ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 07/06/2013 8:45 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
songpon03122526 บันทึก: | สวัสดีครับลุงคิม พี่ใหญ่ คุณ teeen2005 และ สมช.ทุกท่าน
พี่ใหญ่ นาข้าวที่พี่ใหญ่ลงรูป อยู่ที่ไหน อ.อะไรครับ มีเบอร์โทรไหมครับ
เฮ่ย ๆๆๆ ช้าก่อน ซิมเหลี่ยงเลี๊ยง ใจเย็น ๆ ไอ้น้อง มาเป็นชุดเลย ..1188 โทรศัพท์ สายด่วนสี่ตัว ฝากข้อความ ฝากคำถาม ฝากข่าว ก่อนเริ่มรายการ เน้นย้ำ ก่อนเริ่มรายการ.
...ขืนฝากถามในขณะกำลังจัดรายการ โดนเต็ม ๆ
ผมก็อยากลงข้าวตระกูลอื่นในแปลงนาของผมเหมือนกัน ผมก็มีเป้าหมายแบบนี้ อยากปลูกข้าวหอมนิล ไรซ์เบอรรี่ และอื่นๆ สีเป็นข้าวกล้องขาย และขายเป็นข้าวพันธุ์
หอมนิล ไรซ์เบอร์รี่ ปลูกได้แทบจะทุกพื้นที่ ยิ่งพื้นที่ ๆ อากาศหนาวเย็น เมล็ดยิ่งจะมีสีดำสนิท เมล็๋ดยิ่งมีสีดำมาก ยิ่งมีคุณค่าทางอาหารต้านอนุมูลอิสระมากยิ่งขึ้น....นาบ้านคุณทำได้ สบายมาก ชัวร์
ผมขอรวบรวมข้อมูลข้าวสายพันธุ์พวกนี้หน่อยครับ เป็นข้าวที่ัยังไม่เคยปลูก ไม่ค่อยรู้ใจเท่าไหร่
คุณทรงพล... แม่โพสพน่ะ รู้ใจท่านไม่ยากหรอก... อย่าให้น้ำมากเพราะท่านไม่ชอบน้ำ เปียกแค่หน้าดินพอแล้ว... ท่านเป็นคนยุคโบราณนานมากตั้งแต่ยุคก่อนบาบิโลน ตั้งแต่พระเจ้าสร้างโลก..
ท่านไม่ชอบ ยูเรีย 46-0-0 กับ 16-20-0 กับพวกยาฆ่าแมลงสมัยใหม่ ท่านชอบพวกสมุนไพร ยาแผนโบราณ และเป็นธรรมดาของผู้หญิง ที่ชอบให้ดูแล เอาใจใส่ เอาอกเอาใจ ประคบประหงม นุ่มนวลเข้าไว้ ...ไม่ยาก
อีกอย่างในปีนี้ต้องการใช้ อินทรีย์นำ เคมีเสริม ในผืนนาของตนเอง ปีนี้คงต้องลองเมล็ดพันธุ์ข้าวที่พี่ส่งมาให้ ปลูกเพื่อขยายพันธุ์ก่อนครับ
ขอบคุณครับ
. |
ปีนี้คงต้องลองเมล็ดพันธุ์ข้าวที่พี่ส่งมาให้ ปลูกเพื่อขยายพันธุ์ก่อนครับ
พันธุ์ที่ผมส่งมาให้ ผมรับรองความงอก 3 สายพันธุ์ คือ (1)ลืมเมีย เอ๊ย ลืมผัว (2) หอมนิล (3) ข้าวดอยสามสี ส่วน ไรซ์เบอร์รี่ ...ผม และทุกคนที่ได้รับเพาะไม่งอกว่ะ ...เจ้าของเค้าหวงพันธุ์น่ะ ...เมล็ดมันอายุอ่อนเกินไป...
สำหรับข้าวหอมดอย ผมทดลองปลูกแล้วที่นครปฐม รับรองว่าได้ผล เพราะออกรวงเมื่ออายุประมาณ 65 วัน และเมล็ดแก่เกี่ยวได้ประมาณ 100 วัน อยากดูรูปมั๊ยล่ะ เพราะเคยลงในเว็ปลุง แต่ลงไม่หมด
รูปที่ 1 ข้าวสามสายพันธุ์นี้ ผมได้มาจากกะเหรี่ยงฝากมาให้ที่ ปาย รับรองความงอก ทั้งสามสายพันธุ์ ส่วนอีกพันธุ์ ไรซ์เบอร์รี่ ไม่งอกครับ
รูปที่ 2 ข้าวกล้องหอมดอยสามสี
รูปที่ 3 ข้าวหอมดอยสามสี ขัดขาว
รูปที่ 4 ข้าวกล้องหอมดอยสามสี ราดหน้า ดอกขจรหรือดอกสลิดชุบไข่ และกุนเชียง ...ไปคนละแนวเลย ...ยามหิว อะไร ๆ ก็ดีไปหมดแหละ
รูปที่ 5 อันนี้ใหม่ล่าสุด ข้าวก่ำ ปกติจะเป็นข้าวเหนียว แต่นี่เป็นพันธุ์ข้าวก่ำเจ้า กะเหรียงบนดอยเอามาฝากที่นครปฐม เมื่อเดือนที่ผ่านมา อร่อยไม่แพ้ข้าวหอมนิล.....
จากที่ผมแนะนำ เวลานี้ กะเหรียงบนดอยแถบบ้านวัดจันทร์ จะเอาข้าวทุกสายพันธุ์ที่ปลูกบนดอย สีเป็นข้าวกล้อง เอาลงมาขายนักท่องเที่ยวที่ปาย มีเท่าไหร่ก็ไม่พอขาย ...ตอนโน้นผมบอกว่าให้ขาย กก.ละ 70 เพื่อนบอกว่า 65 พอแแล้ว มาระยะหลัง น้ำมันแพงขึ้น เวลานี้เลยต้องขาย กก.ละ 75 บาท (จากวัดจันทร์ลงมาปาย 75 กม.ไปกลับก็ 150 กม ค่าน้ำมันขับรถขึ้นลงเขาใช้น้ำมันเท่าเดิมแต่จ่ายแพงขึ้น )
คุณอย่ามัวจด ๆ จ้อง ๆ อยู่เลย ที่เป็นร้อยไร่ ทดลองทำซักอย่างละ 10 ไร่ จัดหนักไปเลย....ปุ๋ยสูตรลุงนี่แหละ ทำเองบ้าง ซื้อบ้าง ขอแถมบ้าง ไปโลด เด๊อ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 07/06/2013 10:33 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
teeen2005 บันทึก: | DangSalaya บันทึก: |
ข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นพันธุ์ข้าวที่มีการแตกกอมาก 1 เมล็ดอาจจะแตกได้ตั้งแต่ 30 - 60 ต้น ถ้าหว่านแบบในรูปนี้ ข้าวจะขึ้นเบียดกันแน่นตึงเลย
นอกจากนี้ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ จะปลูกได้ 3 ชั่ว เมล็ดจะเปลี่ยนสีไม่ดำสนิท แล้วก็ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ จะมีอายุการเกี่ยวไม่เกิน 120 วัน ถ้าเกิน120 วัน เมล็ดจะร่วงแบบข้าวดีดทันที ส่วนมากจะเกี่ยวในเวลาไม่เกิน 110 - 115 วัน
|
สวัสดีครับ ลุงคิม ทิดแดง คุณทรงพลและสมช.ทุกท่าน
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ปลูกได้แค่ 3 รุ่นหรือครับ ถ้าปลูกรุ่น 2 แล้วเมล็ดจะมีสีขาวปน เรื่องนี้ไม่รู้จริงๆ
ลุงคิมตอบให้แล้ว กระจ่างชัด
แล้วจะมีวิธีไหนที่จะทำให้สีของข้าวไรซ์เบอร์รี่ เมล็ดสีดำตลอดไปต้องทำอย่างไรครับเมื่อเราเอาไปปลูกอีกครั้ง เกิน 3 ครั้ง
เท่าที่ผมรู้ ต้องคัดพันธุ์อีกหรือเปล่าครับ คือ ต้องเอาแกะเม็ดข้าวออกเหลือแต่ข้าวกล้อง แล้วคัดแต่เม็ดดำ แล้วเอาไปปลูกแบบต้นเดียว ถ้าแบบนี้ก็ต้องคัดทุกรุ่นใช่หรือเปล่าครับ
คุณเข้าใจถูกแล้วครับ ....คัดรวง....คัดเมล็ด....แกะเปลือก เอาแต่เมล็ดใน(ที่เรียกว่าข้าวกล้อง).....คัดเมล็ดอีกครั้ง.....เอาเมล็ดที่คัดได้ไปเพาะ....เมื่อเพาะแล้วเมล็ดจะงอกตามรูปนี้
รูป 1
รูป 2
รูป 1, 2 ข้าวกล้องงอก นำไปปลูกได้เลย
รูป 3 - การคัดเมล็ดพันธุ์
รูป 4 การคัดเอาเกสรตัวผู้
รูป 5 การเอาเกสรตัวผู้มาใส่เกสรตัวเมีย (การผสมพันธุ์ข้าว)
รูปที่ 6 ข้าวกล้องลืมผัว
ช่วยแจงแถลงไข ด้วยครับ ทิดแดง ว่ามีวิธีไหนนอกจากที่ผมรู้มา
วิธีการที่ผมเคยเห็นที่เค้าทำกัน เป็นวิธีของชาวสวนที่ต้องการไม่ให้กลายพันธุ์ ทำแบบชาวบ้าน ซึ่งไม่ถือเป็นวิชาการ ...เอาเกสรตัวผู้สายพันธุื์เดียวกันจากที่อื่นเอามาผสมกับเกสรตัวเมียในแปลงของเรา คือเค้าตัดมาทั้งรวง แล้วเอามาค่อย ๆ เขย่า ๆ ถูกับรวงข้าวในแปลงของเรา อาจได้ผลไม่ 100 % แต่ช่วยยืดการกลายพันธุ์ให้ยาวขึ้น ผสมแล้วก็เอาถุงบาง ๆ ครอบเอาไว้เพื่อกันแมลงมาผสมเกสรซ้ำ
ส่วนรุปการผสมพันธุ์ข้าวที่ผมนำเสนอ เป็นการผสมข้ามสายพันธุ์เพื่อให้ได้ข้าวพันธุ์ใหม่ครับ
ขอบคุณครับ
|
แหล่งเมล็ดพันธุ์ข้าว RB ที่น่าเชื่อถือเท่าที่ผมรู้
1) ข้าวเปลือก มีถังละ 1,700 (กก.ละ 170) Ver ไป ไม่แนะนำ
2) ข้าวเปลือก ถังละ 1,200 (กก.ละ 120) ม.เกษตรกำแพงแสน ต้นตำรับข้าว RB.
3) ข้าวเปลือก ถังละ 500 (กก.ละ 50 บาท) คุณบังอร ฯ บางปลาม้า สุพรรณ
ข้าวกล้อง กก.ละ 70 บาท คุณบังอร บางปลาม้าเช่นกัน
ขอค้นหาเบอร์โทรก่อน
4) ยัยเฉิ่ม ได้พันธุ์มาจาก แปดริ้ว - ฉะเชิงเทรา ถังละ 700 (กก.ละ 70 บาท)
สอบถาม ยัยเฉิ่ม ดูครับ
สำหรับผม ชอบหอมนิลครับ เพราะผมว่ากินอร่อยกว่า RB สีเป็นข้าวกล้องแล้ว ราคา หอมนิลจะแพงกว่า RB อายุการเก็บเกี่ยว หอมนิล 90 วัน RB ไม่เกิน 120 วัน(ประมาณ 110 วัน)
ชื่อนั้นสำคัญไฉน..
RiceBurry เกิดจาก มะลิ105 ผสมกับ หอมนิล ..ดังระเบิด
ส่วนข้าว สินเหล็ก เกิดจาก หอมนิล ผสมกับ มะลิ 105 (กลับพ่อกลับแม่กัน) กลับไม่ดังเท่าไหร่...ทั้งที่ความจริงแล้ว สินเหล็ก มีสารต้านมะเร็งสูงกว่า ไรซ์เบอร์รี่
กระแส และ ชื่อเป็นฝรั่ง
ข้าวเมล็ดดำมีแยะครับ ข้าวก่ำล้านนา, ข้าวลืมผัว, ข้าวหอมนิล, ข้าวหอมมะลิแดง, สุโขทัย 1, 2, ไรซ์เบอรี่, สินเหล็ก
ผมมีแนวคิดว่า ถ้าเอา RB ผสมกับ หอมนิลอีกครั้ง สายพันธุ์จะนิ่งขึ้นหรือไม่ ยังไม่มีใครทำ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 07/06/2013 10:41 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
kimzagass บันทึก: | ความบริสุทธิ์ทางสายพันธุ์ของข้าว อยู่ได้แค่ 3-4 รุ่นปลูก เพราะ....
- การผสมกันเองจนเกิดอาการ "ด้อย" ทางพันธุ์กรรม
- การผสมข้ามพันธุ์ที่สปีซี่ห่างกันมากๆ
- การปฏิบัติบำรุงที่มีผลต่อ "ความสมบูรณ์" ต่อพัฒนาการทุกระยะ
ลุงพูดตามหลักทางพันธุศาสตร์ว่าด้วยการผสมพันธุ์ของ เมลเดล เป๊ะเลยครับ
- ความเป็นจริงในทางปฏิบัติ เมล็ดพันธุ์ที่ได้ มาถึงมือเราเป็นรอบที่เท่าใด ? รู้หรือไม่ ?
- ต้องการเมล็ดพันธุ์ที่มีความบริสุทธิ์ทางสายพันธุ์สูงจริงๆ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์รอบแรกจากศูนย์เมล็ดพันธุ์ที่เชื่อถือได้ (เน้นย้ำ...เชื่อถือได้) เท่านั้น
- ทำเอง .... ชัวร์ 99.99 เศษ 44 ส่วน 100
คลิก :
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3200&postdays=0&postorder=asc&start=250&sid=920029c9fa17ef75af174f35393d925d#top
ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว....
. |
ลุงคิม เน้นย้ำ ถึง 3 ครั้งเลยนะเนี่ย...
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
teeen2005 สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 19/11/2012 ตอบ: 161
|
ตอบ: 07/06/2013 11:48 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สวัสดีครับ ลุงคิม ทิดแดง และสมช. ทุกท่าน
ต้องขอบคุณลุงคิม และทิดแดง มากครับที่ช่วยแจกแจงแถลงไข และให้ความรู้ ในเรื่องที่ไม่รู้ สุดท้ายก็ต้อง "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" จะซื้อข้าวพันธุ์เขาอยู่ร้ำไปนั้น ไม่ยาก แต่จะได้ข้าวปลอมปน และการกลายพันธุ์ (แน่ๆ) เราต้องผันตัวเองทำพันธุ์ข้าวใช้เอง และรักษาพันธุ์้ข้าวด้วย
จากที่ทิดแดงตอบว่า นี่คือ เทคนิคชาวสวน ที่บอกว่าเอาเกษรของต้นแหล่งอื่นมา ก็เอาแบบนี้ที่ผมคิดน่ะ ก็ซื้อพันธ์ข้าวชนิดเดี่ยวกัน จาก 3 แหล่ง (ต่างที่กัน โดยที่ไม่ใช่มาจากแหล่งเดี่ยวกัน) มาเพาะพร้อมกันแล้วผสมกันจะได้ 6 ตัวอย่าง ในแต่ล่ะปีการเพาะปลูก
ดูข่าวช่อง 11 พิธีกรบอกว่ากลุ่มคนชัยนาท ทำพันธุ์ข้าวขายยังไม่พอ (ไม่ได้ทำทุกพันธุ์) คนซื้อมีมากกว่าคนขาย ความต้องการพันธุ์ข้าวมากขึ้นทุกปี
เมื่อก่อนผมก็แปลกใจ เรื่องพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105
แม่ : ข้าวรุ่นต่อไปจะใช้ปลูกไม่ได้แล้วน่ะ ต้องไปหาซื้อใหม่ ต่างอำเภอ
ผม : ทำไมล่ะแม่ ข้าวก็มีเต็มยุ้ง ก็ใช้ข้าวในยุ้งเราซิจะซื้อให้เปลืองเงินทำไม
แม่ : ก็ข้าวมันกลายพันธ์แล้วซิ (แม่ผมก็ตอบไม่ได้ อธิบายไม่ได้)
ผม : (นึกแปลกใจ !) กลายพันธุ์ได้อย่างไรแม่ ในเมื่อมันผสมกันเอง ทั้งทุ่งก็ข้าวหอมมะลิ ผมก็ลืมนึกเรื่องการผสมกันเองในครอบครัว หรือตัวมันเอง ทำให้ยีนด้อย แสดงผลให้ไม่ เหมือนต้นแบบ หรือกลับสู่พันธุ์ดั่งเดิม เช่นที่ข้าว RB มีเมล็ด สีขาว โง่จริงผมนี่ ลืมเรื่องวิชาชีววิทยาตอนมัธยมได้ไง
อย่างนั้นคนที่ขายพันธุ์้ข้าวแต่ล่ะพันธุ์้ เลยไม่ใช่แค่ปลูกแล้วขายเมล็ดข้าวเท่านั้น ต้องคัดพันธุ์้ข้าวเองอีกด้วย และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอด เป็นอาชีพที่ ทำมาค้าขึ้นจริง เคยไปซื้อข้าวพันธุ์้ ราคาไม่ใช่ย่อยเลย อย่างนี้นี่เองต้นทุนการผลิตขั้นแรก (หว่านกันไม่ยั้ง ไร่ล่ะ 25 กก. นาหว่านรอน้ำฝน)
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 21/06/2013 8:48 am ชื่อกระทู้: รวมกระทู้ 2 in 1 |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม ..คุณ ทรงพล
@ คุณทรงพล....อย่าว่าผมจุ้นจ้านเลยนะ....เพื่อความสะดวกในการค้นหาและการศึกษา ... น่าจะขอให้ลุงคิม รวมเนื้อหาของกระทู้ 3140 กับ 3521 ให้มาอยู่ในกระทู้เดียวกัน คุณว่าดีมั๊ยครับ
ขอบคุณครับ...
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
songpon03122526 สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 22/11/2012 ตอบ: 98
|
ตอบ: 21/06/2013 11:52 am ชื่อกระทู้: Re: รวมกระทู้ 2 in 1 |
|
|
ครับผม เชิญเลยครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
songpon03122526 สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 22/11/2012 ตอบ: 98
|
ตอบ: 21/06/2013 1:25 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม พี่ใหญ่ และสมช.ทุกท่าน
ตอนที่ 2 นาข้าวรอน้ำฝน
หลังจากที่นำเสนอตอนที่ 1 ไปแล้ว และยังไม่นำเสนอตอนอื่นๆ เพราะว่ากำลังหว่าน
ข้าวอยู่ ยังไม่เสร็จเรียบร้อย ตอนนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว
รูปที่ 1 ต้นข้าวอายุ 20 วัน หลังจากหว่านข้าวไปแล้วสองวัน เจอพระพิรุณสาดน้ำใส่
หนักพอสมควร การงอกของข้าวจึงเป็นอย่างที่เห็น มีทั้งงอกและไม่งอก แถวบ้าน
ผม เวลาหว่านข้าว ภายใน 1 อาทิตย์ ไม่มีใครอยากให้ฝนตก ฝกตกตอนนี้ ข้าวงอก
ยาก ในรูปถือว่างอกมาก เพื่อนบ้านบางทีงอกน้อยกว่านี้อีก
รูปที่ 2 บริเวณที่ข้าวไม่งอก เพราะโดนน้ำฝน แล้วเป็นที่ลุ่ม น้ำขังนานไปหน่อย ข้าว
ไม่งอกเลย ไม่ใช่ปัญหาครับ ฝนตกมาเมื่อไหร่ ดินแฉะๆหน่อย ถอนกล้าบริเวณที่ข้าว
ขึ้นหนา มาแซมบริเวณไม่งอก เป็นอันจบข่าว แต่ถ้าฝนมาช้า ก็ยากเหมือนกัน ถ้าฝน
มาเร็วรอดตัวไปครับ
รูปที่ 3 นานี้ก็ไถกลบตอซังอีกเหมือนกัน ตอนนี้ 20 วัน รากข้าวก็กำลังดูดสาร
อาหารจากในดินมาใช้ ต่อจากนี้อีก 10 วันคงเห็นการเปลี่ยนแปลง
รูปที่ 4-5 ระยะห่างระหว่างต้นข้าว ทุกปีจะหนากว่านี้มาก ปีนี้ไม่ใช่หว่านบาง แต่ข้าว
มันงอกแค่นี้ ทั้งอำเภอพูดเป็นเสียงเดียวกัน หว่านข้าวหนาแต่ข้าวไม่หนาอย่างที่
หว่าน ไม่เป็นไรผมไม่ได้ยึดติดว่าหนาหรือบาง ปีนี้ผมต้องพิสูจน์ ความหนา บางของ
ต้นข้าว กับผลผลิตของต้นข้าว ชาวบ้านชอบพูดว่าหว่านข้าวหนาเอาไว้ จะได้ข้าว
เยอะ อันนี้ผมไม่เชื่อหรอก และไม่เป็นความจริงด้วย แต่คำพูดที่ว่าหว่านข้าวหนา
หน่อย หญ้าจะน้อยกว่าหว่านข้าวบาง อันนี้จริงครับตามที่เคยทำมา ผมจะดูว่าข้าว
บางจะแตกกอดีขนาดไหน
รูปที่ 6-7 บริเวณที่เป็นสีเหลืองๆ คือต้นข้าวกำลังจะยืนต้นตายเพราะไม่มีน้ำ ฝนตก
ช่วงนี้ก็ตกไม่มาก นิดเดียว เจอแดดเผาสองแดด ก็แห้งหมด ไม่ใช่นาข้าวของผมแต่
เป็นของเพื่อนบ้าน เป็นแบบนี้หลายคนแล้ว ภายในอาทิตย์นี้ถ้าไม่เจอฝนตก ข้าวสี
เหลืองนั้นก็รอดยากเหมือนกัน ที่นี่ปลูกมะลิ 105 เพราะข้าวชนิดนี้ทนแล้งดี แต่ผมคิด
ว่าที่แห้งเป็นสีเหลืองไม่ได้เป็นเพราะน้ำเป็นสาเหตุหลักหรอก ถ้าน้ำเป็นสาเหตุหลัก
ข้าวก็เหลืองทุกคนซิ อันนี้ มีเขียวก็มี เหลืองก็มี ผมว่าเกิดจากดิน ดินไม่ดี ของผมก็
เป็นอยู่ที่หนึ่ง เดี๋ยวผมจะไปวัด pH ดินดูว่าเป็นอย่างไร ก่อนหว่านข้าว บริเวณข้าวที่
ยังเขียวปกติ ผมสุ่มวัดดู Ph ประมาณ 6.0 - 6.5 แต่บริเวณที่แห้ง เหลือง ผมยังไม่วัด
รูปที่ 8-10 นาข้าวอายุ 27 วัน เป็นนาที่นำเสนอไปแล้วเมื่อตอนที่ 1 ไถดะจนถึงไถ
หว่าน 4 ครั้ง กลบตอซังด้วย ผลลัพธ์ที่ได้ ก็เป็นอย่างที่เห็นในรูป อัตราน้ำฝนที่ได้ก็
เหมือนกันกับรูปที่ 6 -7 แต่นั้นเหลืองกำลังจะตาย แต่นี่ยังเขียวปี๋อยู่เลย
รูปที่ 11-12 ดูดินให้เห็นใกล้ๆหน่อย เป็นอย่างนี้แหละครับ แห้ง ไม่มีน้ำตั้งแต่
หว่านข้าว แต่ต้นข้าวก็ยังอยู่ได้ ดินในรูป 8 - 10 ก็เป็นอย่างนี้แหละครับ แห้ง ไม่มี
น้ำ จากรูปนี้มีคำถามครับ
1. ถ้าผมจะพ่นจุลินทรีย์ลงไปในนาข้าว ทั้งที่ดินแห้งเป็นแบบนี้ จะได้ไหมครับ (ผม
ลองวิเคราะห์ดู จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิต พ่นลงไปในผืนนา เจอดินแห้ง ไม่มีน้ำ เจอแสง
แดดเผา จุลินทรีย์จะมีชีวิตต่อได้อย่างไร แต่ถ้าเจอน้ำฝน ดินอยู่ในระดับแฉะ พ่น
จุลินทรีย์ ในนามีน้ำบ้าง น่าจะพอได้ ไม่รู้ผมวิเคราะห์ถูกหรือผิดครับลุง)
2. ถ้าผมจะให้ไบโออิแก่ต้นข้าว ดินแห้งแบบนี้ให้ได้เลยหรือไม่ อย่างไรครับ
รูปที่ 13 - 14 ฝั่งใกล้เป็นนาผม ฝั่งไกลเป็นนาเพื่อนบ้าน ผมกลบตอซัง ไถ 4 ครั้ง
เพื่อนบ้าน เผาฟาง ไถ 2 ครั้ง ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเหมือนดังรูป
รูปที่ 15 ขวามือนาผม ซ้ายมือนาเพื่อนบ้าน รูปที่ 16 ซ้ายมือนาผม ขวามือนาเพื่อน
บ้าน ต่างกันอย่างไรดูกันเอาเองในรูปครับ
หนังเรื่องนี้ยังอีกไกลครับ โปรดติดตามตอนต่อไป
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 21/06/2013 2:36 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
songpon03122526 บันทึก: |
รูปที่ 11-12 ดูดินให้เห็นใกล้ๆหน่อย เป็นอย่างนี้แหละครับ แห้ง ไม่มีน้ำตั้งแต่
หว่านข้าว แต่ต้นข้าวก็ยังอยู่ได้ ดินในรูป 8 - 10 ก็เป็นอย่างนี้แหละครับ แห้ง ไม่มี
น้ำ จากรูปนี้มีคำถามครับ
1. ถ้าผมจะพ่นจุลินทรีย์ลงไปในนาข้าว ทั้งที่ดินแห้งเป็นแบบนี้ จะได้ไหมครับ (ผม
ลองวิเคราะห์ดู จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิต พ่นลงไปในผืนนา เจอดินแห้ง ไม่มีน้ำ เจอแสง
แดดเผา จุลินทรีย์จะมีชีวิตต่อได้อย่างไร แต่ถ้าเจอน้ำฝน ดินอยู่ในระดับแฉะ พ่น
จุลินทรีย์ ในนามีน้ำบ้าง น่าจะพอได้ ไม่รู้ผมวิเคราะห์ถูกหรือผิดครับลุง)
ตอบ :
- แนวทางวิเคราะห์ "จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตฯ" มาถูกทางแล้ว...
- ใส่จุลินทรีย์หน่อกล้วย (ประหยัดที่สุด) หรือให้สารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ (กากน้ำตาล อัตราใช้ 1 : 500) ลงไปบำรุงจุลินทรีย์ประจำถิ่นก็ได้
- จุลินทรีย์จะทำงานได้สูงสุดก็ต่อเมื่อมี "อินทรีย์วัตถุ" อยู่ในเนื้อดิน .... จุลินทรีย์ไม่ใช่ปุ๋ย ปุ๋ยไม่ใช่จุลินทรีย์ แต่ต้องไปคู่กัน....จุลินทรีย์เปรียบเสมือนแม่ครัวที่เอาข้าวสารมาหุง .... ขาวสารอยู่ในถุง ไม่มีใครเอาใส่หม้อแล้วหุง จะกินข้าวนั้นได้ไหม ....
2. ถ้าผมจะให้ไบโออิแก่ต้นข้าว ดินแห้งแบบนี้ให้ได้เลยหรือไม่ อย่างไรครับ
ตอบ :
- พืชรับสารอาหารได้ 2 ทาง คือ ทางใบและทางราก
- พืชไม่ได้กินดิน แต่กินสารอาหารที่อยู่ในดิน สารอาหารที่ว่านั้นคือ "อินทรีย์วัตถุ" นั่นเอง
- เมื่อในเนื้อดินไม่มีสารอาหารเป็นทุนเดิม แล้วรากจะเอาสารอาหารตากที่ไหนส่งไปให้ต้นข้าวล่ะ
- งานนี้เข้าล็อค ใช้สูตร "เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน" เมื่อรากไม่พร้อมก็ต้องพึ่งพาใบแทน ว่าแล้วก็ให้ "ทางใบ" ไงล่ะ .... ว่าแต่ว่า สารอาหารหรือปุ๋ยที่จะให้ทางใบน่ะ ตัวไหน (ใน 14 ตัว), สูตรไหน (เรโช), ให้ระยะไหนของต้นข้าว (ถามต้นข้าว) ประมาณนี้ันี่แหละ
ปล.
อย่ายึดวิชาการมากนัก เพราะมันยากมากๆ แต่ให้ยึดหลักธรรมชาติของต้นข้าวเป็นหลัก เอาแบบ "เทคโนวิชาการ ผสมผสาน เทคโนชาวบ้าน" หรือ "เทคโนชาวบ้านนำ เทคโนวิชาการเสริม" ก็น่าะจะพอมั้ง
รูปที่ 13 - 14 ฝั่งใกล้เป็นนาผม ฝั่งไกลเป็นนาเพื่อนบ้าน ผมกลบตอซัง ไถ 4 ครั้ง
เพื่อนบ้าน เผาฟาง ไถ 2 ครั้ง ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเหมือนดังรูป
ตอบ :
ระหว่างไถกลบตอซัง 4 ครั้ง กับเผาฟางไถ 2 ครั้ง นี่แหละ LINE ธรรมชาติ เริ่มแสดงออกมาให้เห็นแล้ว อย่าเร่งอย่ารีบ ! 3 รุ่นหรือ 3 รอบนั่นแหละทุกอย่างจะชัดเจน
ข้าวทุกชนิดในโลก (ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ข้าวสาลี) ต้องการน้ำทั้งนั้น เพียงแต่ต้องการ มาก/น้อย ต่างกันทางสายพันธุ์เท่านั้น ถ้าน้ำบนผิวดิน (มองเห็น) ไม่มี แต่ไต้ผิวดินมีน่้ำ (พอชื้น) ต้นข้าวก็อยู่ได้ แถมดีด้วย .... กำลังจะบอกว่า พยายามส่งฟางหรือเศซากพืชสารพัดชนิด (ตระกูลถั่ว) ลงไปคลุกกับเนื้อดินให้มากๆ เข้าไว้ ถึงระดับ เนื้อดิน : ฟางเศษซากพืช อัตรา 3-4 : 1 ได้ ฝนลงมาเพียง 1 ครั้ง น้ำจะซึมลงไปอยู่ไต้ดินแล้วมีฟางเศษซากพืชเป็นตัวอุ้มน้ำไว้ให้ น้ำจะอยู่ในดินได้นานนับเดือน ถ้าหน้าดินแห้งแต่ไต้ดินชุ่มน้ำ ได้ละก็ ข้าวแตกกอระเบิดระเบ้อ .... หลายปีมาแล้ว อเมริกาแล้งอย่างหนัก แล้งที่สุดในรอบ 10 ปี นาข้าวที่หลุยเซียร์น่าแห้งตาย หลายมื่นเอเคอร์ (1 เอเตอร์ = 6.25 ไร่) เพราะขาดน้ำอย่างรุนแรง ฉนี้แล้ว หอมมะลิว่าแน่ๆ จะอยู่ได้เหรอ
|
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
songpon03122526 สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 22/11/2012 ตอบ: 98
|
ตอบ: 25/06/2013 10:53 am ชื่อกระทู้: |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม และพี่น้องเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
ตอนที่ 3 เดินเที่ยวดูนาข้าว
หลังจากที่เสร็จสิ้นภารกิจหว่านข้าวประจำปี 2556 มีเวลาว่างก็เลยขับรถเยี่ยมชมนาข้าว
ที่หว่านข้าวไปแล้ว
รูปที่ 1 - 4 เป็นนาข้าวอายุ 50 วัน นาผืนนี้ไถกลบตอซัง ไถทั้งหมด 3 ครั้ง ในนามี
หญ้าบ้างแต่ดูแล้วไม่มาก สภาพต้นข้าวก็ปกติ ยังไม่แสดงอาการขาดน้ำ การจัดการกับ
ต้นหญ้า อาจจะถอนหรือปล่อยไว้เฉยๆ หรืออาจจะพ่นยาเป็นบางจุด คอยดู
สถานการณ์ก่อนว่าจะใช้กรณีไหน
รูปที่ 5 - 8 นาข้าวอายุ 30 วัน นาข้าวผืนนี้เผาฟาง แต่ไถฟางที่เผา กลบลงดิน ไถ
ทั้งหมด 4 ครั้ง นาผืนนี้ได้ใส่ปุ๋ยขี้ไก่แกลบลงไปในนา ต้นข้าวได้สารอาหารจากขี้ไก่
แกลบ ก็เจริญเติบโตดีดังในภาพ
เชิญพี่น้องเพื่อนสมาชิก แนะนำ comment นะครับ ผมจะได้นำไปพัฒนาวิธีการทำนา
ขอบคุณครับ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 25/06/2013 2:23 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
.
"พืชด้วยใบ บอกด้วยราก"
น่าจะถอนขึ้นมาซักต้น....
- ดู "ราก" ..... ถ้าราก ขาว/มาก/ยาว = ดี
- ดู "ต้น" ...... ถ้าต้น กลม/แน่น/ใหญ่ = ดี
- ดู "หน่อ" .... ถ้าหน่อมาก = แตกกอดี
- ดู "ใบ" ...... ถ้าตอน 8-10 โมงเช้า ใบไม่โค้งลง = ดี
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 25/06/2013 8:46 pm ชื่อกระทู้: ข้าวดูดีจัง |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม...คุณทรงพล....
ข้าวรอฝนเพิ่งจะเคยเห็น.... ข้าวดูเขียวดีจังเลย ....ใช้หว่านไปกี่ถัง / ไร่ ..แต่มองดูว่า ขึ้นเบียดกันแน่นไปหน่อยมั๊ย ...
เห็นผลงานสองคนละนะ คุณทรงพล(1) คุณอำพลอีก(1) คุณ searchxz กับคุณ wit แล้วเจ้าตุ๊ดตู่ ...อ้อ มีป้า hans อีกคน เป็นไงมั่งหว่า ....
....ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนครับ....
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
songpon03122526 สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 22/11/2012 ตอบ: 98
|
ตอบ: 26/06/2013 2:12 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สวัสดีครับ ลุงคิม พี่ใหญ่ ...
ข้าวพันธ์ 35 - 40 kg / ไร่ครับ ผมก็กำลังหาวิธีที่ใช้ข้าวพันธ์น้อยกว่านี้ครับ เหตุที่ต้องใช้มาก เพราะว่ากันต้นหญ้าครับ ที่นี่หว่านข้าวแล้ว รอน้ำฝน ฝนตกมาครั้งหนึ่ง สามสี่วันแห้ง ฝนตกมาครั้งหนึ่ง หนึ่งอาทิตย์แห้ง ถ้าหว่านข้าวบาง เจอฝน เจอแห้ง หญ้าจะงามมากครับ
ผมต้องการใช้ข้าวพันธ์ให้น้อยกว่านี้ ถ้าพี่น้องเพื่อนสมาชิก มีวิธีการใช้ข้าวพันธ์น้อย หญ้าไม่ค่อยขึ้น แนะนำผมได้นะครับ ผมยินดีรับฟัง
ปีนี้ดีหน่อยที่ฝนมาเร็ว ทุกปีฝนมาช้าและทิ้งช่วง ข้าวกำลังจะยืนต้นตาย ข้าวมันกำลังจะเอาตัวรอด มันก็เลยไม่ค่อยแตกกอ ชาวบ้านก็เลยหว่านข้าวหนา ใช้ข้าวต้นเดียว เกิดมาต้นเดียว ตั้งท้อง และออกรวง รวงเดียวต่อต้นครับ
ขอบคุณครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 26/06/2013 3:02 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ในฐานะคนรุ่นใหม่ (เล่นเน็ตเป็น...เหนือกว่าชาวนาทั่วไป) จึงอยากรู้ว่ามีแผนการทำอย่างไรบ้าง เช่น ....
- ข้าวต้องปลูกบนดิน ในดินควรต้องมีสารอาหารอินทรีย์เป็นหลัก สารอาหารเคมีเป็นตัวเสริม....ก่อนลงมือปลูก เตรียมอย่างไร....?
- ฝนฟ้าเอาแน่นอนไม่ได้ มีฝนก็ดีไป ถ้าแล้งจนดินแตกระแหงล่ะ เตรียมแก้ปัญหาให้ต้นข้าวอย่างไร...?
- นาข้าวอิสานได้ผลผลิตค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น รู้สาเหตุหรือยังว่าเป็นเพราะอะไร ? แล้วจะแก้ปัญหานี้อย่างไร...?
- การบำรุงระยะต่างๆ ตั้งแต่ "ระยะกล้า ถึง เก็บเกี่ยว" ต้องทำยังไงบ้าง ....?
- มีแนวคิดทำนาแบบ 3 ลด 3 เพิ่ม ไหม ?
- ใจคอจะทำอย่างชาวบ้านที่คิดในแง่ของ "เศรษฐศาสตร์การลงทุน" แล้ว ขาดทุน ยังงั้นเหรอ ?
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
teeen2005 สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 19/11/2012 ตอบ: 161
|
ตอบ: 26/06/2013 3:37 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สวัสดีครับลุงคิม และคุณทรงพล
น่าเห็นใจครับ เรื่องแบบนี้อย่างที่คุณเป็น ก็เกิดแถวบ้านผม สู้ๆ ครับ
แต่พื้นที่ผมดีหน่อยที่ได้พื้นที่ดี ติดน้ำ มีบ่อน้ำ สามารถสูบน้ำได้ พื้นที่ส่งเสริมการปลูกข้าวจากกรมชล และกระทรวงการเกษตร
นาสำรวย มีปัญหาเรื่องหญ้า แต่พอกำจัดได้
1.หลังเก็บเกี่ยว ถ้ามีน้ำ(ส่วนใหญ่จะขังน้ำไว้ในนามาก) ก็ให้เอารถไถติดโรตารี่มาปั่นเลย ปั่นแบบฟางสดๆ นั้นแหละ จะได้ปุ๋ยพืชสด ก่อนปั่นฟางก็ฉีดจุลินทรีหน่อกล้วย +กากน้ำตาล ตามความพอใจให้ทั่วนา ถ้ามีถั่วเขียว ก็หว่านให้ทั่ว เราจะไถตอนฟางแห้งไม่ได้มันไถไม่เข้า
2.ปั่นเสร็จ รอให้หญ้าขึ้น แต่ไม่ถึงช่วงออกดอก ให้ไถกลบอีกครั้ง
3.ตอนช่วงจะทำนา ก็ไถด้วยผาน 3 ให้ลึก
ก็ประมาณนี้ครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 26/06/2013 5:38 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
teeen2005 บันทึก: | สวัสดีครับลุงคิม และคุณทรงพล
น่าเห็นใจครับ เรื่องแบบนี้อย่างที่คุณเป็น ก็เกิดแถวบ้านผม สู้ๆ ครับ
แต่พื้นที่ผมดีหน่อยที่ได้พื้นที่ดี ติดน้ำ มีบ่อน้ำ สามารถสูบน้ำได้ พื้นที่ส่งเสริมการปลูกข้าวจากกรมชล และกระทรวงการเกษตร
COMMENT :
ถือว่า "มาถูกทาง" แต่เป็น "ทางสายไหม" ที่ใช้กันตั้งแต่สมัยเมโสโปเตเมีย ก่อนกำเนิดประเทศอิรัค....ยุคนี้เขาไปทาง "TRANS WORLD" กันแล้ว
ลองอ่านกระทู้ "นาข้าว ก.ทำกับมือ" ดูก็ได้.... ประหยัดกว่า ประสิทธิภาพเหนือกว่า
นาสำรวย มีปัญหาเรื่องหญ้า แต่พอกำจัดได้
COMMENT :
"นาสำรวย" คือ นาสำหรับคนไม่ชอบลำบาก ชอบง่ายๆ ทึกทักเอาเองว่า ปลูกข้าวยังงี้ก็ได้
ข้าวกับหญ้าเป็นพืชตระกูลเดียวกัน กำจัดหญ้าไม่ให้กระทบกระเทือนต้นข้าว ทำยังไง ?
หญ้าเยอะ ข้าวมาก หรือแหญ้าขี่ข้าว ใช้สูตร "เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน" ได้ไหม ?
1. หลังเก็บเกี่ยว ถ้ามีน้ำ(ส่วนใหญ่จะขังน้ำไว้ในนามาก) ก็ให้เอารถไถติดโรตารี่มาปั่นเลย ปั่นแบบฟางสดๆ นั้นแหละ จะได้ปุ๋ยพืชสด ก่อนปั่นฟางก็ฉีดจุลินทรีหน่อกล้วย +กากน้ำตาล ตามความพอใจให้ทั่วนา ถ้ามีถั่วเขียว ก็หว่านให้ทั่ว เราจะไถตอนฟางแห้งไม่ได้มันไถไม่เข้า
COMMENT :
น้ำ O.K. แบบนี้ ไถทำไม ไม่ว่าจะเป็นโรตารี่โรตาแหระ ผานสามผานเจ็ด ไม่ไถทั้งนั้น เพราะยิ่งไถหญ้ายิ่งงาม ลุงคิมไม่ไถ หมักฟาง 10 วัน เอาอีขลุบลงย่ำเลย ย่ำประณีต ย่ำ 3 รอบในแต่ละกระทง 7 วันย่ำ 7 วันย่ำ รวมย่ำ 4 รอบ ครบเดือนพอดี สิ่งที่ได้....
- ได้ประหยัดกว่า ค่าไถ (ปกติ 2-3 รอบ)+ย่ำ (ปกติ 2 รอบ)
- ได้ประหยัดค่าเมล็ดพันธุ์ + แรงงาน เพราะดำด้วยรถดำนา
- ได้ขี้เทือกลึกครึ่งหน้าแข้ง
- ได้กำจัดหญ้าทุกชนิด ที่เหลือไม่ถึง 10% ใช้คนถอน 1 รอบเมื่อต้นหญ้าโตขึ้น
- ได้ ฟาง+หญ้า เป็นปุ๋ยพืชสด ย่ำแล้วไม่มีฟอง
- ได้สารอาหาร หลัก/รอง/เสริม ครบถ้วนตามข้าว
- ได้ประหยัดค่าปุ๋ย ปกติใส่ 1-2 กส./ไร่ ลงเหลือ 10-20 กก./ไร่
- ได้จุลินทรีย์มหาศาล ขี้เทือกหอมมาก
- ได้ดินดำสำหรับรุ่นหน้า และรุ่นต่อๆ ๆๆ ไป
2. ปั่นเสร็จ รอให้หญ้าขึ้น แต่ไม่ถึงช่วงออกดอก ให้ไถกลบอีกครั้ง
3. ตอนช่วงจะทำนา ก็ไถด้วยผาน 3 ให้ลึก
COMMENT :
จ่ายทั้งนั้น สิ้นเปลืองทั้งค่าแรงและเวลา แต่ประสิทธิภาพไม่เต็มร้อย
ก็ประมาณนี้ครับ
COMMENT :
น่่าจะคำนวน "ต้นทุน" หน่อยนะ ตั้งแต่ก้าวแรกที่ลงนา ถึงก้าวสุดท้าย ขายข้าวแล้วเข้าบ้าน....ต้นทุนที่จ่ายเป็นเงิน ? ต้นที่ไม่ได้จ่ายเป็นเงิน ? รวมเบ็ดเสร็จแล้วจะรู้ว่า "รู้งี้ ก.ไม่ทำนา" ดีกว่า
|
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
DangSalaya หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 23/06/2011 ตอบ: 1864
|
ตอบ: 26/06/2013 11:15 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
teeen2005 บันทึก: | สวัสดีครับลุงคิม และคุณทรงพล
น่าเห็นใจครับ เรื่องแบบนี้อย่างที่คุณเป็น ก็เกิดแถวบ้านผม สู้ๆ ครับ
แต่พื้นที่ผมดีหน่อยที่ได้พื้นที่ดี ติดน้ำ มีบ่อน้ำ สามารถสูบน้ำได้ พื้นที่ส่งเสริมการปลูกข้าวจากกรมชล และกระทรวงการเกษตร
นาสำรวย มีปัญหาเรื่องหญ้า แต่พอกำจัดได้
---------------------
|
นาของคุณ teeen2005 ทำอยู่ที่ไหนครับ เข้าหน้าฝนแล้ว น่าจะลงมือทำไปแล้ว เอารูปมาลงให้เพื่อนสมาชิกได้ชมเป็นบุญตากันบ้างซีครับ....ว่าเป็นฉันใด
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
teeen2005 สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 19/11/2012 ตอบ: 161
|
ตอบ: 27/06/2013 5:04 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
kimzagass บันทึก: | teeen2005 บันทึก: | สวัสดีครับลุงคิม และคุณทรงพล
น่าเห็นใจครับ เรื่องแบบนี้อย่างที่คุณเป็น ก็เกิดแถวบ้านผม สู้ๆ ครับ
แต่พื้นที่ผมดีหน่อยที่ได้พื้นที่ดี ติดน้ำ มีบ่อน้ำ สามารถสูบน้ำได้ พื้นที่ส่งเสริมการปลูกข้าวจากกรมชล และกระทรวงการเกษตร
COMMENT :
ถือว่า "มาถูกทาง" แต่เป็น "ทางสายไหม" ที่ใช้กันตั้งแต่สมัยเมโสโปเตเมีย ก่อนกำเนิดประเทศอิรัค....ยุคนี้เขาไปทาง "TRANS WORLD" กันแล้ว
ลองอ่านกระทู้ "นาข้าว ก.ทำกับมือ" ดูก็ได้.... ประหยัดกว่า ประสิทธิภาพเหนือกว่า
นาสำรวย มีปัญหาเรื่องหญ้า แต่พอกำจัดได้
COMMENT :
"นาสำรวย" คือ นาสำหรับคนไม่ชอบลำบาก ชอบง่ายๆ ทึกทักเอาเองว่า ปลูกข้าวยังงี้ก็ได้
ข้าวกับหญ้าเป็นพืชตระกูลเดียวกัน กำจัดหญ้าไม่ให้กระทบกระเทือนต้นข้าว ทำยังไง ?
หญ้าเยอะ ข้าวมาก หรือแหญ้าขี่ข้าว ใช้สูตร "เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน" ได้ไหม ?
1. หลังเก็บเกี่ยว ถ้ามีน้ำ(ส่วนใหญ่จะขังน้ำไว้ในนามาก) ก็ให้เอารถไถติดโรตารี่มาปั่นเลย ปั่นแบบฟางสดๆ นั้นแหละ จะได้ปุ๋ยพืชสด ก่อนปั่นฟางก็ฉีดจุลินทรีหน่อกล้วย +กากน้ำตาล ตามความพอใจให้ทั่วนา ถ้ามีถั่วเขียว ก็หว่านให้ทั่ว เราจะไถตอนฟางแห้งไม่ได้มันไถไม่เข้า
COMMENT :
น้ำ O.K. แบบนี้ ไถทำไม ไม่ว่าจะเป็นโรตารี่โรตาแหระ ผานสามผานเจ็ด ไม่ไถทั้งนั้น เพราะยิ่งไถหญ้ายิ่งงาม ลุงคิมไม่ไถ หมักฟาง 10 วัน เอาอีขลุบลงย่ำเลย ย่ำประณีต ย่ำ 3 รอบในแต่ละกระทง 7 วันย่ำ 7 วันย่ำ รวมย่ำ 4 รอบ ครบเดือนพอดี สิ่งที่ได้....
- ได้ประหยัดกว่า ค่าไถ (ปกติ 2-3 รอบ)+ย่ำ (ปกติ 2 รอบ)
- ได้ประหยัดค่าเมล็ดพันธุ์ + แรงงาน เพราะดำด้วยรถดำนา
- ได้ขี้เทือกลึกครึ่งหน้าแข้ง
- ได้กำจัดหญ้าทุกชนิด ที่เหลือไม่ถึง 10% ใช้คนถอน 1 รอบเมื่อต้นหญ้าโตขึ้น
- ได้ ฟาง+หญ้า เป็นปุ๋ยพืชสด ย่ำแล้วไม่มีฟอง
- ได้สารอาหาร หลัก/รอง/เสริม ครบถ้วนตามข้าว
- ได้ประหยัดค่าปุ๋ย ปกติใส่ 1-2 กส./ไร่ ลงเหลือ 10-20 กก./ไร่
- ได้จุลินทรีย์มหาศาล ขี้เทือกหอมมาก
- ได้ดินดำสำหรับรุ่นหน้า และรุ่นต่อๆ ๆๆ ไป
2. ปั่นเสร็จ รอให้หญ้าขึ้น แต่ไม่ถึงช่วงออกดอก ให้ไถกลบอีกครั้ง
3. ตอนช่วงจะทำนา ก็ไถด้วยผาน 3 ให้ลึก
COMMENT :
จ่ายทั้งนั้น สิ้นเปลืองทั้งค่าแรงและเวลา แต่ประสิทธิภาพไม่เต็มร้อย
ก็ประมาณนี้ครับ
COMMENT :
น่่าจะคำนวน "ต้นทุน" หน่อยนะ ตั้งแต่ก้าวแรกที่ลงนา ถึงก้าวสุดท้าย ขายข้าวแล้วเข้าบ้าน....ต้นทุนที่จ่ายเป็นเงิน ? ต้นที่ไม่ได้จ่ายเป็นเงิน ? รวมเบ็ดเสร็จแล้วจะรู้ว่า "รู้งี้ ก.ไม่ทำนา" ดีกว่า
|
|
ขอบคุณครับลุงคิม ที่เตือนด้านการลงทุน ตอนนี้ผมอยู่กทม ให้เขาเช่านาไปแล้วครับทิดแดง แต่สักพักคิดจะกลับไปทำนาตัวเอง เมื่อก่อนก็ทำนาตามคนข้างบ้านน่ะครับ (ตามกระแสชาวบ้านอยู่นานเลย) เมื่อก่อนคิดอยากจะเปลี่ยนแปลงทำนาแบบ ลดต้นทุน แต่พ่อแม่ไม่เอาด้วย และไม่อยากสูดดมสารเคมีต่างๆ ก็เลยหนีเข้า กทม.
ตอนนี้ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าคนงานเพิ่มสูงขึ้น พ่อแม่คงฟังแนวคิดผมบ้างล่ะ เพราะมีข้อมูล วีดีโอ ไปให้เขาดู เพราะอย่างไรเขาก็อยากลดต้นทุน
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
songpon03122526 สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 22/11/2012 ตอบ: 98
|
ตอบ: 28/06/2013 11:40 am ชื่อกระทู้: |
|
|
kimzagass บันทึก: | ในฐานะคนรุ่นใหม่ (เล่นเน็ตเป็น...เหนือกว่าชาวนาทั่วไป) จึงอยากรู้ว่ามีแผนการทำอย่างไรบ้าง เช่น ....
- ข้าวต้องปลูกบนดิน ในดินควรต้องมีสารอาหารอินทรีย์เป็นหลัก สารอาหารเคมีเป็นตัวเสริม....ก่อนลงมือปลูก เตรียมอย่างไร....?
- ฝนฟ้าเอาแน่นอนไม่ได้ มีฝนก็ดีไป ถ้าแล้งจนดินแตกระแหงล่ะ เตรียมแก้ปัญหาให้ต้นข้าวอย่างไร...?
- นาข้าวอิสานได้ผลผลิตค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น รู้สาเหตุหรือยังว่าเป็นเพราะอะไร ? แล้วจะแก้ปัญหานี้อย่างไร...?
- การบำรุงระยะต่างๆ ตั้งแต่ "ระยะกล้า ถึง เก็บเกี่ยว" ต้องทำยังไงบ้าง ....?
- มีแนวคิดทำนาแบบ 3 ลด 3 เพิ่ม ไหม ?
- ใจคอจะทำอย่างชาวบ้านที่คิดในแง่ของ "เศรษฐศาสตร์การลงทุน" แล้ว ขาดทุน ยังงั้นเหรอ ?
. |
สวัสดีครับลุงคิม พี่ใหญ่ พี่น้องเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
- ข้าวต้องปลูกบนดิน ในดินควรต้องมีสารอาหารอินทรีย์เป็นหลัก สารอาหารเคมีเป็นตัวเสริม....ก่อนลงมือปลูก เตรียมอย่างไร....?
ต้องสร้างให้ดินมีสารอาหาร โดยใช้อินทรีย์เป็นหลักก่อน เริ่มแรกไถกลบฟางลงดิน เผาฟางเท่ากับเผาปุ๋ยในนาข้าวทิ้ง ไปหากรมพัฒนาที่ดิน ขอพืชบำรุงดิน พวกถั่วพร้า ปอเทือง หว่านแล้วไถกลบ ถึงกำหนดการเก็บเกี่ยว อาจจะเก็บเมล็ดหรือไม่เก็บก็ได้แล้วก็ไถกลบอีกรอบหนึ่ง ถ้าเลี้ยงวัวเลี้ยงควายเอาขี้ ไปใส่ในนา ถ้าไม่ได้เลี้ยง มีเงินก็ซื้อไปใส่ ไม่มีเงินก็ไม่ต้องใส่ ถ้าให้ลงทุนหน่อย ก็ยิปซั่ม กระดูกป่น ซื้อขี้วัว ขี้ไก่ ใส่ลงไปในนา ที่ลืมไม่ได้ ตั้งแต่ตอนแรก ต้องใส่จุลินทรีย์ก่อน ทำเองหรือซื้อตามสะดวก เรื่องจุลินทรีย์นี่แหละ ผมยังเข้าใจไม่มาก ขอลุงวิสัชชนาหน่อยครับ ตอนผมจะไถกลบฟางข้าว ช่วงนั้นนาผมไม่มีน้ำ แห้ง และแดดค่อนข้างร้อนมาก ผมก็อยากนำจุลินทรีย์ลงไปในดิน แต่จุลินทรีย์มีชีวิต ต้องการน้ำ นาไม่มีน้ำแถมแดดยังร้อนอีก ถ้าผมฉีดพ่นจุลินทรีย์ไปทั้งๆที่ไม่มีน้ำ และแดดร้อน จุลินทรีย์ไม่ตายเอาหรอกเหรอครับลุง ถ้าเป็นอย่างนี้ผมควรแก้ไขอย่างไร
- ฝนฟ้าเอาแน่นอนไม่ได้ มีฝนก็ดีไป ถ้าแล้งจนดินแตกระแหงล่ะ เตรียมแก้ปัญหาให้ต้นข้าวอย่างไร...?
อินทรีย์วัตถุ อินทรีย์วัตถุ อันนี้สำคัญมาก ใส่อินทรีย์วัตถุลงไปในนาข้าวให้มากๆ จะช่วยทำให้ใต้ดินมีความชื้น ข้างบนแห้ง แต่ใต้ดินชื้น ต้นข้าวยังมีชีวิตอยู่ได้ ปีนี้ได้เห็นกับตา ไถกลบฟาง ฟางคืออินทรีย์วัตถุ ดูข้าวในนา นาของคนอื่นเริ่มเหี่ยวเฉา นาของเรายังยิ้มได้ ใส่ขี้ไก่แกลบลงไปในดิน ใส่ไปบริเวณที่ปีที่แล้วข้าวบริเวณนั้นตายเพราะแล้ง ปีนี้ใส่ปุ๋ยขี้ไก่ลงไป จากที่เคยเหี่ยวเฉาและตาย ปีนี้เหี่ยวเฉายังไม่เจอ ไม่ตาย และข้าวยังงามกว่าอีก อินทรีย์วัตถุ ช่วยเกี่ยวกับเรื่องแล้งได้ วิธีแก้แล้งก็คือ ทำอย่างไรให้ดินมีอินทรีย์วัตถุ
- นาข้าวอิสานได้ผลผลิตค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น รู้สาเหตุหรือยังว่าเป็นเพราะอะไร ? แล้วจะแก้ปัญหานี้อย่างไร...?
ผลผลิตน้อย สาเหตุหลักเกิดจากดินไม่ดี แต่ก่อนเคยคิดว่าเพราะน้ำไม่ดี แต่พอเจอปีนี้ บอกได้ทันทีเลยว่าเป็นเพราะดินไม่ดี แก้อย่างไร ก็หาวิธีทำให้ดินดี ปุ๋ยพืชสด ไถกลบฟาง ยิปซั่ม กระดูกป่น ปุ๋ยมูลสัตว์ ใส่ไปแล้ว ฝนจะตก หรือ ไม่ตก ข้าวก็ยังงามดี ส่วนปัจจัยเรื่องน้ำ ผมว่าปัจจัยนี้ส่งผลต่อข้าวไม่มาก อีสานก็ไม่ใช่จะแล้งมากเสียจนทำอะไรไม่ได้ พอถึงเวลาฝนก็ตกลงมา สิ่งสำคัญ ผมคิดว่าดินอีสานตายแล้ว ไม่มีชีวิต จุลินทรีย์หายหมด วิธีแก้ ทำอย่างไรให้ดินกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง เมื่อนั้นผลผลิตคงไม่ไกลเกิน
- การบำรุงระยะต่างๆ ตั้งแต่ "ระยะกล้า ถึง เก็บเกี่ยว" ต้องทำยังไงบ้าง ....?
แต่ก่อนใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว สองรอบรอเก็บเกี่ยว ปีนี้ได้ความรู้อะไรต่างๆมากมาย แต่ก่อนกิน npk อย่างเดียว แล้วสารอาหารตัวอื่นพืชไม่กินหรือ คนจะกินแต่น้ำพริกอย่างแล้ว เป็นยังไง คนไม่อยากกินอย่างอื่นบ้างเหรอ แล้วต้นข้าวละ เขาก็อยากกินอย่างอื่นเหมือนกัน เมื่อเป็นอย่างนี้เราก็ต้องให้พืชกินอาหารให้ครบ สั่งซื้อวัตถุดิบทำแคลเซียมโบรอนและไบโออิจากคุณชาตรี ตอนนี้ผสมเสร็จแล้ว อยู่ในโกดัง เตรียมออกรบ ซื้อ ไทเป และยูเรก้า จากคุณน้ำส้ม ตอนนี้อยู่บุรีรัมย์ เดี๋ยวก็เดินทางมาถึงบ้านแล้ว ยูเรียจีเกรดสั่งซื้อได้ สองกระสอบ อยู่ในโกดัง 18 -38 -12 หาซื้อไม่ได้ พอแกล้มแกล้มก่อน 15 - 30 - 15 สองกระสอบอยู่ในโกดัง กระสุนปืนและลูกระเบิดอยู่ในโกดังแล้ว ลุงสั่งมา เดี๋ยวผมจะเหนี่ยวไก วิธีบำรุง ใช้สูตรนาข้าว ก. ทำกับมือของลุงนั่นและครับ
- มีแนวคิดทำนาแบบ 3 ลด 3 เพิ่ม ไหม ?
แน่นอนครับ อยู่ในความคิดแน่นอน ถ้าไม่คิดแบบนี้จะเอากำไรที่ไหน มาจ่ายค่าเทอมลูก ยิ่งราคาข้าวลดลงอย่างนี้ด้วยละก็ 3 ลด 3 เพิ่ม เป็นวิธีที่ดีครับ
- ใจคอจะทำอย่างชาวบ้านที่คิดในแง่ของ "เศรษฐศาสตร์การลงทุน" แล้ว ขาดทุน ยังงั้นเหรอ ?
แหม ลุงก็ ผมคิดเหมือนชาวบ้านที่ไหนละครับ ไถกลบฟางทำไปแล้ว ยาฆ่าหญ้าจะไม่ฉีดเพราะขี้เกียจ ยาฆ่าแมลงไม่ฉีดเหตุผลเดี๋ยวกัน ปุ๋ยทางดิน ปีนี้ลดลงครึ่งหนึ่ง เพิ่มปุ๋ยทางใบ ปุ๋ยทางใบผมฉีด เพราะฉีดแล้ว ไม่รบกวนสุขภาพของผม อันนี้ก็ลดต้นทุนไปไม่ใช่น้อยนะนี่ ต้นทุนลดแสดงว่ามีสิทธิ์ได้กำไรนะซิลุง
ผิดถูกอย่างไรแนะนำด้วยครับ
ขอบคุณครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
songpon03122526 สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 22/11/2012 ตอบ: 98
|
ตอบ: 28/06/2013 1:18 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สวัสดีครับ ลุงคิม พี่ใหญ่ .....
ตอนที่ 4 เตรียมสารสมุนไพร
รูปที่ 1 พอดีมีเวลาว่างนิดหนึ่ง ก็ก่อเตาไฟ นำหม้อมาตั้ง ใส่น้ำไป มองซ้ายขวา เจอ
บอระเพ็ด ว่านหางจรเข้ กระเทียม หอม ข่า พริกแกง และอื่นๆ นำเข้าไปในหม้อ เริ่มต้ม
ไฟหมดก็เติมถ่านเรื่อยๆ น่าจะได้ประมาณ 4 ชั่วโมงกว่า
รูปที่ 2 ต้มเสร็จปล่อยให้เย็น นำส่วนผสมต่างๆออกจากหม้อ ได้น้ำสมุนไพร สีสันน่า
รับประทาน หอมเครื่องแกง จำนวน 20 ลิตร เติมแอลกอฮอร์ 2 ลิตร น้ำส้มสายชู
200 ซีซี.
คำถามครับ
1. น้ำสมุนไพรนี้เก็บได้นานขนาดไหนครับ กี่วันเดือนปี
2. อัตราส่วนผสมต่อน้ำ 20 ลิตรครับ
ครับผม
" |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 28/06/2013 4:42 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
songpon03122526 บันทึก: | สวัสดีครับ ลุงคิม พี่ใหญ่ .....
ตอนที่ 4 เตรียมสารสมุนไพร
รูปที่ 1 พอดีมีเวลาว่างนิดหนึ่ง ก็ก่อเตาไฟ นำหม้อมาตั้ง ใส่น้ำไป มองซ้ายขวา เจอ
บอระเพ็ด ว่านหางจรเข้ กระเทียม หอม ข่า พริกแกง และอื่นๆ นำเข้าไปในหม้อ เริ่มต้ม
ไฟหมดก็เติมถ่านเรื่อยๆ น่าจะได้ประมาณ 4 ชั่วโมงกว่า
COMMENT :
ลองหยิบชิ้นสมุนไพรแต่ละตัว แตะลิ้นชิม ถ้าสมุนไพรตัวไหนยังมีรสดชาดอยู่ แสดง
ว่าสารออกฤทธิ์ยังออกมาใม่หมด โดยเฉพาะบอระเพ็ด ต้ม 4 ครั้งยังขมปึ๋อยู่เลย ถ้า
รสชาดยังอยู่แสดงว่ายังมีสารออกฤทธิ์ ให้ต้มต่อไปอีกยังได้
ใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านหมอแผนไทย สอบถามแพทย์แผนโบราณซี่ จะได้ข้อมูลความรู้
ดีที่สุด....ท้าให้ถามระดับ ศ.ดร. เกษตร ก็ไม่รู้เพราะไม่ได้เรียนมาก งานนี้ ศ.ดร.ใน
กระจก นั่นแหละ ดีที่สุด
รูปที่ 2 ต้มเสร็จปล่อยให้เย็น นำส่วนผสมต่างๆออกจากหม้อ ได้น้ำสมุนไพร สีสันน่า
รับประทาน หอมเครื่องแกง จำนวน 20 ลิตร เติมแอลกอฮอร์ 2 ลิตร น้ำส้มสายชู
200 ซีซี.
COMMENT :
สี กลิ่น กาก ฝ้า ฟอง รส คือลักษณะอาการของสารสำคัญ รู้กลิ่นแล้ว ทำไมไม่ลองชิม
ให้รู้รสด้วล่ะ
คำถามครับ
1. น้ำสมุนไพรนี้เก็บได้นานขนาดไหนครับ กี่วันเดือนปี
COMMENT :
ไม่มีใครรู้ ไม่มีเครื่องมือวัด ในธรรมชาติมีทั้งปัจจัยเสริมและปัจจัยต้านสารพัด จน
กระทั่งบอดได้เลย อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด ดีก็ใช่้ต่อไป เสียก็ทำใหม่
ที่เคยเห็นเขาทำขาย อยู่นานข้ามปี เขาทำได้....ถามว่า เขาทำยังไง ?
2. อัตราส่วนผสมต่อน้ำ 20 ลิตรครับ
COMMENT :
เราทำ เขาทำ มือหนักเท่ากันไหม สมุนไพรตัวเดียวกันแล้วมันเหมือนกันไหม แล้วตัวยาที่ออกมาจะเท่ากันได้ไง
เพราะ "ยึดติด" กับตัวเลขนี่แหละ ถึงได้พังกันเป็นแถบๆ แล้วมาโวยว่า สมุนไพรไม่ได้ สมุนไพรไม่ได้
อย่าเกร็งกับธรรมชาติ ทำไปใช้ไป ไปให้ถึงจุด ก.ทำกับมือ ....
|
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
teeen2005 สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 19/11/2012 ตอบ: 161
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 28/06/2013 9:12 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ถ้าหยอดเมล็ดแล้วต้นข้าวขึ้นเรียงเป็นแถวแบบ "ไม่มีระยะห่างระหว่างกอ" เลย แบบนี้คง "ไม่ใช่" ซะแล้วหละ
งานนี้ ระยะห่างระหว่างกอ "ไม่มี" คือเรียงกันเป็นพรืดไปเลย ส่วนระยะห่างระหว่างแถวก็ o.k. ละ
ใครก็ได้ถามไปที่ "คนขาย-คนผลิต" ซิว่า....
จัดระยะห่าง (ปรับ/ตั้ง) ระหว่างกอตามต้องการ ได้ไหม ?
จัดระยะห่าง (ปรับ/ตั้ง) ระหว่างแถว ได้ไหม ?
ที่ต้องการจริงๆ คือ ระยะห่างระหว่างกอ x ระยะห่างระหว่างแถว = 10 x 20 ซม. โดยที่ใน 1 กอ เมล็ดข้าวร่วงลง 2-3 เมล็ด .... เหมือนนาดำด้วยรถดำนา
บางยี่ห้อ จัดระยะห่างระหว่างกอได้ 10 ซม. แต่ใน 1 กอที่เมล็ดร่วงลงมาจุดละ 15-20 เมล็ด นี่มันกอละ 15-20 ต้น เมล็ดข้าวร่วงลงมากองเอ๊าะเยาะแบบนี้ ไหวเหรอ
.
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 29/06/2013 6:21 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
hans สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 28/04/2013 ตอบ: 146
|
ตอบ: 28/06/2013 10:00 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
หวัดดีค่ะลุง
หนูได้ลองหยอดด้วยเครื่องอย่างที่เห็นในรูป (ยืมเขา) มันจริงด้วย ได้แต่แถวไม่ได้กอ เครื่องหยอดน้ำตม ต้องปิดรูเว้นรู ได้ข้าวเป็นกอพอดูได้ บางทีเม็ดข้าวลงเยอะ บางทีน้อย สรูป เครื่องหยอดน้ำตม ใช้นาดินทรายคุมน้ำได้ พอใช้ได้ใช้ นาดินเหนียวลากเหนื่อยแทบขาดใจ ใช้นาดินลูกรังได้ผลเหมือนนาดินทราย ที่สำคัญต้องคุมน้ำเข้าออกได้ นาน้ำฝนจะมีปัญหา ฝนมาน้ำขัง ฝนไม่มีดินแห้งก็ไม่เกิด นาดำดีสุด ปัญหา คือ แรงงาน
อยากสรุปว่า ทำนาหยอดแห้งอย่างเครื่องที่เห็นและคุมหญ่าให้ได้น่าจะดีสุดในนาฤดูฝน (อีสาน) ถ้าเครื่องเขาสามารถปรับได้อย่างลุงว่า ปีนี้นา 3 ไร่ครึ่ง ลองทั้งหยอด หว่าน ดำ คุมหญ่า ได้ดีสุด คือ ไถแล้วปั่น น้ำขังไว้ 15 วันไม่มีหญ่าอะไรขึ้นเลย แล้วก็จะดำพรุ่งนี้ ปุ๋ยลุงใส่ตอนก่อนปั่นหนึ่งวัน ตอนนี้ผ่านมาหนึ่งเดือนดินยังนุ่มดำได้เลย ของเขาดีจริงขอบอก
พิมพ์ค้า
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
teeen2005 สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 19/11/2012 ตอบ: 161
|
ตอบ: 28/06/2013 10:48 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
kimzagass บันทึก: | ถ้าหยอดเมล็ดแล้วต้นข้าวขึ้นเรียงเป็นแถวแบบ "ไม่มีระยะห่างระหว่างกอ" เลย แบบนี้คง "ไม่ใช่" ซะแล้วหละ
งานนี้ ระยะห่างระหว่างกอ "ไม่มี" คือเรียงกันเป็นพรืดไปเลย ส่วนระยะห่างระหว่างแถวก็ o.k. ละ
ใครก็ได้ถามไปที่ "คนขาย-คนผลิต" ซิว่า....
จัดระยะห่าง (ปรับ/ตั้ง) ระหว่างกอตามต้องการ ได้ไหม ?
จัดระยะห่าง (ปรับ/ตั้ง) ระหว่างแถว ได้ไหม ?
ที่ต้องการจริงๆ คือ ระยะห่างระหว่างกอ x ระยะห่างระหว่างแถว = 10 x 20 ซม. โดยที่ใน 1 กอ เมล็ดข้าวร่วงลง 2-3 เมล็ด .... เหมือนนาดำด้วยรถดำนา
บางยี่ห้อ จัดระยะห่างระหว่างกอได้ 10 ซม. แต่ใน 1 กอที่เมล็ดร่วงลงมาจุดละ 15-20 เมล็ด นี่มันกอละ 15-20 ต้น เมล็ดข้าวร่วงลงมากองเอ๊าะเยาะแบบนี้ ไหวเหรอ
. |
ผมว่าน่าจะได้น่ะครับลุงคิม แต่ไม่แน่เรื่องระยะห่างระหว่างกอ x ระยะห่างระหว่างแถว คงต้องมาปรับ
รูปที่ 1
รูป 2
รูป 3
รูป 4
รูป 5 ระยะการทิ้งเมล็ด 4-5เมล็ด
จากรูป 1 ล้อด้านหลัง ที่เป็นซี่ๆ ไว้สำหรับปรับระยะการตกของเมล็ดข้าว
รูป 2 ส่วนช่องใส่ข้าว ก็มีรูนำพาเมล็ดข้าวลงแต่ล่ะช่อง ถ้าสั่งเขาได้ก็บอกเขา เอารูล่ะ 2-3 เมล็ด
สุดท้ายคือไปดูที่หน้าร้านขายว่า มีแบบที่ว่าไหม
http://www.truck2hand.com/index.php?module=InnoForum&func=list&ctrl=posts&id=198208
http://truck2hand.com/index.php?module=InnoForum&func=list&ctrl=posts&id=83564
นี่เวบเครื่องครับ
http://sritad-fordtractor.blogspot.com/p/blog-page.html
วีดีโอเครื่องหยอดเม็ดข้าวโพด แนวแนวคิดเดี่ยวกัน
http://www.youtube.com/watch?v=zpvjXvBJrlY |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|