-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข้าวไทย--รอบรู้เรื่องข้าว
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 7, 8, 9 ... 11, 12, 13  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 03/02/2013 12:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง....


171. Jasmine VS Jazzman ใครหอมกว่ากัน ?
172. ปรับปรุงข้าวหอมมะลิ ด้วยเทคนิคลำไอออนนาโน
173. หนุน 3 จังหวัดภาคเหนือ เร่งหันปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ เจาะตลาดบน
174. ลักษณะทั่วไปของ ข้าวหอมมะลิ
175. มาตรการ การปลูกข้าวแดง และข้าวต่างสี

176. สุนทร ศรีทะเนิน ผู้สร้างตำนานข้าวขาวดอกมะลิ 105
177. ข้าวหอม (Aromatic Rice) ของสหรัฐฯ
178. ข้าวพม่า-กัมพูชา ขึ้นแท่นหอม...สวยใส หอมมะลิไทยตกสวรรค์
179. การตั้งชื่อพันธุ์ข้าว
180. การปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทย

181. สหรัฐเพิ่มผลผลิตข้าวเมล็ดสั้นให้ญี่ปุ่น
182. สหรัฐพบ ข้าวไทยมีปริมาณสารหนูต่ำสุด
183. ข้าวหอมแดง, ข้าวหอมดำ, ข้าวหอมชมพู, (สุโขทัย)
184. มะลิ 106 ข้าวพันธุ์ใหม่ เน้น หอม-ทานโรค-ผลผลิตสูง
185. เมล็ดพันธุ์ข้าว ซีโอ 80 (กข31) หรือ ปทุม ซีโอ ปทุมธานี 80

186. รวมพันธุ์ข้าวจ้าว พันธุ์ข้าวเหนียว ลักษณะเด่น
187. หลักการผลิตข้าวอินทรีย์
188. การกำจัดข้าววัชพืช โดยวิธีเขตกรรม
189. ข้าววัชพืช
190. เทคนิคการทำข้าวผ่านหนาว ลดอาการใบเหลือง

191. 85 สายพันธุ์ข้าว คุณค่าพืชพันธุ์ธัญญาหาร
192. กรมข้าวจับมือ 6 หน่วยงานเกษตรฯ สานต่อโครงการจัดระบบปลูกข้าว
194. ปลูกข้าวเมล็ดเดียว หนึ่งต้นกล้า หนึ่งกอ
195. สลายตอซังข้าวด้วยเชื้อ 'จุลินทรีย์' ลดต้นทุน-รักษาระบบนิเวศ

196. ข้าวสังข์หยด เพาะงอก ตันละแสน


--------------------------------------------------------------------------------------------




171. Jasmine VS Jazzman ใครหอมกว่ากัน ?


ความวิตกกังวลของชาวนาไทยได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง เมื่อบริษัท Jassmen แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศก้องถึงความสำเร็จอันงดงามของการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมตราลุงแซม ในอดีต นักวิจัยของสหรัฐอเมริกาได้ปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมขึ้นมาหลายพันธุ์แต่พันธุ์เหล่านั้นมีระดับความหอมที่ยังด้อยกว่าข้าวหอมมะลิอยู่มาก พันธุ์เหล่านั้นได้แก่ Della, Calmati, Jasmati, Delrose, Dellmati, A301และ Jasmine 85 เป็นที่น่าสังเกตว่า พันธุ์ข้าวเหล่านี้มีคุณสมบัติการหุงต้มที่ด้อยกว่าข้าวขาวดอกมะลิอย่างชัดเจน แต่ Jazzman ได้เดินตามรอยข้าวขาวดอกมะลิมาขนาดไหนแล้ว

Jazzman ถือกำเนิดจากข้าวสายพันธุ์ 96a-8 ซึ่งเป็นข้าวหอมของจีนมาผสมกับข้าวเมล็ดยาวของ Arkansas เมื่อราวปี พ.ศ. 2540 แล้วทำการคัดเลือกจนได้สายพันธุ์บริสุทธิ์ถึง 13 ปี โดยการตรวจ “ดมหรือชิม” ความหอมเท่านั้น ไม่มีรายงานว่าการปรับปรุงพันธุ์ดังกล่าวได้ใช้เทคโนโลยีชีวภาพเข้าช่วยแต่อย่างใด ฝีมือการ “ชิมและดม” นี้เป็นผลงานของนักวิจัยเชื้อสายจีนที่นำโดย Associate Professor Sha จากมหาวิทยาลัย Luisiana Ag Center นักวิจัยกลุ่มนี้เขามุ่งเป้าไปที่กลิ่นหอมหวานที่ชัดเจนแล้วยังให้ความสนใจในการรักษาค่า amylose เอาไว้ประมาณ 12-15 เปอร์เซ็นต์ จึงใกล้เคียงกับข้าวขาวดอกมะลิมาก นับเป็นครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกามีข้าวหอม amylose ต่ำ และนั่นก็คือ สัญญาณพุ่งเป้ามาที่ข้าวขาวดอกมะลิอย่างชัดเจน ความละเอียดอ่อนของนักวิจัยกลุ่มนี้ทำให้ข้าว Jazzman มีความนุ่ม เหนียว หอมหวาน ครบเครื่องข้าวหอมมะลิ แต่สิ่งที่ขาดไปอย่างชัดเจนน่าจะเป็นความยาวเมล็ด Jazzman เป็น “ข้าวเมล็ดสั้น” แต่สิ่งที่น่าทึ่งมากคือ ความหอมแรงคู่ผลผลิต ข้าว Jazzman มีกลิ่นหอมแรง มีค่าความหอมถึง 597 ng/g (หนึ่งในพันล้าน ppb) จึงหอมเทียบเท่าข้าวขาวดอกมะลิที่ปลูกในทุ่งกุลาร้องไห้! ในขณะที่ผลผลิตมากถึง 1.2 ตัน/ไร่ ถามว่าข้าว Jazzman เป็นคู่แข่งข้าวขาวดอกมะลิหรือไม่? เมื่อประมวลคุณสมบัติเชิงหุงต้มของข้าว Jazzman กับข้าวหอมมะลิไทย พบว่า ไม่แตกต่างทั้งความหอม % amylose และค่า Alkaline spreading Value เมื่อยืนยันจากรสสัมผัสที่ได้อธิบายไว้ในเนื้อหาคือ หอม นุ่ม เหนียว ก็น่าจะเป็นแบบข้าวหอมมะลิของเรา แต่ความแตกต่างอย่างชัดเจน คือ ความยาวเมล็ด Jazzman เป็นข้าวเมล็ดสั้น (short-grain) ถามว่าตรงนี้สำคัญหรือไม่? สำหรับผู้บริโภคที่ติดในรสชาติข้าวขาวดอกมะลิ ความยาวเรียวของข้าวติดตาผู้บริโภคจนเป็นเอกลักษณ์ของข้าว เช่นเดียวกับข้าวบาสมาติของอินเดีย ซึ่งมีเมล็ดเรียวยาวมากหลังการหุงต้ม ดังนั้น ความเรียวยาวย่อมมีความสำคัญ แต่หากพิจารณาลึกลงไปแล้ว ข้าว Jazzman ที่มีค่าปริมาณสารหอมมากกว่า 500 ppb ที่ระดับผลผลิต 1.2 ตัน/ไร่ ต้องยอมรับว่าน่ากลัว โดยปกติข้าวที่มีกลินหอมแรงมักจะให้ผลผลิตไม่ค่อยสูง หากตัวเลขของ Jazzman เป็นจริงในหลายสภาพแวดล้อม ประเทศไทยควรเริ่มงานวิจัยเรื่องปรับปรุงผลผลิตและปริมาณสารหอมให้ได้ ดังนั้น ณ เวลานี้ Jazzman ยังไม่ใช่คู่แข่งที่น่ากลัว แต่ในเวลาอีกไม่ถึง 3 ปี Arkansas น่าจะมีข้าวหอมที่เมล็ดยาวกว่านี้ได้ไม่ยาก ยิ่งถ้าใช้เทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาช่วยปรับปรุงพันธุ์แล้ว ก็จะทำให้ประสบผลสำเร็จอย่างรวดเร็วทีเดียว อีกประเด็นหนึ่ง การปลูกข้าวหอมในเขตอบอุ่นอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ยของฤดูปลูกข้าวต่ำกว่าประเทศไทยมาก หากการจัดการปุ๋ยและน้ำเป็นไปอย่างสอดคล้องกัน ข้าวหอมพันธุ์ไหนๆ ก็ย่อมหอมกว่า เมื่อปลูกในเขตร้อนอย่างบ้านเรา ทีนี้ประเทศไทยจะเดินไปอย่างไร?

เส้นทางการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมของไทยได้ก้าวไปไกลกว่าของ Arkansas เท่าที่รวบรวมสรุปได้ มี 3 เส้นทาง คือ แนวทาง Super Jasmine คือ เสริมความทนทานโรค-แมลง ทนสภาพแวดล้อมจำกัด เข้าไปในข้าวขาวดอกมะลิ โดยไม่กระทบกับพันธุกรรมส่วนใหญ่ของข้าวขาวดอกมะลิเลย คล้ายกับคู่แฝดของข้าวหอม พื้นที่เป้าหมาย คือ พื้นที่นาน้ำฝนของข้าวขาวดอกมะลิเดิม แนวที่สอง คือ มุ่งปรับปรุงผลผลิตของข้าวหอมอย่างเดียว พื้นที่เป้าหมายคือนาชลประทาน แนวทางที่สาม คือ มองข้าวหอมแนวโภชนาการ โดยเพิ่มประโยชน์ด้านธาตุเหล็ก สังกะสีและต้านเบาหวานเข้าไป พร้อมทั้งปรับปรุงผลผลิตให้สูงมากกว่า 1 ตันต่อไร่ ในเขตนาชลประทาน

แนวทางสุดท้ายถือว่าท้าทายที่สุด เพราะข้าวหอมของไทยจะก้าวขึ้นขนานกับข้าวบาสมาติของอินเดีย แต่ผลผลิตสูงระดับข้าว Jazzman ดังนั้น หากเส้นทางทั้งสามของไทยดำเนินไปโดยไม่สะดุดแล้ว ข้าวหอมไทยก็ยังคงความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกอยู่ได้ระดับหนึ่ง แต่นักปรับปรุงพันธุ์ข้าวจะประมาทไม่ได้เลย เพราะยังมีคู่แข่งที่เหนือกว่า Jazzman ที่ใช้องค์ความรู้เรื่องยีนความหอมที่ได้ค้นพบแล้ว ดังเช่น เราจะได้เห็นความน่ากลัวของ Australia จีนและฝรั่งเศส ในเวทีข้าวหอมอย่างแน่นอน เส้นทางข้างหน้าของข้าวหอมไทยจึงต้องอาศัยวิทยาศาสตร์มาช่วยเสริม วิทยาศาสตร์จะช่วยสร้างนวัตกรรมขึ้นอีก โดยใช้ความหลากหลายของข้าวหอมที่ไทยมีอยู่ เพื่อเป็นแรงหนุนให้งานปรับปรุงพันธุ์ก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ ดังนั้น ขอให้กองทุนต่างๆ ช่วยหนุนให้นักวิจัยของเราทำเรื่องข้าวหอมให้มากๆ ด้วย




รศ.ดร. อภิชาติ ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว, หน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/03/2013 3:46 pm, แก้ไขทั้งหมด 37 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 03/02/2013 2:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


172. ปรับปรุงข้าวหอมมะลิ ด้วยเทคนิคลำไอออนนาโน



มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จับมือแม่โจ้ ปรับปรุงข้าวหอมมะลิด้วยเทคนิคลำไอออนนาโน

ข้าวหอม เป็นข้าวเมล็ดยาวและมีกลิ่นหอมหลังจากที่หุงแล้ว ข้าวหอมมีหลายสายพันธุ์ สายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงของไทยคือ ข้าวหอมดอกมะลิ 105 เป็นข้าวที่มีความต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นมากทุกปี เฉลี่ยปีละ 4-5 ล้านตัน ส่งออกมากกว่า 120 ประเทศ ข้าวหอมมะลิของไทยเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือในด้านคุณภาพ จากตัวเลขการส่งออกในปี 2547 ส่งออกประมาณ 7.5 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 76,368 ล้านบาท

ในขณะเดียวกันก็มีข้อจำกัดคือ ความหอมของข้าวหอมมะลินั้นเป็นสารหอมระเหยที่หายไปได้ ดังนั้น การรักษาความหอมของข้าวหอมมะลิ ควรเก็บข้าวไว้ในที่เย็น อุณหภูมิประมาณ 15 องศาเซลเซียส เป็นข้าวที่ไวต่อช่วงแสง จึงปลูกได้ปีละ 1 ครั้ง ลำต้นค่อนข้างสูง จึงล้มง่ายก่อนการเก็บเกี่ยว

รศ.ดร.สมบูรณ์ อนันตลาโภชัย ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อธิบายว่า การปรับปรุงพันธุ์พืชโดยวิธีก่อกลายพันธุ์ถือว่าเป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก จึงเกิดแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีลำไอออนพลังงานต่ำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 จึงได้รวบรวมทีมงานประกอบด้วย คุณบุญรักษ์ พันธ์ไชยศรี นักวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.ยู เหลียงเติ้ง และ ศาสตราจารย์ ดร.ถิรพัฒน์ วิลัยทอง ที่ปรึกษาโครงการจากศูนย์วิจัยนิวตรอนพลังงานสูง ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ และ ดร.รัฐพร จันทร์เดช มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อพัฒนาข้าวหอมมะลิสายพันธุ์ใหม่ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสภาวิจัยแห่งชาติ (วช.)

โดยทั่วไปการก่อกลายพันธุ์พืชจะใช้รังสีแกรมมา รังสีเอ็กซ์ แต่ปัจจุบันใช้เทคนิคล่าสุดคือ การใช้ลำไอออนพลังงานต่ำ เป็นเครื่องที่สร้างขึ้นเอง ราคาถูกกว่าต่างประเทศหลายเท่าตัว เป็นเครื่องเร่งอนุภาคมวลหนัก ขนาด 150 กิโลวัตต์ วิธีการทำงานโดยอาศัยอนุภาคที่มีประจุ เช่น ไอออนของไนโตรเจนหรืออาร์กอน ที่ถูกเร่งให้เกิดพลังงานสูงขึ้นภายใต้สนามแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้อนุภาคเคลื่อนที่ไปยังเป้าหมายคือ เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิด้วยความเร็วสูงในภาวะสุญญากาศ เมื่ออนุภาคกระทบกับเป้าหมายจึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมี โดยไม่เป็นอันตรายที่โครงสร้างและพื้นผิว อนุภาคของประจุจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงลักษณะการเรียงตัวของสารพันธุกรรมภายในเซลล์ ชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ จึงเรียกข้าวที่กลายพันธุ์นี้ว่า ข้าวหอมมะลินาโน

ประโยชน์ของข้าวหอมมะลินาโน หลังจากผ่านกระบวนการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ของข้าวหอมมะลิแล้ว ได้นำไปทดลองปลูก ผลปรากฏว่า ได้สายพันธุ์ใหม่ 3 สายพันธุ์ มีลักษณะที่แตกต่างกัน คือ
- สายพันธุ์ต้นเตี้ย
- สายพันธุ์ต้นสูง และ
- สายพันธุ์ต้นเตี้ย เมล็ดดำ
โดยทั้ง 3 สายพันธุ์ เป็นพันธุ์ที่ไม่ไวแสง สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี

สายพันธุ์ต้นเตี้ย จะช่วยให้ลำต้นไม่ล้มง่าย เก็บเกี่ยวสะดวก

สายพันธุ์ต้นสูง เป็นพันธุ์ที่ออกรวงเร็ว มีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น
- ธาตุเหล็ก มีประโยชน์ต่อการผลิตเม็ดเลือดแดง
- ธาตุแมงกานีส ช่วยในการสร้างเม็ดโลหิตแดง กระดูก ควบคุมการทำงานของเอนไซม์
- ธาตุสังกะสี ช่วยควบคุมระบบประสาท สร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ป้องกันอนุมูลอิสระ

สายพันธุ์ต้นเตี้ยและเมล็ดดำ เป็นพันธุ์ที่ออกรวงได้เร็ว เมล็ดข้าวสีน้ำตาลอมขาวคล้ายข้าวก่ำ กลิ่นหอม รสชาติอร่อยและนุ่มนวล

ความสำเร็จจากการปรับปรุงข้าวหอมมะลินาโนดังกล่าว ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี 2549 จาก สกว. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2549

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทร. (053) 943-333, (053) 941-303, (081) 595-0597, (053) 943-346


โดยธงชัย พุ่มพวง



http://pre-rsc.ricethailand.go.th/knowledge/6.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/02/2013 7:50 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 03/02/2013 2:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

173. หนุน 3 จังหวัดภาคเหนือ เร่งหันปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ เจาะตลาดบน


อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ จัดอบรมชาวนา 3 จังหวัดภาคเหนือ ส่งเสริมปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ยกระดับข้าวหอมมะลิไทย หวังเจาะตลาดระดับบน



นายมนัส สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวในงานสัมมนามาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยภายใต้เครื่องหมายรับรองและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิภาค การรับรองการตลาดข้าวหอมมะลิอินทรีย์ จัดโดยสำนักงานการค้าต่างประเทศ เขต 1 (เชียงใหม่) ที่โรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ว่า ถือเป็นการยกระดับมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยให้สูงขึ้น เนื่องจากปัจจุบันข้าวหอมมะลิมีการปลอมปนและส่งออกไปขายทั่วโลก

ด้วยเหตุนี้ จึงต้องส่งเสริมพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิเดิมใน 19 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3 จังหวัดภาคเหนือ คือ เชียงราย พะเยา และเชียงใหม่ ให้มีความรู้ความเข้าใจระบบการผลิต การรับรอง การตลาด เพื่อสร้างภาพลักษณ์และมูลค่าเพิ่มของข้าวหอมมะลิอินทรีย์ โดยตั้งเป้าแต่ละจังหวัดต้องมีแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ 1 แห่ง และในปี 2554 จะกำหนดมาตรฐานขึ้นใหม่เป็น 95% เพื่อเจาะตลาดลูกค้าระดับบน โดยเฉพาะฮ่องกงที่นำเข้าปีละกว่า 3 แสนตัน

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าการปลูกข้าวหอมมะลิธรรมดาและข้าวหอมมะลิอินทรีย์มีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาในการปลูกที่สามารถทำได้เพียงปีละครั้งและให้ผลผลิตไม่มากนัก ภาคอีสานผลิตได้ 300-400 กิโลกรัมต่อไร่ เชียงใหม่ให้ผลผลิตไม่เกิน 600 กิโลกรัมต่อไร่ เท่านั้น และมีราคาสูงถึงตันละ 3 หมื่นบาท จำเป็นต้องมีการพัฒนาปรับปรุงและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ส่วนภาพรวมข้าวหอมมะลิปีที่ผ่านมามีผลผลิต 2.5 ล้านตัน มูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านบาท จากข้าวทั่วประเทศที่ผลิตได้ปีละ 8.5 ล้านตัน สำหรับปี 2553 คาดมีผลผลิตรวม 9 ล้านตัน ส่งออกไปแล้วกว่า 6 ล้านตัน



http://www.komchadluek.net/detail/20100902/71865/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%993%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%99.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 03/02/2013 6:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

174. ลักษณะทั่วไปของ ข้าวหอมมะลิ




ข้าวหอมมะลิหรือข้าวดอกมะลิ เป็นข้าวที่มีความไวต่อช่วงแสง หมายถึง พันธุ์ข้าวจะออกดอกในวันที่กลางคืนยาวกว่ากลางวันเท่านั้น คือ ช่วงฤดูหนาวทำให้สามารถปลูกได้เฉพาะนาปีเท่านั้น ส่วนชื่อเรียกว่าข้าวหอมมะลินั้นมีที่มาจากสีของข้าวที่ขาวเหมือนดอกมะลิ แต่มีกลิ่นหอมเหมือนใบเตย ไม่ได้หมายความว่าข้าวนั้นหอมเหมือนมะลิ ลักษณะที่สำคัญของข้าวหอมมะลิ คือ เมื่อหุงหรือนึ่งสุกแล้วเมล็ดข้าวสุกจะอ่อนนิ่มมากกว่าข้าวเจ้าทั่วไป แต่ร่วนน้อยกว่าและมีกลิ่นหอมข้าวที่ปลูกเพื่อใช้เป็นข้าวหอมมะลิมี 2 พันธุ์ ได้แก่ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และกข.15 ซึ่งข้าวกข. 15 ก็คือ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่นำไปอาบรังสีแกมม่าทำให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 4-6 % ซึ่งข้าวทั้งสองพันธุ์นี้มีลักษณะ คือ เมล็ดข้าวจะฟักตัวในเวลาประมาณ 8 สัปดาห์ เมล็ดมีเปลือกสีน้ำตาล ยาว 7.4 มม.รูปร่างเรียว เมื่อข้าวสุกจะหอมนุ่ม มีอะมิโลส (amylose) 14-17 % ปลูกได้ในที่นาดอนทั่วไป ทนแล้ง ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ต้านทานไส้เดือนฝอยรากปม ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และหนอนกอมีคุณสมบัติการหุงต้มแบบข้าวขาวดอกมะลิ เมล็ดมีกลิ่นหอม เพาะปลูกได้ทั้งปี ทนอยู่ภายใต้สภาพน้ำท่วมขังได้นานถึง 2 สัปดาห์ เหมาะต่อการเพาะปลูกในพื้นที่ทำนาภาคกลาง ที่เกิดน้ำท่วมได้ง่าย ทนต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคขอบใบแห้ง ให้ ผลผลิตข้าวเปลือก 900-1000 กิโลกรัมต่อไร่

มีลักษณะประจำพันธุ์อันโดดเด่นดังนี้ ...
ทนต่อน้ำท่วมแบบฉับพลันในทุกระยะการเจริญเติบโต ,
มีความสูง105-110 เซนติเมตร ,
ไม่ไวต่อช่วงแสง
ปลูกได้ทั้งปี
มีอายุการเก็บเกี่ยว ประมาณ 120 วัน
ใบยาวและกว้างปานกลาง
ลำต้นและใบเขียว
ใบธงทำมุมกับคอรวง
ทรงกอตั้ง แบะเล็กน้อย
เมล็ดข้าวกว้าง2.5 ยาว10.9 หนา 2.0 มม
ข้าวเปลือกเมื่อสุกแก่มีสีฟางคล้ายพันธุ์หอมมะลิ 105
มีจำนวนรวงต่อกอ ในนาดำ ประมาณ 15 รวง รวงยาว 15 เซนติเมตร
มีปริมาณอะไมโลสในเมล็ดข้าว 18%
หุงต้มสุกได้ที่อุณฟถูมิ 74 องศาเซลเซียส


วิธีการปลูกข้าวหอมมะลิ



การปลูกข้าวหอมมะลิ นับว่าเป็นพืชเงินพืชทองเลยทีเดียว สำหรับปัจจุบันนี้ เพราะราคาเกวียนหนึ่งสูงถึง 10,000-12,000 บาท ซึ่งไม่เคยปรากฎมาก่อนในประวัติศาสตร์ของราคาข้าวไทย ปัจจุบันนี้รัฐบาลไม่ต้องมาคอยกังวล กับมาตรการประกันราคา กำหนดราคาข้าวเปลือกอีกแล้ว เพราะขณะนี้ตลาดข้าวหอมมะลิเป็นของผู้ปลูกไปซะแล้ว ดังนั้น การปลูกข้าวหอมมะลิให้ได้ผลผลิตสูง เพื่อจะได้นำเงินดอลลาร์เข้าประเทศซึ่งน่าจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจนัก แต่เรา สามารถปลูกข้าวหอมมะลิให้ได้ผลผลิตสูงเป็น 100 ถัง เหมือนข้าวนาปรัง มาครับพี่น้องเกษตรกรถ้าสนใจก็เชิญติดตามมานะครับ

มาดูหลักการก่อนอื่น การที่จะปลูกข้าวให้ได้ 100 ถัง หมายความว่า ใน 1 ตารางเมตร ต้องมีต้นข้าว 250 ต้น 250 รวง แต่ละรวงมีเมล็ดดี 100 เมล็ด จึงจะได้ข้าวหนัก 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนวิธีการมีดังนี้

ต้องไม่ให้ต้นข้าวล้ม ดังนั้น ต้นข้าวจะต้องไม่สูงมาก สามารถทำได้โดยการกำหนดช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม ไม่เร็ว หรือช้าเกินไป คือ ระหว่าง 1-31 กรกฎาคม โดยถ้าเป็นนาดำ ก็ตกกล้าต้นกรกฎาคม และปักดำต้นเดือนสิงหาคม ถ้าเป็นนาหว่านก็หว่านระหว่าง 15 กรกฎาคม-15 สิงหาคม และในระยะแตกกอไม่ควรให้ระดับน้ำสูง ควรจะทำให้มีน้ำน้อย ประมาณ 10 เซนติเมตร

อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้หว่าน ควรใช้ประมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ถ้าข้าวมีความงอก 80 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ใช้เมล็ดพันธุ์ 12.5-15 กิโลกรัมต่อไร่ก็พอ เพราะจะได้ต้นข้าว 300-400 ต้นต่อไร่ แต่ถ้าปลูกโดยวิธีปักดำ ควรใช้ระยะปักดำ 20×20 เซนติเมตร ซึ่งจะได้จำนวนต้นหรือรวงต่อกอ 5-6 รวง จำนวนกอต่อตารางเมตร 25 กอ

ควบคุมและกำจัดวัชพืชให้ได้ผล โดยเฉพาะในนาหว่าน แต่ถ้ารักษาระดับน้ำไว้ได้ก็คงไม่มีปัญหาวัชพืชมากนัก

ควบคุมโรคแมลงไม่ให้ระบาด ทำความเสียหายโดยมีการตรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ หากพบการระบาดต้องรีบกำจัด โดยเฉพาะในระยะข้าวออกรวง หากมีสภาพอากาศเย็นความชื้นสูง ไม่มีแดด ต้องระวังการระบาดของโรคไหม้ ควรฉีดยากำจัดเชื้อราเพื่อป้องกันไว้ก่อน


การใส่ปุ๋ย ควรมีการใส่ปุ๋ยเคมี 3 ครั้ง ดังนี้
ในระยะแตกกอ ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง เพื่อให้ต้นข้าวเจริญเติบโต สม่ำเสมอทั้งแปลง โดยใช้สูตร 16-16-8 สำหรับดินทราย 16-20-0 สำหรับดินเหนียว ไร่ละ 15-25 กิโลกรัม โดยนาดำให้ใส่หลังปักดำ 5-6 วัน นาหว่าน ใส่เมื่อเอาน้ำเข้านาหลังหว่านข้าว 7-10 วัน ครั้งที่ 2 ใช้สูตรเดียวกัน อัตราๆร่ละ 5-10 กิโลกรัม โดยใส่ในช่วงหลังจากใส่ครั้งแรก 15 วัน


การใส่ปุ๋ยในช่วงเริ่มสร้างดอกอ่อน ก่อนใส่ปุ๋ยควรดูต้นข้าวก่อนว่าแสดงอาการขาดปุ๋ยหรือไม่ ถ้าสีของใบเขียวเข้ม ใบยังตกอยู่ให้เลื่อนการใส่ปุ๋ยออกไปจนกว่าต้นข้าวแสดงอาการขาดปุ๋ย คือ สีของใบซีดลง หรือออกสีเขียวเหลือง ใบค่อนข้างตั้ง ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ไร่ละ5-10 กิโลกรัม หรือสูตร 21-0-0 ไร่ละ 10-20 กิโลกรัม การใส่ปุ๋ยในระยะนี้ ถ้าข้าวยังไม่แสดงอาการขาดปุ๋ยจะเป็นผลเสียเพราะจะทำให้ต้นข้าวเผื่อใบ เมื่อออกรวงจะได้รวงเล็ก เมล็ดต่อรวงน้อย


การใส่ปุ๋ยในระยะออกดอก ถ้าต้นข้าวไม่แสดงอาการขาดปุ๋ยรุนแรง
ไม่สมควรใส่เพราะจะทำให้เมล็ดข้าวสารขุ่นด้านไม่เหลื่อมมัน แต่ถ้าหากข้าวแสดงอาการขาดปุ๋ยรุนแรง ได้แก่ ใบเขียวออกเหลือง ให้ใส่ยูเรีย หรือ 46-0-0 ประมาณ 3–5 กิโลกรัมต่อไร่


หลังจากข้าวออกดอกแล้ว ประมาณ 20 วัน ควรระบายน้ำออกจากแปลงนา จะทำให้ต้นข้าวแก่อย่างสม่ำเสมอ และเมื่อข้าวอายุ 25-35 วัน หลังจากออกดอก ทำการเก็บเกี่ยวทันที่ทำให้ได้ปริมาณข้าวเปลือกที่มีคุณภาพดีและผลผลิตสูง


การส่งออกข้าวหอมมะลิ
• ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 เป็นต้นมา ปริมาณการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงระดับ 2 ล้านตันในปี พ.ศ. 2520 (ช่วง 50 ปี) หรือมีอัตราเพิ่มเฉลี่ย 1 ล้านตันต่อ 25 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521-2545 การส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 5 ล้านตัน หรือเฉลี่ย 1 ล้านตันทุก ๆ 5 ปี การส่งออกข้าวไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะนี้ดำเนินไปพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของประชากรจาก 11 ล้านคนในปี พ.ศ. 2470 มาเป็น 63 ล้านคนในปี พ.ศ. 2547 และพื้นที่ปลูกข้าวของไทยก็เพิ่มขึ้น 16 ล้านไร่ในปี พ.ศ. 2470 มาเป็น 61 ล้านไร่ในปี พ.ศ. 2547

• การส่งออกข้าวไทยในปัจจุบัน เป็นการค้าแบบเสรีในลักษณะที่ผู้ส่งออกตกลงกับผู้ซื้อใน ต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีลักษณะการส่งออกข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล แต่ก็ไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับเอกชน โดยในปี พ.ศ. 2544 เอกชนส่งออกถึง 7,237,708 ตัน คิดเป็น 96.24 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ขณะที่รัฐบาลส่งออกเพียง 282,970 ตัน คิดเป็น 3.76 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออก และในปี พ.ศ. 2546 ปริมาณการส่งออกข้าวไทยทำสถิติสูงที่สุดถึง 7.597 ล้านตัน ทำรายได้ให้ประเทศ 76,368 ล้านบาท โดยส่งไปขายทั่วโลก 173 ประเทศ ตลาดหลักของ ข้าวไทยอยู่ในทวีปเอเชีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง อเมริกา ยุโรป และโอเชียเนียตามลำดับ


เกรดในการจำหน่าย
กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้แบ่งชั้นของข้าวหอมมะลิดังนี้
1. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 (ดีพิเศษ) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 5%
2. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 2 (ดี) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 15%
3. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 3 (ธรรมดา) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 30%


http://roiet.nso.go.th/roiet/Site/Webpage/index04.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 03/02/2013 7:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

175. มาตรการ การปลูกข้าวแดง และข้าวต่างสี





ข้าวแดง : ปัญหาและความสำคัญ
ข้าวแดง หมายถึง ข้าวที่มีเยื่อ หรือเปลือกหุ้มเมล็ด ข้าวกล้อง (pericarp) เป็นสีแดง แบ่งได้ 2 ชนิด

1. ข้าวป่า เป็นวัชพืชที่ร้ายแรงขึ้นปะปนกับข้าวปลูกในนา ข้าวเปลือกมีสีฟาง หรือสีน้ำตาลดำ หางยาว เมล็ดมีขนาดเล็กและแข็ง

2. ข้าวแดงที่ใช้บริโภค เป็นพันธุ์ข้าวปลูกเพื่อใช้บริโภค และจำหน่ายในตลาด เช่น ข้าวมันปูในภาคกลาง ข้าวกริ๊ปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และข้าวสังข์หยดในภาคใต้ ปกตินิยมบริโภคในรูปของข้าวกล้องหรือใช้ผสมกับข้าวขาวเพื่อให้ได้รสชาติที่ดีขึ้น



คุณค่าทางโภชนาการของข้าวแดงที่ใช้บริโภค
สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้วิเคราะห์ส่วนประกอบของแร่ธาตุ และวิตามินในตัวอย่างข้าวแดงหอม และข้าวขาวดอกมะลิ 105 จากศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก พบว่า ข้าวกล้องข้าวแดง หอมมีเยื่อ (dietary fiber ) และวิตามินบี 6 สูงกว่าข้าวกล้องขาวดอกมะลิ 105 แต่มีธาตุเหล็กและวิตามินต่าง ๆ ต่ำกว่า


การพัฒนาพันธุ์ข้าวแดงหอม


พ.ศ. 2525-2527 จากการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่สถานีทดลองข้าวสุรินทร์ โดยนายบุญโฮม ชำนาญกุล เป็นผู้อำนวยการสถานี พบว่าในรวงข้าวจำนวนหนึ่งมีเมล็ดที่เป็นข้าวเหนียวปนอยู่ด้วย เข้าใจว่าเกิดจากการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติ ซึ่งพบอยู่เสมอ นอกจากนี้เมื่อนำเมล็ดข้าวปนไปปลูก พบว่า ในกอหนึ่งให้เมล็ดที่มีเยื่อหุ้มเป็นสีแดงเรื่อ ๆ มีแป้งทั้งชนิดที่เป็นข้าวเหนียวและข้าวเจ้า

พ.ศ. 2529-2533 นำเฉพาะเมล็ดข้าวเจ้าที่มีเยื่อหุ้มเป็นสีแดงมาปลูกที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกเพื่อการคัดเลือก จนในปี พ.ศ. 2533 มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรง พบว่ามีสายพันธุ์ที่ไม่ถูกทำลาย และคัดได้สายพันธุ์ข้าวเบาและข้าวหนักดีเด่นที่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลไว้

พ.ศ. 2535 เกษตรกรที่อยู่ใกล้ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ได้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ดีเด่นไปปลูกและแปรรูปผลผลิตเป็นข้าวกล้องแดงจำหน่าย






พ.ศ. 2536 พบว่า อายุสุกเก็บเกี่ยวของข้าวแดงหอมในแปลงเกษตรกรยังมีการกระจายตัว ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกจึงนำสายพันธุ์ข้าวเบาและข้าวหนักมาคัดเลือกใหม่ในปี พ.ศ. 2538 ได้สายพันธุ์ KDML105R-PSL-E-14 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ข้าวเบาที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันและกรมการข้าวได้เสนอขอขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรเป็นพันธุ์ข้าวทั่วไปโดยใช้ชื่อว่า “ข้าวหอมแดง (Red Hawm Rice)”





นอกจากข้าวแดงหอมชนิดที่เป็นข้าวต้นสูง ไวต่อช่วงแสง ที่กรมการข้าวได้ขอขึ้นทะเบียนเป็นพันธุ์ข้าวทั่วไปแล้ว ยังได้พัฒนาพันธุ์ต่อโดยนายสมเดช อิ่มมาก นักวิชาการเกษตรศูนย์วิจัยข้าวแพร่ ได้นำสายพันธุ์ข้าวแดงหอม KDML105R-PRE-5 เป็นพันธุ์แม่ผสมกับ IR64 ในปี 2531 และผสมย้อนกลับ (back cross) ไปหาพันธุ์แม่รวม 3 ครั้ง หลักจากนั้นได้นำสายพันธุ์ผสมปลูกคัดเลือกต่อที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกจนได้สายพันธุ์ดีเด่น PRE90020-R36-PSL-8-3-14-3 ในปี 2537 ซึ่งได้มีผู้เสนอให้ใช้ชื่อพันธุ์ว่า “ข้าวหอมกุหลาบแดง (Red Rose Rice ) ” โดยมีลักษณะเป็นข้าวต้นเตี้ย ไม่ไวแสง เมล็ดยาวเรียว มีเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวกล้องสีแดง มีคุณภาพการหุงต้มดี และมีกลิ่นหอม ซึ่งกรมการข้าวได้ขึ้นทะเบียนเป็นพันธุ์ข้าวทั่วไปอีกพันธุ์หนึ่งเช่นเดียวกับข้าวหอมแดง ข้าวทั้งสองพันธุ์กรมการข้าวไม่มีการผลิตขยายเมล็ดพันธุ์เพื่อจำหน่าย หรือส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกแต่ประการใด





มาตรการการปลูกข้าวแดงหอม
เนื่องจากข้าวแดงหอมที่ปะปนไปกับผลผลิตข้าวขาว จะทำให้ข้าวขาวขาดมาตรฐานตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ที่กำหนดไม่ให้มีข้าวแดงปนในข้าวขาว 100% ชั้น 1 ชั้น 2 และ ชั้น 3 แม้แต่เมล็ดเดียว ดังนั้น กรมการข้าวจึงกำหนดมาตรการการปลูกข้าวแดงหอม ดังนี้

1. ควรปลูกในพื้นที่เฉพาะที่กำหนดไว้เท่านั้น และไม่ควรปลูกใกล้เคียงกับแปลงปลูกข้าวขาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งใกล้กับพันธุ์ข้าวที่มีวันออกดอกต่างกันน้อยกว่า 15 วัน

2. การปลูกข้าวควรมีการตรวจ และตัดข้าวปนออก ซึ่งสามารถกระทำได้ทุกระยะการเจริญเติบโต เพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของข้าวแต่ละพันธุ์



3. ต้องทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องทุ่นแรง และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บเกี่ยว นวด ตาก ทำความสะอาด และการขนส่งทุกครั้ง เมื่อเปลี่ยนไปใช้กับข้าวพันธุ์อื่น





4. ควรแยกเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวแดงได้โดยเฉพาะ
5. ควรเป็นการผลิตแบบครบวงจรโดยมีการขึ้นทะเบียนผู้ปลูก และมีนักวิชาการด้านพันธุ์ข้าวคอยดูแล ให้คำแนะนำในขั้นตอนการผลิต


http://www.brrd.in.th/rkb/varieties/index.php-file=content.php&id=110.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 03/02/2013 8:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


176. สุนทร ศรีทะเนิน ผู้สร้างตำนานข้าวขาวดอกมะลิ 105






"ข้าว หอมมะลิ" เป็นชื่อ ที่คนทั่วไปเรียกขานจนติดปาก แต่ชื่อที่เป็นทางการคือ "ข้าวขาวดอกมะลิ 105" เป็นข้าวสายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นสุดยอดของข้าว เป็นข้าวคุณภาพสูง หลังการหุงต้มจะมีกลี่นหอม ข้าวคงรูป เหนียวนุ่ม น่ารับประทาน ข้าวหอมมะลิเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย มีการส่งออกไปยัง 120 ประเทศทั่วโลก เฉพาะข้าวหอมมะลมีปริมาณส่งออกกว่าล้านตันต่อปี นำเงินตราเข้าประเทศปีละหลายหมื่นล้าน และมีปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ชื่อ "ข้าว ขาวดอกมะลิ 105" นั้นคุณสุนทร สีหะเนิน เป็น ผู้สร้างตำนานชื่อนี้ เรามาดูเรื่องราวมีความเป็นมาอย่างไร


มีประวัติการค้นพบข้าวหอมมะลิครังแรกในปี 2488 ที่นาเกษตรของนายจรูญ ตันฑวุฒ อยู่ในท้องที่ ตำบลแหลมประดู่ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ต่อมาได้นำไปปลูกที่ ต.ท่าทองหลาง อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ปรากฎว่าได้ผลผลิตดีและเป็นที่นิยม ณ ที่ต.ท่าทองหลางแห่งนี้ คือ ต้นกำเหนิดของ"ข้าวขาวดอกมะลิ 105" อันลือชื่อและนำไปสู่ความยิ่งใหญ่ของความเป็นข้าวที่ทุกคนในโลกต้องการ ตำนานเริ่มมาจากอดีตข้าราชการคนหนึ่งชื่อ "สุนทร สีหะเนิน" พนักงานข้าวของ อ.บางคล้าในขณะนั้น

คุณสุนทร สีหะเนิน ปัจจุบัน (2552) อายุ 87 ปี เกิดในครอบครัวชาวนา อ.กันตัง จ.ตรัง เรียนจบชั้น ม.6 ในตัวจังหวัด จากนั้นไปเรียนต่อที่โรงเรียนแม่โจ้ หรือมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน สมัยนั้นโรงเรียนแม่โจ้เป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ของวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าเรียนเป็นรุ่นที่ 7 ใน พ.ศ.2483 รุ่นเดียวกับ ศ.ระพี สาคริก

สำเร็จการศึกษาในปี 2485 จึงกลับไปอยู่ที่บ้าน จ.ตรัง เพราะอยู่ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ระหว่างนั้นวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ส่งจดหมายให้มาเข้าเรียน เพราะได้รับโควตาจากโรงเรียนแม่โจ้ เพราะเรียนดี แต่สมัยนั้นบ้านยากจน จึงไม่มีเงินที่จะส่งให้เรียนได้

ต่อมาในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน กรมเกษตรส่งจดหมายแจ้งว่า กำลังรับสมัครผู้ที่จบจากโรงเรียนแม่โจ้เพื่อบรรจุเป็นพนักงานส่งเสริมการ เกษตร จึงสมัครสอบเข้าเป็นพนักงานข้าว กรมเกษตร

วันที่ 1 ม.ค. พ.ศ.2486 กรมเกษตรบรรจุให้เป็นพนักงานข้าว อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ได้เงินเดือน 34 บาท แต่เพราะเป็นคนปักษ์ใต้ ไม่มีความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ข้าวของภาคกลาง จึงขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติม ไปได้หนังสือเล่มหนึ่งเขียนโดย ม.ล.ยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา หัวหน้าสถานีทดลองรังสิต ชื่อ "มารยาแม่โพสพ" เป็นหนังสือเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวทั่วประเทศ แต่เน้นในเขตภาคกลาง จนมีความรู้พอทำงานได้

ข้าวหอมมะลิในสมัยนั้นเป็นข้าวพันธุ์พื้นบ้านที่มีชื่อเสียงมาก แต่มีปลูกเป็นจำนวนน้อย เฉพาะในพื้นที่ ต.ท่าทองหลาง คุณสุนทรได้รับคำแนะนำให้รู้จักกับ "ขุนทิพย์" กำนันตำบลท่าทองหลาง ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องข้าวหอมมะลิที่สุดในยุคนั้น ขุนทิพย์ให้ความรู้ว่า ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวพื้นบ้านของ ต.ท่าทองหลาง เป็นที่นิยมของคหบดีที่มีชื่อเสียงจากเมืองหลวง หากมา อ.บางคล้า จะต้องมาซื้อข้าวหอมมะลิท่าทองหลาง ด้วยเป็นข้าวนาปีปลูกได้ครั้งเดียวต่อปี และเป็นข้าวเบา ต้องปลูกในที่นาดอนที่เป็นดินร่วนปนทรายเท่านั้น ซึ่งใน อ.บางคล้า มีเพียง ต.ท่าทองหลาง เท่านั้นที่เหมาะสมสำหรับปลูก จึงเป็นเหตุให้แม้จะได้รับความนิยมและราคาสูง แต่ไม่สามารถปลูกได้อย่างแพร่หลายออกไป หลายครั้งที่มีผู้พยายามนำพันธุ์ข้าวหอมมะลิท่าทองหลางออกไปปลูกนอกพื้นที่ แต่ไม่เคยประสบความสำเร็จ

ต่อมาในสมัยสงครามเย็น อเมริกผู้นำโลกเสรีที่ต่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ ต้องการใช้ไทยเป็นเกราะกำบังในการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชีย จึงมีโครงการให้ความช่วยเหลือในด้านการทหารและเศรษฐกิจ เมื่อพ.ศ.2493 โครงการด้านเศรษฐกิจนั้น มองว่า เศรษฐกิจไทยเดินได้ด้วยชาวนาซึ่งปลูกข้าวเป็นหลัก จึงเข้ามาช่วยชาวนาไทยด้วยการพัฒนา และคัดเลือกข้าวสายพันธุ์ที่ดีที่สุดให้เพาะปลูก จึงตั้งโครงการรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเพื่อปลูกคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์ และประเมินผลผลิต ดำเนินโครงการในช่วงปี 2493-2510

สหรัฐส่งผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุ์พืชมาเป็นที่ปรึกษาโครงการ ฝึกอบรมนักวิชาการไทย จำนวน 30 คน จาก 36 จังหวัด โดยคุณสุนทรเป็นหนึ่งที่ได้เข้ารับการฝึกอบรมในครั้งนั้น หลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรมรับมอบหมายให้วางแผนเก็บพันธุ์ข้าวที่ดีที่สุดตาม ทฤษฎีที่เรียนมา ในเขตพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา และ จ.ชลบุรี ได้ทั้งหมดจำนวน 25 สายพันธุ์ โดยไม่มีข้าวหอมมะลิอยู่ในจำนวนนั้นด้วย

แต่ระหว่างที่เฝ้าติดตามดูการเจริญเติบโตของข้าวทั้ง 25 สายพันธุ์ คุณสุนทรต้องเดินผ่านพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิทุกวัน สังเกตว่า ข้าวหอมมะลิปลูกหลังพันธุ์อื่นแต่เจริญเติบโตรวดเร็วกว่าจนเก็บ เกี่ยวได้ก่อน ประกอบกับเห็นว่าเป็นพันธุ์ข้าวที่มีชื่อเสียงของ อ.บางคล้า จึงเสนอเรื่องไปยังกรมเกษตร เพื่อเพิ่มข้าวหอมมะลิเป็นสายพันธุ์ที่ 26 ในการทดลอง

เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวจึงเข้าไปคัดรวงข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุด จำนวน 200 รวง เป็นตัวอย่าง ส่งไปให้กรมเกษตรพร้อมกับ 25 สายพันธุ์ที่คัดเลือกไว้ก่อนหน้า โดยตัวอย่างข้าวหอมมะลิดังกล่าว ถูกนำไปทดลองปลูกที่สถานีทดลองโคกสำโรง จ.ลพบุรี โดยใช้ข้าวนางมณ เป็นข้าวหอมเช่นกัน แต่เป็นพันธุ์พื้นเมืองของรังสิต เป็นต้นแบบในการเทียบเคียง

การทดลองปลูกจะนำเมล็ดข้าวของแต่ละรวงมาปลูกเรียงกันเป็นแถวในกระบะทีละเม็ด จนครบทั้ง 200 รวง และทำรหัสหมายเลขประจำรวงตั้งแต่รวงที่ 1,2,3,...,200 มีการบำรุงอย่างดี จนถึงช่วงปลายปี 2494 ต้นข้าวโตจนให้ผลผลิตแล้ว ผลการทดลองปรากฏว่าจำนวน 199 รวงของข้าวหอมมะลิให้ผลผลิตที่ต่ำกว่าข้าวนางมณ มีเพียงรวงเดียวเท่านั้นที่ให้ผลผลิตที่สูงกว่า คือ รวงที่ 105 มีรหัสหมายเลขเป็น 4-2-105 (เลข 4 หมายถึง ท้องที่เก็บรวบรวม คือ อ.บางคล้า เลข 2 หมายถึงหมายเลขประจำพันธุ์คือพันธุ์ข้าวพันธุ์ที่ 2 และเลข 105 คือ รวงที่ 105)

ในปี 2496 ได้นำข้าวรหัสสายพันธุ์ 4-2-105 ไปทดลองปลูกทั้งภาคกลาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าได้ผลผลิตสูง เมล็ดข้าวนุ่มมีกลิ่นหอม สามารถปรับตัวในสภาพพื้นที่ต่างๆได้ดี และในปี 2501 หลังจากทดลองปลูกติดต่อกันมา 6 ปี จึงพบว่า ข้าวหอมมะลิสายพันธุ์ 4-2-105 เหมาะที่จะปลูกในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะเป็นดินร่วนปนทราย ลักษณะเป็นนาน้ำฝน สิ่งที่พิเศษคือ เป็นสายพันธุ์ที่ทนแล้งมากที่สุด เหมาะจะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สุด คณะกรรมการคัดเลือกสายพันธุ์ได้มีมติให้เป็นพันธุ์ส่งเสริมออกขยายพันธุ์ได้ ตั้งชื่อพันธุ์ข้าวว่า "ขาวดอกมะลิ 105" เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502

แม้ผลการทดลองพบว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 เหมาะที่จะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสานมากที่สุด แต่เนื่องจากช่วงนั้นชาวอีสานนิยมกินข้าวเหนียวเป็นหลัก จึงมิใช่เรื่องง่ายที่ส่งเสริมให้ปลูกข้าวขาวดอกมะลิให้เป็นที่แพร่หลายได้ มาก ม.จ.จักรพันธุ์ เพ็ญศริจักรพันธุ์ อธิบดีกรมการข้าวสมัยนั้น ได้มีนโยบายและมีเป้าหมายที่ต้องการขยายการเพาะ ปลูกข้าวขาวดอกมะลิในภาคอีสานให้มากที่สุด ผู้เกี่ยวข้อง (รวมถึงคุณสุนทร สีหะเนิน ต้นตำรับสายพันธุ์) จึงต้องหากลยุทธ์ในการเผยแพร่ พบว่าจังหวัดในอีสานตอนใต้ 3 จังหวัด คือ บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ คนท้องถิ่นมีพื้นเพเป็นคนเขมร ไม่นิยมกินข้าวเหนียว กินข้าวเจ้ามากกว่า การส่งเสริมการปลูกข้าวขาวดอกมะลิจึงเริ่มกันที่สามจังหวัดนี้ ผลปรากฏว่าประสบความสำเร็จดีมาก โดยเฉพาะจังหวัดสุรินทร์ได้ผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิที่มีคุณภาพสูง ต่อมาได้สำรวจพบว่าทุ่งกุลาร้องให้ ซึ่งมีเนื้อที่เป็นล้านไร่มีอาณาบริเวณ ติดต่อ 5 จังหวัด เป็นที่ที่มีดินรกร้างว่างเปล่า ทางราชการจึงเลือกให้เป็นแหล่งส่งเสริมปลูกข้าวขาวดอกมะลิ ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากออสเตรเลียในการปรับปรุงคุณภาพดิน(ซึ่งเป็น บริเวณที่เป็นดินเค็ม) ใช้เวลาอีกหลายปีจนสามารถขยายการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ (หรือที่ช่วงหลังจะเรียกกันแต่ข้าวหอมมะลิ) ได้ทั่วทุ่งกุลาร้องให้ จนกลายเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ใหญ่ที่สุด และในที่สุดภาคอีสานนั้นข้าว หอมมะลิได้รับความนิยมปลูกมากกว่าข้าวเหนียว รวมถึงมีความนิยมแพร่หลายไปทั่วประเทศในระยะต่อมา

นักปรับปรุงพันธุ์ข้าวในระยะต่อมา ยังใช้พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เป็นพ่อแม่พันธุ์ในการผสมข้ามพันธุ์ และฉายรังสีแกมมา แล้วคัดเลือกจนได้เป็นพันธุ์ข้าวที่ดีหลายพันธุ์ รวมทั้งข้าวเจ้าพันธุ์ "กข 15" และข้าวเหนียวพันธุ์ "กข 6" ซึ่งมีเกษตรกรปลูกปีละนับล้านไร่เช่นกัน

นายสุนทร สีหะเนิน ได้ปฏิบัติราชการด้วยความก้าวหน้ามาโดยตลอด โดยตำแหน่งสุดท้าย คือ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาคเหนือ ได้ลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2523 ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำนาญ พำนักอยู่บ้านเลขที่ 52/123-124 ซอยเกษตรศาสตร์ 7 ถนนพหลโยธิน ซอย 45 เขตจตุจักร กรุงเทพมหานครฯ ปัจจุบัน (2552) แม้วัยจะล่วงเลย 87 ปีแล้ว ก็ยังมีสุขภาพแข็งแรงและยังคงได้ร่วมกิจกรรม เป็นวิทยากร และทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติมากมาย


รางวัล และเกียรติประวัติที่ได้รับ
- พ.ศ.2536 โล่เชิดชูเกียรติ จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พ.ศ.2543 โล่เชิดชูเกียรติ จากกรมปรับปรุงพันธุ์ข้าวและขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย เป็นผู้ทำคุณประโยชน์แก่ชาวนาไทยและประเทศชาติ

ศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยแม่โจ้
สวทช.ประกาศให้เป็น 1 ใน 100 ผู้ทำคุณประโยชน์ให้ประเทศชาติในรอบ 100 ปี

- พ.ศ.2550 โล่ประกาศเกียรติคุณ จากกรมการข้าว ฐานะผู้มีผลงานอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาข้าวไทย
- พ.ศ.2552 ปริญญาดุษฎีบันฑิตกิตติมศักดิ์สาขาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

โล่ เกียรติคุณผู้ทรงคุณค่าต่อวงการเกษตรไทย ของกระทรวงพานิชย์



http://www.thaicoop.com/coop-manager/sunthon
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 04/02/2013 9:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

177. ข้าวหอม (Aromatic Rice) ของสหรัฐฯ


ประเภทและแหล่งผลิตข้าวหอมของสหรัฐฯ (U.S. Aromatic Rice) มีอยู่ ๓ ประเภท คือ
๑. ข้าว Basmati ซึ่งได้แก่ข้าว Calmati 201, Calmati 202
๒. American Long Grain Aromatic ได้แก่ข้าว Sierra, Della, A201, Delrose, Delmont
๓. American Jasmine Rice ได้แก่ข้าว Jasmine 85 , Jazzman, JES

ข้าวเหล่านี้มีชื่อสามัญที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปเช่น Popcorn Rice, Basmatic, Jasmine, Texmati และ Wild Pecan เป็นต้น

ส่วนใหญ่ของข้าวเมล็ดยาวที่เป็นข้าวหอมของสหรัฐฯจะมีสัดส่วนของความยาวและความกว้างของเมล็ดข้าวมากกว่า ๓:๑ และส่วนใหญ่ของข้าวบาสมาติอเมริกันจะมีความยาวและความกว้างของเมล็ดข้าวมากกว่าข้าวเมล็ดยาวทั่วไป และสัดส่วนของความยาวและความกว้างจะมากกว่า ๔:๑

แหล่งปลูกข้าวหอมของสหรัฐฯคือ รัฐอาร์คันซอร์ รัฐแคลิฟอร์เนีย รัฐหลุยเซียน่า รัฐมิสซูรี่ และรัฐเท๊กซัส

ภาคธุรกิจที่เป็นอุปทานหลัก ของข้าวหอมสหรัฐฯคือ
๑. Doguet’s Rice Milling Company, www.doguets.com
๒. Falcon Rice Mill, Inc., www.falconrice.com
๓. G & H Seed Company, Inc., Box 321, Crowley, LA 70527, Tel: 337 785-7706
๔. Jazzmen Rice, LLC, www.jazzmenrice.com
๕. Lundberg Family Farms, www.nationalrice.com
๖. Producers Rice Mill, Inc., www.producersrice.com
๗. RiceTex,Inc., www.ricetec.com
๘. Riverbend Rice Mill Inc., Box 830, Colusa, CA 95932, Tel: 530 458-8561
๙. Riviana Foods, Inc., www.riviana.com
๑๐. Sem-Chi Rice Products Corporation, www.floridacrystals.com
๑๑. Specialty Rice, Inc., www.dellarice.com
๑๒. Sub Commerce Inc., www.subconinc@yahoo.com
๑๓. SunWest Foods, Inc., www.sunwestfoods.com



ข้าวหอมมะลิสหรัฐฯ (U.S. Jasmine Rice)

ข้าว Jazzman
เนื่องจากข้าวหอมมะลิสายพันธุ์แท้ของประเทศไทยไม่สามารถนำไปปลูกได้ในสหรัฐฯโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ปลูกข้าวขาวเมล็ดยาวในภาคใต้ของสหรัฐฯ สืบเนื่องมาจากอากาศที่หนาวเย็นกว่า สภาพดินที่แตกต่างกันและความยาวของวันที่แตกต่างกันสองชั่วโมง Dr. Xueyan Sha นักวิจัยสหรัฐฯที่เป็นคนอเมริกันเชื้อสายจีนที่ศูนย์วิจัยข้าว (Rice Research Station at Crowley) ที่ Louisiana State University เมือง Crowley ในรัฐหลุยเซียน่าจึงได้พยายามค้นคิดสายพันธุ์ข้าวหอมมะลิที่สามารถปลูกได้ในภาคใต้ของสหรัฐฯมานานถึงสิบสองปีโดยนำพันธุ์ข้าวจีนที่มีคุณสมบัติมีกลิ่นหอมมาผสมกับพันธุ์ข้าวสหรัฐฯ (Ahrent rice) ได้ข้าวพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูงและเร็ว ใช้เวลานับตั้งแต่ปลูกจนถึงตกรวงประมาณร้อยละ ๕๐ นาน ๘๗ วัน มีความสูงของต้นข้าวที่เหมาะสมมีกลิ่นหอมที่คล้ายคลึงกับข้าวหอมมะลิไทย เป็นข้าวเมล็ดยาวที่สามารถสีได้ดีและหลังการสีข้าวจะได้ข้าวคุณภาพดีเลิศและมีความใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิไทยทั้งในเรื่องของขนาด (dimension) และความเรียวของข้าว สหรัฐฯเรียกชื่อข้าวดังกล่าวว่า Jazzman rice

ในระยะแรกสหรัฐฯยังไม่เผยแพร่พันธุ์ข้าวนี้ออกสู่ตลาดเนื่องจากไม่แน่ใจว่าจะมีผู้ซื้อ จนกระทั่งนักธุรกิจอเมริกันเชื้อสายจีน ๓ คนคือ George Chin, Andrew Wong และ Egbert Ming ได้ร่วมกันตั้งบริษัท Jazzmen Rice, LLC เพื่อทำธุรกิจขายข้าวหอมที่ผลิตได้ในสหรัฐฯที่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการขนส่งข้ามประเทศ ได้เข้าไปติดต่อศูนย์วิจัยข้าวฯแสดงความสนใจที่จะซื้อถ้าข้าวดังกล่าวสามารถปลูกเพื่อการค้าได้สำเร็จ ในปี ๒๐๐๙ ข้าว Jazzman รุ่นแรกได้ออกสู่ตลาดการค้าสหรัฐฯ ในปี ๒๐๑๐ มีประมาณการณ์ว่าสหรัฐฯมีพื้นที่ปลูกข้าว Jazzman ประมาณหนึ่งหมื่นหนึ่งเอเคอร์ ในปี ๒๐๑๑ ประมาณการณ์ว่าจะผลิตได้ประมาณ ๖๓,๐๐๐ เมตริกตัน หรือประมาณร้อยละ ๑๘ ของปริมาณการนำเข้าข้าวจากประเทศไทยในปี ๒๐๑๐

ปัจจุบันบริษัทสำคัญๆที่ทำการตลาดและการกระจายข้าว Jazzman rice คือ Hoppe Farms, Louisiana Rice Mill, Falcon Rice Mill และ Jazzmen Rice LLC การตลาดข้าว Jazzman มีทั้งที่เป็นการวางขายในร้านค้าปลีก การขายตรงเข้าสู่ตลาดที่เป็น niche market เช่น ตลาดประเภท farmer market ตลาดขนาดเล็กในท้องถิ่น และการขายผ่านทางระบบ internet

อาจกล่าวได้ว่าบริษัท Jazzmen Rice, LLC ในรัฐหลุยเซียเป็นบริษัทที่ทำการค้าข้าว Jazzman อย่างเป็นล่ำเป็นสันมากที่สุด บริษัทฯรับข้าวมาจาก Louisiana Rice Mill และมีพื้นที่ปลูกข้าว Jazzman ของตนเองประมาณแปดสิบเอเคอร์ ข้าวที่ได้จะวางจำหน่ายภายใต้ชื่อว่า “Jazzmen Louisiana” โดยระบุบนถุงว่าเป็นข้าวหอมหรือ “Aromatic Rice” ข้าวของบริษัทขนาดบรรจุถุง ๒๕ ปอนด์ราคาขายปลีกประมาณ ๒๐ เหรียญฯ ใกล้เคียงกับราคาข้าวหอมมะลิไทย นอกจากการขายตรงออกจากบริษัทฯผ่านทางระบบ online store แล้วยังวางจำหน่ายในร้านค้าปลีกประมาณ ๕๐๐ แห่งทั่วสหรัฐฯส่วนใหญ่แล้วจะวางในตลาดเอเซีย ในรัฐอลาบาม่าอาร์คันซอร์ แคลิฟอร์เนีย ฟลอริด้า จอร์เจีย และ หลุยเซียน่า โดยจะมีวางจำหน่ายมากที่สุดในพื้นที่เป็นแหล่งผลิตและรัฐใกล้เคียงคือ รัฐอลาบาม่า หลุยเซียน่า อาร์คันซอร์ และจอร์เจีย โดยเน้นตลาดคนเอเซียเชื้อสายเวียดนามเป็นสำคัญ

ในรัฐแคลิฟอร์เนียเกือบจะทั้งหมดวางจำหน่ายในแคลิฟอร์เนียภาคใต้ในเมืองรอบนอกมณฑลลอสแอนเจลิสที่เป็นย่านอยู่อาศัยหนาแน่นของผู้อพยพเชื้อสายเวียดนาม และมีวางจำหน่ายที่เมือง San Jose ในแคลิฟอร์เนียภาคเหนือ บริษัทฯมีแผนจะวางตลาดสินค้าบนฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯในอนาคตอันใกล้ นอกจากการวางตลาดในร้านค้าปลีกแล้วบริษัทฯยังเข้าสู่การขายให้แก่ตลาดสถาบันที่รวมถึงร้านอาหารข้าวยี่ห้อ Jazzmen Rice วางจำหน่ายในบรรจุภัณฑ์ถุงพลาสติกที่เป็น resealable เพื่อรักษาความสดของสินค้าขนาด ๒๘ ออนซ์ ราคาประมาณ ๙ เหรียญฯ และถุงขนาด ๒๕ ปอนด์ ราคาข้าวขาวประมาณ ๒๐ เหรียญฯ ราคาข้าวแดงประมาณ ๒๒ เหรียญฯ และข้าวแดงถุงขนาด ๕ ปอนด์ราคาประมาณ ๘ เหรียญฯ

บริษัท Falcon Rice Mill รัฐหลุยเซียน่า เริ่มวางตลาดสินค้าข้าว Jazzman ในปี ๒๐๐๙ ภายใต้ยี่ห้อ Cajun Country และระบุชื่อสินค้าบนถุงว่าเป็น Enriched Jasmine Rice วางจำหน่ายในร้านค้าปลีกบริเวณภาคใต้ของสหรัฐฯจากรัฐหลุยเซียน่าไปจนถึงรัฐเท๊กซัส บริษัทฯรายงานสินค้าข้าวหอมของบริษัทฯประสบความสำเร็จได้รับความนิยมสูงมากในหมู่ลูกค้า ในปี ๒๐๑๐ บริษัทฯจึงเพิ่มผืนที่นาข้าว Jazzman ของตนอีกร้อยละ ๒๐ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า

บริษัท Hoppe Farm ระบุว่าในปี ๒๐๑๑ ความต้องการข้าว Jazzman ของบริษัทฯเพิ่มสูงมากถึงสองเท่า และวางแผนที่ขยายพื้นที่ปลูก Jazzman rice เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสามของพื้นที่ปัจจุบัน ผลผลิตของบริษัทฯถูกส่งไปจำหน่ายให้กับบริษัทผู้ค้าข้าวเช่น Falcon Rice Mill ธุรกิจให้บริการอาหาร ร้านค้าที่เป็น specialty stores และร้าน groceries ต่างๆในพื้นที่บริเวณใต้สุดของสหรัฐฯ ตลอดแนวเส้นทางหลวงระหว่างมลรัฐ I10 ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างมลรัฐที่อยู่ใต้สุดและเป็นเส้นทางที่ยาวที่สุดที่เชื่อมระหว่างตะวันออกและตะวันตกของสหรัฐฯ


ข้าว Jazzman-2
สหรัฐฯได้เริ่มต้นพัฒนาข้าว Jazzman-2 มาตั้งแต่ปี ๒๐๐๖ ข้าว Jazzman-2 เป็นข้าวเมล็ดยาวแบบข้าวหอมมะลิเช่นเดีวกับข้าว Jazzman แต่มีกลิ่นหอมกว่า เป็นข้าวพันธุ์ semidwarf ความสูงของต้นประมาณ ๓๖ นิ้วซึ่งเตี้ยกว่าข้าว Jazzman ข้าวตกรวงเร็วประมาณ ๘๓ วัน เมื่อผ่านการสีแล้วให้ข้าวที่ได้จำนวนมากและมีคุณภาพดีเลิศ นักวิจัยสหรัฐฯระบุว่าข้าว Jazzman-2 เมื่อหุงแล้วจะมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิไทยมากที่สุดทั้งกลิ่นหอม รสที่หวาน สีของข้าวที่ขาวมันวาว และความนุ่มของเนื้อข้าว สหรัฐฯเชื่อว่าข้าว Jazzman-2 มีศักยภาพสูงมากที่จะแข่งขันกับข้าวหอมมะลิของไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นข้าวยี่ห้อธรรมดาๆ (non-premium brands) และเชื่อว่าจะมีศักยภาพสูงมากที่จะแย่งตลาดข้าวหอมมะลิไทย

ปัจจุบันสหรัฐฯพัฒนาข้าว Jazzman – 2 ได้สำเร็จแล้วและในปี ๒๐๑๑ บริษัท Louisiana Rice Mill ได้ทำสัญญาจ้างชาวนาปลูกข้าว Jazzman – 2 โดยให้ราคาสูงกว่าการปลูกข้าวขาวเมล็ดยาวปกติ


ศักยภาพในการเป็นคู่แข่งขันกับข้าวหอมมะลิไทย
ปัจจุบันสหรัฐฯยังคงปลูกข้าว Jazzman ได้ในจำนวนน้อยและมีวางแพร่หลายอยู่ในตลาดเฉพาะในพื้นที่ปลูกข้าวทางใต้และรัฐโดยรอบ กลยุทธทางการตลาดยังคงเน้นไปที่การสนับสนุนสินค้าที่ผลิตได้ในพื้นที่ ลูกค้าเป้าหมายยังคงเป็นกลุ่มผู้บริโภคทั้งที่เป็นภาคธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไปที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ปลูกข้าวของสหรัฐฯและตลาดคนอเมริกันเชื้อสายเอเซียโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนเวียดนามอเมริกัน อย่างไรก็ดี การขยายตัวของการบริโภคและการเป็นคู่แข่งขันของประเทศไทยมีโอกาสเกิดขึ้นได้สูงมาก เนื่องจากข้าว Jazzman ได้รับการสร้างภาพพจน์ว่าเป็นข้าวที่ผลิตได้ในสหรัฐฯตามมาตรฐานการผลิตสินค้าของสหรัฐฯซึ่งสูงกว่าในประเทศผู้ส่งออกในเอเซีย มีคุณภาพเหมือนข้าวหอมมะลิไทยหรืออาจจะดีกว่าในแง่ที่ว่าสดกว่าเพราะไม่ต้องผ่านการขนส่งข้ามทวีปที่ใช้ระยะเวลาในการขนส่งนาน มีบรรจุภัณฑ์ที่ง่ายแก่การใช้และได้มาตรฐานในการเก็บรักษาสินค้า ในบางครั้งจะมีราคาขายปลีกที่ต่ำกว่าสินค้านำเข้า และการบริโภคสินค้าที่ผลิตได้ในท้องถิ่นเป็นการช่วยเหลือชาวนาและประเทศของตนเอง

นอกจากความตั้งใจที่จะแข่งขันกับข้าวหอมมะลิเข้าจากไทยในตลาดภายในประเทศสหรัฐฯแล้ว สหรัฐฯยังมองโอกาสที่จะแข่งขันกับข้าวหอมมะลิของไทยในประเทศอื่นที่เป็นตลาดนำเข้าข้าวหอมมะลิของไทยที่สหรัฐฯสามารถเสนอขายข้าวหอมมะลิของสหรัฐฯได้ในราคาที่ต่ำกว่าข้าวหอมมะลิของไทย


จุดอ่อนของข้าวหอมมะลิไทยในมุมมองของผู้ค้าข้าวหอมมะลิสหรัฐฯ
สิ่งหนึ่งที่ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายข้าว Jazzman มองว่าเป็นจุดอ่อนสำคัญของข้าวหอมมะลิไทยที่วางจำหน่ายในตลาดสหรัฐฯและจะเป็นเงื่อนไขที่เปิดโอกาสให้แก่ข้าว Jazzman ก็คือ ข้าวหอมมะลิไทยที่วางจำหน่ายในตลาดสหรัฐฯส่วนใหญ่จะถูกผสมด้วยข้าวข้าวเมล็ดยาวที่ไม่ใช่ข้าวหอมทำให้คุณภาพของข้าวที่วางจำหน่ายภายใต้ชื่อข้าวหอมมะลิไทยด้อยกว่าข้าว Jazzman


ข้าวหอมบาสมาติของสหรัฐฯ
ข้าวหอมบาสมาติของสหรัฐฯ ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือข้าว Texmati ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้าวบาสมาติกอันแรกที่สหรัฐฯสามารถผลิตในประเทศสหรัฐฯได้เป็นผลสำเร็จ ข้าว Texmati ผลิตได้เฉพาะในเขตตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ และออกสู่ตลาดมานาน ๓๐ ปีแล้ว

ข้าวหอม Texmati เป็นสินค้าของบริษัท Rice Tec, Inc. วางจำหน่ายสินค้าภายใต้ยี่ห้อ Select บริษัทฯ ผลิตข้าว Texmati ทั้งที่เป็นข้าวบาสมาติและข้าวหอมมะลิ วางจำหน่ายทั้งข้าวขาว ข้าวแดง ข้าวอินทรีย์

ข้าวหอม (Texmati Jasmati Rice) ข้าวริโสโต้ ข้าวซูชิ นอกจากนี้ยังเป็นข้าวที่ได้รับประกาศนียบัตร Kosher ข้าว Texmati Jasmati Rice ที่เป็นข้าวขาวเมล็ดยาวจะระบุบนกล่องว่าเป็น Long Grain American Jasmine Rice ขณะที่ข้าว Organic Jasmati Rice จะระบุบนกล่องว่าเป็น Long Grain American Basmati

ข้าวยี่ห้อ Rice Select เป็นข้าวยี่ห้อเดียวในสหรัฐฯที่ทำบรรจุภัณฑ์ในขวดแก้วที่เป็น resealable และ reusable ที่ช่วยเก็บรักษาความสดใหม่ของข้าว ข้าว Texmati ส่วนใหญ่จะบรรจุในขวดแก้วสี่เหลี่ยมขนาด ๓๒ หรือ ๓๖ ออนซ์ ราคาเริ่มต้นที่ ๗ เหรียญฯขึ้นไปจนถึง ๓๔ เหรียญฯขึ้นอยู่ชนิดของข้าวและขนาดของขวด หรือ บรรจุในกล่องกระดาษขนาด ๑๔ ออนซ์ ราคาประมาณ ๑๙ เหรียญฯ

ข้าวหอมเมล็ดยาวของสหรัฐฯ (American Long Grain Aromatic)

ข้าวหอมเมล็ดยาวของสหรัฐฯส่วนใหญ่จะเป็นข้าวบาสมาติ

ข้าว Della, Delrose ปลูกในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำทางตะวันออกตอนกลางของรัฐอาร์คันซอร์ บริษัทที่ปลูกและขายข้าว Della คือ Specialty Rice Inc., มีพื้นที่นาข้าวประมาณ ๖,๐๐๐ เอเคอร์

ในสหรัฐฯบริษัทฯวางจำหน่ายสินค้าภายใต้ยี่ห้อ Della Gourmet Rice ในคานาดาวางจำหน่ายภายใต้ยี่ห้อ Delrose ในสหรัฐฯจะวางขายปลีกใน Supermarket ทั้งที่เป็น national chain stores และ local stores ใน ๓๗ มลรัฐ มีขายมากที่สุดในรัฐอิลินอยส์ มิชิแกน และมิสซูรี่ สินค้าจะถูกบรรจุในถุงพลาสติกแบบ resealableขนาดบรรจุ ๒ ปอนด์ราคาเริ่มต้นที่ ๕.๕๐ เหรียญฯ และ ๕ ปอนด์ ราคาเริ่มต้นที่ ๑๐ เหรียญฯ


สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ นครลอสแอนเจลิส
๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕

Related Posts
ความคืนหน้าของการผลิต Jazzman Rice ขึ้นมาทดแทนข้าวหอมมะลิไทย, การค้นคิดประดิษฐ์ข้าว Ultra Rice ของสหรัฐฯ, “THANLUX” High Quality Organic Rice and Beverage from Northeast of Thailand, อุตสาหกรรม Ethanol ของสหรัฐฯ, CAPITAL RICE CO., LTD.


http://www.thaitradeusa.com/home/?p=10445
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 08/02/2013 2:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

178. ข้าวพม่า-กัมพูชา ขึ้นแท่นหอม...สวยใส หอมมะลิไทย ตกสวรรค์





พ.ศ.2555 ที่ผ่านไป เราไม่เพียงเสียแชมป์ 30 ปี ส่งออกข้าว...ยังเสียแชมป์ข้าวพันธุ์ดีที่สุด หอมที่สุด อร่อยนุ่มที่สุด อีกด้วย และเป็นการเสียแชมป์ข้าวหอมคุณภาพดีที่สุดในโลกเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันด้วยการประกวดข้าว ในการประชุมข้าวโลก (World Rice Conference : WRC) เมื่อปี 2554 ที่นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม...ข้าวพม่า พันธุ์เพิร์ล ปอว์ ซาน (Pearl Paw San) คว้ารางวัล อันดับ 1และการประกวด เมื่อปี 2555 ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย...ข้าวกัมพูชา พันธุ์หอมดอกลำดวน คว้ารางวัลที่ 1เกิดอะไรขึ้นกับข้าวหอมมะลิของไทย ที่เคยได้รับการยอมรับไปทั่วโลกว่า มีความหอมนุ่มอร่อยลิ้นมากที่สุดถึงต้องเสียตำแหน่งไปพร้อมกับการส่งออกข้าวนี่เป็นผลมาจากนโยบายของรัฐบาลไทย ที่ไม่เคยคิดพัฒนาคุณภาพพันธุ์ข้าวอย่างจริงจัง มีแต่มุ่งเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ เพียงเพื่อหวังผลทางการเมือง โครงการจำนำข้าวนี่แหละ ตัวปัญหาทำให้คุณภาพของข้าวไทยด้อยคุณภาพลง แบบถอยหลังลงคลองแม้ฝ่ายการเมืองจะอ้างว่า ข้าวหอมของประเทศเพื่อนบ้านที่ได้รางวัลนั้น จะไม่มีผลกระทบต่อข้าวไทย เพราะทุกวันนี้ข้าวหอมมะลิไทยยังสามารถขายได้มากกว่า รศ.สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ (KNIT) ซึ่งทำงานคลุกคลีอยู่กับข้าวมานานกว่า 40 ปี ยอมรับว่า...นั่นก็จริงแต่จะจริงไม่กี่ปี





เพราะตอนนี้ประเทศเพื่อนบ้านทั้งสองยังผลิตข้าวดีกรีแชมป์ได้ไม่มาก ไม่กี่ตัน จึงยังไม่มีศักยภาพที่จะแย่งตลาดหอมมะลิของไทยได้ แต่ในอนาคต 3-4 ปีข้างหน้า พม่า กัมพูชา สามารถผลิตข้าวหอมดีกรีแชมป์ได้มากขึ้นเมื่อไร...เมื่อนั้นหอมมะลิไทยตกกระป๋องเพราะอย่าลืมว่า แต่ก่อนแต่ไร กัมพูชา พม่า ผลิตข้าวได้ไม่แพ้ไทย และมากกว่าไทยด้วย...ที่ผ่านมา ถ้าเขาไม่รบกันเอง เราก็ยากจะขึ้นไปครองแชมป์ได้แต่วันนี้กลับตาลปัตร เพื่อนบ้านเลิกรบกัน...คนไทยกลับตั้งท่าจะรบกันเอง ยุยงให้เผาบ้านเผาเมืองตัวเอง แล้วอนาคตจะเอาอะไรไปสู้เขาได้คนไทยหลายคน รวมทั้งชาวนาอาจตั้งข้อสงสัย...โครงการรับจำนำข้าวที่ช่วยให้ชาวนามีรายได้มากขึ้น จะเป็นการทำลายคุณภาพข้าวไปได้อย่างไร?ประเด็นนี้ต้องลำดับภาพความเป็นมาของข้าวไทย ที่หลายคนไม่รู้ แม้แต่ชาวนาเองก็ไม่ทราบ...ส่วนนักการเมืองไม่ต้องพูดถึง แค่มีความสามารถหุงข้าวกินเองเป็น ถือว่ารู้มาก มีคุณสมบัติเป็นผู้บริหารประเทศได้แล้วที่คนไทยไม่รู้กันก็คือ แรกเริ่มเดิมทีการปลูกข้าวในบ้านเรา ชาวนาไทยรู้จักแต่ปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง หรือที่ทางการเรียกว่า ข้าวพันธุ์ไวแสงเราปลูกแต่ข้าวพันธุ์ไวแสง ข้าวชั้นดีมาตลอด





การส่งออกข้าวในสมัยโบราณ ก็ส่งออกข้าวแบบนี้...เราไม่เคยปลูกข้าวคุณภาพต่ำ พันธุ์ไม่ไวแสงเลยครั้นเวลาล่วงเลยมาถึงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2...แม้สงครามโลกจะสงบจบลงแล้ว แต่สงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์ ที่มีจีน รัสเซีย เป็นผู้นำ กับ ค่ายโลกเสรีทุนนิยม ที่มีสหรัฐฯเป็นผู้นำ ยังคงรบพุ่งเป็นสงครามเล็กๆ กระจายไปในประเทศต่างๆ รอบบ้านเราก็มี การรบติดพันหลายปี ทำให้ประเทศที่เคยปลูกข้าวได้ ก็ปลูกไม่ได้...ที่ปลูกได้ก็ไม่พอกิน เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร...ประเทศเศรษฐีใหญ่ค่ายทุนนิยม โดย มูลนิธิฟอร์ด และมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ร่วมมือจัดตั้ง สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ หรืออีรี่ (IRRI) ขึ้นที่ประเทศฟิลิปปินส์ ในปี 2503มีเป้าหมายเบื้องหน้าชัดเจน...ต้องการวิจัยพันธุ์ผลิตพันธุ์ข้าว ที่ให้ผลผลิตสูงพอเพียงต่อการบริโภคส่วนจะมีเป้าหมายเบื้องหลังอย่างอื่นหรือไม่...ณ ตอนนั้น ไม่มีใครทันได้คิด เพราะกลัวอดมากกว่าเรื่องอื่นในที่สุดปี 2512 พันธุ์ข้าวไม่ไวแสง รหัส IR8 จากการวิจัยของอีรี่ ได้ถือกำเนิดขึ้นมา จนถูกขนานนามให้เป็นข้าวพันธุ์มหัศจรรย์...ต้นเตี้ยแตกกอได้ดี ปลูกได้ทั้งนาปี นาปรัง ให้ผลผลิตไร่ละ 1 ตันในขณะที่ข้าวพันธุ์ไวแสง หรือพันธุ์พื้นเมืองของไทยนั้น ปลูกได้ปีละครั้ง ให้ผลผลิตได้แค่ไม่กี่ร้อยกิโลกรัมข้าวมหัศจรรย์พันธุ์นี้ เริ่มเข้ามามีบทบาทในไทย ทำให้เกิดข้าวพันธุ์ กข 1 ให้กับชาวนาไทยได้ปลูกกัน





ถึงจะให้ผลผลิตสูงก็จริง แต่ข้าวพันธุ์นี้มีคุณสมบัติพิเศษอีกประการ...ตอบสนองต่อปุ๋ยสูง จะให้ผลผลิตสูง ก็ต้องใช้ปุ๋ยมาก...ทั้งที่เดิมทีคนไทยปลูกข้าวพื้นเมือง แทบไม่ใส่ปุ๋ยกันเลย อย่างดีก็ใส่แค่มูลวัว มูลควาย จากนั้นมาคนไทยก็เริ่มใช้ปุ๋ย พร้อมกับตกเป็นทาสปุ๋ยเคมีทีละน้อยแบบไม่รู้ตัว ขณะเดียวกันข้าวพันธุ์นี้ได้รับความนิยมไปทั่ว จนชาวนาไทยทิ้งข้าวพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม หันมาปลูกข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงเกรดต่ำเป็นทิวแถว โดยเฉพาะในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง...เน้นผลิตข้าวให้มากเข้าไว้เพื่อส่งออกนี่เป็นปฐมบทของนโยบายรัฐบาล ที่เน้นส่งเสริมการปลูกในเชิงปริมาณ...ถีบหัวส่งข้าวพื้นเมืองคุณภาพดีไปสิ้น แต่ก็ยังดีที่ข้าวเกรดต่ำพันธุ์ซดปุ๋ยเติบโตได้ดีในภาคกลาง คนภาคอีสานที่เดิมปลูกแต่ข้าวเหนียว เห็นคนภาคกลางปลูกข้าวเจ้าได้ผลดี ก็อยากจะปลูกข้าวเจ้ามาขายทำเงินบ้าง ตามแรงส่งของลัทธิทุนนิยมที่มาแรงแต่ได้ผลผลิตไม่ดี...ข้าวเจ้าที่พอจะปลูกได้ให้ผลดี ก็มีข้าวพื้นเมือง หอมดอกมะลิจากฉะเชิงเทรา นี่แหละประเทศไทยเลยโชคดี ยังมีข้าวพื้นเมืองชั้นดีปลูกกันมากที่อีสาน จนมีชื่อเสียงหอมนุ่มอร่อยขจรขจายไปทั่วโลก (ก่อนจะเสียแชมป์) ของดียังพอมีอยู่ พัฒนาไปแบบตามมีตามเกิด แต่พอโครงการรับจำนำข้าวเกิดขึ้น สิ่งที่ตามมา...การคอรัปชัน เอาข้าวพันธุ์อื่นมามั่วสวมปลอมปนทั้งที่ข้าวหอมมะลิ มีกติกาว่า หอมมะลิแท้ คุณภาพมาตรฐานต้องปลูกในภาคอีสาน กับ 3 จังหวัดภาคเหนือ เชียงราย, เชียงใหม่, พะเยา เท่านั้นถ้าปลูกในจังหวัดอื่นให้เกรดได้แค่...ข้าวหอมจังหวัด แต่ปรากฏว่า การรับจำนำ มีการเอาข้าวหอมจังหวัดมามั่วปนเป็นข้าวหอมมะลิได้แบบไม่ยาก...แค่นั้นไม่พอ ยังมีรายการเอาข้าวประเทศเพื่อนบ้านมาสวมรอยเป็นข้าวไทยปนเข้าไปอีก แล้วไหนยังจะเอาข้าวพันธุ์ไม่ไวแสง ข้าวปทุมธานี ที่หน้าตาทางกายภาพเหมือนข้าวหอมมะลิทุกประการ จะรู้ว่าใช่หอมมะลิหรือไม่...ต้องแยกดีเอ็นเอ ออกมาดูเท่านั้นถึงจะรู้ว่า หอมมะลิ หรือปทุมธานี





ซึ่งโครงการรับจำนำไม่สามารถจะแยกแยะอย่างนั้นได้...ข้าวพันธุ์ปทุมธานีจากภาคกลางเลยถูกขนขึ้นรถบรรทุกไปสวมตัวเป็นข้าวหอมมะลิในภาคอีสาน ให้คนกันเองได้สวาปามแบบสบายๆนี่แหละผลกรรมของการรับจำนำข้าวแบบสวยใส แต่ไร้สมอง...ข้าวหอมมะลิไทย จึงตกสวรรค์ และถ้าปล่อยสถานการณ์ให้เป็นอย่างนี้ต่อไป ดีไม่ดีข้าวหอมมะลิอาจได้ฉายาใหม่...ข้าวดอกทองเพราะเมื่อถูกต้อนเข้าโครงการรับจำนำแล้ว จะถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร่วมเจ้าของซ่อง (โกดังเก็บข้าว) และลูกสมุน ช่วยกันปู้ยี่ปู้ยำ ผสมพันธุ์มั่วจนเปรอะไปหมดนี่หรืออนาคตข้าวไทย...ในมือนักการเมืองไทย.




ที่มา : ทีมข่าวเกษตร ไทยรัฐออนไลน์


http://www.intercrop.co.th/view_detail.php?nid=3&cat=news
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 09/02/2013 5:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

179. การตั้งชื่อพันธุ์ข้าว

เมื่อดูจากชื่อพันธุ์ข้าวแล้วจะพบว่า การตั้งชื่อพันธุ์ข้าวพื้นเมือง นอกจากจะตั้งชื่อตามชื่อคน ชื่อสถานที่ และลักษณะตามธรรมชาติของข้าวซึ่งเป็นพืชชนิดหนึ่งแล้ว ชื่ออื่นๆ มักเป็นไปในทางดี เป็นมงคลทั้งนั้น ทั้งนี้เป็นเพราะคนไทยส่วนมากมีอาชีพในทางทำไร่ทำนาข้าวเป็นทั้งอาหารหลักและพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้แก่ชาวบ้าน พืชที่เพาะปลูกจึงถือว่าเป็นสิ่งดี เป็นมงคล เป็นคุณประโยชน์แก่ชาวบ้าน ความรู้สึกของชาวนาที่มีต่อข้าว จึงเป็นความรู้สึกสำนึกถึงบุญคุณของข้าวที่มีต่อวิถีชีวิตของตน เมื่อต้องการตั้งชื่อพืชที่มีความสำคัญยิ่งต่อตัวเอง จึงต้องตั้งชื่อที่ดีและเป็นมงคลเพื่อผลผลิตจะได้ดีตามไปด้วย





1. การตั้งชื่อพันธุ์ข้าวพื้นเมือง อาจจำแนกรูปแบบการตั้งชื่อได้ ดังนี้ ....

ตามชื่อของชาวนาหรือชาวบ้าน เช่น ขาวตาแห้ง ขาวตารัตน์ ขาวตาเป๋ ขาวตาเจือ เหลืองตากุย นายยวน เป็นต้น

ตามสถานที่ เช่น ขาวเพชรบูรณ์ ขาวสุพรรณ เหลืองร้อยเอ็ด สันป่าตอง เป็นต้น

ตามลักษณะเด่นของเมล็ดข้าว เช่น ขาวเมล็ดเล็ก ขาวมะลิ ขาวอำไพ ขาวคัด ขาวเม็ดยาว ข้าวหอม พระอินทร์ เป็นต้น

ตามธรรมชาติของการได้ผลผลิต คือ ข้าวหนักซึ่งได้ผลผลิตช้ากว่าข้าวเบาก็เรียกชื่อตามนั้น เช่น ขาวสะอาดหนัก เศรษฐีหนัก เจ๊กสกิด (หนัก) จำปาหนัก ห้าเหลืองเบา เบาหอม เป็นต้น

ชื่อที่มีความหมายในทางที่ดีเป็นสิริมงคล บ่งบอกถึงความร่ำรวย หรือการได้ผลผลิตมาก ๆ เช่น ขาวเศรษฐี ล้นยุ้ง ขาวหลุดหนี้ ก้อนแก้ว เกวียนหัก เหลืองควายล้า ขาวทุ่งทอง เป็นต้น

ตามธรรมชาติของพันธุ์ข้าว เช่น ขาวสูง เหลืองพวงล้า ข้าวใบตก เหลืองเตี้ย ขาวพวง เจ็ดรวงเบา พันธุ์เบื่อน้ำ หางหมาจอก สามรวง เป็นต้น

ตามสีที่เกี่ยวข้องกับพันธุ์ข้าวหรือเมล็ดข้าว เช่น เขียวนางงาม เหลืองปลากริม เขียวหนัก แก้วลาย รวงดำ เป็นต้น

ตามพืชชนิดอื่น เช่น ขาวดอกมะลิ จำปา ดอกพุด ขาวมะนาว จำปาทอง ดอกจันทร์ แตงกวา ไทรขาว อบเชย เป็นต้น

ชื่ออื่น ๆ เช่น ข้าวจังหวัด ขาวห้าร้อย ขาวเกษตร เหลืองสองคลอง เหลืองไร่ นางงาม นางเอก ตับบิ้ง หลวงแจก เป็นต้น


2. การตั้งชื่อพันธุ์ข้าวปรับปรุง เป็นดังนี้คือ
พันธุ์ข้าวที่พัฒนาจากพันธุ์พื้นเมืองที่เลือกสรรมาโดยการคัดเลือกพันธุ์ มักจะใช้ชื่อพันธุ์พื้นเมืองเป็นฐานแล้วใส่ตัวเลขที่ระบุถึงหมายเลขประกวด (เช่น นางมล s-4 ขาวตาแห้ง 17 เป็นต้น) หรือตัวเลขตามสายพันธุ์ (เช่น ขาวดอกมะลิ 105 ปิ่นแก้ว 56 เล็บมือนาง 111 เป็นต้น)

พันธุ์ข้าวใหม่จากข้าวพันธุ์ผสม เช่น กข 1 กข 2 และกข 3 เป็นต้น "กข" มาจากกรมการข้าว ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มทำการผสมพันธุ์ข้าวเหล่านี้ ในปี 2512 โดยนำพันธุ์ข้าว IR8 จากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institute หรือ IRRI) มาผสมกับพันธุ์ข้าวเหลืองทองของไทย ลูกพันธุ์ผสมที่คัดเลือกได้เป็นสายพันธุ์ดีเด่น ก็คือ กข1 และ กข3 ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวเจ้าที่ให้ผลผลิตสูง และมีความดีเด่นที่สามารถแก้ปัญหาการระบาดของเพลี้ยจักจั่นสีเขียว ซึ่งเป็นพาหะของโรคใบสีเหลืองส้ม ที่กำลังระบาดอยู่ในภาคกลาง

ส่วนพันธุ์ข้าว กข 2 เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวต้นเตี้ยพันธุ์แรก ที่ให้ผลผลิตสูง และต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียว นั่นคือ เลขคู่จะบ่งถึงข้าวเหนียว และเลขคี่จะเป็นข้าวเจ้า วิธีการตั้งชื่อแบบนี้ ใช้มาจนถึงปี พ.ศ.2524 ซึ่งออกพันธุ์ข้าว กข27

ในปี พ.ศ.2526 ได้มีระบบการตั้งชื่อใหม่ โดยให้เรียกชื่อพันธุ์พืชที่มาจากการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีการผสมพันธุ์ตามชื่อของศูนย์วิจัย หรือสถานีทดลองที่ทำการปรับปรุงพันธุ์พืชนั้นๆ ตัวเลขที่ตามหลังชื่อ ก็ไม่ได้กำหนดว่าเลขไหนเป็นข้าวเจ้า เลขไหนเป็นข้าวเหนียว ในปี พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นปีที่มีการเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ พันธุ์ข้าวที่ได้รับการรับรองพันธุ์ในปีนั้น จึงใช้เลข 60 ตามชื่อของศูนย์วิจัยหรือสถานีทดลองที่ทำการปรับปรุงพันธุ์นั้นๆ เช่น สุพรรณบุรี 60 ปทุมธานี 60 ชุมแพ 60 พัทลุง 60 หันตรา 60 เป็นต้น

ส่วนพันธุ์ข้าวพื้นเมืองหรือพันธุ์ท้องถิ่นที่นำมาทำการพัฒนา ก็จะใช้ชื่อเดิมพ่วงต่อกับชื่อของศูนย์วิจัย หรือสถานีทดลองข้าวที่ทำการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ เช่น เหนียวอุบล พลายงามปราจีนบุรี เล็บนกปัตตานี เฉี้ยงพัทลุง เป็นต้น ในปี พ.ศ.2543 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระชนมายุครบ 90 พรรษา ข้าวสุพรรณบุรี 90 ก็เป็นพันธุ์ข้าวเฉลิมพระเกียรติอีกพันธุ์หนึ่งที่ได้รับการรับรอง และแนะนำให้เกษตรกรปลูก




180. การปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทย

ประเทศไทยเป็นแหล่งพันธุกรรมข้าวอันอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลาย ชาวนาไทยสมัยก่อน คือ นักวิจัยการเกษตรรุ่นแรกที่คัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับการปลูกในแต่ละท้องถิ่นโดยพัฒนาพันธุ์จากข้าวป่า ซึ่งเป็นแหล่งพันธุกรรมอย่างดีในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว โดยเฉพาะการสร้างพันธุ์ให้ต้านทานโรค แมลง หรือทนทานต่อสภาพแวดล้อม เพราะธรรมชาติของข้าวป่า จะมีระยะเวลาฟักตัวนานแรมปีเพื่อความอยู่รอด หากเมล็ดข้าวป่าร่วงสู่ดินในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย ก็ยังสามารถอยู่ในดินได้นานเกือบปีเพื่อรอฝน คนโบราณจึงปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่ปลูกจากข้าวป่านั่นเอง แต่ยังไม่มีการรวบรวมพันธุ์ข้าวอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 5

ก่อนหน้านั้นเราส่งข้าวไปขายยุโรปผ่านบริษัทของอินเดีย จึงมีข่าวว่าข้าวไทยขายสู้ข้าวอินเดียไม่ได้ เพราะข้าวไทยส่วนมากแตกหัก แต่ข้าวอินเดียมีเมล็ดยาวสวยกว่า รัชกาลที่ 5 ตั้งข้อสังเกตว่า ชาวนาไทยอาจปลูกข้าวหลายพันธุ์มากเกินไป ไม่มีการคัดแยกเมล็ดพันธุ์ พระองค์ท่านทรงมองการณ์ไกล จึงทรงมีพระราชดำริให้เกษตรกรนำพันธุ์ข้าวพื้นเมืองมาประกวดกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2450 ที่อำเภอธัญบุรี พันธุ์ข้าวที่ส่งเข้าประกวดนั้น ทางการได้นำมาปลูกเพื่อคัดเลือกพันธุ์ที่มีคุณภาพเมล็ดดีจนได้เป็นข้าวพันธุ์ดี เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก พันธุ์ข้าวชุดแรกที่รัฐบาลแนะนำในปี พ.ศ.2479 คือ ข้าวพวงเงิน ตามประวัติได้มาจากขุนภิบาล ตลิ่งชัน ธนบุรี ข้าวทองระย้าดำ ได้มาจากนายปิ๋ว บางน้ำเปรี้ยว ฉะเชิงเทรา ข้าวน้ำดอกไม้ ได้มาจากนายมา ลาดกระบัง พระนคร และข้าวพันธุ์ปิ่นแก้ว ได้มาจากนางจวน ศรีราชา ชลบุรี มีความยาวเมล็ดหลังจากสีแล้ว 8.4 มิลลิเมตรข้าวพันธุ์ปิ่นแก้วมีชื่อเสียงโด่งดังเพราะไปชนะเลิศการประกวดพันธุ์ข้าวของโลกที่ประเทศแคนาดา

ต่อมาระหว่าง พ.ศ.2493-2495 มีการรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองทั่วประเทศอย่างจริงจัง เพื่อค้นหาข้าวพันธุ์ดีใช้แนะนำให้เกษตรกรปลูก ผลจากการประเมินเมล็ดและการคัดเลือกจากพันธุ์ข้าวประมาณ 6,000 ตัวอย่าง ก็ได้ข้าวพันธุ์ดีหลายพันธุ์ใช้แนะนำให้เกษตรกรปลูก ในจำนวนนี้มีพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า ข้าวหอมมะลิ รวมอยู่ด้วย



http://kpspstaff.awardspace.com/kpsp_rice/rice002.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 09/02/2013 5:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

181. สหรัฐเพิ่มผลผลิตข้าวเมล็ดสั้นให้ญี่ปุ่น

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์





เกษตรกรสหรัฐเล็งเพิ่มการเพาะปลูกข้าวเมล็ดสั้นสำหรับญี่ปุ่น


กระทรวงเกษตรสหรัฐ เผยว่า เกษตรกรสหรัฐ วางแผนเพิ่มพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกข้าวเมล็ดสั้น ที่ใช้ในอาหารญี่ปุ่น ในปีนี้ ท่ามกลางความวิตกในญี่ปุ่น เกี่ยวกับอุปทานภายในประเทศหลังเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิ รวมทั้งวิกฤตินิวเคลียในปีที่แล้ว

กระทรวงเกษตรคาดการณ์ว่า เกษตรกรสหรัฐ จะปลูกข้าวเมล็ดสั้นดังกล่าวจำนวน 51,000 เอเคอร์ นับจนถึงวันที่ 31 มี.ค. เพิ่มขึ้น 16% จากปีก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน

การเพิ่มขึ้นดังกล่าวบ่งชี้ว่า เกษตรกรสหรรัฐมีวัตถุประสงค์ในการสนองตอบต่อการเคลื่อนไหวที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มผู้ค้าข้าวญี่ปุ่น ในการแสวงหาข้าว ท่ามกลางการปรับตัวขึ้นของราคาในญี่ปุ่น หลังเหตุภัยพิบัติในเดือน มี.ค.2554 ซึ่งสร้างความเสียหายแก่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ และทำให้พื้นที่เกษตรมีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี

นอกจากนี้ ข้อมูลดังกล่าวยังบ่งชี้ว่าเกษตรกรสหรัฐ อาจจะยังคงเพิ่มการผลิตข้าวเมล็ดสั้นต่อไป ขณะที่คาดว่าญี่ปุ่น จะเข้าร่วมในการเจรจาพหุภาคีที่นำโดยสหรัฐว่าด้วยข้อตกลงการค้าเสรีของกลุ่มหุ้นส่วนภาคพื้นแปซิฟิก (ทีพีพี)

คาดว่า การส่งออกข้าวของสหรัฐ ไปยังญี่ปุ่นจะพุ่งขึ้น หากญี่ปุ่นเข้าร่วม ทีพีพี และลดภาษีนำเข้าข้าวที่ 778% ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความวิตกภายในประเทศเกี่ยวกับผลกระทบเชิงลบต่อกลุ่มผู้เพาะปลูกข้าวภายในประเทศ

อย่างไรก็ตาม ในสหรัฐ ส่วนใหญ่มีการปลูกข้าวเมล็ดสั้นในแคลิฟอร์เนียและคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 10% ของพื้นที่เพาะปลูกในรัฐดังกล่าว

สำหรับการผลิตข้าวทั้งหมดของสหรัฐในปี 2553 แยกเป็นข้าวเมล็ดยาว 8.31 ล้านตัน และข้าวเมล็ดกลาง 2.59 ล้านตัน ส่วนข้าวเมล็ดสั้น ซึ่งเป็นข้าวที่เพาะปลูกยากกว่า มีจำนวนเพียง 120,000 ตันเท่านั้น

หากมีการเพาะปลูกข้าวเมล็ดสั้นตามแผนจริง คาดว่าการผลิตข้าวดังกล่าว จะเพิ่มมาอยู่ที่ราว 140,000 ตันในปีนี้


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/foreign/20120429/449244/%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 09/02/2013 6:07 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

182. สหรัฐพบข้าวไทยมีปริมาณสารหนูต่ำสุด

วันที่ 18 / 01 / 2556


ผลวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียสหรัฐอเมริกาพบว่า ข้าวหอมมะลิไทยมีปริมาณสารหนูที่พบในธรรมชาติน้อยที่สุดในโลก โดยมีข้าวพันธุ์บาสมาติ ของอินเดียและปากีสถานมาเป็นอันดับสอง และยังพบว่าสารหนูอินทรีย์มีอยู่ทั่วไปในอาหาร รวมถึงในน้ำผลไม้และผลไม้สด

จากการศึกษาในปัจจุบันเกี่ยวกับองค์ประกอบของสารหนูในข้าวพบว่า ข้าวขาวจากรัฐอาร์คันซอ หลุยส์เซียนา มิสซูรี และเทกซัส มีปริมาณสารหนูอนินทรีย์มากกว่าข้าวที่ปลูกที่อื่น ๆ (รวมทั้งแคลิฟอร์เนีย อินเดียและไทย) นอกจากนี้ พบว่า ข้าวเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะข้าวกล้องนั้น มีปริมาณสารหนูมากกว่าข้าวขาว

ความสนใจเกี่ยวกับสารหนูในข้าว เริ่มแพร่หลายอีกครั้ง เมื่อปีที่ผ่านมามีการแนะนำให้หลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำเชื่อมและอาหารที่ทำมาจากข้าวกล้อง หรือไม่ควรบริโภคข้าวเกิน 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นต้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยทำการศึกษาในเชิงลึกมากขึ้น แต่จนกระทั่งบัดนี้ยังไม่มีหลักฐานยืนยันถึงอันตรายของสารหนูที่พบในข้าว อีกทั้งไทยและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาก็ไม่ได้มีคำแนะนำหรือออกกฎระเบียบเกี่ยวกับสารหนูตามธรรมชาติที่พบในข้าว



http://www.acfs.go.th/news_detail.php?ntype=07&id=10977
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 09/02/2013 8:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

คลิก...
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=16128
183. ข้าวหอมแดง. ข้าวหอมดำ, ข้าวหอมชมพู,



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 17/02/2013 12:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

184. มะลิ 106 ข้าวพันธุ์ใหม่ เน้นหอม-ทานโรค ผลผลิตสูง


ปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ กรมชลประทาน ออกมาการันตีแล้วว่า น้ำท่วมขังในพื้นที่ราบลุ่มจะลดลงจนกระทั่งเกษตรกรสามารถ ลงมือปลูกข้าวเพื่อเลี้ยงชีพได้แล้ว





สำหรับการเตรียมพันธุ์ข้าวปลูก ก็เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ควรที่จะต้องหาข้าวสายพันธุ์ที่ดี ทั้งต้านทานโรคแมลง, ให้ผลผลิตสูง และสามารถขายได้ราคาดี ขณะนี้มีข้าวพันธุ์ใหม่ชื่อว่า หอมมะลิ 106 และ อีกหลายสายพันธุ์ ออกมาสู่ตลาด เพื่อเป็นอีกหนทางหนึ่งในการช่วยเหลือเกษตรกร

โดยทาง ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร อาจารย์ประจำศูนย์พันธุกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม พร้อมคณะนักวิจัย ได้สร้างผลงาน "การพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มกลิ่นหอมมะลิ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียว"

ทีมงานวิจัยเริ่มต้นจากการค้นพบ ยีนควบคุมความหอมของข้าวขาวดอกมะลิ โดยใช้วิธีการ map-pased cloning ซึ่งไม่ใช่ Genetically modified organism (GMOs) จึงทำให้พบกระบวน การที่ทำให้ข้าวมีการสะสมสารประกอบ 2-acetyl-1-pyrroline (2 AP) ซึ่งเป็นสารหอมหลักของข้าวทุกสายพันธุ์ เพื่อนำไปใช้เพิ่ม ระดับความหอมของข้าวในข้าวพันธุ์อื่นๆ โดยใช้วิธี functional marker (Aromarker) ที่สามารถถ่ายทอดลักษณะความหอมของข้าวหอมมะลิไปสู่ข้าวพันธุ์อื่นๆที่มีผลผลิตสูงแต่ไม่มีความหอม จนได้ข้าวพันธุ์ใหม่ๆ เช่น ข้าวหอมชลสิทธิ์, ข้าวปิ่นเกษตร, ข้าวสินเหล็ก ที่ปลูกในนาชลประทาน ผลผลิตมากกว่า 1 ตันต่อไร่

ผลการวิจัยยังนำมาสู่ การพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง ในการปรับปรุงข้าว ได้ สายพันธุ์ใหม่มากถึง 8 สายพันธุ์ อย่างเช่น หอมมะลิ 106 และ ข้าวเหนียวหอม กข.6 ฯลฯ ที่มีลักษณะเด่น ต้านทานโรคแมลง สามารถปลูกได้ ในพื้นที่แล้ง หรือ พื้นที่ดินเค็ม และ ให้ผลผลิตสูง





ดร.อภิชาติ บอกอีกว่า นักปรับปรุงพันธุ์ข้าวยังสามารถพัฒนาเทคโนโลยีค้นหาข้าวสายพันธุ์ใหม่ ด้วยการดึงลักษณะเด่นของข้าวแต่ละสายพันธุ์ ในระดับพันธุกรรม หรือ การแสดงออกของยีนที่แตกต่าง หรือ Molecular Maker Snip ซึ่งทำให้การค้นหาข้าวสายพันธุ์ใหม่ทำได้เร็วขึ้น เพียงแค่ช่วง ระยะเวลา 3 ปีเท่านั้น จากเดิมที่ต้องใช้เวลา นานกว่า 10 ปี กว่าจะได้พันธุ์ข้าวใหม่เพียงแค่ 1 สายพันธุ์ อีกทั้งยังต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง 10 ล้านบาท

โดยทีมวิจัยยังได้ร่วมกับ ศูนย์วิจัยข้าวระดับนานาชาติ ดำเนินการถอดรหัสจีโนมข้าว ช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านการปรับปรุงพันธุ์ โดยไม่ต้องใช้ เทคนิคจีเอ็มโอ เทคโนโลยีการเพิ่มสารหอมในข้าว ยังนำไปสู่การโคลนยีนความหอม เพื่อไปเพิ่มความหอมในพืชอื่นๆ เช่น ใบเตย ถั่วเหลือง ข้าวโพดหวาน ตลอดจนมองไปถึงยีนความหอม ซึ่งพบใน มะพร้าวน้ำหอมอีกด้วย

ในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้มาอย่างต่อเนื่อง จนย่าง ก้าวเข้าสู่ปีที่ 12 แล้ว ก็ทำเพื่อเกษตรกรและลูกหลานคนไทยทั้งสิ้น ความสำเร็จที่เกิดจากการทุ่มเทพลังกายและใจ ส่งผลให้ได้รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประจำปี 2553 จาก มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์.

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/edu/126947



http://www.phtnet.org/news53/view-news.asp?nID=429
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 17/02/2013 12:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

185. เมล็ดพันธุ์ข้าวซีโอ 80 (กข31) หรือ ปทุม ซีโอ ปทุมธานี 80


ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาว ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคขอบใบแห้ง โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคเมล็ดด่าง

พันธุ์ข้าวที่ทนอากาศเย็นได้ดี ส่วนใหญ่จะเป็นข้าวในตระกูลจาปอนิกาหรือข้าวญี่ปุ่น สำหรับพันธุ์ข้าวในเมืองไทยที่ทนต่ออากาศเย็น ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะคอรวงยาว เช่น สุพรรณบุรี 1, สุพรรณบุรี 3 กข31 (ปทุมธานี 80), และ กข39 เพราะเมื่อกระทบอากาศเย็นในช่วงข้าวกำลังตั้งท้องหรือออกดอก ผลผลิตจะไม่เสียหายมากนัก เพียงแต่คอรวงและความยาวเมล็ดจะหดสั้นลง

“แต่ขอย้ำข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 3 ไม่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือตอนล่าง และข้าวพันธุ์ กข 39 ก็ไม่ต้านทานเพลี้ย ด้วยเช่นกัน”

ดังนั้น ชาวบ้านที่จำเป็นต้องเร่งปลูกข้าวในช่วงเดือนพฤศจิกายน เพื่อให้ข้าวสุกแก่ก่อนน้ำจะหมด ก็ต้องเลือกพันธุ์ดังกล่าว เพราะทนหนาวแต่ไม่ต้านเพลี้ยกระโดด และให้ระวังการระบาดของเพลี้ยฯที่ยังหลงเหลืออยู่ในบางพื้นที่

ส่วนอีกวิธีหนึ่ง คือ การปลูกข้าวหนีอากาศเย็นในระยะตั้งท้องและออกดอก เนื่องจากข้าวจะอ่อนแอต่ออากาศหนาวเย็นที่สุดในระยะตั้งท้อง-ออกดอก โดยเฉพาะพันธุ์ข้าวที่ไม่ทนต่ออากาศเย็นเช่น ชัยนาท 1 ปทุมธานี 1 พิษณุโลก 2 กข 29 กข 41 กข 47 และข้าวอายุสั้นอีกหลายๆพันธุ์ ทำให้ผลผลิตเสียหายได้ 50-100 เปอร์เซ็นต์ แต่หากกระทบอากาศเย็นในระยะกล้าหรือระยะแตกกอ ข้าวเพียงแต่ชะงักการเจริญเติบโต ต้นเหลืองและเตี้ย เมื่ออากาศอุ่นขึ้นให้รีบใส่ปุ๋ย จะทำให้ต้นข้าวฟื้นตัว สามารถเจริญเติบโตต่ออย่างรวดเร็วให้ผลผลิตดี เพียงแต่อายุเก็บเกี่ยวจะมากขึ้น

ดังนั้น เกษตรกรที่ชอบพันธุ์ข้าวไม่ทนต่ออากาศเย็นดังกล่าว ควรเลี่ยงการปลูกข้าวในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ให้เริ่มปลูกข้าวได้ในเดือนธันวาคม และถ้ากลัวว่าอากาศจะเย็นนาน ควรปลูกให้ล่าไปถึงกลางเดือนธันวาคม เพราะข้าวจะตั้งท้องและออกดอกในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ถึง กลางเดือนมีนาคม ซึ่งมีอากาศอุ่นขึ้น หากเป็นข้าวที่มีอายุสั้นกว่า 100 วัน ก็ควรเริ่มปลูกข้าวประมาณปลายธันวาคม เป็นต้นไป แต่ไม่ควรเกินกลางเดือนมกราคม เพราะช่วงข้าวออกดอกจะกระทบอากาศร้อนของเดือนเมษายน จะทำให้ผลผลิตเสียหายได้อีก 50 เปอร์เซ็นต์

แต่สำหรับภาคเหนือตอนบนแล้วควรปลูกข้าวตั้งแต่กลางกุมภาพันธุ์เป็นต้นไป เพาะมีอากาศหนาวมากกว่าและเย็นนานกว่าภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง

อย่างไรก็ตาม ชาวนาควรทราบว่า ข้าวแต่ละพันธุ์ก็ทนต่ออากาศเย็นในระยะแรกได้ไม่เท่ากัน เช่น พันธุ์ชัยนาท 1 และปทุมธานี 1 ถ้ากระทบอากาศหนาวจัดคืออุณหภูมิ กลางคืนต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียสเป็นเวลานาน ข้าวจะเหลืองเตี้ยจนไม่สามารถฟื้นตัวได้อีก นอกจากนี้ข้าวทั้งสองพันธุ์อ่อนแอต่อเพลี้ยฯ ชาวบ้านต้องหมั่นเฝ้าระวังเพลี้ยฯให้ดี หรือเลือกพันธุ์ข้าวที่ต้านเพลี้ยดีกว่าเช่น พิษณุโลก 2 กข 29 กข 41 และ กข 47 เป็นต้น

ชื่อพันธุ์
กข31 - RD31 (ปทุมธานี 80)

ชนิด
ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์
จากการผสมพันธุ์ระหว่าง สายพันธุ์ SPR85163-5-1-1-2 กับสายพันธุ์ IR54017-131-1-3-2 ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ. 2536 ปลูกคัดเลือก ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 ถึง พ.ศ. 2539 ได้สายพันธุ์ SPR93049-PTT-30-4-1-2 ศึกษาพันธุ์ ประเมินลักษณะประจำพันธุ์และลักษณะทางการเกษตร ทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมีที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ประเมินผลผลิตและทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน ในศูนย์วิจัยข้าวภาคกลาง และปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในนาเกษตรกร 8 จังหวัดในภาคกลาง จนถึง พ.ศ. 2549

การรับรองพันธุ์
- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ชื่อ กข31 (ปทุมธานี 80) เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2550



ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง กอตั้ง ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ต้นสูงเฉลี่ย 117 เซนติเมตร
- อายุเก็บเกี่ยว 118 วัน เมื่อปลูกโดยวิธีปักดำ และ 111 วัน เมื่อปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม
- ใบสีเขียว กาบใบสีเขียว ใบธงตั้ง
- คอรวงยาว รวงยาว 29.9 เซนติเมตร ติดเมล็ด 90 เปอร์เซ็นต์
- จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 130 เมล็ด นวดง่าย เปลือกเมล็ดสีฟาง เมล็ดไม่มีหาง
- ข้าวกล้องสีขาว เป็นท้องไข่น้อย รูปร่างเรียว ยาว 7.39 มิลลิเมตร กว้าง 2.13 มิลลิเมตร หนา 1.84 มิลลิเมตร
- คุณภาพการสีดี ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว 47.5 เปอร์เซ็นต์
- ปริมาณแอมิโลส 27.3–29.8 เปอร์เซ็นต์
- อุณหภูมิแป้งสุกระดับปานกลาง แป้งสุกอ่อน ข้าวสุกค่อนข้างแข็ง ไม่หอม
- ระยะพักตัวของเมล็ด 5 สัปดาห์


ผลผลิต
เฉลี่ย 745 กิโลกรัม/ไร่ (ปักดำ)
เฉลี่ย 738 กิโลกรัม/ไร่ (นาหว่านน้ำตม)


ลักษณะเด่น
1. คุณภาพเมล็ดทางกายภาพสม่ำเสมอกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 1
2. ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาว ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคขอบใบแห้ง โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคเมล็ดด่าง
3. กอตั้ง ต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย ผลผลิตสูง ปลูกโดยวิธีปักดำให้ผลผลิต 745 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าผลผลิตของพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ และปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตมให้ผลผลิตเฉลี่ย 738 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าผลผลิตของพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์

ข้อควรระวัง
กข31 (ปทุมธานี 80) อ่อนแอต่อโรคไหม้ โรคใบหงิก และโรคใบสีส้ม

พื้นที่แนะนำ
นาชลประทานภาคกลาง


http://www.xn--22cd4ddy2a7a6egbf4e9lnb.com/index.php?mo=28&id=478494
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 17/02/2013 1:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

186. รวมพันธุ์ข้าวจ้าว พันธุ์ข้าวเหนียว ลักษณะเด่น



พันธุ์ข้าวเจ้า
ชื่อพันธุ์ข้าว ลักษณะดีเด่น
ขาวดอกมะลิ 105 : ปลูกได้ในที่นาดอน ทนแล้ง ทนดินเปรี้ยว-ดินเค็ม คุณภาพการหุงต้มดี มีกลิ่นหอม รสชาติดี ต้านทานไส้เดือนฝอยรากปม
ปทุมธานี 60 : ต้านทานโรคกาบใบเน่า โรคใบหงิก

กข7 : ค่อนข้างต้านทานโรคใบไหม้ และโรคขอบใบแห้ง ค่อนข้างทนดินเค็ม
กข23 : ต้านทานโรคไหม้ปานกลาง

กข27 : ต้านทานโรคใบหงิก โรคกาบใบแห้ง โรคไหม้คอรวง ทนน้ำท่วมได้ด
สุพรรณบุรี 60 : ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง เพลี้ยจักจั่น

พิษณุโลก 60-2 : ต้านทานโรคกาบใบเน่า โรคไหม้ โรคใบสีส้มในระดับสูงต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลปานกลาง
สุพรรณบุรี 90 : ต้านทานโรคใบหงิก โรคใบสีส้ม โรคใบไหม้ และโรคขอบใบแห้งต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

ชัยนาท 1 : ต้านทานโรคใบหงิก โรคใบไหม้ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว
เหลืองประทิว 123 : ต้านทานโรคของใบแห้ง และโรคใบหงิก

ขาวตาแห้ง 17 : คุณภาพการสี และการหุงต้มดี ต้านทานแมลงบั่วปานกลาง
นางพญา 132 : ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว

แก่นจันทร์ : ต้านทานโรคใบหงิก โรคใบขีดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นสีเขียว
พัทลุง 60 : ต้านทานโรคขอบใบแห้ง

ลูกแดงปัตตานี : ต้านทานโรคใบไหม้ ทนต่อดินเค็มและดินเปรี้ยว
เฉี้ยงพัทลุง : ให้ผลผลิตสูง ปรับตัวได้ดีในที่นาดอนและลุ่ม คุณภาพการสีดี

ปิ่นแก้ว 56 : ทนน้ำลึก และขึ้นน้ำได้ดี ไม่ต้านทานโรคใบไหม้ โรคใบสีส้ม โรคใบหงิก
เล็บมือนาง 111 : ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล ทนแล้ง ทนน้ำลึก

หันตรา 60 : เหมาะกับที่ราบลุ่มภาคกลาง ต้านทานโรคใบไหม้
พลายงามปราจีนบุรี : ต้านทานโรคใบไหม้

ปราจีนบุรี 1 : ต้านทานโรคใบไหม้ระยะกล้า โรคใบขีดโปร่งแสง ทนน้ำลึก ให้ผลผลิตและคุณภาพสูง ทนแล้ง ทนดินเปรี้ยว
ปราจีนบุรี 2 : ทนน้ำลึก ให้ผลผลิตสูง

ดอกพะยอม : ต้านทานโรคใบไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคใบขีดสีน้ำตาล
กู้เมืองหลวง : เหมาะสำหรับปลูกพืชแซมยางหรือปลูกเป็นข้าวไร่ทางภาคใต้ต้านทานโรคใบไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล

เจ้าฮ่อ : เหมาะสำหรับปลูกในสภาพไร่พื้นราบและสภาพไร่เชิงเขาในภาคเหนือต้านทานโรคใบไหม้
น้ำรู : เหมาะสำหรับปลูกในสภาพไร่ที่สูงมีอากาศหนาว ต้านทานโรคใบไม้


สุพรรณบุรี 1 : ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว โรคใบหงิก
สุพรรณบุรี 2 : ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคขอบใบแห้ง โรคใบหงิก โรคใบสีส้ม

คลองหลวง 1 : ให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 25 % ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดหลังขาวดีกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105

หอมสุพรรณบุรี : ค่อนข้างต้านทานต่อโรคใบแห้ง เพลี้ยกระโดดหลังขาว

ปทุมธานี 1 : ลักษณะคล้ายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง

พิษณุโลก 1 : ให้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคใบหงิก
พิษณุโลก 2 : ต้านทานโรคไหม้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

สุรินทร์ 1 : ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยจักจั่น

น้ำสะกุย 19 : เป็นข้าวเบาที่ทนแล้งและทนน้ำท่วมได้ดี ไม่ต้านทานแมลงบั่ว โรคไหม้และโรคใบสีส้ม

พิษณุโลก 60-1 : ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคกาบใบแห้ง และโรคจู๋ ต้านทานแมลงบั่ว ไม่ต้านทานโรคไหม้ และโรคใบสีส้ม

ชุมแพ 60 : ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ไม่ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง ทนดินเค็มปานกลาง

พิษณุโลก 1 : ต้านทานโรคไหม้ปานกลาง
พิษณุโลก 3 : ผลผลิตสูง ต้านทานโรคไหม้

กข 9 : ปลูกได้ทุกฤดูกาล ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว และแมลงบั่วปานกลาง ต้านทานโรคใบหงิกในสภาพธรรมชาติ ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง

กข 15 : ทนแล้งได้พอสมควร ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล
เล็บนกปัตตานี : อายุหนัก ปลูกได้ในพื้นที่นาลุ่ม




พันธุ์ข้าวเหนียว
ชื่อพันธุ์ข้าว ลักษณะดีเด่น
สันป่าตอง 1 : ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้งดี ให้ผลผลิตสูง สามารถปลูกได้ทั้งปี
สกลนคร : เป็นข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสง ปรับตัวได้หลายสภาพ นาดอน นาชลประทาน และสภาพไร่นา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

หางยี 71 : ทนแล้งปลูกเป็นข้าวไร่ได้ อายุเบา ต้านทานโรคไหม้และโรคใบจุดสีน้ำตาล ไม่ต้านทานโรค ขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว

กข 2 : ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล ต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียวปานกลาง ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว

กข 4 : ปลูกได้ทุกฤดูกาล ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล แมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่น สีเขียว ไม่ต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง

กข 6 : ทนแล้ง ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว

กข 8 : ทนแล้ง ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว



http://www.xn--22cd4ddy2a7a6egbf4e9lnb.com/index.php?mo=28&id=478494
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 01/03/2013 3:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

187. หลักการผลิตข้าวอินทรีย์





ข้าวอินทรีย์คืออะไร
ข้าว อินทรีย์ (Organic rice) เป็นข้าวที่ได้จากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ (Organic agriculture หรือ Organic Farming) ซึ่งเป็นวิธีการผลิตที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี หรือสารสังเคราะห์ต่างๆ เป็นต้นว่า ปุ๋ยเคมี สารควบคุมการเจริญเติบโต สารควบคุมและกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าวในทุกขั้นตอนการผลิตและในระหว่าง

การเก็บรักษาผลผลิต หากมีความจำเป็น แนะนำให้ใช้วัสดุจากธรรมชาติและสารสกัดจากพืชที่ไม่มีพิษต่อคน หรือไม่มีสารพิษตกค้างปนเปื้อนในผลิตผลในดินและน้ำ ในขณะเดียวกันก็เป็นการรักษาสภาพแวดล้อม ทำให้ได้ผลิตผลข้าวที่มีคุณภาพดี ปลอดภัยจากอันตรายของผลตกค้างส่งผลให้ผู้บริโภคมีสุขอนามัยและคุณภาพชีวิต ที่ดี

สถานการณ์การผลิตข้าวอินทรีย์ในประเทศไทย
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา กรมวิชาการเกษตรได้ให้การสนับสนุนบริษัทในเครือสยามไชยวิวัฒน์ และบริษัทในเครือนครหลวงค้าข้าว จำกัด ดำเนินการผลิตข้าวอินทรีย์ โดยให้คำปรึกษาแนะนำ และประสานงานกับทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือโดยเฉพาะจากจังหวัดพะเยา และเชียงรายขอเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก หลังจากได้คัดเลือกเกษตรกรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมไว้เพียงบางส่วนเพื่อเข้า ร่วมโครงการแล้ว ได้มีการชี้แจงให้เกษตรกรเข้าใจหลักการและขั้นตอนการผลิตข้าวอินทรีย์ที่ถูก ต้อง การจัดทำข้อตกลงและการยอมรับนำไปปฏิบัติตามหลักการการผลิตข้าวอินทรีย์ รวมทั้งจัดนักวิชาการออกติดตามให้คำแนะนำในทุกขั้นตอนของการผลิต จากการดำเนินงานตั้งแต่ฤดูกาลผลิตปี 2535 เป็นต้นมา มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการประมาณปีละ 100 รายในพื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย ประมาณ 400-500 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นผลผลิตรวมประมาณปีละ 2,000 ตัน

นอกจากนี้ยังมีองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ให้การสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่อื่นๆ ผลิตข้าวอินทรีย์ รวมทั้งมีบริษัทเอกชนผลิตข้าวอินทรีย์จำหน่ายโดยตรง เช่น บริษัทลัดดา จำกัด เป็นต้น

ตลาดและราคาข้าวอินทรีย์
ข้าวอินทรีย์ที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศแถบยุโรปส่วน ที่เหลือจะวางจำหน่ายภายในประเทศ ราคาข้าวเปลือกอินทรีย์ที่เกษตรกรได้รับจะสูงกว่าราคาข้าวเปลือก โดยทั่วไปประมาณร้อยละ 10 แต่ในส่วนที่เป็นข้าวสารบรรจุวางจำหน่ายในประเทศไทยมีราคาสูงกว่าข้าวสาร ทั่วไปประมาณร้อยละ 20 สำหรับในตลาดต่างประเทศข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์ จะมีราคาใกล้เคียงกับข้าวพันธุ์บาสมาติ

หลักการผลิตข้าวอินทรีย์
การผลิตข้าวอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตข้าวที่ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตรทุกชนิดเป็นต้นว่า ปุ๋ยเคมี สารควบคุมการเจริญเติบโต สารควบคุมและกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูข้าว ตลอดจนสารเคมีที่ใช้รมเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บ การผลิตข้าวอินทรีย์นอกจากจะทำให้ได้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพสูงและปลอดภัยจาก สารพิษแล้วยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการพัฒนาการเกษตรแบบ ยั่งยืนอีกด้วย

การผลิตข้าวอินทรีย์เป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่เน้นเรื่องของธรรมชาติ เป็นสำคัญ ได้แก่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ การรักษาสมดุลธรรมชาติ และการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เพื่อการผลิตอย่างยั่งยืน เช่น ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการปลูกพืชหมุนเวียน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุอินทรีย์ในไร่นาหรือจากแหล่งอื่น ควบคุมโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสานที่ไม่ใช้สารเคมี การเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมมีความต้านทานโดยธรรมชาติ รักษาสมดุลของศัตรูธรรมชาติ การจัดการพืช ดิน และน้ำ ให้ถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของต้นข้าว เพื่อทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี มีความสมบูรณ์แข็งแรงตามธรรมชาติ การจัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการระบาดของโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าว เป็นต้น การปฏิบัติเช่นนี้ก็สามารถทำให้ต้นข้าวที่ปลูกให้ผลผลิตสูงในระดับที่น่าพอ ใจ




เทคโนโลยี การผลิตข้าวอินทรีย์ มีขั้นตอนการปฏิบัติ เช่นเดียวกับการผลิตข้าวโดยทั่วไปจะแตกต่างกัน ตรงที่ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ในทุกขั้นตอนการผลิต จึงมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

1. การเลือกพื้นที่ปลูกเลือก พื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ติดต่อกัน และมีความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยธรรมชาติค่อนข้างสูง ประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของข้าวอย่างเพียงพอ มีแหล่งน้ำสำหรับเพาะปลูก ไม่ควรเป็นพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีในปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือมีการปนเปื้อนของสารเคมีสูง และห่างจากพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีการเกษตร พื้นที่ที่จะใช้ในการผลิตข้าวโดยปกติมีการตรวจสอบหาสารตกค้างในดินหรือในน้ำ

2. การเลือกใช้พันธุ์ข้าวพันธุ์ ข้าวที่ใช้ปลูกควรมีคุณสมบัติด้านการเจริญเติบโตเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมใน พื้นที่ปลูกและให้ผลผลิตได้ดีแม้ในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ต้านทานโรค แมลงที่สำคัญ และมีคุณภาพเมล็ดตรงกับความต้องการของผู้บริโภคข้าวอินทรีย์ การผลิตข้าวอินทรีย์ในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข 15 ซึ่งทั้งสองพันธุ์เป็นข้าวที่มีคุณภาพเมล็ดดีเป็นพิเศษ

3. การเตรีมเมล็ดพันธุ์ข้าวเลือก ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้มาตรฐานผลิตจากแปลงผลิตพันธุ์ข้าวที่ได้รับการดูแล อย่างดี มีความงอกแรงผ่านการเก็บรักษาโดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ ปราศจากโรคแมลง และเมล็ดวัชพืช หากจำเป็นต้องป้องกันโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์อนุโลมให้นำมาแช่ในสารละลาย จุนสี (จุนสี 1 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร) เป็นเวลานาน 20 ชั่วโมง แล้วล้างด้วยน้ำก่อนนำไปปลูก

4. การเตรียมดิน
วัตถุ ประสงค์หลักของการเตรียมดิน คือสร้างภาพที่เหมาะสมต่อการปลูกและการเจริญเติบโตของข้าว ช่วยควบคุมวัชพืช โรค แมลง และสัตว์ศัตรูข้าวบางชนิด การเตรียมดินมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติดินและสภาพแวดล้อมในแปลงนาก่อน ปลูกโดยการไถดะ ไถแปร คราด และทำเทือก

5. วิธีการปลูก
การ ปลูกข้าวแบบปักดำ จะเหมาะสมที่สุดกับการผลิตข้าวอินทรีย์ เพราะการเตรียมดิน ทำเทือก การรักษาระดับน้ำขังในนาจะช่วยควบคุมวัชพืชได้ และการปลูกกล้าข้าวลงดินจะช่วยให้ข้าวสามารถแข่งขันกับวัชพืชได้ ต้นกล้าที่ใช้ปักดำควรมีอายุประมาณ 30 วัน เลือกต้นกล้าที่เจริญเติบโตแข็งแรงดี ปราศจากโรคและแมลงทำลาย เนื่องจากในการผลิตข้าวอินทรีย์ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ทุกชนิด โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี จึงแนะนำให้ใช้ระยะปลูกถี่กว่าระยะปลูกที่แนะนำสำหรับการปลูกข้าวโดยทั่วไป เล็กน้อย คือ ประมาณ 20x20 เซนติเมตร จำนวนต้นกล้า 5 ต้นต่อกอ และใช้ระยะปลูกแคบกว่านี้ หากดินนามีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ในกรณีที่ต้องปลูกล่าหรือปลูกหลังจากช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมของข้าวแต่ละ พันธุ์ และมีปัญหา เรื่องการขาดแคลนแรงงาน แนะนำให้เปลี่ยนไปปลูกวิธีอื่นที่เหมาะสม

6. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน
เนื่อง จากการปลูกข้าวอินทรีย์ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมี ดังนั้นการเลือกพื้นที่ปลูกที่ดินมีความ อุดมสมบูรณ์สูงตามธรรมชาติ จึงเป็นการเริ่มต้นที่ได้เปรียบ เพื่อที่จะรักษาระดับผลผลิตให้อยู่ในเกณฑ์ ที่น่าพอใจ นอกจากนี้เกษตรกรยังต้องรู้จักการจัดการดินที่ถูกต้อง และพยายามรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้เหมาะสมกับการปลูกข้าวอินทรีย์ให้ ได้ผลดีและยั่งยืนมากที่สุดอีกด้วย

คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน สำหรับการผลิตข้าวอินทรีย์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ การจัดการดิน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และการใช้วัสดุอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมี

6.1 การจัดการดิน
มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการจัดการเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้เหมาะสมกับ การใช้ปลูกข้าวอินทรีย์ ดังนี้

 ไม่เผาตอซัง ฟางข้าว และเศษวัสดุอินทรีย์ในแปลงนา เพราะเป็นการทำลายอินทรียวัตถุ และจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ไม่นำชิ้นส่วนของพืชที่ไม่ใช้ประโยชน์โดยตรง ออกจากแปลงนา แต่ควรนำวัสดุ อินทรีย์จากแหล่งใกล้เคียงใส่แปลงนา ให้สม่ำเสมอทีละเล็กละน้อย

 เพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินโดยการปลูกพืชโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วในที่ว่างใน บริเวณพื้นที่นาตามความเหมาะสม แล้วใช้อินทรียวัตถุที่เกิดขึ้นในระบบไร่นาให้เกิดประโยชน์ ต่อการปลูกข้าวไม่ควรปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่าก่อนการปลูกข้าวและหลังจากการ เก็บเกี่ยวข้าว แต่ควร ปลูกพืชคลุมดินโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วพร้า โสน เป็นต้น

 ป้องกันการสูญเสียหน้าดินเนื่องจากการชะล้าง โดยใช้วัสดุคลุมดิน พืชคลุมดิน และ ควรมีการไถพรวนอย่างถูกวิธี ควรวิเคราะห์ดินนาทุกปี แล้วแก้ไขภาวะความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นข้าว (ประมาณ 5.5-6.5) ถ้าพบว่าดินมีความเป็นกรดสูง แนะนำให้ใช้ปูนมาร์ล ปูนขาว หรือขี้เถ้าไม้ปรับปรุงสภาพดิน

6.2 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์
หลีก เลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ทุกชนิด และพยายามแสวงหาปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติมาใช้อย่างสม่ำเสมอ แต่เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติแทบทุกชนิดมีความเข้มข้นของธาตุอาหารค่อน ข้างต่ำ จึงต้องใช้ในปริมาณที่สูงมากและอาจมีไม่พอเพียงสำหรับการปลูกข้าวอินทรีย์ และถ้าหากมีการจัดการที่ไม่เหมาะสมก็จะเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต จึงแนะนำให้ใช้หลักการธรรมชาติที่ว่า “สร้างให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ใช้ทีละเล็กทีละน้อยสม่ำเสมอเป็นประจำ”

ปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติที่ควรใช้ ได้แก่
 ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยมูลสัตว์ ได้แก่มูลสัตว์ต่างๆ ซึ่งอาจนำมาจากภายนอก หรือจัดการผลิตขึ้นในบริเวณไร่นา นอกจากนี้ท้องนาในชนบทหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วมักจะปล่อยให้เป็นที่เลี้ยง สัตว์ โดยให้แทะเล็มตอซังและหญ้าต่างๆ มูลสัตว์ที่ถ่ายออกมาปะปนกับเศษซากพืช ก็จะเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุในนาอีกทางหนึ่ง

 ปุ๋ยหมัก ควรจัดทำในพื้นที่นาหรือบริเวณที่อยู่ไม่ห่างจากแปลงนามากนัก เพื่อความสะดวกในการใช้ ควรใช้เชื้อจุลินทรีย์ในการทำปุ๋ยหมักเพื่อช่วยการย่อยสลายได้เร็วขึ้น และเก็บรักษาให้ถูกต้องเพื่อลดการสูญเสียธาตุอาหาร

 ปุ๋ยพืชสด ควรเลือกชนิดที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ควรปลูกก่อนการปักดำข้าว ในระยะเวลาพอสมควร เพื่อให้ต้นปุ๋ยพืชสดมีช่วงการเจริญเติบโตเพียงพอที่จะผลิตมวลพืชสดได้มาก มีความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจนสูงและไถกลบต้นปุ๋ยพืชสดก่อนการปลูกข้าวตาม กำหนดเวลา เช่น โสนอัฟริกัน (Sesbania rostrata) ควรปลูกก่อนปักดำข้าวประมาณ 70 วัน โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ประมาณ 7 กิโลกรัมต่อไร่ หากจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัสช่วยเร่งการเจริญเติบโต แนะนำให้ใช้หินฟอสเฟตบดละเอียด ใส่ตอนเตรียมดินปลูก แล้วไถกลบต้นโสนขณะมีอายุประมาณ 50-55 วันหรือก่อนการปักดำข้าวประมาณ 15 วัน

6.3 การใช้อินทรียวัตถุบางอย่างทดแทนปุ๋ยเคมี
หากปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดินข้างต้นแล้ว ยังพบว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์ไม่เพียงพอหรือขาดธาตุอาหารที่สำคัญบางชนิดไป สามารถนำอินทรียวัตถุจากธรรมชาติต่อไปนี้ ทดแทนปุ๋ยเคมีบางชนิดได้ คือ
 แหล่งธาตุไนโตรเจน: เช่น แหนแดง สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว กากเมล็ดสะเดา เลือดสัตว์แห้ง กระดูกป่น เป็นต้น
 แหล่งธาตุฟอสฟอรัส: เช่น หินฟอสเฟต กระดูกป่น มูลไก่ มูลค้างคาว กากเมล็ดพืช ขี้เถ้าไม้ สาหร่ายทะเล เป็นต้น
 แหล่งธาตุโพแทสเซียม: เช่น ขี้เถ้า และหินปูนบางชนิด
 แหล่งธาตุแคลเซียม: เช่น ปูนขาว โดโลไมท์ เปลือกหอยป่น กระดูกป่น เป็นต้น

7. ระบบการปลูกพืชปลูก ข้าวอินทรีย์เพียงปีละครั้ง โดยเลือกช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมกับข้าวแต่ละพันธุ์ และปลูกพืช หมุนเวียนโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วก่อนและหลังการปลูกข้าว อาจปลูกข้าวอินทรีย์ร่วมกับพืชตระกูลถั่ว ก็ได้ ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม

8. การควบคุมวัชพืช
หลีก เลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิดในการควบคุมวัชพืช แนะนำให้ควบคุมวัชพืชโดยวิธีกล เช่น การเตรียมดินที่เหมาะสม วิธีการทำนาที่ลดปัญหาวัชพืช การใช้ระดับน้ำควบคุมวัชพืช การใช้วัสดุคลุมดิน การถอนด้วยมือ วิธีเขตกรรมต่างๆ การใช้เครื่องมือ รวมทั้งการปลูกพืชหมุนเวียน เป็นต้น

9. การป้องกันกำจัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูพืช
หลักการสำคัญของการป้องกันกำจัดโรคแมลง และสัตว์ศัตรูข้าวในการผลิตข้าวอินทรีย์ มีดังนี้
 ไม่ใช้สารสังเคราะห์ในการป้องกันกำจัดโรคแมลง และสัตว์ศัตรูข้าวทุกชนิดใช้ข้าวพันธุ์ต้านทาน

 การปฏิบัติด้านเขตกรรม เช่น การเตรียมแปลง กำหนดช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม ใช้อัตราเมล็ดและระยะปลูกที่เหมาะสม การปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อตัดวงจรการระบาด ของโรค แมลง และสัตว์ศัตรูข้าว การรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน และสมดุลของธาตุอาหารพืช การจัดการน้ำ เพื่อให้ต้นข้าวเจริญเติบโตดี สมบูรณ์และแข็งแรง สามารถลดการทำลายของโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าวได้ส่วนหนึ่งการจัดการสภาพแวด ล้อมไม่ให้เหมาะสมกับการระบายของโรค แมลง และสัตว์ศัตรูข้าว เช่น การจำจัดวัชพืช การกำจัดเศษซากพืชที่เป็นโรคโดยใช้ปูนขาว หรือกำมะถันผงที่ไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี และควรปรับสภาพดินไม่ให้เหมาะสมกับการระบาดของโรค

 การรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ โดยส่งเสริมการเผยแพร่ขยายปริมาณของแมลงที่มีประโยชน์ เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน และศัตรูธรรมชาติ เพื่อช่วยควบคุมแมลงและสัตว์ศัตรูข้าว

 การปลูกพืชขับไล่แมลงบนคันนา เช่น ตะไคร้หอม

 หากมีความจำเป็นอนุญาตให้ใช้สารสกัดจากพืช เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม ใบแคฝรั่ง เป็นต้น

 ใช้วิธีกล เช่น ใช้แสงไฟล่อ ใช้กับดัก ใช้กาวเหนียว

 ในกรณีที่ใช้สารเคมีกำจัดควรกระทำโดยทางอ้อม เช่นนำไปผสมกับเหยื่อล่อในกับดักแมลงหรือใช้สารพิษกำจัดสัตว์ศัตรูข้าว ซึ่งจะต้องใช้อย่างระมัดระวัง และต้องกำจัดสารเคมีที่เหลือรวมทั้งศัตรูข้าวที่ถูกทำลายโดยเหยื่อพิษอย่าง ถูกวิธี หลังจากปฏิบัติเสร็จแล้ว

10. การจัดการน้ำ
ระดับ น้ำมีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตทางลำต้น และการให้ผลผลิตของข้าวโดยตรง ในระยะปักดำจนถึงแตกกอ ถ้าระดับน้ำสูงมากจะทำให้ต้นข้าวสูงเพื่อหนีน้ำทำให้ต้นอ่อนแอและล้มง่าย ในระยะนี้ควรรักษาระดับน้ำให้อยู่ที่ประมาณ 5 เซนติเมตร แต่ถ้าต้นขาดน้ำจะทำให้วัชพืชเติบโตแข่งกับต้นข้าวได้ ดังนั้นระดับน้ำที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวอินทรีย์ ตลอดฤดูปลูกควรเก็บรักษาไว้ที่ประมาณ 5-15 เซนติเมตร จนถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 7-10 วัน จึงระบายน้ำออกเพื่อให้ข้าวสุกแก่พร้อมกัน และพื้นนาแห้งพอเหมาะต่อการเก็บเกี่ยว

11. การจัดการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวหลังข้าวออกดอก ประมาณ 30 วัน สังเกตจากเมล็ดในรวงข้าวส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นสีฟาง เรียกว่าระยะข้าวพลับพลึง
การตาก : ขณะเก็บเกี่ยวเมล็ดข้าวมีความชื้นประมาณ 18-24 เปอร์เซ็นต์ จำเป็นต้องลดความชื้นลงให้เหลือ 14 เปอร์เซ็นต์ หรือต่ำกว่า เพื่อให้เหมาะสมต่อการนำไปแปรสภาพ หรือเก็บรักษา และมีคุณภาพการสีดี การตากข้าวแบ่งออกเป็น 2 วิธี

 ตากเมล็ดข้าวเปลือกที่นวดจากเครื่องเกี่ยวนวด โดยเกลี่ยให้มีความหนา ประมาณ 5 เซนติเมตร ในสภาพที่แดดจัดเป็นเวลา 1-2 วัน หมั่นพลิกกลับเมล็ดข้าวประมาณวันละ 3-4 ครั้ง นอกจากการตากเมล็ดบนลานแล้วสามารถตากเมล็ดข้าวเปลือกโดยการบรรจุกระสอบขนาด บรรจุ 40 - 60 กิโลกรัม ตากแดดเป็นเวลา 5-9 วัน และพลิกกระสอบวันละ 2 ครั้ง จะช่วยลดความชื้นในเมล็ดได้เหลือประมาณ 14 เปอร์เซ็นต์

 การตากฟ่อนข้าวแบบสุ่มซังในนา หรือแขวนประมาณ 2-3 แดด อย่าให้ เมล็ดข้าวเปียกน้ำ หรือเปื้อนโคลน

12. การเก็บรักษาผลผลิต
ก่อน นำเมล็ดข้าวไปเก็บรักษา ควรลดความชื้นให้ต่ำกว่า 14 เปอร์เซ็นต์ และเก็บรักษาด้วยวิธีจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เป็นต้นว่า เก็บในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิ การใช้ภาชนะเก็บที่มิดชิดหรืออาจใช้เทคนิคการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในการเก็บรักษา การเก็บในห้องที่มีอุณหภูมิต่ำจะป้องกันการเจริญเติบโตของโรคและแมลงได้

13. การบรรจุหีบห่อ
ควรบรรจุในถุงขนาดเล็กตั้งแต่ 1 กิโลกรัมถึง 5 กิโลกรัม โดยใช้วิธีอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเฉื่อย หรือเก็บในสภาพสุญญากาศ

ระบบการตรวจสอบข้าวอินทรีย์
เพื่อให้ระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ ถูกต้องตามหลักการเกษตรอินทรีย์ และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ดีปลอดภัยจากสารพิษ จำเป็นต้องมีระบบการตรวจสอบที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับหลักการของการเกษตรอินทรีย์





ระบบการตรวจสอบข้าวอินทรีย์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอนสำคัญ คือ
1. การตรวจสอบขั้นตอนการผลิตในไร่นามี วัตถุประสงค์เพื่อกำกับดูแลให้วิธีการผลิตข้าวอินทรีย์เป็นไปอย่างถูกต้อง ตามหลักการเกษตรอินทรีย์ คือ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิดแต่สามารถใช้สารจากธรรมชาติแทนได้ เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน

2. การตรวจสอบรับรองคุณภาพผลผลิตในห้องปฏิบัติการเพื่อให้แน่ใจว่าผลผลิตที่ได้จากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์มีคุณภาพดี ปลอดภัยจากสารพิษ สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนดโดย FAO /WHO

ในระบบสากลนั้นผลิตผลเกษตรอินทรีย์จะต้องผ่านการตรวจสอบทั้งขั้นตอนการผลิต และรับรองคุณภาพผลผลิตจากหน่วยงานตรวจสอบมาตรฐานของประเทศ ซึ่งเป็นสมาชิกสหพันธ์เคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเกษตรอินทรีย์ระหว่างประเทศ (International Federation of Organic Agriculture Movement – IFOAM)

ปัจจุบันข้าวอินทรีย์ที่ผลิตโดยบริษัทในเครือสยามไชยวิวัฒน์ และบริษัทในเครือนครหลวงค้าข้าว จำกัด โดยความร่วมมือของกรมวิชาการเกษตร จะมีการตรวจสอบระบบการผลิตในไร่นา โดยนักวิชาการ และตรวจสอบรับรองคุณภาพผลผลิตในห้องปฏิบัติการโดยกรมวิชาการเกษตร แล้วส่งผลผลิตไปยังประเทศอิตาลี เพื่อจำหน่ายโดยมีองค์กร Riseria Monferrato s.r.I. Vercelli ประเทศอิตาลี เป็นผู้ประสานงานกับ IFOAM ในการรับรองคุณภาพมาตรฐานของการผลิต

เพื่อให้ระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ในประเทศไทยมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามหลักเกษตรอินทรีย์ คุณภาพดีได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ จำเป็นต้องมีระบบการตรวจสอบ ควบคุม กำกับ และรับรองคุณภาพของผลผลิต ที่เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งกรมวิชาการเกษตรและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องจะได้สนับสนุนให้มีหน่วยงาน / องค์กรประชาชน ที่ทำงานเป็นอิสระแต่สามารถตรวจสอบ ซึ่งกันและกัน ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐาน (Standard setting) ตรวจสอบ (Inspection) และออกใบรับรอง (Certification) ผลผลิตข้าวอินทรีย์โดยรัฐเป็นผู้รับรอง (Accreditation) หน่วยงาน/องค์กรประชาชน ดังกล่าว และประสานงานกับหน่วยงานในต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น IFOAM และ EEC เป็นต้น

ศักยภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ในประเทศไทย
ประเทศไทยมีศักยภาพการผลิตข้าวอินทรีย์สูงมาก เพราะมีพื้นที่นา ทรัพยากรน้ำ และปัจจัยแวดล้อมทั่วไปเหมาะแก่การทำนา มีความหลากหลายของพันธุ์ข้าวที่ปลูก เกษตรกรไทยคุ้นเคยกับการผลิตข้าว มาหลายศตวรรษ การผลิตข้าวของประเทศไทยในสมัยก่อนเป็นระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ เพราะไม่มีการใช้สารเคมีสังเคราะห์ ต่อมาในปัจจุบันถึงแม้จะมีการใช้ปุ๋ยและสารเคมีต่างๆในนาข้าว แต่ก็ยังมีใช้ในปริมาณน้อย ส่วนเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการผลิตข้าวอินทรีย์ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศอยู่ในระหว่าง การดำเนินงานวิจัยและพัฒนาโดยจัดเป็นนโยบายเร่งด่วนจากปัจจัยแวดล้อมที่ เอื้ออำนวย ความพร้อมในด้านทรัพยากรบุคคล และเทคโนโลยีที่เหมาะสมการผลิตข้าวอินทรีย์ที่กล่าวมาแล้วแสดงให้เห็นถึง ศักยภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ในประเทศ เพื่อเป็นทางเลือกของเกษตรกร นอกจากผลิตเพื่อส่งออก จำหน่ายนำเงินตราเข้าประเทศแล้ว ยังสามารถขยายการผลิตเพื่อใช้บริโภคภายในประเทศ เพื่อสุขอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย รวมถึงการลดปัญหามลพิษที่กำลังประสบอยู่ในภาวะในปัจจุบันอีกด้วย

งานวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์
1. พันธุ์ข้าว
พันธุ์ ข้าวที่ปลูกโดยทั่วไปเป็นพันธุ์ข้าวที่ผ่านการคัดเลือกตามระบบเกษตรเคมี ยังไม่มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวสำหรับปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์โดยเฉพาะ ข้าวที่นิยมใช้ผลิตข้าวอินทรีย์ในปัจจุบันมีเพียง 2 พันธุ์ คือ ขาวดอกมะลิ 105 และ กข 15 ซึ่งสามารถปลูกได้ดีเฉพาะพื้นที่ และอาจก่อให้เกิดการระบาดของโรค แมลงศัตรูข้าวได้ง่าย หากมีการขยายพื้นที่ปลูก จึงควรมีการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับการผลิตแบบอินทรีย์ เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพข้าวอินทรีย์

ลักษณะบางประการของข้าวที่ควร คำนึงในการพัฒนาพันธุ์ข้าวอินทรีย์ ได้แก่ คุณภาพเมล็ดตรงตามความต้องการของผู้บริโภค อายุการเจริญเติบโตเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และฤดูกาลปลูก ให้ผลผลิตดีในสภาพที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง- ต่ำ ต้านทานโรคแมลงศัตรูที่สำคัญบางชนิดในธรรมชาติ แข่งขันกับวัชพืชได้ดี ระบบรากแข็งแรงมีประสิทธิภาพ

2. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดินมีบทบาทสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตและรักษาระดับ ผลผลิตข้าวอินทรีย์ จึงควรมีการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดินอย่างมี ประสิทธิภาพ การปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยวิธีการต่างๆ เช่น การจัดการดิน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และการใช้วัสดุธรรมชาติบางชนิดทดแทน ปุ๋ยเคมี ทั้งในเรื่องของชนิดวัสดุ แหล่งผลิต ปริมาณ วิธีการใช้ และผลกระทบต่อผลผลิตข้าวและสภาพแวดล้อมรวมทั้งการปรับใช้ให้ได้ผลดีและเหมาะ สมในแต่ละพื้นที่ จะช่วยให้การผลิต ข้าวอินทรีย์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3. การเขตกรรม
นอก จากการจัดการด้านความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้ว การวิจัยและพัฒนาด้านเขตกรรม เช่น การเตรียมดิน ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม วิธีการปลูก อัตราเมล็ดพันธุ์ ระยะปลูก การจัดการน้ำ การควบคุมวัชพืช และการจัดการโดยทั่วไป เพื่อให้ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวที่ปลูกเจริญเติบโตดี สมบูรณ์และแข็งแรง ก็มีส่วนสำคัญในการเพิ่มผลผลิตข้าวอินทรีย์ การใช้เครื่องมือ/เครื่องจักรกลในบางกิจกรรมในการผลิตเพื่อทดแทนแรงงาน ก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ได้เป็นอย่างดี จึงควรมีการวิจัยและพัฒนาทางด้านนี้เพื่อให้ได้เทคโนโลยีการผลิตข้าว อินทรีย์ที่เหมาะสม

4. ด้านระบบการปลูกพืช
ควรมีระบบ วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมกับการผลิตข้าวอินทรีย์ โดยเน้นระบบ การผลิตที่เกื้อกูลการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน รักษาความสมดุลทางธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้ระบบการผลิตข้าวอินทรีย์มีประสิทธิภาพ เป็นแนวทางการผลิตทางการเกษตรแบบยั่งยืนได้

5. การป้องกันกำจัดโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าว
เนื่องจากระบบการผลิตข้าวอินทรีย์หลีกเลี่ยงการใช้สารป้องกันกำจัดโรคแมลง และสัตว์ศัตรูข้าว ประกอบกับพันธุ์ข้าวคุณภาพดีที่นิยมปลูกในปัจจุบันไม่ต้านทานโรคแมลงที่ สำคัญ นอกจากนี้เทคโนโลยี การใช้สารอินทรีย์จากธรรมชาติในการป้องกันกำจัดโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าวยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร จึงควรศึกษาวิจัยในด้านนี้ เพื่อให้ได้เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดโรคแมลง และสัตว์ศัตรูข้าวที่เหมาะสมกับการผลิตข้าวอินทรีย์

6.การเก็บรักษาผลผลิต
การ เก็บรักษาผลผลิตข้าวที่ไม่ถูกวิธีก่อให้เกิดการเสื่อมคุณภาพของข้าวที่เก็บ รักษา การสูญเสียผลผลิตข้าวเนื่องจากการทำลายของแมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บมีประมาณ ร้อยละ 4-5 โดยน้ำหนัก จึงมีการใช้สารเคมีป้องกันการทำลายของแมลงในการเก็บรักษาผลผลิตข้าวเพื่อการ ค้า แต่การเก็บรักษาผลผลิตข้าวอินทรีย์จะหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในโรงเก็บ ดังนั้นจึงต้องมีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว และการจัดการในโรงเก็บเพื่อลดความสูญเสียและรักษาคุณภาพผลผลิต การเก็บในห้องเย็นที่มีอุณหภูมิ ประมาณ 18 องศาเซลเซียส และการบรรจุหีบห่อโดยใช้ถุงสุญญากาศหรือถุงบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเฉื่อยเป็นวิธีการที่ผู้ประกอบการใช้อยู่ในปัจจุบัน



ที่มา : หลักการผลิตข้าวอินทรีย์
สถาบันวิจัยข้าวอินทรีย์
กรมวิชาการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

จัดพิมพ์เผยแพร่โดย
กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอินทรีย์
ส่วนส่งเสริมและบริการพัฒนาคุณภาพสินค้า
สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร
เขตจตุจักร กทม. 10900
โทร. 0-2955-1515
โทรสาร 0-2940-6170
E-mail : agriqua41@doae.go.th , organic_group@hotmail.com


http://www.oatthailand.org/index.php/rice/86-rice-organic
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 01/03/2013 4:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

188. การกำจัดข้าววัชพืชโดยวิธีเขตกรรม


การผสมผสานหลายวิธีการในทุกขั้นตอนของการทำนาดังต่อไปนี้ จะช่วยแก้ปัญหาข้าววัชพืชได้ไม่ต้องพึ่งพาสารกำจัดวัชพืชหรือสารเคมีใดๆ

1. การกำจัดเมล็ดข้าววัชพืชโดยล่อให้งอกแล้วไถกลบ การเตรียมดินโดยการไถ พรวน หรือคราดทำเทือก ควรเว้นช่วง 2-4 สัปดาห์ เพื่อเว้นระยะเวลาให้เมล็ดข้าววัชพืชที่ยังเหลืออยู่ในดินได้มีโอกาสพ้นระยะพักตัวมากขึ้น โดยการมีขั้นตอนดังนี้ ปล่อยให้แปลงแห้งก่อนการเก็บเกี่ยวข้าวประมาณ 10 วัน หลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้วปล่อยให้แห้งต่ออีก อย่างน้อย 1 สัปดาห์ แล้วเอาน้ำเข้าแปลงพอชื้น เพื่อให้เมล็ดข้าววัชพืชงอก ไถกลบ ปล่อยแปลงในสภาพชื้นต่ออีก 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้เมล็ดข้าววัชพืชที่หลงเหลืออยู่งอกขึ้นมาอีก แล้วไถทิ้ง การล่อให้งอกแล้วไถกลบทำลายในแต่ละครั้งสามารถลดปริมาณข้าววัชพืชลงได้มากกว่า 50 %

2. เปลี่ยนวิธีการปลูกข้าว
วิธีปักดำ
การปักดำด้วยมือ ใช้เครื่องจักรตกกล้าปักดำ หลังปลูกให้ขังน้ำทันทีระดับน้ำลึก 3-5 ซม. จะป้องกันการงอกข้าววัชพืชได้ แต่ชาวนาต้องใช้เมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ และตกกล้าในแปลงนาที่ไม่มีข้าววัชพืชอยู่ก่อน อย่างไรก็ตามแม้จะใช้วิธีปักดำและการขังน้ำอย่างมีประสิทธิภาพก็อาจยังมีข้าววัชพืชงอกและเจริญเติบโตขึ้นมาได้ ทั้งนี้ข้าววัชพืชที่เจริญเติบโตขึ้นมาได้นี้จะอยู่นอกแถวหรือนอกกอของการปักดำ ชาวนาจึงพบเห็นข้าววัชพืชได้สะดวกตั้งแต่ในระยะแรก และสามารถถอนกำจัดเสียแต่ต้น
- See more at: http://naist.cpe.ku.ac.th/~vasu/arda/rice/?page_id=477#sthash.gu8KiNgs.dpuf





การปลูกข้าวด้วยวิธีโยนกล้า
ปลูกข้าวด้วยวิธีโยนกล้า เป็นการเพาะข้าวจำนวน 3-4 เมล็ดต่อหลุมลงในถาดพลาสติก มีหลุมขนาดเล็ก แต่ละหลุมบรรจุดินประมาณ 2.5 กรัม โดยใช้เมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์เพียง 3-4 กิโลกรัม เพาะลงในถาดจำนวน 50-60 ถาด นำไปโยนได้ 1 ไร่ อายุต้นกล้าที่เหมาะสม 12-16 วัน หลังโยนกล้า 1-2 วัน ให้ขังน้ำและเพิ่มระดับน้ำ 5-10 ซม. จะป้องกันการงอกของข้าววัชพืชได้ดี แต่เกษตรกรจะต้องเตรียมแปลงให้สม่ำเสมอ และข้อสำคัญอย่าให้นาขาดน้ำ
- See more at: http://naist.cpe.ku.ac.th/~vasu/arda/rice/?page_id=477#sthash.gu8KiNgs.dpuf





3. การตรวจตัดข้าววัชพืช การตรวจตัดข้าววัชพืชเป็นการลดปัญหาไม่ให้ข้าววัชพืชผลิตเมล็ดสะสมในแปลงนาเพิ่มขึ้น ในระยะแตกกอเริ่มเห็นความแตกต่างค่อนข้างชัดเจน โดยจะสังเกตเห็นข้าววัชพืชส่วนใหญ่มีความสูงมากกว่า ลำต้นและใบมีสอ่อนกว่าข้าวปลูก ระยะนี้ต้องใช้วิธีถอนต้นข้าววัชพืชทิ้ง พอถึงระยะออกดอกจะเห็นความแตกต่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยข้าววัชพืชส่วนใหญ่จะออกดอกก่อนข้าวปลูก ระยะนี้ต้องใช้วิธีตัดชิดโคนต้นข้าววัชพืช แล้วนำไปทิ้งนอกแปลง เนื่องจากข้าววัชพืชงอกไม่พร้อมกันจึงแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างข้าวปลูกกับข้าววัชพืชไม่พร้อมกัน ดังนั้นจึงควรมี

4. การเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง การเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งสามารถลดปริมาณเมล็ดข้าววัชพืชที่หลุดร่วงอยู่บนผิวดินได้ โดยเป็ด 200 ตัว/ไร่ ปล่อยไว้เป็นเวลา 2 วัน สามารถลดความหนาแน่นข้าววัชพืชได้ถึง 50 %
- See more at: http://naist.cpe.ku.ac.th/~vasu/arda/rice/?page_id=477#sthash.gu8KiNgs.dpuf


ข้อมูลเพิ่มเติมเชื่อมโยงไป สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว

http://naist.cpe.ku.ac.th/~vasu/arda/rice/?page_id=477
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 01/03/2013 4:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

189. ข้าววัชพืช

ปัญหา :
ข้าววัชพืช เป็นปัญหาใหม่คุกคามการทำนาที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลา 5-6 ปีที่ผ่านมา แต่ได้ระบาดไปทั่วพื้นที่นาข้าวในภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มากกว่า 2 ล้านไร่แล้ว และคาดว่าจะลุกลามขยายพื้นที่ รวมทั้งเพิ่มระดับความเสียหายรุนแรงขึ้นไปอีก หากไม่มีมาตรการกำจัดควบคุมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

ข้าววัชพืชเป็นปัญหาที่ซับซ้อนผูกพันกับระบบพันธุกรรม ข้าวปลูก-ข้าวป่า การจัดการและระบบนิเวศในนาข้าว การแก้ปัญหาที่ได้ผลจึงจำเป็นต้องอาศัยความรู้พื้นฐานเรื่องความหลากหลายทางพันธุกรรมและการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างข้าวป่ากับข้าวปลูก สรีรวิทยาเชิงนิเวศของต้นข้าวในนา ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในระบบการทำนา ตั้งแต่การทำนาชลประทานที่ปลูกข้าวตลอดปี การเปลี่ยนจากการทำนาดำมาเป็นหว่านข้าวแห้งหรือหว่านน้ำตม การเก็บเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องจักร ฯลฯ และการวิจัยเชิงบูรณาการร่วมกับชาวนา และพันธมิตรที่เกี่ยวข้องกับการทำนาทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน

ศาสตราจารย์เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม เมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) ร่วมกับนักวิจัยจากภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ดร.จรรยา มณีโชติ กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ทำงานวิจัยและพัฒนาระบบการจัดการข้าววัชพืช โดยได้รับทุนสนับสนุนจากฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) เพื่อหวังเผยแพร่ความรู้แก่ชาวนาในพื้นที่ที่มีการระบาดของข้าววัชพืชอย่างรุนแรง ตลอดจนเพื่อเฝ้าระวังไม่ให้การระบาดขยายวงกว้างออกไปและทำความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ

ข้าววัชพืชสามารถจำแนกตามความแตกต่างทางลักษณะภายนอกเป็น 3 ชนิด คือ ข้าวหาง ข้าวดีด และข้าวแดง ซึ่งชนิดที่เป็นปัญหาร้ายแรงของชาวนา คือ ข้าวหางและข้าวดีด เพราะเป็นข้าววัชพืชชนิดร่วงก่อนเกี่ยว เจริญเติบโตได้รวดเร็วและสูงข่มข้าวปลูกในระยะแตกกอ ทำให้ชาวนาไม่สามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้เพราะเมล็ดร่วงเกือบหมด ผลผลิตข้าวเสียหายได้ตั้งแต่ 10-100% ส่วนข้าวแดงหรือข้าวลายเป็นข้าววัชพืชชนิดเมล็ดไม่ร่วง ผลผลิตจึงไม่เสียหายแต่คุณภาพลดลงเพราะเมล็ดข้าวสีแดงที่ปนอยู่ ทำให้ถูกโรงสีตัดราคา

สาเหตุสำคัญของการแพร่ระบาดคือ การปลอมปนของเมล็ดข้าววัชพืชใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก และเมล็ดข้าววัชพืชที่ติดไปกับรถเกี่ยวข้าวและอุปกรณ์ที่ใช้เตรียมดิน ดังนั้น หัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาข้าววัชพืชก็คือ เกษตรกรต้องเริ่มต้นด้วยการใช้เมล็ดพันธุ์ที่บริสุทธิ์ และต้องทำความสะอาดรถเกี่ยวข้าวก่อนลงแปลงทุกครั้ง หากไม่ทำความสะอาด เมล็ดข้าววัชพืชจำนวนมากจะติดค้างอยู่ในตะแกรงด้านใน 20-50 กิโลกรัม ทำให้เกิดการระบาดของข้าววัชพืชในแปลงนาเป็นแนวยาว

ทั้งนี้หากมีการระบาดของข้าววัชพืชเพียงเล็กน้อย ต้องรีบกำจัดโดยการถอนต้นออกจากแปลง แต่หากมีการระบาดรุนแรงควรปลูกพืชหมุนเวียนชนิดอื่น หรืองดปลูกข้าว 1 ฤดู เพื่อปล่อยให้ข้าววัชพืชงอกและกำจัดโดยไถทิ้งอย่างน้อย 2 ครั้ง หากจำเป็นต้องปลูกข้าวควรปล่อยให้เมล็ดข้าววัชพืชที่ร่วงบนผิวดินงอกให้หมดก่อนจึงกำจัดทิ้ง จากนั้นให้ไถเตรียมดินล่อให้ข้าววัชพืชงอกและกำจัดทิ้งอย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนหว่านข้าว

การตัดรวงข้าววัชพืชควรเริ่มทำตั้งแต่ระยะตั้งท้องและระยะเริ่มออกดอก โดยตัดชิดโคนต้นเพื่อป้องกันการแตกต้นใหม่ ในระยะที่เริ่มติดเมล็ดแล้วควรนำไปกำจัดทิ้งนอกแปลง นอกจากนี้ เกษตรกรควรใช้ตะแกรงกรองเมล็ดข้าววัชพืชที่มีลักษณะเหมือนข้าวลีบลอยน้ำมาจากแปลงที่มีการระบาดทิ้งไป เพราะข้าววัชพืชสามารถงอกได้จากเมล็ดที่ยังไม่สุกแก่เต็มที่

สิ่งสำคัญที่นักวิจัยอยากเน้นย้ำกับเกษตรกรคือ การป้องกันจะกระทำได้ง่ายกว่าการกำจัด หากเกษตรกรสังเกตเห็นว่าเริ่มมีต้นข้าวที่สูงกว่าและออกดอกก่อนข้าวปลูก ให้รีบถอนทิ้งทำลายเสียแต่เนิ่นๆ อย่าเข้าใจว่าเป็นข้าวปนที่เมล็ดไม่ร่วงเหมือนแต่ก่อน

ส่วนนาข้าวที่มีการระบาดรุนแรงแต่ไม่สามารถงดปลูกข้าวได้ จำเป็นต้องใช้สารเคมีกำจัดข้าววัชพืช ซึ่งแนะนำให้ใช้ตั้งแต่ระยะทำเทือกเพื่อชะลอการเจริญเติบโตของต้นอ่อนข้าววัชพืชและควบคุมวัชพืชชนิดอื่นๆ ในนา ระยะหลังหว่านข้าว 8-10 วัน หากสังเกตเห็นว่ายังมีต้นอ่อนข้าววัชพืชขึ้นหนาแน่น ให้ปล่อยน้ำท่วมยอดข้าววัชพืชแล้วหว่านสารเคมีกำจัดวัชพืชลงในน้ำ สารเคมีจะเข้าไปสู่ยอดข้าววัชพืชและถูกทำลายไปในเวลา 7-10 วัน หลังจากหว่านสารแล้วให้รักษาระดับน้ำไว้อีก 10-15 วัน เพื่อควบคุมต้นข้าววัชพืชที่จะงอกขึ้นมาใหม่จากเมล็ดที่จมอยู่ชั้นใต้ดินลึกลงไปจากชั้นผิวดิน และระยะข้าววัชพืชเริ่มออกรวง ใช้ลูบรวงข้าววัชพืชให้เมล็ดลีบและไม่สะสมเมล็ดในฤดูต่อไป วิธีนี้เหมาะสำหรับทดแทนแรงงานตัดรวงข้าววัชพืชที่มีเริ่มหายากและมีราคาแพง อุปกรณ์ที่ใช้หาได้ง่าย โดยใช้ผ้าขนหนูพันรอบไม้ไผ่ยาวประมาณ 2 เมตร มัดให้แน่นแล้วชุบสาร หลังลูบสาร 7 วัน หากยังมีรวงข้าววัชพืชโผล่ขึ้นมาอีก ควรลูบซ้ำอีกครั้งหนึ่ง

ทั้งนี้การใช้สารมีข้อควรระวังคือ ไม่ควรใช้ในกรณีที่ข้าววัชพืชมีความสูงใกล้เคียงกับข้าวปลูก และควรลูบในขณะลมสงบเพื่อป้องกันไม่ให้สารสัมผัสใบข้าวปลูก ไม่ควรลูบในช่วงเช้าที่ยังมีน้ำค้างบนใบข้าว หลังการลูบสารควรมีระยะปลอดฝนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง

หากเกษตรกรสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำดังที่กล่าวมาข้างต้นอย่างจริงจัง ปัญหาการระบาดของข้าววัชพืชจะลดลงอย่างแน่นอน

สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) ได้สนับสนุนการตีพิมพ์หนังสือ "ข้าววัชพืช-ปัญหาและการจัดการ" ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการควบคุมกำจัดข้าววัชพืช ไว้เป็นคู่มือชาวนา และผลิต CD แสดงการควบคุมข้าววัชพืชโดยชาวนาผู้เชี่ยวชาญ ท่านที่สนใจติดต่อขอรับหนังสือ หรือ CD ได้ที่ ศาสตราจารย์เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม โทร. (086) 182-4678 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ดร.จรรยา มณีโชติ โทร. (081) 494-6247


http://siweb.dss.go.th/qa/search/search_description.asp?QA_ID=774
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 04/03/2013 7:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

190. เทคนิคการทำข้าวผ่านหนาว ลดอาการใบเหลือง


ย่างเข้าสู่หน้าหนาวแล้ว และเป็นช่วงเวลาที่เกษตรกรชาวนา ต้องประสบปัญหาขาดทุนมากที่สุดในฤดูหนาวค่ะ เพราะถ้าเป็นช่วงฤดูหนาว ต้นข้าวจะชะงักการเจริญเติบ โต ข้าวใบเหลืองและไม่กินอาหาร ไม่ออกรวง แต่มีเกษตรกรท่านหนึ่งที่พยายามคิดค้นวิธีการเพื่อแก้ปัญหานี้ จนฤดูหนาวปีที่แล้วก็ได้เทคนิคที่ลงตัว สามารถทำนาช่วงฤดูหนาวและได้ผลผลิตค้อนข้างดี นั่นคือ พี่บุญญฤทธิ์ หอมจันทร์ เกษตรกรคนเก่งแห่งบ้านพระแก้ว จึงนำเทคนิคในการช่วยให้ ข้าวผ่านหนาวเกษตรกรชาวนาไม่ขาดทุนมาฝากค่ะ


อุปกรณ์และวิธีการใช้
- เบียร์ไทย ปริมาณ 5 ซีซี
- ธาตุสังกะสี ปริมาณ 5 ซีซี
- น้ำ 20 ลิตร
- สามารถผสมฮอร์โมน หรือสมุนไพรร่วมด้วยได้
- โดยผสมให้เข้ากัน แล้วฉีดพ่น เพื่อกระตุ้นให้รากข้าวกินอาหารมากขึ้น และเพิ่มความอบอุ่นให้กับข้าว

ประโยชน์
ใช้ฉีดพ่นในช่วงฤดูหนาวจะช่วยให้ข้าวไม่มีอาการใบเหลือง และกินอาหารได้ดีขึ้น แต่เกษตรกรต้องพึงระวังในเรื่องระยะเวลาการตั้งท้องของข้าว เพราะถ้าข้าวตั้งท้องช่วงอากาศเย็นจัด มักจะพบอาการโรคจู๋ ทำให้ได้ผลผลิตน้อย ต้องใช้เทคนิคการนับเวลาการตั้งท้องของข้าวร่วมด้วย โดยนำอายุวันเป็นตัวตั้งลบด้วย 60 จะเป็นวันที่ข้าวเริ่มตั้งท้องพอดีค่ะ



http://www.korsorlampang.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=40
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 04/03/2013 7:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

191. 85 สายพันธุ์ข้าว คุณค่าพืชพันธุ์ธัญญาหาร

หลังการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้เข้าร่วมงาน "เกษตรมหัศจรรย์ วันเทคโนโลยีชาวบ้าน" ในปี 2552 ปี 2553 และปี 2555 ทั้ง 3 ครั้ง เป็นเครื่องกระตุ้นเตือนให้นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ต้องจัดเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดงานครั้งต่อไปให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิม เพื่อตอบสนองความต้องการให้ครบทุกด้าน ซึ่งปีนี้จัดขึ้น ระหว่าง วันที่ 20-24 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ห้อง เอ็มซีซี ฮอลล์ เดอะมอลล์ บางกะปิ ภายใต้ชื่อ "งานเกษตรมหัศจรรย์ ครั้งที่ 4 พืชพันธุ์ธัญญาหาร" ซึ่งนอกเหนือจากการรวบรวมความมหัศจรรย์จากพืชแปลกและทรงคุณค่า มานำเสนอด้วยการจัดรูปแบบและเนื้อหาให้ผู้ชมที่สนใจได้สัมผัสและเข้าถึงอย่างลึกซึ้งแล้ว ไฮไลต์งานยังชูโรงด้วยการนำข้าว 85 สายพันธุ์ มาจัดแสดง ทั้งยังนำตัวอย่างข้าวพันธุ์พื้นเมืองและหายาก มาให้ชมพร้อมชิม ตลอดการจัดงาน




รายละเอียดของข้าวทั้ง 85 สายพันธุ์ มีดังนี้

1. สินเหล็ก
ข้าวสินเหล็ก เป็นพันธุ์ข้าวที่ได้รับการคัดเลือกและพัฒนา โดยการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวขาวดอกมะลิ 105 (พันธุ์แม่) ซึ่งเป็นของสถาบันวิจัยข้าว กับข้าวเจ้าหอมนิล (พันธุ์พ่อ) ของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยเริ่มดำเนินการ เมื่อ พ.ศ. 2545 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

เมื่อได้ลูกผสม F1 ปล่อยให้มีการผสมตัวเอง แล้วเก็บเมล็ด F2 มาปลูกต่อ ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 10,000 ต้น คัดเลือกต้น F2 จากการสังเกตลักษณะต้นที่ให้ผลผลิตดี การติดเมล็ดดี รูปร่างเมล็ดเรียวยาว มีกลิ่นหอม ได้จำนวน 500 ต้น ในปีเดียวกัน จากนั้นประเมินคุณภาพเมล็ดโดยกะเทาะเมล็ด แล้วสังเกตความสม่ำเสมอ สังเกตความใส-ขุ่น ของเมล็ด การแตกหักจากการสี แล้วจึงคัดเลือก F3 family ได้ 300 ครอบครัว

ปลูกครอบครัว F3 จำนวน 16 ต้น ต่อครอบครัว แบบปักดำ คัดเลือกต้นครอบครัวที่มีต้นที่ให้ผลผลิตสูง ติดเมล็ดดี ขนาดเมล็ดใหญ่ ยาวเรียว ไม่เป็นโรคไหม้คอรวง เปลือกเมล็ดสะอาด คัดพันธุ์ที่มีเมล็ดสีขาว น้ำหนักเมล็ดต่อครอบครัวดี แล้วคัดเลือกภายในครอบครัวดี แล้วคัดเลือกภายในครอบครัวให้ได้จำนวนประมาณ 2-5 ต้น ในปี 2546 และทำเช่นนี้อีกในรุ่น F4 และ F5 ในปี 2547

จากนั้นเปรียบเทียบผลผลิตในรุ่น F6 และ F7 ในปี 2548 โดยเลือกครอบครัว F6 จำนวน 96 ครอบครัว ปลูกแบบปักดำ จำนวน 25 ต้น ต่อครอบครัว ทำเป็น 3 ซ้ำ เพื่อเปรียบเทียบผลผลิต ลักษณะที่แสดงออก ปริมาณธาตุเหล็กและคุณค่าทางโภชนาการ แล้วคัดเลือกต้นดีเด่นภายในครอบครัวแล้ว bulk ให้ครอบครัว F7 เพื่อปลูกเปรียบเทียบผลผลิตเป็นครั้งที่ 2 และวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ค้นพบข้าวหอม สีขาว ที่มีธาตุเหล็กสูงและคุณสมบัติโภชนาการโดยรวมดีเด่น 1 สายพันธุ์ ในปี 2548 โดยใช้ชื่อพันธุ์ว่า "สินเหล็ก"

ลักษณะประจำพันธุ์
- ความสูง 148 เซนติเมตร
- อายุเก็บเกี่ยว 125 วัน
- ผลผลิต 600-700 กิโลกรัม ต่อไร่
- เปอร์เซ็นต์ ข้าวกล้อง 76%
- เปอร์เซ็นต์ ต้นข้าวหรือข้าวเต็มเมล็ด 50%
- รูปร่างเมล็ด เรียวยาว

- ความยาวของเมล็ด ข้าวเปลือก 11 มิลลิเมตร ข้าวกล้อง 7.6 มิลลิเมตร ข้าวขัด 7.0 มิลลิเมตร
- สีของข้าวกล้อง สีน้ำตาลอ่อน
- ปริมาณอะมิโลส 16.7%
- อุณหภูมิแป้งสุก (GT) น้อยกว่า 70 องศาเซลเซียส
- ปริมาณธาตุเหล็ก 1.5-2.0 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
- ดัชนีน้ำตาล ปานกลางในข้าวกล้อง 58 ข้าวขัด 72

- ข้าวพันธุ์สินเหล็ก กำลังอยู่ในขั้นปลูกประเมินพันธุ์ ประกอบการขอจดคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ โดยกองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร คาดว่าจะถ่ายทอดสู่เกษตรกรต่อไปในอนาคต ในทางเศรษฐกิจ ข้าวสินเหล็กเป็นที่ต้องการในตลาดโภชนาการเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีธาตุเหล็กอยู่ในปริมาณที่สูงและมีดัชนีน้ำตาลในระดับปานกลางถึงต่ำ จึงทำให้เมล็ดข้าวสินเหล็กมีมูลค่าสูง


2. ไรซ์เบอร์รี่
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นข้าวพันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือกและพัฒนา โดยการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พันธุ์พ่อ) กับข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 จากสถาบันวิจัยข้าว (พันธุ์แม่) โดยเริ่มผสมพันธุ์เมื่อปี พ.ศ. 2545 ณ ศูนย์วิจัยข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

เมื่อได้ลูกผสม F1 ปล่อยให้มีการผสมตัวเอง แล้วเก็บเมล็ด F2 มาปลูกต่อ ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 10,000 ต้น คัดเลือกต้น F2 จากการสังเกตลักษณะทรงต้นที่ให้ผลผลิตดี การติดเมล็ดดี รูปร่างเมล็ดเรียวยาว ได้จำนวน 500 ต้น ในปีเดียวกัน จากนั้นประเมินคุณภาพเมล็ดโดยกะเทาะเมล็ดแล้วสังเกตความสม่ำเสมอ สังเกตความใส-ขุ่น ของเมล็ด การแตกหักจากการสี แล้วจึงคัดเลือก F3 family ได้ 300 ครอบครัว

ปลูกครอบครัว F3 จำนวน 16 ต้น ต่อครอบครัว แบบปักดำ คัดเลือกต้นครอบครัวที่มีต้นที่ให้ผลผลิตสูง ติดเมล็ดดี ขนาดเมล็ดใหญ่ ยาวเรียว ไม่เป็นโรคไหม้คอรวง เปลือกเมล็ดสะอาด คัดพันธุ์ที่มีเมล็ดข้าวกล้องสีม่วงเข้ม-ดำ น้ำหนักเมล็ด ต่อครอบครัวดี แล้วคัดเลือกภายในครอบครัวดี แล้วคัดเลือกภายในครอบครัวให้ได้จำนวนประมาณ 2-5 ต้น ในปี 2546 และทำเช่นนี้อีกในรุ่น F4 และ F5 ในปี 2547

จากนั้นเปรียบเทียบผลผลิตในรุ่น F6 และ F7 ในปี 2548 โดยเลือกครอบครัว F6 จำนวน 96 ครอบครัว ปลูกแบบปักดำจำนวน 25 ต้น ต่อครอบครัว ทำเป็น 3 ซ้ำ เพื่อเปรียบเทียบผลผลิต ลักษณะที่แสดงออก ปริมาณธาตุเหล็กและปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระชนิดต่างๆ แล้วคัดเลือกต้นดีเด่นภายในครอบครัวแล้ว bulk ให้ครอบครัว F7 เพื่อปลูกเปรียบเทียบผลผลิตเป็นครั้งที่ 2 และวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ค้นพบข้าวเจ้าสีม่วงเข้ม เมล็ดเรียวยาว ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงและมีคุณค่าทางโภชนาการโดยรวมดีเด่น 1 สายพันธุ์ ในปี พ.ศ. 2548 โดยใช้ชื่อพันธุ์ว่า "ไรซ์เบอร์รี่"

ลักษณะประจำพันธุ์
- ความสูง 106 เซนติเมตร
- อายุเก็บเกี่ยว 130 วัน
- ผลผลิต 750-850 กิโลกรัม ต่อไร่
- เปอร์เซ็นต์ ข้าวกล้อง 76%
- เปอร์เซ็นต์ ต้นข้าวหรือข้าวเต็มเมล็ด 50%
- ความต้านทานโรค ต้านทานโรคไหม้
- รูปร่างเมล็ด เรียวยาว
- ความยาวของเมล็ด ข้าวเปลือก 11 มิลลิเมตร ข้าวกล้อง 7.5 มิลลิเมตร ข้าวขัด 7.0 มิลลิเมตร
- ปริมาณอะมิโลส 15.6%
- อุณหภูมิแป้งสุก (GT) ระดับ 7 (น้อยกว่า 70 องศาเซลเซียส)
- ปริมาณธาตุเหล็กสูง 1.5-1.8 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
- ปริมาณสารเบต้าแคโรทีน 60 ไมโครกรัม ต่อ 100 กรัม
- ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระชนิดที่ละลายน้ำ 4,755 mnol ascorbic acid eq./g.
- ปริมาณสารต่อต้านอนุมูลอิสระชนิดละลายในน้ำมัน 3,344 nmol Trolox eq./g.

ข้าวพันธุ์นี้กำลังอยู่ในขั้นปลูกประเมิน ประกอบการขอจดคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ คาดว่าจะถ่ายทอดสู่เกษตรกรต่อไปในอนาคต ในทางเศรษฐกิจ ข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นที่ต้องการในตลาดโภชนาการเป็นอย่างมาก เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในปริมาณที่สูง จึงเป็นตัวผลักดันให้เมล็ดข้าวไรซ์เบอร์รี่มีมูลค่าสูง


3. สังข์หยด
"ข้าวสังข์หยด พัทลุง" เป็นข้าวที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ประกาศรับรอง ตั้งแต่ วันที่ 23 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมา ให้เป็นสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์พันธุ์แรกของประเทศไทย (จีไอ) โดยชื่อข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงนั้น หมายถึง ข้าวสังข์หยดที่ผลิตตามระบบการตรวจรับรองการผลิตตามระบบการจัดการคุณภาพ (GAP) และภายใต้เงื่อนไขของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งจะเรียกกันตามถนัดของแต่ละคน แต่ถ้าให้ถูกต้องจริงๆ ต้องเรียกว่า "ข้าวสังข์หยด เมืองพัทลุง"

เพื่อให้เห็นความแตกต่างตั้งแต่ชื่อ ตลอดถึงคุณภาพด้วย ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication ย่อว่า GI) โดยมีผลทำให้ข้าวสังข์หยดได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายในสิทธิของชุมชนผู้ผลิต เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพข้าวสังข์หยดที่ผลิตในท้องถิ่น เพิ่มมูลค่าของข้าวสังข์หยด เพราะเครื่องหมาย จีไอ เป็นเสมือนเครื่องหมายทางการค้า ที่รับรองคุณภาพของข้าวสังข์หยด ส่งเสริมให้ผู้ผลิต ผู้แปรรูปในท้องถิ่น ได้รักษามาตรฐานสินค้า ส่งเสริมอุตสาหกรรมในท้องถิ่น กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน ทั้งยังสร้างชื่อเสียงแก่ชุมชน จังหวัด ตลอดถึงรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น

เป็นข้าวต้นสูง กอตั้ง แตกกอปานกลาง ใบสีเขียว มีขนบนแผ่นใบ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ขนาดเมล็ด 9.35 มิลลิเมตร กว้าง 2.13 มิลลิเมตร หนา 1.75 มิลลิเมตร จัดเป็นข้าวเจ้านาสวน ถิ่นกำเนิดอยู่ในจังหวัดพัทลุง

ข้าวสังข์หยด มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ คือ มีกากใยอาหารสูง จึงมีประโยชน์ในการชะลอความแก่ นอกจากนี้ ยังมีโปรตีน ธาตุเหล็ก และฟอสฟอรัสสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ ซึ่งมีประโยชน์ในการบำรุงโลหิต บำรุงร่างกายให้แข็งแรงและป้องกันโรคความจำเสื่อม และยังมีสารแอนติออกซิแดนต์ พวก oryzanol และมี Gamma Amino Butyric Acid (GABA) ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง จึงนับได้ว่า ข้าวพันธุ์สังข์หยดเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีคุณค่าทางอาหารสูง

คุณลักษณะของข้าวสารสังข์หยด เมล็ดเล็ก เรียว ท้ายงอน เยื่อหุ้มเมล็ดจะมีสีแดงถึงแดงเข้ม เมื่อหุงสุกแล้วเมล็ดข้าวจะนุ่ม และจับตัวกันคล้ายข้าวเหนียว วิธีการหุง ให้ซาวข้าวเบาๆ โดยใช้เวลาให้น้อยที่สุดเพียงครั้งเดียว เพื่อไม่ให้สูญเสียคุณค่าของข้าว เติมน้ำให้ท่วมข้าว สูง 1 ข้อนิ้ว เมื่อข้าวสุกทิ้งไว้ให้ข้าวระอุ ประมาณ 5-10 นาที หากต้องการให้ข้าวแข็งหรือนุ่ม สามารถลดหรือเพิ่มน้ำได้ตามความชอบ

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวสังข์หยด ต่อน้ำหนัก 100 กรัม
- พลังงาน 364.2 กิโลแคลอรี
- โปรตีน 73 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 73.1 กรัม
- เส้นใย 4.81 กรัม
- แคลเซียม 13 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 317 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม
- วิตามิน บี 1 0.32 มิลลิกรัม
- วิตามิน บี 2 0.01 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน 6.4 มิลลิกรัม


4. เฉี้ยง
ข้าวเฉี้ยง เป็นพันธุ์หนึ่งที่มีความสามารถในการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมได้ดี และปลูกได้ในหลายท้องที่ทุกจังหวัดในภาคใต้ อายุในการเก็บเกี่ยวปานกลาง ปลูกได้ในพื้นที่ที่มีชลประทาน และที่อาศัยน้ำฝน"

ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้านาสวน มีส่วนสูงประมาณ 150 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณเดือนมกราคม มีใบสีเขียว ใบธงแผ่เป็นแนวนอน คอรวงยาว รวงยาวปานกลาง ระแง้ค่อนข้างถี่ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง โดยมีระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 1 สัปดาห์ ให้ผลผลิตประมาณ 470 กิโลกรัม ต่อไร่ ส่วนเมล็ดข้าวกล้อง กว้างxยาวxหนา = 2.1 x 6.7 x 1.6 มิลลิเมตร มีท้องไข่ปานกลาง ปริมาณอะมิโลส 27 เปอร์เซ็นต์

ลักษณะเด่นของข้าวพันธุ์เฉี้ยงนั้น มีอายุเบา โดยจะให้ผลผลิตค่อนข้างสูงและสม่ำเสมอ อีกทั้งยังสามารถปรับตัวได้ดีทั้งในพื้นที่ที่เป็นนาดอนและนาลุ่ม มีความเหมาะสมกับพื้นที่ทุกจังหวัดในภาคใต้ทั้งที่เป็นน้ำชลประทานและน้ำฝน มีการปลูกกันมากในจังหวัดพัทลุง และนครศรีธรรมราช

คุณภาพการสีดีและคุณภาพการหุงต้มดี ทั้งข้าวเก่าและข้าวใหม่ ข้าวใหม่สามารถสีบริโภคได้ทันที สำหรับคุณภาพข้าวสุกแล้ว ร่วนแข็ง และหอม แต่สิ่งสำคัญมีข้อควรระวังคือ ไม่ต้านทานต่อโรคไหม้ และค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง


5. ลืมผัว
ข้าวลืมผัว เป็นข้าวไร่ที่เป็นข้าวเหนียวนาปีของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง บ้านรวมไทยพัฒนาที่ 3 ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 650 เมตร

ข้าวลืมผัว มีต้นสูงประมาณ 137 เซนติเมตร ออกดอกประมาณ วันที่ 15 กันยายน จำนวนเมล็ด ต่อรวง เฉลี่ย 130 เมล็ด เมล็ดค่อนข้างอ้วน น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด เฉลี่ย 37.9 กรัม

สถิติสูงสุดเมื่อปลูกในสภาพไร่และดินฟ้าอากาศเหมาะสม ได้ 490 กิโลกรัม ต่อไร่ เมื่อนำมาปลูกในพื้นราบ ผลผลิตที่ได้ 200-350 กิโลกรัม ต่อไร่ ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว

ข้าวลืมผัว มีสีเปลือกหุ้มเมล็ดเปลี่ยนไปตามระยะการเจริญเติบโตของเมล็ด เยื่อหุ้มเมล็ดเป็นสีม่วงดำ ที่เรียกว่า ข้าวเหนียวดำ หรือข้าวก่ำ เป็นข้าวเหนียวที่มีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย เมื่อเคี้ยวจะรู้สึกมันและนุ่มแบบหนุบๆ

การบริโภคทำได้ทั้งแบบข้าวเหนียวนึ่ง รับประทานกับอาหาร ผสมข้าวต้มทำให้มีสีม่วงอ่อนสวยงาม ทำเป็นขนมแบบข้าวเหนียวเปียก ทำเป็นชาข้าวคั่วแบบเพิร์ล บาร์เลย์ หรือเครื่องดื่มทั้งแบบมีแอลกอฮอล์หรือปราศจากแอลกอฮอล์ จะมีสีคล้ายทับทิมสวยงาม

คุณค่าทางโภชนาการที่เด่นเป็นพิเศษ เมื่อวิเคราะห์ทันทีหลังเก็บเกี่ยวฤดูนา ปี 2552 พบว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ (แอนติออกซิแดนต์) โดยรวม ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ในปริมาณสูงถึง 833.77 มิลลิกรัม กรดแอสคอร์บิก ต่อ 100 กรัม

มีวิตามิน อี (อัลฟา-โทโคฟีรอล) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยลดคอเลสเตอรอล ปริมาณ 16.83 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม

มีแกมมา-โอไรซานอล ที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ตลอดจนการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ปริมาณ 508.09 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม

มีกรดไขมัน ที่ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันภาวะเสื่อมของสมองและช่วยความจำ ได้แก่ โอเมก้า-3 อยู่ 33.94 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม

มีโอเมก้า-6 ที่บรรเทาอาการขาดภาวะเอสโตรเจนของวัยทองและช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สูงถึง 1,160.08 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม

มีโอเมก้า-9 ซึ่งช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดไม่อุดตัน ไม่เป็นโรคหัวใจ โรคพาร์กินสัน และช่วยลดความอ้วนสูงถึง 1,146.41 มิลลิกรัม ต่อ 100 กิโลกรัม

มีแอนโทไซยานิน 46.56 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม โปรตีน 10.63 เปอร์เซ็นต์ ธาตุเหล็ก 84.18 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม ส่วนแคลเซียม สังกะสี และแมงกานีส มีในปริมาณ 169.75, 23.60 และ 35.38 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม ตามลำดับ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดย บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาเชียงใหม่, สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี


6. ปิ่นเกษตร
ข้าวปิ่นเกษตร เป็นข้าวที่ได้รับการคัดเลือกและพัฒนามาจากการผสมระหว่างขาวดอกมะลิ 105 กับข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงที่ทนแล้ง (CT9993) เมื่อได้ F1 แล้วปล่อยให้มีการผสมตัวเอง จากนั้นปลูก F1 แบบต้นเดียว และปลูก F3-F7 แบบ Pedigree selection จนสามารถคัดเลือกข้าวหอมสีขาวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง มีกลิ่นหอม นุ่มเหนียว ข้าวกล้องมีความนุ่มนวล มีเมล็ดยาวและใสมาก โดยใช้ชื่อว่า "ปิ่นเกษตร"

ข้าวพันธุ์ปิ่นเกษตร ได้รับรางวัลชนะเลิศ อันดับ 3 จากการประกวดข้าวโลก (2nd World Rice Competition) ในปี พ.ศ. 2547

ลักษณะประจำพันธุ์
- ความสูง 150 เซนติเมตร
- อายุเก็บเกี่ยว 138 วัน
- ผลผลิต 80-700 กิโลกรัม ต่อไร่
- เปอร์เซ็นต์ ข้าวกล้อง 76%
- เปอร์เซ็นต์ ต้นข้าวหรือข้าวเต็มเมล็ด 50%
- ความยาวของเมล็ด ข้าวเปลือก 11 มิลลิเมตร ข้าวกล้อง 8.2 มิลลิเมตร ข้าวขัด 7.6 มิลลิเมตร
- ปริมาณอะมิโลส 16%
- อุณหภูมิแป้งสุก (GT) ระดับ 3
- ปริมาณธาตุเหล็ก 1.1 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม

ธาตุเหล็กในเมล็ดข้าวพันธุ์นี้มีความเป็นประโยชน์สูงมาก ทั้งในระดับเซลล์ทดสอบและในร่างกายมนุษย์ ข้าวปิ่นเกษตรได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3 จากการประกวดข้าวโลก จึงเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรโดยทั่วไป ทั้งคุณภาพและปริมาณผลผลิต ในขณะนี้ข้าวปิ่นเกษตรกำลังส่งเสริมและทดลองปลูกในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เช่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม


7. กข45
ข้าวเจ้าพันธุ์ กข45 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวสายพันธุ์ PCRBR83012-267-5 (ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวพันธุ์หอมนายพล กับ IR46) กับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี เมื่อ ปี 2532

กข45 เป็นข้าวเจ้าน้ำลึก ไวต่อช่วงแสง จะออกดอกประมาณ วันที่ 25 ตุลาคม-2 พฤศจิกายน ควรปลูกในพื้นที่ที่มีระดับน้ำไม่เกิน 100 เซนติเมตร มีความสามารถยืดปล้องได้ดีที่ระดับน้ำ 90 เซนติเมตร

ลำต้นสูงประมาณ 170 เซนติเมตร ทรงกอตั้ง ต้นแข็งปานกลาง ใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง รวงยาว 27.7 เซนติเมตร เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ยาว 10.2 มิลลิเมตร กว้าง 2.73 มิลลิเมตร และหนา 2.09 มิลลิเมตร เมล็ดข้าวกล้องรูปร่างเรียว ยาว 7.44 มิลลิเมตร กว้าง 2.33 มิลลิเมตร และหนา 1.83 มิลลิเมตร

คุณภาพการสีดี เมล็ดข้าวขาวใส มีท้องไข่น้อย สีเป็นข้าว 100% ได้ปริมาณอะมิโลสต่ำ 16.35 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ ความคงตัวของแป้งสุกอ่อน 80 มิลลิเมตร อัตราการยืดตัวของข้าวสุก 1.67 เท่า ข้าวเมื่อหุงต้มด้วยอัตราส่วน ข้าวต่อน้ำ เป็น 1 : 1.7 เท่า (โดยน้ำหนัก) นุ่มเหนียว และมีกลิ่นหอม ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ประมาณ 9 สัปดาห์


8. เหนียวสันป่าตอง
ข้าวเหนียวสันป่าตอง เกิดจากการกลายพันธุ์ของพันธุ์ข้าวเจ้าเหลืองใหญ่ 10 เมื่อประมาณ ปี 2498 สถานีทดลองสันป่าตองได้พบว่า พันธุ์ข้าวเจ้าเหลืองใหญ่ที่เกษตรกรปลูกอยู่นั้น มีลักษณะของข้าวเหนียวปะปนอยู่ จึงได้คัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวออกจากพันธุ์ข้าวเจ้าเดิม แล้วนำไปปลูกศึกษาพันธุ์แบบรวงต่อแถว ใช้เวลานาน 7 ปี

ข้าวเหนียวที่ศึกษานั้นมีลักษณะที่ดีหลายประการ สายพันธุ์คงที่ ไม่กลายพันธุ์ เป็นข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสง ให้ผลผลิตสูง เฉลี่ยประมาณ 520 กิโลกรัม ต่อไร่ ข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด น้ำหนักประมาณ 29.6 กรัม ข้าวนึ่งอ่อนนุ่ม ต้านทานต่อโรคใบจุดสีน้ำตาล ทนต่อสภาพดินเค็ม ด้วยคุณสมบัติที่ดีหลายประการนี้เอง คณะกรรมการข้าวจึงได้พิจารณามีมติให้เป็นข้าวพันธุ์ส่งเสริมและขยายพันธุ์ได้ เมื่อ วันที่ 6 พฤษภาคม 2505 และตั้งชื่อว่า "ข้าวเหนียวสันป่าตอง"

ข้าวเหนียวสันป่าตอง เป็นข้าวที่มีลำต้นสูงประมาณ 150 เซนติเมตร ทรงกอแผ่ ปล้องสีเหลืองอ่อน กาบใบและใบสีเขียว มีขนบนใบ ใบแก่ช้าปานกลาง มุมของยอดแผ่นใบตก ข้อต่อระหว่างใบและกาบใบสีเขียวอ่อน ลิ้นใบมีลักษณะแหลมสีขาว หูใบสีเขียวอ่อน ปลายยอดดอกและกลีบรองดอกสีฟาง ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ใบธงหักลง รวงยาวและแน่นปานกลาง ระแง้ค่อนข้างถี่ คอรวงยาว ก้านรวงอ่อน เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล ยอดเมล็ดสีฟาง มีขนที่เปลือกเมล็ด ข้าวกล้องรูปร่างยาวเรียว ยาว 7.2 มิลลิเมตร กว้าง 2.3 มิลลิเมตร หนา 1.8 มิลลิเมตร ข้าวสุกอ่อนนุ่ม หอม ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์


9. น้ำรู
ข้าวน้ำรู ได้จากการรวบรวมสายพันธุ์ข้าวจากชาวไทยภูเขาเผ่าลีซอ ที่บ้านน้ำรู ดอยสามหมื่น ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดย คุณวิฑูรย์ ขันธิกุล ได้ทำการปลูกศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตที่สถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาว อำเภอสะเมิง และสถานีทดลองเกษตรที่สูงในภาคเหนือ คณะกรรมการวิจัยและพัฒนา กรมวิชาการเกษตร ได้รับรองสายพันธุ์ เมื่อ วันที่ 20 กรกฎาคม 2530

ข้าวน้ำรูเป็นข้าวไร่ ข้าวเจ้า ลำต้นสูง 141 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อน อายุการเก็บเกี่ยวเมื่อปลูกในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,100-1,250 เมตร จะเก็บเกี่ยวได้ประมาณกลางเดือนตุลาคม หากปลูกในพื้นที่สูงกว่านี้ การออกดอกจะช้าลง แต่ถ้าพื้นที่ต่ำกว่านี้จะออกดอกเร็วขึ้น สภาพพื้นที่ที่แนะนำให้ปลูกได้ดีและเหมาะสมคือ 1,000-1,400 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวน้ำรู คือ ลำต้นตรงและแข็ง ไม่ล้มง่าย แตกกอดี ทรงต้นค่อนข้างแน่น ใบยาว แผ่นใบกว้างตรง มีขนเล็กน้อย กาบใบสีเขียว ระแง้ถี่ คอรวงยาว เมล็ดร่วงปานกลาง ส่วนใหญ่ไม่มีหาง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 1 สัปดาห์ คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม ผลผลิตประมาณ 247 กิโลกรัม ต่อไร่ สามารถปรับตัวได้ดีในพื้นที่อากาศหนาวเย็นและพื้นที่สูงมากๆ ต้านทานโรคเมล็ดด่างในธรรมชาติ ค่อนข้างต้านทานโรคไหม้ ข้อควรระวังคือ ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง ใบสีส้ม โรคใบหงิก โรคเขียวเตี้ย โรคหูด ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและโรคเน่าคอรวง


10. เล็บนก
ข้าวเล็บนก เป็นข้าวที่ได้จากการรวบรวมพันธุ์ 307 พันธุ์ จาก 104 อำเภอ ใน 14 จังหวัดภาคใต้ ในปี 2527 โดยพันธุ์เล็บนกที่เก็บมาจากตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง ข้าวพันธุ์เล็บนกมีผลผลิตเฉลี่ย 476 กิโลกรัม ต่อไร่ ราคาที่โรงสีท้องถิ่นรับซื้อกัน อยู่ที่ระหว่าง 9,500-10,000 บาท

ข้าวเล็บนก เป็นข้าวที่มีคุณภาพการหุงต้มเป็นที่นิยมของผู้บริโภค เป็นพันธุ์ข้าวที่ผลิตเป็นการภายในท้องถิ่นภาคใต้

ลักษณะประจำพันธุ์ของข้าวพันธุ์เล็บนก เป็นข้าวเจ้า ประเภทไวต่อช่วงแสง มีอายุการเก็บเกี่ยวในเดือนกุมภาพันธ์ รวงยาวจับกันแน่น ระแง้ถี่ คอรวงยาว และความสูงประมาณ 170 เซนติเมตร ข้าวพันธุ์เล็บนกให้ผลผลิตค่อนข้างสูง เมื่อปลูกในสภาพนาเป็นลุ่มน้ำที่แห้งช้า ปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมของภาคใต้ตอนกลาง บริเวณพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง


11. เข็มเงิน
เข็มเงิน เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองของอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล จะหารับประทานในพื้นที่อื่นได้ยาก ชาวบ้านจะอนุรักษ์ปลูกไว้ในรูปแบบของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผลิตข้าวซ้อมมือ ชุมชนสะพานโยง อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

คุณลักษณะเด่นของข้าวพันธุ์เข็มเงิน คือ เมล็ดเล็ก รสชาติดี หุงแล้วนุ่ม หอม อร่อย ไม่แพ้ข้าวหอมพันธุ์อื่นๆ ให้ผลผลิตต่อไร่น้อย เพียงแค่ 60 ถัง ต่อไร่ เท่านั้น

ปัจจุบัน ข้าวพันธุ์เข็มเงิน ปลูกได้เพียงปีละ 1 ครั้ง เท่านั้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะนำมาแปรรูปเป็นข้าวซ้อมมือ และข้าวกล้อง


12. ปะกาอำปึล (ดอกมะขาม)
ข้าวหอม ทนแล้งเป็นที่ 1
ปะกาอำปึล เป็นข้าวพันธุ์หนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อย ถิ่นกำเนิดของข้าวพันธุ์นี้ อยู่ตะเข็บชายแดนไทย-กัมพูชา ทางฝั่งไทยปลูกกันแถบจังหวัดสุรินทร์ ส่วนกัมพูชาคือจังหวัดอุดรมีชัย

ข้าวปะกาอำปึล เป็นข้าวเจ้า ต้นสูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีจุดเด่นอยู่ที่ทนแล้ง ผลผลิตอาจจะน้อยกว่าข้าวหอมมะลิ เหมาะปลูกตามหัวไร่ปลายนา น้ำขังได้นิดหน่อย ไม่ชอบน้ำขังมาก เมื่อสุกแก่ เปลือกของข้าวสีเหลืองทองเหมือนดอกมะขาม เมล็ดยาว เมื่อขัดขาวจะสีขาวเหมือนข้าวทั่วไป หากสีเป็นข้าวกล้องเมล็ดสีน้ำตาลออกเขียว ทนทานต่อโรคแมลง เท่าที่ถามคนรักษาพันธุ์ไว้ เมื่อปลูกไม่ต้องใส่ปุ๋ย ไม่ต้องใช้สารกำจัดศัตรูข้าว ปลูกทิ้งรอเก็บเกี่ยว อาจจะกำจัดวัชพืชให้บ้าง

คุณภาพการหุงต้ม เป็นข้าวที่นุ่ม เมื่อเก็บเกี่ยวและสีใหม่ๆ มาหุง มีความหอมไม่น้อยไปกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 เมื่อหุงรับประทานแล้วเหลือ อยู่ได้นาน ไม่บูดง่าย เปรียบเทียบกับข้าวที่นิยมปลูกกัน ข้าวพันธุ์นี้น่าสนใจ เพราะปุ๋ยและสารเคมีไม่ต้องให้ ปลูกนาโคก ขาดน้ำก็ได้เกี่ยว ขอให้น้ำค้างตกถึงใบก็ได้เกี่ยวข้าวยาไส้แล้ว


13. หอมนิล
ข้าวเป็นยา
จัดเป็นข้าวนาสวน ไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ตลอดทั้งปี การแตกกอดี ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง ต้นสูง 75 เซนติเมตร ใบและลำต้นสีเขียวอมม่วง เมล็ดข้าวกล้องยาวประมาณ 6.5 มิลลิเมตร มีสีม่วงดำ เปลือกหุ้มเมล็ดข้าวสีม่วงเข้ม อายุการเก็บเกี่ยว 95-100 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 400-700 กิโลกรัม ต่อไร่ ต้านทานต่อโรคไหม้

ข้าวเจ้าหอมนิล เป็นข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมีโปรตีนอยู่ในช่วงประมาณ 10-12.5% มีปริมาณแป้งอะมิโลสประมาณ 12-13% มีปริมาณสาร 2-acetyl-1-pyrroline ปานกลาง ร่วมกับสารหอมระเหยจำเพาะ พวก Cyclohexanone ในปริมาณมาก มีแคลเซียม 4.2 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม ปริมาณธาตุเหล็กแปรปรวนอยู่ระหว่าง 2.25-3.25 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม และธาตุสังกะสี ประมาณ 2.9 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม

ข้าวเจ้าหอมนิล มีปริมาณสาร antioxidation สูงประมาณ 293 ไมโครโมล ต่อกรัม ในส่วนของเยื่อหุ้มเมล็ดที่เป็นสีม่วงเข้มประกอบไปด้วยสาร anthocyanin, proanthocyanidin, bioflavonoids และวิตามินอี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และสีผสมอาหารตามธรรมชาติ

ในส่วนของรำและจมูกข้าว มีวิตามินอี วิตามินบี และกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ในส่วนของรำมีน้ำมันรำข้าว 18% เป็นองค์ประกอบ ซึ่ง 80% เป็นชนิด C18 : 1 และ C18 : 2 เหมือนกับน้ำมันที่ได้จากถั่วเหลืองและข้าวโพด และพบว่ามีสาร โอเมก้า-3 ประมาณ 1-2% รำของข้าวเจ้าหอมนิลมีปริมาณเส้นใย digestible fiber สูงถึง 10% จากข้อมูลทางโภชนาการนับได้ว่าข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวที่มีศักยภาพในการนำมาแปรรูปทางอุตสาหกรรมอาหารสูง เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารจากแป้งข้าวเจ้าหอมนิล รวมทั้งขนมขบเคี้ยวต่างๆ

ข้าวเจ้าหอมนิล มีเมล็ดสีม่วงดำ เมื่อวิเคราะห์ปริมาณสีของเมล็ด สีม่วงดำประกอบไปด้วย สีม่วงเข้ม (cyanidin) สีชมพูอ่อน (peonidin) และสีน้ำตาล (procyanidin) ผสมกัน ซึ่งสีที่เห็นนั่นเป็นสารประกอบกลุ่ม flavonoid ที่เรียกว่า สารแอนโทไซยานิน (anthocyanin) ที่ประกอบไปด้วยสาร cyanidin กับ สาร peonidin สารโปรแอนโทไซยานิดิน (proanthocyanidin) ประกอบด้วยสาร procyanidin ซึ่งสารดังกล่าวทั้งหมดนี้เป็นสาร antioxidant ที่ทำหน้าที่จับกับอนุมูลอิสระแล้วช่วยทำให้กลไกการทำงานของร่างกายมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าปกติ

สารแอนโทไซยานิน มีรายงานวิจัยพบว่า สามารถช่วยลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ ช่วยลดไขมันอุดตันในเส้นเลือดที่หัวใจและสมอง บรรเทาโรคเบาหวาน ช่วยบำรุงสายตาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นเวลามองตอนกลางคืน สาร cyanidin มีประสิทธิภาพในการ antioxidation ได้ดีกว่าวิตามินอี หลายเท่า และยังยับยั้งการเจริญเติบโตของ epidermal growth factor receptor ในเซลล์มะเร็ง สารโปรแอนโทไซยานิดิน หรือเรียกว่า สาร condensed tannins มีรายงานวิจัยพบว่า สารโปรแอนโทไซยานิดิน ทำการ antioxidation ได้ดีกว่าวิตามินซี วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน (beta-carotene) สารโปรแอนโทไซยานิดิน ยังไปจับกับอนุภาคของกัมมันตภาพรังสีทำให้เซลล์ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ และช่วยลดไขมันอุดตันในเส้นเลือดป้องกันโรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง ยังยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม ปอด กระเพาะอาหาร และเม็ดเลือดขาว


14. หลวงประทาน
เป็นข้าวนาสวน พื้นที่ที่นิยมปลูกจะอยู่บริเวณลุ่มภาคกลาง ความสูงประมาณ 160 เซนติเมตร ลำต้นแข็งปานกลาง ทรงกอตั้ง ใบธงทำมุมเอนปานกลาง รวงแน่นปานกลาง คอรวงยาว ก้านรวงอ่อน แตกระแง้ปานกลาง เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล ติดเมล็ดมากกว่า 90% เมล็ดร่วงง่าย การนวดง่าย


15. ปิ่นแก้ว
ข้าวชนะที่ 1 ของโลก ปี 2476
ข้าวปิ่นแก้ว เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง ที่ได้จากการประกวดพันธุ์ข้าว ของนางจวน (ไม่มีการบันทึกนามสกุล) อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จากนั้นมีการนำไปคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์โดยพระยาโภชากรและทีมงานนาทดลองคลองหก รังสิต ปัจจุบันคือ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี กรมการข้าว

ไทยได้ส่งข้าวปิ่นแก้วไปประกวดที่เมืองเรจินา ประเทศแคนาดา เมื่อ วันที่ 24 กรกฎาคม 2476 ปรากฏว่าได้รางวัลที่ 1 นอกจากนี้ สายพันธุ์อื่นๆ ยังได้ที่ 2 และ 3 รวมแล้ว 11 รางวัลด้วยกัน ซึ่งการประกวดครั้งนั้นมีทั้งหมด 20 รางวัล

- ข้าวปิ่นแก้ว เป็นข้าวที่ปลูกในระดับน้ำลึกได้ดี ต้นสูง 200 เซนติเมตร หรืออาจสูงกว่านี้ ตามระดับน้ำ เป็นข้าวนาสวน ไวต่อช่วงแสง ทรงกอแผ่เป็นแนวนอน คอรวงยาว

- ข้าวเปลือก ยาว 10.82 มิลลิเมตร กว้าง 2.35 มิลลิเมตร หนา 2.12 มิลลิเมตร
- ข้าวกล้อง ยาว 8.39 มิลลิเมตร กว้าง 2.22 มิลลิเมตร หนา 1 มิลลิเมตร
- คุณภาพการหุงต้มดี


16. ขาวห้าร้อย
ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 140 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 23 พฤศจิกายน ทรงกอตั้ง แผ่นใบสีเขียว มีขนบ้าง ปล้องสีเหลืองอ่อน คอรวงสั้น รวงแน่นปานกลาง ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีเขียวอ่อน ลำต้นค่อนข้างแข็ง จำนวนเมล็ดข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 2.60 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ขนสั้น
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 9.92 x 2.50 x 2.40 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.79 x 2.43 x 2.16 มิลลิเมตร
- มีท้องไข่น้อย
- ปริมาณอะมิโลส 28.22 เปอร์เซ็นต์


17. ปลุกเสก
เป็นข้าวเจ้า ที่นิยมปลูกกันในสมัยก่อน ปัจจุบันยังมีการรักษาพันธุกรรมไว้

ข้าวปลุกเสก มีความสูง 128.4 เซนติเมตร กอแบะ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง หากปลูกในฤดูปกติ ออกดอกปลายเดือนพฤศจิกายน

ที่มาของชื่อข้าวนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอี่ยม ทองดี ผู้ทรงคุณค่าวงการข้าวไทย ให้แง่คิดว่า ข้าวพันธุ์นี้ น่าจะได้มาจากพิธีกรรมสำคัญเมื่อครั้งในอดีต


18. หอมทุ่ง
หอมทั่วทุ่ง ตั้งแต่เริ่มออกดอก
- เป็นข้าวเหนียว ที่มีถิ่นกำเนิดแถบอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
- ความสูงของต้น 99.4 เซนติเมตร กอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- เมล็ดยาว 9.61 มิลลิเมตร กว้าง 2.88 มิลลิเมตร ออกดอกช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน

เหตุที่ได้ชื่อพันธุ์ว่า "หอมทุ่ง"นั้น เพราะช่วงเวลาที่ข้าวพันธุ์นี้ออกดอก กลิ่นหอมจะกระจายไปทั่วทุ่ง เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตนำมานึ่ง ยังมีกลิ่นหอมกรุ่น ชวนลิ้มลองรสชาติ


19. เบื่อน้ำ
ชื่อพันธุ์ข้าว มีที่มาหลายทางด้วยกัน เช่น ตั้งตามชาวนาที่มีพันธุ์ข้าวอยู่ ตั้งตามลักษณะเมล็ดข้าวมีอยู่ไม่น้อย ตั้งตามคุณสมบัติโดดเด่นที่ข้าวมีอยู่

ข้าวเบื่อน้ำ เป็นข้าวเจ้าที่ทนทานต่อความแห้งแล้ง คุณสมบัติเรื่องการหุงต้มและผลผลิต อาจจะสู้บางสายพันธุ์ไม่ได้ แต่ก็มีการเก็บรักษาพันธุกรรมไว้


20. ดอโนน
เป็นข้าวเหนียว ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 94 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 26 กันยายน ทรงกอตั้ง แผ่นใบสีเขียว มีขน ปล้องสีเขียวอ่อน คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีเขียว ลำต้นแข็งมาก จำนวนข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 3.53 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.27 x 3.40 x 2.28 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.09 x 2.84 x 1.99 มิลลิเมตร
- ลักษณะข้าวหุงสุก นุ่ม เหนียว


21. ขาวปากหม้อ
เป็นข้าวเจ้า ได้จากการรวบรวมพันธุ์ของ คุณทอง ฝอยหิรัญ พนักงานการเกษตร อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เมื่อ ปี 2495-2496 จำนวน 196 รวง แล้วนำมาคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ขาวปากหม้อ 55-3-148

คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ วันที่ 31 พฤษภาคม 2508

ข้าวขาวปากหม้อ ต้นสูง 140 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง ลำต้นสีเขียว แตกกอดี ทรงกอตั้งตรง ใบกว้างและยาว เมล็ดรูปร่างเรียวยาว เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ วันที่ 3 ธันวาคม ระยะการพักตัวของเมล็ดประมาณ 6 สัปดาห์ เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง ยาว และหนา 2.3, 7.6 และ 1.9 มิลลิเมตร ปริมาณอะมิโลส 22-26 เปอร์เซ็นต์ จุดเด่นของขาวปากหม้อ อยู่ที่คุณภาพของข้าวสุก ร่วน นุ่ม และขาว รับประทานอร่อย


22. เบาขี้ควาย
เป็นข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 135 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 8 ธันวาคม ทรงกอตั้ง แผ่นใบสีเขียว ปล้องสีเหลืองอ่อน คอรวงยาว ระแง้ถี่ ยอดเกสรตัวเมียสีเหลือง ยอดดอกสีน้ำตาล จำนวนเมล็ดข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 3.10 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางขีดน้ำตาล
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 8.15 x 2.55 x 1.79 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 6.16 x 2.19 x 1.66 มิลลิเมตร
- มีท้องไข่น้อย
- ปริมาณอะมิโลส 24.16 เปอร์เซ็นต์


23. ผาแดง
เป็นข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 150 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 26 ตุลาคม ทรงกอตั้ง แผ่นใบสีเขียว มีขน ปล้องสีเขียว คอรวงยาว ระแง้ถี่ ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีเขียวอ่อน ลำต้นแข็งปานกลาง จำนวนข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 3.27 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีเหลืองขีดน้ำตาล
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 9.54 x 3.45 x 2.15 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 6.88 x 2.92 x 1.93 มิลลิเมตร
- มีท้องไข่มาก
- ปริมาณอะมิโลส 26.12 เปอร์เซ็นต์
- ลักษณะข้าวหุงสุก ร่วน แข็ง ไม่มีกลิ่นหอม


24. หอมจันทร์
เป็นข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 166 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 24 ธันวาคม ทรงกอแบะ แผ่นใบสีเขียว ปล้องสีม่วง คอรวงยาว ระแง้ถี่ ยอดเกสรตัวเมียสีม่วงดำ ยอดดอกสีแดง จำนวนเมล็ดข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 3.60 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 9.73 x 2.64 x 1.72 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.24 x 2.23 x 1.68 มิลลิเมตร
- มีท้องไข่น้อย
- ปริมาณอะมิโลส 21.70 เปอร์เซ็นต์


25. เหลืองใหญ่
เป็นข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 180 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 24 พฤศจิกายน ทรงกอตั้ง แผ่นใบสีเขียว มีขนบ้าง ปล้องสีเหลืองอ่อน คอรวงสั้น รวงแน่นปานกลาง ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีเขียวอ่อน ลำต้นแข็งปานกลาง จำนวนข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 2.40 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางขีดสีน้ำตาล ขนสั้น
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 9.48 x 2.61 x 2.21 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.05 x 2.29 x 1.77 มิลลิเมตร
- มีท้องไข่ปานกลาง
- ปริมาณอะมิโลส 26.35 เปอร์เซ็นต์
- ลักษณะเด่น ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล


26. ทองมาเอง
เป็นข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 188 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 24 พฤศจิกายน ทรงกอตั้ง แผ่นใบสีเขียว มีขนบ้าง ปล้องสีเหลืองอ่อน คอรวงสั้น รวงแน่นปานกลาง ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีเขียวอ่อน ลำต้นล้ม จำนวนเมล็ดข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 2.60 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางขีดน้ำตาล ขนสั้น
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 9.80 x 2.45 x 2.20 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.23 x 2.32 x 1.82 มิลลิเมตร
- มีท้องไข่น้อย
- ปริมาณอะมิโลส 28.97 เปอร์เซ็นต์


27. นางกลาย
เป็นข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 159 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 23 ธันวาคม ทรงกอตั้ง แผ่นใบสีเขียว มีขนบ้าง ปล้องสีเหลืองอ่อน คอรวงยาว ระแง้ถี่ ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีน้ำตาล จำนวนข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 3.10 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 7.43 x 2.93 x 1.89 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 6.26 x 2.36 x 1.76 มิลลิเมตร
- มีท้องไข่น้อย
- ปริมาณอะมิโลส 23.11 เปอร์เซ็นต์


28. บือพะทอ
เป็นข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 142 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณวันที่ 19 กันยายน ทรงกอแบะ แผ่นใบสีเขียว ปล้องสีเหลืองอ่อน รวงแน่นปานกลาง คอรวงสั้น ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีขาว จำนวนข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 2.91 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 9.92 x 3.03 x 2.04 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 6.55 x 2.53 x 1.67 มิลลิเมตร
- ปริมาณอะมิโลส 17.92 เปอร์เซ็นต์


29. บือปิอี
เป็นข้าวเหนียว ที่ปลูกสืบทอดกันมานาน ของชนเผ่ากะเหรี่ยง ต้นข้าวสูง 119.6 เซนติเมตร ออกรวงปลายเดือนตุลาคม กอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง จัดเป็นข้าวที่คุณสมบัติโดดเด่น เป็นหนึ่งในข้าวพันธุ์ดีของชนเผ่ากะเหรี่ยง


30. กระดูกช้าง 94-10-12
ถิ่นกำเนิดเดิม อยู่อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นข้าวเจ้าที่ต้นสูงมาก ออกดอกในเดือนพฤศจิกายน

ลักษณะของกอ แตกกอปานกลาง กอตั้ง ใบสีเขียว มีขนบนแผ่นใบ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง เมล็ดข้าวเปลือกยาว 10.8 มิลลิเมตร กว้าง 2.73 มิลลิเมตร หนา 2.07 มิลลิเมตร
- คุณภาพข้าวเมื่อหุงสุก แข็ง ร่วน
- คุณสมบัติพิเศษ ฟางข้าวแข็งมาก

สำหรับการตั้งชื่อ สันนิษฐานว่า สาเหตุที่ได้ชื่อว่า "กระดูกช้าง" น่าจะมาจากฟางข้าวที่แข็ง ซึ่งหากมีการนำไปใช้งานบางอย่าง น่าจะเกิดประโยชน์เป็นอย่างมาก


31. สายบัว
จัดเป็นข้าวเจ้าพันธุ์หนัก ตั้งแต่ปลูกจนเก็บเกี่ยว ใช้ระยะเวลา 240 วัน ลำต้นแข็งแรง ทนทานต่อโรคและแมลง สู้น้ำดี หมายถึง ยืดตามระดับความสูงของน้ำ จึงจัดเป็นข้าวขึ้นน้ำหรือข้าวหนีน้ำอีกสายพันธุ์หนึ่ง ข้าวพันธุ์นี้ นิยมปลูกกันพอสมควร เมื่อ 40 ปีที่แล้ว

เรื่องคุณสมบัติของข้าวเมื่อหุง อาจจะสู้พันธุ์อื่นไม่ได้ แต่ข้าวสายบัว โดดเด่นในเรื่องการนำมาแปรรูป เช่น การทำขนมจีน ขนมปาด ลอดช่อง ดอกจอก ตะโก้ และอื่นๆ


32. ลูกปลา
เป็นข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 123 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 9 พฤศจิกายน ทรงกอตั้ง แผ่นใบสีม่วงที่ริมมีขน ปล้องสีเหลืองอ่อน คอรวงยาว รวงแน่น ระแง้ถี่ ยอดเกสรตัวเมียสีม่วงดำ ยอดดอกสีแดง ลำต้นค่อนข้างแข็ง จำนวนข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 2.02 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ก้นจุด
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 8.44 x 2.55 x 1.95 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 6.21 x 2.19 x 1.72 มิลลิเมตร
- มีท้องไข่มาก
- ปริมาณอะมิโลส 19.12 เปอร์เซ็นต์
- ลักษณะข้าวหุงสุก นุ่ม เหนียว


33. บือเกษตร
เป็นข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 114 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 9 ตุลาคม ทรงกอตั้ง แผ่นใบสีเขียว ปล้องสีเหลืองอ่อน รวงแน่นปานกลาง คอรวงยาว ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีขาว จำนวนข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 3.22 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางขีดน้ำตาล
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 8.21 x 3.44 x 2.08 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 5.78 x 2.88 x 1.81 มิลลิเมตร
- ปริมาณอะมิโลส 16.88 เปอร์เซ็นต์


34. ดอเตี้ย
เป็นข้าวเหนียว ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 98 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 25 กันยายน ทรงกอแบะ แผ่นใบสีเขียวมีขน ปล้องสีเหลืองอ่อน คอรวงยาว รวงแน่น ระแง้ถี่ ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีเขียวอ่อน ลำต้นค่อนข้างแข็ง จำนวนเมล็ดข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 3.00 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีเหลือง
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.51 x 3.14 x 2.03 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.27 x 2.56 x 1.83 มิลลิเมตร
- ลักษณะข้าวหุงสุก นุ่ม


35. ดอหางวี
เป็นข้าวเหนียว ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 106 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 2 ตุลาคม ทรงกอแบะ แผ่นใบสีเขียวมีขน ปล้องสีเหลืองอ่อน คอรวงยาว รวงแน่น ระแง้ถี่ ยอดดอกและยอดเกสรตัวเมียสีเขียวอ่อน ลำต้นค่อนข้างแข็ง จำนวนเมล็ดข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 2.52 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกสีเหลืองขีดน้ำตาล
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 9.74 x 2.68 x 1.95 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.12 x 2.22 x 1.75 มิลลิเมตร
- ลักษณะข้าวหุงสุก นุ่ม


36. หอมดง
เป็นข้าวพื้นเมืองของคนเชื้อสาย ญัฮกุร
ญัฮกุร หรือ เนียะกุล ที่คนไทยเรียก แต่ไม่เป็นที่ชอบใจของชาวญัฮกุรนักคือ "ชาวบน" เป็นชุมชนที่ใช้ภาษามอญโบราณ อยู่บนภูเขาแถบแม่น้ำป่าสักในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะที่จังหวัดชัยภูมิ อยู่ในเขตอำเภอหนองบัวระเหว และอำเภอจัตุรัส กลุ่มชนดังกล่าวเรียกตนเองว่า "ญัฮกุร" (Nyah-Kur) แปลว่า "คนภูเขา" คนไทยในเมืองเรียกชนกลุ่มนี้ว่า "ชาวบน" ซึ่งพูดภาษาที่คนไทยภาคต่างๆ ฟังไม่รู้เรื่อง

ชาวบน มีผิวค่อนข้างดำ ตาโตกว่าคนไทย แต่ไม่ต่างจากคนไทยมากนัก รูปร่างสูงปานกลาง ผู้หญิงจะหน้าตาดี การแต่งกายแบบดั้งเดิมของชาวบน คือ ผู้หญิงจะสวมเสื้อเก๊าะ และนุ่งผ้านุ่งมีชายผ้าใหญ่ สวมสร้อยเงิน และเจาะใบหูกว้างเพื่อสวมตุ้มหูใหญ่ ชาวบนเรียก กะจอน ทำด้วยไม้มีกระจกติดข้างหน้า ไว้ผมยาวเกล้ามวย ส่วนผู้ชายนุ่งผ้าโสร่งตาหมากรุก วิธีการนุ่งแบบเหน็บธรรมดา

ข้าวหอมดง จัดเป็นข้าวเจ้า ที่นิยมปลูกในสภาพไร่ ต้นเตี้ย วัดความสูงเฉลี่ย 70 เซนติเมตร แตกกอดี ใบสีเขียว ใบธงนอน รวงสั้น จับห่าง คอรวงเหนียว เป็นข้าวกลาง เก็บเกี่ยวประมาณเดือนพฤศจิกายน เมล็ดข้าวเปลือกอ้วนสั้นสีเหลืองนวล หางสั้น ข้าวสารสีขาวใส เหมาะต่อการบริโภค มีกลิ่นหอมมาก


37. เอวมดแดง
ข้าวพันธุ์เอวมดแดง เป็นข้าวพื้นที่ของภาคใต้ โดยศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง สำนักวิจัยและพัฒนาข้าวโดยกรมการข้าวได้เก็บรวบรวมสายพันธุ์มาจากอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

- ข้าวพันธุ์เอวมดแดง เป็นข้าวเจ้านาสวน มีความสูงของลำต้นประมาณ 187 เซนติเมตร

- ทรงกอ เป็นกอแบะ ลักษณะรวงจะจับกันแน่นมาก ก้านรวงตั้งตรง แต่พบว่ามีการร่วงของเมล็ดมาก สีของแผ่นใบมีสีเขียวจาง สีของกาบใบ มีสีเขียวเส้นม่วง ออกดอก ประมาณ วันที่ 26 ธันวาคม


38. ล้นยุ้ง
ล้นยุ้ง เป็นชื่อพันธุ์ข้าวนาสวน ประเภทข้าวเจ้า ถือเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของประเทศไทย โดยชื่อของสายพันธุ์ข้าวชนิดนี้ ตั้งให้มีความหมายในทางที่ดี เป็นสิริมงคล บ่งบอกถึงความร่ำรวย หรือการได้ผลผลิตมากๆ เช่นเดียวกับข้าวสายพันธุ์อื่นๆ เช่น ขาวเศรษฐี ขาวหลุดหนี้ ก้อนแก้ว เกวียนหัก เหลืองควายล้า ขาวทุ่งทอง เป็นต้น

กรมการข้าว ได้มีการรวบรวมสายพันธุ์ข้าวล้นยุ้งมาจากอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี โดยข้าวล้นยุ้ง จะออกดอกช่วงประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน

ลักษณะประจำพันธุ์ ต้นสูงปานกลาง กอแบะ แตกกอปานกลาง
- ใบ สีเขียว มีขนบนใบ
- สีข้าวเปลือก สีฟาง
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน
- ขนาดเมล็ดข้าวเปลือก ยาว 9.74 มิลลิเมตร กว้าง 2.76 มิลลิเมตร หนา 1.99 มิลลิเมตร


39. ดอกพะยอม
ได้จากการรวบรวมพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองในพื้นที่ภาคใต้ โดยเจ้าหน้าที่กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ในระหว่างปี พ.ศ. 2502-2521 โดยนำมาปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ในสถานีทดลองข้าวภาคใต้ จนคณะกรรมการวิจัยและพัฒนา กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ วันที่ 7 ธันวาคม 2522

ข้าวดอกพะยอม เป็นข้าวไร่พื้นเมือง ลำต้นสูงประมาณ 150 เซนติเมตร เป็นข้าวที่ไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อน มีอายุเก็บเกี่ยว ถ้าปลูกต้นเดือนมิถุนายน เกี่ยวปลายเดือนตุลาคม ถ้าปลูกปลายเดือนสิงหาคม เกี่ยวปลายเดือนมกราคม (อายุประมาณ 145-150 วัน)

- ลำต้นเขียว ใบยาว ค่อนข้างแคบ ชูรวงดี เมล็ดเรียวยาว ข้าวเปลือกสีฟาง ก้นจุด มีระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 2 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.3 x 2.4 x 2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.3 x 2.2 x 1.8 มิลลิเมตร
- ปริมาณอะมิโลส 24%
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม มีกลิ่นหอม
- ผลผลิต ประมาณ 250 กิโลกรัม ต่อไร่
- ลักษณะเด่น คอรวงยาว สามารถปลูกเป็นพืชแซมยางได้ดี มีความต้านทานโรคไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคใบขีดสีน้ำตาล

- ข้อควรระวัง ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และโรคใบวงสีน้ำตาล
- พื้นที่แนะนำ พื้นที่ข้าวไร่ในภาคใต้


40. เจ๊กเชยเสาไห้
พันธุ์ข้าว จีไอ
เจ๊กเชย เป็นชื่อพันธุ์ข้าวพื้นเมืองคุณภาพดีของอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนานตั้งแต่ต้นรัชสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะเป็นสายพันธุ์ข้าวที่หุงจะขึ้นหม้อ เมล็ดข้าวสวย รสชาตินุ่มนวล ไม่แข็งกระด้าง ที่สำคัญคือ ไม่บูดง่าย และไม่ยุบตัวเมื่อราดแกง โดยสายพันธุ์ข้าวเจ๊กเชยนั้นหากดูที่สีของกาบใบจะแบ่งออกเป็น หนึ่ง เจ๊กเชยกาบใบเขียว และ สอง เจ๊กเชยกาบใบม่วง

ที่มาของชื่อนั้น สืบเนื่องมาจากผู้ที่นำสายพันธุ์ข้าวพันธุ์นี้เข้ามาในพื้นที่ ซึ่งเป็นพ่อค้าที่เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน ชื่อ "เจ๊กเชย" จึงกลายเป็นชื่อเรียกที่สืบต่อกันมาถึงทุกวันนี้

แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เกษตรกรในพื้นที่อำเภอเสาไห้ ซึ่งปลูกข้าวสายพันธุ์นี้ ได้เลิกปลูกกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีสาเหตุปัญหาด้านผลผลิตที่ต่ำ ปลูกได้เพียงปีละครั้ง ความไม่บริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ ตลอดจนความแปรปรวนในประชากรของพันธุ์ข้าวเจ๊กเชยทำให้ราคาไม่จูงใจให้เกษตรกรปลูก

ดังนั้น ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี กรมการข้าว จึงดำเนินการคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์จากพันธุ์ข้าวเจ๊กเชยพื้นเมืองไปสู่การปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพข้าวเสาไห้ให้ดีเด่นเหมือนกับอดีตที่ผ่านมา โดยเริ่มต้นปรับปรุงพันธุ์ในฤดูนาปี 2545 โดยเก็บรวบรวมพันธุ์จากแปลงเกษตรกรในจังหวัดสระบุรี จำนวน 34 ตัวอย่างพันธุ์ ปลูกคัดเลือกแบบหมู่ (mass selection) ได้สายพันธุ์ PTTC02019 แล้วคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ (pure line selection) จนได้สายพันธุ์บริสุทธิ์ PTTC02019-1 ในฤดูนาปี 2546

การรับรองพันธุ์ คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติรับรองพันธุ์ข้าว ชื่อ เจ๊กเชย 1 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อ วันที่ 26 กันยายน 2551

ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้า สูงเฉลี่ย 160-170 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว วันที่ 10 ธันวาคม
- ทรงกอตั้ง ใบสีเขียว ใบธงหักลง คอรวงยาว
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ขนสั้น
- เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.3 x 2.5 x 2.0 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.7 x 2.1 x 1.7 มิลลิเมตร
- ปริมาณอะมิโลสสูง 27.1%
- คุณภาพข้าวสุกค่อนข้างแข็ง
- ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ ประมาณ 6-7 สัปดาห์
- ผลผลิต เฉลี่ย 812 กิโลกรัม ต่อไร่

ลักษณะเด่น
- ข้าวสารมีคุณภาพดีแบบข้าวเสาไห้ หุงขึ้นหม้อ ร่วนเป็นตัว ไม่เกาะกัน เนื้อสัมผัสจากการชิมค่อนข้างแข็ง แต่มีความนุ่ม ไม่แข็งกระด้าง
- สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้นและขนมได้ดี
- สามารถปลูกได้ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในเรื่องน้ำท่วม เนื่องจากเป็นข้าวต้นสูงและทนน้ำท่วมได้ดีกว่าข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงในพื้นที่เดียวกัน

- ข้อควรระวัง ไม่ต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
- พื้นที่แนะนำ จังหวัดสระบุรี และใกล้เคียงที่มีนิเวศการเกษตรคล้ายคลึงกัน

ด้วยข้าวพันธุ์เจ๊กเชยเสาไห้เป็นสายพันธุ์ข้าวคุณภาพดี กรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงได้รับการจดทะเบียนให้เป็นหนึ่งในสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546


41. ช่อไม้ไผ่
ช่อไม้ไผ่ เป็นชื่อสายพันธุ์ข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองของภาคใต้ มีลักษณะเด่นคือ เมื่อนำมานึ่งสุกมีลักษณะอ่อนนุ่ม คนในภาคใต้จะนิยมนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นอาหารเสริมหรืออาหารว่าง ใช้ในงานบุญประเพณี ทำให้มีราคาจำหน่ายสูงกว่าข้าวทั่วไป

ช่อไม้ไผ่ เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะวิตามิน บี 1 วิตามิน บี 3 วิตามิน บี 6 และวิตามิน อี

พื้นที่แนะนำปลูก เหมาะสำหรับปลูกในบริเวณพื้นที่นาดอนและสภาพไร่ในภาคใต้ แต่ข้อควรระวังคือ อ่อนแอต่อโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง ไม่เหมาะสมกับการปลูกในพื้นที่นาลุ่ม

จากลักษณะเด่นและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว จึงดำเนินการปลูกคัดเลือกให้เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์แบบรวงต่อแถว คัดเลือกจนได้สายพันธุ์ PTNC96004-49 และต่อมาได้ขึ้นทะเบียนภายใต้ชื่อ ข้าวเหนียวพันธุ์เหนียวดำช่อไม้ไผ่ 49

โดยเป็นข้าวไวต่อช่วงแสง ออกดอกปลายเดือนมกราคม ผลผลิตเฉลี่ย 363 กิโลกรัม ต่อไร่ ความสูงของลำต้น ประมาณ 135 เซนติเมตร ลักษณะทรงกอตั้ง ใบสีเขียวเข้ม กาบใบสีเขียว ใบธงหักลง ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีม่วง กลีบดอกสีม่วงดำ คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง รวงยาว 28.5 เซนติเมตร เมล็ดเกาะกันเป็นกลุ่มบนระแง้ กลุ่มละ 2-4 เมล็ด ส่วนใหญ่มี 3 เมล็ด

- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ยาว 10.21 มิลลิเมตร กว้าง 3.66 มิลลิเมตร หนา 2.22 มิลลิเมตร
- ข้าวกล้องสีม่วงดำ รูปร่างเมล็ดค่อนข้างป้อม ยาว 7.20 มิลลิเมตร กว้าง 2.81 มิลลิเมตร หนา 1.92 มิลลิเมตร
- ข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด หนัก 34.59 กรัม น้ำหนักข้าวเปลือก 10.38 กิโลกรัม ต่อถัง
- คุณภาพการสี ปานกลาง
- ระยะพักตัว ประมาณ 8 สัปดาห์

สถานที่ติดต่อ ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี เลขที่ 128 หมู่ที่ 7 ตำบลมะกรูด อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี โทร. (076) 343-135


42. แม่โจ้ 2
ผลงานประดิษฐ์คิดค้นดีเด่น ปี 55
"ข้าวเหนียวหอมต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสง สายพันธุ์แม่โจ้ 2" ผลงานวิจัยของ ผศ.ดร. วราภรณ์ แสงทอง สาขาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับทีมงานนักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร และสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทดลองและปรับปรุงพันธุ์นานถึง 7 ปี โดยใช้ข้าวเจ้าพันธุ์ปทุมธานี 1 เป็นพันธุ์รับ และข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 เป็นพันธุ์ให้ ใช้วิธีผสมกลับ และใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก

"ข้าวเหนียวหอมต้นเตี้ย ไม่ไวต่อช่วงแสง สายพันธุ์แม่โจ้ 2" มีคุณสมบัติสำคัญคือ ไม่ไวต่อช่วงแสง สามารถปลูกได้ทั้งในฤดูนาปีและนาปรัง ความสูงประมาณ 90-120 เซนติเมตร

ลักษณะต้นเตี้ยช่วยต้านทานต่อการหักล้มและง่ายต่อการใช้รถเก็บเกี่ยว แก้ปัญหาการขาดแรงงานเก็บเกี่ยว ความเป็น "ข้าวเหนียวหอม" จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวเหนียว เนื่องจากสายพันธุ์แม่โจ้ 2 มีกลิ่นหอม

สำหรับ "ข้าวเหนียวหอมต้นเตี้ย แม่โจ้ 2" ขณะนี้กำลังอยู่ในการทดลองปลูกสถานีสุดท้ายก่อนเผยแพร่พันธุ์ให้เกษตรกรที่สนใจต่อไป


43. กข6
เป็นข้าวเหนียว ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีแกมมา ปริมาณ 20 กิโลแรด อาบเมล็ดพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 แล้วนำมาปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขน และสถานีทดลองข้าวพิมาย

จากการคัดเลือก ได้ข้าวเหนียวหลายสายพันธุ์ในข้าวช่วงที่ 2 นำไปปลูกคัดเลือกจนอยู่ตัว ได้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุดคือ สายพันธุ์ KDML105"65-G2U-68-254 นับว่าเป็นข้าวพันธุ์ดีพันธุ์แรกของประเทศไทย ที่ค้นคว้าได้โดยใช้วิธีชักนำพันธุ์พืชให้เปลี่ยนกรรมพันธุ์โดยใช้รังสีซึ่งคณะกรรมการวิจัยและพัฒนา กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ วันที่ 4 พฤษภาคม 2520

ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเหนียว ลำต้นสูงประมาณ 154 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง ลักษณะทรงกอกระจายเล็กน้อย ใบยาวสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง ลำต้นแข็งปานกลาง ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล คุณภาพการสีดี เมล็ดยาวเรียว เมล็ดข้าวเปลือกมีสีน้ำตาล อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ วันที่ 21 พฤศจิกายน
- ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 5 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.2 x 1.7 มิลลิเมตร
- คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม มีกลิ่นหอม
- ผลผลิต ประมาณ 666 กิโลกรัม ต่อไร่ เป็นข้าวที่ให้ผลผลิตสูงและทนแล้ง

- ข้อควรระวัง ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และโรคใบแห้ง ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว
- พื้นที่แนะนำ บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


44. หางยี 71
ได้จากการรวบรวมพันธุ์ โดยพนักงานข้าวจากอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมื่อ ปี พ.ศ. 2506 ปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ หางยี 563-2-71 ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อ พ.ศ. 2511

ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 152 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะฤดูนาปี
- ลำต้นสีเขียว ใบแคบ และยาว สีเขียวเข้ม รวงอ่อนมีระแง้แผ่ออกคล้ายตีนนก
- เมล็ดข้าวยาวเรียว
- เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 4 พฤศจิกายน
- ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 1 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.1 x 1.8 มิลลิเมตร
- คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม
- ผลผลิต ประมาณ 506 กิโลกรัม ต่อไร่

ลักษณะเด่น
- ต้านทานโรคไหม้
- ค่อนข้างต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล
- เป็นข้าวต้นสูง อายุเบา เหมาะกับสภาพที่ดอนที่น้ำหมดเร็ว

ข้อควรระวัง
- ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคใบสีส้ม
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว


45. เขียวนกกระลิง
เขียวนกกระลิง เป็นอีกหนึ่งพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่หายากของประเทศไทย ข้าวสายพันธุ์นี้อยู่ในกลุ่มข้าวเจ้า กรมการข้าวมีการรวบเมล็ดพันธุ์ข้าวเขียวนกกระลิงได้จากเขตอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก

ที่มาของชื่อ เป็นการตั้งตามหลักการตั้งชื่อที่เกี่ยวข้องกับพันธุ์ข้าวหรือเมล็ดข้าว ซึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะมาในส่วนของใบและกาบใบข้าวที่มีสีเขียวเหมือนกับสีเขียวบนลำตัวของนกกระลิง

จากข้อมูลของกรมการข้าว บอกว่า ข้าวพันธุ์นกกระลิง เป็นข้าวเจ้าขึ้นน้ำ ที่ไวต่อช่วงแสง ลักษณะของกอจะแบะ และแตกกอน้อย ใบและกาบใบสีเขียว ไม่มีขนบนแผ่นใบ ใบธงทำมุม 45 องศา กับลำต้น เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ก้นจุด ขนาดเมล็ดข้าวเปลือกยาว 10.40 มิลลิเมตร กว้าง 2.84 มิลลิเมตร หนา 2.05 มิลลิเมตร ในส่วนความสูงของลำต้นนั้น มีสถิติที่บันทึกไว้ว่า เคยพบ ต้นข้าวเขียวนกกระลิงสูงถึง 1.20 เมตร ข้าวสายพันธุ์นี้ จะออกดอกประมาณช่วงต้นเดือนธันวาคม และข้าวสารของพันธุ์เขียวนกกระลิง เมื่อนำไปหุงแล้วพบว่า ข้าวสุกจะมีลักษณะแข็งร่วน


46. อัลฮัมดูสันล๊ะ
มาจากภาษามลายู แปลว่า ขอบคุณพระเจ้า เรียกสั้นๆ ว่า ข้าวอัลฮัม ชาวนาพัทลุงได้นำข้าวอัลฮัมไปปลูก โดยตั้งชื่อใหม่ว่า "ข้าวขาวสตูล"

ข้าวอัลฮัม เป็นข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสง ที่มีลักษณะพิเศษ คือ ทนต่อความเป็นกรดของดินในพื้นที่ภาคใต้ได้ดี เช่นเดียวกับข้าว พันธุ์ลูกแดง ข้าวขาวตายก ไข่มด ช่อมุก ดอนทราย ลูกเหลือง ข้าวแดง หมออรุณ รวงยาว สีรวง มัทแคนดุ เป็นต้น ซึ่งข้าวพื้นเมืองในกลุ่มนี้โดยทั่วไปจะมีผลผลิตเฉลี่ยประมาณไร่ละ 15-40 ถัง

ชาวนาสตูลนิยมปลูกข้าวอัลฮัม ในช่วงนาปี เริ่มปักดำนาตั้งแต่เดือนสิงหาคม ใช้เวลาปลูกและดูแลประมาณ 5-8 เดือน และจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม-มกราคมของทุกปี ข้าวพันธุ์นี้ดูแลไม่ยุ่งยาก แค่หว่านปุ๋ยไร่ละ 15 กิโลกรัม ใน 2 ระยะ คือ ช่วงปักดำเพื่อเร่งให้ต้นข้าวแตกกอและช่วงที่ต้นข้าวเริ่มตั้งท้อง ข้าวอัลฮัม มีลักษณะเด่นที่สำคัญคือ เป็นข้าวขาวที่มีรสชาติหวานมัน มีคุณค่าทางอาหารสูง ปลูกง่าย ทนทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ปัจจุบันปลูกเพื่อบริโภคภายในครัวเรือน แล้วยังจำหน่ายในท้องถิ่นและส่งขายในประเทศมาเลเซียอีกด้วย


47. เล้าแตก
เป็นข้าวเหนียวประจำถิ่นอีสาน มีเรื่องเล่าว่า ผู้เฒ่าคนหนึ่งปลูกข้าว เมื่อเก็บเกี่ยวก็เก็บข้าวขึ้นเล้า (ยุ้ง) แต่เก็บยังไงก็ยังไม่พอใส่ เลยสร้างเล้าขึ้นมาใหม่แล้วเก็บข้าวไว้จนแน่น แต่ไม่นานเล้านั้นก็แตก ผู้คนเห็นเข้าก็เล่าขานกันว่าข้าวพันธุ์นี้ให้ผลผลิตมากจนเล้าแตก เลยเรียกว่า ข้าวเล้าแตก กันสืบมา ชาวนาภาคอีสานมีความเชื่อว่า หากปลูกข้าวพันธุ์นี้ จะทำให้ไม่อดอยากเพราะให้ผลผลิตต่อไร่สูงมาก

ข้าวเล้าแตก เป็นข้าวนาปี อายุปานกลาง สูง 150 เซนติเมตร กอตั้งใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง รวงยาว จับถี่ซ้อนกัน ลำต้นแข็งมาก เก็บเกี่ยวกลางเดือนพฤศจิกายน ผลผลิตสูงกว่า กข6 อยู่ 2-3 เท่า เมล็ดใหญ่แบน เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ไม่มีหาง ข้าวสารขาวขุ่น เมื่อนำไปหุงจะมีกลิ่นหอม เนื้อข้าวอ่อนนิ่มและเหนียวมาก หากอุ่นซ้ำ ข้าวจะเหนียวเกินไป ข้าวเล้าแตกเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายเพราะเติบโตง่ายในดินแทบทุกประเภท แถมเมล็ดโต และให้ผลผลิตดีมาก นิยมแปรรูปเป็นขนมต่างๆ เช่น ข้าวโป่ง ข้าวต้มมัด ข้าวหลาม ขนมข้าวพอง คนอีสานนิยมนำข้าวเหนียวเล้าแตกเป็นข้าวเหนียวมารับประทานกับลาบ ก้อย น้ำตก ส้มตำ เพราะข้าวชนิดนี้มีรสหวานน้อย นึ่งแล้วมีความอ่อนนุ่มมาก แม้จะทิ้งไว้จนข้าวเย็นแล้ว


48. เขี้ยวงู
เป็นข้าวเหนียว ที่นิยมปลูกในแถบภาคเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ในอดีตชาวนาไทยในแถบล้านนา จะรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก ผู้มีนาในครอบครองมากจะปลูกข้าวเหนียวคุณภาพดี คือ มีเมล็ดเล็ก ผอมเรียวยาว นุ่ม มีกลิ่นหอม แต่ไม่เน้นผลผลิต และเนื่องจากลักษณะเมล็ดที่ผอมเรียวยาวคล้ายเขี้ยวงู จึงเรียกว่า ข้าวเขี้ยวงู

เขี้ยวงู เป็นข้าวเหนียวนาปี เป็นข้าวเบา เหมาะสำหรับพื้นที่ทุ่งราบลุ่ม นาทาม น้ำไม่ท่วม ต้นข้าวสูง 160 เซนติเมตร กอตั้ง ใบสีเขียว ใบธงเป็นแนวนอน รวงยาว จับถี่เมล็ดยาว เก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤศจิกายน เมล็ดเล็กเรียว เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง อมแดง เมล็ดข้าวสีขาวขุ่น เหมาะสำหรับบริโภค เพราะมีรสชาติอร่อย นิ่ม หอม หุงขึ้นหม้อ ข้าวที่นึ่งแล้วมีลักษณะเมล็ดเรียวยาว เป็นมันวาว นิยมนำมาแปรรูปเป็นข้าวเหนียวมูน


49. ปลาเข็ง
เป็นข้าวเหนียวพื้นเมืองภาคอีสาน เนื่องจากข้าวพันธุ์นี้ มีลักษณะเด่นคือ ข้าวเมล็ดใหญ่เกือบยาว เปลือกลาย คล้ายเงี่ยงปลาแข็ง หรือปลาหมอ ชาวบ้านจึงเรียกข้าวพันธุ์นี้ว่า "ปลาเข็ง" อยู่ในกลุ่มข้าวเบา นิยมปลูกเป็นข้าวนาปีในที่ดอน ต้นข้าวสูงประมาณ 160 เซนติเมตร กอตั้ง ใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง รวงยาว จับถี่ซ้อนกัน เก็บเกี่ยวปลายเดือนตุลาคม เมล็ดข้าวเปลือกป้อมสีฟางขีดดำ ไม่มีหาง ข้าวสารสีขาวขุ่น ผลผลิตต่อไร่สูงมาก และมีกลิ่นหอมเล็กน้อย เหมาะสำหรับแปรรูปทำเหล้าสาโท ทำข้าวต้มมัด


50. ดอฮี
เป็นข้าวเบา ซึ่งในภาษาอีสานเรียก ข้าวดอ หมายถึง ข้าวที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเร็ว ส่วนคำว่า ฮี คือคำบอกลักษณะรวงที่โค้งค้อม ชาวนาอีสานจำนวนไม่น้อยนิยมปลูกข้าวดอฮี เพราะถือเป็นข้าวอายุเบาที่เก็บเกี่ยวได้เร็ว เหมาะสำหรับครอบครัวที่มีข้าวไม่พอกิน

ข้าวดอฮี เป็นข้าวเหนียวนาปี เหมาะสำหรับที่ดอน โคก ทุ่งราบปานกลาง อายุเบา สูง 135 เซนติเมตร กอตั้ง ใบสีเขียวจาง ใบธงหักลง รวงยาว จับถี่ปานกลาง ใช้ระยะเวลาปลูกประมาณ 90-110 วัน เก็บเกี่ยวกลางเดือนตุลาคม ผลผลิตต่อไร่ปานกลาง เมล็ดเรียว เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางขีดน้ำตาล ไม่มีหาง ข้าวสารสีขาวขุ่น เมื่อนำไปหุง รสชาติอร่อย อ่อนนิ่ม มีกลิ่นหอมเล็กน้อย


51. สันปลาหลาด
เป็นข้าวเหนียว นาปี อายุหนัก เหมาะสำหรับพื้นที่ลุ่มทาม น้ำไม่ท่วม ต้นข้าวสูง 165 เซนติเมตร กอแผ่ ใบสีเขียวจาง ใบธงตั้งตรง รวงยาว จับถี่ เก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤศจิกายน ผลผลิตต่อไร่สูง เมล็ดใหญ่ยาว เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางปนน้ำตาล ไม่มีหาง ข้าวสารสีขาวขุ่น เมื่อนำไปหุง รสชาติอร่อย อ่อนนิ่ม และมีกลิ่นหอม


52. พม่า
ผู้เฒ่าผู้แก่ในท้องถิ่นทุ่งกุลาร้องไห้มักเล่าให้ลูกหลานฟังถึงที่มาของพันธุ์ข้าวพม่าว่า สมัยนายขนมต้มไปเป็นเชลยอยู่ที่เมืองพม่า น้ำท่าไม่ใคร่ได้อาบจนตัวเหนียวเหนอะ หิวโซ เพราะพม่าเลี้ยงให้อดๆ อยากๆ วันหนึ่งจึงขโมยพันธุ์ข้าวพม่าหนีบรักแร้ติดตัวออกมาปลูกข้าวกินเอง

ข้าวพม่า เป็นข้าวเหนียว นาปี อายุหนัก เหมาะสำหรับพื้นที่ลุ่ม นาทาม ต้นข้าวสูง 165 เซนติเมตร สู้น้ำดี แตกกอดี ทนทานต่อโรค กอแบะ ใบสีเขียวจาง ใบธงตั้งตรง รวงยาว จับถี่ เก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤศจิกายน ผลผลิตต่อไร่ปานกลาง เมล็ดใหญ่ป้อม เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาล ไม่มีหาง ข้าวสารสีขาวขุ่น เมื่อนำไปหุง ข้าวอ่อนนิ่ม เคี้ยวง่าย และมีกลิ่นหอมเล็กน้อย นิยมแปรรูปเป็นข้าวโป่ง ข้าวนางเล็ด ข้าวต้มมัด ข้าวเม่า


53. ลำตาล
เป็นพันธุ์ข้าวดั้งเดิมของคนเชื้อสายไทย้อ มานานกว่าร้อยปี ทุกวันนี้ ลูกหลานยังรักษาสายพันธุ์ข้าวลำตาลไว้ในท้องนา เพราะถือว่าเป็นพันธุ์ข้าวที่พ่อแม่ปลูกไว้แต่เดิม เปรียบเสมือนมรดกที่ต้องรักษาไว้ แม้รสชาติข้าวลำตาลจะไม่นุ่มหอมเท่ากับข้าว กข และออกจะเหนียวกว่า หากหุงทิ้งไว้แล้วอุ่นซ้ำ แต่ถือว่ารสชาตินุ่มอ่อน มัน รับประทานอิ่มใช้ได้ แถมมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าข้าว กข มาก

ลำตาล เป็นข้าวเหนียว นาปี อายุเบา เหมาะสำหรับพื้นที่ดอน โคก ทุ่งราบปานกลาง ต้นข้าวสูง 160 เซนติเมตร แตกกอดี โคนต้นสีแดงคล้ำ ถอนกล้าง่าย กอตั้ง ใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้งตรง รวงยาวใหญ่ จับถี่ เก็บเกี่ยวปลายเดือนตุลาคม ผลผลิตต่อไร่ปานกลาง เมล็ดใหญ่ป้อม เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาล ไม่มีหาง ข้าวสารสีขาวขุ่น เหมาะสำหรับบริโภค เพราะมีรสชาติอร่อย นิ่ม หุงขึ้นหม้อ และมีกลิ่นหอมเล็กน้อย


54. อีด่าง
เป็นข้าวเหนียว นาปี อายุปานกลาง เหมาะสำหรับพื้นที่ดอน ทุ่งราบปานกลาง ต้นข้าวสูง 160 เซนติเมตร กอตั้ง ใบสีเขียวเข้ม ขอบใบม่วง ใบธงเป็นแนวนอน รวงยาว จับถี่ซ้อนกัน เก็บเกี่ยวต้นเดือนพฤศจิกายน เมล็ดใหญ่ยาว เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางปนดำ ไม่มีหาง ข้าวสารสีขาวขุ่น เมื่อนำไปหุง รสชาติอร่อย นิ่ม ไม่มีกลิ่นหอม


55. หวิดหนี้
เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองภาคอีสาน มีเรื่องเล่าว่า ผู้เฒ่าคนหนึ่งได้นำพันธุ์ข้าวเหนียวอายุสั้นมาปลูกและเก็บเกี่ยวได้เร็วทันข้าวรุ่นเก่าที่หมดพอดี จึงนำไปขายใช้หนี้ได้ทันกำหนด เลยเรียกพันธุ์นี้ว่า ข้าวหวิดหนี้

เป็นข้าวเหนียว นาปี อายุเบา เหมาะสำหรับพื้นที่ดอนโคก พื้นที่น้ำน้อย ต้นข้าวสูง 150 เซนติเมตร กอตั้ง ใบสีเขียวจาง ใบธงตั้งตรง แตกกอดี รวงยาวปานกลาง จับห่าง เก็บเกี่ยวกลางเดือนตุลาคม เมล็ดใหญ่ป้อม เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางขีดน้ำตาลไม่มีหาง ข้าวสารสีขาวขุ่น ช่วงข้าวใหม่เดือนมกราคม-เมษายน เมื่อนำไปหุง ข้าวอ่อนนิ่ม มีกลิ่นหอม


56. เศรษฐี
เป็นข้าวเหนียว อยู่ในกลุ่มข้าวกลาง เหมาะสำหรับพื้นที่ทุ่ง อายุเก็บเกี่ยว 120-125 วัน ลำต้นแข็งแรง ทนทานต่อโรคสูง รสชาติปานกลาง กลิ่นไม่หอม อ่อนนิ่ม นิยมทำข้าวเม่า สาโท ข้าวโป่ง ข้าวต้มมัด ข้าวหลาม ขนมข้าวพอง ข้าวกระยาสารท


57. ใบสี
เป็นข้าวเจ้า นาสวน ต้นข้าวสูงมาก กอตั้ง แตกกอปานกลาง ใบสีเขียว มีขนบนแผ่นใบ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง เมื่อหุงแล้ว ข้าวสุกร่วน


58. พวงเงิน
เป็นข้าวเจ้า อยู่ในกลุ่มข้าวขึ้นน้ำ ต้นข้าวสูงมาก กอตั้ง แตกกอปานกลาง ใบสีเขียว มีขนบนแผ่นใบบ้าง ออกดอกเดือนพฤศจิกายน เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง หุงแล้ว ข้าวสุกแข็งร่วน


59. กันตัง
เป็นข้าวเจ้า นาสวน ต้นสูง กอแบะ แตกกอปานกลาง ใบสีเขียว มีขนบนแผ่นใบ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ข้าวสุกแข็งร่วน


60. มันเป็ด
ข้าวเหนียวมันเป็ด มีลักษณะเด่น คือ รวงดี เมล็ดถี่ อยู่ในกลุ่มข้าวกลาง เหมาะสมกับพื้นที่ทุ่ง อายุเก็บเกี่ยว 120-140 วัน ลำต้นสูง 130-140 เซนติเมตร กอตั้งตรง แตกกอ ทนทานต่อโรค ผลผลิตต่อไร่ปานกลาง เมื่อหุงสุก ข้าวมีรสชาติดี กลิ่นหอม อ่อนนิ่ม นิยมทำข้าวเม่า สาโท ข้าวโป่ง ข้าวต้มมัด ข้าวหลาม ขนมข้าวพอง ข้าวกระยาสารท


61. บักม่วย
เป็นข้าวเหนียว ในกลุ่มข้าวไวต่อช่วงแสง ต้นสูง 125 เซนติเมตร ออกดอก ประมาณ วันที่ 9 พฤศจิกายน ทรงกอแบะ คอรวงยาว รวงแน่น ลำต้นค่อนข้างแข็ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ก้นจุด ข้าวหุงสุกนุ่มเหนียว


62. เหลืองควายล้า
เป็นข้าวเจ้า นาสวน ต้นข้าวสูงมาก กอตั้ง แตกกอปานกลาง ใบสีเขียว มีขนบนแผ่นใบ เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล วันออกดอกปลายเดือนพฤศจิกายน


63. เหลืองทุเรียน
เป็นข้าวเจ้า นาสวน ต้นข้าวสูงมาก กอตั้ง แตกกอปานกลาง ใบสีเขียวเข้ม มีขนบนแผ่นใบ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง วันออกดอกปลายเดือนตุลาคม หุงแล้วข้าวสุกร่วน


64. แดง
เป็นข้าวเหนียว ไวต่อช่วงแสง เมื่อโตเต็มที่จะสูงประมาณ 153 เซนติเมตร วันออกดอกอยู่ประมาณ วันที่ 9 ตุลาคม ทรงกอแบะ แผ่นใบสีเขียวมีขน ปล้องมีสีเหลืองอ่อน คอรวงยาว รวงแน่น ระแง้ถี่ ยอดเกสรตัวเมียมีสีขาว ยอดดอกสีแดง ลำต้นค่อนข้างแข็งแรง ข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 3.26 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกเป็นสีน้ำตาล มีความยาวเมล็ดประมาณ 9.12 มิลลิเมตร กว้าง 3.57 มิลลิเมตร หนา 2.29 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง มีความยาว 6.29 มิลลิเมตร กว้าง 2.76 มิลลิเมตร หนา 2.00 มิลลิเมตร เมื่อหุงเป็นข้าวสุกจะนุ่มเหนียว
- แหล่งเก็บรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ กิ่งอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน


65. ไข่มดริ้น
เป็นข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง โตเต็มที่ต้นสูงประมาณ 130 เซนติเมตร วันออกดอก ประมาณ วันที่ 12 มกราคม ลักษณะทรงกอตั้ง แผ่นใบเป็นสีเขียวมีขนบ้าง ปล้องมีสีเหลืองอ่อน คอรวงยาว ระแง้ถี่ ยอดเกสรตัวเมียมีสีขาว ยอดดอกเป็นสีเขียวอ่อน ข้าวเปลือก 100 เมล็ด หนัก 3.60 กรัม

คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
- เมล็ดข้าวเปลือกมีสีน้ำตาล มีความยาวเมล็ดประมาณ 9.01 มิลลิเมตร กว้าง 2.54 มิลลิเมตร หนา 1.93 มิลลิเมตร
- เมล็ดข้าวกล้อง มีความยาว 6.72 มิลลิเมตร กว้าง 2.24 มิลลิเมตร หนา 1.64 มิลลิเมตร ท้องไข่น้อย มีปริมาณอะมิโลส 21.77 เปอร์เซ็นต์
-แหล่งเก็บรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง


66. เก้าแปด
เป็นข้าวเหนียว ลักษณะทรงกอแบะ เมล็ดข้าวเปลือกสีเหลือง โตเต็มที่ความสูงประมาณ 96.2 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี

- ข้าวเปลือกมีความยาว 10.25 มิลลิเมตร กว้าง 3.51 มิลลิเมตร จุดเด่นของข้าว รวงใหญ่ รับประทานดี
- แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น


67. อีมุม
เป็นข้าวเหนียว ลักษณะทรงกอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางร่องดำ โตเต็มที่ความสูงประมาณ 177.8 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนตุลาคม

- แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร


68. ดอเปียง
เป็นข้าวเหนียว ลักษณะทรงกอแบะ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาล โตเต็มที่ความสูงประมาณ 145.8 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนตุลาคม
- จุดเด่น เมล็ดสั้นป้อม ต้านทานโรคและแมลงปานกลาง
- แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่


69. ลูกดำ
เป็นข้าวเจ้า ลักษณะทรงกอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล โตเต็มที่ความสูงประมาณ 133.6 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนมกราคม

- จุดเด่น ให้ผลผลิตค่อนข้างดี สามารถต้านทานโรคและแมลงได้ดี คุณภาพในการหุงต้มดี
- แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดพระนครศรีธรรมราช


70. ช่อกระดังงา
เป็นข้าวเจ้า ลักษณะทรงกอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางกระดำ โตเต็มที่ความสูงประมาณ 137.8 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนมกราคม

- แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดอุดรธานี


71. หางนาค
เป็นข้าวเหนียว ลักษณะทรงกอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาล โตเต็มที่ความสูงประมาณ 163 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนตุลาคม

- จุดเด่น เป็นข้าวที่หุงต้มดี
- แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี


72. ต้นแข็ง
เป็นข้าวเหนียว ลักษณะทรงกอแบะ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาล โตเต็มที่ความสูงประมาณ 159.6 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนตุลาคม

แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่


73. เล็บช้าง
เป็นข้าวเหนียว ลักษณะทรงกอแบะ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาล โตเต็มที่ความสูงประมาณ 147 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนตุลาคม

แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่


74. ลายแดง
เป็นข้าวเจ้า ลักษณะทรงกอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางขีดน้ำตาล โตเต็มที่ความสูงประมาณ 135 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนกันยายน

- จุดเด่น สีเปลือกแดง คุณภาพข้าวดี
- แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่


75. พานทอง
เป็นข้าวเจ้า ลักษณะกอแบะ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง โตเต็มที่ความสูงประมาณ 175 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนธันวาคม

- เมล็ดข้าวเปลือก ความยาวประมาณ 9.98 มิลลิเมตร กว้าง 2.5 มิลลิเมตร
- แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


76. ขาวราชินี
เป็นข้าวเจ้า ลักษณะกอแผ่ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง โตเต็มที่ความสูงประมาณ 225 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนธันวาคม

- เมล็ดข้าวเปลือก ความยาวประมาณ 11.1 มิลลิเมตร กว้าง 2.8 มิลลิเมตร
- แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


77. เหลืองกรุงเทพ
เป็นข้าวเจ้า ลักษณะกอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีเหลือง โตเต็มที่ความสูงประมาณ 179 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนตุลาคม

- เมล็ดข้าวเปลือก ความยาวประมาณ 10.1 มิลลิเมตร กว้าง 2.8 มิลลิเมตร
- แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก


78. ลำยอง
เป็นข้าวเจ้า ลักษณะกอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง โตเต็มที่ความสูงประมาณ 115 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนกันยายน

- เมล็ดข้าวเปลือก ความยาวประมาณ 10.8 มิลลิเมตร กว้าง 2.5 มิลลิเมตร
- แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก


79. เหรียญทอง
เป็นข้าวเหนียว ลักษณะกอแบะ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาล โตเต็มที่ความสูงประมาณ 182 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนตุลาคม

- เมล็ดข้าวเปลือก ความยาวประมาณ 3.7 มิลลิเมตร กว้าง 3.65 มิลลิเมตร
- แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก


80. ดอกมะเขือ
เป็นข้าวเหนียว ลักษณะกอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง โตเต็มที่ความสูงประมาณ 131 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนตุลาคม

- เมล็ดข้าวเปลือก : ความยาวประมาณ 9.77 มิลลิเมตร กว้าง 3.41 มิลลิเมตร
- แหล่งรวบรวมพันธุ์ : อยู่ที่ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่


81. ทองใบสี
เป็นข้าวเจ้า ลักษณะกอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง โตเต็มที่ความสูงประมาณ 164 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายน

- เมล็ดข้าวเปลือก ความยาวประมาณ 11.5 มิลลิเมตร กว้าง 2.59 มิลลิเมตร
- แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร


82. สามสี
เป็นข้าวเหนียว ลักษณะกอแบะ เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล โตเต็มที่ความสูงประมาณ 149 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนตุลาคม

- เมล็ดข้าวเปลือก ความยาวประมาณ 9.91 มิลลิเมตร กว้าง 3.06 มิลลิเมตร
- แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง


83. โพธิ์เงิน
เป็นข้าวเจ้า ลักษณะกอแบะ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง โตเต็มที่ความสูงประมาณ 160 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนธันวาคม

- เมล็ดข้าวเปลือก ความยาวประมาณ 10.6 มิลลิเมตร กว้าง 2.7 มิลลิเมตร
- แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง


84. ศรีสงคราม
เป็นข้าวเจ้า ลักษณะกอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง โตเต็มที่ความสูงประมาณ 152 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายน

- เมล็ดข้าวเปลือก ความยาวประมาณ 10.4 มิลลิเมตร กว้าง 2.57 มิลลิเมตร
- แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี


85. พม่าแหกคุก
เป็นข้าวเจ้า ลักษณะกอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง โตเต็มที่ความสูงประมาณ 208 เซนติเมตร วันออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายน

- เมล็ดข้าวเปลือก ความยาวประมาณ 9.82 มิลลิเมตร กว้าง 2.93 มิลลิเมตร
- แหล่งรวบรวมพันธุ์ อยู่ที่ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา



ทั้งหมดนี้ เป็นข้าว 85 สายพันธุ์ ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงหนึ่งมหัศจรรย์ที่นำมาเพียงเพื่อจัดแสดงเท่านั้น แต่ยังเป็นการร่วมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 85 พรรษา อีกทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมการข้าว มีเป้าหมายส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรหันมาพึ่งพาการทำการเกษตรแบบยั่งยืนตาปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการทำนาเกษตรอินทรีย์ที่ไม่พึ่งพาสารเคมี รวมถึงการจำหน่ายข้าวอินทรีย์ในราคาย่อมเยา ส่งตรงจากเกษตรกรกลุ่มผู้ผลิต



http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05036150256&srcday=&search=no[size=12][/s


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/03/2013 3:23 pm, แก้ไขทั้งหมด 54 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 05/03/2013 11:16 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

192. กรมข้าวจับมือ 6 หน่วยงานเกษตรฯ สานต่อโครงการจัดระบบปลูกข้าว





การทำนาของเกษตรกรไทยในยุคปัจจุบันที่ปลูกข้าวต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนมากๆ จะได้เข้าโครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ดของรัฐบาล โดยไม่คำนึงถึงอนาคตว่าผืนนาจะเสื่อมโทรม น้ำจะไม่พอใช้ แมลงศัตรูข้าวจะระบาดมากขึ้นหรือไม่ หรือปัญหาที่จะตามมาอีกนานัปการ ซึ่งการกระทำที่มองแต่ผลตอบแทนเป็นแรงขับนี้เองนับเป็นความเสี่ยงอย่างมาก ถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปรับรองว่าผลกระทบจะต้องเกิดขึ้นกับอาชีพกระดูกสันหลังของชาติ และกระทบต่อการเป็นผู้ส่งออกข้าวของโลกอย่างแน่นอน

นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า การทำนาของชาวนาไทยมีปัญหาสะสมมานาน ซึ่งล้วนแต่เป็นความเสี่ยงที่ก่อให้ไม่เกิดความมั่นคงในอาชีพ โดยสามารถจำแนกปัญหาออกเป็นเรื่องน้ำ โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำ ข้าวเป็นพืชใช้น้ำมาก และยิ่งมีการปลูกข้าวต่อเนื่องและปลูกข้าวไม่พร้อมกันในบริเวณใกล้เคียงกัน ส่งผลกระทบต่อแผนการจัดสรรน้ำ ที่สำคัญจากข้อมูลกรมชลประทานพบว่าลุ่มน้ำเจ้าพระยาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ปัญหาดินเสื่อมโทรม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก เพราะชาวนาปลูกข้าวแบบไม่มีการพักแปลงนา มีน้ำขังตลอดเวลา และใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีจำนวนมาก ทำให้ทรัพยากรดินเสื่อมโทรมผลผลิตจึงตกต่ำ เมื่อต้องการเพิ่มผลผลิตก็ต้องเพิ่มปริมาณการใช้ปุ๋ยและสารเคมี ก็ไปส่งผลต่อต้นทุนที่สูงขึ้น ถึงจะปลูกข้าวได้ผลผลิตมากก็ไม่มีกำไร


นอกจากนี้ จากพฤติกรรมทำนาต่อเนื่องตลอดทั้งปี และการใช้เทคโนโลยีและปัจจุบันการผลิตในปริมาณมาก ทั้งปุ๋ยเคมี สารเคมีในการควบคุมโรคแมลงศัตรูข้าว ทำให้ศัตรูธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ถูกทำลายไปด้วย จึงเกิดปัญหาระบบนิเวศน์ในนาข้าวถูกทำลาย สมดุลทางระบบนิเวศน์สูญเสียไป ซึ่งก็นำไปสู่ปัญหาเดิมๆ คือการระบาดทำลายของแมลงศัตรูข้าวนั่นเอง อีกปัญหาสำคัญคือโรคและแมลงศัตรูพืช โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แม้ว่าขณะนี้จะพบการระบาดน้อยลง เนื่องจากกรมการข้าวมีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น พันธุ์ กข 29 กข 31 กข 41 กข 47 แต่เมื่อวันหนึ่งเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถปรับตัวได้ก็จะย้อนกลับมาทำลายผลผลิตข้าวอีก

ปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น นับเป็นปัญหาเรื้อรังมานาน และสร้างความสูญเสียให้กับชาวนาและประเทศชาติ แต่ทั้งหมดสามารถแก้ไขได้เบ็ดเสร็จและยั่งยืนด้วย การจัดระบบปลูกข้าว เพราะการปลูกข้าวปีละ 2 ครั้ง ตลอดจนปลูกข้าวพร้อมกันในพื้นที่เดียวกันในโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา สามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนการพักแปลงนาและปลูกพืชปรับปรุงบำรุงดินนั้นจะแก้ปัญหาดินเสื่อมโทรม เมื่อดินอุดมสมบูรณ์ก็ลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมี ทำให้ต้นทุนการผลิตของชาวนาลดลง ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อมีการเว้นปลูกข้าว จึงเป็นการตัดวงจรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและศัตรูข้าวต่างๆ ระบบนิเวศน์ในนาข้าวก็จะกลับมาสมดุลธรรมชาติดูแลกันเองอย่างที่ควรจะเป็น

โครงการจัดระบบปลูกข้าว ที่ 7 หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้บูรณาการเพื่อดำเนินการโครงการนำร่องมาตั้งแต่ปี 2554 จนถึงขณะนี้พบว่าชาวนาที่เข้าร่วมโครงการตอบรับดีมาก เนื่องจากผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิตต่ำลง และปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลลดลง โดยในปี 2556 มีเป้าหมายจะดำเนินการต่อ 1.2 ล้านไร่ ในพื้นที่ 13 จังหวัด รวม 18 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา/โครงการชลประทาน ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี และฉะเชิงเทรา ส่วนปี 2557 ดำเนินการเพิ่มอีก 1.5 ล้านไร่ ก็จะสิ้นสุดโครงการนำร่อง อย่างไรก็ตาม หลังจากโครงการนำร่องจบลง กรมการข้าวมีแนวคิดว่าจะทำโครงการขยายผลต่อเนื่อง เพื่อให้มีพื้นที่จัดระบบปลูกข้าวครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายที่วางไว้คือ 9 ล้านไร่ ใน 22 จังหวัด ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน

“หัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหาข้าว ทั้งเรื่องการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพข้าวของประเทศไทยจะสำเร็จได้นั้นต้องเริ่มต้นจากการจัดระบบปลูกข้าวใหม่ เพราะระบบปลูกข้าวสามารถตอบโจทย์ได้ทุกอย่าง ดังนั้น จึงอยากฝากไปยังพี่น้องชาวนาให้ความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรฯ ในการเข้าสู่การจัดระบบปลูกข้าว ซึ่งผมมั่นใจว่าการผลิตข้าวของชาวนาไทยจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น และที่สำคัญประเทศไทยจะยังเป็นหนึ่งในโลกต่อไป” อธิบดีกรมการข้าว กล่าวย้ำ


ที่มา : แนวหน้า



http://www.thaifinbiz.com/sme_newsdetail.php?smes_tag=2&smes_id=5643
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 05/03/2013 3:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

193. เปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว


ทำนาใช้น้ำน้อย ช่วยลดโลกร้อน ช่วยป้องกันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแก้ปัญหานาหล่ม ข้าวไม่ล้มตอนเก็บเกี่ยว

ทำไมต้อง : เปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว (AWD5/-15) : ว่าแล้วก็ลองไตร่ตรองด้วยเหตุและผลว่า "ทำไม่ได้ หรือ ไม่ได้ทำ" หรือว่าจะทนๆบ่นๆ กันไป ข้าวก็ข้าวของเรา นาก็นาของเรา ใครก็ช่วยเราไม่ได้ นอกจากตัวเอง นะครับ


แนวทางหนึ่งที่ผสมผสานจากงานวิชาการ และปฎิบัติจริงในพื้นที่ ที่ขอแนะนำ คือ

"เปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว ซึ่งก็คือ การควบคุมระดับน้ำในแปลงนา + ผสมผสานเทคโนโลยี ที่ทำได้ด้วยตัวเอง"

น้ำคุมหน้าดิน 5 เซน และปล่อยให้แห้ง ลงไป 15 เซน ให้หน้าดินแตกระแหง ตามรูป ตอบโจทย์ ทำนาเเบบใส่ใจทรัพยากรโลก ช่วยลดโลกร้อน ช่วยแก้ปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแก้ปัญหานาหล่ม


ข้อดี และการปฎิบัติ
ทำได้ตั้งแต่ สัปดาห์ที่สอง – เว้นช่วงข้าวตั้งท้อง – ปล่อยให้แห้งก่อนการเก็บเกี่ยว 15-20 วัน

1. ความชื้นที่โคนกอข้าว ต่ำ อุณหภูมิหน้าผิวดิน จะสูงๆ ต่ำ ๆ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลไม่ชอบ (ไปหาเเปลงอื่นลงแทน)
2. ต้นข้าว จะไม่อวบน้ำ ผนังเซลล์จะแข็งแรง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลก็ไม่ชอบอีก
3. หน้าดินแตกระแหง รากข้าวได้ออกซิเจนมากขึ้น ทำให้ต้นข้าวแข็งแรง ต้านทานโรคและเเมลง
4. ระบบราก ทำงานอย่างเต็มที่ มีการแตกกอดี
5. หน้าดินได้มีเวลา เซทตัว ลดปริมาณน้ำในแปลงนาข้าวลง ช่วยลดปัญหานาหล่ม ดูแล และทำงานในเเปลงนาได้ง่าย ไม่หน่ายแรงงาน

6.หลังจากหน้าดินแตก ก็ค่อยใส่ปุ๋ยลงไปในนา ปุ๋ยจะลงไปในรอย crack (เหมือนกับการฝังปุ๋ยไว้ในดิน ทำให้รากข้าวดูดซึมสารอาหารได้เต็มที่ การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพมากขึ้น) ดีกว่าการหว่านแบบเดิม ที่เม็ดปุ๋ยอยู่หน้าดิน รากไม่เจอปุ๋ย และทำให้รากข้าวลอย มีการคายประจุ ออกไปในอากาศ ข้าวไม่ได้สารอาหารเต็มที่

7. เติมน้ำลงในแปลงนา ปุ๋ยที่อยู่ในดิน ละลายน้ำ ต้นข้าว กินอย่างหิวกระหาย –ต้นข้าวแข็งแรง
8. หากมีหญ้าขึ้นระหว่างแถว ก็พรวนดิน เพิ่มออกซิเจนให้รากข้าว กำจัดหญ้า พร้อมฝังปุ๋ยไว้ในนา ไปในตัว ด้วย Rotary weeder ครับ (ทำหลังจากปล่อยน้ำเข้านาให้ซึมเข้าหน้าดิน)

9. เลี้ยงเป็ด ในร่องนาดำ (บ้านที่มีคนอยู่ปลวก แมลงไม่ขึ้นบ้าน แปลงนามี เป็ดอยู่ ก็จะมีเสียง และคลื่นความร้อน รบกวนการอยู่ของแมลง)

10. ต้นข้าวจะโตทางข้าง (แตกกอ) และล่าง (รากลงล่าง ช่วยหากินเลี้ยงลำต้น) ทำให้ไม่ต้องยืดตัว "หนีน้ำ" ต้นข้าว ไม่ล้ม เวลาเก็บเกี่ยว ชาวนาก็ได้ข้าวเพิ่มขึ้น !!!


ข้อจำกัด
1. เปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว ทำได้ ในพื้นที่ ควบคุมน้ำได้ และมีต้นทุนเอาน้ำเข้านาต่ำ เช่นพื้นที่ชลประทาน
2. ไม่เหมาะสำหรับพื้นที่ดินเค็ม อาจทำให้ข้าวตายได้
3. งดเว้น การปล่อยน้ำให้แห้ง “ช่วงข้าวตั้งท้อง”
4. ปล่อยให้หน้าดินแห้งต่อก่อนการเก็บเกี่ยว 15 วัน
5. ดินที่เหมาะ คือ ดินที่ ไม่เผาตอฟางข้าว (มีอินทรียวัตถุในดินให้ข้าว เลี้ยงตัวระหว่างหน้าดินแห้ง )

ว่าแล้วก็ลองไตร่ตรองด้วยเหตุและผล ว่า "ทำไม่ได้ หรือ ไม่ได้ทำ" หรือว่าจะทนๆบ่นๆกันไป ข้าวก็ข้าวของเรา นาก็นาของเรา ใครก็ช่วยเราไม่ได้ นอกจากตัวเอง นะครับ>>>

บันทึกจากริมคันนา จ.นครสวรรค์ กำเเพงเพชร





คลิกดูภาพประกอบ....
http://www.gotoknow.org/posts/436181




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 05/03/2013 4:08 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 05/03/2013 9:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

194. ปลูกข้าวเมล็ดเดียว หนึ่งต้นกล้า หนึ่งกอ






นายอ่าง เทียมสำโรง เกษตรกร หมู่ 6 บ้านกลาง ต.บ่อปลาทอง อ. ปักธงชัย จ.นครราชสีมา เป็นหนึ่งของเกษตรกรที่หันมาทำการเกษตรในระบบเกษตรอินทรีย์และประสบความสำเร็จตามเป้าหมายโดยมี สหกรณ์ลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมาให้การส่งเสริมและสนับสนุน

นายอ่างได้เล่าให้ฟังว่าตนใช้พื้นที่ 3 ไร่ ปลูกข้าวหอมมะลิ 105 โดยทำเป็นเกษตรอินทรีย์ ด้วยวิธีใช้ต้นกล้าต้นเดียวจากเมล็ดพันธุ์เมล็ดเดียวต่อข้าวหนึ่งกอ โดยเริ่มต้นจากการเตรียมเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ คัดเลือกเมล็ดข้าวที่สมบูรณ์ คือ อวบ ใส และมีตาข้าว แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำประมาณ 12-24 ชั่วโมง ในน้ำอุ่น 30-40 องศาเซลเซียส จากนั้นผึ่งลมให้แห้ง แปลงเพาะกล้าทำเหมือนแปลงผัก ผสมปุ๋ยคอกเพื่อให้ดินร่วนซุย เอาฟางคลุมรดน้ำให้ชุ่มชื้นในช่วงเช้าและเย็น

เตรียมแปลงปักดำหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยไถกลบตอซัง แล้วบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ หว่านในนา ปรับที่นาให้ได้ระดับเดียวกัน ทำร่องน้ำตามขอบคันนาเพื่อช่วยในการระบายน้ำเข้า-ออก ปล่อยน้ำเข้าแปลงนาให้ดินเป็นโคลนเหนียวข้น จากนั้นไปถอนกล้าเป็นกล้าที่มีอายุ 8-12 วัน มีใบ 2 ใบ ถอนเบาๆ ตรงโคนต้น ไม่ให้ต้นกล้าหลุดออกจากเมล็ดพันธุ์และให้มีดินเกาะรากไว้นิดหน่อย และรีบนำกล้าไปปักดำทันที ภายใน 15-30 นาที

ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับโคนราก แล้วนำไปปักให้รากอยู่ในแนวนอนลึกประมาณ 1 เซนติเมตร ปักดำกล้าทีละต้น ให้มีความห่างของระยะต้นไม่น้อยกว่า 25 เซนติเมตรเท่า ๆ กัน จนเหมือนสี่เหลี่ยมจัตุรัส ปักดำในระยะห่าง 30 x 30 เซนติเมตร สำหรับแปลงนาขนาดเล็ก หรือ 40 x 40 เซนติเมตร สำหรับแปลงนาขนาดใหญ่ ปล่อยน้ำเข้านาให้สูง 2 เซนติเมตรทุก ๆ เช้า แล้วปล่อยออกในช่วงบ่าย หรือสามารถปล่อยทิ้งให้นาแห้งประมาณ 2-6 วัน เมื่อข้าวแตกกอ ปล่อยให้แปลงข้าวแห้งลงไปในเนื้อดิน จนเป็นรอยแตกบนผิวโคลน


ขณะที่ข้าวตั้งท้องจนเริ่มออกรวง ปล่อยให้น้ำท่วมสูงประมาณ 1-2 เซนติเมตร ทันทีที่ต้นข้าวเริ่มลู่ลง เพราะน้ำหนักของเมล็ดข้าว ก็จะปล่อยน้ำออกจากนาจนกว่าจะแห้งและถึงเวลาเก็บเกี่ยว กำจัดวัชพืช 3 ครั้ง

ครั้งที่ 1 เมื่ออายุข้าว 10 วัน
ครั้งที่ 2 เมื่ออายุข้าว 25-30 วัน
ครั้งที่ 3 เมื่ออายุข้าว 50-60 วัน

โดยการถอนด้วยมือ สำหรับการกำจัดศัตรูของข้าว เช่น ปู หอยเชอรรี่ เลี้ยงกบ และเป็ดในนาข้าว เพื่อกินศัตรูพืชเหล่านั้นแต่เมื่อข้าวออกรวงจะไม่ให้เป็ดเข้านา

ประโยชน์และผลดีในการใช้กล้าอายุสั้นและปักดำต้นเดียวต้นกล้าที่มีอายุ 8-12 วัน หรือมีใบเล็ก ๆ สองใบ และยังมีเมล็ดข้าวอยู่นั้น จะช่วยให้ประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตดีและการผลิตหน่อจะมีมาก การใช้กล้าต้นเดียวปักดำ จะช่วยในการแพร่ขยายของราก สามารถดูดซับธาตุอาหารได้ดีกว่าปลูกกล้าหลายต้น การปักดำให้ปลายรากอยู่ในแนวนอน ปลายรากจะชอนไชลงดินได้ง่ายและทำให้ต้นข้าวตั้งตัวได้เร็ว การปักดำในระยะห่างช่วยให้รากแผ่กว้างและได้รับแสงแดดมากขึ้น ง่ายต่อการกำจัดวัชพืช และประหยัดเมล็ดพันธุ์ ทำให้ข้าวแตกกอใหญ่

และการปล่อยให้ข้าวเจริญเติบโตในดินที่แห้งสลับเปียกทำให้ข้าวสามารถดึงออกซิเจนจากอากาศได้โดยตรง และรากของต้นข้าวสามารถงอกยาวออกเพื่อหาอาหาร ประหยัดเมล็ดพันธุ์ในการเพาะปลูก ประหยัดน้ำได้ครึ่งหนึ่งจากการทำนาแบบปกติ สามารถใช้ได้กับทุกสายพันธุ์ข้าว แต่หากต้องการผลผลิตสูงควรเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ และสภาพอากาศและจากประสบการณ์ของ นายอ่าง เทียมสำโรง เกษตรกรสมาชิกสหกรณ์ ลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา พบว่าหากเป็นนาอินทรีย์ ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 60% ประหยัดแรงงานในการลงกล้า ประหยัดต้นทุนในการผลิต การกำจัดวัชพืชทำได้ง่าย เพราะมีช่องว่างระหว่างกอข้าว หรือการควบคุมน้ำเข้า-ออกทำได้ตามที่ต้องการ เมื่อได้ข้าวมากจากต้นทุนที่ต่ำก็แน่นอนว่ากำไรก็ย่อมที่จะเพิ่มขึ้นกว่าการปลูกด้วยวิธีเดิม ๆ และผลผลิตจากการปลูกข้าวในระบบนี้ของนายอ่าง ทางสหกรณ์ลำพระเพลิงได้เข้ามาสนับสนุนในการส่งเสริมการขายด้วย.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/162686
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 06/03/2013 1:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

195. สลายตอซังข้าวด้วยเชื้อ 'จุลินทรีย์' ลดต้นทุน-รักษาระบบนิเวศ

สุรัตน์ อัตตะ





การเผาตอซังข้าว ไม่เพียงแต่สูญเสียทางระบบนิเวศวิทยาเท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งความเสื่อมสภาพของดิน ทำลายแมลงและจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน ที่เป็นหัวใจหลักในการผลิตพืชอาหารทางการเกษตร โดยเฉพาะข้าว ส่งผลทำให้เกษตรกรต้องใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่สุงขึ้นด้วย ทำให้มีชาวนาจำนวนไม่น้อยต้องปรับตัวเอง ลด ละ เลิก เผาตอซังหันมาสู่การปลูกข้าวในแบบวิถีธรรมชาติที่อาจจะต้องใช้ความอดทนในช่วงแรก แต่หลังจากนั้นเมื่อดินดี ผลผลิตก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

การไถกลบตอซังจึงเป็นอีกวิธีที่ชาวนาเลือกใช้ตามนโยบายของรัฐบาล เป็นการนำเศษซากพืชหมุนเวียนกลับลงสู่ดิน ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน ทำให้ดินฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ มีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูก และยังช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีได้อีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยหลายชิ้นที่สรุปไว้ว่า การไถกลบตอซังเป็นวิธีการจัดการดินที่เหมาะสม สามารถช่วยบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน และยังช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินได้อีกด้วย

กำพล พิกุล ประธานอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อ.ก.ม.) ต.ดอยลาน อ.เมือง จ.เชียงราย หนึ่งในเกษตรกรหัวก้าวหน้าที่หันมาใช้วิธีการไถกลบตอซัง โดยใช้ผลิตภัณฑ์เชื้อจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ส่งผลให้เพิ่มผลผลิตข้าวในนาอย่างไม่น่าเชื่อ อีกทั้งยังช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่ามากที่สุด

"การนำผลิตภัณฑ์เชื้อจุลินทรีย์สลายตอซังใช้ในแปลงนา มีขั้นตอนปฏิบัติที่ไม่ยุ่งยาก หลังจากเกี่ยวเก็บข้าวเสร็จให้ปล่อยน้ำเข้าพื้นที่นาให้น้ำสูงประมาณ 10-15 ซม. หลังจากนั้นใช้รถแทรกเตอร์เหยียบตอซังข้าวให้จมน้ำ จากนั้นละลายผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ ผสมน้ำ 20 ลิตร ใส่ถังฉีดพ่นในแปลงนาขนาด 1 ไร่ จนทั่วแปลง"

กำพลอธิบายต่อว่า จากนั้นเชื้อจุลินทรีย์จะย่อยสลายตอซังข้าว, ฟางข้าว และเมล็ดข้าวดีดในแปลงนาเปื่อยยุ่ยและย่อยสลายไปเองตามธรรมชาติภายใน 5-7 วัน หลังจากนั้นให้ปล่อยน้ำออกจากนาและเตรียมดินเริ่มเพาะปลูกข้าวได้ตามปกติ เชื้อจุลินทรีย์จะช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในเนื้อดิน ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น และช่วยขจัดปัญหาการแพร่ระบาดของข้าววัชพืช หรือ ข้าวดีด ข้าวเด้ง ได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้การใช้ผลิตภัณฑ์เชื้อจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซัง จะทำให้มีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 300-350 บาทต่อไร่ โดยจำแนกค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนี้ ค่าสูบน้ำ, ค่าแรงการสาดพ่น, ค่าเช่ารถไถ, ค่าผลิตภัณฑ์ เป็นต้น แต่ก็คุ้มค่ากับการลงทุน เนื่องจากได้ปริมาณข้าวเปลือกเพิ่มขึ้นถึงหนึ่งเท่าตัว แถมช่วยประหยัดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีได้ค่อนข้างมาก จากเดิมที่เคยใช้ปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 80 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะนี้ใช้ปุ๋ยเพียง 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ และต้นข้าวก็มีใบเขียว แข็งแรง ทนทานต่อโรคและแมลง อีกทั้งยังช่วยประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายเรื่องสารเคมีได้อีกทางหนึ่ง

"เมื่อก่อนนาข้าวของผมมีผลผลิตเฉลี่ย 500-600 กิโลกรัมต่อไร่ แต่หลังจากทดลองใช้เทคนิคการทำนารูปแบบใหม่ โดยใช้ผลิตภัณฑ์เชื้อจุลินทรีย์สลายตอซังมาใช้ในแปลงนาภายหลังการเก็บเกี่ยว แทนการเผาตอซังข้าว ตามคำแนะนำของเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย ปรากฏว่าแปลงนาของผมมีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 1 เท่าตัว หรือเฉลี่ยประมาณ 1,200 กิโลกรัมต่อไร่" กำพลกล่าวอย่างภูมิใจ

พร้อมย้ำว่า ทุกวันนี้กลุ่มเกษตรกรใน ต.ดอยลานจำนวน 2,000 ราย ต่างเล็งเห็นประโยชน์ของผลิตภัณฑ์เชื้อจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังข้าว จึงนำเชื้อจุลินทรีย์มาใช้ในแปลงนา ที่มีเนื้อที่รวมกันประมาณ 5,000 ไร่ กันอย่างแพร่หลาย สำหรับเกษตรกรหรือผู้สนใจผลิตภัณฑ์เชื้อจุลินทรีย์สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.0-2513-8283-4, 08-5296-4497 ได้ตลอดเวลา




http://www.komchadluek.net/detail/20121108/144193/%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 06/03/2013 3:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


196. ข้าวสังข์หยด เพาะงอก ตันละแสน



นายจักรกฤษณ์ สามัคคี ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเรียนรู้เกษตรธรรมชาติบางแก้ว จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาข้าวสังข์หยดที่ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบางแก้วเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 20,000-26,000 บาท/ตัน และยังมีแนวโน้มที่จะขยับสูงขึ้นอีก เนื่องจากตลาดมีความต้องการมาก เพราะข้าวสังข์หยดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบางแก้วประมาณ 250 ไร่ ผลิตตามกระบวนการจีไอทั้งหมด

ทั้งนี้ ตามยุทธศาสตร์ของจังหวัดพัทลุงกำหนดให้ทุกอำเภอปลูกข้าวสังข์หยด ในเบื้องต้นอำเภอละ 200 ไร่ คาดว่าในปีนี้จะมีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นประมาณอีก 30% จากพื้นที่เพาะปลูกที่มีอยู่แล้วประมาณ 20,000 ไร่ ซึ่งข้าวสังข์หยดไม่มีปัญหาการตลาด เพราะเป็นที่ต้องการของตลาดโดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่เน้นด้านสุขภาพ

นายจักรกฤษณ์กล่าวว่า ในปีนี้ทางกลุ่มได้เริ่มผลิตข้าวสังข์หยดเพาะงอกแล้ว โดยระยะแรกผลิตได้ประมาณ 300 กิโลกรัม/ เดือน โดยข้าวสังข์หยดเพาะงอกราคา ตันละ 100,000 บาท หรือกิโลกรัมละ 100 บาท เนื่องจากเป็นข้าวที่มีสารบากา มีประโยชน์ต่อสุขภาพและช่วยป้องกันโรค เช่น โรคมะเร็ง เส้นโลหิตในสมองแตก คลายเครียด โรคเบาหวาน เป็นต้น ซึ่ง ข้าวสังข์หยดบากาได้ผ่านการวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว

"เมื่อก่อนคนจะนิยมบริโภคข้าวสังข์หยดซ้อมมือ แต่ตอนนี้ได้หันมาบริโภคข้าวสังข์หยดกล่องเพราะให้คุณค่าทางอาหารได้ดีกว่า แต่ผู้บริโภครายใหม่ ๆ ก็เพิ่งมาบริโภคข้าวสังข์หยดซ้อมมือ แนวโน้มต่อไปจะมีการหันไปบริโภคข้าวสังข์หยดเพาะงอกเพิ่มขึ้นแน่นอน"

นาย จักรกฤษณ์กล่าวอีกว่า การปลูกข้าวสังข์หยดต้องครบถ้วนตามกระบวนการจีไอ และปราศจากสารเคมี ล่าสุดนี้ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเรียนรู้เกษตรธรรมชาติบางแก้ว ได้รับมอบโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์จำนวน 1 โรง จากกรมวิชาการเกษตรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้ประมาณ 40 ตัน/เดือน เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือผู้ผลิตข้าวสังข์หยด

ด้านนายไพรวัลย์ ชูใหม่ นักวิชาการ สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง กล่าวว่า ข้าวพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดพัทลุงกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น ได้แก่ ข้าวสังข์หยด ข้าวเล็บนก และข้าวเฉี้ยง เป็นต้น

อย่างไรก็ตามในปี ที่ผ่านมามีการนำพันธุ์ข้าวหอมนิลจากภาคกลางเข้ามาทำตลาดในจังหวัดพัทลุง ด้วย ซึ่งได้รับความนิยมจาก ผู้บริโภคมากขึ้นเช่นกัน โดยราคาจะต่ำกว่าข้าวสังข์หยดประมาณกิโลกรัมละ 3-5 บาท แต่มีสินค้าไม่ต่อเนื่อง และบางครั้งก็ ขาดตลาด




http://www.biothai.net/news/5043
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 7, 8, 9 ... 11, 12, 13  ถัดไป
หน้า 8 จากทั้งหมด 13

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©