kimzagass หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11800
|
ตอบ: 27/10/2022 7:23 pm ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 27 ต.ค. * ลูกเล่นกล้วย ได้โชว์ ไ |
|
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 27 ต.ค.
***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม .. ? ..
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***
งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด
- ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย คุณล่า (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย.... ด้วยประสบการณ์เกือบ 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง
- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 29 ต.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน
ไปวัดไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา....
งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....
***********************************************************************
***********************************************************************
จาก : 08 471x 842x
ข้อความ : ขอสูตรกล้วยหอมแจ๊คพ็อต เกรด เอ จัมโบ้
จาก : 09 187x 619x
ข้อความ : ลูกเล่นกล้วย ได้โชว์ ได้กิน ทำอะไรได้บ้างครับ
MOTIVATION แรงบันดาลใจ :
กล้วยหอมแปลงใหญ่เมืองย่าโม สร้างรายได้ปีละ 18 ล้าน
หลังจาก สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 นครราชสีมา เข้ามาส่งเสริมให้ปลูกสินค้าเกษตรที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ ให้ผลตอบแทนสูง คุ้มค่าแก่เกษตรกร มีตลาดรองรับ ปี 2560 จึงรวมตัวกันเป็นวิสาหกิจชุมชน ทำให้เกิดการวางแผนการผลิต ทำตลาดอย่างเป็นระบบ พัฒนาสู่การผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP รวมถึงมีโรงคัดบรรจุตามระบบ GMP เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค จนปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น 100 ราย พื้นที่ปลูกกว่า 700 ไร่
นายสมศักดิ์ แสงรัมย์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่กล้วยหอมทอง ต.สุขไพบูลย์ อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา บอกถึงที่มาของการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม
เมื่อเกิดการรวมตัวกันผลิต มีกฎกติกาของกลุ่ม บริหารจัดการอย่างเป็นระบบ กระทั่งผลผลิตทั้งหมดของกลุ่มมีมาตรฐานเดียวกัน ต่อมาจึงเกิดการวางแผนการผลิต ทำผลผลิตให้ตรงกับที่ตลาดต้องการ ได้รู้ถึงต้นทุนการผลิต จนสามารถคำนวณผลกำไรได้ล่วงหน้า
สำหรับปี 2563 มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย ตลอดระยะเวลาเพาะปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 8-10 เดือน ไร่ละ 23,632 บาท/ปี ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 3,219 กก./ปี ผลตอบแทนเฉลี่ยไร่ละ 48,795 บาท/ปี คิดเป็นกำไรไร่ละ 25,163 บาท/ปี เมื่อรวมผลผลิตของทั้งกลุ่มจะได้กำไรถึงปีละ 18 ล้านบาท
โดยราคาที่เกษตรกรขายได้ในเดือน พ.ค.64 แบ่งเป็น 4 เกรด คือ เกรดจัมโบ้ น้ำหนักหวีละ 4 กก. ขึ้นไป ราคาหวีละ 50 บาท เกรด เอ น้ำหนักหวีละ 2.2-4 กก. ราคาหวีละ 41 บาท เกรด บี น้ำหนักหวีละ 1.8-2.2 กก. ราคาอยู่ที่หวีละ 30 บาท และกล้วยหอมทองแบบตกเกรด หรือน้ำหนักต่ำกว่าหวีละ 1.8 กก. ราคา กก.ละ 10 บาท
ทั้งนี้ เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมาได้สนับสนุนให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ลงนามสัญญาซื้อ-ขาย กล้วยหอมทอง กับบริษัท คิง ฟรุทส์ จำกัด ระยะสัญญา 5 ปี (ปี 2563-2568) โดยทั้งสองหน่วยงานได้สนับสนุนองค์ความรู้ด้านต่างๆให้แก่เกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจฯ อาทิ ด้านการบริหารจัดการกลุ่ม ด้านวิชาการ ด้านการผลิต เพื่อให้ได้คุณภาพตรงกับความ ต้องการตลาด โดยเน้นย้ำอาหารปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิตจนถึงมือผู้บริโภค
ส่งผลให้ผลผลิตกล้วยหอมทองของกลุ่มวิสาหกิจฯส่วนใหญ่ 70% ส่งขายให้กับบริษัท คิง ฟรุทส์ จำกัด เพื่อส่งต่อไปยังตลาดโมเดิร์นเทรด ส่วนผลผลิตที่เหลือส่งตลาดญี่ปุ่น และจีน นอกจากนี้ผลผลิตส่วนหนึ่งยังแปรรูปเป็นกล้วยตาก ภายใต้แบรนด์ ไทยดง (Thaidong) เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย.
https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/210582
ตอบ
คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :
ทำคนเดียว ขายคนเดียว....มหัศจรรย์ในกล้วย :
กล้วยแอลกอฮอร์ :
กล้วยไข่ กล้วยหอม ตัดปลีแล้ว เจาะต้นแล้วอัดแป้งข้าวหมาก 3 รู 3 ด้านของต้น เหมือนตราเบ็นซ์ ลึกถึงชนไส้ใน กล้วยสุกรสหวานดีมาก (ประสบการณ์ตรง : 089-742-1680)
บังคับกล้วยออกเครือทิศทางเดียวกัน :
กล้วยออกทางเดียวกันทั้งแถว ธรรมชาตินิสัยกล้วยจะแทงปลีออกมาทางด้านตรงข้ามกับไหล (ไหลคือส่วนของหน่อที่แทงออกมาจากต้นแม่) เมื่อต้องการให้กล้วยต้นนั้นโตขึ้นแล้วออกเครือทางด้านไหนของต้น ก็ปลูกให้ทิศทางของไหลอยู่ทางตรงกันข้าม ทำแบบนี้กับกล้วยทุกต้น กล้วยทุกต้นก็จะออกเครือทางทิศเดียวกันได้ทั้งหมด ....
กล้วยศักดิ์สิทธิ์ :
มีจอมปลวก 1 จอม ไม่มีจอมปลวก ศาลพระภูมิเจ้าที่ก็ได้ ปลูกกล้วยล้อมไว้ ให้กล้วยทุกต้นออกทางทิศเข้าหากลางวงที่มีจอมปลวกหรือศาลพระภูมิ ปลูกแล้วตัดต้นกล้วยสร้างอายุใหม่ กะให้กล้วยทุกต้นออกเครือพร้อมกัน.... เตรียมขายผ้าเหลือง ผ้าแดง ธูปเทียนดีๆ หามือดีมาให้หวย เชื่อซี่ งานนี้ไม่โดนเหยียบก็รวย
** ปุ๋ยอินทรีย์สำหรับกล้วย :
กล้วยทุกชนิด ใช้ผักปอดสดผสมคลุกกับขี้ววัวขี้ไก่แกลบดิบ คลุมโคนต้นหนาๆ กล้วยจะสมบูรณ์ แข็งแรงให้ผลผลิตดี โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีแม้แต่เม็ดเดียว.....กล้วยตอบสนองต่อปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทุกสูตร) ดีมากๆ
เพิ่มจำนวนหวีต่อเครือ :
เมื่อกล้วยตกเครือ เหลืออีก 2-3 หวีจะตัดหัวปลี ให้ "เอ็นเอเอ" 1 ครั้ง จะช่วยให้ได้จำนวนหวีเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 2-3 หวี
เพิ่มรสชาติและกลิ่นกล้วย :
เมื่อเครือกล้วยแก่ได้ 75% หรือจำนวนหวีแก่ 3 ใน 4 ของทั้งเครือให้ "น้ำคั้นมะเขือเทศสุก" 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน จะช่วยให้กล้วยมีรสชาติและกลิ่นดีมากๆ
กล้วยใบเขียวจนถึงวันตัดปลี :
ต้นกล้วยหลังตัดปลี ให้ไบโออิ 1-2 รอบ โดยแบ่งให้จนถึงวันตัดเครือ จะช่วยบำรุงใบให้เขียวสดถึงวันตัดเครือ การมีใบเขียวสดถึงวันเก็บเกี่ยวเช่นนี้ทำให้กระบวนการสังเคราะห์แสงสร้างสารอาหารดี ส่งผลให้ได้ผลผลิตดี
กล้วยกลิ่นไวน์ :
ต้นกล้วยอีก 10-20 วันตัดเครือ ใช้ไม้ตะเกียบโตขนาดนิ้วมือ แทงที่ลำต้น ณ ความสูง 3 ใน 4 ส่วนจากพื้นแทง 3 รูตรงข้ามกันเหมือน 3 แฉกตราเบ็นซ์ แทงเฉียงลง 45 องศา แต่ละรูให้บรรจบกันที่ใจกลางกอพอดี แล้วใส่ "แป้งข้าวหมาก" อัดลงไปในรูให้เต็ม ปล่อยไว้อย่างนั้นจนกระทั่งตัดเครือ เมื่อนำไปบ่มจนสุก กล้วยสุกจะมีกลิ่นและรสชาติเหมือนน้ำขาว (สาโท) หรือน้ำตาลเมา หรือไวน์ เกิดความอร่อยได้อีกรูปแบบหนึ่ง
กล้วยออกปลีกลางต้น :
ต้นกล้วยอายุ 4-5 เดือน ณ ความสูง 3 ใน 4 ส่วนของลำต้นจากพื้น ใช้มีดปลายตรง (เหมือนมีดตัดทะลายปาล์ม) คมจัด สะอาด .... แผลแรก แทงตรงๆขวางกับลำต้น เฉียงลงประมาณ 45 องศา แทงลึกถึงใจกลาง แผลกว้างประมาณ 1 ฝ่ามือ ..... แผลที่ 2 แทงตามยาวลำต้น เริ่มจากแผลแรกยาวลงประมาณ 30 ซม. ลึกถึงใจกลางกอเหมือนแผลแรก ..... เสร็จแล้ว ใช้แผ่นสังกะสีหรือแผ่นพลาสติกแข็งๆ แทงลงที่แผลแรกลึกจนสุดแผล แล้วปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้น.....จนกระทั่งออกปลี
ต้นกล้วยอายุ 4-5 เดือน จะมีปลีอยู่ในใจกลางลำต้น ณ ความสูงครึ่งหนึ่งของความสูงต้นทั้งต้น เมื่อปลีเจริญเติบโตแทงขึ้นตามใจกลางกอขึ้นไปปะทะกับแผ่นสังกะสีหรือแผ่นพลาสติกแข็งที่กั้นขวางไว้ ปลีจะแทงต่อทางสูงจนถึงยอดไม่ได้ กอร์ปกับ ด้านข้างลำต้นมีแผลเปิดยาวจากบนลงล่างเป็นช่องว่าง ปลีก็จะแทงยาวออกมาตามช่องว่างด้านข้างลำต้นนี้แทน.....เมื่อปลีออกมาจากด้านข้างของลำต้นแน่นอนเรียบร้อยแล้วให้เอาแผ่นกั้นออกทิ้งไป จากนั้น จัดการหา "ผ้าสามสี-เครื่องเซ่นไหว้-ธูปเทียนแพ" จัดวางให้สมจริงสมจังเพื่อต้อนรับนักขอหวย..... ทำหลายๆต้น ยิ่งมากต้นยิ่งขลัง หรือเลือกต้นที่ทำเลเหมาะๆก็จะดี
ทำกล้วยออกปลีปลายต้นด้วน :
ต้นกล้วยอายุ 5-6 เดือน ให้ตัดลำต้นส่วนยอดพร้อมใบให้ยอดด้วน เหลือใบแก่ไว้ 2-3 ใบ สำหรับสังเคราะห์สร้างสารอาหารเลี้ยงต้น เมื่อปลีแทงมาถึงยอด (ด้วน) ก็จะยังคงแทงต่อเพราะต้นยังไม่ตาย ปลีที่แทงโผล่ยอดออกมาแล้วมักมีรูปร่างไม่สมประกอบ มีรูปร่างแปลกๆ (เข้าทางคอหวย) เองตามธรรมชาติ ก็ให้จัดหา "ผ้าสามสี-เครื่องเซ่นไหว้-เหล้าขาวหัวหมู" เลือกทำให้เขาออกเครือตรงกับวันนักขัตฤกษ์ดีๆซี่ แล้วอย่าลืมทำซุ้มประตูเก็บเงินคอหวย ซะให้เข็ด ทำกล้วยให้สุกช้า :
ตัดกล้วยแก่จัดจากต้นลงมาแล้ว แยกหรือไม่แยกหวีก็ได้ อย่าให้ผลมีแผล ทำความสะอาดผลให้เรียบร้อย นำลงแช่น้ำให้ท่วมผล/เครือ น้ำจะช่วย STOP การสุกของผลกล้วย 3-5-7 วัน นานหรือเร็วขึ้นกับความแก่ของ นำขึ้นจากน้ำแล้วบ่ม ผลกล้วยจะสุกตามปกติ
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อกล้วย
(ทุกสายพันธุ์)
ระยะต้นเล็ก
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 25-5-5 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ช่วงเช้าแดดจัด ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นดินโคนต้น
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
หมายเหตุ :
- การให้ไบโออิ 25-5-5 จะช่วยให้ได้ใบขนาดใหญ่หนาเขียวเข้ม เป็นใบที่มีคุณภาพดีกว่าใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ
- เนื่องจากใบกล้วยมีนวลใบมาก การฉีดพ่นทางใบควรผสมสารจับใบ (น้ำยาล้างจาน หรือสบู่เหลว) ด้วย ฉีดพ่นแล้วให้สังเกตว่าน้ำที่ฉีดพ่นไปนั้นเปียกทั่วใบจริงหรือไม่ การใช้สารจับใบครั้งแรกอาจจะต้องใช้มากกว่าปกติเพื่อละลายนวลใบออกไปหลังจากนั้นจึงใช้ในอัตราปกติได้
ทางราก :
- ใส่ผักปอดขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ (แห้งเก่าข้ามปี)
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1-2 ล.) /ไร่ ด้วยการรดโคนต้นจนโชกแฉะเต็มพื้นที่แปลงปลูก หรือปล่อยร่วมกับน้ำไปตามร่องแถวปลูก ทุก 20-30 วัน
- ให้น้ำปกติ ทุก 3-5 วัน
หมายเหตุ :
- กล้วยตอบสนองต่อ ผักปอดคลุมหน้าดินโคนต้น โดยมีปุ๋ยอินทรีย์ครั้งเดียวตั้งแต่ปลูกถึงตัดเครือ แล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพสูตรระบิดเถิดเทิง 30-10-10 เดือนละครั้ง ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม
ระยะก่อนแทงปลี :
ทางใบ :
- ให้ไทเป + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น ติดต่อกัน 1-2 เดือน
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว .... ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม
- ให้น้ำปกติ ทุก 5-7 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงเมื่ออายุต้น 170-180 วัน หลังแตกยอดที่เกิดจากตัดตอครั้งสุดท้าย กรณีที่ให้ 30-10-10 ทางราก จะทำให้ต้นสูงใหญ่มาก อาจจะทำให้การเข้าไปปฏิบัติงานไม่สะดวก แก้ไขโดยเมื่อเห็นว่าต้นมีความสูงพอสมควรแล้ว แม้ว่าอายุต้นจะยังไม่ได้ตามกำหนดก็ตาม แนะนำให้ทางใบด้วย 0-42-56 + ไทเป คู่กับให้ทางรากด้วย 8-24-24 ได้เลย วิธีนี้นอกจาก จะช่วยลดความสูงของต้นไม่ให้สูงต่อได้แล้ว ยังเป็นการสะสมอาหารก่อนออกปลีได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
- การแทงปลีของต้นกล้วยก็คือ การออกดอกของไม้ผลทั่วๆไป ดังนั้นเพื่อให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออกดอกหรืออั้นตาดอกได้สมบูรณ์ดียิ่งขึ้น ควรเสริมด้วยธาตุอาหารกลุ่มสะสมตาดอกอื่นๆ เช่น น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 20-30 วัน ทั้งนี้ กล้วยไม่จำเป็นต้องเปิดตาดอกเหมือนผลไม้ทั่วไป เมื่อต้นได้รับธาตุอาหารกลุ่มสะสมตาดอกเต็มที่ก็จะแทงดอก (ปลี) ออกมาเอง
- ระยะต้นเล็กถึงก่อนแทงปลีให้ตัดแต่งใบเหลือ 12-13 ใบ
- อายุต้น 90-120 วันหลังปลูกแตกใบอ่อนชุดแรกจะเริ่มมีหน่อแทงขึ้นมา เมื่อหน่อโตสูงได้ 90 ซม.- 1 ม.ให้ตัดตอหน่อเหลือตอสูงจากพื้น 15-20 ซม. หลังจากตัดตอหน่อแล้วจะแตกใบอ่อนออกมาอีกก็ให้ตัดตออีกเมื่อตอสูง 90 ซม.- 1 ม. เช่นกัน และให้ตัดทุกครั้งจน กว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิต การตัดตอแต่ละครั้งให้แผลครั้งหลังสูงกว่าแผลครั้งแรก 1-2 ฝ่ามือ มีดที่ใช้ตัดต้องคมจัดเพื่อให้แผลช้ำน้อยที่สุดก็จะแตกใบอ่อนชุดใหม่ได้เร็ว
- การตัดหน่อด้วยมีดหรือเคียวคมๆ ทำให้แผลไม่ช้ำ จากนั้นประมาณ 10-15 วัน จะมีหน่อใหม่แทงขึ้นมา ถ้าไม่ใช้มีดหรือเคียวคมๆ ตัดหน่อแล้วใช้วิธีเหยียบหน่อให้ล้มลง โคนหน่อช้ำ แบบนี้จะทำให้หน่อแทงใบใหม่ช้า ซึ่งอาจต้องใช้เวลา 1-2 เดือน ทำให้ประหยัดเวลา
ระยะเริ่มแทงปลี :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ 15-45-15 + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นดินโคนต้น
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก :
- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /1 ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว ทุก 20-30 วัน .... ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม
- ให้น้ำปกติ ทุก 5-7 วัน
หมายเหตุ
- ก่อนแทงปลีจะมี ใบธง ลักษณะม้วนกลมชี้ตรงขึ้นฟ้าแทงออกมาก่อน หลังจากปลีออกมาเป็นงวงชี้ลงล่างแล้วใบธงก็จะกลายเป็นใบปกติ
- การที่ในเครือกล้วยมีจำนวนหวีน้อย หรือหวีสุดท้ายปลายเครือเป็น ตีนเต่า เร็วเกินไป เนื่องมาจากต้นได้รับธาตุอาหารไม่สมดุล และบำรุงตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมหน่อ และระยะต่างๆ ก่อนแทงปลีไม่ดีพอ
- การให้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. (15-45-15 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม + เอ็นเอเอ.) เมื่อปลายปลีแทงพ้นโคนก้านใบธงขึ้นมาประมาณ 1 ฝ่ามือ 2-3 รอบห่างกันรอบละ 7-10 วัน จนกระทั่งตัดปลีจะช่วยให้เกสรสมบูรณ์ ผสมติดเป็นผลได้มากขึ้น ส่งผลให้ในเครือมีจำนวนหวีมาก และแต่ละหวีก็จะมีจำนวนผลมากขึ้นด้วย
- ดอกกล้วย (ปลี) เป็นดอกสมบูรณ์เพศ เกสรกล้วยพร้อมผสมกันเองหรือรับการผสมจากต้นอื่นได้ทั้งช่วงกลางวันและกลางคืน ช่วงกลางวันจะมีแมลงช่วยผสม ส่วนช่วงกลางคืนจะมี ค้างคาว-ชันโรง ช่วยผสม หลังจากกลีบดอก (กาบหัวปลี) เปิดแย้มเต็มที่แล้ว ถ้าช่วยผสมด้วยมือโดยใช้พู่กันขนอ่อนยาวคุ้ยเขี่ยบริเวณเกสรให้มีโอกาสได้ผสมกัน นอกจากจะช่วยให้ได้ผลผลิตมากขึ้นแล้ว คุณภาพผลก็ดีขึ้นอีกด้วย
ระยะผลเล็ก - กลาง :
ทางใบ :
- ให้ไบโออิ + ยูเรก้า + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน + สารสมุน ไพร 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน ฉีดพ่นให้เปียกโชกลงถึงพื้น
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 10% ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (2 ล.) /1 ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว ทุก 20-30 วัน ....ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม
- ให้น้ำปกติ ทุก 5-7 วัน
หมายเหตุ :
- เริ่มบำรุงหลังจากตัดปลี
- หาจังหวะให้น้ำตาลทางด่วน (กลูโคส) 1 ครั้ง เมื่ออายุผลแก่ได้ 50% นอกเป็นการบำรุงสร้างความสมบูรณ์แก่ต้น ส่งผลให้ผลผลิตรุ่นนี้ดี แล้วยังส่งผลไปถึงหน่ออีกด้วย
- หลังจากตัดปลีแล้ว 20-30 วันให้ห่อผลด้วยถุงขนาดใหญ่ เปิดก้นถุงระบายอากาศห่อทั้งเครือ หรือใช้ใบกล้วย 3-4 ใบผูกโคนก้านกล้วยกับก้านเครือ ปล่อยใบยาวตามเครือ จัดระเบียบใบกล้วยให้คลุมผลกล้วยทั้งเครือ มัดรวบช่วงปลายใบกล้วยที่ใช้ห่อกับมัดช่วงกลางพอหลวมอีก 1-2 เปราะ .... ก่อนลงมือห่อผลควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรกำจัดชื้อราและแมลงให้เปียกโชก นอกจากช่วยกำจัดเชื้อราแล้วยังกำจัดไข่ของแม่ผีเสื้อไม่ให้ฟักออกเป็น ตัวหนอน ป้องกันแมลงวันทองและยังทำให้ผิวสวย คุณภาพเนื้อในดีอีกด้วย
- ระยะบำรุงผล (หลังตัดปลี) ถึงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว ตัดแต่งใบให้เหลือไว้ประมาณ 9-10 ใบ
- เมื่อเห็นว่าเครือเริ่มใหญ่และน้ำหนักมากขึ้นให้ค้ำต้น
- ให้กำมะถัน 1-2 รอบตลอดช่วงผลกลาง จะช่วยบำรุงให้กลิ่นและสีดี
ระยะผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว :
ทางใบ :
- ให้ 0-21-74 + ธาตุรอง/ธาตุเสริม + สารสมุนไพร 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว ฉีดพ่นทางใบให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น
- ฉีดพ่นสารสมุนไพร ทุก 2-3 วัน
ทางราก
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (2 ล.) /ไร่ รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว .... ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม
- ให้น้ำกับปุ๋ยแล้วงดน้ำจนถึงวันเก็บเกี่ยว
หมายเหตุ :
- ให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน
- เมื่อผลกล้วยส่วนโคนเครือแก่ได้ประมาณ 3 ใน 4 ของจำนวนหวีทั้งเครือ ใบจะเริ่มเหี่ยวเหลืองเนื่องจากใกล้หมดอายุต้น ใบที่เหี่ยวเหลืองแล้วนี้จะไม่สังเคราะห์สารอาหาร เป็นเหตุให้จำนวนหวีส่วนปลายเครือ 1 ใน 4 ไม่ได้รับสารอาหาร หรือได้รับน้อยกว่าปกติ จังหวะนี้หากมีการให้ แมกเนเซียม (ในไบโออิ) ทางใบเสมอๆ ก็จะช่วยบำรุงให้ใบยังคงเขียวสด สังเคราะห์สารอาหารต่อไปได้ จนกระทั่งผลของหวีสุดท้ายปลายสุดของเครือแก่จัด
----------------------------------------------------------------------------------
.
|
|