-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - วิธีรับมือกับเชื้อรา ใช้อะไรบ้าง...
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

วิธีรับมือกับเชื้อรา ใช้อะไรบ้าง...

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
twohandcrikky
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 31/07/2011
ตอบ: 47

ตอบตอบ: 22/11/2011 10:40 am    ชื่อกระทู้: วิธีรับมือกับเชื้อรา ใช้อะไรบ้าง... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผมปลูก ส้มจี๊ด กระเทียม ไว้ อยากจะทราบข้อมูลการรับมือกับเชื้อราน่ะครับ ตอนนี้
เบิ้องต้นใช้น้ำปูนใส อยู่ ไม่ทราบว่าจะเพียงพอหรือเปล่า อยากได้วิธีที่มันไม่มีสาร
ตกค้างมากน่ะครับ

ที่ต้องถามเนี่ย เพราะยาในท้องตลาดมัีนออกใหม่ทุกปี ตัวไหนดี ตัวไหนหลอก ผม
เลือกไม่ถูกจิงๆ อยากได้ข้อมูลจากผู้รู้น่าจะชัวร์กว่า น้ำหมักอะัไรพวกนี้ก็น่าจะดี
แต่หาข้อมูลไม่ได้จิงๆ


ขอบคุณล่วงหน้าครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 22/11/2011 12:01 pm    ชื่อกระทู้: Re: วิธีรับมือกับเชื้อรา เใช้อะไรบ้าง... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

twohandcrikky บันทึก:

ผมปลูก ส้มจี๊ด กระเทียม ไว้ อยากจะทราบข้อมูลการรับมือกับเชื้อราน่ะครับ
ตอนนี้เบิ้องต้นใช้น้ำปูนใสอยู่ ไม่ทราบว่าจะเพียงพอหรือเปล่า
อยากได้วิธีที่มันไม่มีสารตกค้างมากน่ะครับ

ตอบ :
ปลูกส้มจี๊ด ไว้กี่ต้น หรือกี่ไร่ ?
ปลูกกระเทียม ไว้กี่ไร่ อยู่จังวหวัดไหนน่ะ ?

เชื้อรา ที่ว่า "ชื่ออะไร-ในพืชอะไร" ว่ามาเป็นชื่อๆ ชื่อรา-ชื่อพืช เพระวิธีการ
วิเคราะห์ไม่เหมือนกัน ถามเหมาจ่าย (ครอบจักรวาล) ได้ แต่ตอบเหมาจ่ายไม่ได้


น้ำปูนใส. ข้อมูลเท่าที่มีใช้กำจัด "แคงเคอร์" ในพืชตระกูลส้ม (พืชอื่นไม่เคยเห็น
เป็นแคงเคอร์....ไม่ใช่ไม่มีนะ เพียงแต่ไม่เคยเห็นเท่านั้น) .... แคงเคอร์เป็น
แบคทีเรีย น้ำปูนใสเป็นด่าง สองตัวนี้เข้ากันไม่ได้ แบคทีเรียแคงเคอร์โดนน้ำปูนใส
เลยตาย ส่วนเชื้อราอย่างอื่นก็ว่ากัน แล้วแต่ชนิด .... แคงเคอร์เกิดจากแม่ผีเสื้อ
ของหนอนชอนใบเป็นพาหะ พืชตระกูลส้มเมื่อเป็นแคงเคอร์ก็มักจะเป็นหนอนชอนใบ
ด้วย ถ้าป้องกันแม่ผีเสื้อ (แมลงพาหะ) ไม่ให้เข้าวางไข่ได้ ก็ป้องกัน (ไม่ใช่กำจัด)
แคงเคอร์ได้ ....หนอนชอนใบ กำจัดด้วยสารสกัดสบู่ต้น หรือปุ๋ยน้ำชีวภาพ

กระเทียมก็เหมือนกัน โรค (รา-แบคทีเรีย-ไวรัส-ฯลฯ) ว่ากันเป็นตัวๆไป

รา ............................... ชื่ออะไร ? ในพืชอะไร ?
แบคทีเรีย ....................... ชื่ออะไร ? ในพืชอะไร ?
ไวรัส ............................ ชื่ออะไร ? ในพืชอะไร ?

รู้ชื่อ-รู้วงจรชีวิต-รู้จุดอ่อน-รู้ ฯลฯ แล้ว ป้องกัน/กำจัด ให้ตรงจุด (ไม่รู้ ไม่เคย
เห็น....เปิดตารา)

เรื่องนี้เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ไสยศาสตร์แล้วใช้ยาผีบอกได้....ทำแบบภูมิปัญญา
พื้นบ้าน-มาตรฐานโรงงาน-มีหลักวิชาการรองรับยืนยัน.....ที่นี่ ไม่มั่ว คร้าบบบบบบ

สารเคมียาฆ่าแมลง-สารสมุนไพรอย่างกลอย คนกินยังตาย แล้วหนอนตัวเล็กแค่
ปลายไม้จิ้มฟัน มีแต่หนังกำพร้า, แมลงตัวเท่าหัวไม้ขีด, เชื้อโรคขนาดแค่เซลล์
เดียว เคยคิดบ้างไหม ว่ามันจะมีแรงอึด ความอดทนซักแค่ไหนเชียว ทำไมโดนสาร
เคมีสารสมุนไพรจึงไม่ตาย ก็แสดงว่า "ใช้ผิด-ใช้ใม่เป็น" เพราะเกษตกรไทยใช้
สารเคมียาฆ่าแมลงไม่เป็น จึงไม่ได้ผล เมื่อใช้ไม่เป็นก็ไม่ศึกษาวิธีใช้ให้ละเอียด นี่
แหละที่เรียกว่า "รู้แค่โฆษณา" ..... มาที่สารสมุนไพรบ้าง ทำไมจึงไม่ศึกษาวิธีใช้
ให้ละเอียดลึกซึ้ง ทำยังกะว่า สารสมุนไพรเป็นยาวิเศษ ใช้ผิดใช้ถูกยังไงก็ต้องได้
ผล.....ยั่งงั้นเหรอ

ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่ "ไม่ตกค้าง" ถ้ายังไม่เสื่อมสภาพก็ต้องยังอยู่ ถ้าเสื่อมสภาพ
ไปแล้วก็ไม่มีอยู่ ขึ้นกับระยะเวลา.....คุณฉีดพ่นสารสกัดสะเดา ตอนเช้า (8 โมง)
แล้วเก็บมากินตอน สายๆ (10 โมง) ถามว่า ยังมีสารสะเดา (อะเซดิแร็คติน) ตก
ค้างอยู่ไหม



อ้างอิง :
http://www.malaeng.com/blog/?cat=139
โรคใบปื้นเหลือง หรือโรคใบแต้มเหลือง โรคที่สำคัญในส้มโอ พืชตระกูลส้มอื่นๆ
และคำแนะนำในการป้องกันกำจัด

http://research.trf.or.th/node/2322
จากการแยกและเก็บรวบรวมเชื้อรา Colletrotrichum ที่เป็นสาเหตุของโรคแอน
แทรกโนสของพืชเศรษฐกิจในเขตภาคเหนือของไทย พบว่าสามารถแยกเชื้อราดัง
กล่าวได้จากพืช 52 ชนิด รวม 88 ไอโซเลท โดยเชื้อราที่แยกได้มีลักษณะทาง
สัณฐานวิทยาที่แตกต่างกันไป เช่น สีของโคโลนีที่พบ มีตั้งแต่สีขาว, เขียว, ส้ม
และเทา มีอัตราการเจริญเติบโตบนอาหารเลี้ยงเชื้อแตกต่างกันตั้งแต่ 0.82 ถึง
1.72 เซนติเมตรต่อวัน ..... ฯ ล ฯ .....

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2440
รอบรู้เรื่อง โรค-แมลง-หนอน.....โรคมีเชื้อ-โรคไม่มีเชื้อ....

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1840&sid=7f9f8b8bf0700c6779131ef795c9dcae
พืชสมุนไพรกำจัดแมลง.....





ที่ต้องถามเนี่ย เพราะยาในท้องตลาดมัีนออกใหม่ทุกปี ตัวไหนดี ตัวไหนหลอก
ผมเลือกไม่ถูกจิงๆ

ตอบ :
จนป่านนี้ยังไม่รู้กลยุทธ (เล่เหลี่ยม) การตลาดอีกเหรอ.....สินค้าเพื่อการเกษตร
อะไร ออกสู่ตลาดใหม่ๆ ต้องโฆษณาให้หนักเข้าไว้ แรกๆก็ขายดี นานๆหน่อยเริ่ม
ขายไม่ออก เพราะคนซื้อไปใช้แล้วไมใด้ผลตามโฆษณา เลยเลิกซื้อ.....เจ้าของ
คนเดิมเลย "เปลี่ยนชื่อยี่ห้อ" ใหม่ เปลี่ยนสลากข้างขวดใหม่ โฆษณาบ้าเลิอด
ใหม่ กลับมาขายดีใหม่อีก....พอขายไม่ออกก็ เปลี่ยนชื่อ-เปลี่ยนชื่อ โหมโฆษณา
เข้าไว้

ขึ้นชื่อว่า "ปุ๋ยเคมี-ปุ๋ยอินทรีย์-ยาเคมี-ยาสมุนไพร-ฯลฯ" สารพัดในท้องตลาดน่ะ
รู้ไหมว่า ต้นไม้ต้นพืช "ไม่รู้จักยี่ห้อ-ไม่ฟังโฆษณา-ไม่รู้จักสี-ไม่รู้จักกลิ่น-ไม่รู้จัก
รส-ไม่สนใจของแถม-ไม่รู้ ฯลฯ" ทั้งนั้น ทั้งหมดทั้งสิ้นอยู่ที่ "คน" ใช่หรือไม่

คนฉลาด เขาดูที่ "ชื่อสามัญ" เขาไม่ดู "ชื่อการค้า (ยี่ห้อ)" หรอก....ถ้าไม่มีชื่อ
สามัญก็ไม่ซื้อ ซะก็จบเรื่อง ไม่เห็นต้องมาโหวกเหวกโวยวายอะไรให้มะเร็งกินอา
รมย์เลย เพราะที่นี่ ประเทศไทย ครับ





อยากได้ข้อมูลจากผู้รู้น่าจะชัวร์กว่า น้ำหมักอะัไรพวกนี้ก็น่าจะดี แต่หาข้อมูลไม่ได้จิงๆ

ตอบ :
ในโลกนี้.....ไม่มีตัวเลขและไม่มีสูตรสำเร็จ.... COPY ไม่ได้แต่ APPTY ได้....

ในสารสมุนไพร สกัดจากสมุนไพรตัวเดียวกัน สารสำคัญ (ตัวยา) เท่ากันเหรอ
เช่น สารอะเซดิแร็คติน ในเมล็ดสะเดาเชียงราย หน้าเล้ง กับสะเดานราธิวาส หน้า
ฝน มีเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นเท่ากันไหม คำตอบคือ "ไม่เท่ากัน" งั้นถามต่อ "ไม่
เท่ากัน แล้วต่างกันเท่าไหร่ ?" ตอบว่า "ไม่ทราบ หรือ ต่างกัน 1-2%" รู้แค่นี้ก็
ยิ้มออกเพราะสารอะเซดิแรคตินเพียง 0.5% ก็เป็นพิษต่อหนอนแล้ว .... ถึงขั้นนี้
แล้วยังไม่ได้ผล ก็ต้องมาพิจารณา "วิธีใช้" นั่นแหละ

ยาดี + ใช้ไม่ถูกต้อง = ไม่ได้ผล
ยาไม่ดี + ใช้ถูกต้อง = ไม่ได้ผล
ยาดี + ใช้ถูกต้อง = ได้ผล ยกกำลัง 2

คนป่วย กินยาผิด โรคจะหายไหม ? ฉันใด โรคพืช + ยา + วิธีใช้ ก็ฉันนั้น แล.


http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1894&sid=7f9f8b8bf0700c6779131ef795c9dcae
สารอาหารที่ได้เป็นสารอาหารอินทรีย์ นอกจาก ธาตุหลัก-ธาตุรอง-ธาตุเสริม และ
ฮอร์โมน.แล้ว ยังได้สารฟลาโวนอยด์. ควินนอยด์. โพลิตินอล. อะมิโนโปรตีน.
ฮิวมัส. ออร์แกนิค แอซิด. ไซโตไคนิน. จุลินทรีย์ (บาซิลลัสส์. แอ็คติโนมัยซิส.
คีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซ่า. ฟังก์จัย.) แหล่งพลังงานหรืออาหาร
จุลินทรีย์ และ สารท็อกซิก.

อธิบาย.......สารท็อกซิก คือ สารที่เป็นพิษต่อศัตรูพืช (หนอน-แมลง) โดย
เฉพาะ แต่ไม่เป็นอันตรายต่อแมลงที่เป็นประโยชน์ (อ้างอิง / อ.วิชัยฯ สถาบัน
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร/ สจล)






ขอบคุณล่วงหน้าครับ




.



แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 22/11/2011 7:28 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 22/11/2011 6:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ใช่เชื้อราไหมคับ แก้ไงดี อ้ะ

http://upic.me/show/30492248





แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 22/11/2011 7:57 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 22/11/2011 7:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โรคกรีนนิ่ง (ใบแก้ว) ในพืชตระกูลส้ม


http://www.google.co.th/#q=%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%A1&hl=th&prmd=imvns&ei=rI_LTtGbOIbjrAfoqqSvDA&start=20&sa=N&bav=on.2,or.r_gc.r_pw.,cf.osb&fp=1100cbccc302d552&biw=1024&bih=600
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 22/11/2011 7:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


ขาดแคลเซียม





ขาดเหล็ก




[img]......
ขาดแม็กเนเซียม





ขาดแมงกานิส





ขาดสังกะสี




http://plantpro.doae.go.th/diseasegroup/tang/mineral/tang_mineral.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 22/11/2011 9:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


โรคที่เกิดจากการขาดธาตุสังกะสีหรือโรคใบแก้ว (Zinc deficiency)


โรคที่เกิดจากการขาดธาตุสังกะสีหรือโรคใบแก้วของส้ม เป็นโรคที่พบในประเทศไทยมานานนับสิบปี ส่วนใหญ่จะพบในส้มเขียวหวาน
ในแหล่งปลูกส้มที่สำคัญๆทางภาคเหนือและภาคตะวันออกของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบโรคนี้ในมะนาว ส้มตรา ส้มเกลี้ยง และส้มโอ

มักปรากฏกับต้นส้มที่ขาดการบำรุงรักษา หรือมีการปลูกพืชต่างๆติดต่อกันเป็นระยะเวลานาานโดยขาดการปรับปรุงสภาพและความ
อุดมสมบูรณ์ของพื้นดิน เนื่องจากธาตุสังกะะสีเป็นจุลธาตุจำเป็นซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของฮอร์โมน ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเจริญ
เติบโต มีความสำคัญต่อขบวนการสร้างคลอโรฟิลล์และขบวนการสร้างแป้ง ดังนั้น การขาดธาตุสังกะสีของส้มจึงปรากฏที่ส่วนใบอ่อน
และติดตามด้วยการตายของปลายยอด

สาเหตุของโรค :
เกิดเนื่องจากการขาดธาตุสังกะสี หรือส้มได้รับธาตุสังกะสีไม่เพียงพอหรืออาจจะเนื่องมาจากส้มไม่สามารถดูดธาตุสังกะสีจากดินมาใช้
ให้เป็นประโยชน์ได้

ความสัมพันธ์กับดิน :
อาการขาดธาตุสังกะสีพบได้ในส้มที่ปลูกในดินเกือบทุกชนิด แต่ส่วนใหญ่จะพบในดินเป็นกรดหรือดินเปรี้ยวหรือในดินที่เป็นด่างจัด
เช่นเดียวกับสวนส้มที่มีการใส่ปูนขาว หรือปุ๋ยโปแตสเซียม ปุ๋ยฟอสเฟตมากๆ จะมีผลทำให้ธาตุสังกะสีในดินละลายน้ำได้ยากมากขึ้น
และอาจทำให้ส้มแสดงอาการขาดได้ การปรับความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ให้มีค่าประมาณ 6.0 จะทำให้ธาตุสังกะสีละลาย
น้ำได้ดีขึ้น

ลักษณะอาการ :
อาการเริ่มแรกจะเป็นอาการด่างเหลืองอยู่ระหว่างเส้นกลางของใบอ่อน ต่อมาอาการด่างเหลืองจะชัดเจนมากขึ้น ทำให้เห็นคล้ายกับ
ว่าเส้นกลางเป็นสีเขียวอยู่บนแผ่นใบหรือเนื้อใบที่มีสีเหลือง ถ้าเป็นรุนแรงมีผลทำให้ใบอ่อนมีขนาดเล็กลง ปลายใบเรียวแหลมและชี้
ตั้งขึ้น ส้มมีการสร้างกิ่งก้านมากแต่สั้น เป็นกระจุกและมักแห้งตายจากส่วนปลายเข้ามา (die back) ต้นจะทรุดโทรม ผลจะมีขนาด
เล็กลง คุณภาพไม่ดี รสจืด เนื้อฟ่าม และ มีกากมาก

สำหรับโรคนี้พบว่า อาการของโรคใกล้เคียงกับอาการของโรคกรีนนิ่งมาก จนบางครั้งไม่สามารถแยกความแตกต่างได้ ต้องอาศัยข้อสังเกต
หลายๆอย่างประกอบกัน กล่าวคือ

1. อาการขาดธาตุสังกะสีมักเกิดในสวนส้มที่มีสภาพดินเป็นกรดจัดหรือด่างจัด ซึ่งทำให้ธาตุสังกะสีอยู่ในสภาพที่พืชไม่สามารถนำมา
ใช้ประโยชน์ได้

2. การแสดงอาการของส้มที่ขาดธาตุสังกะสีมักจะเริ่มปรากฏกับยอดหรือใบอ่อนของทุกๆกิ่งพร้อมๆกัน ไม่ได้เกิดเฉพาะกับกิ่งหนึ่งกิ่ง
ใดก่อนแล้วจึงลุกลามและสภาพการเกิดโรคมักเริ่มต้นพร้อมๆกัน หลายๆต้นในสวนเดียวกัน สำหรับโรคกรีนนิ่งจะเริ่มต้นเป็นโรคที่ต้น
หนึ่งต้นใดก่อนแล้วจึงแพร่ระบาดไปยังต้นใกล้เคียง

3. ในสวนส้มที่เป็นโรคกรีนนิ่งระบาด มักพบแมลงพวก เพลี้ยกระโดดส้ม อยู่เป็นจำนวนมาก

4. ผลส้มของต้นที่เป็นโรคกรีนนิ่ง มักมีส่วนเปลือกบางส่วนหรือทั้งหมดเป็นสีเขียวเป็นแต้มๆ แม้ว่าจะสุกแล้วก็ตาม ลักษณะอาการดังกล่าว
ไม่พบในส้มที่ขาดธาตุสังกะสี

5. เมื่อนำใบส้มจากต้นที่เป็นโรคขาดธาตุสังกะสีไปวิเคราะห์หาปริมาณธาตุสังกะสี จะพบว่ามีปริมาณน้อยกว่า 20 ส่วนในล้านส่วน

6. ใบของส้มที่เป็นโรคกรีนนิ่ง เมื่อนำไปศึกษาดูโครงสร้างจุลภาค (ultrastructure study) จะพบเชื้อคล้ายมายโคพลาสมาในขณะที่
ใบส้มซึ่งขาดธาตุสังกะสีจะไม่พบเชื้อดังกล่าว


การป้องกันหรือแก้ไข
- ปรับความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้มีค่าประมาณ 5.6-6.5 ซึ่งธาตุสังกะสีในดินจะสามารถละลายน้ำเป็นประโยชน์กับพืชได้ดีที่สุด ใน
กรณีดินเป็นด่างควรแก้ไขโดยการใช้ปูนยิปซัม และหากดินเป็นดินเปรี้ยวหรือเป็นกรดควรแก้ไขโดยการใช้ปูนขาว

- หากส้มแสดงอาการขาดธาตุนี้เพียงเล็กน้อย อาจแก้ไขได้โดยการให้สารที่มีธาตุสังกะสี เช่น นูตราสเปรย์ ตามอัตราที่แนะนำ หรือ
สังกะสีซัลเฟต (ZnSO4) ความเข้มข้น 1,000-2,000 ส่วนในล้านส่วน ฉีดพ่นให้ทางใบ ปีละ 1-3 ครั้ง ในระยะใบเพสลาดหรือระยะ
ดอกบานจนถึงระยะเริ่มติดลูก แต่ไม่ควรฉีดพ่นในระยะส้มแตกใบอ่อนใหม่ๆเพราะอาจทำให้เกิดอาการใบไหม้ได้

- ในกรณีที่ส้มแสดงอาการขาดธาตุนี้อย่างรุนแรง ควรทำการตรวจสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินว่า ดินเป็นกรดจัดหรือด่างจัดหรือไม่
หากเป็นกรดจัดหรือด่างจัดเกินไป ให้กรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้มีค่าประมาณ 5.6-6.5 และให้ธาตุสังกะสีแก่ต้นส้มทั้ง
การฉีดพ่นให้ทางใบและการใส่ลงในดิน หากต้นส้มอายุ 4 ปีขึ้นไป ให้ใช้อัตรา 300-400 กรัม/ต้น/ปี หรือในอัตราที่มากกว่า ทั้งนี้ต้อง
ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการแลขนาดของต้นส้ม



http://www.geocities.ws/doiin/disease.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/11/2011 7:35 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 23/11/2011 7:33 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพลี้ยกระโดดส้ม หรือ เพลี้ยไก่แจ้ พาหะนำโรคกรีนนิ่งในส้ม




http://www.biogang.net/biodiversity_view.php?menu=biodiversity&uid=1001&id=23640




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ake
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 23/03/2011
ตอบ: 8

ตอบตอบ: 23/11/2011 11:00 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ดูดินด้วยนะครับ ผม ว่า ไม่ ดินไม่ดี บำรุง หน่อย ครับ ราก จะได้ไปได้ไกลๆๆ พรวน โคนต้นบ้าง นะครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11623

ตอบตอบ: 23/11/2011 6:11 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วิเคราะห์ตามรูปแล้ว น่าจะตอบได้ว่าเป็น "กรีนนิ่ง-ใบแก้ว" มากกว่าอย่างอื่น

กรีนนิ่ง-ใบแก้ว....ตริสเตรซ่า-ยางไหล ในพืชตระกูลส้มเป็น "ไวรัส" ที่โลกนี้ยังไม่มีสารเคมีหรือสารสมุนไพรตัวใดกำจัดได้
เพราะฉนั้นอย่าได้ไปเสียเงินเปล่าซื้อมาฉีดมาใส่เลย

เคยมีคนเปรียบเทียบโรคส้มตัวนี้เหมือน "เอดส์" ในคน .... เอดส์.คือ "โรคภูมิต้านทานบกพร่อง" หมายถึง ในร่างกายของ
คนๆนั้นไม่มีภูมิต้านทาน (BODY ANTI)ที่จะต่อสู้กับเชื้อที่แฝงเข้ามาได้เลย เมื่อเชื้อโรคใดเข้ามาก็จะแพร่ขยายพันธุ์เพิ่ม
จำนวนได้อย่างอิสระเสรี จนกระทั่งคนๆนั้นตาย .... คนๆนั้นไม่ได้ตายด้วยโรคเอดส์ แต่ตายด้วยโรคแทรก

โรค 2 ตัวนี้ติดมากับกิ่งพันธุ์ เรียกว่า "พันธุกรรม" กับส่วนหนึ่งมาโดยแมลงพาหะ....เคยคุยกับ "คุณสมเกียรติ
ปิติวิทยกุล" แห่งเนอร์ซเซอรรี่ ส่วนส้มเขียวหวานปลอดโรค บึงกาสาม หนองเสือ ปทุมธานี มีใบรับรองจากกรมวิชาการ
เกษตร ใบรับรองเนอร์ซเซอร์รี่ (โรงเรือน), ใบรับรองต้นแม่พันธุ์ (11 ต้น), ใบรับรองเมล็ดพันธุ์นำเข้า (จากอาฟริกา),
ใบรับรองทั้งสามนี้ต้องผ่านการตรวจทุก 6 เดือน ต้นกล้าส้มเขียวหวานที่ออกไปจากเนอร์ซเซอร์รี่ ทุกต้นต้องมีใบรับรอง
จากกรมวิชาการ.....คุณสมเกียรติฯ เล่าให้ฟังว่า ต้นกล้าพันธุ์บริสุทธิ์ ไม่มีโรคใดๆ เมื่อปลูกไปแล้ว ระวังรักษาไม่ดี ปล่อย
ให้แมลงพาหะนำโรคมาสู่ หรือบริหารปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-
สายพันธุ์-โรค) ไม่ถูกต้อง ทำให้ต้นอ่อนแอ ต้นกล้าที่ปลอดโรคก็เป็นโรคได้เช่นกัน

ต้นส้มเขียวหวานก็เช่นกัน เมื่อในต้นมีเชื้อไวรัสแฝงอยู่ มาตรการบำรุงต้นแบบ "ตามใจต้นส้ม ไม่ใช่ตามใจคน --- หลีก
เลี่ยงการให้สารพิษ แล้วให้สารอาหาร" แทน จะช่วยสร้างภูมิต้านทานภายในต้นให้สู้กับเชื้อที่แฝงได้

**** ตามใจส้ม.....สารอาหารหลักที่ส้มต้องการ คือ แม็กเนเซียม. สังกะสี
**** ตามใจคน.....ให้แต่ เอ็น. พี. เค. (ผิดสูตรต่างหาก)

**** สารพิษ.......ยาฆ่าหญ้า, ยาฆ่าโรค/แมลง, ปุ๋ยเหลือตกค้างในดิน, รากแช่น้ำ
**** สารอาหาร....ธาตุหลัก, ธาตุรอง, ธาตุเสริม, ฮอร์โมน, วิตามิน และอื่นๆ

แนวทางปฏิบัติ :
ทางใบ...... ให้ ไบโออิ (แม็กเนเซียม-สังกะสี อะมิโน คีเลต), แคลเซียม โบรอน, สม่ำเสมอ

ทางราก..... ให้ ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + ธาตุหลักตามระยะ, ยิบซั่ม, ปุ๋ยอินทรีย์, สม่ำเสมอ

หมายเหตุ : ไบโออิ - ระเบิดเถิดเทิง สูตรอยู่ที่หน้าเว้บ

---------------------------------------------------------------------------------------------------------



โรคใบแก้วของส้ม (Zinc deficiency of citrus)

โรคใบแก้วของส้มพบได้ทั่วไปในแหล่งปลูก เช่น จันทบุรี ธนบุรี เชียงใหม่ น่าน เพชรบูรณ์ เป็นต้น สาเหตุของโรคนี้เกิดจากการ
ขาดธาตุสังกะสี ซึ่งเป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนย้าย (immobile) อาการของโรคจึงแสดงที่ใบยอด และใบอ่อนก่อน โดยในระยะแรกใน
บริเวณส่วนยอดของส้มจะแสดงอาการด่าง (mottle) หรือลักษณะใบจะเรียวและชี้ขึ้น (frenching) ต่อมาถ้าส้มยังได้รับธาตุ
สังกะสีไม่พอเพียง ก็จะแสดงอาการรุนแรงขึ้น โดยใบจะมีสีเหลืองซีดเกือบทั้งใบ ยกเว้นที่เส้นใบยังคงมีสีเขียวอยู่ใบจะเล็กเรียว
ส่วนของข้อและกิ่งอ่อนจะหดสั้น และจะแตใบลักษณะเป็นพุ่ม (rosette) ถ้าเกิดในระยะติดผลจะทำให้ได้ผลส้มมีคุณภาพและ
ปริมาณของผลลดลงอย่างมาก และข้อที่ควรสังเกตอีกอย่างหนึ่ง คือ ลักษณะอาการของส้มที่ขาดธาตุสังกะสี จะมีลักษณะคล้าย
คลึงมากกับโรคกรีนนิ่ง (greening) ของส้ม

http://coursewares.mju.ac.th:81/e-learning47/PP300/0003html/chapter005.htm





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©