-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 68, 69, 70 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 17/01/2013 8:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง....


1,835. ก๊าซมีเทนจากนาข้าว

1,836. “ดอกไม้กระป๋อง” ของขวัญลดโลกร้อน
1,837. นวัตกรรมเพาะเนื้อเยื่อต้นไม้ สู่ธุรกิจของขวัญของชำร่วย
1,838. จับต้นไม้แต่งตัวขึ้นห้างหรู มอบเป็นของขวัญทุกเทศกาล
1,839. ‘กฤษณา’ ไม้มงคลสร้างเงิน กลั่นเป็นน้ำมันหอมแพงระยับ
1,840. เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช

1,841. แหนแดง ผู้ผลิตปุ๋ยไนโตรเจนจากอากาศ
1,842. ปุ๋ยดินหมักชีวภาพ เพาะกล้าข้าวให้กล้างาม
1,843. สวนผักคนเมือง
1,844. ระบบเกษตรอินทรีย์ IFOAM
1,845. พืชที่เหมาะสมสำหรับที่สูงของไทย

1,846. สูตรปุ๋ยสำหรับการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์
1,847. "งาแดง" พันธ์ใหม่ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
1,848. ปลูกส้มเขียวหวาน 400 ไร่ ที่เมืองชาละวัน
1,849. ส้มสเปน
1,850. ปลูกเมล่อน คุณภาพดี ที่อยุธยา

1,851. เทคโนโลยีใหม่... เลี้ยงปลาในบ่อกุ้ง
1,852. ใช้เศษพืชคลุมดิน สู้ภัยแล้ง
1,853. เปิดตัว "ทีวี เกษตร" เพื่อส่งเสริมความรู้
1,854. เลี้ยงไก่ฟ้า "โกลเด้น" เชิงพาณิชย์
1,855. นักวิจัย ไบโอเทค ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ

1,856. ชีวินทรีย์” ทางเลือกยั่งยืนเพื่อเกษตรกรไทย
1,857. วช.ยกย่อง 34 สิ่งประดิษฐ์แห่งปี
1,858. มังคุด แปลงร่างสร้างค่า
1,859. สื่อนอกตีข่าว กาแฟขี้ช้างไทย แพงสุดในโลก โลละ 34,000 บ.



----------------------------------------------------------------------------------------------




1,835. ก๊าซมีเทนจากนาข้าว


รวมบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ :
ก๊าซมีเทนเป็นก๊าซเรือนกระจกชนิดหนึ่งที่มีผลทำให้โลกร้อนขึ้น โดยนาข้าวเป็นแหล่งหนึ่งที่ปล่อยก๊าซมีเทนเนื่องจากกิจกรรมมนุษย์ การศึกษาการปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวชนิดนาสวนและนาข้าวขึ้นน้ำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการโดยวางแผนการทดลองแบบ randomized complete blocks ทำ 3 ซ้ำ ปลูกข้าวแบบนาหว่านด้วยวิธีการปลูกข้าวชนิดนาสวน

- ใช้ข้าวพันธุ์ กข23, พันธุ์สุพรรณบุรี 90 และวิธีการปลูกข้าวชนิดนาข้าวขึ้นน้ำ
- ใช้ข้าวพันธุ์หันตรา 60, พันธุ์เล็บมือนาง 111
- เก็บตัวอย่างก๊าซมีเทนโดยใช้กล่องครอบดักก๊าซใน 4 ระยะการเจริญเติบโตของต้นข้าว คือ ระยะแตกกอ ระยะตั้งท้อง ระยะสร้างเมล็ด ระยะเมล็ดแก่ 6 ช่วงเวลา ตั้งแต่เวลา 6.00 ถึง 22.00 นาฬิกา

วิเคราะห์ตัวอย่างก๊าซมีเทนด้วยวิธี gas chromatography (Flame Ionization Detector, FID)

ผลการศึกษาพบว่า การปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวชนิดนาสวนและนาข้าวขึ้นน้ำตลอดฤดูกาล ปลูกข้าวของพันธุ์สุพรรณบุรี 90, พันธุ์ กข23, พันธุ์เล็บมือนาง 111 และพันธุ์หันตรา 60 คือ 68.666, 63.720, 32.870 และ 15.200 กรัมต่อตารางเมตร ตามลำดับ

หากประเมินการปล่อยก๊าซมีเทนจากพื้นที่ปลูกข้าวนาปีของประเทศไทยด้วยพันธุ์สุพรรณบุรี 90, พันธุ์ กข23, พันธุ์เล็บมือนาง 111 และพันธุ์หันตรา 60 คือ 5.539, 5.140, 2.652 และ 1.226 เทระกรัมต่อปี ตามลำดับ (1 เทระกรัม เท่ากับ 1 ล้านตัน)

ต้นข้าวเป็นทางผ่านก๊าซมีเทนสู่อากาศ อัตราเฉลี่ยของการปล่อยก๊าซมีเทนจากพื้นที่ปลูกข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 90, พันธุ์ กข23, พันธุ์เล็บมือนาง 111 และพันธุ์หันตรา 60 คือ 20.570, 18.920, 7.216 และ 3.332 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อชั่วโมง ตามลำดับ

ระยะตั้งท้องของต้นข้าวนั้นพันธุ์ กข23 และพันธุ์สุพรรณบุรี 90 มีอัตราการปล่อยก๊าซมีเทนสูงสุด ในขณะที่พันธุ์เล็บมือนาง 111 และพันธุ์หันตรา 60 เกิดขึ้นในระยะสร้างเมล็ด

ดังนั้นลำดับของอัตราการปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวสูงสุด คือ พันธุ์สุพรรณบุรี 90, พันธุ์ กข23, พันธุ์เล็บมือนาง 111 และพันธุ์หันตรา 60

ทั้งนี้ปัจจัยที่มีผลต่อการปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวทั้งสองวิธี คือ ต้นข้าว พันธุ์ข้าว ความสูงของพันธุ์ข้าว มวลชีวภาพของพันธุ์ข้าว ระดับน้ำภายในแปลงนา ความชื้นของดิน สภาพการขาดก๊าซออกซิเจนของดิน และความเป็นกรดเป็นด่างของดิน


วิไล, เตียวยืนยง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย


http://puparn.rid.go.th:8080/pikmas/handle/123456789/11450?mode=full


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2013 5:37 pm, แก้ไขทั้งหมด 25 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 20/01/2013 11:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,836. “ดอกไม้กระป๋อง” ของขวัญลดโลกร้อน





ในช่วงที่หลายๆ คนมองหาของขวัญเพื่อมอบให้กันวันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ดอกไม้กระป๋อง น่าจะเป็นของขวัญแนวใหม่ ที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้รับ โดยเฉพาะคนที่ชื่นชอบความสวยงามตามธรรมชาติของต้นไม้และดอกไม้ คงจะถูกใจกับดอกไม้กระป๋อง

นายปณิธิ ปิยสถิธรรม เจ้าของผลงาน เล่าว่า ดอกไม้กระป๋อง เป็นการนำพืชประเภทไม้ดอกไม้ประดับ เช่น พริก สะระแหน่ ดอกทานตะวันแคระ ต้นคริสต์มาส เป็นต้น มาเพาะปลูกอยู่ในกระป๋องที่คล้ายกับกระป๋อง เครื่องดื่ม ด้วยการนำเมล็ดมาเพาะกับอาหารของพืช เช่น กากหรือขุยของพืชต่างๆ และปุ๋ย ซึ่งเป็นสูตรที่ทำขึ้นมาเฉพาะสำหรับดอกไม้กระป๋อง และอาหารของพืชจะช่วยทำให้ต้นไม้เติบโตได้ในกระป๋อง และเมื่อโตเต็มที่สามารถนำไปขยายลงในกระถางได้




ทั้งนี้ เมื่อเตรียมทั้งเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ พร้อมกับอาหารของพืชและนำไปใส่ลงในกระป๋องแล้วก็ปิดฝา ภาพที่ออกมาเหมือนกับเครื่องดื่มกระป๋องทั่วๆไป แต่เป็นดอกไม้กระป๋อง สามารถเก็บไว้ได้เป็นปี และเมื่อต้องการจะปลูกต้นไม้ เพียงแค่เปิดฝากระป๋อง และรดน้ำ ต้นไม้ก็จะเจริญเติบโตเหมือนกับปลูกในกระถางทั่วๆไป ซึ่งพืชแต่ละชนิดใช้เวลาในการเพาะให้เติบโตแตกต่างกันออกไป เช่น สะระแหน่ หรือ พริก ใช้เวลาเพียง 6 วันถึง 10 วัน พืชก็โตสวยงาม หรือไม้ดอกบางชนิดใช้เวลานานถึง 2 สัปดาห์ หรือ บางชนิดใช้เวลานาน 2 เดือนถึง 3 เดือนกว่าจะออกดอก เช่น ดอกทานตะวันแคระ เป็นต้น




นอกจากไม้ดอกไม้ประดับแล้ว สินค้าที่ได้รับความนิยมอีกอย่างหนึ่ง คือ Magic Bean การเพาะถั่วในไข่ที่หล่อและปั้นขึ้นมาจากดิน (เครื่องปั้นดินเผา) และเมื่อนำไข่ไปแช่ในน้ำ น้ำจะซึมผ่านไข่ ทำให้เมล็ดถั่วอยู่ภายในงอก และดันเปลือกไข่แตกออกมา ซึ่งการเพาะถั่วจะเติบโตง่าย เร็ว และมีความสวยงาม โดยสามารถยิงเลเซอร์ตัวอักษรตามต้องการลงไปบนเมล็ดถั่ว เมื่อถั่วงอกออกมาก็จะปรากฎตัวอักษรหรือข้อความนั้น ทำให้ Magic Bean ได้รับความนิยมอย่างมาก ในการนำไปมอบให้กันเป็นของขวัญในช่วงวันสำคัญต่างๆ




“สินค้าทั้งหมด ผมเพิ่งจะเริ่มออกมาทำตลาดได้ประมาณ 1 เดือน โดยออกงานแรกในงานแสดงสินค้าเทศกาลต้อนรับปีใหม่ ที่จัดโดยกระทรวงพาณิชย์ ที่เมืองทองธานี ในช่วงที่ผ่านมา เหมือนกับเป็นการทดลองตลาด สินค้าทั้งหมดผมนำเข้ามาจากประเทศไต้หวัน แต่มีแผนที่จะผลิตออกมาจำหน่ายเองในเร็วๆ นี้ ซึ่งทุกอย่างได้เตรียมพร้อมแล้ว แต่เนื่องจากการออกงานครั้งแรกยังเตรียมแบรนด์ของตัวเองไม่ทัน และต้องการจะทดสอบตลาดคนไทยด้วยว่า ให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ชนิดนี้มากน้อยแค่ไหน”





ในส่วนของดอกไม้กระป๋องที่นำเข้ามานี้มีอยู่ด้วยกัน 6 ชนิด คือ Christmas Flower,Lavender, Bhut Jolokia,Venus Fly Trap ,Cherry Pepper , Peppermint ราคาจำหน่ายขึ้นอยู่กับชนิดของต้นไม้ โดยราคาเริ่มต้นที่กระป๋องละ 90 บาท ไปจนถึง 130 บาท หรือบางชนิดมีราคาสูงเป็นหลักหลายร้อยบาท ถ้าเป็นต้นไม้ที่เพาะได้ยาก เช่น ดอกทานตะวันแคระ ซึ่งจะเห็นว่าต้นไม้แต่ละชนิด เป็นต้นไม้ที่มีความหมายที่เหมาะกับหนุ่มสาวนำไปมอบให้กันในช่วงเทศกาลสำคัญ ต่างๆ

“สำหรับดอกไม้กระป๋องที่เป็นผลงานการผลิตของเรา สามารถเลือกชนิดของต้นไม้ได้มากกว่า เพราะบ้านเรามีพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับอยู่มากมายที่จะสามารถนำมาใช้เป็น ดอกไม้กระป๋องของเราได้ ทำให้ขยายกลุ่มลูกค้าได้กว้างขึ้น เช่น พืชผักสวนครัว โดยจะได้ลูกค้าในกลุ่มที่ไม่มีพื้นที่เพาะปลูกอย่างสังคมเมืองในปัจจุบัน และต้องการพืชผักสวนครัวแบบปลอดสารพิษไว้กินเองได้ โดยที่ไม่ต้องใช้พื้นที่มาก และในปัจจุบันคนในกลุ่มนี้ในบ้านเราก็เพิ่มมากขึ้น ซึ่งคิดว่าต้นไม้กระป๋องรองรับลูกค้ากลุ่มนี้ได้นอกเหนือจากกลุ่ม ที่จะนำไปมอบเป็นของขวัญในช่วงเทศกาลสำคัญ และในส่วนของเราที่ผลิตเอง ราคาก็จะไม่สูงมาก ราคาถูกลงมากกว่า 50% โดยราคาจะแพงที่ต้นทุนกระป๋องเพราะไม่สามารถผลิตเองได้ แต่ในส่วนเมล็ดพันธุ์ กับอาหารพืชในบ้านเราราคาถูกมาก”





อย่างไรก็ตาม คุณปณิธิ มองว่า จริงๆ แล้วสินค้าในกลุ่มนี้เหมาะสมกับลูกค้าในกลุ่มของวัยรุ่น เพราะชอบของแปลกใหม่ และสินค้าขายไอเดีย โดยดอกไม้กระป๋องสามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้ ดังนั้น ต้นไม้และะดอกไม้ที่เลือกมาใช้ จึงให้ความสำคัญกับความหมายที่แสดงถึงความรักของหนุ่มสาว ส่วนช่องทางการขายเป็นร้านกิ๊ฟชอป เพราะเป็นแหล่งชอปของวัยรุ่น และขายผ่านเว็บไซต์ ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นแหล่งชอปของคนในวัยทำงาน และวัยรุ่น เช่นกัน การขายผ่านอินเทอร์เน็ตมีข้อดี คือ ต้นทุนถูก และได้ลูกค้าครอบคลุมพื้นที่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

โทร. 08-3990-0364
อ้างอิงจาก ผู้จัดการออนไลน์



http://www.thaismefranchise.com/?p=2176
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 20/01/2013 11:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,837. นวัตกรรมเพาะเนื้อเยื่อต้นไม้ สู่ธุรกิจของขวัญของชำร่วย





ต้นไม้ ช่วยเติมความสดชื่นให้กับสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา ในช่วงเทศกาลแห่งการมอบของขวัญ ต้นไม้ได้จัดว่าเป็นหนึ่งในของขวัญที่หลายคนให้ความสนใจ เพื่อนำไปมอบให้กันในวันสำคัญ และการนำต้นไม้มาผูกโบว์ใส่กระเช้าเพื่อจัดเป็นของขวัญเป็นทางเลือกให้กับ ผู้เพาะเลี้ยงต้นไม้จำหน่าย และต้นไม้ของขวัญที่นำเสนอครั้งนี้เป็นครั้งแรกของการนำนวัตกรรมการเพาะ เนื้อเยื่อมาพัฒนาต่อยอดเป็นการค้าในรูปแบบของขวัญของชำร่วยของนายสมยศ มัคคภิญโญ ผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่นำความรู้จากการเรียนวิทยาศาสตร์ในห้องทดลองมาสร้าง เป็นอาชีพ

นายสมยศ ร่วมกับเพื่อนทำงานวิจัยด้านเพาะเนื้อเยื่อเป็นระยะเวลากว่า 3 -5 ปี ทำการศึกษาสูตรอาหารเพื่อให้เหมาะสมกับต้นไม้แต่ละชนิดในห้องทดลอง โดยได้ใช้เงินไปจำนวนหนึ่งทำห้องทดลองที่ปลอดเชื้อทั้งหมด เพื่อทำการเพาะเนื้อเยื่อต้นไม้จำหน่าย และความสวยงามของต้นไม้ขนาดเล็กที่ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อ ทำให้ “สมยศ” เกิด ไอเดียนำต้นไม้ที่ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อมาใส่ในขวดที่ออกแบบเป็นพิเศษและ ผูกโบว์ขายเป็นของชำร่วยในวันแต่งงานความมีชีวิตของต้นไม้ ทำให้ได้รับการตอบรับจากลูกค้าและแจ้งเกิดของชำร่วยต้นไม้เพาะเนื้อเยื่อภาย ใต้แบรนด์ Love Flora



สำหรับสายพันธุ์ต้นไม้เพาะเนื้อเยื่อ ที่นำมาจำหน่ายในครั้งนี้ จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ และกลุ่มไม้มงคล ประกอบไปด้วย กล้วยไม้ประมาณ 10-20 สายพันธุ์ กุหลาบ กระบองเพชร ไม้มงคล ประมาณ 5-6 สายพันธุ์ เช่น ออมเงิน ออมทอง เศรษฐีเรือนนอก เรือนใน เป็นต้น ก่อนจะนำต้นไม้ออกมาจำหน่ายได้นั้นจะต้องผ่านการเลี้ยงในห้องทดลองประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้นนำมาบรรจุในขวดหรือภาชนะที่เราต้องการพร้อมกับอาหาร ซึ่งอาหารที่เตรียมไว้ในขวดนั้นสามารถเลี้ยงต้นไม้ได้เป็นระยะเวลา 1 ปี เมื่อครบ 1 ปี นำต้นไม้ออกมาปลูกภายนอกได้ตามปกติ โดยจะมีคำแนะนำวิธีการปลูกที่เขียนอยู่ข้างกล่อง



โดยต้นไม้ในลักษณะนี้ เหมาะกับผู้ที่ต้องการต้นไม้สักต้นเพื่อเพิ่มบรรยากาศบนโต๊ะทำงานให้ดูสดชื่นโดยไม่จำเป็นต้องมาดูแลรักษา นอกจากนี้ จุดขายของต้นไม้เพาะเนื้อเยื่อ คือ ทำให้ได้สายพันธุ์ของต้นไม้ที่เป็นพันธุ์แท้เนื่องจากเพาะมาจากเนื้อเยื่อ ออกดอกง่าย หรือให้ผลเร็วกว่าต้นไม้ที่เพาะทั่วไปปัจจุบันจึงค่อนข้างได้รับความนิยม ในขณะที่ราคาขึ้นอยู่กับขนาดของต้นไม้และสายพันธุ์ ถ้าเพาะเลี้ยงยากราคาก็จะแพง โดยราคาเริ่มต้นที่ 40 บาท ไปจนถึง 5,000 บาท

นายสมยศ เล่าว่า เป็นราย แรกที่นำต้นไม้เพาะเนื้อเยื่อมาจำหน่ายในลักษณะของขวัญของชำร่วย โดยได้เริ่มทำมาได้ประมาณ 2 ปี ครั้งแรก เปิดตัวในงาน Wedding Fair นำออกมาจำหน่ายในลักษณะเป็นของชำร่วย ผลตอบรับดีเกินคาด เนื่องจากเป็นสิ่งใหม่ ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน และราคาไม่สูงมากโดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 20 บาทถึง 30 บาทต่อต้น ต่อมานำออกมาจำหน่ายในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น วาเลนไทน์นำกุหลาบจิ๋วที่ออกดอกในขวดได้ ปรากฎว่าลูกค้าให้ตอบรับดีมากเช่นกัน หลังจากนั้น จึงพัฒนาบรรจุภัณฑ์และต้นไม้ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อจำหน่ายในลักษณะของขวัญรองรับเทศกาลต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมามีออร์เดอร์เข้ามาเป็นจำนวนมากจนทำไม่ทันซึ่งเดือนขายสินค้าได้มากคือ ตั้งแต่พฤศจิกายน ไปจนถึง กุมภาพันธ์



“กลุ่มลูกค้ามีทุก เพศ ทุกวัย ที่ชื่นชอบและรักการปลูกต้นไม้ ซึ่งปัจจุบันลูกค้ามีตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น วัยทำงานไปจนถึงผู้สูงอายุขึ้นอยู่กับชนิดของต้นไม้ ถ้าเป็นผู้สูงอายุต้องการไม้มงคล วัยรุ่น ชอบกุหลาบ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มลูกค้าโรงแรมและร้านอาหารนิยมซื้อไปประดับตกแต่งโต๊ะอาหารแทน ดอกไม้เพราะจะอยู่ได้ทนกว่าและไม่ต้องดูแลให้ปุ๋ยให้น้ำ ซึ่งที่ผ่านมาลูกค้าค่อนข้างหลากหลาย แต่อย่างไรก็ตามการซื้อในลักษณะของขวัญมีมากกว่าการซื้อเพื่อนำไปปลูกเอง เพราะสังเกตได้จากยอดขายในช่วงเทศกาล โดยช่องทางการขายปัจจุบันมีวางจำหน่ายตามศูนย์การค้า 2 แห่ง ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล และโรบินสัน การออกงานแสดงสินค้าต่าง ๆ ขายผ่านเว็บไซต์ และฝากขายตามร้านต้นไม้”

สนใจ โทร. 0-2384-3302
อ้างอิงจาก ผู้จัดการออนไลน์


http://www.thaismefranchise.com/?p=1494
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 20/01/2013 11:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,838. จับต้นไม้แต่งตัวขึ้นห้างหรู มอบเป็นของขวัญทุกเทศกาล





ต้นไม้ ช่วยเพิ่มบรรยากาศแวดล้อมรอบตัวให้ดูสดชื่นขึ้น ร้านขายต้นไม้จึงมีให้เห็นอยู่เป็นจำนวนมาก แม้แต่ในร้านกิ๊ฟชอป มีต้นไม้เข้าไปจำหน่าย อย่างต้นไม้ของ PLAN IN LOVE ธุรกิจต้นไม้ที่พัฒนารูปแบบของต้นไม้โดยการนำต้นไม้มาจัดอยู่ในภาชนะที่ออก แบบเป็นพิเศษให้เข้ากับช่วงเทศกาลต่างๆ หรือ นำมาจัดเป็นสวนหย่อมขนาดเล็ก เพื่อรองรับกลุ่มผู้ที่ต้องการต้นไม้เสริมฮวงจุ้ย ซึ่งทั้งหมดนี้ลูกค้าส่วนใหญ่นิยมซื้อไปเป็นของขวัญของฝากในโอกาสสำคัญต่างๆ

นายชยันต์ กีรติเชาวนากุล เจ้าของ PLAN IN LOVE เล่าว่า ที่มาของ PLAN IN LOVE เกิดมาจากความชื่นชอบต้นไม้ และที่บ้านมีร้านขายต้นไม้ แต่จุดเริ่มต้นจริงเกิดมาจากต้นโฮย่า ต้นไม้ที่มีใบเป็นรูปหัวใจ ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีเสน่ห์ในตัวของมันเอง รู้สึกชื่นชอบเป็นพิเศษ จึงได้ศึกษาเรื่องของโฮย่า และได้มีการเดินทางไปเสาะแสวงหาสายพันธุ์โฮย่า จากหลายแห่ง จนได้สายพันธุ์ โฮย่าที่ดีที่สุด และทดลองนำมาปลูก และคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีที่สุด ใบสวยที่สุด และนำมาจำหน่ายโดยออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อช่วยยืดอายุในการเก็บรักษา และสะดวกในการนำมาขายร้านกิ๊ฟชอป ซึ่งเกิดจากการคิดค้นด้วยตัวเอง โดยการแพคใส่ถุงดังกล่าวจะสามารถอยู่ได้เป็นเวลานานหลายเดือน ถ้าไม่มีการเปิดถุง




ต้นโฮย่า ใบไม้รูปหัวใจ เป็นต้นไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงวันวาเลนไทน์ ผู้ขายมักจะนำมาตกแต่งโดยการเพนท์ข้อความ ลวดลายต่าง ๆ และจัดใส่บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาพิเศษ เพื่อนำออกมาจำหน่ายในช่วงเทศกาลดังกล่าว เสน่ห์ของโฮย่า นอกจากใบเป็นรูปหัวใจ ซึ่งถูกนำมาเป็นสื่อแสดงความรักแล้ว ยังเป็นต้นไม้ที่เลี้ยงและปลูกง่าย ซึ่งการขายต้นโฮย่าปัจจุบันทาง PLAN IN LOVE ทำออกมา 2 แบบ คือ แพคใส่ถุงที่ออกแบบมา เพื่อช่วยยืดอายุและสะดวกแก่การซื้อขาย และขายเป็นกระถาง ซึ่งทางร้านยังได้ออกแบบใส่ในกระถางรูปแบบต่างๆ เพื่อรองรับการขายในช่วงเทศกาลต่างๆ อาทิ เช่น วันแม่ที่ผ่านมา ก็ได้รับความสนใจจากลูกค้าซื้อมอบให้แม่ เพราะรูปหัวใจที่เป็นสื่อแทนความรักทำให้มอบให้กันได้ทุกโอกาส

ส่วนช่องทางการขาย หลักจะเป็นศูนย์การค้า 2 แห่ง ที่ เดอะมอลล์ และเซ็นทรัลในเกือบทุกสาขา ในส่วนกิ๊ฟชอป และขายผ่านทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งการขายผ่านเว็บไซต์ ช่วยเสริมอิมเมจให้สินค้าดูดีขึ้น กลุ่มลูกค้าจะเป็นคนละกลุ่มกับที่ซื้อต้นไม้ ตามร้านต้นไม้ทั่วไป เพราะลูกค้าซื้อตามห้างในร้านกิ๊ฟชอป ซื้อเพื่อไปเป็นของขวัญของฝากสินค้าต้องดูดี ลูกค้าชอบอะไรที่เป็นงานสร้างสรรค์ งานของเราจึงต้องเพิ่มลูกเล่น ซึ่งขายได้ดีในช่วงเทศกาล โดยเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่ ลูกค้ามีทั้งกลุ่มวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่



นอกจากต้นโฮย่า ทาง PLAN IN LOVE มีต้นไม้เสริมฮวงจุ้ย อย่างบอนไซ แคระมาจัดในลักษณะของสวนหย่อมขนาดเล็ก ที่มีน้ำผุ หรือน้ำล้น ตามความเชื่อ ที่ว่าจะช่วยให้การเงินไม่ติดขัด หรือ ด้านหน้าเป็นน้ำด้านหลังเป็นภูเขา ตามความเชื่อที่ว่าจะเสริมฮวงจุ้ยให้สถานที่นั้นเป็นหลักที่ มั่นคง ลูกค้านิยมซื้อไปมอบให้กันในวันขึ้นบ้านใหม่ หรือเปิดสำนักงานใหม่ รูปแบบสวนหย่อมขนาดเล็กจะออกมาเป็นคอลเลคชั่น มีกระถางที่เป็นเซรามิก ดินเผา และปูนหล่องานหินขัด หรือต้นไม้นอกจากบอนไซ มีต้นไม้อื่น เช่น กุหลาบหิน เป็นต้น ราคาแตกต่างกันตามราคาวัสดุที่ใช้ตกแต่งกระถาง และต้นไม้ โดยราคาเริ่มต้น ที่ 690 บาท ไปจนถึง 2,500 บาท ซึ่งต้นไม้เสริมฮวงจุ้ยใช้ช่องทางเดียวกับต้นโฮย่า

นายชยันต์ กล่าวในตอนท้ายว่า มีความตั้งใจที่ จะพัฒนาต้นไม้ ประเภทไม้ประดับจากประเทศไทยให้สามารถไปสู่ตลาดโลกได้ และเมืองไทยมีต้นไม้ ที่มีความสวย และไม่มีในโลก ถ้าพัฒนาด้านบรรจุภัณฑ์ให้สะดวกแก่การขนย้าย และช่วยยืดอายุต้นไม้ ในระหว่างการขนส่งได้ น่าที่จะทำตลาดไม้ประดับไทยส่งออกไปสู่ตลาดโลกได้ ที่ผ่านมีเทรดเดอร์นำต้นโฮย่า ของเราไปวางจำหน่าย ที่สิงคโปร์ ฮ่องกง และอเมริกา แต่เป็นการส่งออกไปเพียงเล็กน้อย

สนใจโทร. 0-1612-0126
อ้างอิงจาก ผู้จัดการออนไลน์


http://www.thaismefranchise.com/?p=4929
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 20/01/2013 12:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,839. ‘กฤษณา’ ไม้มงคลสร้างเงิน กลั่นเป็นน้ำมันหอมแพงระยับ




ซึ่งตลาดต่างประเทศ ทั้งตะวันออกกลางและยุโรปต้องการอย่างสูง ซื้อขายกันด้วยราคาแพง จนมีคำกล่าวว่า น้ำมันหอมระเหยจาก “ไม้กฤษณา”ราคาสูงที่สุดในโลก จากความนิยมดังกล่าว ประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งที่มีไม้กฤษณาขึ้นเองตามธรรมชาติสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก จึงเกิดอาชีพตัดไม้กฤษณาส่งขายโรงสกัดน้ำมันหอมอย่างแพร่หลาย กระทบให้ต้นกฤษณาถูกโค่นล้มจำนวนมาก ที่สุดแล้วต้องมีการออกกฎหมายคุ้มครองให้กฤษณาเป็นไม้อนุรักษ์

อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน อาชีพสกัดน้ำมันหอมไม้กฤษณาในประเทศไทยยังคงอยู่ โดยปรับตัวให้สอดคล้องเพื่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาชีพนี้ยังสร้างรายได้อย่างงามให้คนในวงการ เช่นรายของ “สมคิด เจริญคง” ผู้ประกอบการ จ.จันทบุรี สมคิด เล่าว่า เดิมพ่อยึดอาชีพตัด “ไม้กฤษณาสับ” (ชิ้นไม้กฤษณาสีขาวเหลือง สับเป็นชิ้นๆ) ส่งขายโรงกลั่น ทำให้เขาคลุกคลีอยู่ในวงการนี้มาแต่เด็ก สามารถวิเคราะห์ได้ว่าไม้กฤษณาคุณภาพดีเป็นอย่างไร จนเมื่อเติบใหญ่ ได้เข้ามาทำงานเต็มตัว เห็นว่า ถ้าจะแค่ตัดไม้กฤษณาสับขายอย่างเดียว โอกาสสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำคงยาก จึงอยากมีโรงกลั่นของตัวเอง เลยตัดสินใจเข้าไปทำงานในโรงกลั่นน้ำมันหอมระเหย เพื่อเรียนรู้วิชา



“การกลั่นน้ำมันหอมจากไม้กฤษณา คนในวงการจะหวงวิชากันมาก แต่ละรายจะมีสูตรเฉพาะแตกต่างกันไป ซึ่งตัวผมเรียนรู้โดยอาศัยการสังเกตและจดจำอยู่กว่า 2 ปี ก่อนออกมาตั้งโรงกลั่นของตัวเอง” สมคิด เผยและเล่าต่อว่านับเป็นโชคดีของเขา และครอบครัวที่เวลานั้นขออนุญาตตั้งโรงกลั่น ก่อนที่จะมีการออกกฎหมายจำกัดการตั้งโรงกลั่นน้ำมันหอม เพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้กฤษณาในป่า ทำให้ถึงปัจจุบันนี้ ภายในจังหวัด ธุรกิจนี้แทบไม่มีคู่แข่ง โดยเขาเป็นผู้ผลิตที่มีใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายเพียง 1 ใน 3 รายของ จ.จันทบุรีเท่านั้น

สมคิด เล่าต่อว่า ปัจจุบันต้นกฤษณามีการปลูกเป็นไม้เศรษฐกิจ ไม่ต้องแอบเข้าไปลักลอบตัดในป่าเหมือนอดีต โดยปลูกมากในแถบจ.ตราด และจันทบุรี เนื่องจากมีสภาพดินอุดมสมบูรณ์ และภูมิอากาศเหมาะสม ส่วนที่จะนำมาสกัด คือ บริเวณเกิดรอยแผล ซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างสารกฤษณาขึ้นมา มีสีดำสนิทในเนื้อไม้ ยิ่งเป็นต้นอายุมาก ราคาจะยิ่งสูง เดิมรอยแผลจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น รอยนกเจาะ แต่ปัจจุบันจะจงใจให้เกิดโดยใช้วิธีเจาะรูสำหรับรูปแบบธุรกิจนั้น สมคิด อธิบายว่า จะรับซื้อไม้กฤษณาสับจากชาวบ้าน ในราคา 70-200 บาทต่อกิโลกรัม (แล้วแต่คุณภาพไม้) ขั้นตอนนี้ จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์คัดเลือกไม้คุณภาพดี หลังจากนั้น นำไปตากแดด 3 วันจนเนื้อไม้แห้ง ซึ่งน้ำหนักไม้จะลดเหลือแค่ 1 ใน 3 จากตอนรับซื้อ



จากนั้น บดเป็นผง นำไปหมักกับน้ำเปล่าในโอ่งนาน 7 วัน แล้วนำไปต้มในหม้อ 6 วัน จนเกิดไอระเหย กลั่นตัวเป็นน้ำมันหอม ซึ่งโอ่ง 1 ใบ จะจุผงไม้กฤษณาแห้งได้ประมาณ 10 กิโลกรัม สามารถกลั่นออกมาเป็นน้ำมันหอม ประมาณ 18 กรัม น้ำมันหอมซื้อขายกันเป็น “โตร่า” 1 โตร่า ปริมาตร 12.5 CC หรือหนักประมาณ 12 กรัม ราคาถึง 4,500 – 6,000 บาท หักต้นทุนวัตถุดิบและพลังงานแล้ว 1 โอ่งจะมีกำไรประมาณ 1,000 บาท ด้านช่องทางจำหน่าย จะมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อถึงบ้าน แล้วนำไปขายต่อให้บริษัทจากแถบตะวันออกกลาง เพื่อใช้ทำหัวน้ำหอม นอกจากนั้น ส่วนผงไม้กฤษณาที่ผ่านการกลั่นแล้ว ยังนำไปใช้ทำผงธูปได้อีกด้วย

สมคิด ระบุว่า ธุรกิจนี้ ตลาดมีรองรับไม่จำกัด กลั่นได้มากเท่าใด ลูกค้าพร้อมจะเหมาซื้อทั้งหมด โดยปัจจุบัน ธุรกิจของเขา มีหม้อต้มทั้งหมด 4 ใบ ทั้งที่ได้รับอนุญาตจากอุตสาหกรรมจังหวัดให้ผลิตได้ถึง 7 หม้อ แต่เวลานี้ ยังไม่พร้อมจะลงทุนสร้างหม้อเพิ่ม เพราะต้องใช้ทุนสูงมาก นอกจากนั้น จำเป็นต้องแบ่งทุนอีกส่วนไว้ซื้อวัตถุดิบด้วย ซึ่งที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยมาเป็นทุนหมุนเวียน




เขา เผยด้วยว่า น้ำมันหอมไม้กฤษณาแต่ละแห่งจะมีกลิ่น และคุณสมบัติเฉพาะตัว มีผลมาจากทั้งสายพันธุ์ของไม้กฤษณาแต่ละต้น สภาพดิน น้ำ และอากาศที่ปลูก ตลอดจนกรรมวิธีการหมัก ซึ่งเป็นเคล็ดลับแตกต่างกันไป ทั้งนี้ น้ำมันหอมจากแถบ จ.จันทบุรี และตราด ถือว่าราคาสูงที่สุดในประเทศไทย เพราะมีจุดเด่นกลิ่นถูกใจชาวต่างชาติ และกลิ่นติดทนนาน


โทร.081-000-7443
อ้างอิงจาก KSMECare



http://www.thaismefranchise.com/?p=26929
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 22/01/2013 2:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,840. เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช

โดย monmai




รากของพืช กินอาหาร แร่ธาตุ จากดินโดยตรงไม่ได้ ต้องอาศัยจุลินทรีย์ซึ่งเกาะอยู่ที่รากเป็นคนเคี้ยว แล้วป้อนให้รากของพืชอีกครั้งหนึ่ง แต่จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ที่รากของพืชที่เราต้องการจะไม่ค่อยแข็งแรง มีความต้านทานน้อยกว่าจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ที่รากของวัชพืช แล้วแถมจุลินทรีย์ที่ดีเหล่านี้ยังใจเสาะ ตายง่ายเสียอีก โดนแดดจังๆ ก็ตาย โดนปุ๋ยเคมีก็ตาย(เพราะโดนดูดน้ำออกจากตัว) โดนยาฆ่าหญ้าก็ตาย(เพราะเป็นพิษ) ดังนั้นการที่จะบำรุงให้พืชของเรางอกงามก็ต้องทำให้จุลินทรีย์ที่รากของพืชของเรามีจำนวนมากๆ และปรับสภาพสิ่งแวดล้อมให้จุลินทรีย์เหล่านี้อยู่อย่างมีความสุข ขยายพันธุ์ต่อ ต่อไปได้มากๆ ก็โดย

- คลุมดิน จุลินทรีย์ที่ดีเหล่านี้ชอบอยู่ในที่มืด ร้อน และชื้น(แต่ไม่ใช่แฉะ) ดังนั้นการใช้ฟาง หรือหญ้าคลุมโคนต้นไม้จึงเป็นการปรับสภาพที่อยู่อาศัยให้เหมาะกับจุลินทรีย์……..และยังเก็บกักความชื้นให้กับพืชในหน้าแล้ง และช่วยชลอไม่ให้น้ำฝนพัดพาสิ่งที่มีประโยชน์ไปในหน้าฝน ได้ดีอีกด้วยครับ…….

- เลิกใช้ปุ๋ยเคมี เพราะปุ๋ยเคมีจะดูดน้ำจากรอบตัวเพื่อละลาย ปลดปล่อยอิออนจากตัว…….จุลินทรีย์ของเราก็จะพลอยโดนดูดน้ำออกจากตัวไปด้วย….ตาย…สนิท…ครับ แล้วยังมีพวกสารผสมในปุ๋ยที่ไม่เกี่ยวกับพืช (แต่ทำให้ได้น้ำหนัก ได้เปอร์เซนต์ตามกฎหมาย) แต่ตกค้างเป็นพิษกับจุลินทรีย์อีก……ตกค้างมากๆ ก็เป็นพิษกับพืชได้อีกนาครับ……..

- เลิกใช้ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าหญ้าเป็นพิษและส่งผลกระทบมหาศาล ที่ชัดเจนที่สุดในสวนยาง เปลือกต้นยางจากพื้นดินจนถึงประมาณ 30 ซม. หน้ายางแห้ง ไม่มีน้ำยางเลย แม้จะเลิกมา 2 ปีแล้วก็เถิด คงไม่ฟื้นคืนอีกแล้ว

- ใส่ปุ๋ยแห้งชาม แห้งชามคือใส่ปุ๋ยหมักแห้ง ความถี่ของการใส่ปุ๋ยหมักแห้งคือประมาณ “เดือนละครั้ง”

- ใส่ปุ๋ยน้ำชาม คือ ใส่ปุ๋ยหมักน้ำ จะใช้รดพื้นดิน หรือฉีดพ่นอาบ ใบ ลำต้น ไปเลยก็ไม่ผิดกติกา หรือ พวกผัก ไม้เตี้ย ไม้ลงหัว จะใส่ฝักบัวรดไปเลยก็ได้ ความถี่ของการใส่ปุ๋ยน้ำ ก็ทุก 1 – 2 สัปดาห์ นอกนั้นรดน้ำเปล่า

- ปริมาณของชามแห้ง และชามน้ำ ก็กะประมาณเอาเองตามขนาดของพืชของเรา เช่น ต้นยางกรีดแล้ว จะใส่เดือนละ 1 กำมือก็กระไรอยู่……พริกขี้หนู ถ้าจะใส่เดือนละกิโลก็เกินเหตุ….



สร้างโรงงานผลิตปุ๋ย
การทำปุ๋ยใช้เอง เพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยใช้วัตถุดิบที่เราหาได้ง่ายๆ มาทำ ก่อนอื่นเราต้องสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยของเราไว้ใช้เองเสียก่อน

การลงทุนสร้างโรงงานระยะแรกต้องตั้งงบประมาณไว้ เป็นค่าถังหมัก ค่าหัวเชื้อจุลินทรีย์ (ซื้อใช้เถิด ไม่ต้องมัวไปเพาะเองอยู่) 1 ลิตร และค่าน้ำตาลทรายแดง 1 ก.ก.

โรงงานผลิตปุ๋ย ก็คือ จุลินทรีย์ เบื้องต้นเราซื้อมาใช้ 1 ลิตร แล้วนำมาหมักขยายก่อนจะได้เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ประมาณ 22 ลิตร ถ้าอยากได้มากกว่านั้น ก็เอาหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่หมักขยายไว้แล้วนี้หมักขยายต่อไปได้อีกเรื่อยๆ จุลินทรีย์ที่หมักขยายแล้วนี้ จะเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการทำปุ๋ยทั้งปุ๋ยหมักแห้ง และปุ๋ยหมักน้ำ ต่อจากนี้ไปคำว่า “หัวเชื้อจุลินทรีย์” จะหมายถึงจุลินทรีย์ที่หมักขยายเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องวิ่งไปซื้อใหม่ลิตรละร้อยอยู่ทุกครั้งที่จะหมักปุ๋ย

จุลินทรีย์ที่หมักขยายแล้วนี้ยังไม่ใช่ปุ๋ย จะเอาไปรดต้นไม้ก็คงไม่ได้ประโยชน์อะไรมาก ได้แต่จุลินทรีย์กับน้ำตาลนิดหน่อย ใจเย็นๆ สร้างโรงงานผลิตก่อน แล้วเดี๋ยวค่อยว่ากันต่อถึงขบวนการผลิตปุ๋ยต่อไป
1. หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่จะนำมาหมักขยาย เพื่อสร้างโรงงานผลิตปุ๋ย หรือจะใช้แบบที่มีขายทั่วไปในท้องตลาด

2. ถังที่ใช้หมักขยายเชื้อจุลินทรีย์ ใช้ถังพลาสติกสิดำ หรือสีน้ำเงิน แบบมีเข็มขัดรัดฝา ความจุประมาณ 20–30 ลิตร ล้าง ทำความสะอาดให้เรียบร้อย

3. น้ำตาลทรายแดงที่จะใช้หมักขยายเชื้อจุลินทรีย์ ในตลาดใกล้บ้าน จุถุงละ 0.5 กก. เราใช้ 1 กก. ก็ซื้อมา 2 ถุง

4. ใส่น้ำสะอาดลงไปในถังหมัก 20 ลิตรครับ……จะเป็นน้ำประปา น้ำฝน น้ำบ่อ น้ำคลอง ยกเว้นน้ำทะเล…..แต่ถ้าเป็นน้ำประปาต้องขังไว้ให้คลอรีนระเหยไปให้หมดก่อน

5. เพื่อความรวดเร็วในการละลายน้ำตาลทรายแดง ผมเลยตักน้ำจากในถังหมักออกมา 2 ขัน ใส่หม้อตั้งไฟพออุ่นๆ ใส่น้ำตาลทรายแดงลงไปทั้งสองถุง คนจนละลายหมด แล้วตั้งทิ้งไว้ให้เย็น แล้วก็เทกลับลงไปในถังหมัก คนให้เข้ากันดี

6. เทหัวเชื้อจุลินทรีย์ 1 ลิตร ที่เตรียมไว้แล้วลงไปในถังหมัก แล้วก็คนให้เข้ากันอีกครั้งหนึ่ง

7. ปิดฝาถัง รัดเข็มขัดล็อค แล้วติดป้ายบอกไว้เสียหน่อย แล้วก็เก็บไว้ในที่ร่ม เย็น ไม่ให้โดนแสงแดด ประมาณ 10–15 วัน ก็นำไปหมักขยายต่อ หรือจะนำไปใช้ในการผลิตปุ๋ยก็ได้แล้ว

8. เมื่อเปิดฝาถังขึ้นมา แล้วได้กลิ่นหอมคล้าย คล้าย ไวน์ ที่ผิวหน้ามีฝ้าขาว ขาว ลอยอยู่ แสดงว่าถูกต้องแล้ว





การผลิตปุ๋ยหมักน้ำ
เมื่อเราสร้างโรงงานผลิตปุ๋ย (หมักขยายเชื้อจุลินทรีย์จนได้ที่แล้ว) คราวนี้ก็ถึงทีที่จะเดินเครื่องผลิตอาหารเลี้ยงดิน เพื่อให้ดินเลี้ยงพืชของเราต่อ

อาหารเลี้ยงดินที่เราจะผลิต และใช้กับพืชผลของเรา มีอยู่ 2 ชนิด ที่จำเป็น และเราจะต้องใช้ร่วมกัน คือปุ๋ยหมักแห้ง และปุ๋ยหมักน้ำ


ความถี่และปริมาณของการให้อาหารจะขึ้นอยู่กับประเภทของพืช เช่น
- ไม้ผล จะให้ปุ๋ยหมักแห้งเดือนละ 1 ครั้ง ปริมาณ 1–2 กก. และรดปุ๋ยหมักน้ำ 1–2 สัปดาห์ต่อ 1 ครั้ง นอกจากนั้น รดด้วยน้ำธรรมดา และอาจจะฉีดพ่น ใบ ลำต้น ด้วยน้ำส้มควันไม้(มีฮอร์โมนพืช) สลับกับน้ำหมักเปลือกกุ้ง กากปู(มีสารไคโตซาน) 1–2 เดือนต่อครั้ง

- ผักอายุสั้น อาจจะให้ปุ๋ยหมักแห้งสัปดาห์ละครั้ง แต่ปริมาณน้อยๆ และรดปุ๋ยหมักน้ำทุกวัน(ผสมเจือจางมากๆ)

สิ่งสำคัญก็คือการสังเกต เรียนรู้ หมั่นทดลอง ของเรานะครับ เพราะว่าการทำเกษตรไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว และยังมีตัวแปรที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย


การทำปุ๋ยหมักน้ำ
วัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นปุ๋ยหมักน้ำ หลักๆ จะมีอยู่ 2 กลุ่ม
กลุ่มแรก ได้แก่ พืชสด ซึ่งแบ่งเป็นประเภทได้อีก 7 ประเภท ตาม รส และกลิ่น ของพืชสดที่ใช้ สรรพคุณของน้ำหมักที่ได้ก็จะต่างกันไปตามคุณสมบัติแต่ละประเภท ส่วนพืชแห้งไม่เหมาะที่จะนำมาทำปุ๋ยหมักน้ำ เหมาะที่จะนำไปทำปุ๋ยหมักแห้งมากกว่า
1. พืชรสจืด ได้แก่ ผักบุ้ง ผักตบชวา บัว ผักกะเฉด จอก แหน ผักต่างๆ ที่บริโภคในครัว และ ฯลฯ อีกมากมาย
สรรพคุณ : ปรับสภาพดิน ช่วยล้างพิษตกค้างในดิน บำรุงดิน ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย

2. พืชรสขม ได้แก่ บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร ลูกใต้ใบ ขี้เหล็ก มะระ และ ฯลฯ อีกมากมาย
สรรพคุณ : สร้างภูมิคุ้มกันให้กับพืช หรือใช้ผสมน้ำดื่มให้สัตว์เลี้ยงจะทำให้สัตว์เลี้ยงสุขภาพดีขึ้น กลิ่นมูลสัตว์ลดลง

3. พืชรสฝาด ได้แก่ กล้วยดิบ เปลือกผลมังคุด เปลือกแค หมาก และ ฯลฯ อีกมากมาย
สรรพคุณ : ช่วยป้องกันเชื้อรา

4. พืชรสเมาเบื่อ ได้แก่ กลอย สะเดา สแยก(สะ-แหยก) ผักคูน หางไหลแดง น้อยหน่า ยาฉุน และ ฯลฯ อีกมากมาย
สรรพคุณ : ไล่แมลงศัตรูพืช

5. พืชรสหอมระเหย ได้แก่ ขิง ข่า ตะไคร้ กระเพรา ชะพลู มะกรูด โหระพา กานพลู ยูคาลิปตัส และ ฯลฯ อีกมากมาย
สรรพคุณ : ยกเว้นไม่ควรทำใช้งานนะครับ ยิ่งเป็นสวนไม้ผลยิ่งอันตรายครับ เพราะกลายเป็นดึงดูดแมลงวันทองให้เข้ามาหา

6. พืชรสเผ็ดร้อน ได้แก่ พริก ดีปลี เครื่องแกง และ ฯลฯ
สรรพคุณ : ไล่แมลง ทำให้แมลงแสบร้อน ระคายผิว

7. พืชรสเปรี้ยว ได้แก่ ตะลิงปิง มะเฟือง มะนาว มะม่วง (เปรี้ยว) มะไฟ และ ฯลฯ อีกมากมาย
สรรพคุณ : มีฤทธิ์เป็นกรดทำให้ไข่ของแมลงฝ่อ หรือตัวอ่อนฝ่อไม่สามารถเติบโตได้


กลุ่มที่สอง ได้แก่ สัตว์ หรือผลิตผลจากสัตว์ ที่นิยมนำมาทำปุ๋ยหมักน้ำ ได้แก่…..
1. ปลา ทั้งปลาน้ำจืด และปลาทะเล จะได้ทั้ง โปรตีน กรดอะมิโน ธาตุอาหารหลัก ( N, P, K) ธาตุอาหารรอง (แคลเซี่ยม, โบรอน, สังกะสี, ทองแดง ฯลฯ ครบครัน)

2. เปลือกกุ้ง กากปู นอกจากธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรองครบครันแล้ว ยังได้สารไคโตซาน ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้พืชอีกด้วย

3. หอย เช่น หอยเชอรี่จากในนาข้าว หอยทากจากในสวน เป็นการพลิกวิกฤติเป็นโอกาส นอกจากลดจำนวนประชากรศัตรูพืชแล้ว ยังได้ปุ๋ย โปรตีน แคลเซี่ยม ไว้ใส่ต้นไม้อีก


วิธีการทำปุ๋ยหมักน้ำ
ก่อนอื่นก็ต้องมีถังหมัก ต้องใช้ถังแบบมีเข็มขัดรัดฝาเหมือนกับถังหมักขยายเชื้อจุลินทรีย์ แต่คราวนี้เลือกขนาดถังตามใจชอบ ขอแค่ตรวจสอบดูว่าเป็นถังแบบที่ล็อคฝาได้แน่นหนาพอสมควร (มีถังใส่สารเคมีในโรงงานแบบเป็นผง เข็มขัดจะรัดฝาได้ไม่แน่น และฝาไม่ค่อยแข็งแรง ร้านค้าจะขายในราคาถูกกว่าถังบรรจุของเหลวมาก ไม่แนะนำให้ใช้ ใช้แบบถังบรรจุของเหลวดีกว่า)

อัตราส่วนผสม ตัวเลขนี้สำหรับถัง 20 ลิตร ถ้าใช้ถังใหญ่กว่านี้ เช่น ถัง 60 ลิตร ก็คูณ 3 เข้าไปได้เลย
1. พืชชนิดที่ต้องการหมัก มาสับ, ตำ, หั่น, ปั่น ให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ 3 กิโลกรัม

ให้แยกชนิดพืชทั้ง 7 ประเภท ไม่ควรนำมาหมักรวมกันนะครับ เพราะสรรพคุณจะลดลง ในกรณีพืชรสจืดจากผักก้นครัวอาจจะอนุโลมหมักผักกาด รวมกับคะน้า รวมกับผักบุ้ง รวมกับผักเหลียง ได้ แต่ให้แยกพริก มะกรูด โหระพา สะระแหน่ กระเพรา ออก

2. กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม
กากน้ำตาลจะราคาถูก แต่ต้องใช้เวลาหมักนานกว่า ต้องหมักไว้ 3 เดือนเป็นอย่างน้อย เพื่อให้สารทาร์ ในกากน้ำตาลลดความเป็นพิษลงจนปลอดภัยต่อพืช จึงจะนำไปใช้ได้ ถ้าใช้น้ำตาลทรายแดง หมักไว้ประมาณ 1 เดือนก็สามารถนำไปใช้ได้แล้ว แต่หลังจากพ้นระยะปลอดภัยไปแล้ว ยิ่งหมักไว้นานยิ่งดี

3. หัวเชื้อจุลินทรีย์ (ที่หมักขยายไว้แล้ว) 1 ลิตร

4. น้ำสะอาด 10 ลิตร






วิธีการหมัก
1. เทน้ำสะอาด กากน้ำตาล และหัวเชื้อจุลินทรีย์ ลงในถังคนให้กากน้ำตาลละลายน้ำให้หมด……ถ้าให้ดี ใช้มือล้วงลงไปตรวจสอบที่ก้นถังด้วย เพราะกากน้ำตาลละลายน้ำยากเหมือนกัน

2. นำพืชที่ต้องการหมักใส่ลงไปในถัง คนให้ทั่ว และกดให้พืชจมน้ำให้หมด สังเกตว่าจะมีช่องว่างเหนือผิวน้ำถึงฝาถังประมาณ 20 % อย่าหมักจนเต็ม หรือเกือบเต็มถัง

3. ปิดฝาถัง ล็อคให้สนิท เก็บไว้ในที่แห้ง เย็น ไม่โดนแสงแดด ทิ้งไว้สัก 3 เดือนก่อน

4. ระยะแรกๆ คอยเปิดฝาถังดู สัก 3–5 วัน/ครั้ง นะครับ เพราะพืชจะลอยขึ้นเหนือน้ำ ต้องคอย คน และกดให้จมน้ำอยู่เสมอๆ ผ่านไปสักเดือนก็จะจมหมดเอง คราวนี้ก็ปล่อยได้เลย


หมายเหตุ : ถ้าหมักกลุ่มที่ 2 (เนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์) ก็ใช้วิธีเดียวกันกับพืช แต่ต้องเพิ่มกากน้ำตาลเป็น 3 กิโลกรัม เท่านั้นเอง ถ้ากากน้ำตาลน้อยจะมีกลิ่นเหม็น + มีหนอน

น้ำหมักเหล่านี้เป็นอาหารทางด่วน ทางใบที่ดีอีกอย่างหนึ่งด้วย
มียกเว้นพืชประเภทหนึ่งครับ คือ สะระแหน่ ไม่ชอบน้ำหมัก รดเมื่อไหร่ก็เดี้ยงเมื่อนั้น แต่ชอบน้ำล้างปลา มากๆ การจะรด หรือฉีดพ่นน้ำหมักรสเมาเบื่อ ควรจะดูเวลาแมลงด้วย ส่วนใหญ่จะมาตอนเช้ามืด เราก็ฉีดเสียตั้งแต่ 4–5 นาฬิกา



http://www.monmai.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 5:56 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 22/01/2013 5:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,841. แหนแดง ผู้ผลิตปุ๋ยไนโตรเจนจากอากาศ

โดย monmai





แหนแดงจัดเป็นพืชพวกเฟิร์นชนิดหนึ่ง เป็นเฟิร์นน้ำที่มีขนาดเล็ก ประกอบด้วยลำต้นกลวง ๆ เรียว แตกกิ่งก้านสาขา มีใยเป็นแผ่นแบนๆ 2 แผ่นซ้อนกัน แตกออกมาจากสองข้างของกิ่งเป็นคู่ ๆ ลอยอยู่ที่ผิวน้ำ โดยส่วนรากจมอยู่ในน้ำ พบตามแหล่งน้ำจืด ตามท้องนา สระ บึง บ่อ และตามที่มีน้ำขัง มีทั้งในทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แถบลุ่มน้ำไนล์ แถบร้อนในเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย

ชื่อท้องถิ่น: แหนแดง
ชื่อสามัญ: แหนแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Azolla spp.
ชื่อวงศ์: Azollaceae Wettst.

ลักษณะพืช
แหนแดงจัดเป็นพืชพวกเฟิร์นชนิดหนึ่ง เป็นพืชลอยบนผิวน้ำ ลักษณะโดยทั่วไปของแหนแดง ประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ ลำต้น (rhizome) ราก (root) และใบ (lobe) มีกิ่งแยกจากลำต้น ใบเกิดตามกิ่งเรียงสลับกันไปแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือใบบน (dorsal lobe) และใบล่าง (ventral lobe) มีขนาดใกล้เคียงกัน รากของแหนแดงจะห้อยลงไปในน้ำตามแนวดิ่งและอาจฝังลงไปในดินโคลนได้ ใบบนมีโพรงใบและมีสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวอาศัยอยู่ในลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวนี้สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศแล้วเปลี่ยนให้เป็นสารประกอบในรูปของแอมโมเนียมให้แหนแดงใช้ประโยชน์ได้ ทำให้แหนแดงเจริญเติบโตได้เร็วและมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูง และการที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูงทำให้แหนแดงสลายตัวได้ง่ายและปลดปล่อยไนโตรเจนและธาตุอาหารพืชอื่นๆ ออกมาอย่างรวดเร็วเพื่อให้พืชอื่นหรือจุลินทรีย์นำไปใช้ต่อไป จากการศึกษาพบว่าประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของไนโตรเจนในต้นแหนแดงจะถูกปลดปล่อยออกมาภายใน 8 สัปดาห์หลังจากการไถกลบ

การใช้ประโยชน์/ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์
เป็นพืชลอยบนผิวน้ำ ลักษณะโดยทั่วไปของแหนแดง ประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ ลำต้น (rhizome) ราก (root) และใบ (lobe) มีกิ่งแยกจากลำต้น ใบเกิดตามกิ่งเรียงสลับกันไปแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือใบบน (dorsal lobe) และใบล่าง (ventral lobe) มีขนาดใกล้เคียงกัน รากของแหนแดงจะห้อยลงไปในน้ำตามแนวดิ่งและอาจฝังลงไปในดินโคลนได้ ใบบนมีโพรงใบและมีสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวอาศัยอยู่ในลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวนี้สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศแล้วเปลี่ยนให้เป็นสารประกอบในรูปของแอมโมเนียมให้แหนแดงใช้ประโยชน์ได้ ทำให้แหนแดงเจริญเติบโตได้เร็วและมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูง และการที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูงทำให้แหนแดงสลายตัวได้ง่ายและปลดปล่อยไนโตรเจนและธาตุอาหารพืชอื่นๆ ออกมาอย่างรวดเร็วเพื่อให้พืชอื่นหรือจุลินทรีย์นำไปใช้ต่อไป จากการศึกษาพบว่าประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของไนโตรเจนในต้นแหนแดงจะถูกปลดปล่อยออกมาภายใน 8 สัปดาห์หลังจากการไถกลบ





ประเทศไทย พบแหนแดงชนิดที่ชื่อว่า อะโซล่า พินนาตา ( Azolla pinnata ) มีขนาดยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร แหนแดงที่เราพบเห็นนั้นมีอยู่ 2 สี คือ
1. พวกที่มีสีเขียว เป็นพวกที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
2. พวกที่มีสีชมพูหรือสีแดง เป็นพวกที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมขาดธาตุอาหารจำพวกฟอสฟอรัส มีอุณหภูมิสูง มีแสงมากเกินไป ทำให้แหนแดงมีใบเรียวเล็กมีสีแดง ซึ่งเป็นสาเหตุที่เรียกว่าแหนแดงนั่นเอง

แหนแดงสามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็วมาก ภายในเวลา 2-3 วัน สามารถเจริญเติบโตขยายจำนวนได้เป็น 2 เท่าของจำนวนเดิม แหนแดงมีโปรตีนและไนโตรเจนสูง เพราะมีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน อาศัยอยู่ในช่องว่างระหว่างใบบนและล่างของแหนแดง สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้นำมาสร้างสารประกอบพวกไนเตรท ซึ่งแหนแดงนำไปใช้ในการดำรงชีพเจริญเติบโตได้ หรือเรียกว่า แหนแดงเป็นผู้ผลิตปุ๋ยไนโตรเจนจากอากาศได้

ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา ไทย ได้ใช้แหนแดงทำปุ๋ยพืชสดหรือปุ๋ยอินทรีย์ใส่ในนาข้าว มีผลทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้ร้อยละ 50 – 60 แหนแดงมีโปรตีนสูงถึงร้อยละ 23.8 ไขมันร้อยละ 6.4 ต่อน้ำหนักแห้ง ในฤดูร้อนแหนแดงเจริญเติบโตช้ากว่าในฤดูอื่น ๆ แต่ถ้าสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม จะทำการขยายพันธุ์ด้วยสปอร์ ( Spores )

การเจริญของแหนแดงขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น
1. น้ำ แหนแดงเจริญได้ดีในน้ำหรือในดินที่มีความชื้นสูง
2. แสงสว่าง แหนแดงต้องการแสงสว่างหรืแสงแดดในการสร้างอาหาร โดยการสังเคราะห์ด้วยแสง
3. อุณหภูมิ แหนแดงจะเจริญได้ดีในที่ที่มีอากาศค่อนข้างเย็น มากกว่าที่มีอากาศร้อนอบอ้าว ถ้าอุณหภูมิสูงมาก ๆ แหนแดงจะตาย อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 20 – 25 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียสแหนแดงจะตายหมด
4. ความเป็นกรด-เบสของน้ำ แหนแดงจะเจริญได้ดีในสภาพกรด-เบส ประมาณ 4-6
5. แร่ธาตุ แร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของแหนแดง ได้แก่ ฟอสฟอรัส โพแตสเซี่ยม แคลเซี่ยม แมกนีเซี่ยม เหล็ก เป็นต้น ปกติแล้วแหนแดงต้องการปุ๋ยไนโตรเจนน้อย เพราะแหนแดงสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้เอง

แหนแดง เป็นปุ๋ยชีวภาพชนิดหนึ่ง ถูกนํามาใช้ในรูปของปุ๋ยพืชสดในการผลิตพืช เนื่องจากแหนแดงมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูงถึงร้อยละ ๓-๕ สามารถช่วยทดแทน หรือลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนได แหนแดงเป็นเฟรนชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก พบทั่วไปในบริเวณน้ํานิ่ง ลําต้นเป็นแบบไรโซมสั้นๆ ไม่มีก้านใบ มีใบย่อยประกอบเป็น ๒ ส่วนคือ ใบส่วนบนและใบส่วนล่าง ใบส่วนบนจะมีโพรงซึ่งเป็นที่อยูอาศัยของไซยาโนแบคทีเรียชนิดหนึ่งชื่อ Anabaena azollae อาศัยอยู่แบบให้ประโยชน์ร่วมกันกับแหนแดง โดยแบคทีเรียจะมีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้แหนแดงใช้ในรูปของแอมโมเนียได้สูง และมากพอสําหรับการเจริญเติบโตของแหนแดงเอง พบวาการใช้ แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้พอๆกับการใชปุ๋ยเคมีไนโตรเจน



การขยายพันธุ์
แหนแดงสามารถขยายพันธุโดยไม้อาศัยเพศได้อย่างรวดเร็ว โดยแตกกิ่งก้านสาขาแบบสลับกัน เมื่อกิ่งแขนงแก่จัดจะมีสีเขียวเข็มแล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีน้ําตาล กิ่งแขนงยอยจะหลุดออกเป็นต้นไม้เล็กๆ การขยายพันธุวิธีนี้ สามารถเพิ่มปริมาณได้เป็น ๒ เท่าภายในเวลา ๗-๑๐ วัน ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพสิ่งแวดลอมที่เหมาะสมจะให้ผลผลิตสด ประมาณ ๓ ตันต่อไร่ ภายในระยะเวลา ๓๐ วัน สามารถตรึงไนโตรเจนได้ ๕ – ๑๐ กิโลกรัมต่อไร่ แหนแดงเหมาะสําหรับใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว โดยการเลี้ยงแหนแดงก่อนปักดําประมาณ ๑ เดือน เมื่อแหนแดงขยายเต็มนาข้าวแล้วจึงทําการไถกลบก่อนดํานา หลังจากนั้นอาจหว่านแหนแดงอีกครั้งระหว่างช่วงต้น ข้าวเจริญเติบโต โดยเลี้ยงแหนแดงก่อนหว่านข้าวประมาณ๓๐ วัน โดยหว่านประมาณ ๑๐๐-๓๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ ควรรักษาระดับน้ําใหลึกประมาณ ๕ เซนติเมตร และเมื่อแหนแดงเจริญเติบโตเต็มที่ให้ปล่อยน้ําออกแล้วไถกลบ หลังจากนั้นจึงนําการหว่านข้าวหรือดํานา แหนแดงสามารถใชทําเป็นปุ๋ยอินทรียเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณของดินในแปลงผักเกษตรอินทรียโดยตรง หรือจะใช้คลุกรวมกับฟางข้าวหรือปุ๋ยอินทรียอื่นๆ เพื่อทําเป็นปุ๋ยหมักยอยสลายเร็วขึ้น นอกจากใช้ในแปลงผักแล้ว ยังสามารถใช้ได้กับแปลงไม้ผล ตลอดจนเป็นอาหารสัตว์เช่น เป็ด ไก่ สุกรและปลาอีกด้วย ประการสําคัญคือ มีต้นทุน การผลิตต่ำสามารถนํามาใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอยางดียิ่ง


http://www.monmai.com/%e0%b9%81%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%94%e0%b8%87/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 22/01/2013 5:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,842. ปุ๋ยดินหมักชีวภาพ เพาะกล้าข้าวให้กล้างาม

โดย monmai





ผสมปุ๋ยดินหมักชีวภาพกับดินแห้งทุบละเอียดและแกลบดำอย่างละเท่า ๆ กัน คลุกจนเข้ากันดีเพื่อนำไปกรอกถุง หรือนำไปใส่ในแปลงสำหรับเพาะกล้า จะช่วยให้ได้ต้นกล้าที่เจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง

วัสดุที่ใช้
1. ดินแห้งทุบให้ละเอียด ใช้ดินได้ทุกชนิด 5 ส่วน
2. ปุ๋ยคอกแห้งทุบละเอียด 2 ส่วน
3. แกลบดำ 2 ส่วน
4. รำละเอียด 2 ส่วน
5. ขุยมะพร้าวหรือขี้เค้กอ้อย 2 ส่วน
6. น้ำเอนไซม์ 1 + น้ำตาล 1 + น้ำ 100 คนให้เข้ากัน

วิธีทำ
1. ผสมวัสดุทั้งหมด คลุกเคล้าจนเข้ากันดี
2. รดด้วยน้ำเอนไซม์ที่ผสมแล้ว บนกองวัสดุให้ความชื้นพอประมาณ กำแล้วใช้นิ้วดีดแตก ไม่ให้แฉะเกินไป
3. เกลี่ยบนพื้นซีเมนต์ให้กองหนาประมาณ 1 ศอก คลุมด้วยพลาสติก หรือกระสอบป่าน หมักไว้ 5 วัน จึงนำไปใช้ได้
4. ปุ๋ยดินหมักชีวภาพที่ดี่จะมีราสีขาวเกิดขึ้น มีกลิ่นหอม สามารถเก็บไว้ใช้ได้นานๆ

วิธีใช้
1. ผสมปุ๋ยดินหมักชีวภาพกับดินแห้งทุบละเอียดและแกลบดำอย่างละเท่า ๆ กัน คลุกจนเข้ากันดีเพื่อนำไปกรอกถุง หรือนำไปใส่ในแปลงสำหรับเพาะกล้า จะช่วยให้ได้ต้นกล้าที่เจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง
2. นำไปเติมในกระถางต้นไม้ดอกไม้ประดับได้ดี กระถางละ 2 กำมือ



http://www.monmai.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 5:57 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 22/01/2013 5:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,843. สวนผักคนเมือง

โดย monmai





เมื่อนึกถึง คนเมือง หลายคนมักนึกถึงผู้คนแต่งชุดทำงาน ถือกระเป๋าเอกสาร หน้าตาคร่ำเคร่ง กินแต่อาหารสำเร็จรูป จะเนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจ สังคมที่เร่งรีบหรือจากสาเหตุอะไรก็ตาม ที่ทำให้วิถีชีวิตและค่านิยมของพวกเขาเปลี่ยนไป จนขาดทักษะในการพึ่งพาตนเองในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านอาหาร ที่ต้องพึ่งพิงตลาดเพียงอย่างเดียว

การปลูกผักไว้บริโภคเองในครัวเรือน จึงถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้คนเมืองสามารถพึ่งตนเองด้านอาหารได้มากขึ้น ทั้งช่วยลดรายจ่าย ช่วยเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและคนในชุมชน แถมผักยังมีคุณค่าทางโภชนาการ ส่งผลดีต่อสุขภาพด้วย เพราะปัจจุบันอาหารต่างๆ ที่คนเมืองเลือกซื้อ มักเต็มไปด้วยสารเคมี ทั้งยังผ่านกระบวนการแปรรูปมาอีกหลายขั้นตอน ทำให้คุณค่าทางอาหารน้อยลง นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยแก้ปัญหาวิกฤติอาหาร ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของเมือง ซึ่งเป็นปัญหาโดยรวมของสังคมอีกด้วย

ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกผักไว้บริโภคเองของคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และองค์กรภาคีต่างๆ จึงได้ริเริ่มโครงการสวนผักคนเมืองขึ้น นำร่องใน 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี และนครปฐม เพื่อให้มีการอบรมขยายความคิดและพัฒนาให้เกิดการปฏิบัติในพื้นที่ต่างๆ ให้งานสวนผักคนเมืองเกิดเป็นรูปธรรมและมีส่วนช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมถึงช่วยสร้างสรรค์สังคมเมืองให้ดีงาม

การริเริ่มโครงการดังกล่าวขึ้นมา มีวัตถุประสงค์เพื่อ ต้องการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภคและใช้สอย สำหรับกลุ่มครัวเรือนและชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพไว้บริโภค เสริมสร้างการเรียนรู้และสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดการพัฒนาความรู้เรื่องเกษตรในเมืองและชานเมือง รณรงค์เผยแพร่แนวคิดและรูปธรรมสู่สาธารณะ สุดท้ายเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันของกลุ่มคนในเมืองและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง ก่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อคนเมืองมากขึ้น

ส่วนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้เข้ามาร่วมทำสวนผักคนเมืองนั้น ได้ทั้งบุคคลที่สนใจปลูกผักกินเอง กลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันและใช้พื้นที่ตนเองในรูปแบบต่างๆ เช่น ทาวเฮาส์ บ้านเดี่ยว คอนโด หรือบ้านในชุมชนแออัด และกลุ่มบุคคลที่ใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกัน ได้แก่ ภายในโรงเรียน ชุมชนแออัด โรงงาน วัด รวมถึงบ้านจัดสรร เป็นต้น

สำหรับบุคคลหรือชุมชนใดที่สนใจอยากปลูกผัก แต่ยังนึกไม่ออกว่าจะเริ่มต้นอย่างไร วันนี้ขอนำเสนอการปลูกผัก 3 แบบ เผื่อคนเมืองจะเกิดไอเดียนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่อยู่อาศัยของตน

การปลูกผักบนล้อยาง สร้างประโยชน์จากยางรถยนต์เก่าๆ ที่หลายคนมองว่าไร้ค่า ใครจะรู้ว่า นอกจากใช้ปลูกผักแล้ว ล้อยางยังช่วยป้องกันการรบกวนของสัตว์และแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ด้วย ที่สำคัญเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนมีพื้นที่น้อยๆ อย่างคนเมือง





สวนครัวลอยฟ้า ไม้ประดับกินได้ การปลูกผักสวนครัวก็สามารถสร้างสรรค์ให้เกิดความสวยงามได้ไม่น้อยเช่นกัน โดยการใช้ภาชนะปลูกที่มีน้ำหนักเบา สามารถดัดแปลงให้มีขอสำหรับแขวน หรือ เกี่ยวได้ และนำไปแขวนตามจุด หรือมุมต่างๆ ของที่พักอาศัย เหมาะสำหรับที่พักอาศัยที่มีขนาดเล็ก มีพื้นที่ว่างเล็กน้อย เช่น ตามกำแพง ริมรั้ว ระเบียง ริมหน้าต่าง ผักที่เลือกมาปลูกควรเป็นผักที่หยั่งรากตื้น เช่น ผักบุ้งจีน กวางตุ้ง ผักกาดหอม โหระพา กระเพรา ข้อควรระวังคือ ความชื้นของสวนครัวลอยฟ้าจะระเหยอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงต้องหมั่นรดน้ำอยู่บ่อยๆ

ผักสวนครัวกระถาง กระสอบ หรือภาชนะ ไม่ว่าจะเป็นกะละมัง ตะกร้า หม้อ ชาม แม้แต่กล่องโฟม ก็นำมาใช้ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ต้องเลือกชนิดผักให้เหมาะสมนั่นก็คือ ผักรากหยั่งตื้น ได้แก่ ผักชี ต้นหมอ คะน้า ผักบุ้งจีน ผักกาดขาว ผักกาดเขียว ผักกาดหอม กะหล่ำปลี สะระแหน่ ขึ้นฉ่าย ตั้งโอ๋ เป็นต้น ส่วนผักรากหยั่งลึกปานกลาง ได้แก่ กะเพรา โหระพา แมงลัก พริก มะเขือ มะเขือเทศ แตงกวา ถั่วแขก และถั่วฝักยาว เป็นต้น

พอจะได้ไอเดียกันบ้างหรือป่าวคะ ขอแนะนำอีกเรื่อง เวลาเก็บผักมากินนั้น หากเป็นผักใบ พวกคะน้า ผักบุ้ง ให้เด็ดใบมารับประทาน ไม่ต้องถอนออกทั้งต้นนะคะ เพราะมันจะแตกแขนงออกมาให้ได้รับประทานกันอีก ยิ่งถ้าเป็นพวกสะระแหน่ กะเพรา โหระพา แมงลัก ตำลึง ยิ่งเด็ดก็จะยิ่งแตกยอดให้ได้รับประทานกันตลอดปีเลยทีเดียว

นอกจากนี้ "คนเมือง" ผู้สนใจปลูกผักสามารถติดต่อขอเข้ารับการอบรม หรือขอคำปรึกษาได้จากศูนย์อบรมต่างๆ ดังนี้
- ศูนย์อบรมเกษตรในเมือง สาขาเจ้าชายผัก (ลาดพร้าว 71) โทร. 081-867-2042
- ศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรในเมือง ศูนย์สุวรรณภูมิ คุณชูเกียรติ โกแมน โทร.085-090-2283
- มูลนิธิศูนย์สื่อเพื่อการพัฒนา (สวนผักบ้านคุณตา สุขุมวิท 62) โทร 089-6699249, 084-1664560, 02-6170832
- สวนเกษตรดาดฟ้า สำนักงานเขตหลักสี่ ฝ่ายรักษาความสะอาด โทร. 02-576-1393

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) เลขที่ 912 ซ.งามวงศ์วาน 31 (ซอยย่อยที่ 7) อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 02-591-1195-6 โทรสาร 02-580-2035 และเว็บไซต์ http://sathai.org



http://www.monmai.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 5:57 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 22/01/2013 5:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,844. ระบบเกษตรอินทรีย์ IFOAM

โดย monmai





เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นโดยสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements – IFOAM) ซึ่งได้ริเริ่มจัดตั้งโครงการรับรองระบบงานเกษตรอินทรีย์ IFOAM (IFOAM Accreditation Programme) ขึ้นในปี พ.ศ. 2535 เพื่อให้บริการรับรองระบบงานแก่หน่วยตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ต่างๆ ทั่วโลก ต่อมา ในปี พ.ศ. 2540 สหพันธ์ฯ ได้จัดตั้ง IOAS (International Organic Accreditation Service) ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในการให้บริการรับรองระบบงานนี้ ภายใต้กรอบของโครงการรับรองระบบงานเกษตรอินทรีย์ IFOAM โดย IOAS จดทะเบียนเป็นองค์กรไม่แสวงกำไร มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา





“ระบบการผลิตที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของสุขภาพดิน ระบบนิเวศ และผู้คน เกษตรอินทรีย์พึ่งพาอาศัยกระบวนการทางนิเวศวิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพ และวงจรธรรมชาติ ที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ แทนที่จะใช้ปัจจัยการผลิตที่มีผลกระทบทางลบ เกษตรอินทรีย์ผสมผสานองค์ความรู้พื้นบ้าน นวัตกรรม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมความสัมพันธ์ที่เป็นะรรม และคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกผู้คนและสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง” มติที่ประชุมใหญ่ IFOAM มิถุนายน 2551 อิตาลี

นัยของเกษตรอินทรีย์ตามนิยามของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติมองเกษตรอินทรีย์ในฐานะของการเกษตรแบบองค์รวม ที่ให้ความสำคัญในเบื้องต้นกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศการเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ละเลยมิติด้านสังคมและเศรษฐกิจ เพราะความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อมไม่อาจดำรงอยู่ได้โดยแยกออกจากความยั่งยืนทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรและสังคมโดยรวม


หลักการเกษตรอินทรีย์
เช่นเดียวกับคำนิยาม มีหลายฝ่ายที่พยายามสรุปหลักการเกษตรอินทรีย์ แต่หลักการเกษตรอินทรีย์ที่ยอมรับกันทั่วไปคือ หลักการที่กำหนดโดยสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Organic Agriculture Movements – IFOAM) โดยสหพันธ์ฯ ได้ระดมความคิดเห็นนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านเกษตรอินทรีย์โดยตรงจากทั่วโลก ร่างหลักการเกษตรอินทรีย์นี้ได้รับการนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ของสหพันธ์ฯ เมื่อปลายปี พ.ศ. 2548 และที่ประชุมใหญ่ได้ลงมติรับรองหลักการเกษตรอินทรีย์ดังกล่าว โดยหลักการเกษตรอินทรีย์ของสหพันธ์ฯ ประกอบด้วยหลักการ 4 ข้อสำคัญ คือ สุขภาพ, นิเวศวิทยา, ความเป็นธรรม, และการดูแลเอาใจใส่ (health, ecology, fairness and care)

(ก) มิติด้านสุขภาพ เกษตรอินทรีย์ควรจะต้องส่งเสริมและสร้างความยั่งยืนให้กับสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมของดิน พืช สัตว์ มนุษย์ และโลก

สุขภาวะของสิ่งมีชีวิตแต่ละปัจเจกและของชุมชน เป็นหนึ่งเดียวกันกับสุขภาวะของระบบนิเวศ การที่ผืนดินมีความอุดมสมบูรณ์จะทำให้พืชพรรณต่างๆ แข็งแรง มีสุขภาวะที่ดี ส่งผลต่อสัตว์เลี้ยงและมนุษย์ที่อาศัยพืชพรรณเหล่านั้นเป็นอาหาร

สุขภาวะเป็นองค์รวมและเป็นปัจจัยที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต การมีสุขภาวะที่ดีไม่ใช่การปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ แต่รวมถึงภาวะแห่งความเป็นอยู่ที่ดีของกายภาพ จิตใจ สังคม และสภาพแวดล้อมโดยรวม ความแข็งแรง ภูมิต้านทาน และความสามารถในการฟื้นตัวเองจากความเสื่อมถอยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสุขภาวะที่ดี

บทบาทของเกษตรอินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตในไร่นา การแปรรูป การกระจายผลผลิต หรือการบริโภค ต่างก็มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตทั้งปวง ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กสุดในดินจนถึงตัวมนุษย์เราเอง เกษตรอินทรีย์จึงมุ่งที่จะผลิตอาหารที่มีคุณภาพสูง และมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อสนับสนุนให้มนุษย์ได้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ เกษตรอินทรีย์จึงเลือกที่จะปฏิเสธการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เวชภัณฑ์สัตว์ และสารปรุงแต่งอาหาร ที่อาจมีอันตรายต่อสุขภาพ

(ข) มิติด้านนิเวศวิทยา เกษตรอินทรีย์ควรจะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของระบบนิเวศวิทยาและวัฐจักรแห่งธรรมชาติ การผลิตการเกษตรจะต้องสอดคล้องกับวิถีแห่งธรรมชาติ และช่วยทำให้ระบบและวัฐจักรธรรมชาติเพิ่มพูนและยั่งยืนมากขึ้น

หลักการเกษตรอินทรีย์ในเรื่องนี้ตั้งอยู่บนกระบวนทัศน์ที่มองเกษตรอินทรีย์ในฐานะองค์ประกอบหนึ่งของระบบนิเวศที่มีชีวิต ดังนั้น การผลิตการเกษตรจึงต้องพึ่งพาอาศัยกระบวนการทางนิเวศวิทยาและวงจรของธรรมชาติ โดยการเรียนรู้และสร้างระบบนิเวศสำหรับให้เหมาะสมกับการผลิตแต่ละชนิด ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของการปลูกพืช เกษตรกรจะต้องปรับปรุงดินให้มีชีวิต หรือในการเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรจะต้องใส่ใจกับระบบนิเวศโดยรวมของฟาร์ม หรือในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เกษตรกรต้องใส่ใจกับระบบนิเวศของบ่อเลี้ยง

การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ หรือแม้แต่การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่า จะต้องสอดคล้องกับวัฐจักรและสมดุลทางธรรมชาติ แม้ว่าวัฐจักรธรรมชาติจะเป็นสากล แต่อาจจะมีลักษณะเฉพาะท้องถิ่นนิเวศได้ ดังนัน การจัดการเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขท้องถิ่น ภูมินิเวศ วัฒนธรรม และเหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม เกษตรกรควรใช้ปัจจัยการผลิตและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการใช้ซ้ำ การหมุนเวียน เพื่อที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืน

ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ควรสร้างสมดุลของนิเวศการเกษตร โดยการออกแบบระบบการทำฟาร์มที่เหมาะสม การฟื้นฟูระบบนิเวศท้องถิ่น และการสร้างความหลากหลายทั้งทางพันธุกรรมและกิจกรรมทางการเกษตร ผู้คนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การแปรรูป การค้า และการบริโภคผลผลิตเกษตรอินทรีย์ควรช่วยกันในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งในแง่ของภูมินิเวศ สภาพบรรยากาศ นิเวศท้องถิ่น ความหลากหลายทางชีวภาพ อากาศ และน้ำ

(ค) มิติด้านความเป็นธรรม เกษตรอินทรีย์ควรจะตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ที่มีความเป็นธรรมระหว่างสิ่งแวดล้อมโดยรวมและสิ่งมีชีวิต

ความเป็นธรรมนี้รวมถึงความเท่าเทียม การเคารพ ความยุติธรรม และการมีส่วนในการปกปักพิทักษ์โลกที่เราอาศัยอยู่ ทั้งในระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง และระหว่างมนุษย์กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในหลักการด้านนี้ ความสัมพันธ์ของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตและการจัดการผลผลิตเกษตรอินทรีย์ในทุกระดับควรมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นธรรม ทั้งเกษตรกร คนงาน ผู้แปรรูป ผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้า และผู้บริโภค ทุกผู้คนควรได้รับโอกาสในการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนช่วยในการรักษาอธิปไตยทางอาหาร และช่วยแก้ไขปัญหาความยากจน เกษตรอินทรีย์ควรมีเป้าหมายในการผลิตอาหารและผลผลิตการเกษตรอื่นๆ ที่เพียงพอ และมีคุณภาพที่ดี

ในหลักการข้อนี้หมายรวมถึงการปฏิบัติต่อสัตว์เลี้ยงอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดสภาพการเลี้ยงให้สอดคล้องกับลักษณะและความต้องการทางธรรมชาติของสัตว์ รวมทั้งดูแลเอาใจใส่ความเป็นอยู่ของสัตว์อย่างเหมาะสม

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่นำมาใช้ในการผลิตและการบริโภคควรจะต้องดำเนินการอย่างเป็นธรรม ทั้งทางสังคมและทางนิเวศวิทยา รวมทั้งต้องมีการอนุรักษ์ปกป้องให้กับอนุชนรุ่นหลัง ความเป็นธรรมนี้จะรวมถึงว่า ระบบการผลิต การจำหน่าย และการค้าผลผลิตเกษตรอินทรีย์จะต้องโปร่งใส มีความเป็นธรรม และมีการนำต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมาพิจารณาเป็นต้นทุนการผลิตด้วย

(ง) มิติด้านการดูแลเอาใจใส่ การบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ควรจะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังและรับผิดชอบ เพื่อปกป้องสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งพิทักษ์ปกป้องสภาพแวดล้อมโดยรวมด้วย





เกษตรอินทรีย์เป็นระบบที่มีพลวัตรและมีชีวิตในตัวเอง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์ควรดำเนินกิจการต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตในการผลิต แต่ในขณะเดียวกันจะต้องระมัดระวังอย่าให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ดังนี้น เทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ จะต้องมีการประเมินผลกระทบอย่างจริงจัง และแม้แต่เทคโนโลยีที่มีการใช้อยู่แล้ว ก็ควรจะต้องมีการทบทวนและประเมินผลกันอยู่เนืองๆ ทั้งนี้เพราะมนุษย์เรายังไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจอย่างดีพอเกี่ยวกับระบบนิเวศการเกษตร ที่มีความสลับซับซ้อน ดังนั้น เราจึงต้องดำเนินการต่างๆ ด้วยความระมัดระวังเอาใจใส่

ในหลักการนี้ การดำเนินการอย่างระมัดระวังและรับผิดชอบเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการ การพัฒนา และการคัดเลือกเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในเกษตรอินทรีย์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นใจว่า เกษตรอินทรีย์นั้นปลอดภัยและเหมาะกับสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้ทางวิทยาศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ประสบการณ์จากการปฏิบัติ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สะสมถ่ายทอดกันมาก็อาจมีบทบาทในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้เช่นกัน เกษตรกรและผู้ประกอบการควรมีการประเมินความเสี่ยง และเตรียมการป้องกันจากนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ และควรปฏิเสธเทคโนโลยีที่มีความแปรปรวนมาก เช่น เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม การตัดสินใจเลือกเทคโนโลยีต่างๆ จะต้องพิจารณาถึงความจำเป็นและระบบคุณค่าของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้ที่อาจได้รับผลกระทบ และจะต้องมีการปรึกษาหารืออย่างโปร่งใสและมีส่วนร่วม


มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท.
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท. เป็นมาตรฐานที่จัดทำขึ้นโดยคณะอนุกรรมการมาตรฐานของ มกท. ตามแนวทางมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ขั้นพื้นฐานของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements หรือ IFOAM) โดยการรับรองของสมัชชาสมาชิก มกท. มาตั้งแต่ พ.ศ. 2542 และต่อมามีการแก้ไขปรับปรุงอีกหลายครั้ง ปัจจุบัน มกท. มีมาตรฐานครอบคลุมในเรื่องการผลิตพืชอินทรีย์ การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปผลิตภัณฑ์อินทรีย์ การเก็บผลิตผลจากธรรมชาติ การผลิตปัจจัยการผลิตเพื่อการค้า การเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าอินทรีย์ และรายการอาหารอินทรีย์ ซึ่งทำให้ มกท. สามารถให้บริการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์อินทรีย์ได้ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การผลิตในระดับฟาร์ม การนำผลิตผลจากฟาร์มมาแปรรูปในโรงงาน และจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูป


มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท. มีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1. คำจำกัดความ เป็นความหมายของคำต่าง ๆ ที่ใช้ในมาตรฐานฉบับนี้ เพื่อให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการมีความเข้าใจในความหมายของคำดังกล่าวตรงกัน

2. หลักการและความมุ่งหมายในการผลิตและการแปรรูปเกษตรอินทรีย์ เป็นเป้าหมายในการผลิตแบบอินทรีย์ที่ผู้ผลิตและผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงในขณะที่ทำการผลิตแบบอินทรีย์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ

3. แนวทางปฏิบัติ เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อระบบการผลิตแบบอินทรีย์ ซึ่งเป็นข้อเสนอแนะที่ มกท. แนะนำให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการนำไปปฏิบัติ แต่มิได้บังคับหรือมีผลต่อการตัดสินใจรับรองมาตรฐาน

4. มาตรฐาน เป็นข้อกำหนดและเงื่อนไขขั้นตํ่าที่ผู้ผลิตและผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามเพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน โดย มกท. จะใช้มาตรฐานเหล่านี้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาตัดสินรับรอง การผลิตและการประกอบการของท่าน

5. ภาคผนวก เป็นส่วนของเนื้อหาเพิ่มเติม ซึ่งแบ่งออกเป็นภาคผนวกต่างๆ ดังนี้
• ภาคผนวก 1 เป็นรายการปัจจัยการผลิตที่อนุญาตให้ใช้ในกระบวนการผลิตอินทรีย์ ทั้งปุ๋ยและสารปรับปรุงดิน ผลิตภัณฑ์และวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชและศัตรูในโรงเก็บ สารเร่งการเจริญเติบโต ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ และสารปรุงแต่งที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งผู้ผลิตและผู้ประกอบการต้องใช้ปัจจัยการผลิตเฉพาะตามรายการที่ระบุไว้หรือมีส่วนประกอบตามที่ระบุไว้ในภาคผนวกนี้เท่านั้น

• ภาคผนวก 2 เป็นรายการสารปรุงแต่งและสารช่วยแปรรูปที่อนุญาตให้ใช้ในกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์อินทรีย์ โดยผู้แปรรูปต้องใช้สารเฉพาะที่ระบุไว้ในภาคผนวกนี้เท่านั้น และต้องใช้กับผลิตภัณฑ์ตามที่ระบุไว้ด้วย

• ภาคผนวก 3 เป็นรายการปัจจัยการผลิตที่อนุญาตให้ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าอินทรีย์ ทั้งวัสดุที่ใช้ในการป้องกันกำจัดโรคและศัตรู และวัสดุที่ใช้เป็นส่วนผสมของอาหาร

• ภาคผนวก 4 เป็นแนวทางการประเมินปัจจัยการผลิตอื่นๆ ที่ มกท. อาจอนุญาตให้ใช้เพิ่มเติมได้ในกรณีที่ปัจจัยการผลิตดังกล่าวมิได้ระบุอยู่ในภาคผนวก 1และ 3โดยผู้ผลิตและผู้ประกอบการต้องมีรายละเอียดส่วนประกอบของปัจจัยการผลิตดังกล่าวและแจ้งให้ มกท. ทราบ เพื่อพิจารณาว่าสามารถอนุญาตให้ใช้ได้หรือหรือไม่

• ภาคผนวก 5 เป็นแนวทางการประเมินสารปรุงแต่งและสารช่วยแปรรูปอื่นๆ ที่ มกท. อาจอนุญาตให้ใช้เพิ่มเติมได้ในกรณีที่สารดังกล่าวมิได้ระบุอยู่ในภาคผนวก 2และ 3 โดยผู้ประกอบการจะต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับสารดังกล่าวและชี้แจงความจำเป็นที่จะต้องใช้สารดังกล่าวให้ มกท. พิจารณาตามแนวทางในภาคผนวกนี้

• ภาคผนวก 6 แนวทางการพิจารณาปริมาณโลหะหนักในปุ๋ย เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณารับรองปุ๋ยอินทรีย์

• ภาคผนวก 7 มาตรฐานการปนเปื้อนโลหะหนักในวัตถุดิบจากสัตว์นํ้าที่นำมาผลิตเป็นอาหารสัตว์นํ้าอินทรีย์

• ภาคผนวก 8 มาตรฐานการควบคุมการระบายนํ้าทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า

• ภาคผนวก 9 เป็นหลักเกณฑ์การปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท. ซึ่งเป็นกระบวนการที่เปิดโอกาสให้บุคคลที่เกี่ยวข้องสามารถมีส่วนร่วมในการเสนอข้อคิดเห็นในการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานได้ โดยส่งข้อคิดเห็นมายัง มกท. (ตามแบบฟอร์มท้ายเล่ม) เพื่อให้อนุกรรมการมาตรฐาน มกท. พิจารณาและปรับปรุงแก้ไขตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในภาคผนวกนี้


คำจำกัดความ
• การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว (handling) ได้แก่ การผึ่งแห้ง การตากธัญชาติ การทำความสะอาด การตัดแต่ง การคัดเลือก การบรรจุผลิตภัณฑ์ การจัดเก็บ และการขนส่ง

• การแปรรูป (processing) ได้แก่ การต้ม การตากแห้ง การอบ การผสม การบด การอัด การสี การทำให้เป็นของเหลว การหมัก การดอง การแช่อิ่ม การเคี่ยว การกวน การทอด ฯลฯ

• การผลิตคู่ขนาน (parallel production) หมายถึง การปลูก การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว และ การแปรรูปผลิตผลและผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน ทั้งแบบอินทรีย์และแบบอื่น ซึ่งการผลิตแบบอื่นนี้หมายรวมถึงการผลิตแบบเคมี ระยะปรับเปลี่ยน ธรรมชาติ และอินทรีย์ที่ไม่ขอรับรอง

• เกษตรทั่วไป (conventional agriculture) หมายถึง ระบบการผลิตใด ๆ ที่ไม่ได้ผ่านการรับรองเป็นอินทรีย์หรืออินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยน

• เกษตรอินทรีย์ (organic agriculture) หมายถึง ระบบการผลิตที่ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช และเป็นระบบการผลิตที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในมาตรฐาน มกท.

• ความเป็นธรรมในสังคม (social justice) หมายถึง สิทธิทางสังคมขั้นพื้นฐานที่ลูกจ้างและคนงานในฟาร์มเกษตรอินทรีย์และการประกอบการพึงได้รับจากผู้ผลิต/ผู้ประกอบการที่เป็นนายจ้างอย่างเป็นธรรม รวมถึงการที่ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการควรได้รับความเป็นธรรมทางการค้า เช่น ราคาที่เป็นธรรม จากผู้ซื้อหรือผู้ค้าด้วย

• ผลิตผล (produce) หมายถึง ผลิตผลที่ได้จากการเพาะปลูกหรือการเก็บเกี่ยวจากธรรมชาติ และ/หรือ ผ่านการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวแล้ว

• ผลิตภัณฑ์ (product) หมายถึง ผลิตผลที่ผ่านกระบวนการแปรรูป

• ผู้ผลิต (producer/ farmer) หมายถึง ผู้ทำการปลูกพืช ดูแลรักษา จนกระทั่งเก็บเกี่ยว และจำหน่าย

• ผู้ประกอบการ (operator) หมายถึง ผู้ที่ดำเนินกิจการในการนำผลิตผลเกษตรอินทรีย์มาทำการแปรรูป และจำหน่าย ทั้งนี้รวมทั้ง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ผู้จัดจำหน่าย ผู้ส่งออก และผู้ผลิตปัจจัยการผลิตด้วย

• ผู้รับช่วงผลิต (sub-contractor) หมายถึง ผู้ถูกว่าจ้างให้ทำการผลิต แปรรูป หรือจัดการผลิตผลเกษตรอินทรีย์ในบางขั้นตอน

• พืชล้มลุก (annual crop) หมายถึง พืชที่มีวงจรชีวิตสั้น เก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นภายในฤดูการเพาะปลูกเดียว

• พืชยืนต้น (perennial crop) หมายถึง พืชที่มีอายุยาวกว่า 1 ปี และสามารถเก็บเกี่ยวผลิตผลได้ต่อเนื่องมากกว่าฤดูการผลิตเดียว

• พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) หมายถึง กระบวนการตัดต่อและปรับเปลี่ยนสารพันธุกรรม (gene) ด้วยวิธีการทางชีวโมเลกุล โดยทำให้สารพันธุกรรมของพืช สัตว์ จุลชีพ เซลล์ และหน่วยสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่ใช่วิธีการที่ได้จากการผสมพันธุ์ การคัดเลือกพันธุ์ หรือการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติ

เทคนิคในการทำพันธุวิศวกรรมนี้ ได้แก่
การทำ ดีเอ็นเอ ลูกผสม (recombinant DNA),
การหลอมของเซลล์ (cell fusion),
ไมโครอินเจคชั่น (micro injection) และ
แมคโครอินเจคชั่น (macro injection),
การมีถุงหุ้ม (encapsulation),
การขาดหายของจีน (gene deletion) และ
การเพิ่มจำนวนจีน (gene doubling) และ

ไม่รวมถึงสิ่งมีชีวิตที่ได้มาจากเทคนิคต่อไปนี้ คือ
การผสมพันธุ์แบบจับคู่ (conjugation),
การถ่ายโอนจีน (transduction) และ
การเกิดลูกผสมตามธรรมชาติ (natural hybridization)

• ปัจจัยการผลิต (input) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการผลิตเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ย สารปรับปรุงดิน สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช รวมถึง สารปรุงแต่ง และสารช่วยแปรรูปที่ใช้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์อินทรีย์

• ปัจจัยการผลิตเพื่อการค้า (commercial input) หมายถึง ปัจจัยการผลิตซึ่งผ่านกระบวนการผลิตและปรุงแต่งเพื่อประโยชน์ทางการค้า

• แปลง (field) หมายถึง พื้นที่ที่ทำการเพาะปลูกที่มีอาณาเขตติดต่อเป็นผืนเดียวกัน

• ฟาร์ม (farm) หมายถึง พื้นที่ที่ทำเกษตรกรรมทั้งหมด (ทั้งเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์) ซึ่งรับผิดชอบการผลิตโดยบุคคลคนเดียวกัน ทั้งที่เช่าจากผู้อื่นเพื่อทำการผลิตหรือมีสิทธิ์ทำการผลิตโดยมิได้เป็นเจ้าของ

• รายการอาหารอินทรีย์ ( organic menu) หมายถึง อาหารที่มีการปรุงเพื่อการบริโภคโดยใช้วัตถุดิบที่เป็นอินทรีย์และได้รับการรับรองจาก มกท. หรือเทียบเท่า

• ระยะการปรับเปลี่ยน (conversion period) หมายถึง ช่วงเวลานับจากเริ่มต้นทำเกษตรอินทรีย์ ตามมาตรฐาน มกท. จนกระทั่งได้รับการรับรองผลิตผลว่าเป็นเกษตรอินทรีย์

• วัตถุดิบ (raw material) หมายถึง ส่วนประกอบหลักของผลิตภัณฑ์แปรรูป ที่ไม่ใช่สารปรุงแต่ง

• ส่วนผสม (ingredient) หมายถึง สารใดๆ ก็ตาม รวมทั้งวัตถุดิบและสารปรุงแต่งที่ใช้ในการแปรรูป และยังปรากฏอยู่ในผลิตภัณฑ์สุดท้าย โดยอาจเปลี่ยนรูปไปแล้วก็ตาม

• สารช่วยในการแปรรูป (processing aid) หมายถึง สารหรือวัสดุใดๆ ที่ใช้ช่วยในการแปรรูปอาหาร โดยไม่ได้นำมาใส่หรือใช้เพื่อบริโภคเหมือนกับส่วนผสมของอาหาร แต่ต้องการนำมาใช้ช่วย แปรรูปวัตถุดิบ อาหาร หรือส่วนผสม เพื่อให้ได้ผลในทางเทคนิคตามที่ต้องการ และอาจพบหลงเหลือในผลิตภัณฑ์สุดท้ายได้โดยไม่ตั้งใจหรือหลีกเเลี่ยงไม่ได้

• สารปรุงแต่ง (food additive) หมายถึง สารที่ช่วยเสริม หรือปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ หรือสารใด ๆ ที่ผสมเข้าไปในผลิตภัณฑ์แล้ว มีผลต่อคุณภาพการเก็บรักษา กลิ่น สี รสชาติ ความเข้ากัน หรือคุณสมบัติอื่น ๆ ของผลิตภัณฑ์

• สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุ์ (genetically modified organism) หมายถึง สิ่งมีชีวิต ทั้งพืช สัตว์ และ จุลชีพที่ได้มาจากกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม

•ไฮโดรโปนิค (hydroponic) หมายถึง วิธีการปลูกพืชที่ไม่ใช้ดิน และให้พืชดูดสารละลายแร่ธาตุเข้าทางรากพืชโดยตรง


หลักการและความมุ่งหมายในการผลิตและการแปรรูปเกษตรอินทรีย์
เกษตรอินทรีย์ หมายรวมถึง เกษตรธรรมชาติ และเกษตรนิเวศ ด้วย มีหลักการและความมุ่งหมายที่สำคัญดังนี้
• พัฒนาระบบการผลิตไปสู่แนวทางเกษตรผสมผสานที่มีความหลากหลายของพืชและสัตว์

• พัฒนาระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองในเรื่องของอินทรียวัตถุและธาตุอาหารภายในฟาร์ม

• ฟื้นฟูและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ โดยใช้ทรัพยากรในฟาร์มมาหมุนเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

• รักษาความสมดุลของระบบนิเวศในฟาร์มและและความยั่งยืนของระบบนิเวศโดยรวม

• ป้องกันและหลีกเลี่ยงการปฏิบัติที่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

• สนับสนุนระบบการผลิตและกระบวนการจัดการทุกขั้นตอน ที่คำนึงถึงหลักมนุษยธรรม

• ยึดหลักการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปที่เป็นวิธีการธรรมชาติ ประหยัดพลังงาน และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด



มกท. ได้รับการรับรองระบบงานเกษตรอินทรีย์ IFOAM นี้จาก IOAS ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 โดยเป็นหน่วยตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์แห่งแรกในเอเชียที่ได้รับการรับรองระบบ งานนี้ ในระบบนี้ มกท. สามารถให้บริการตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ในขอบข่ายเกี่ยวกับ การเพาะปลูกพืช การเก็บผลผลิตจากป่าและพื้นที่ธรรมชาติ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูปและจัดการผลผลิต และปัจจัยการผลิตเพื่อการค้า

ผู้ประกอบการ ที่ได้รับการรับรองจาก มกท. ตามระบบนี้ จะสามารถใช้ตรารับรองเกษตรอินทรีย์ของ มกท. ร่วมกับตรา “IFOAM Accredited” (ต้องใช้ร่วมกันเสมอ)





สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการ ส่งออก มีหลายประเทศที่ผู้นำเข้าต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับรองมาตรฐานใน ระบบนี้ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์

เอกสารข้อกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สำหรับระบบนี้คือ “มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท.”

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท. ฉบับ 2012 อนุมัติโดยกรรมการบริหาร มกท. วันที่ 20 มิถุนายน 2555 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2555


มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 2012
เป็นมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท. ที่ปรับปรุงฉบับล่าสุด เมื่อกลางปี 2555 โดยมีเนื้อหาครอบคลุมการผลิตพืช การเก็บผลผลิตจากป่า การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูปและการจัดการ เมนูในร้านอาหาร ปัจจัยการผลิตเชิงการค้า การเลี้ยงสัตว์ และการเลี้ยงผึ้ง



http://www.monmai.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 5:58 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 24/01/2013 2:03 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,845. พืชที่เหมาะสมสำหรับที่สูงของไทย


ลักษณะอาการของที่สูง
ที่สูงของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตภาคเหนือนั้น นอกจากจะอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากแล้ว (๗๐๐-๒,๕๐๐ เมตร) ยังอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากกว่าส่วนอื่นของประเทศอีกด้วย (ละติจูด ๑๘-๒๐ องศาเหนือ) ทำให้มีลักษณะเด่นอยู่อย่างหนึ่งคืออากาศจะหนาวเย็นกว่าในพื้นที่อื่นโดยทั่วไป การที่ให้ความสำคัญแก่ลักษณะอากาศมากกว่าปัจจัยอื่นๆ ก็เพราะว่าลักษณะของดิน สภาวะของฝนและเรื่องอื่นๆ เช่น ลมพายุนั้นเป็นเรื่องที่จะป้องกันแก้ไขหรือปรับปรุงได้พอสมควร แต่เรื่องของลักษณะอากาศนั้นยากต่อการเปลี่ยนแปลง

ที่สูงบางแห่ง เช่น ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขางอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ นั้น จะมีอุณหภูมิในฤดูหนาวต่ำกว่าศูนย์องศาเซลเซียสทุกปี และในบางปีอุณหภูมิอาจลดต่ำถึง -๖ องศาเซลเซียสทีเดียว ระยะที่มีอากาศหนาวจนถึงหนาวจัดนั้น จะเริ่มประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน และจะหนาวไปจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์เป็นอย่างน้อย และถึงแม้จะเป็นฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมก็ตาม อากาศในตอนกลางคืนก็จะฃยังเย็นจนถึงหนาว

บนที่สูงหรือตามดอยต่างๆ นั้น เนื่องจากภูมิประเทศเป็นภูเขาและหุบเขาซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกัน บางแห่งจะเป็นภูเขาซับซ้อน บางแห่งจะมีลักษณะเป็นกระทะหรือชามอ่างมีภูเขาสูงล้อมรอบ บางแห่งมีลำธารไหลผ่านมาก บางแห่งอยู่ในทิศทางของลมแรง และบางแห่งมีป่าเหลืออยู่มาก เป็นต้น ลักษณะต่างๆ เหล่านี้จะทำให้ลักษณะอากาศของพื้นที่แต่ละแห่งแตกต่างกันไป ถึงแม้จะมีระดับความสูงใกล้เคียงกันก็ตาม ในที่ลาดชันนั้น อากาศเย็นซึ่งหนักกว่าอากาศอุ่นจะไหลจากยอดเขาลงมาสู่หุบเขาข้างล่าง ทำให้พื้นที่ในหุบเขานั้นเย็นหรือหนาวจัดกว่าด้านบนของความลาดชัน ยิ่งถ้าเป็นหุบเขาแบบก้นกระทะหรือเป็นชามอ่างด้วยแล้ว อากาศเย็นจะไหลลงมารวมกันอยู่ที่ก้นอ่างหรือก้นกระทะทำให้หนาวมากยิ่งขึ้น ในบางแห่งจะทำให้อุณห-ภูมิในฤดูหนาวลดต่ำลงถึงขนาดที่เกิดน้ำค้างแข็ง ได้ และทำให้ใบไม้ของพืชหลายชนิดไหม้เกรียมและอาจถึงตายได้ด้วย ต้นไม้ที่จะปลูกในที่เช่นนี้จึงควรเป็นต้นไม้ที่ชอบอากาศหนาว และมีความทนทานต่ออุณหภูมิต่ำได้ดี

ที่สูงบางแห่งจะมีเมฆหมอกมาก เมฆหมอกเหล่านี้อาจเกิดจากการที่มีแหล่งน้ำหรือมีป่าใหญ่ในบริเวณใกล้เคียงหรือเป็นพื้นที่สูงมากเช่น ยอดดอยอินทนนท์ เป็นต้น ที่สูงดังกล่าวนี้จะมีลักษณะอากาศเย็นชื้น เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของพืชประเภทเฟินและมอสส์ต่างๆ แต่ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับพืชที่ต้องการแสงแดดมาก เช่น ไม้ผลต่างๆ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นจะต้องศึกษาลักษณะอากาศของพื้นที่ให้ทราบแน่นอนก่อนที่จะพิจารณาชนิดของพืชที่จะปลูกในที่นั้นๆ โดยคำนึงถึงเรื่อง สำคัญ ๓ เรื่องคือ
๑. ความหนาวเย็นในเดือนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูหนาว
๒. อันตรายจากน้ำค้างแข็ง
๓. แสงแดดและเมฆหมอก


ผลแอปเปิล



ผลสตรอว์เบอร์รี



ผลพลับ



ผลสาลี่


พืชที่เหมาะสมสำหรับที่สูง
ลักษณะพิเศษของอากาศบนที่สูงนี้ทำให้สามารถปลูกพืชที่ชอบอากาศหนาวได้เป็นอย่างดีไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ที่เป็นประโยชน์ในด้านป่าไม้ ไม้ผล พืชผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ หรือพืชไร่ พืชที่เราไม่เคยปลูกได้มาก่อนก็สามารถปลูกได้เป็นการค้า เช่น แอปเปิล สาลี่ ท้อ พลับ พลัม บ๊วย กาแฟอะราบิกา กีวี ราสป์เบอร์รี มะเดื่อฝรั่งลินิน ไพรีทรัม ถั่วแดงหลวง เห็ดหอม อะเซเลีย แอลสโตรมีเรีย เป็นต้น ส่วนพืชบางชนิดก็สามารถปลูกได้ดียิ่งขึ้นบนที่สูง เช่น สตรอว์เบอร์รี องุ่นข้าวสาลี ผักกาดหอมห่อ เซเลอรี เอ็นไดฟ์ กะหล่ำปลีแดง โกโบ มันฝรั่ง ปวยเหล็ง คาร์เนชัน แกลดิโอลัส กุหลาบ เบญจมาศ เยอร์บีรา สแตติส เป็นต้น

มีพืชหลายชนิดที่สามารถปลูกได้ตลอดปีบนที่สูง เช่น ผักต่างๆ มันฝรั่ง ไม้ดอกและไม้ ประดับ จึงทำให้เกิดอาชีพที่จะปลูก "พืชนอกฤดู" ได้อีกด้วย เช่น ผักและไม้ดอกเมืองหนาวนั้น จะปลูกได้ในพื้นที่ต่ำเฉพาะในฤดูหนาวเท่านั้น ในฤดูที่ไม่สามารถปลูกได้ในพื้นที่ต่ำฃจึงเหมาะที่จะปลูกบนที่สูงเพราะจะขายได้ราคาดีและไม่มีการแข่งขันมากนัก

พืชบางชนิดจะมีความเหมาะสมในการปลูกบนที่สูงเพื่อทำเป็นเมล็ดพันธุ์หรือหัวพันธุ์ มีพืชผักหลายชนิดที่จะออกดอกติดเมล็ดได้ดีบนที่สูง เมล็ดผักเหล่านี้สามารถใช้เป็นเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกในพื้นที่ต่ำได้เป็นอย่างดี ทำให้ลดการสั่งเข้าเมล็ดพันธุ์ผักจากต่างประเทศไปได้มาก นอกจากนี้แล้ว พืชที่ใช้หัวเป็นพันธุ์ปลูก เช่น มันฝรั่งก็สามารถผลิตหัวพันธุ์บนที่สูงได้ เป็นหัวพันธุ์ที่จะนำไปปลูกในพื้นที่ต่ำในฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูมันฝรั่งของพื้นที่ต่ำทางภาคเหนือจะเห็นได้ว่าการปลูกพืชบนที่สูงนั้น สามารถตั้งวัตถุประสงค์ให้เกิดประโยชน์ได้เป็น ๔ กรณี คือ
๑. ปลูกพืชเมืองหนาวที่ไม่สามารถปลูกในที่อื่นได้
๒. ปลูกพืชที่ทำให้ได้คุณภาพของผลิตผล และผลประโยชน์ดีขึ้น
๓. ปลูกพืชนอกฤดู
๔. ปลูกพืชเพื่อผลิตเมล็ดหรือหัวพันธุ์ในบรรดาพืชต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้มีพืชเมืองหนาวชนิดหนึ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษได้แก่ไม้ผลเขตหนาวชนิดผลัดใบ ไม้ผลชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดในเขตหนาว จึงมีลักษณะทางสรีรวิทยาผิดแผกไปจากพืชเมืองร้อนอย่างมาก แต่การค้นคว้าวิจัยเป็นเวลานานพอสมควร ทำให้ เราสามารถปลูกไม้ผลเขตหนาวผลัดใบได้หลายชนิดบนที่สูงของประเทศไทย เช่น แอปเปิล สาลี่ ท้อพันธุ์ดี หรือพีช พลัม บ๊วย และพลับ เป็นต้น

ความพยายามที่จะปลูกไม้ผลดังกล่าวนี้เกิดจากความต้องการที่จะลดหรือทดแทนการสั่งเข้าผลไม้ต่างประเทศ และความต้องการที่จะหาพืชยืนต้นที่ทำรายได้ดีทดแทนรายได้จากการปลูกฝิ่นนอกจากนั้นไม้ผลซึ่งเป็นไม้ยืนต้นนี้จะช่วยให้ชาวเขาตั้งหลักแหล่งอยู่กับที่โดยไม่จำเป็นจะต้องเคลื่อนย้ายทำไร่เลื่อนลอยอีกต่อไป นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในแง่ของการรักษาต้นน้ำลำธารอีกด้วย ไม้ผลเขตหนาวชนิดผลัดใบจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในฤดูร้อน พอถึงปลายฤดูร้อนตาที่อยู่ตรงซอกของก้านใบจะมีการพักตัว การพักตัวของตานี้จะต้องอาศัยความหนาวเย็นในฤดูหนาวที่เพียงพอมาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสรีรวิทยา การพักตัวจึงจะสลายหมดสิ้นไปและเป็นเหตุให้ตานั้นเจริญออกมาได้ ขบวนการนี้เรียกว่า "การแตกตา" อย่างไรก็ตามถ้าตาที่พักตัวไปแล้วไม่ได้รับความหนาวเย็นอย่างพอเพียงนั่นคือฤดูหนาวไม่หนาวพอ ตาจะไม่สามารถแตกออกมาได้ ต้นไม้ก็จะมีการเจริญเติบโตน้อยและในที่สุดก็ต้องตายไป ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถปลูกไม้ผลเขตหนาวในพื้นที่ต่ำซึ่งมีความหนาวเย็น

ในฤดูหนาวไม่มากนักได้ ไม้ผลเขตหนาวแต่ละชนิดแต่ละพันธุ์จะต้อง การความหนาวเย็นในฤดูหนาวเพื่อทำให้ตาหมดการพักตัวไม่เท่ากัน บางอย่างต้องการมาก บางอย่างต้องการน้อย ความหนาวที่มีผลในการทำให้การพักตัวของตาหมดไปได้นั้นถือกันว่ามีอุณหภูมิต่ำกว่า ๗.๒ องศาเซลเซียส และความต้องการอุณหภูมิที่ต่ำกว่า ๗.๒ องศาเซลเซียส เพื่อทำลายการพักตัวของตานั้นจะวัดกันเป็นหน่วยชั่วโมง พันธุ์แอปเปิลที่ปลูกกันแพร่หลายทั่วไปในเมืองหนาวนั้นจะต้องการประมาณ ๘๐๐ ถึง ๑,๐๐๐ ชั่วโมง ในที่สูงของประเทศไทยซึ่งมีอุณหภูมิต่ำในระหว่างฤดูหนาวนั้น ตามความเป็นจริงแล้วก็ยังมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่า ๗.๒ องศาเซลเซียสเพียงไม่กี่ชั่วโมง ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขางซึ่งเป็นที่หนาวที่สุดแห่งหนึ่ง ก็มีอุณหภูมิต่ำกว่า ๗.๒ องศาเซลเซียสไม่เกิน ๕๐๐ ชั่วโมงเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นจะต้องคัดเลือกพันธุ์ไม้อย่างถูกต้อง คือควรเลือกปลูกเฉพาะพันธุ์ที่ต้องการความหนาวเย็นน้อยเท่านั้นอย่างไรก็ตาม การที่จะช่วยแก้ไขภาวะของการขาดความหนาวเย็นนั้นก็สามารถทำได้หลายวิธี วิธีที่ดีที่สุดก็คือการปรับปรุงพันธุ์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ส่วนวิธีอื่นๆ สามารถทำได้โดยการโน้มกิ่ง การปลิดใบ การควบคุมการให้น้ำและการใช้สารเคมี เป็นต้น

ในที่สูงของประเทศไทย ไม้ผลเขตหนาวส่วนใหญ่จะเริ่มทิ้งใบในตอนปลายฤดูฝน พอถึงประมาณเดือนพฤศจิกายนก็จะไม่มีใบเหลืออยู่บนต้นเลยมองดูเหมือนต้นไม้ตาย ลักษณะเช่นนี้เป็นนิสัยของไม้ผลเขตหนาวและประเภทผลัดใบ หลังจากนั้นอีกไม่นานเมื่อตาหมดการพักตัวแล้ว ก็จะแตกตาออกมาเป็นดอกและใบไม้ผลเขตหนาวส่วนมากจะมีดอกบานก่อนที่จะเห็นใบได้ชัดเจน จึงทำให้แลดูสะพรั่งไปด้วยสีต่างๆ สวนท้อจะเป็นสีชมพูไปทั่ว สวนสาลี่จะเป็นสีขาวไปหมด และสวนแอปเปิลก็จะเป็นสีชมพูอ่อน สวยงามยิ่งนัก หลังจากดอกบานแล้ว ก็จะเริ่มมีการติดผล แล้วผลก็จะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งแก่และสุก การติดผลของไม้ผลเขตหนาวนั้นมีเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งคือไม้ผลบางชนิด บางพันธุ์ไม่สามารถติดผลโดยใช้เกสรของพันธุ์เดียวกันได้แต่ต้องอาศัยเกสรจากพันธุ์อื่นมาผสมจึงจะติดผลจึงจำเป็นจะต้องปลูกพันธุ์ที่เหมาะสมไว้ด้วยกันไม้ผลที่มักจะมีปัญหาเรื่องการติดผลนี้ได้แก่ พลับ และแอปเปิล

ไม้ผลเขตหนาวจะมีฤดูกาลของผลสุกไม่เหมือนกัน บ๊วยจะมีผลแก่เก็บได้ประมาณเดือนมีนาคมถึงเมษายน ท้อจะเริ่มสุกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูก หลังจากนั้นก็จะเป็นพลัม แอปเปิล สาลี่ และพลับ โดยลำดับ ผลไม้บางอย่าง เช่น ท้อพันธุ์ดี นั้น จะสุกเร็วกว่าในประเทศอื่นเนื่องจากประเทศไทยมีอากาศหนาวไม่นานและมีความร้อนในระหว่างที่ผลไม้เจริญเติบโตอย่างเพียงพอ ทำให้มีความเหมาะสมที่จะส่งไปขายยังตลาดต่างประเทศมาก



http://guru.sanook.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 5:59 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 25/01/2013 5:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,846. สูตรปุ๋ยสำหรับการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์



การปลูกพืชไม่ใช้ดิน คือ การปลูกพืชลงในวัสดุปลูกอย่างอื่นที่ไม่ใช่ดิน เพื่อเป็นการลดข้อจำกัดและปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับดินหรือพื้นที่ปลูก โดยการสร้างและควบคุมสภาวะต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูก วัสดุที่ใช้ปลูกอาจใช้ชานอ้อย ขี้เลื่อย แกลบ ขี้เถ้า หิน กรวด แผ่นฟองน้ำ เส้นใยพลาสติก หรือแม้กระทั่งการปลูกในน้ำที่เราเรียกกันว่า การปลูกแบบ “ไฮโดรโปนิกส์” ที่เป็นการปลูกพืชที่ให้รากพืชแช่อยู่ในน้ำสารละลายธาตุอาหารโดยตรง ซึ่งมีหลายรูปแบบเช่นกัน

การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับว่าเราจะปลูกพืชชนิดใดปลูกทำไมหรือปลูกเพื่ออะไร จากนั้นจึงเลือกวิธีปลูกและจัดเตรียมอุปกรณ์ ในทางทฤษฎีแล้ววิธีนี้สามารถใช้ปลูกพืชได้ทุกชนิดเนื่องจากวิธีการปลูกพืชแบบนี้เป็นการปลูกพืชโดยเลียนแบบการปลูกพืชบนดินตามธรรมชาติ เพียงแต่วิธีนี้ผู้ปลูกจะต้องจัดหาแร่ธาตุที่พืชต้องการใช้ในการเจริญเติบโตให้แก่พืชซึ่งปกติแล้วพืชจะได้แร่ธาตุเหล่านี้มาจากดินที่ใช้ปลูก หรือบางครั้งได้มาจากปุ๋ยที่ผู้ปลูกเติมหรือใส่ลงไปในดินเมื่อต้องการปลูกพืชหลาย ๆ ครั้งในพื้นที่เดิม ซึ่งถ้าปลูกพืชซ้ำที่บ่อย ๆ แร่ธาตุที่มีอยู่ ในดินก็จะค่อย ๆ หมดไปเนื่องจากพืชนำไปใช้ในการเจริญเติบโต โดยเฉพาะแร่ธาตุที่พืชต้องการใช้ในปริมาณมาก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแทสเซียม ในการปลูกพืชไม่ใช้ดินจึงต้องหาปัจจัยต่าง ๆ ที่ดินทำหน้าที่ให้แก่พืชโดยตรงคือ เป็นแหล่งแร่ธาตุ นอกจากนั้นดินที่ดีที่เหมาะสมจะนำมาใช้ปลูกพืชได้ต้องมีช่องว่างอากาศ มีปริมาณน้ำในดินที่เหมาะสมด้วยจึงจะใช้ปลูกได้ดี โดยทั่วไปในดิน 100 ส่วน ควรมีส่วนประกอบต่าง ๆ คิดเป็นร้อยละ ดังนี้ แร่ธาตุหรือสารอนินทรีย์ 45% ช่องว่างอากาศในดิน 25% ปริมาณน้ำ 25% สารอินทรีย์ 5%

การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เป็นที่น่ายินดีที่ว่าขณะนี้มีการพัฒนาสูตรปุ๋ยชีวภาพสำหรับปลูกพืชแบบนี้มาหลาย ๆ สูตร

รศ.ดนัย วรรณวนิช จากคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นอีกหนึ่งที่ได้คิดค้นสูตรปุ๋ยชีวภาพสำหรับการผลิตผักระบบไฮโดรโปนิกส์

“โดยปกติสูตรสารละลายธาตุอาหารทุกสูตรได้มาจากสารอนินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมีชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ซึ่งเป็นปุ๋ยที่พืชดูดไปใช้มากที่สุดเพื่อนำไปใช้ในการเจริญเติบโต และพืชที่ได้รับปุ๋ยไนโตรเจนในรูปของไนเตรทอย่างเพียงพอจะมีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ตาม หากพืชได้รับปุ๋ยไนโตรเจนในรูปของไนเตรทมากเกินไปจนใช้ไม่หมด จะเกิดการสะสมอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของพืช หากนำพืชนั้นไปบริโภค จะทำให้สารไนเตรทเข้าสู่ร่างกาย และเกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้” รศ.ดนัย บอก

ด้วยเหตุนี้เองจึงได้ศึกษาการใช้สารอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ในการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน โดยได้ใช้น้ำหมักปุ๋ยคอก น้ำหมักมูลค้างคาว น้ำสกัดชีวภาพจากนมสด น้ำหมักซุปเปอร์โบกาฉิ น้ำหมักดินระเบิด น้ำสกัดชีวภาพจากพืช น้ำสกัดชีวภาพจากมูลสัตว์ มาทดลองผสมกับปุ๋ยเคมีในอัตราส่วน 1:3 แล้วพบว่า การใช้น้ำหมักดินระเบิด และน้ำสกัดชีวภาพจากนมสด สามารถทำให้พืชผักมีการเจริญเติบโตทัดเทียมกับการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว

เห็นได้ชัดเจนเลยว่า การใช้ปุ๋ยสูตร รศ.ดนัยในการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีเลย แต่พืชก็เติบโตเสมือนได้รับปุ๋ยเคมี ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีให้สิ้นเปลืองต้นทุนการผลิตและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

ผู้ใดสนใจ ติดต่อสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 08-9236-5470.



http://www.phtnet.org/news51/view-news.asp?nID=87
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 25/01/2013 5:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,847. "งาแดง" พันธ์ใหม่ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง








"งา"เป็นพืชชนิดหนึ่งที่เกษตรกรนิยมปลูกเพื่อสร้างรายได้เสริม ซึ่งประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกงาปีละประมาณ 4.2 แสนไร่ มีทั้ง งาขาว งาแดง และ งาดำ ได้ผลผลิตรวมประมาณ 5 หมื่นตัน โดยเฉพาะงาแดงมีการปลูกค่อนข้างมาก เนื่องจากมีความทนทานต่อความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศดีกว่างาชนิดอื่น ทั้งยังให้ผลผลิตต่อไร่สูง จึงเป็นลักษณะพันธุ์ที่เกษตรกรต้องการใช้มาก ปัจจุบันนักวิจัย กรมวิชาการเกษตร ได้ปรับปรุงพันธุ์ ’งาแดงพันธุ์ใหม่” ประสบผลสำเร็จอีกหนึ่งพันธุ์ มี ความโดดเด่น ทางด้าน การให้ผลผลิต ที่สำคัญยัง มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง (antioxidants) เป็นทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกรที่จะนำไปปลูกเพื่อสร้างอาชีพและสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น

เมล็ดงามีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีโปรตีน ประมาณ 21-27% ทั้งยังมีน้ำมันที่มีคุณภาพดีและมีธาตุอาหารเกือบครบถ้วน อาทิ ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมงกานีส และแมกนีเซียม นอกจากนี้ยังมี สารต้านอนุมูลอิสระ จึงมีการนำงาไปใช้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพและใช้ในการป้องกันและรักษาโรค โดยมีรายงานวิจัยระบุว่า การบริโภคเมล็ดและน้ำมันงาจะช่วยชะลอความแก่ ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ลดความดันโลหิต ช่วยลดอัตราการเต้นและบีบตัวของหัวใจ ทั้งยังช่วยลดปฏิกิริยาทางเคมีที่จะชักนำให้เกิดโรคมะเร็งและลดการเสื่อมสภาพของสมองด้วย

งาแดงเป็นงาที่ถูกนำไปใช้ในอุตสาห กรรมน้ำมันค่อนข้างมาก โดยผ่านกระบวนการเอาเปลือกหุ้มเมล็ดออกทำเป็นงาขัด เพื่อให้เมล็ดเป็นสีขาวทดแทนงาขาวที่มีผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งถือเป็นพืชที่มีศักยภาพด้านการตลาด ปัจจุบันซื้อขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 35-40 บาท เพิ่มจากปี 2554 ที่มีราคากิโลกรัมละ 20 บาท

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ได้ปรับปรุงพันธุ์งาแดงพันธุ์ใหม่สำเร็จเพิ่มอีกหนึ่งพันธุ์ คือ พันธุ์ A30-15 ซึ่งอยู่ระหว่างเสนอให้คณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช พิจารณาประกาศเป็น พันธุ์แนะนำ ของกรมวิชาการเกษตร ชื่อ ’งาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 84-2” (Ubon Ratchathani 84-2) เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา

งาแดงพันธุ์ใหม่นี้ได้จากการคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ของ สายพันธุ์ 30-15 ซึ่งรับมาจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือเอฟเอโอ (FAO) เมื่อปี 2528 โดยศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานีได้ปลูกคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ช่วงระหว่างปี 2532-2534 จากนั้นทำการปลูกเปรียบเทียบเบื้องต้น 1 แปลง แล้วปลูกเปรียบเทียบมาตรฐาน จำนวน 3 แปลง ปลูกเปรียบเทียบในท้องถิ่น 23 แปลง และปลูกทดสอบในไร่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดลพบุรี พิษณุโลก และสุโขทัย ศรีสะเกษ ลพบุรี เพชรบูรณ์ และนครสวรรค์ รวม 13 แปลงด้วย

งาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 84-2 มีลักษณะเด่น ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 134 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์อุบลราชธานี 1 ประมาณ 6% และให้ผลผลิตในเขตปลูกงาจังหวัดลพบุรีและเพชรบูรณ์ เฉลี่ย 142 กิโลกรัมต่อไร่

นอกจากนั้นยังมีปริมาณ สารต้านอนุมูลอิสระ จำนวน 10,451 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สูงกว่าพันธุ์อุบลราชธานี 1 ประมาณ 15% ซึ่งงาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 84-2 สามารถใช้ปลูกได้ทั่วไปในสภาพการผลิตงาในประเทศไทย โดยเฉพาะแหล่งปลูกงา ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี จะให้ผลผลิตสูง

ที่ผ่านมา ได้มีการจัดทำแปลงสาธิตงาแดงสายพันธุ์อุบลราชธานี 84-2 ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี พร้อมจัดฝึกอบรมการปลูกงาที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงการแปรรูปงาให้แก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดลพบุรี นครสวรรค์ และจังหวัดใกล้เคียง จำนวน 128 ราย พบว่า เกษตรกรทั้งหมดให้การยอมรับในงาสายพันธุ์นี้ เนื่องจากให้ผลผลิตสูง มีจำนวนฝักต่อต้นมาก ลำต้นแข็งแรง มีข้อถี่ แตกกิ่งต่ำ และแตกกิ่งมาก ลักษณะการติดฝักต่ำ เมล็ดโต มีสีเมล็ดแดงสม่ำเสมอ และไม่ค่อยมีการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ปัจจุบันศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานีมีเมล็ดพันธุ์งาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 84-2 เป็นเมล็ด พันธุ์คัด 100 กิโลกรัม และผลิตเมล็ด พันธุ์หลัก 500 กิโลกรัม สามารถผลิตเป็นเมล็ด พันธุ์ขยาย ได้ประมาณ 5,000 กิโลกรัม เตรียมพร้อมรองรับความต้องการของเกษตรกรที่สนใจได้

อย่างไรก็ตาม หากสนใจเกี่ยวกับงาแดงพันธุ์ใหม่ “พันธุ์อุบลราชธานี 84-2” สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี โทร. 0-4520-2187-8.



http://www.dailynews.co.th/agriculture/179830
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 25/01/2013 5:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,848. ปลูกส้มเขียวหวาน 400 ไร่ ที่เมืองชาละวัน








คุณนิรดา หงษ์ธนัต หรือรู้จักกันดีในชื่อ สวนส้มเจ๊หงส์ บ้านเลขที่ 204 หมู่ 3 ต.บ้านบุ่ง อ.เมือง จ.พิจิตร 66000 โทร. 08-6445-9520 ได้บอกเล่าถึงประสบการณ์การทำสวนส้มเขียวหวานว่ากว่าจะมาถึงวันนี้ได้ต้องสู้กับปัญหามากมาย ด้วยไม่มีพื้นฐานการทำสวนส้มมาก่อน ปัจจุบันดูแลสวนส้มด้วยตัวเอง ถึง 400 ไร่ และยังเน้นย้ำว่าการทำสวนส้มเขียวหวานนั้นยังไปได้อีกนาน และราคาส้มเขียวหวานยังคงดีขึ้นเรื่อย ๆ

วิธีการปลูกส้มเขียวหวานของเจ๊หงส์จะแบ่งแปลง 100 ไร่ออกเป็น 4 แปลงย่อย ซึ่ง 200 ไร่จะแบ่งได้ 8 แปลงย่อย โดยแปลงปลูกส้มต้องเป็นแนวยาวปลูกขวางตะวัน (หรือแนวร่องปลูกอยู่ทิศเหนือ-ใต้ ซึ่งไม่ควรปลูกในแนวตะวันออก-ตะวันตก เพราะนอกจากต้นส้มจะได้แสงแดดไม่เต็มที่ เมื่อต้นส้มให้ผลผลิตผลส้มจะเจอปัญหาแดด เผา) จากนั้นก็ต้องมาถึงวิธีการปลูกต้นส้ม เจ๊หงส์ เล่าว่าแม้เรื่องการปลูกเราก็ยังไม่มีความรู้เลยต้องไปถามเพื่อนสวน และต้องไปดูว่าเขาปลูกกันอย่างไร แล้วกลับมาเตรียมตัว โดยเลือกใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 3 เมตรครึ่ง ระยะระหว่างแถวประมาณ 8 เมตร พื้นที่ 1 ไร่จะปลูกได้ประมาณ 55 ต้น โดยใช้ไม้ไผ่ปักเป็นแนวเพื่อจ้างแรงงานมาขุดหลุม โดยชาวสวนเรียกว่าการ “ตีโขด” การตีโขดจะพรวนบริเวณหลุมปลูกให้เป็นโคก คล้ายหลังเต่า ซึ่งช่วงที่แรงงานมาตีโขดนั้น ชาวสวนจะใส่ปุ๋ยคอกเก่า, เปลือกถั่ว, แกนข้าวโพด, กระดูกป่น ฯลฯ แล้วแต่วัสดุที่จะหาได้มาพรวนไปพร้อมกันเหมือนเป็นการรองก้นหลุม ซึ่งเจ๊หงส์ทดลองใช้กระดูกป่น ซึ่งเป็นกระดูกสัตว์พวกกระดูกวัว, ควาย มาใช้รองก้นหลุมปลูกซึ่งพบว่า ปุ๋ยกระดูก ป่นให้ผลดีกับต้นส้มมาก ทำให้ต้นส้มใบเขียวงาม

เหตุผลที่เจ๊หงส์ตัดสินใจปลูกส้มเขียวหวาน เพราะผิวสวยก็ขายได้ราคา ผิวดำผิวลายก็ขายได้ราคาเหมือนกัน โดยตลาดรับซื้อมีรองรับหมด เช่น ส้มเขียวหวานผิวสวยก็ส่งไปตลาดทางอีสาน เพราะตลาดอีสานชอบทานส้มเขียวหวานผิวสวย ส้มผิวดำเค้าไม่ซื้อและตรงกันข้ามถ้าเป็นส้มเขียวหวานผิวลายหรือดำ จะส่งขายตลาดทางภาคใต้ เพราะตลาดทางภาคใต้นิยมซื้อส้มผิวลายมากกว่าส้มผิวสวย คือผลผลิตส้มเขียวหวานออกมารูปแบบใดก็ขายได้หมด ขอให้ส้มมีรสชาติหวานเป็นอันใช้ได้ ส้มเขียวหวานที่ปลูกพันธุ์ “บางมด” โดยปลูกด้วยกิ่งตอนทั้งหมด

ราคา “ส้มปี” ปี พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา ราคาสูงมากขายจากสวนกิโลกรัมละ 30-35 บาท ปี พ.ศ. 2554 ขายได้เพียงกิโลกรัมละ 15-18 บาทเท่านั้น ส้มขาดตลาดเพราะพื้นที่ปลูกส้มน้อยลงมาก อย่างส้มทางภาคเหนือ พื้นที่ปลูกส้มน้อยลงมาก พื้นที่ปลูกส้มทาง จ.กำแพงเพชร เกษตรกรรายย่อยก็เลิกทำสวนส้มเปลี่ยนไปทำนากันหมด เหลือเพียงชาวสวนส้มรายใหญ่เท่านั้น ปัจจุบันส้มเขียวหวานจึงราคาดีทั้งปี จึงบอกกับคนที่สนใจทำส้มเขียวหวานว่าถ้าพร้อมปลูกได้เลยส้มเขียวหวานดีที่สุดตอนนี้ เราไม่ต้องง้อลูกค้ามาซื้อแล้ว ลูกค้าง้อชาวสวนแทน.


http://www.dailynews.co.th/agriculture/180084
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 25/01/2013 5:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,849. ส้มสเปน





ส้ม เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เจริญเติบโตและแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก โดยมากมีน้ำมันหอมระเหยในใบ ดอก และผล และมีกลิ่นของน้ำมันหอมระเหย จัดเป็นไม้ผลขนาดเล็กความสูงประมาณ 2.5-3.0 เมตร ทรงพุ่มมีลักษณะแน่นทึบ เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3 ปี และให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 15 ปี ถ้ามีการดูแลรักษาอย่างดี ตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบานใช้เวลาประมาณ 20-25 วัน นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ 10 เดือน ต้นที่มีอายุ 10 ปี สามารถให้ผลผลิตประมาณ 150-180 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี น้ำหนักเฉลี่ยของผลประมาณ 8 ผลต่อ 1 กิโลกรัม ผลส้มเจริญจากรังไข่โดยตรงมีประมาณ 10 พู เชื่อมต่อกันเป็นวงกลมล้อมรอบแกน

ส้มสเปน ผิวผลเมื่อสุกมีสีเขียวอมเหลืองถึงเหลืองเข้ม ถ้าปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นผิวผลจะมีสีเหลืองเข้ม เช่น แถบจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย ผิวผลเรียบมีต่อมน้ำมันถี่เต็มผิวผล กลีบผลแยกออกจากกันได้ง่าย มีกลีบประมาณ 11 กลีบ มีรกน้อย ฉ่ำน้ำ เนื้อผลมีสีส้มรสเปรี้ยว มีใบสีเขม มีก้านใบยาวและปีกกว้าง ลักษณะผลแบน และสีเข้ม มีเปลือกหนา ลักษณะต้นสูงใหญ่ มีใบหนาและทนต่อสภาพอากาศที่เย็นจัดหรือร้อนจัดได้ดีกว่าส้มพันธุ์อื่น ๆ ตั้งแต่ออกดอกถึงเก็บผลผลิตใช้เวลา 9 เดือน และเริ่มให้ผลผลิตหลังจากปลูกประมาณปีที่ 3 ขึ้นไป.


http://www.dailynews.co.th/agriculture/178648
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 25/01/2013 6:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,850. ปลูกเมล่อน คุณภาพดี ที่อยุธยา





คุณสุวิทย์ ไตรโชค เกษตรกร อ.บาง ไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เห็นว่าการปลูกแตงเมล่อนถ้าใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะสมจะทำให้ต้นทุนสูง และนำไปสู่การขาดทุนได้ การผลิตเมล่อนให้มีคุณภาพดีนั้น ความยากจะอยู่ที่การจัดการทั้งด้านพันธุ์, น้ำ, ปุ๋ยและการควบคุมศัตรูพืช เพราะเมล่อนเกิดโรคเชื้อราได้ง่าย เกษตรกรบางรายจึงต้องย้ายที่ปลูกตลอดเวลา และยังมีปัญหาการผลิตให้ได้คุณภาพตามที่ตลาดระดับบนซึ่งมีอำนาจซื้อสูงจะยอมรับได้ เพราะแตงเมล่อนที่จะขายได้ราคาดีจะต้องมีขนาดลูกสม่ำเสมอ มีความหวานที่ได้มาตรฐานเมื่อเกษตรกรไม่สามารถทำคุณภาพได้ตามที่ลูกค้าต้องการก็ย่อมเกิดปัญหาทางการตลาดตามมา และทำให้เกษตรกรหลายรายต้องเลิกปลูกแตงเมล่อนไปในที่สุด

สายพันธุ์เมล่อนต้องดี ใช้พันธุ์ที่ดีมีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ผลิต โดยเฉพาะแตงเมล่อนสายพันธุ์จากญี่ปุ่น ที่คุณสุวิทย์ ต้องใช้ความอดทนรอคอยหลายปีกว่าที่เจ้าของพันธุ์เมล่อนจึงยอมขายเมล็ดพันธุ์ให้ และถึงเมล็ดพันธุ์จะมีราคาแพง แต่ก็นับได้ว่าเมื่อปลูกแล้วได้ผลผลิตที่มีคุณภาพก็คุ้มค่า แล้วในแต่ละปีต้องนำเข้าเมล็ดพันธุ์จากญี่ปุ่นและประเทศต่าง ๆมาปลูกเพื่อทดสอบสายพันธุ์นับ 100 สายพันธุ์

เพื่อหาสายพันธุ์ที่ดี บางครั้งปลูกทดสอบนานถึง 5 ปี อาจจะเจอสายพันธุ์ที่ดีเพียงสายพันธุ์เดียวเท่านั้น แต่ก็คุ้มเพราะ 1 สายพันธุ์เราใช้ประโยชน์ได้นานนับ 10 ปีทีเดียว แล้วเมล่อนจะหวานได้สายพันธุ์ก็ต้องหวานด้วย ปัจจุบันคุณสุวิทย์ ปลูกเมล่อนป้อนตลาด ประมาณ 10 สายพันธุ์ เช่น สายพันธุ์ โกลเด้น บอล (เปลือกสีเหลืองทอง เนื้อสีขาว), ซันบอล (เปลือกสีขาว เนื้อสีส้ม), ฮันนี่ บอล ซึ่ง 3 สายพันธุ์นี้ เป็นเมล่อน ตระกูล ฮันนี่ดิว คือ “ผิวเปลือกเรียบ หวานง่าย หวานมาก ปลูกง่าย ตายยาก และอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 60 วันหลังเพาะเมล็ด” ดังนั้นจึงเหมาะจะเป็นสายพันธุ์พื้นฐาน ที่ให้สมาชิกใหม่ที่เข้ากลุ่มใหม่ยังไม่มีประสบการณ์ในการปลูกเมล่อน ทดลองปลูกดูก่อนให้เกิดความชำนาญเสียก่อน (ราคาประกันที่รับซื้อจากสมาชิกกลุ่ม เฉลี่ย 20-25 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งผลเมล่อนที่ปลูกจะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ย 2 กก.) ส่วนเมล่อนญี่ปุ่นสายพันธุ์ตาข่าย เช่นพันธุ์ ซากุระ เมล่อน (มีเนื้อสีส้มและสีเขียว ที่ญี่ปุ่นขายตั้งแต่หลักพันถึงหมื่นบาทต่อผล ที่ฟาร์มคุณสุวิทย์ ขายส่ง ผลละ 1,000 บาท ลูกค้าต้องสั่งจองล่วงหน้าเพราะจะปลูกจำนวนไม่มาก แต่จะปลูกมากที่สุดคือช่วงเทศกาลปีใหม่ เพราะนิยมซื้อเป็นของ ขวัญ ), ร็อคกี้ เมล่อน (มีเนื้อสีเขียวและเนื้อสีส้ม จำหน่ายปลีกผลละ 500 บาท), แตงโอนิชิและ แตงจิงหยวน (2 สายพันธุ์หลังนี้ จะปลูกป้อนซูเปอร์มาร์เกต จำหน่ายปลีกราคา กก. 80-90 บาท) ฯลฯ ปัจจุบันเมล่อนญี่ปุ่น ยังเป็นสายพันธุ์เมล่อนที่ปลูกยาก มีปัญหาในการปลูกมากพอสมควร อายุการเก็บเกี่ยวนานกว่าเมล่อนพันธุ์ผิวเรียบ คือราว 70 กว่าวัน และถ้าปลูกแบบกลางแจ้ง ไม่สามารถควบคุมปัจจัยต่าง ๆได้ เช่น เรื่อง “ฝน” พอฝนตกมามาก เมล่อนดูดน้ำมาก ก็จะทำให้ผลแตกเสียหายโดย ง่าย แต่ขณะนี้คุณสุวิทย์ก็สามารถปลูกเมล่อน ทั้ง 10 สายพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี และปลูกกลางแจ้งไม่ต้องปลูกในโรงเรือนโดยเฉพาะพันธุ์ญี่ปุ่น.

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ



http://www.dailynews.co.th/agriculture/178282
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 25/01/2013 6:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,851. เทคโนโลยีใหม่... เลี้ยงปลาในบ่อกุ้ง





วันนี้มีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมความสำเร็จในการเลี้ยงปลาของ นายเกรียงศักดิ์ พุทธพรทิพย์ เกษตรกรเจ้าของเกรียงศักดิ์ฟาร์ม ตำบลบางไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งมีบ่อเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง 3 บ่อ จำนวน 20 กระชังบนเนื้อที่ทั้งหมด 20 ไร่ โดยนายเกรียงศักดิ์เลี้ยงปลาในระบบโปรไบโอติก และใช้หลักการเลี้ยงแบบ Co-Culture คือ ปนกันไปทั้งปลา กุ้งขาวและกุ้งก้ามกราม แต่ที่ฟาร์มนี้ปล่อยกุ้งก้ามกรามในบ่อขนาด 4 ไร่ถึง 10,500 ตัวหรือเฉลี่ย 2,625 ตัวต่อไร่ ในขณะที่กุ้งขาว 200,000 ตัวต่อบ่อหรือเฉลี่ย 50,000 ตัวต่อไร่ ในขณะที่มีปลาทับทิมบ่อละ 4,000 ตัว สามารถส่งปลาออกตลาดได้เดือนละ 8 ตัน ทำรายได้เฉลี่ยเดือนละประมาณ 5.6 แสนบาท แล้วยังได้จากกุ้งที่ทยอยจับขึ้นมาขายอีกเดือนละ 1 แสนกว่าบาท

นายเกรียงศักดิ์ เล่าว่า ก่อนจะมาเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังนี้ เคยเปิดร้านถ่ายรูปมาก่อน แต่ด้วยความรักอาชีพเกษตร จึงหันมาเลี้ยงกุ้งกุลาดำโดยใช้ที่ดินของตนเอง เริ่มมาตั้งแต่ปี 2540 ที่กำลังนิยมกันมาก ผลผลิตก็เป็นที่น่าพอใจ กระทั่งปี 2554 จึงเปลี่ยนมาเลี้ยงกุ้งขาว ซึ่งมีกำไรดีมาตลอด จนกระทั่งได้คนมาแนะนำให้เลี้ยงรวมกันทั้งกุ้งและปลา และได้พาไปดูความสำเร็จของเพื่อนเกษตรกรที่ทำมาก่อนก็เห็นว่าไปได้ดี ทำให้มีความมั่นใจก็เลยเริ่มเลี้ยงมาตั้งแต่ต้นปีโดยเริ่ม 1 บ่อก่อน จนตอนนี้มี 3 บ่อแล้ว โดยมองการเลี้ยงในระบบนี้จะเป็นผลดีต่อการเลี้ยงสัตว์ทั้ง 3 ประเภท

เนื่องจากการเลี้ยงปลาต้องมีการตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจน ซึ่งจะทำให้คุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาและกุ้งดีขึ้น เท่ากับว่าเป็นการช่วยส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งให้มีประสิทธิภาพตามไปด้วย และยังถือเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า จากการใช้น้ำและพื้นที่การเลี้ยงอย่างก่อประโยชน์สูงสุด

“สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจจะเลี้ยงปลาทับทิม ควรจะศึกษาก่อนว่าจะเลี้ยงแบบไหน ควรที่จะปรึกษาบริษัทที่เป็นมืออาชีพ สามารถที่จะให้ความรู้กับเราได้ เพราะปัจจุบันนี้สภาพแวดล้อมต่าง ๆ เปลี่ยนไปมาก การเลี้ยงปลาทับทิมจึงต้องอาศัยเทคโนโลยีและความรู้เพิ่มมากขึ้นจึงจะมีโอกาสประสบความสำเร็จในระยะยาว สำหรับผมแล้ว ผมมั่นใจว่า ซีพีเอฟเขามีความพร้อมและเป็นมืออาชีพในเรื่องปลาทับทิม เพราะมีทั้งฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาที่มีมาตรฐาน สามารถผลิตลูกปลาทับทิมที่โตเร็ว ต้านทานโรค มีฟาร์มวิจัยทั้งในเรื่องของการเลี้ยงและด้านสูตรอาหารที่เหมาะสมสำหรับปลาทับทิมโดยเฉพาะ มีนักวิชาการที่คอยให้คำปรึกษาเราได้ตลอดเวลา สำหรับผมแล้ว บริษัท ซีพีเอฟ เป็นคำตอบสุดท้ายของเกษตรกรมืออาชีพครับ” นายเกรียงศักดิ์ ฝากถึงเพื่อนเกษตรกร

การเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังในบ่อดินนี้ เกษตรกรจะใช้วิธีขุดบ่อให้ลึก มีระดับน้ำไม่น้อยกว่า 2 เมตรและก้นกระชังจะต้องสูงกว่าพื้นดินไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร ซึ่งจะทำให้ปลาไม่สัมผัสกับดินโคลนจนเกิดกลิ่นติดเนื้อปลา ในแต่ละบ่อจะปล่อยปลา 3 รุ่น ระยะห่างของการปล่อยแต่ละรุ่นคือ 3 เดือน เพื่อที่จะจับปลาขายต่อเนื่องตลอดปี ส่วนกุ้งนั้นจะใช้วิธีดักขึ้นมาขายไปเรื่อย ๆ จะไม่จับขายทีเดียวหมดบ่อ เพราะต้องให้กุ้งทำหน้าที่เก็บเศษอาหาร ลดปัญหาน้ำเน่าเสีย

ด้วยวิธีการเลี้ยงแบบนี้จะทำให้การใช้ยารักษาโรคลดลง จึงทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่า ปลาและกุ้งที่ได้จากการเลี้ยงในกระชังในบ่อดิน นอกจากจะไม่มีกลิ่นโคลนติดจนไม่น่ารับประทานแล้ว ยังปลอดจากสารตกค้างด้วย.


http://www.dailynews.co.th/agriculture/177948
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 25/01/2013 6:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,852. ใช้เศษพืชคลุมดิน สู้ภัยแล้ง




แนะเกษตรกรใช้เศษวัสดุจากพื้นที่หาง่ายในท้องถิ่นมาคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นของหน้าดิน ทำให้พืชต้นไม้สู้ภัยแล้งได้ พร้อมทั้งให้ระวังป้องกันโรคพืชระบาดในหน้าแล้ง


นายณัฎฐกิตติ์ ของทิพย์ เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู เปิดเผยว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติขณะนี้เข้าสู่หน้าแล้ง ทำให้หลายพื้นที่ในจังหวัดหนองบัวลำภู ต้องเตรียมการรับภัยแล้ง สำหรับการปลูกพืชในช่วงนี้เกษตรกรควรจะมีการคลุมดินโดยให้เลือกใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง ซากพืชตระกูลถั่ว กากถั่วลิสง แกลบ ใบไม้แห้ง ปุ๋ยหมัก ขี้เลื่อย เพื่อรักษาความชื้นของหน้าดิน ซึ่งจะลดการระเหยน้ำลงประมาณ 10-50% นอกจากนี้ยังได้เน้นย้ำให้เกษตรอำเภอและนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล ออกไปให้คำแนะนำแก่กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มยุวเกษตรกร กลุ่มส่งเสริมการเกษตร และเกษตรทั่วไปซึ่งกระจายกันทั่วไปในทุกพื้นที่ ส่วนวัสดุที่ใช้คลุมดินนั้น บางครั้งเกษตรกรอาจจะมองข้าม ด้วยการเผาทิ้งไป จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายวัสดุบางชนิดเมื่อใช้คลุมดินแล้วยังย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยบำรุงดินไปในตัวอีกด้วย

นายณัฏฐกิตติ์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู มีเกษตรกรได้ทำการเพาะปลูกพืชในหน้าแล้ง โดยเฉพาะการปลูกข้าวนาปรัง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และพืชผักต่างๆ โดยมีพื้นที่เพาะปลูกโดยรวมประมาณ 35,000 ไร่ ซึ่งศัตรูพืชที่มักระบาดในช่วงหน้าแล้งแก่พืช ได้แก่แมลงศัตรูข้าว แมลงศัตรูข้าวโพด แมลงศัตรูพืชตระกูลถั่ว เช่นถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง และพืชผัก ระบาดเป็นประจำทำให้เกิดความเสียหายได้ดังนี้

1. แมลงศัตรูข้าว ศัตรูที่พบ ได้แก่ เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว หนอกอ ขอให้เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงนาสม่ำเสมอทุกสัปดาห์ หากพบการระบาด เพลี้ยไฟ ในกรณีมีแหล่งน้ำ หรือบ่อน้ำที่สามารถสูบน้ำขึ้นได้ควรดำเนินการด้วยวิธีไขน้ำท่วมต้นกล้าข้าว และใช้สารเคมีเฉพาะจุดที่มีการระบาดรุนแรง เช่น คาร์บาริล 85% หรือมาลาไธออน 83 % และหากพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว จำนวน 10 ตัว/จุด ควรป้องกันโดยการลดการใช้ไนโตรเจนและใช้สารเคมีเฉพาะจุด เช่น ไอโซไพรคาร์บ 50% คลอไพริฟอส + BPMC 20 %

2. แมลงศัตรูข้าวโพด ศัตรูที่พบ เพลี้ยอ่อน และหนอนกระทู้ การป้องกันทำได้โดยฉีดพ่นด้วยสารเคมี ไดเมธโธเอท 30% อัตรา 15 ซีซี/น้ำ 20 ลิตรหรือโมโนโตรฟอส อัตรา 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร

3. แมลงศัตรูพืชตระกูลถั่ว ศัตรูที่พบ คือ เพลี้ยอ่อน จะทำให้ต้นแคระแกรนและยอดหงิกหงอ หรือไรแดง จะทำลายใบยอด ใบหงิกหงอ ขอบม้วน ใบหนา หยาบ หากพบการระบาดแนะใช้สารเคมี เช่น คาร์โบซัลแฟน และไตรอะโซฟอส

4. แมลงศัตรูพืชตระกูลกะหล่ำ เกษตรกรควรระวังหนอนกระทู้ผัก หนอนใยผัก ด้วงหมัดผัก หากพบการะบาดควรใช้สารเคมี ฉีดพ่นด้วยสารเคมี ไดเมธโธเอท 30% อัตรา 15 ซีซี/น้ำ 20 ลิตรหรือโมโนโตรฟอส อัตรา 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร

5. แมลงศัตรูพืชมันสำปะหลัง เกษตรกรควรระวังเพลี้ยแป้งระบาด เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงมันสำปะหลัง ถ้าพบการระบาด ให้ตัดยอดที่หงิกเป็นกระจุกใส่ถุงดำทำลาย แล้วฉีดพ่นด้วยสารเคมีไทอะมิโท 25%WG 8 กรัม ผสมกับไวท์ออยล์67% EC 200 ซี.ซี.ผสมกับน้ำ 80 ลิตร ฉีด พ่นในพื้นที่ 1 ไร่

นายณัฎฐกิตติ์ กล่าวในท้ายสุดว่า หากสงสัยสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู 0-4231-2045 หรือสำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอหรือศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลทุกตำบลที่ใกล้บ้านท่าน

http://www.dailynews.co.th/agriculture/177654
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 25/01/2013 6:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,853. เปิดตัว "ทีวี เกษตร" เพื่อส่งเสริมความรู้





รมว.เกษตรฯเปิดตัว ทีวี เกษตร เพิ่มช่องทางสร้างองค์ความรู้เสริมภูมิปัญญาชาวบ้าน การประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4 พันกว่าโครงการและการเกษตรแผนใหม่ถึงเกษตรกรโดยตรง


เมื่อวันที่ 10 ม.ค. นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รมว.เกษตรและสหกรณ์ แถลงข่าวเปิด เปิดตัว “โครงการศึกษาและทดลองออกอากาศสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อการเกษตร ช่อง ทีวี เกษตร หรือ MOAC TV” ว่า

การดำเนินการจัดทำสถานีโทรทัศน์เพื่อการเกษตรในครั้งนี้ ต้องการให้เป็นช่องทางในการเผยแพร่ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีการเกษตรแผนใหม่ เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคการเกษตร ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการเกษตรกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย และภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก

ประเด็นสำคัญเป็นการเตือนภัยและเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์เพื่อหลีกเลี่ยงภัยพิบัติที่มีความถี่ในการเกิดมากขึ้น ทั้งจากแปรปรวนของสภาพอากาศและศัตรูพืช เป็นช่องทางสร้างความเข้าใจและทัศนคติที่ดี และสร้างความเชื่อมั่นต่อเกษตรกรทั้งประเทศมีกว่า 5 ล้านครัวเรือน


“ปัจจุบันคนไทยประมาณ 20.5 ล้านครัวเรือน มีการเข้าถึง เคเบิล ทีวี และ ทีวี ดาวเทียม ถึงประมาณ 51.7% หรือคิดเป็น 10.5 ล้านครัวเรือน ของผู้ที่รับชมรายการจาก ฟรี ทีวี คือ ช่อง 3, 5, 7, 9, 11 และไทย พีบีเอส และคาดการณ์ว่าในปี 58 ครัวเรือนไทยจะมีจำนวน 24.8 ล้านครัวเรือน และ 98.58% หรือเกือบ 100% จะรับชมรายการผ่านทางดาวเทียม และเคเบิล ทีวี ทั้งหมดอีกด้วย

การที่กระทรวงเกษตรฯ เปิดช่อง ทีวี เกษตร ขึ้นมาโดยเฉพาะในครั้งนี้ จะเป็นการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุม ทั้งด้านการเกษตรในเชิงนโยบาย การแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรของทางภาครัฐ การรู้ทันต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและธรรมชาติทั่วโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เกษตรกรปรับตัวได้และทันต่อเหตุการณ์นั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นายยุคล กล่าว

ด้านนายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรฯ กล่าวถึงผังรายการที่จะนำเสนอในช่อง ทีวี เกษตร ได้มีการทดลองออกอากาศไปแล้ว

ช่วงระยะที่ 1 เดือน พ.ย.-ธ.ค. 55 นำเสนอรายการสด เจาะตรงกลุ่มผู้รับชมเกษตรกร ประชาชน และผู้ประกอบการทั่วไป และรายการสารคดีเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริต่างๆ 4 พันกว่าโครงการ

ส่วนระยะที่ 2 คือ เดือนม.ค.-เม.ย. 56 เน้นรายการสดเจาะตรงกลุ่มผู้รับชมเกษตรกร ประชาชน และผู้ประกอบการทั่วไป รายการสารคดีโครงการพระราชดำริ และจะเพิ่มในส่วนของสารคดีที่เกี่ยวข้องกับวิถีชาวบ้าน การประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ความสำคัญเป็นหลัก ซึ่ง ทีวี เกษตร จะออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง

สำหรับช่องทางการรับชม สถานีโทรทัศน์เพื่อการเกษตร ช่อง ทีวี เกษตร สามารถรับชมได้ผ่านทางดาวเทียมไทยคม 5 (Thaicom 5) ผ่านจานรับสัญญาณระบบ ซีแบนด์ (C BAND) หรือจานดำ ความถี่ 4160 MHz v.symbol rate 30000 POR V หรือกล่องรับสัญญาณ อาทิ พีเอสไอ ช่อง 218, สามารถช่อง 28, ซันบ๊อกซ์ ช่อง 188, จีเอ็มเอ็มแซด ช่อง 133, ไอพีเอ็ม, อินโฟแซท, ไอเดียแซท, คิวแซท และไดน่าแซท รวมทั้ง ทีวี เคเบิ้ล ระบบ ซีแบนด์ อีกด้วย



http://www.dailynews.co.th/agriculture/177378
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 25/01/2013 6:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,854. เลี้ยงไก่ฟ้า "โกลเด้น" เชิงพาณิชย์





“ไก่ฟ้าโกลเด้น” (GOLDEN PHEA SANT) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ไก่ ฟ้าสีทอง” เป็นสัตว์ป่าประเภทไก่ฟ้าที่นำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม ได้รับความนิยมอย่างมากในขณะนี้ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมบนภูเขาสูง พบมากทางภาคกลางและภาคตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงบางพื้นที่ในปากีสถาน, อินเดียและศรีลังกาเป็นต้น มีความสวยงามและทนทานต่ออากาศหนาวได้เป็นอย่างดี ลักษณะที่โดดเด่นของไก่ฟ้าโกลเด้น (ตัวผู้) มีสีสันสวย งาม จึงทำให้ไก่ฟ้าโกลเด้นแตกต่างจากไก่ฟ้าสายพันธุ์อื่น ๆ คือมี 5 สีในตัวเดียวกัน ได้แก่ สีเหลือง-ทอง, สีแดง, น้ำเงิน, เขียว และส้ม (เฉพาะตัวผู้เท่านั้น) ขนด้านบนหัวจะเป็นสีทอง ไล่โทนตั้งแต่ท้ายทอยเป็นสีส้มทองตัดด้วยวงแหวนเป็นคลื่นสีดำ ตรงด้านหลังคอมีลักษณะเป็นขนสีทองลายขีดสีดำยาวปกคลุมลงมาถึงหลัง ขนปีกสีดำจุดน้ำตาล และที่ใต้ปีกมีสีเหลืองทองอยู่ด้านใน ขนหางคู่กลางยาวมาก โคนหางสีน้ำตาลแดงอ่อนจุดดำไปจนถึงปลายหาง ด้านล่างของลำตัวใต้ท้องมีสีแดงเพลิงเลือดหมู ไม่มีหงอนบนหัวแข้งขาสีเนื้อ ขนาดตัวเล็กกว่าไก่ฟ้าสายพันธุ์ไทย

คุณสุจินต์ แสงแก้ว ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เลขที่ 101/2 หมู่ที่ 6 ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 50220 บอกว่า เลี้ยงไก่ฟ้าเลี้ยงไม่ยาก เป็นสัตว์ที่แข็งแรง เพียงผู้เลี้ยงต้องมีความรัก ความชอบในการเลี้ยงไก่ฟ้าเป็นอันดับแรก ซึ่งไก่ฟ้ามีลักษณะคล้าย ๆ ไก่ ทั่ว ๆ ไป เพียงแต่จะมีนิสัยที่แตกต่าง จากไก่บ้าน ตรงที่รักสงบ ตื่นตกใจง่าย แต่เมื่อเลี้ยงไปสักระยะหนึ่ง จะเชื่องจนสามารถอุ้มได้ ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมไก่ฟ้าให้ดี โดยเฉพาะเมื่อแสดงอาการว่าไม่สบาย เช่น มีอาการเซื่องซึม, ไม่กินอาหารและแววตาไม่สดใส เป็นต้น

เนื่องจากไก่ฟ้าเป็นสัตว์ที่มีความสวยงาม “กรง” ที่ใช้เลี้ยงจึงค่อนข้างที่จะต้องให้ความสำคัญ โดยกรงเลี้ยงจะมีผลต่อความสวยงามของไก่ฟ้า กล่าวคือกรงเลี้ยงต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับขนาดของสายพันธุ์ของไก่ฟ้า จึงไม่มีขนาดกรงที่เล็กเหมือนกรงนกทั่วไป แต่ก็ไม่สามารถเลี้ยงปล่อยได้เหมือนไก่บ้านหรือไก่แจ้ เพราะไก่ฟ้าบินได้เหมือนนก โดยเฉพาะเวลาที่ตกใจ แต่ก็มีบางท่านที่เลี้ยงแบบปล่อยได้เพราะบ้านมีบริเวณกว้าง ห่างไกลชุมชน ไม่มีเสียงดังรบกวน สิ่งที่ต้องคำนึงเกี่ยวกับกรงไก่ฟ้าก็ขึ้นอยู่ว่าเราเลี้ยงไก่ฟ้าสายพันธุ์ไหน กี่ตัว เพื่อจะได้สร้างกรงได้อย่างเหมาะสม การสร้างกรงเลี้ยงไก่ฟ้า

คุณสุจินต์ เลือกสร้างกรงเลี้ยง ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 2-3 เมตร มีหลังคาป้องกันแดดและฝน ที่สำคัญต้องมีแสงแดดส่องถึง ควรวางแนวกรงหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเพื่อที่จะได้รับแสงแดดในตอนเช้าช่วยฆ่าเชื้อโรคและให้ไก่ฟ้าได้อาบแดด และควรมีต้นไม้หรือปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น โดยเฉพาะในทิศทางที่จะช่วยบังแสงแดดในช่วงบ่ายที่อากาศร้อนเกินไป บริเวณที่สร้างควรมีการระบายน้ำและอากาศได้ดี ไม่เป็นที่ลุ่มมีน้ำขังหรืออับชื้น.


http://www.dailynews.co.th/agriculture/177116
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 27/01/2013 10:12 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,855. นักวิจัยไบโอเทค ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ


เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2556 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้จัดงานประกาศรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประเภท รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย และ รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี 2555 โดยผลงานวิจัยเรื่อง “การลดฮิสทามีนในน้ำปลาโดยวิธีการทางชีวภาพด้วยเซลล์จุลินทรีย์อาเคียชอบเกลือที่มีกิจกรรมของเอนไซม์ฮีสตามีนดีไฮโดรจีเนส” ของ ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร ไบโอเทค ร่วมกับคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลผลงานวิจัย ระดับดี นับเป็นหนึ่งใน 28 ผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล



ผลงานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาวิธีการลดฮิสทามีนในน้ำปลาโดยใช้กระบวนการทางชีวภาพ ซึ่งฮิสทามีนเป็นสาเหตุสำคัญของการกักกันและปฏิเสธสินค้าผลิตภัณฑ์น้ำปลาจากประเทศคู่ค้า ซึ่งกำหนดค่าฮิสทามีนในน้ำปลาไว้ที่ระดับ 200-400 ppm คณะผู้วิจัยจึงพัฒนาวิธีการลดฮิสทามีนในน้ำปลาโดยเริ่มจากการคัดแยกเชื้ออาเคียที่ชอบเกลือ พบว่าเชื้อ Natrinema gari HDS3-1 (=Natrinema gari BCC24369) เป็นเชื้อที่มีความสามารถในการลดฮิสทามีนในสภาวะที่มีเกลือสูง และไม่เป็นพิษต่อเซลล์ นอกจากนี้ยังพัฒนาวิธีตรึงเซลล์ที่ทำให้ได้เซลล์ตรึงที่มีประสิทธิภาพในการลดฮิสทามีนสูง สามารถลดปริมาณฮิสทามีนในน้ำปลาได้โดยไม่มีผลต่อคุณลักษณะโดยรวมและเป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งผู้บริโภคทั่วไป และสามารถนำเซลล์กลับมาใช้ได้หลายครั้ง ผลงานวิจัยนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกน้ำปลาของไทย ลดการสูญสียจากการกักกัน และปฏิเสธสินค้าผลิตภัณฑ์น้ำปลาจากประเทศคู่ค้าและสามารถช่วยผลักดันการส่งออกน้ำปลาไทยได้เพิ่มสูงขึ้น



เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2556 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้จัดงานประกาศรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประเภท รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย และ รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี 2555 โดยผลงานวิจัยเรื่อง “การลดฮิสทามีนในน้ำปลาโดยวิธีการทางชีวภาพด้วยเซลล์จุลินทรีย์อาเคียชอบเกลือที่มีกิจกรรมของเอนไซม์ฮีสตามีนดีไฮโดรจีเนส” ของ ดร. วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร ไบโอเทค ร่วมกับคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลผลงานวิจัย ระดับดี นับเป็นหนึ่งใน 28 ผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล



ผลงานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาวิธีการลดฮิสทามีนในน้ำปลาโดยใช้กระบวนการทางชีวภาพ ซึ่งฮิสทามีนเป็นสาเหตุสำคัญของการกักกันและปฏิเสธสินค้าผลิตภัณฑ์น้ำปลาจากประเทศคู่ค้า ซึ่งกำหนดค่าฮิสทามีนในน้ำปลาไว้ที่ระดับ 200-400 ppm คณะผู้วิจัยจึงพัฒนาวิธีการลดฮิสทามีนในน้ำปลาโดยเริ่มจากการคัดแยกเชื้ออาเคียที่ชอบเกลือ พบว่าเชื้อ Natrinema gari HDS3-1 (=Natrinema gari BCC24369) เป็นเชื้อที่มีความสามารถในการลดฮิสทามีนในสภาวะที่มีเกลือสูง และไม่เป็นพิษต่อเซลล์ นอกจากนี้ยังพัฒนาวิธีตรึงเซลล์ที่ทำให้ได้เซลล์ตรึงที่มีประสิทธิภาพในการลดฮิสทามีนสูง สามารถลดปริมาณฮิสทามีนในน้ำปลาได้โดยไม่มีผลต่อคุณลักษณะโดยรวมและเป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งผู้บริโภคทั่วไป และสามารถนำเซลล์กลับมาใช้ได้หลายครั้ง ผลงานวิจัยนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกน้ำปลาของไทย ลดการสูญสียจากการกักกัน และปฏิเสธสินค้าผลิตภัณฑ์น้ำปลาจากประเทศคู่ค้าและสามารถช่วยผลักดันการส่งออกน้ำปลาไทยได้เพิ่มสูงขึ้น



นอกจากนี้ คุณสมบัติ รักประทานพร ผู้ช่วยวิจัยห้องปฏิบัติการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดี หน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร เป็นผู้ร่วมวิจัยในผลงานเรื่อง “การพัฒนาการวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสในกุ้งด้วยโมโนโคลนอลแอนติบอดี” ที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดีเด่น





เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2556 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้จัดงานประกาศรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประเภท รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย และ รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี 2555 โดยผลงานวิจัยเรื่อง “การลดฮิสทามีนในน้ำปลาโดยวิธีการทางชีวภาพด้วยเซลล์จุลินทรีย์อาเคียชอบเกลือที่มีกิจกรรมของเอนไซม์ฮีสตามีนดีไฮโดรจีเนส” ของ ดร. วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร ไบโอเทค ร่วมกับคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลผลงานวิจัย ระดับดี นับเป็นหนึ่งใน 28 ผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล



ผลงานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาวิธีการลดฮิสทามีนในน้ำปลาโดยใช้กระบวนการทางชีวภาพ ซึ่งฮิสทามีนเป็นสาเหตุสำคัญของการกักกันและปฏิเสธสินค้าผลิตภัณฑ์น้ำปลาจากประเทศคู่ค้า ซึ่งกำหนดค่าฮิสทามีนในน้ำปลาไว้ที่ระดับ 200-400 ppm คณะผู้วิจัยจึงพัฒนาวิธีการลดฮิสทามีนในน้ำปลาโดยเริ่มจากการคัดแยกเชื้ออาเคียที่ชอบเกลือ พบว่าเชื้อ Natrinema gari HDS3-1 (=Natrinema gari BCC24369) เป็นเชื้อที่มีความสามารถในการลดฮิสทามีนในสภาวะที่มีเกลือสูง และไม่เป็นพิษต่อเซลล์ นอกจากนี้ยังพัฒนาวิธีตรึงเซลล์ที่ทำให้ได้เซลล์ตรึงที่มีประสิทธิภาพในการลดฮิสทามีนสูง สามารถลดปริมาณฮิสทามีนในน้ำปลาได้โดยไม่มีผลต่อคุณลักษณะโดยรวมและเป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งผู้บริโภคทั่วไป และสามารถนำเซลล์กลับมาใช้ได้หลายครั้ง ผลงานวิจัยนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกน้ำปลาของไทย ลดการสูญสียจากการกักกัน และปฏิเสธสินค้าผลิตภัณฑ์น้ำปลาจากประเทศคู่ค้าและสามารถช่วยผลักดันการส่งออกน้ำปลาไทยได้เพิ่มสูงขึ้น


นอกจากนี้ คุณสมบัติ รักประทานพร ผู้ช่วยวิจัยห้องปฏิบัติการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดี หน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร เป็นผู้ร่วมวิจัยในผลงานเรื่อง “การพัฒนาการวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสในกุ้งด้วยโมโนโคลนอลแอนติบอดี” ที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดีเด่น


สำหรับรางวัลวิทยานิพนธ์ มีผลงานจากนักวิจัยไบโอเทคได้รับรางวัล 2 ผลงานได้แก่

วิทยานิพนธ์เรื่อง “การพัฒนาเซลล์ที่มีประสิทธิภาพโดยใช้เครื่องมือทางชีววิทยาระบบ” ของ ดร. พรกมล อุ่นเรือน นักวิจัยหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมีและโรงงานต้นแบบ โดยมี Prof. Dr. Friedrich Srienc จาก University of Minnesota-Twin Cities สหรัฐอเมริกา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดีเด่น

วิทยานิพนธ์เรื่อง “ลักษณะสมบัติและการวิเคราะห์หน้าที่ของยีนที่เกี่ยวข้องกับระบบโพรฟีนอลออกซิเดสจากกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon” ของ ดร. วลัยพร เจริญทรัพย์ศรี นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศ. ดร. อัญชลี ทัศนาขจร ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านอณูชีววิทยาและจีโนมกุ้ง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก และ ดร. ปิติ อ่ำพายัพ นักวิจัยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านอณูชีววิทยาและจีโนมกุ้ง ร่วมเป็นที่ปรึกษา ได้รับรางวัลระดับดีเยี่ยม

ประกาศเมื่อ 18 มกราคม 2556




การพัฒนาชนบท :

ไบโอเทคเล็งเห็นความสำคัญของชุมชนชนบท ซึ่งเป็นรากฐานของคนส่วนใหญ่ของประเทศ จึงมีการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละชุมชน โดยมุ่งเป้าเพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจได้และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชนบทให้ดีขึ้น การดำเนินงานของไบโอเทคใช้เครือข่ายและพันธมิตรในท้องถิ่นในการถ่ายทอดเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดการนำเทคโนโลยี ผลงานวิจัยไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมในแต่ละชุมชน ซึ่งมีกิจกรรมใน 4 สาขา ดังนี้

ด้านการเกษตร – ได้แก่ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว การใช้สารชีวภัณฑ์ (NPV) เพื่อการควบคุมแมลงศัตรูพืช การผลิตพืชพลังงานในชุมชน การเลี้ยงโคฟรีบราห์

ด้านอาหารและการแปรรูป – ได้แก่การเสริมสร้างศักยภาพการผลิตวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

ด้านวิสาหกิจชุมชน – ได้แก่กลุ่มวิสาหกิจการผลิตชาจากข้าวสาลี กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตบ้านบ่อเหมืองน้อย

ด้านการส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียนชนบท – เพื่อพัฒนาศักยภาพของครูและนักเรียนในถิ่นทุรกันดาร ในด้านการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ โครงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียนชนบท และ โครงการความร่วมมือนำร่องโครงงาน (เชิง) วิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า


ติดต่อ
หน่วยบริการเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง
จังหวัดปทุมธานี 12120

โทรศัพท์ 0 2564 6700 ต่อ 3626-41
โทรสาร 0 2564 6586




http://www.biotec.or.th/th/index.php/info-center/news/747-2013-01-18-05-12-05
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 27/01/2013 10:32 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,856. ชีวินทรีย์” ทางเลือกยั่งยืนเพื่อเกษตรกรไทย





ข้อมูลจากมูลนิธิโลกสีเขียวรายงานว่าเมื่อปี 2551 พบว่าประเทศไทยมีเนื้อที่ทางการเกษตรเป็นอันดับที่ 48 ของโลก แต่ใช้ยาฆ่าแมลงเป็นอันดับ 5 ของโลกและใช้ยาฆ่าหญ้าเป็นอันดับ 4 ของโลก

และหากดูปริมาณนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืชของปี 2552 พบว่ามีการนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืชทั้งสิ้น 118,152 ตัน เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าจากเมื่อปี 2545 ซึ่งมีปริมาณนำเข้า 39,634 ตันซึ่งตัวเลขการนำเข้านี้ก็มีแนวโน้มสูงเรื่อยๆ ข้อมูลเหล่านี้บ่งบอกว่าประเทศเกษตรกรรมอย่างไทยต้องคำนึงถึงการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชที่ส่งผลกระทบโดยตรงทั้งตัวผู้ใช้ ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมให้มากกว่านี้


ชีวินทรีย์ ทางเลือกใหม่ :
หากกล่าวถึงศัตรูพืชจะมีทั้งแมลงศัตรูพืชและจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค สารเคมีที่ใช้กำจัดจึงมีทั้งสารเคมีฆ่าแมลง และสารเคมียับยั้งเชื้อรา โดยทั่วไปในระบบนิเวศวิทยาที่สมดุลศัตรูพืชจะถูกควบคุมหรือมีศัตรูธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นทางเลือกใหม่ของเกษตรกรไทยอาจนำวิธีดังกล่าวมาใช้ปราบศัตรูพืชโดยการนำสิ่งมีชีวิตหรือผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในธรรมชาติมาเพาะเลี้ยงและนำกลับไปใช้ในการควบคุมศัตรูพืชเรียกว่าการใช้ ชีวินทรีย์ ซึ่งเป็นการลดหรือควบคุมประชากรศัตรูพืชให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับพืช

นายสัมฤทธิ์ เกียววงษ์ ผู้จัดการโรงงานต้นแบบผลิตเชื้อไวรัส NPV เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ชีวินทรีย์ คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กชนิดหนึ่ง เช่น ไวรัส เชื้อรา แบคทีเรีย หรือจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทั้งในด้านเกษตรและอุตสาหกรรม

“บ้านเราเป็นประเทศเกษตรกรรมอยู่ในเขตร้อนชื้นมีปัญหาด้านแมลงศัตรูพืชมากกว่าเขตหนาวอย่างยุโรปทำให้การทำเกษตรกรรมในประเทศเรามักนิยมใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและมีแนวโน้มการนำมาใช้ในปริมาณที่สูง

เนื่องจากเราต้องการเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นเพียงพอกับความต้องการของตลาดและจำเป็นต้องควบคุมคุณภาพผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดด้วยเช่นกัน แต่เกษตรกรกลับนิยมใช้สารเคมีที่ก่อให้เกิดพิษและยังตกค้างในสิ่งแวดล้อม ดังนั้นในมุมของนักโรคพืช นักกีฎวิทยา จึงพยายามหาแนวทางในการควบคุมศัตรูพืชที่ไม่เป็นอันตราย เช่น การกำจัดตัวอ่อนของผีเสื้อด้วยการพ่นเชื้อโรคให้ป่วยตายไปในที่สุดด้วยวิธีการที่ปลอดภัยทั้งกับผู้ใช้ ผู้บริโภค รวมถึงสิ่งแวดล้อม”


ชีวินทรีย์ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช :
งานวิจัยชีวินทรีย์ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช จึงเป็นที่มาของทางเลือก ทางรอดที่ยั่งยืนของการทำเกษตรกรรมรูปแบบใหม่ให้กับเกษตรกรไทย โดยผู้จัดการโรงงานต้นแบบผลิตเชื้อไวรัส NPV เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช (ไบโอเทค) กล่าวอีกว่า “งานวิจัยนี้เป็นการนำเชื้อไวรัสชื่อว่า NPV ชนิดหนึ่งที่ทำให้หนอนป่วยเป็นโรคตาย และเป็นเชื้อไวรัสที่มีอยู่แล้วในบ้านเราเอง ไม่ได้สร้างขึ้นใหม่

ทีมวิจัยทำการวิจัยและคัดเชื้อไวรัสที่ดีที่สุดมาทดสอบทั้งด้านความปลอดภัยกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยพบว่าเชื้อไวรัส NPVนี้จะทำให้หนอนบางชนิดเท่านั้นที่ได้รับเชื้อเข้าไปแล้วป่วยตายซึ่งมีความจำเพาะที่สูงมาก ได้แก่ หนอนกระทู้หอม และหนอนเจาะสมอฝ้าย ซึ่งเป็นหนอนสำคัญที่ได้ทำลายพืชทางเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น องุ่น หอมแดง หอมหัวใหญ่ ส้ม มะเขือเทศ หรือไม้ดอกอย่างกุหลาบ เบญจมาศ ดาวเรือง”


ไวรัสปลอดภัยแทนสารเคมี :
จากวิธีการแก้ปัญหาแบบเดิมคือการใช้สารเคมีแทบจะทุกชนิดที่มีประกาศโฆษณาว่าใช้ได้ดี แต่กลับพบว่าหนอนมีกระทู้หอมมีการดื้อยามากยิ่งขึ้น จึงต้องมีการเปลี่ยนชนิดสารเคมีที่มีความรุนแรงขึ้น จึงมีค่าใช้จ่ายที่สูงเพิ่มขึ้นตามมาอีกทั้งยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

ทีมวิจัยจึงแนะนำให้เกษตรกรใช้เชื้อไวรัสNPV เพื่อควบคุมหนอนกระทู้หอม โดยไวรัส NPV (Nuclear Polyhedrosis Virus, NPV) เป็นไวรัสในธรรมชาติที่ทำให้หนอนเป็นโรคและตายเมื่อหนอนกินไวรัสที่เราพ่นไว้บนพืชเข้าไป

โดยเชื้อจะเข้าสู่กระเพาะอาหารของหนอน อนุภาคไวรัสจะเริ่มทำลายเซลล์ผนังกระเพาะอาหารก่อนแล้วจึงขยายพันธุ์ทวีจำนวนมากขึ้น และแพร่กระจายเข้าสู่ภายในลำตัวของหนอน ทำลายอวัยวะภายในส่วนต่าง ๆ เช่น เม็ดเลือก ไขมัน กล้ามเนื้อ และผนังลำตัว เป็นต้น โดยทำให้หนอนตายในที่สุด ซึ่งไวรัสนี้ได้รับการทดสอบแล้วว่ามีความปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งนี้เชื้อไวรัส NPV นั้นมีความเจาะจงกับเป้าหมายมาก โดยจะเลือกทำลายเฉพาะหนอนกระทู้หอม หนอนเจาะสมอฝ้าย

“เอาเชื้อไวรัสฉีดเข้าไปในพืชที่เราปลูก เมื่อผีเสื้อมาวางไข่และออกไข่เป็นหนอนก็จะกัดกินต้นพืชดังกล่าวทำให้ได้รับเชื้อไวรัสนี้ไปด้วยแต่ไม่มีอันตรายกับคนและสิ่งแวดล้อมมีความปลอดภัยสูงมาก ไม่ทำลายสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น”


การนำไปใช้แทนสารเคมี :
นายสัมฤทธิ์ อธิบายเพิ่มเติมว่า วิธีการนำไวรัส NPV ไปใช้นั้น ได้แก่ทางเลือกที่ 1 คือ สามารถนำไปพ่นใช้ทดแทนสารเคมีเมื่อเจอหนอนชนิดที่ตรงกับไวรัส สามารถพ่นไวรัสเช่น ทุก 5 หรือ 7 วันทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงการระบาดของหนอนดังกล่าว ถ้าระบาดมากสามารถลดอาจพ่นได้ในระยะ 3 หรือ 4 วัน เป็นต้น ซึ่งวิธีการดังกล่าวอาจเห็นผลช้าแต่มีความปลอดภัยสูง


สำหรับทางเลือกที่ 2 ได้แก่การนำไปใช้ร่วมกับสารเคมี คือ สามารถพ่นไวรัสก่อนและตามด้วยสารเคมี ซึ่งทำให้จากเดิมที่เคยพ่นสารเคมีจำนวนมากเกษตรกรก็จะใช้สารเคมีลดลง เช่น อาจเหลือเพียง 2-3 ครั้งต่อการพ่น 1 ครั้ง เพราะมีไวรัสเป็นตัวช่วยให้หนอนตายเร็วยิ่งขึ้น ทางเลือกนี้จะช่วยลดการใช้สารเคมีลงเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้นและลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรได้อีกด้วย


NPV ปลอดภัย ไม่ดื้อยา
ผู้จัดการโรงงานต้นแบบผลิตเชื้อไวรัส NPV เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช (ไบโอเทค) กล่าวอีกว่า งานวิจัยดังกล่าวได้มีการนำไปทดลองใช้จริงกับเกษตรกร เช่น เกษตรกรสวนองุ่น หน่อไม้ฝรั่ง หอม ฯลฯ

“เกษตรกรยังตอบรับค่อนข้างน้อยเนื่องจากสารชีวินทรีย์มีจุดแข็ง คือ ปลอดภัยกับทุกคน เกษตรกร สิ่งแวดล้อม และผู้ใช้เอง แต่ยังมีจุดอ่อนคือ หนอนตายช้าเหมือนเชื้อโรคกว่าจะทำให้หนอนป่วยอ่อนแอใช้เวลาเป็นวัน หรือ 2-3 วันจะสู้สารเคมีไม่ได้ เพราะสารเคมีฉีดปุ๊บร่วงให้เห็นเลยเกษตรกรจะประทับใจสารเคมีมากกว่า แต่ไวรัส NPV ก็มีจุดเด่นอีกอย่างคือ เมื่อฉีดพ่นไปแล้วหนอนไม่ดื้อยาเหมือนสารเคมีที่ฉีดแล้วหนอนดื้อยา คือ หนอนสามารถพัฒนาตัวเองให้สู้กับสารเคมีได้

หากมองหาความยั่งยืนในระยะหลังบริษัทต่างๆทั้งจากอเมริกา ญี่ปุ่น ก็มีกฎหมายเข้มงวดในการควบคุมและการนำเข้าผลผลิตทางการเกษตร ดังนั้นเกษตรกรไทยจึงควรหันมาใช้ชีวินทรีย์ที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้น ยิ่งไทยประกาศเป็นครัวโลกเป็นแหล่งอาหารปลอดภัย ดังนั้นเราต้องมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ดูแลผลผลิตทางการเกษตรเหล่านี้ให้ปลอดภัยเช่นเดียวกัน”


โรงงานต้นแบบผลิตเชื้อไวรัส NPV เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช :
ผู้จัดการโรงงานต้นแบบฯ กล่าวด้วยว่า สำหรับงานที่ทีมวิจัยชีวินทรีย์ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช นั้นเป็นการทำโรงงานต้นแบบ “คือขยับขึ้นมาจากห้องทดลองแต่ยังไม่เป็นเชิงพาณิชย์ยังไม่เป็นอุตสาหกรรมเรียกว่าโรงงานต้นแบบให้เอกชนมาเรียนรู้และรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ก็มีการเชิญบริษัทเคมีเกษตรเข้ามาเยี่ยมชมโรงงานเพื่อให้ทดลองนำไปจำหน่ายและทีมวิจัยจะสนับสนุนด้านความรู้ทางวิชาการต่อเนื่อง”



ถึงวันนี้เกษตรกรไทยคงต้องหันมาเปลี่ยนแนวคิดใหม่ว่าชีวินทรีย์สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง มีประโยชน์ระยะยาวและยั่งยืน โดยเฉพาะความปลอดภัยต่อทั้งสุขภาพของเกษตรกรเอง ผู้บริโภครวมถึงสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ



http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/473378
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 27/01/2013 10:47 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,857. วช.ยกย่อง 34 สิ่งประดิษฐ์แห่งปี





สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประกาศรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี ๒๕๕๖ จำนวน ๓๔ ผลงาน และรางวัลผลงานด้านการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย ประจำปี ๒๕๕๕ จำนวน ๔ ผลงาน

นางกาญจนา ปานข่อยงาม รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวเปิดการแถลงข่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนการนำองค์ความรู้จากสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมต่างๆ ไปสู่การใช้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคมและชุมชน

ทั้งนี้ เพื่อให้นักประดิษฐ์ไทยได้แสดงศักยภาพด้านการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศ วช. จึงได้จัดให้มีรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นเพื่อเป็นกำลังใจและเป็นการประกาศเกียรติคุณแก่นักประดิษฐ์ที่มีความสามารถให้ได้แสดงผลงานต่อสาธารณชน โดยรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นได้จัดให้มีตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ จนถึง ปี ๒๕๕๕ มีผลงานได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติรวมทั้งสิ้น ๖๕๙ ผลงาน

ในปี ๒๕๕๖ มีผลงานประดิษฐ์ที่เสนอขอรับรางวัล ฯ จำนวน ๒๑๕ ผลงาน คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติได้มีมติให้รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี ๒๕๕๖ จำนวน ๓๔ ผลงาน แบ่งเป็นรางวัลระดับดีเด่น รางวัลระดับดี และรางวัลประกาศเกียรติคุณ ดังนี้


๒. ผลงาน เรื่อง “ความสำเร็จในการผลิตละมั่งสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ตัวแรกของโลกจากการ ปฏิสนธิภายนอกร่างกาย” ของ สัตวแพทย์หญิง ดร.อัมพิกา ทองภักดี และคณะ

๕. ผลงาน เรื่อง “เครื่องกำจัดการสะสมตะกอนน้ำมันดิบ ปตท.” ของ ดร.วิชาพันธ์ วีระภาคย์การุณ และคณะ

๖. ผลงาน เรื่อง “เครื่องปลูกมันสำปะหลังชุมชน” ของ นายโมเสส ขุริลัง

๗. ผลงาน เรื่อง “เซลล์เชื้อเพลิงจุลชีพ : ระบบบำบัดน้ำเสียพิษสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา” ของ ดร.ชลทิศา สุขเกษม (ติดภารกิจไม่สามารถเข้าร่วมงานได้)






http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/487429


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2013 10:51 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 27/01/2013 10:51 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,858. มังคุด แปลงร่างสร้างค่า





ความท้าทายของอุตสาหกรรมอาหารท่ามกลางตลาดใหม่ กลายเป็นโจทย์สำคัญที่ผู้ประกอบการต้องมองหาความแตกต่าง เพื่อสร้างจุดเด่นให้กับสินค้ามากกว่าคุณภาพและราคา ถือเป็นเหตุผลของการแปลงโฉม "มังคุด" ผลไม้ธรรมดาให้กลายเป็น “มังคุดอินทรีย์เนื้อแดง” ทางเลือกสำหรับตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพ

“ดวงเดือน เชิงเทิน” กรรมการผู้จัดการบริษัท อินฟินิท ฟรุ๊ต จำกัด ประกอบการธุรกิจส่งออกผลไม้แช่แข็งรายใหญ่ใน จ.จันทบุรี ตัดสินใจสร้างความโดดเด่นให้กับราชินีผลไม้อย่างมังคุดที่ขึ้นชื่อในเรื่องรสชาติ หลังจากศึกษาเชิงลึกพบว่า เปลือกสีม่วงของมังคุดอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถนำมาสู่การแปรรูปในแบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน และสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปซึ่งมีอยู่ดาษดื่นในตลาด

"บริษัทดำเนินการส่งผลไม้ออกไปต่างประเทศ โดยเฉพาะมังคุดที่ส่งไปในลักษณะแช่แข็งและสดเป็นประจำอยู่แล้ว แต่หากต้องการผลักดันเพื่อให้มังคุดเป็นผลไม้ส่งออกที่มีความโดดเด่น ก็ควรจะหาสิ่งที่มีความแตกต่างจากมังคุดแช่แข็งปกติ หรือมีความเป็น Super Fruit มากกว่าผลมังคุดทั่วไป" ดวงเดือนกล่าว

นวัตกรรมตอบโจทย์
ด้วยคุณสมบัติพิเศษของเปลือกมังคุด จึงไม่ยากที่จะเชื่อมไปถึงผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ หรือผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งมีแนวโน้มทางธุรกิจที่ดีและมีมูลค่าสูงกว่าผลไม้แปรรูปแช่แข็งทั่วไป โดยจะทำอย่างไรให้ผู้บริโภคได้รับสารสำคัญโดยตรงจากการรับประทานมังคุด ไม่ต้องผ่านการสกัดให้ยุ่งยาก

โจทย์ขบคิดของดวงเดือนถูกส่งต่อไปยังนักวิจัยในคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยมีแรงผลักดันจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ในการทำให้สารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในเปลือกมังคุด แพร่กระจายและดูดซึมเข้าไปในเนื้อมังคุด โดยไม่ใช้สารเติมแต่ง จึงยังคงความเป็นธรรมชาติของมังคุดแท้ 100%

แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์มังคุดในรูปโฉมใหม่ของอินฟินิท ฟรุ๊ต คือการแช่แข็งมังคุดทั้งลูกพร้อมเปลือก ภายใต้ระยะเวลาและอุณหภูมิที่เหมาะสม ซึ่งต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนาเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้เนื้อมังคุดสีแดงเหมือนสีของทับทิม ซึ่งเกิดจากการแพร่สารที่มีประโยชน์จากเปลือกเข้าสู่เนื้อด้านใน

จากแนวคิดนำไปสู่การทดลองผลิตในระดับห้องปฏิบัติการ และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มังคุดอินทรีย์แช่แข็งเนื้อสีทับทิม โดยกระบวนการผลิตอาศัยหลักการออสโมซิส (Osmosis) หรือกระบวนการผลักสารที่เปลือกมังคุดเข้าสู่เนื้อมังคุด โดยน้ำภายนอกจะถูกดูดซึมผ่านผนังเซลล์ของเปลือก สารต่างๆ จากเปลือกจึงถูกแรงดันเข้าสู่เนื้อมังคุด

ปัจจุบันการวิจัยอยู่ในช่วงทดสอบว่า ปริมาณสารจากเปลือกมังคุดเข้าสู่เนื้อมังคุดมากน้อยแค่ไหน โดยสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า เนื้อมังคุดสีทับทิมนี้มีสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับมังคุดแช่แข็งธรรมดาโดยทั่วไปประมาณ 5 เท่า

"แม้เปลือกของมังคุดจะอุดมไปด้วยสารที่มีประโยชน์ แต่สารจากเปลือกทำให้เกิดรสฝาด จึงเป็นปัญหาที่จะต้องแก้ไข หรือพัฒนารสชาติให้ที่ผู้โภคยอมรับต่อไป" ดวงเดือนกล่าว

แตกไลน์ขยายฐาน
ดวงเดือนมั่นใจว่า หากสามารถพัฒนากระบวนการผลิตที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์มังคุดอินทรีย์แช่แข็งเนื้อแดงได้สำเร็จ โครงการนี้จะเป็นต้นแบบของเทคโนโลยีการผลิตที่นำไปใช้กับผลิตภัณฑ์อื่นๆ รวมถึงสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์มังคุดแช่แข็งที่ผลิตได้จากเกษตรกรในประเทศ

ส่วนตัวเธอเองมองถึงการแปรรูปมังคุดในรูปแบบอื่น เช่น รูปแบบผงบรรจุแคปซูล นำเสนอในกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพ ซึ่งคาดว่าจะสามารถผลิตป้อนตลาดในช่วงกลางปี 2556

อีกไม่นาน “มังคุดอินทรีย์แช่แข็งเนื้อแดง” จะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างตราสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล สนับสนุนให้ผลไม้ไทยได้รับการยอมรับจากตลาดโลกมากขึ้น การันตีด้วยข้อมูลการวิจัยวิทยาศาสตร์ถึงประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ที่ให้ผลดีต่อสุขภาพ และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในการประกวดออกแบบเชิงนวัตกรรม หรือ Design Innovation Contest 2012 ด้านการออกแบบอาหาร โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ


http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/487060

http://www.biotec.or.th/th/index.php/knowledge/90-2010-03-26-04-32-18
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 27/01/2013 5:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,859. สื่อนอกตีข่าว กาแฟขี้ช้างไทย แพงสุดในโลก โลละ 34,000 บ.






สื่อ ตปท. ตีข่าว กาแฟขี้ช้างไทย แพงที่สุดในโลก ที่มีต้นกำเนิดจาก จ.เชียงราย กิโลกรัมละ 34,000 บาท นักท่องเที่ยว สามารถเดินไปทางลองชิมกันได้ในราคาแก้วละ 1,200 บาท


สื่อต่างประเทศหลายสำนัก รายงานข่าวว่า กาแฟขี้ช้าง ที่มีต้นกำเนิดในประเทศไทย กลายเป็นกาแฟที่มีราคาแพงที่สุดในโลก ถึงกิโลกรัมละ 1,100 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ ราว 34,000 บาท หลังเปิดตัวไปเมื่อช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยกาแฟขี้ช้างนี้เป็นผลงานของ อนันตรา สามเหลี่ยมทองคำ รีสอร์ท แอนด์ สปา ร่วมกับรีสอร์ทหรูในเครืออนันตรา 4 แห่ง ในมัลดีฟส์ ได้เปิดตัวโดยใช้ชื่อเรียกกาแฟนี้ว่า แบล็ค ไอวอรี่ คอฟฟี่ ทั้งนี้คอกาแฟทั่วโลก มักจะนึกถึง กาแฟขี้ชะมด ของประเทศอินโดนีเซีย ที่มีราคากิโลกรัมละประมาณ 600 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ ราว 16,000-17,000 บาท แต่ กาแฟขี้ช้าง หรือ แบล็ค ไอวอรี่ คอฟฟี่ ถือเป็นหนึ่งในสุดยอดกาแฟ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีราคาแพงที่สุดในโลกแล้วในตอนนี้


สำหรับขั้นตอนในการทำกาแฟขี้ช้าง จะเริ่มจากการคัดเลือกเมล็ดกาแฟไทยอาราบิก้าจากแหล่งที่ปลูกบนความสูง 1,500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล แล้วนำมาให้ช้างกิน เมื่อช้างขับถ่ายออกมา ควาญช้างก็จะนำไปตากแห้ง ทั้งนี้เพื่อไม่ให้กระทบกับพฤติกรรมการกินแบบปกติ แต่รอให้ช้างกินผลกาแฟโดยสมัครใจ ควาญช้างจึงต้องคอยสังเกตดูว่า ช้างจะขับถ่ายออกมาเมื่อใด จากนั้นยังต้องนำไปผ่านกระบวนการและคัดแยก ส่วนใหญ่จะได้กาแฟขี้ช้าง เพียง 1 กิโลกรัม กาแฟขี้ช้างไทย จึงมีมูลค่าสูงถึง 1,100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อหนึ่งกิโลกรัม ซึ่งแพงกว่ากาแฟขี้ชะมดของอินโดนีเซีย


ทั้งนี้ หากอยากสัมผัสกับรสชาติของกาแฟที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สามารถไปลองกันได้แล้วที่ อนันตรา สามเหลี่ยมทองคำ รีสอร์ท เชียงราย ในราคาแก้วละ 1,200 บาท ซึ่งรายได้จากการจำหน่าย แบล็ค ไอวอรี่ คอฟฟี่ จะมอบให้กับ มูลนิธิช้างสามเหลี่ยมทองคำ เพื่อใช้สนับสนุนค่าใช้จ่ายของ สัตวแพทย์ในการดูแลและรักษาพยาบาลช้าง และการก่อสร้างห้องปฏิบัติการของมูลนิธิช้างสามเหลี่ยมทองคำ อีกด้วย


Source : http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=421967

by Supatsorn



http://news.voicetv.co.th/thailand/58293.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 68, 69, 70 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 69 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©