ring เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างที่รู้จักกันดี คือ NAA (alpha-naphthaleneacetic acid) ซึ่งเป็นสารที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยและมีราคาถูก ส่วนใหญ่ใช้ในการเร่งการออกราก การเปลี่ยนเพศในดอกเงาะ การใช้สำหรับปลิดดอกและผลอ่อน การเร่งการออกดอกในสับปะรด สารอีกชนิดหนึ่งในกลุ่มเดียวกัน คือ NOA ( B -Naphthoxyacetic acid) ซึ่งใช้ช่วยการติดผลของมะเขือเทศนอกฤดู
3. Phenoxy group สารกลุ่มนี้มี phenyl ring เป็นส่วนประกอบ ส่วนใหญ่ใช้ช่วยในด้านการติดผล เพิ่มขนาดผล ป้องกันการร่วงของผลก่อนเก็บเกี่ยว และใช้เป็นสารกำจัดวัชพืช ได้แก่ 4- CPA หรือ PCPA ( 4- Chlorophenoxyacetic acid หรือ para -Chlorophenoxyacetic acid); 2, 4- D ( 2, 4- Dichlorophenoxyacetic acid) และ 2, 4, 5- T ( 2, 4, 5- Trichlorophenoxyacetic)
4. Benzoic group สารกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย benzene ring ได้มีการใช้สาร TIBA ( 2, 5, 5- Triiodobenzoic acid) สำหรับในการเพิ่มมุมของง่ามกิ่งแขนงในมุมกว้างมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยลดปัญหาของการทำ training ให้กับต้นไม้ โดยใช้ในระยะที่ต้นมีอายุน้อย 1-2 ปี
2. Gibberellins Gas เป็นกลุ่มของสารที่มีโครงสร้าง ento -gibberrllane หรือบางครั้งเรียกว่า Gibbane ring เป็นกลุ่มของฮอร์โมนพืชที่พบในพืชชั้นสูงและเชื้อรา สารในกลุ่มนี้เท่าที่มีรายงานในปัจจุบันนั้นมีอยู่ด้วยกัน 72 ตัว คุณสมบัติของสาร GA คือ ช่วยให้เซลล์ยืดตัวอย่างมากซึ่งให้ผลมากกว่า auxin GA บางตัวให้ผลในการยืดเซลล์ได้มากในขณะที่บางตัวให้ผลน้อยหรือไม่ตอบสนองเลย แม้ว่า GA 3 หรือ biberellic acid ซึ่งเป็นสารที่สกัดได้จากเชื้อรานั้นจะเป็นตัวที่มีการใช้กันอย่างกว้างขวางมากที่สุด แต่สำหรับในพืชตัวที่สำคัญที่สุดน่าจะเป็น GA 1 นอกเหนือจากนี้แล้ว GA ตัวที่มีการใช้ในทางการเกษตรซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ GA 4 และ GA 7 หรืออาจอยู่ในรูปของ GA 4+7 GA นั้นมีการสังเคราะห์มาจาก mevalonic acid pathway ใน tissue ส่วนที่อ่อน โดยเฉพาะส่วนของปลายยอดและปลายราก และเมล็ดที่กำลังพัฒนา (developing seed)
บทบาท
1. กระตุ้นให้มี cell division และ cell hyperelongation
2. induce seed germination
3. flower inhibition or stimulate vegetative growth
4. induction of flowering (bolting) inlong day plants
5. stimulate fruit setting and growth
6. stimulate enzyme production โดยเฉพาะ a- amylase ในเมล็ดธัญพืชที่กำลังงอก
7. ชักนำให้เกิดความเป็นตัวผู้ ( maleness) ใน dioecious flowers
8. delay chlorophyll degradation (senescence)
3. Cytokinins สารกลุ่มนี้ใช้ช่วยให้มีการเพิ่มจำนวนเซลล์หรือช่วยในการแบ่งเซลล์ ( cell division) ได้เป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่แล้วใช้ในงานทางด้าน plant tissue culture เพื่อช่วยเพิ่มจำนวนของชิ้นส่วนให้มากขึ้น และยังช่วยในด้านของ vascular cell differentiation ของเนื้อเยื่อนั้นด้วย นอกจากนี้ สารกลุ่มนี้ยังช่วยละลอความแก่ (delay senescence) ของผักและผลไม้ด้วย (แต่ไม่อนุญาตให้ใช้ในทางการค้าหรือบริโภค) สารที่พบในกลุ่มนี้ตามธรรมชาติได้แก่ zeatin ส่วนสารสังเคราะห์ที่นิยมใช้ในทาง tyissue culter ได้แก่ kinetin และ 6- Benzylaminopurine เป็นต้น ในธรรมชาติพบสาร cytokinins นี้มีการสังเคราะห์ขึ้นที่ส่วนของปลายราก และในผล และเมล็ดที่กำลังพัฒนา (developing fruit and seed)
บทบาท
1. ช่วยเพิ่ม cell division
2. induce bud formation หรือช่วยให้มี morphogenesis
3. ช่วยให้ตาข้างมีการเจริญเติบโตหลุดพ้นจากอิทธิพลของ apical dominance
4. delay leaf senescence
5. ช่วยให้มีการเพิ่มปริมาณของ chloroplasts ส่งผลให้มีการสะสมปริมาณของ chlorophyll
4. Ethylene เป็นฮอร์โมนพืชเพียงตัวเดียวที่อยู่ในสภาพเป็นแก๊ส พืชสามารถสร้างแก๊สนี้ได้ในทุกส่วนของ tissue ที่มีชีวิตอยู่ การสร้าง ethylene นี้จะเริ่มมาจาก amino acid methionine โดยเฉพาะในสภาวะที่พืชมี stress หรือในระยะใกล้หมดอายุ (senescence) หรือในผลที่กำลังสุก (ripening) จะมีการสังเคราะห์ ethylene นี้ในระดับที่ค่อนข้างสูงมาก ดังนั้น ประโยชน์อันหนึ่งของสารนี้คือใช้สำ
โดย: [03] (IP)
--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 2
หรับการบ่มผลไม้ ethylene นี้ บางครั้งก็เรียกว่าเป็นฮอร์โมนที่ก่อให้เกิดความชราภาพ (senescing hormone) คือช่วยให้พืชแก่เร็วขึ้น ทำให้ดอกโรยเร็ว ดอก ผลอ่อน ผลแก่ และใบหลุดร่วง หรือช่วยให้เกิดการสร้างรอยแยก (abscission layer) ขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถช่วยให้พืชในวงศ์สับปะรด (family Bromeliaceae) ให้เกิดการออกดอกตามต้องการ เนื่องจากสารนี้อยู่ในสภาพที่เป็นแก๊ส การจะนำไปใช้กับพืชในแปลงปลูกจึงไม่สามารถกระทำได้ เพราะแก๊สจะ diffuse ไปในอากาศทุกทิศทุกทางอย่างรวดเร็ว โอกาสที่จะปฏิกิริยากับพืชยังไม่ทันที่จะเกิดขึ้น จึงได้มีการสังเคราะห์สารที่ชื่อว่า ethephon ขึ้นมา เมื่อสารนี้ดูดซึมเข้าไปในพืช จะค่อย ๆ สลายตัวและปลดปล่อย ethylene gas ออกมา นอกจาก ethylene แล้ว สารพวกถ่านแก๊ส ( calcium carbide) เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วจะสลายตัวและให้ acetylene gas ออกมา แก๊สนี้มีคุณสมบัติใช้บังคับให้สับปะรดออกดอกและใช้บ่มผลไม้ให้สุกได้เช่นเดียวกันกับ ethylene แต่มีประสิทธิภาพต่ำกว่า ethylene ประมาณพันเท่า
บทบาท
1. breaking dormancy
2. shoot and root growth differentiation (radial expansion)
3. adventitious root formatipon
4. induction of leaf, flower and fruit abscission
5. flower induction in bromeliads
6. induction of femeleness in dioecious flowers
7. induce flower and leaf senescence
8. inhibition of flowering in fruit trees
9. induce fruit ripening
10. stimulation of auxin synthesis
5. Abscisic acid สารนี้ที่พบในธรรมชาติมีการสังเคราะห์มาจาก mevalonic acid pathway เช่นเดียวกับ GA เป็นสารช่วยชะลอหรือยับยังปฏิกริยาของพืช เช่น ชักนำให้เกิด dormancy ประโยชน์ในทางการเกษตรปัจจุบันยังไม่มี แต่มีสารสังเคราะห์ที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ซึ่งมักเรียกรวมกันว่า สารยังยั้งการเจริญเติบโต (growth inhibitors) หรือสารชะลอการเจริญเติบโต (growth retardants) บทบาทของสารเหล่านี้อาจเข้าไปรบกวนกระบวนการสังเคราะห์ฮอร์โมนอื่น โดยเฉพาะ GA หรือ auxins ทำให้ต้นพืชสามารถสร้างปริมาณของสารเหล่านั้นได้น้อยลงหรือถูกยับยั้งการสร้างไป ทำให้ต้นไม้มีการเจริญเติบโตช้าลง สารสังเคราะห์ที่พบและใช้ในการเกษตร เช่น CCC หรือ Cycocel [(2-chloroethyl) trimethyl ammonium chloride> ; SADH หรือ Alar หรือ B-9 หรือ B-995 (Succinic acid-2, 2-dimethylhydrazide) ; BOH;Phosphon-D; Amo-1618; Maleic hydrazide (MH); morphactin; Paclobutrazol;
การใช้ประโยชน์จากฮอร์โมนในทางการเกษตร
สามารถใช้ได้หลายด้านด้วยกัน ดังนี้
1. Rooting ในประเทศไทยรู้จักใช้สารฮอร์โมนเพื่อเร่งการออกรากก่อนสารชนิดอื่น ๆ ปัจจุบันฮอร์โมนที่นิยมใช้มีอยู่ 2 ตัวด้วยกัน คือ NAA และ IBA ประสิทธิภาพของการช่วยให้มีการออกรากนั้นไม่มีผลต่างกันมากนักหรือให้ผลค่อนข้างใกล้เคียงกัน ในขณะที่ NAA ช่วยให้มีจุดกำเนิดราก (root primordial) ได้ดี IBA มีผลช่วยให้ความยาวรากที่ออกมาแล้วดียิ่งขึ้น บางครั้งจึงได้มีการนำเอาฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้มาผสมร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ราคาของสารเคมีทั้ง 2 ชนิดก็ต่างกันออกไปด้วย โดยที่ IBA มีราคาสูงกว่า NAA ประมาณ 5 เท่า ฮอร์โมนที่มีจำหน่ายเพื่อเร่งการออกรากส่วนใหญ่จึงเป็น NAA
การเร่งการออกรากนี้ ใช้ได้ทั้งในกิ่งตอนและกิ่งปักชำ ระดับความเข้มข้นของสารที่ใช้นั้นหากเป็นพืชที่มีการออกรากง่าย ก็ใช้ในระดับที่ต่ำลงมา เช่น 500-2,000 ppm หากเป็นพืชที่ออกรากยาก ก็ใช้ในระดับความเข้มข้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับ สำหรับพืชที่อาจเรียกว่าไม่มีความสามารถในการออกรากนั้น สารฮอร์โมนไม่สามารถใช้ช่วยให้มีจุดกำเนิดของรากได้
2. Flower Induction สารฮอร์โมนที่ใช้ชักนำให้เกิดการออกดอกในไม้ผลมีเพียงชนิดเดียวคือ ethylene ( โดยการใช้ ethephon) และใช้ได้ผลดีกับพืชในกลุ่ม Bromeliads เท่านั้น ส่วน NAA หรือสารอื่นนั้นเป็นผลทางอ้อมโดยการไปกระตุ้นให้มีการสร้าง ethylene ที่ส่วนตายอดก่อน ต้นสับปะรดที่ราดด้วยสาร ethephon นี้ จะมีการเปลี่ยนจาก vegetative bud ไปเป็น flower bud สำหรับการใช้สาร paclobutrazol ที่บังคับให้มะม่วงออกดอกนั้น สารนี้ไม่ได้มีหน้าที่ในการสร้างตาดอกของต้นมะม่วงโดยตรง หากแต่เป็นว่า สารนี้ไปรบกวนกระบวนการสังเคราะห์ GA (GA Biosynthesis) ที่บริเวณ subapical meristem ของตายอดมะม่วง คุณสมบัติของสาร gibberellin นั้นในไม้ผลและไม้ยืนต้นพบว่ามีส่วนส่งเสริมให้มี
โดย: [03] (IP)
--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 3
vegetative growth ดังนั้น การรบกวนเพื่อให้มีการสร้างสารพวก GA ลดน้อยลง ทำให้ต้นมะม่วงมี vegetative growth ลดลง โอกาสที่จะเจริญทาง reproductive ย่อมมีมากขึ้น ซึ่งตาดอกนี้ไม่ได้สร้างขึ้นจากการใช้สาร paclobutrazol แต่อย่างใด
สำหรับพวก long day plants หรือ biennials ซึ่งมีลักษณะของลำปล้องสั้น ข้อซ้อนกัน (rosette) สารพวก gibberellin มีคุณสมบัติแทนสภาพของ long day หรืออุณหภูมิต่ำได้ ซึ่งหากใช้ GA แล้ว สามารถชักนำให้พืชเหล่านี้ออกดอกได้ เช่น ผักกาดหอมห่อ (สลัดแก้ว) และ artichoke เป็นต้น
3. Inhibition on flowering สารกลุ่ม gibberellin นั้น มีบทบาทในการสร้างเสริมให้มี vegetative growth ในไม้ยืนต้นจึงสามารถช่วยยับยั้งการออกดอกของพืชเหล่านี้ได้ เช่น มะนาว โดยจะต้องใช้ในขณะที่ยังไม่มีการสร้างตาดอก การยับยั้งการออกดอกของอ้อยด้วย ethephon จะช่วยให้ผลผลิตของน้ำตาลในลำอ้อยสูงขึ้นด้วย
4. Flower sex expression สารฮอร์โมนหลาย ๆ ชนิดมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงเพศของดอกจากเพศหนึ่งไปเป็นอีกเพศหนึ่งได้ ดังเช่น สาร NAA ที่ใช้ในการเปลี่ยนเพศของดอกเงาะจาก ดอกกะเทย (ดอกสมบูรณ์เพศ) ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเมีย ซึ่งพบอยู่ในพันธุ์เงาะที่ใช้ปลูกเป็นการค้าคือพันธุ์สีชมพู และพันธุ์โรงเรียนนั้น แม้ว่าดอกเหล่านี้จะมีเกสรตัวผู้ ( stamen) ก็ตาม แต่อับละอองเกสร ( anther) ไม่เปิดออก ทำให้สามารถให้ละอองเกสร ( pollen) ได้ ทำให้เกิดปัญหาเงาะขี้ครอก (เกิดจาก ovary ที่ไม่มีการผสมเกสร แต่สามารถเจริญขึ้นมาได้เอง ซึ่งภายในไม่มีเนื้อ) การใช้ NAA นี้ จะไปช่วยให้ดอกกะเทยเหล่านี้เปลี่ยนมาเป็นดอกตัวผู้ได้ และเกิดการผสมเกสรขึ้นในเวลาต่อมา
นอกเหนือจาก NAA แล้ว GA และ ethylene ก็มีบทบาทที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงเพศดอกด้วย ซึ่ง GA ช่วยให้เปลี่ยนโดยเพิ่มความเป็นตัวผู้ (meleness) ในขณะที่ ethylene ให้ผลในทางตรงกันข้าม คือ เพิ่มความเป็นตัวเมีย ( femaleness) ซึ่งได้มีการทดลองค่อนข้างมากในพืชวงศ์แตง (Cucurbitaceae) สำหรับในมะม่วง GA มีผลทำให้ช่อดอกมะม่วงพันธุ์เขียวเสวยเพิ่มเปอร์เซ็นต์ดอกตัวผู้จาก 75 เป็น 90% เมื่อใช้ GA เข้มข้น 100 ppm พ่นให้กับช่อดอกในระยะที่กำลังยืดตัว ส่วนสาร ethephon มีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนดอกสมบูรณ์เพศในมะม่วง
5. Increasing Fruit Set and Fruit Size สารฮอร์โมนที่ใช้เพิ่มการติดผล ปัจจุบันที่ใช้กันอยู่คือ GA และ 4-CPA หรือ PCPA) ในองุ่น ลางสาด และลองกอง GA ช่วยให้ก้านช่อยืดยาวมากขึ้น ทำให้ช่องว่างหรือพื้นที่ภายในช่อมีมากขึ้น ผลภายในช่อมีโอกาสขยายขนาดได้มากขึ้น ไม่เบียดเสียดกันจนบิดเบี้ยวและผลแตก จึงทำให้มีการติดผลสูงขึ้นด้วย พันธุ์องุ่นที่ไม่มีเมล็ดนั้น ขาดแหล่งที่จะสร้างสาร GA โดยธรรมชาติ คือ เมล็ด ทำให้การติดผลและขยายขนาดผลไม่ดี จำเป็นต้องมีการใช้สาร GA เข้าช่วย ในมะเขือเทศ ได้มีการใช้สาร 4 - CPA และ B -NOA ช่วยให้มีการติดผลนอกฤดูโดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน สารฮอร์โมนที่ใช้ในทางการค้าอีกชนิดหนึ่งคือ Promalin ซึ่งเป็นฮอร์โมนผสมระหว่าง 6-Benzyladenine (cytokine) และ GA 2 ตัว คือ GA4+7 สารนี้ช่วยเพิ่มขนาดของแอปเปิลได้ประมาณ 20% โดยปริมาตร โดยใช้ในระยะ petal fall ซึ่งเซลล์ของบริเวณ calyx ยังคงมี cell division อยู่ BA จะไปช่วยให้มีการแบ่งเซลล์มากขึ้น ทำให้มีจำนวนเซลล์เพิ่มขึ้น ในขณะที่ GA จะไปทำให้เซลล์ที่แบ่งตัวแล้วยืดตัวมากขึ้น ขนาดของผลแอปเปิล (พันธุ์ Delicious ) ในส่วนด้านล่างจะยืดยาวมากขึ้น ดังนั้นแอปเปิลพันธุ์นี้จะมีรูปทรงยาวรีแทนที่จะเป็นรูปทรงกลม
6. Inhibition of Flower and Fruit Drop ปัญหาเหล่านี้ได้ประสบกับชาวสวนพอสมควร สำหรับในประเทศไทยรายงานการทดลองในสิ่งเหล่านี้มีน้อยมากหรือไม่มีเลย การหลุดร่วงของส้มและแอปเปิลก่อนเก็บเกี่ยว ( preharvest drop) ในต่างประเทศ เป็นปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากภายในต้นขาดสาร auxin ชั่วคราว การฉีดพ่นสารพวก auxin เช่น 2,4- D และ 2 , 4, 5- TP สามารถช่วยให้การหลุดร่วงลดน้อยลง
7. breaking dormancy สารพวก GA ethylene thiourea KNO 3 และ hydrogen cyanamide สามารถช่วยให้ตาพ้นจากสภาพการพักตัวได้ ในมันฝรั่งจะช่วยให้ตาที่อยู่บนหัวมีการผลิยอดพ้นจากการพักตัวสามารถนำไปปลูกได้ ส่วนในพืชบางชนิด เช่น มะม่วง thiourea ethephon และ KNO 3 จะช่วยให้การผลิตตาเป็นใบอ่อนหรือแทงช่อดอกพร้อม ๆ กัน
8. Prolong Dormancy ในพืชบางชนิด เช่น หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่ง ไม่ต้องการให้มีการผลิตาในขณะที่เก็บรักษา
โดย: [03] (IP)
--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 4
ทำให้อายุการเก็บรักษาสั้นลง การใช้สารพวก maleic hydrazide (MH) ฉีดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวจะช่วยยับยั้งการผลิตตาของหัวเหล่านี้ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
9. Delay Ripening การยืดอายุการสุกของผลอาจกระทำได้ทั้งในขณะที่ผลยังอยู่บนต้นและภายหลังการเก็บเกี่ยว สาร GA สามารถช่วยยืดการเปลี่ยนแปลงสีผิวในส้มและมะนาวได้ทั้ง 2 ระยะ อย่างไรก็ตาม การยืดอายุการสุกของผลไม้หลังการเก็บเกี่ยวจำเป็นต้องอาศัยกรรมวิธีอื่น ๆ เข้ามาประกอบกันด้วย เช่น อุณหภูมิต่ำเพื่อลดอัตราการหายใจของผล และการใช้สารกำจัด ethylene ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้ผลสุก เป็นต้น นอกจากนี้ การใช้ GA 50 ppm จุ่มผลทุเรียนจะช่วยให้ผลทุเรียนยืดอายุการสุกได้และไม่ปริแตกเมื่อผลทุเรียนสุก
10. Promotion of Ripening สารที่มีผลต่อการเร่งการสุกของผลไม้คงหนีไม่พ้น ethylene การบ่มนี้อาจใช้ ethylene gas โดยตรง หรือใช้สารที่ปลดปล่อย ethylene เช่น ethephon นอกจากนี้ อาจใช้ calcium carbide ก็ได้ ผลไม้พวก non-climacteric fruit อาจบ่มให้สีผิวสวยงามขึ้นได้ เช่น ส้ม
11. Promotion of Abscission Layer การเร่งให้เกิดรอยแยกนี้ ใช้ในด้านการช่วยปลิดดอก หรือผลอ่อน ให้ผลที่ติดลดน้อยลง ต้นไม่ทรุดโทรมมาก และลดปัญหาการออกดอกติดผลเว้นปีเนื่องมาจากการติดผลมากเกินไป นอกจากนี้ การเร่งให้เกิด abscission zone ในผลที่แก่จะช่วยให้การเก็บเกี่ยวโดยเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลจะสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น การใช้ cycloheximide ในส้ม Valencia ' นอกจากนี้ ethephon ก็เป็นอีกสารหนึ่งที่ช่วยให้เกิดรอยแยกนี้ได้ดีในหลาย ๆ พืช สารที่ใช้ช่วยในการปลิดดอกและผลอ่อนที่ดี คือ NAA sevin (carbaryl) และ ethephon
12. Increasing Latex Flow in para-rubber สาร ethephon มีคุณสมบัติช่วยให้พืชมียางไหลมากขึ้น เมื่อนำมาใช้กับยางพารามีผลทำให้ผลผลิตของน้ำยางสูงขึ้นในระหว่าง 50-100%
นอกจากนี้ อาจมีการใช้สารฮอร์โมนในด้านอื่น ๆ อีก เช่น ลดการหักล้ม ( lodging) ของต้นข้าว ลดการยึดของปล้องหญ้าสนาม ( turf grass) เพื่อลดปัญหาการตัดหญ้า การเปลี่ยนแปลงรูปทรงพุ่มต้นไม้ การเพิ่มปริมาณของ malt ในข้าว barley ของอุตสาหกรรมการผลิตเบียร์ และการช่วยให้สมอฝ้ายมีการปริแตกพร้อม ๆ กันเพื่อสะดวกต่อการใช้เครื่องจักรเก็บเกี่ยว เป็นต้น
ในด้านการใช้สารฮอร์โมนทางการเกษตรนั้น ยังมีแนวโน้มที่ค่อนข้างสูงโดยเฉพาะพืชสวนซึ่งให้ผลตอบแทนสูง สำหรับในไม้ผล สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึกถึงในการใช้สารฮอร์โมน คือในเรื่องความสมบูรณ์ของต้น การตอบสนองของต้นไม้ต่อการใช้สารฮอร์โมนนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานของสิ่งเหล่านี้เป็นหลัก การใช้สารฮอร์โมนจึงควรเป็นตัวช่วยเสริมให้เป็นไปในทิศทางที่เราต้องการเท่านั้น ไม่ใช่สารเทวดาที่จะเนรมิตสิ่งใดก็ย่อมได้ อย่างไรก็ตาม สารเคมีแต่ละตัวนั้น ควรจะต้องมีการพิสูจน์แล้วว่า ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและสภาพนิเวศน์วิทยาหรือสิ่งแวดล้อม สารเคมีที่ราดลงดินนั้น ควรจะต้องคำนึงถึงพิษตกค้างและการปนเปื้อนของสิ่งแวดล้อมนั้นให้จงหนัก เนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่สูญเสียไปนั้นมีโอกาสที่จะนำกลับคืนมาได้ยากยิ่งนัก และที่สำคัญยิ่งอีกสิ่งหนึ่งคือ ควรคำนึงถึงผู้บริโภคด้วย ทั้งนี้ คุณธรรมของผู้ใช้จำต้องมีอยู่ในสามัญสำนึกตลอดเวลา
โดย: ชัช มหาดไทย (264) [20 ม.ค. 50 19:17] ( IP A:124.121.130.38 X: )
--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 5
อ้างอิงจากเอกสารของ ดร. รวี เสรฐภักดี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ที่มา : ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/05/2010 7:56 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 23/04/2010 9:21 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ฮอร์โมนจากแมลง
ฮอร์โมนจากแมลงมี 3 กลุ่ม คือ
1. ฮอร์โมนจากสมอง (brain hormone หรือ BH) เป็นกลุ่มฮอร์โมนซึ่งสร้างจาก neurosecretory cell ในสมอง กระตุ้นต่อมไร้ท่อบริเวณทรวงอก ทำให้สร้างฮอร์โมน molting hormone (MH) ไปเก็บไว้ใน corpus cardiacum ต่อไป
2. ฮอร์โมนเกี่ยวกับการลอกคราบ (molting hormone หรือ MH) สร้างบริเวณทรวงอกมีผลทำให้แมลงลอกคาบ และ metamorphosis เป็นตัวโตเต็มวัย
3. ฮอร์โมนยูวีไนล์(Juvenile hormone หรือ JH) สร้าง จากต่อมทางสมองมาทางซ้ายเรียก corpus allatum ทำหน้าที่ห้ามระยะตัวหนอนและดักแด้ไม่ให้ไม่ให้เป็นตัวเต็มวัย แต่ถ้ามี JH ลดลง จะกระตุ้นให้ลอกคราบแล้วกลายเป็นตัวเต็มวัยได้
ฮอร์โมนพืช (plant hormone)
ฮอร์โมนพืช เป็นสารเคมีที่พืชสร้างขึ้นมาเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของพืช และใช้เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชด้วย สารที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืชนี้เรียกว่า ฮอร์โมนพืช มี 5 ประเภทคือ
1. ออกซิน(Auxin) หรือ กรดอินโดลแอซีติก(indoleacetic acid) เรียกย่อว่า IAA เป็นฮอร์โมนที่พืชสร้างจากกลุ่มเซลล์เนื้อเยื่อเจริญบริเวณยอดอ่อนและรากอ่อนแล้วแพร่ไปยังเซลล์อื่น คุณสมบัติของออกซิน มีดังนี้
- แพร่จากยอดลงสู่ต้น
- หนีแสงไปยังด้านที่มืดกว่า
- ช่วยให้เจริญเติบโต แต่ยับยั้งการแตกของตาด้านข้าง
- กระตุ้นการออกดอก และการกระตุ้นให้ ovary >>> fruit ( ไม่มีเมล็ด ) โดยไม่ต้องผสมพันธุ์
- กระตุ้นการแตกราของกิ่งในการเพราะชำ
- ชะลอการหลุดร่วงของใบ ดอก ผล
- กระตุ้นให้ยอดเจริญเติบโตรวดเร็ว แต่ในรากยับยั้งให้ช้าลง
2. จิบเบอเรลลิน ( gibberellin) หรือ กรด gibberellic acid เรียกว่า GA เป็นฮอร์โมนพืชพวกหนึ่งในพืชชั้นสูง สร้างมาจากใบอ่อนและผลที่ยังไม่แก่ มีหลายชนิด มีคุณสมบัติดังนี้
- กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ระหว่างข้อปล้อง ทำให้ต้นไม้สูง
- กระตุ้นการงอกของเมล็ดและตา เพิ่มการเกิดดอก
- เปลี่ยนดอกตัวผู้ให้เป็นดอกตัวเมียในพืชตระกูลแตง
- ช่วยยืดช่อของผล
3. เอทิลีน (ethylene) เป็นฮอร์โมนพืช ซึ่งผลิตขึ้นมาขณะที่เซลล์กำลังมีเมแทบอลิซึม ตามปกติเอทิลีนทำหน้าที่กระตุ้นการหายใจ และยังทำหน้าที่อื่นๆดังนี้
- เร่งเมแทบอลิซึม ทำให้ผลไม้สุก
- กระตุ้นการออกดอกของพืชพวกสับประรด
- กระตุ้นการหลุดร่วงของใบ
- เร่งการงอกของเมล็ด
- เร่งการไหลของน้ำยางพารา
4. กรดแอบไซซิก(abscisic acid) เรียกย่อว่า ABA เป็นฮอร์โมนพืชที่กระตุ้นในการร่วงของใบโดยตรง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่
- กระตุ้นการหลุดร่วงของใบและผลที่แก่เต็มที่
- ยับยั้งการเจริญของเซลล์บริเวณตา
- กระตุ้นให้ปากใบปิดเมื่อขาดน้ำ
- ยืดระยะพักตัวของต้นอ่อนในเมล็ด
5. ไซโทไคนิน (cytokinin) เป็นฮอร์โมนพืชที่พบในน้ำมะพร้าวและสารที่สกัดได้จากยีสต์มีสมบัติกระตุ้นการเจริญและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์
คุณสมบัติอื่นๆมีดังนี้
- กระตุ้นการแบ่งเซลล์และการเจริญเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ใช้ผสมในอาหารเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชให้เกิดหน่อใหม่
- กระตุ้นการเจริญของกิ่งแขนง
- ชะลอการแก่ของผลไม้ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 23/04/2010 9:23 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ฮอร์โมนพืช (plant hormones)
ฮอร์โมนพืชความหมายว่า เป็นสารอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้นเอง ในปริมาณน้อยมาก แต่มีผลในด้านการส่งเสริมหรือยับยั้งการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาภายในต้นพืชนั้น ๆ เห็นได้ว่าพืชสร้างฮอร์โมนขึ้นน้อยมาก ดังนั้นการสกัดสารฮอร์โมนออกมาจากต้นพืช จึงเป็นเรื่องยากและไม่คุ้มค่า จึงได้มีการวิจัยค้นคว้าและสังเคราะห์สารต่าง ๆ ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนตามธรรมชาติขึ้นมา เพื่อนำไปใช้ประโยชน์แทน ดังนั้นจึงมีการบัญญัติศัพท์ขึ้นใหม่คือ สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (plant growth regulators) ซึ่งหมายถึงฮอร์โมนพืชและสารสังเคราะห์ มีคุณสมบัติในการกระตุ้นยับยั้งหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางสรีรวิทยาของพืชได้
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้ 7 กลุ่มด้วยกันคือ
1. ออกซิน (auxins) เป็นกลุ่มของสารที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการขยายขนาดของเซลล์ (cell enlargement) การแบ่งตัวของเซลล์ในแคมเบียม การขยายขนาดของใบ การเกิดราก การขยายขนาดของผล ป้องกันการหลุดร่วงของใบ ดอก ผล ยับยั้งการแตกของตาข้าง ฮอร์โมนที่พืชสร้างขึ้นก็คือ ไอเอเอ (IAA) โดยสร้างมากที่บริเวณปลายยอด ปลายราก ผลอ่อน และบริเวณที่มีเนื้อเยื่อเจริญ (meristematic tissue) อยู่มาก
2. จิบเบอเรลลิน (gibberellins) เป็นสารที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการยืดตัวของเซลล์ (cell elongation) ทำลายการพักตัวของพืช กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด และยับยั้งการออกดอกของพืชบางชนิด สารกลุ่มนี้มีทั้งที่พืชสร้างขึ้นเอง และเชื้อราบางชนิดสร้างขึ้น จิบเบอเรลลินที่นิยมนำมาใช้ทางการเกษตร โดยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า จิบเบอเรลลิก แอซิค (gibberellic acid)
3. ไซโตไคนิน (cytokinins) เป็นสารที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแบ่งเซลล์ของพืช ชะลอการแก่ชราและกระตุ้นการแตกของตาข้าง พบมากในบริเวณเนื้อเยื่อเจริญและในเอ็มบริโอ ฮอร์โมนที่พบในพืชได้แก่ ซีอาติน (zeatin)
4. เอทิลีนและสารปลดปล่อยเอทิลีน (ethylene and ethylene releasing compounds) เอทิลีนเป็นก๊าซชนิดหนึ่งและจัดเป็นฮอร์โมนพืช เนื่องจากพืชสร้างขึ้นมาได้ โดยมีผลควบคุมการแก่ชรา การสุก รวมทั้งการออกดอกของพืชบางชนิด และเกี่ยวข้องกับการหลุดร่วงของใบ ดอก ผล การเหลืองของใบ การงอกของหัวพืช และเมล็ดพืชบางชนิด เอทิลีนจะสร้างมากในส่วนของพืชที่กำลังเข้าสู่ระยะชราภาพ (senescence) เช่น ในผลแก่หรือใบแก่ใกล้หลุดร่วง การใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เช่น การบ่มผลไม้ การเร่งการออกดอกของสับปะรด
5. สารชะลอการเจริญเติบโตของพืช (plant growth retardants) สารในกลุ่มนี้เป็นสารสังเคราะห์ทั้งหมด ทำหน้าที่ในการยับยั้งการสร้างหรือยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินในพืช จึงมีผลลดการยืดตัวของเซลล์ ทำให้ปล้องสั้น ใบหนา เขียวเข้ม กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด
6. สารยับยั้งการเจริญเติบโต (plant growth inhibitors) สารกลุ่มนี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการถ่วงดุลกับสารเร่งการเติบโตพวกออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน เพื่อให้การเติบโตเป็นไปอย่างพอเหมาะพอดี ส่วนใหญ่มีหน้าที่ยับยั้งการแบ่งเซลล์ และการเติบโตของเซลล์ ทำให้เกิดการพักตัว (dormancy) และเกี่ยวข้องกับการหลุดร่วงของอวัยวะพืช แต่ที่สำคัญที่สุดและรู้จักกันดีคือ เอบีเอ (ABA) (abscisic acid)
7. สารอื่น ๆ (miscellaneous) เป็นกลุ่มสารที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากทั้ง 6 กลุ่มที่กล่าวมาข้างต้น ส่วนใหญ่ใช้เพื่อประโยชน์เฉพาะอย่าง เช่น เพิ่มผลผลิต ขยายขนาดผล ป้องกันผลร่วง ช่วยในการแบ่งเซลล์ อย่างไรก็ตามยังจัดว่ามีประโยชน์ค่อนข้างน้อยและการใช้ยังไม่กว้างขวาง ยกตัวอย่างสารเหล่านี้ได้แก่ เออร์โกสติม, อโทนิก เป็นต้น |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 23/04/2010 9:26 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
สารควบคุมการเจริญเติบโต หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ฮอร์โมน จัดเป็นกลุ่มของสารที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบันนี้ เนื่องจากสามารถใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางและเห็นผลได้ค่อนข้างเด่นชัด โดยมากใช้ในการติดผลเร่ง หรือชะลอการแก่ การสุก ซึ่งลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ถูกควบคุมโดยสารแต่ละชนิดแตกต่างกันไป ดังนั้น ถ้ามีการเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องก็จะทำให้เราสามารถควบคุมการเติบโตของพืชได้ตามต้องการ
เมื่อกล่าวถึง ฮอร์โมนพืช (plant hormones) ก็เชื่อว่าทุกท่านคงเคยได้ยินและรู้จักว่าเป็นสารที่ใช้ฉีดพ่นต้นไม้เพื่อให้มีการออกดอก ติดผลตามที่ต้องการ แต่โดยความจริงแล้ว คำว่า ฮอร์โมนพืชนี้มีความหมายในเชิงวิชาการว่า เป็นสารอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้นเอง ในปริมาณน้อยมาก แต่มีผลในด้านการส่งเสริมหรือยับยั้งการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาภายในต้นพืชนั้น ๆ ทั้งนี้ไม่รวมพวกน้ำตาลหรือสารอาหารที่เป็นอาหารพืชโดยตรง จะเห็นได้ว่าพืชสร้างฮอร์โมนขึ้นน้อยมาก โดยมีปริมาณเพียงพอที่จะควบคุมการเติบโตภายในต้นพืชนั้น ๆ ดังนั้นการสกัดสารฮอร์โมนออกมาจากต้นพืช เพื่อไปพ่นให้ต้นไม้อื่น ๆ จึงเป็นเรื่องยากและไม่คุ้มค่า จึงได้มีการค้นคว้าและสังเคราะห์สารต่าง ๆ ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนธรรมชาติขึ้นมาใช้ประโยชน์แทน เมื่อเป็นเช่นนี้ สารที่เรานำมาฉีดพ่นให้ต้นพืชเพื่อให้เกิดลักษณะตามที่เราต้องการนั้น จึงไม่ใช่ฮอร์โมนพืช แต่จัดเป็นสารสังเคราะห์ ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนจึงได้มีการบัญญัติศัพท์ทางวิชาการขึ้นมาว่า สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (plant growth regulartors) ซึ่งมีความหมายถึงฮอร์โมนพืชและสารสังเคราะห์ มีคุณสมบัติในการกระตุ้นยับยั้งหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางสรีรวิทยาของพืชได้
การเติบโตของพืชในทุกขั้นตอนล้วนแล้วแต่ถูกควบคุมโดยฮอร์โมนทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการงอกของเมล็ดจนกระทั่งต้นตาย ดังนั้นการใช้สารสังเคราะห์ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนฉีดพ่นให้กับต้นพืชจึงเป็นการเปลี่ยนระดับความสมดุลของฮอร์โมนภายใน ทำให้ต้นพืชแสดงลักษณะต่าง ๆ ออกมานอกเหนือการควบคุมของธรรมชาติ แต่ก่อนที่จะใช้สารสังเคราะห์เหล่านี้ให้ได้ผลควรที่จะต้องศึกษาคุณสมบัติฮอร์โมนและสารสังเคราะห์ชนิดต่าง ๆ โดยละเอียดเสียก่อน
สารควบคุมการเจริญเติบโตแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้ 7 กลุ่มด้วยกันคือ
1. ออกซิน (auxins) เป็นกลุ่มของสารที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการขยายขนาดของเซลล์ (cell enlargement) การแบ่งตัวของเซลล์ในแคมเบี่ยม การขยายขนาดของใบ การเกิดราก การขยายขนาดของผล ป้องกันการหลุดร่วงของใบ ดอก ผล ยับยั้งการแตกตาข้าง ฮอร์โมนที่พืชสร้างขึ้นก็คือ ไอเอเอ (IAA) โดยสร้างมากที่บริเวณปลายยอด ปลายราก ผลอ่อน และบริเวณที่มีเนื้อเยื่อเจริญ (meristematic tissue) อยู่มาก ปริมาณ ไอเอเอ ภายในเนื้อเยื่อพืชแต่ละส่วนมีมากน้อยแตกต่างกันไป โดยจะมีอยู่มากในส่วนที่กำลังเจริญเติบโต การรักษาระดับปริมาณภายในเนื้อเยื่อพืชถูกควบคุมโดยระบบการสร้างและการทำลายพร้อม ๆ กันไป ถ้าเป็นเนื้อเยื่อที่กำลังเจริญเติบโตจะมีการสร้างมากกว่าการทำลาย และในทางตรงกันข้าม ในเนื้อเยื่อที่มีอายุมากขึ้น จะมีการทำลายมากกว่าการสร้าง
สารสังเคราะห์ที่จัดอยู่ในกลุ่มออกซิน ที่ใช้กันมากได้แก่
เอ็นเอเอ (NAA)
ไอบีเอ (IBA)
4-ซีพีเอ (4-CPA)
2,4-ดี (2,4-D)
2. จิบเบอเรลลิน (gibberellins) เป็นสารที่เกี่ยวข้องกับการยืดตัวของเซลล์ (cell elongation) ทำลายการพักตัวของพืช กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด และยับยั้งการออกดอกของพืชบางชนิด สารกลุ่มนี้มีทั้งที่พืชสร้างขึ้นเอง และเชื้อราบางชนิดสร้างขึ้น ในปัจจุบันพบจิบเบอเรลลินทั้งหมด 71 ชนิด โดยที่ทุกชนิดเรียกชื่อเหมือนกันคือ จิบเบอเรลลิน เอ หรือ จีเอ (gibberellin A) (GA) แต่มีหมายเลขตามหลังตั้งแต่ 1 ถึง 71 เช่น จีเอ 3, จีเอ 4, จีเอ 7 (GA3, GA4, GA7) สารจีเอ 3 เป็นจิบเบอเรลลินที่นำมาใช้มากทางการเกษตร โดยมีชื่อเรียกเฉพาะของสาร จีเอ 3 ว่า จิบเบอเรลลิก แอซิค (gibberellic acid) พืชสามารถสร้าง จีเอ3 ได้โดยมีปริมาณน้อยมาก ซึ่งจีเอ 3 ที่นำมาใช้ทางการเกษตรนั้น ได้มาจากการเพาะเลี้ยงเชื้อราบางชนิดแล้วสกัดจีเอ 3 ออกมา เนื่องจากปัจจุบันยังไม่สามารถสังเคราะห์ จีเอ ได้ด้วยวิธีทางเคมี
3. ไซโตไคนิน (cytokinins) เกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ของพืช ชะลอการแก่ชราและกระตุ้นการแตกตาข้าง พบมากในบริเวณเนื้อเยื่อเจริญและในคัพภะ (embryo) ส่วนใหญ่แล้วไซโตไคนินมีการเคลื่อนย้ายน้อย แต่มีคุณสมบัติสำคัญในการดึงสารอาหารต่างๆ มายังแหล่งที่มีไซโตไคนินสะสมอยู่ (cytokinin-induced translocation) ฮอร์โมนที่พบในพืชได้แก่ ซีอาติน (zeatin) ส่วนสารสังเคราะห์ที่อยู่ในกลุ่มไซโตไคนินได้แก่ บีเอพี (BAP) ไคเนติน (Kinetin)
4. เอทิลีนและสารปลดปล่อยเอทิลีน (ethylene and ethylene releasing compounds) เอทิลีนเป็นก๊าซชนิดหนึ่งและจัดเป็นฮอร์โมนพืช เนื่องจากพืชสร้างขึ้นมาได้ โดยมีผลควบคุมการแก่ชรา การสุก รวมทั้งการออกดอกของพืชบางชนิด และเกี่ยวข้องกับการหลุดร่วงของใบ ดอก ผล การเหลืองของใบ การงอกของหัวพืช และเมล็ดพืชบางชนิด เอทิลีนจะสร้างมากในส่วนของพืชที่กำลังเข้าสู่ระยะชราภาพ (senescence) เช่น ในผลแก่หรือใบแก่ใกล้หลุดร่วง เนื่องจากเอทิลีนเป็นก๊าซดังนั้นจึงฟุ้งกระจายไปได้ทั่ว จึงไม่มีการเคลื่อนย้ายเหมือนกับฮอร์โมนในกลุ่มอื่น ๆ สารอินทรีย์บางชนิดมีคุณสมบัติคล้ายเอทิลีน เช่น อะเซทิลีน (acetylene) โปรปิลีน (propylene) ดังนั้นจึงอาจนำสารเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้เช่นกัน ยกตัวอย่างได้แก่การใช้อะเซทิลีนในการบ่มผลไม้ และเร่งการออกดอกของสับปะรด เป็นต้น แต่เนื่องจากว่าสารที่กล่าวมานี้เป็นก๊าซ จึงมีความยุ่งยากในการใช้และไม่สามารถควบคุมความเข้มข้นได้แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ในแปลงปลูกพืช ดังนั้นจึงได้มีการสังเคราะห์สารบางชนิด ซึ่งเป็นของเหลวแต่สามารถปลดปล่อยหรือสลายตัวได้ ก๊าซเอทิลีน ซึ่งได้แก่ เอทีฟอน(ethephon)
สารเอทีฟอน จัดว่าเป็นสารที่นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง และในปัจจุบันใช้กันอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมสับปะรด
5. สารชะลอการเจริญเติบโตของพืช (plant growth retardants) สารกลุ่มนี้ไม่จัดเป็นฮอร์โมนพืช แต่เป็นสารสังเคราะห์ทั้งหมด มีคุณสมบัติสำคัญคือ ยับยั้งการสร้างหรือยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินในพืช จึงมีผลลดการยืดตัวของเซลล์ ทำให้ปล้องสั้น ใบหนา เขียวเข้ม กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด และมีคุณสมบัติอื่น ๆ ได้แก่ ทำให้พืชทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ร้อนจัด เย็นจัด ดินแห้ง ดินเกลือ เพิ่มผลผลิตพืชบางชนิด เพิ่มการติดผลของพืชบางชนิด สารชะลอการเจริญเติบโตที่สำคัญได้แก่ แอนซิมิดอล (ancymidol) คลอมีควอท (chlormequat) แดมิโนไซด์ (daminozide) พาโคลบิวทราโซล (paclobutrazol)
6. สารยับยั้งการเจริญเติบโต (plant growth inhibitors) สารกลุ่มนี้มีหน้าที่ในการถ่วงดุลกับสารเร่งการเติบโตพวกออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน เพื่อให้การเติบโตเป็นไปอย่างพอเหมาะพอดี ส่วนใหญ่มีหน้าที่ยับยั้งการแบ่งเซลล์ และการเติบโตของเซลล์ ทำให้เกิดการพักตัว (dormancy) และเกี่ยวข้องกับการหลุดร่วงของอวัยวะพืช ฮอร์โมนในกลุ่มนี้มีพบในพืชมีกว่า 200 ชนิด แต่ที่สำคัญที่สุดและรู้จักกันดีคือ เอบีเอ (ABA) (abscisic acid) ในทางการเกษตรมีการใช้ประโยชน์จากสารกลุ่มนี้น้อยมาก อย่างไรก็ตาม มีการใช้สารสังเคราะห์เพื่อประโยชน์บางอย่างเช่นยับยั้งการงอกของหัวมันฝรั่งและหอมหัวใหญ่ ระหว่างการเก็บรักษา ใช้แทนการเด็ดยอด (pinching) เพื่อกระตุ้นให้แตกตาข้าง รวมทั้งยับยั้งการเติบโตทางกิ่งใบซึ่งมีผลในการกระตุ้นดอกได้ในพืชบางชนิด สารสังเคราะห์ที่สำคัญได้แก่ คลอฟลูรีนอล (Chlorflurenol)
ไดกูแลก โซเดียม (dikegulac sodium) มาเลอิกไฮดราไซด์ (maleic hydrazide) ทีไอบีเอ (TIBA)
7. สารอื่น ๆ (miscellaneous) เป็นกลุ่มสารที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากทั้ง 6 กลุ่มที่กล่าวมาข้างต้น ส่วนใหญ่ใช้เพื่อประโยชน์เฉพาะอย่าง เช่น เพิ่มผลผลิต ขยายขนาดผล ป้องกันผลร่วง ช่วยในการแบ่งเซลล์ อย่างไรก็ตามยังจัดว่ามีประโยชน์ค่อนข้างน้อยและการใช้ยังไม่กว้างขวาง ยกตัวอย่างสารเหล่านี้ได้แก่ เออร์โกสติม, อโทนิก เป็นต้น |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 23/04/2010 9:28 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ประโยชน์ของสารควบคุมการเจริญเติบโต
สารควบคุมการเจริญเติบโตนำมาใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง ทั้งทางด้านการเพิ่มผลผลิต การผลิตพืชนอกฤดู ลดแรงงานในการผลิตพืช เป็นต้น การใช้สารให้ได้ผลตามที่ต้องการนั้นจะต้องทราบคุณสมบัติของสารแต่ละชนิดและเลือกใช้ให้ถูกกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ จึงขอยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากสารเหล่านี้เพียงบางประการเพื่อใช้เป็นแนวทางในการผลิตพืชต่อไป
1. ออกซิน คุณสมบัติที่สำคัญของออกซินข้อหนึ่งคือ ความสามารถในการกระตุ้นการเกิดรากและการเจริญของราก จึงได้มีการนำออกซินมาใช้กับกิ่งปักชำหรือกิ่งตอนของพืชทั่ว ๆ ไป เพื่อเร่งให้เกิดรากเร็วขึ้นและมากขึ้น
นอกจากนี้พืชบางชนิดออกรากได้ยาก แต่ถ้ามีการใช้ออกซินเข้าช่วยก็จะทำให้ออกรากได้ง่ายขึ้น สารที่นิยมใช้ในการเร่งรากคือ เอ็นเอเอ (NAA) และไอบีเอ (IBA) ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้จัดว่าเป็นออกซินอย่างอ่อน มีพิษต่อพืชน้อย รากที่เกิดขึ้นจากการใช้สาร 2 ชนิดนี้จึงมักไม่มีอาการผิดปกติ แต่ถ้าใช้สารพวก 2,4-ดี หรือ 4-ซีพีเอ ซึ่งมีฤทธิ์ของออกซินสูง จะทำให้รากผิดปกติ คือกุดสั้น รากหนาเป็นกระจุก ประโยชน์ของออกซินอีกข้อหนึ่งคือ ใช้ป้องกันผลร่วงได้ในพืชหลายชนิด เช่น มะม่วง มะนาว ส้ม ลางสาด ขนุน มะละกอ เนื่องจากออกซินมีคุณสมบัติยับยั้งการสร้างรอยแยก (abscission layer) ในบริเวณขั้วผลได้ อย่างไรก็ตาม ออกซินไม่สามารถยับยั้งการร่วงของผลได้ในบางกรณี เช่น การร่วงเนื่องจากโรคและแมลงเข้าทำลาย การร่วงของผลที่ไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น หรือการร่วงเนื่องจากความผิดปกติของผล ออกซินที่นิยมใช้ในการป้องกันการร่วงของผลคือ เอ็นเอเอ, 2,4-ดี และ4-ซีพีเอ แต่จะไม่ใช้ ไอบีเอ เนื่องจาก ไอบีเอ ก่อให้เกิดพิษกับใบพืช ทางด้านการเร่งดอกนั้น อาจกล่าวได้ว่า ออกซินไม่มีคุณสมบัติทางด้านนี้โดยตรง ในต่างประเทศเคยมีการใช้ เอ็นเอเอ เพื่อเร่งดอกสับปะรด ซึ่งก็ได้ผลดีพอสมควร ต่อมาจึงพบว่าการที่สับปะรดออกดอกได้นั้น เกิดขึ้นจากการที่ เอ็นเอเอ ไปกระตุ้นให้ต้นสับปะรดสร้างเอทิลีนขึ้นมา และเอทิลีนนั้นเองเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดดอก ผลทางด้านอื่น ๆ ของออกซินได้แก่ การเปลี่ยนเพศดอก ซึ่งปัจจุบันชาวสวนเงาะในประเทศไทยใช้กันอยู่ทุกแห่ง โดยใช้ เอ็นเอเอ พ่นไปที่ช่อดอกเงาะบางส่วน ทำให้ช่อดอกที่ถูกสารเปลี่ยนจากดอกสมบูรณ์เพศที่ทำหน้าที่ตัวเมียกลายเป็นดอกตัวผู้ขึ้นมาแทน ซึ่งทำให้เกิดการถ่ายละอองเกสรและเกิดการปฏิสนธิขึ้นได้ การใช้ออกซินความเข้มข้นสูง ไม่ว่าชนิดใดก็ตาม มักจะก่อให้เกิดความเป็นพิษกับพืช เช่น ใบร่วง ต้นชะงักการเติบโต จนกระทั่งทำให้ต้นตาย ดังนั้นจึงมีการใช้สาร 2,4-ดี ซึ่งมีฤทธิ์ของออกซินสูงมาก เป็นยากำจัดวัชพืชอย่างกว้างขวาง
2. จิบเบอเรลลิน มีคุณสมบัติสำคัญเกี่ยวข้องกับการยืดตัวของเซลล์ ดังนั้นจึงใช้ในการเร่งการเติบโตของพืชทั่ว ๆ ไปได้ ผักกินใบหลายชนิดตอบสนองต่อจิบเบอเรลลินได้ดี โดยจะมีการเติบโตของเซลล์รวดเร็วขึ้น ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ผักบางชนิดที่มีการเติบโตของต้นเป็นแบบกระจุก (rosette plant) เช่น ผักกาดหอมห่อ ผักกาดขาวปลี กะหล่ำปลี ถ้ามีการใช้จิบเบอเรลลินกับพืชเหล่านี้ในระยะต้นกล้า จะทำให้เกิดการยืดตัวของต้นอย่างรวดเร็ว และออกดอกได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ในแง่การผลิตเมล็ดพันธุ์ ในกรณีของไม้ผลยืนต้นหลายชนิด เช่น มะม่วง ส้ม และไม้ผลเขตหนาวอื่น ๆ พบว่า จิบเบอเรลลินมีผลเร่งการเติบโตทางด้านกิ่งใบและยับยั้งการออกดอก ดังนั้นในกรณีที่ต้องการเร่งใบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะต้นกล้า จึงอาจใช้จิบเบอเรลลินให้เป็นประโยชน์ได้ จิบเบอเรลลินยังมีผลช่วยขยายขนาดผลได้ เช่น องุ่น มะม่วง ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้อยู่ในบางสวนของประเทศไทย ประโยชน์ทางด้านอื่น ๆ ของจิบเบอเรลลินได้แก่ ใช้ในการเปลี่ยนแปลงดอกของพืชบางชนิด เช่น พืชตระกูลแตง และข้าวโพดหวาน ให้มีดอกตัวผู้มากขึ้น เพื่อประโยชน์ในการถ่ายละอองเกสรและยังใช้ทำลายการพักตัวของหัวมันฝรั่งและเมล็ดพืชบางชนิดได้
3. ไซโตไคนิน คุณสมบัติในการช่วยแบ่งเซลล์ของไซโตไคนินมีประโยชน์ในงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นอย่างมากโดยใช้ผสมเข้าไปในสูตรอาหารเพื่อช่วยการเติบโตของแคลลัสและกระตุ้นให้ก้อนแคลลัสพัฒนากลายเป็นต้นได้ ประโยชน์ทางด้านอื่นของไซโตไคนินมีค่อนข้างจำกัด นอกจากการนำมาใช้เร่งการแตกตาของพืช ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการควบคุมทรงพุ่มและเร่งการแตกตาของพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยการติดตาแล้ว ไซโตไคนินยังมีคุณสมบัติชะลอการแก่ชราของพืชได้ จึงสามารถยืดอายุการเก็บรักษาผักกินใบและผลไม้ รวมทั้งดอกไม้ได้หลายชนิด แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นเพียงงานทดลองเท่านั้น ยังไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงจัง
4. เอทิลีนและสารปลดปล่อยเอทิลีน เป็นสารเร่งการสุกของผลไม้จึงใช้ในการบ่มผลไม้โดยทั่ว ๆ ไป การสุกของผลไม้ตามปกติก็เกิดจากการที่ผลไม้นั้น สร้างเอทิลีนขึ้นมา ดังนั้นการให้เอทิลีนกับผลไม้ที่แก่จัดจึงสามารถเร่งให้เกิดการสุกได้เร็วกว่าปกติ โดยที่คุณภาพของผลไม้ไม่ได้เปลี่ยนไป ในต่างประเทศใช้ก๊าซเอทิลีนเป็นตัวบ่มผลไม้โดยตรง แต่ต้องสร้างห้องบ่มโดยเฉพาะ ส่วนในประเทศไทยไม่มีห้องบ่มจึงใช้ถ่านก๊าซ (calcium carbide) ในการบ่มผลไม้แทน โดยที่ถ่านก๊าซเมื่อทำปฏิกริยากับน้ำจะได้ก๊าซอะเซทิลีนออกมา ซึ่งมีผลเร่งการสุกเหมือนกับเอทิลีน เกษตรกรบางรายเริ่มนำ เอทีฟอน เข้ามาใช้บ่มผลไม้ แต่ยังไม่มีผู้ใดให้คำยืนยันในเรื่องพิษตกค้างของสารนี้ เอทีฟอนเป็นสารปลดปล่อยเอทิลีนซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง เช่น ใช้ในการเร่งดอกสับปะรด เร่งการไหลและเพิ่มปริมาณน้ำยางพาราและยางมะละกอ เร่งการแก่ของผลไม้บนต้นให้แก่พร้อมกัน เช่น เงาะ มะม่วง ลองกอง องุ่น มะเขือเทศ กาแฟ เร่งการแก่ของใบยาสูบ และมีแนวโน้มที่จะนำสารนี้มาใช้ประโยชน์ได้อีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเร่งการแก่และการสุกของผลไม้
5. สารชะลอการเจริญเติบโตของพืช มีผลยับยั้งจิบเบอเรลลิน ดังนั้น ลักษณะใดก็ตามที่ถูกควบคุมโดยจิบเบอเรลลิน ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยการใช้สารชะลอการเจริญเติบโต คุณสมบัติสำคัญของสารกลุ่มนี้คือ ยับยั้งการยืดตัวของปล้อง ทำให้ต้นเตี้ย กะทัดรัด จึงมีประโยชน์มากในการผลิตไม้กระถางประดับเพื่อให้มีทรงพุ่มสวยงาม (compact) และยังมีประโยชน์สำหรับการผลิตไม้ผลโดยระบบปลูกชิด (high density planting) คุณสมบัติอีกประการหนึ่งของสารคือ ทำให้พืชทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงอาจใช้เพิ่มผลผลิตพืชบางชนิดที่ปลูกในสภาพดังกล่าวได้ เช่น แดมิโนไซด์ สามารถเพิ่มผลผลิตผักกาดขาวปลี และผักกาดเขียวปลี ซึ่งปลูกในฤดูร้อนได้ ประโยชน์ที่สำคัญของสารชะลอการเจริญเติบโตคือ สามารถเร่งดอกไม้ผลบางชนิดได้ เช่น การใช้ พาโคลบิวทราโซล กับมะม่วงและลิ้นจี่ ทำให้มีช่อดอกมากขึ้นและการออกก่อนฤดูกาลปกติ ทั้งนี้เนื่องจากสารชะลอการเจริญเติบโตมีผลลดปริมาณจิบเบอเรลลินภายในต้น ซึ่งจิบเบอเรลลินมีผลยับยั้งการออกดอก ดังนั้นเมื่อจิบเบอเรลลินน้อยลงกว่าปกติ จึงทำให้ไม้ผลเหล่านี้ออกดอกได้
6. สารยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช จากคุณสมบัติสำคัญในการยับยั้งการแบ่งเซลล์ของพืช จึงนำมาใช้ประโยชน์ได้ในบางกรณีเช่น การใช้ มาเลอิก ไฮดราไซด์ ยับยั้งการงอกของหอมหัวใหญ่และมันฝรั่ง ใช้ในการชักนำให้เกิดการพักตัวของต้นส้มเพื่อการสะสมอาหารสำหรับออกดอก สารยับยั้งการเติบโตมีผลยับยั้งการแบ่งเซลล์ในบริเวณปลายยอด หรืออาจกล่าวได้ว่ามีผลทำลายตายอด จึงทำให้ออกซินไม่สามารถสร้างขึ้นที่ปลายยอดได้เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้ตาข้างเจริญออกมาแทน ซึ่งเป็นประโยชน์ในแง่ของการบังคับให้ต้นแตกกิ่งแขนงได้มาก เช่นการใช้ มาเลอิก ไฮดราไซด์ เพิ่มการแตกพุ่มของไม้พุ่มหรือไม้ที่ปลูกตามแนวรั้ว การใช้คลอฟลูรีนอล เพิ่มจำนวนหน่อของสับปะรดและสับปะรดประดับ อย่างไรก็ตามประโยชน์ของสารกลุ่มนี้ยังมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น
7. สารอื่น ๆ เป็นสารซึ่งมีคุณสมบัติผิดแปลกออกไป จนไม่อาจชี้เฉพาะลงไปได้ แต่ก็มีการใช้สารในกลุ่มนี้เพิ่มผลผลิตพืชหลายชนิด เช่นกัน ได้แก่ การใช้เออร์โกสติมในการเพิ่มขนาดผลส้มหรือเพิ่มขนาดและน้ำหนักของผลสตรอเบอรี่เพิ่มน้ำตาลในอ้อย โดยใช้ไกลโฟท์ซีน (glyphosine) หรือการเพิ่มการติดผลของผลไม้บางชนิด การขยายขนาดผลและเพิ่มผลผลิต
ธัญพืชโดยใช้อโทนิก
ข้อควรระวังในการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต
สารควบคุมการเจริญเติบโตเป็นสารเคมีการเกษตรชนิดหนึ่ง ซึ่งจัดว่าเป็นสารที่มีพิษเช่นกัน ดังนั้นการใช้สารเหล่านี้จึงต้องให้ความระมัดระวังเช่นเดียวกับการใช้ยาฆ่าแมลง เช่น ห้ามใช้มือคนสาร หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเข้มข้นโดยตรง สวมชุดที่สามารถป้องกันการฟุ้งกระจายของสาร และอื่นๆ ตามหลักเกณฑ์เพื่อความปลอดภัยในการใช้สารพิษ
โดยทั่วไปแล้ว สารเหล่านี้มักสลายตัวได้ง่าย ซึ่งจะทำให้เสื่อมประสิทธิภาพได้เร็ว จึงควรเก็บรักษาไว้ในที่เย็นและไม่ถูกแสง ควรผสมสารให้เพียงพอต่อการใช้ในแต่ละครั้งเท่านั้น และเพื่อความมั่นใจในประสิทธิภาพของสารจึงไม่ควรใช้สารที่เก็บรักษาไว้นานเกิน 2 ปี |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 23/04/2010 9:35 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ฮอร์โมนพืช-แอสไพริน
เคล็ด "ลับ" หนึ่งที่แม่บ้านทางโลกตะวันตกพบก็คือ น้ำที่มียาแอสไพริน (aspirin) ละลายอยู่สามารถทำให้ดอกไม้ในแจกันสดสะพรั่งอยู่ได้เป็นเวลานานๆ เมื่อเร็วๆ นี้นักวิทยาศาสตร์ก็ได้พบสูตรสนับสนุนความรู้นี้ คือได้พบว่ากรด salicylic ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของยาแอสไพริน สามารถกระตุ้นเร้าให้ระบบภูมิคุ้มกันเชื้อโรคของต้นไม้ทำงาน
นักวิทยาศาสตร์ทราบมานานแล้วว่าต้นไม้สามารถผลิตยาแอสไพรินได้ แม้กระทั่งอินเดียนแดงก็ได้พบว่าต้น Salix สามารถใช้กินแก้อาการปวดศีรษะได้ แต่กระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ก็ยังไม่มีใครทราบว่ายาแอสไพรินที่พืชผลิตได้นั้น มีประโยชน์กว้างไกลเพียงใด
ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้สะสมความรู้ ด้านอิทธิพลได้สะสมความรู้ ด้านอิทธิพลของแอสไพรินต่อพืชมากมาย เช่น พบว่าสารนี้ทำให้พืชงอกใบและออกดอกได้เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2522 R. White แห่งสถาบันวิจัย Rothamsted ในประเทศอังกฤษได้พบว่าเขาสามารถป้องกันไม่ให้ไวรัสระบาดในพืชได้ โดยฉีดพืชนั้นด้วยยาแอสไพรินอ่อนๆ
การทดลองนี้บ่งชี้ว่าพืชก็มีระบบภูมิคุ้มกันและต่อต้านเชื้อโรคเหมือนกัน แต่กลไกที่พืชใช้ในการต่อต้านเชื้อโรคจะเป็นเช่นไรนั้น ยังเป็นเรื่องลึกลับสำหรับนักชีววิทยาอยู่ จนกระทั่งเมื่อ Ilya Raskin แห่งสถาบันวิจัยเกษตรกรรมที่ Delaware ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พบว่า ในต้นพลับพลึงชนิดหนึ่ง ก่อนที่มันจะออกดอก จะมีปริมาณกรด salicylic สูงถึง 100 เท่า ของปริมาณปกติ และเขายังพบอีกว่า ในต้นที่มีไวรัส ก็มีปริมาณกรด salicylic มากเหมือนกัน
หลักฐานทั้งสองประการนี้ชี้บอกว่า เวลาเกิดการเปลี่ยนแปลงในพืช พืชจะขับสารโปรตีนประเภท salicylic ออกมามากมาย ถึงแม้ว่าความรู้ที่ Raskin พบนี้จะเป็นความรู้บริสุทธิ์ แต่บริษัท Ciba-Geigy แห่งเมือง Basel ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์กำลังหาหนทางจะใช้ความรู้นี้ในทางการค้า โดยจะหาวิธีป้องกันพืชจากโรคธรรมชาติ
วิธีการหนึ่งที่เป็นไปได้คือ หาสารเคมีมาฉีดให้พืชขับสารต่อต้านเชื้อโรคออกมา ส่วนอีกวิธีหนึ่งคือหาหนทางพัฒนาพืชต่างๆ ให้สามารถผลิตกรด salicylic ในตัวมันเองเพื่อต่อสู้กับโรคร้ายที่จะมาคุกคามมันได้ Raskin คิดว่า การค้นพบเกี่ยวกับกรด salicylic ในพืชที่เขาพบนี้ เป็นเพียงความรู้เบื้องต้น งานวิจัยเกี่ยวกับฮอร์โมนในพืชยังต้องทำอีกมากมาย สรุปว่าแอสไพรินรักษาโรคของคน และพืช (ได้บ้าง) แต่ทั้งนี้ผมไม่ได้หมายถึงโรคเอดส์ที่เป็นเฉพาะคน ต้นไม้ไม่เกี่ยวนะครับ
--------------------------------------------------------------------------------
โดย ดร.สุทัศน์ ยกส้าน สสวท. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 23/04/2010 9:40 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สรุป ฮอร์โมนพืช
ออกซิน
-สร้างจากเนื้อเยื่อเจริญ(ปลายยอดปลายราก)
-ทำให้เซลล์ขยายขนาดทางกว้างและยาว
-ออกซินเคลื่อนที่หนีแสง ด้านที่มีแสงน้อยจะมีออกซินมาก เซลล์จึงขยายตัวมากกว่า ปลายยอดจึงโค้งหนีแสง
-ยับยั้งการแตกตา
-กระตุ้นการออกดอก
-ช่วยเปลี่ยนเพศ, ช่วยให้ติดผลโดยไม่ปฏิสนธิ
จิบเบอเรลลิน
-กระตุ้นการแบ่งเซลล์ที่ข้อ ทำให้ต้นสูง
-กระตุ้นงอกเมล็ด ตา
-เพิ่มติดดอก ติดผล
-เปลี่ยนดอกผู้เป็นดอกเมีย (ตระกูลแดง)
-ยืดช่อองุ่น
ไซโทไคนิน
-พบในน้ำมะพร้าว,ยีสต์
-กระตุ้นแบ่งเซลล์
-กระตุ้นหน่อใหม่และการเจริญของกิ่งแขนง (ใช้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ)
-ชะลอความแก่ของผล
เอทีลิน
-เร่งผลสุก
-กระตุ้นออกดอกสับปะรด
-กระตุ้นให้ใบร่วง
-ทำลายระยะพักตัว
-เร่งการไหลยางพารา
กรดแอบไซซิค
-พบในส่วนแก่ของพืช
-กระตุ้นให้ใบหลุด ผลแก่หลุด
-ยับยั้งการเจริญและการยืดตัว บริเวณตา
-กระตุ้นปากใบปิด
-กระตุ้นการพักตัว
หน้าที่บางประการที่แต่ละฮอร์โมนมีร่วมกัน
-หน้าที่กระตุ้นเซลล์ให้เจริญเติบโต - ออกซิน จิบเบอเรลลิน ไซโทไคนิน
หน้าที่ที่เกี่ยวกับดอก
1) เปลี่ยนเพศดอก
ออกซิน จิบเบอเรลลิน
-หน้าที่ทำให้มีส่วนงอก
1) กระตุ้นการออกดอก ออกซิน จิบเบอเรลลิน เอทีลีน(สับปะรด)
2) กระตุ้นการงอกเมล็ด ตา จิบเบอเรลลิน
3) กระตุ้นการงอหน่อใหม่ กิ่งแขนง ไซโตไคนิน
4) กระตุ้นการงอกของเมล็ด
- เอทีลีน
-หน้าที่เกี่ยวกับการชะลอ,ยับยั้ง
1) ยับยั้งการแตกตา ออกซิน
2) ยับยั้งการเจริญและยืดตัว บริเวณตา กรดแอบไซซิค
3) ชะลอการแก่,การร่วงของผล - ออกซิน ไซโตไคนิน |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 23/04/2010 9:43 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ฮอร์โมนพืชจากข้าวโพด
ฮอร์โมนพืชจากข้าวโพดทำเองง่ายมาก มาทำฮอร์โมนจากฝักข้าวโพดกันเถอะ วิธีการทำฮอร์โมนพืชกระตุ้นให้พืชออกดอกออกผลแม้จะใช้เพียงเล็กน้อยเราสามารถทำได้เอง เรามาทำฮอร์โมนพืชจากฝักข้าวโพดใช้เองกันเถอะครับ
เริ่มต้นจากการนำฝักข้าวโพดทั้งฝักที่มีกาบหุ้มสีเขียวมาประมาณ5-10 ฝัก ตัดปลายส่วนที่เป็นไหมออก และตัดโคนตรงก้านฝักออกไม่ตัดก็ได้เผื่อเวลาต้มเสร็จจะได้ใช้จับรับประทาน จากนั้นเติมน้ำสะออาดให้ท่วมฝักข้าวโพด บางคนใส่เกลือแกงลงไป 1-2 ช้อน บางคนใส่ใบเตยลงไปด้วยเพื่อทำให้หอม ปิดฝาหม้อให้สนิท ต้มไปอย่างน้อย45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ห้ามเปิดฝาครับ เพราะจะทำให้สารอินทรีย์จากฝักข้าวโพดสูญหายไปในอากาศ สารอินทรีย์จากข้าวโพดนี้เองช่วยให้ฮอร์โมนที่เรากำลังทำอยู่ออกฤทธิ์เห็นผลรวดเร็ว การต้มนี้จะละลายแป้งและน้ำตาลจากฝักข้าวโพดออกมาด้วย สารละลายที่ต้มนี้มีน้ำตาลอยู่ถึง 2% (วัดด้วยเครื่องวัดความหวาน:Refractometer) เราจะได้กลิ่นหอมขณะน้ำเดือด
เมื่อครบเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ยังไม่เปิดฝาหม้อครับ จะต้องรอไปอีกอย่างน้อย 30นาทีหรือนานกว่านั้น จนกระทั่งเย็น ให้นำฝักข้าวโพดออก เหลือแต่น้ำต้มข้าวโพด ให้รอจนได้น้ำใส ใส สีเหลืองปนเขียว จะเห็นตะกอนนอนก้นอยู่ เราจะรินน้ำใสใสนี้เก็บใส่ขวดใส่ตู้เย็นที่5◦ เซลเซียส เก็บได้ประมาณ 3-5 วัน น้ำต้มฝักข้าวโพดถ้าจะให้ใช้เป็นฮอร์โมนพืชที่ดีไม่ควรเติมเกลือแกงลงไป ครับ เพราะหากมากเกินไป อาจทำให้เกิดพืชใบไหม้ ชะงักการเจริญเติบโตได้
การใช้ ให้เตรียมกระป๋องฉีดยาประมาณ 1-1.5 ลิตรต้องเป็นภาชนะสะอาด เติมน้ำสะอาดลงไป 1 ลิตร จากนั้นเติมน้ำต้มฝักข้าวโพดลงไป 3-5 มิลลิลิตร ความเข้มข้นของสารละลายอยู่ที่ 3000 5000 พีพีเอ็ม (ส่วนในล้านส่วน) ไม่ควรผสมเข้มข้มมากกว่านี้เพราะจะทำให้พืชเกิดใบไหม้( phytotoxic ) หรือชะงักการเจริญเติบโตได้
พืชที่จะทดสอบไม่มีข้อจำกัด สามารถใช้ได้กับพืชทุกชนิด ฉีด ทุก 2 วัน แล้วเว้น ไปฉีดทุก 3 วัน แล้วเว้นไปฉีดทุก 7 วัน ให้สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หากใบเขียวขึ้น แตกยอดใหม่ ก็ โอเค เลย
จากการทดสอบ ที่ผ่านมา พวกไม้ใบประดับชนิดต่าง ๆ เช่น โกศล เขียวหมื่นปี สาวน้อยปะแป้ง ต้นแก้ว กุหลาบ ไปจนพวก พริก มะเขือ มะละกอ มะลิ ฯลฯ จะออกดอกในเวลา 7-15 วัน ต่อมา และยังสามารถใช้เป็นสารกำจัดพวกเพลี้ยแป้ง แมลงปากดูด ไรแดง หนอนชอนใบ เพลี้ยไฟ ได้ด้วย ไปลองทำเองครับ ไม่มีสารเคมีเจือปนผักสดปลูกรับประทานเองดีมากครับ ใช้แล้วไม่ต้องรอเด็ดมารับประทานได้เลย
บ้านสมุนไพร-odd |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|