ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 23/08/2011 6:37 pm ชื่อกระทู้: สมุนไพรกำจัดหอยเชอรี่ |
|
|
เอื้องหมายนา สมุนไพรกำจัดหอยเชอรี่
ลักษณะทั่วไป:
ต้น เป็นพืชล้มลุกอายุหลายฤดู ชอบขึ้นในชื้นแฉะ สูง 1.5-2 เมตร มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นอวบน้ำ กาบใบปิด โอบรอบลำต้น สีแดงหรือน้ำตาลแดง
ใบ ใบเดี่ยวออกเวียนสลับ รูปใบหอกปลายใบแหลม ใต้ใบมีขนละเอียด สีขาวคล้ายกำมะหยี่ โคนใบแผ่เป็นกาบสีเขียวหรือสีน้ำตาลแดงหุ้มลำต้น
ดอก สีขาวออกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อดอกตั้งตรง ดอกตูมจะมีกาบสีแดงคล้ำหุ้มอยู่ ดอกติดกันแน่น ดอกย่อยรูปกรวยสีขาวมี 3 กลีบ มีกลีบหนึ่งขนาดโตและกว้างเป็นจะงอย ดอกทยอยบานทีละ 1-2 ดอก
ฝัก/ผล รูปไข่สีแดงสด
เมล็ด เมล็ดสีดำ
ฤดูกาลออกดอก : สิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
การดูแลรักษา : ชอบร่มเงาบ้างหรือกลางแสงแดดจัด และมีความชื้นสูง
การขยายพันธุ์ : แบ่งกอ เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:
- ไม้ประดับ
- บริโภค
- สมุนไพร
- ไม้ตัดดอก
ถิ่นกำเนิด : อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงนิวกินี
ส่วนที่ใช้บริโภค : ใช้หน่ออ่อนใส่แกง เป็นผัก
สรรพคุณทางยา : ราก เหง้า ต้น มีสรรพคุณทางสมุนไพรรักษาโรค มีสาร diosgenin ซึ่งใช้เป็นยาคุมกำเนิดที่ได้ผลดี
การใช้เอื้องหมายนากำจัดหอยเชอรี่ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่นำเอาส่วนของดอก ใบและเหง้ามาบดให้ละเอียดผสมน้ำ แล้วนำไปลาดเทลงแปลงนาที่มีการระบาดของหอยเชอรี่จะได้ผลดี เช่นเดียวกับกากชาที่มีสาร ซาโปนิน ที่มีผลต่อระบบการหายใจของสัตว์เลือดเย็นทุกชนิดจึงควรระมัดระวังมิให้น้ำในแปลงนาไหลซึมเข้าบ่อปลา และบ่อกุ้งด้วย
โดยลักษณะของหอยเชอรี่จะเหมือนกับหอยโขง แต่ตัวโต กว่า และสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วลูกหอยอายุเพียง 2-3 เดือนจะจับคู่ผสมพันธุ์ได้ตลอดเวลาหลังผสมพันธุ์ได้ 1-2 วัน ตัวเมียจะวางไข่เวลากลางคืน โดยวางไข่ตามกิ่งไม้ ต้นหญ้าริมน้ำ ต้นข้าว ไข่สีชมพูเกาะติดกันเป็นกลุ่มยาว 2-3 นิ้ว มีจำนวนประมาณ 388-3,000 ฟองไข่จะฟักออกเป็นตัวหอยภายในเวลา 7-12 วันหลังวางไข่
เกษตรกรจะสังเกตการเข้าทำลายต้นข้าวในระยะกล้าและที่ปักดำใหม่ๆ ไปจนถึงระยะแตกกอ หอยเชอรี่จะชอบกินต้นข้าวในระยะกล้าที่มีอายุประมาณ 10 วันมากที่สุด โดยเริ่มจากส่วนโคนต้นข้าวที่อยู่ใต้น้ำจากพื้นดินประมาณ 1-1.5 นิ้ว จากนั้นกินส่วนใบที่ลอยน้ำจนหมดทั้งต้นทั้งใบใช้เวลาเพียง 1-2 นาที
การใช้เอื้องหมายนากำจัดหอยเชอรี่ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่นำเอาส่วนของดอก ใบและเหง้ามาบดให้ละเอียดผสมน้ำแล้วนำไปลาดเทลงแปลงนาที่มีการระบาดของหอยเชอรี่จะได้ผลดี เช่นเดียวกับกากชาที่มีสาร ซาโปนิน ที่มีผลต่อระบบการหายใจของสัตว์เลือดเย็นทุกชนิดจึงควรระมัดระวังมิให้น้ำในแปลงนาไหลซึมเข้าบ่อปลา และบ่อกุ้งด้วย
วิธีการใช้
ใช้ "ดอก" บดให้ละเอียดหมักกับน้ำเปล่า 20% ของน้ำ นำไปสาดให้ทั่วแปลงนา
ใช้ "เหง้า" ทุบๆ หมักกับน้ำเปล่า 30% ของน้ำ นำไปสาดให้ทั่วแปลงนา
หรืออย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง สับๆ บดๆ ทุบๆ ใส่ถุงตาข่ายไนล่อนเขียว
แช่ไว้บริเวณทางน้ำที่สูบน้ำเข้านา
โดย "เอื้องหมายนา" จะมีสาร ที่ชื่อ "แทนนิน" ทำให้หอยตายได้ ไข่ก็จะฝ่อ
สำนักงานเกษตรอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ โทร. 044-508-308
http://phanomdongrak.surin.doae.go.th/mayna.html
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 23/08/2011 10:38 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 23/08/2011 10:16 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
การทำนาใช้สมุนไพรกำจัดหอยเชอรี่
สาขาของภูมิปัญญา : ด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม
ข้อมูลติดต่อ : สำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง120 หมู่ 4 ถนนโพธิ์พระยา-ท่าเรือ ตำบลบ้านอิฐ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง 14000 โทร.0-3561-1296, 0-3562-0053 โทรสาร. 0-3561-2011
รายละเอียดของภูมิปัญญา :
วิธีทำ :
นำลูกมะกรูดผ่า 4 ซีก จำนวน 3 ก.ก. ผสมกับโมลาส 1 กิโลกรัม ปูนแดงกินหมาก 1 กิโลกรัมและน้ำใส่พอท่วมลูกมะกรูด หมักไว้ 7 เดือน
วิธีใช้ :
100 ซีซี ต่อน้ำ 7 ลิตร หยดให้ทั่วนา
ประโยชน์ :
ลดการใช้สารเคมีในการกำจัดหอยเชอรี่ และช่วยรักษาสภาพแวดล้อมที่ดี
http://www.tei.or.th/songkhlalake/database/local_knowledge/agri_envi_1.html |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 23/08/2011 10:22 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
หอยเชอรี่ : โทษ ประโยชน์ และการกำจัด
1. แนะนำหอยเชอรี่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pomacea canaliculata Lamarck
วงศ์ : Ampullariidae
อันดับ : Mesogastropoda
ชื่อสามัญอื่น : หอยโข่งเหลือง, หอยเปาฮื้อน้ำจืด
2. ชีวิตความเป็นอยู่ของหอยเชอรี่
หอยเชอรี่ หอยโข่งอเมริกาใต้ หรือหอยเป๋าฮื้อน้ำจืด มีลักษณะเหมือนหอยโข่งแต่ตัวโตกว่า จากการดูด้วยตาเปล่าสามารถแบ่งหอยเชอรี่ ได้ 2 พวก คือ พวกที่มีเปลือกสีเหลืองปนน้ำตาล เนื้อและหนวดสีเหลืองและพวกมีเปลือกสีเขียวเข็มปนดำและมีสีดำจาง ๆ พาดตามความยาว เนื้อและหนวดสีน้ำตาลอ่อน
หอยเชอรี่ เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ลูกหอยอายุเพียง 2-3 เดือน จะจับคู่ผสมพันธุ์ได้ตลอดเวลา หลังจากผสมพันธุ์ได้ 1-2 วัน ตัวเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยคลานไปวางไข่ตามที่แห้งเหนือน้ำ เช่นตามกิ่งไม้ ต้นหญ้าริมน้ำ โคนต้นไม้ริมน้ำข้าง ๆ คันนา และตามต้นข้าวในนา ไข่มีสีชมพูเกาะติดกันเป็นกลุ่มยาว 2-3 นิ้ว แต่ละกลุ่มประกอบด้วยไข่เป็นฟองเล็ก ๆ เรียงตัวเป็นระเบียบสวยงามประมาณ 388-3,000 ฟอง ไข่จะผักออกเป็นตัวหอยภายใน 7-12 วัน หลังวางไข่
หอยเชอรี่กินพืชที่มีลักษณะนุ่มได้เกือบทุกชนิด เช่นสาหร่าย ผักบุ้ง ผักกระเฉด บัว แหน ตัวกล้าข้าว ซากพืชน้ำ และซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยในน้ำ โดยเฉพาะต้นข้าวในระยะกล้าและที่ปักดำใหม่ ๆ ไปจนถึงระยะแตกกอหอยเชอรี่จะชอบกินต้นข้าวในระยะกล้าที่มีอายุประมาณ 10 วัน มากที่สุด โดยเริ่มกันส่วนโคนต้นที่อยู่ใต้น้ำเหนือจากพื้นดิน 1-11/2 นิ้ว จากนั้นกินส่วนใบที่ลอยน้ำจนหมดใช้เวลากินทั้งต้นทั้งใบนานประมาณ 1-2 นาที
3. การกำจัดหอยเชอรี่
หอยเชอรี่เป็นสัตว์ศัตรูข้าวที่สำคัญมาก สามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ทนทาต่อความแห้งแล้งและยังลอยตัวไปตามน้ำไหลได้อีกด้วย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องป้องกันกำจัดหอยเชอรี่อย่างต่อเนื่อง และจะให้ได้ผลดียิ่งขึ้นควรทำหลาย ๆ วิธีผสมผสานกัน ดังนี้
3.1 วิธีกล
เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีที่สุด ประหยัด ปลอดภัย และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
3.1.1 การจัดเก็บทำลาย
เมื่อพบตัวหอยและไข่ให้เก็บทำลายทันที
เก็บตัวหอยและไข่ด้วยกระชอนที่มีด้ามยาวและที่แซะไข่แล้วนำไปทำลายทุกสัปดาห์ ตลอด 6 อาทิตย์แรก
หาใบมะละกอพร้อมก้าน นำไปใส่ในแปลงนาบริเวณที่มีนาข้าวอยู่หรือทางน้ำไหล ถ้าบริเวณกว้างก็ใส่หลายใบหน่อย พื้นที่น้อยก็ใส่ 3 - 4 ใบ หอยจะเข้ามารุมกินใบมะละกอ เราก็นำใบมะละกอมาเคาะ และกำจัดโดยการใส่ถังแล้ว นำจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ กากน้ำตาล ใส่ลงไป หมักไว้ฉีดพ่นในแปลงนาเสียเลย ถือว่าแก้วิกฤตให้เป็นโอกาส
3.1.2 การดักและกั้น
- ตามทางน้ำผ่าน ให้ใช้สิ่งกีดขวางตาข่ายเฝือก ภาชนะดักปลา ดักจับหอยเชอรี่
- ลูกหอยที่ฟักใหม่ ๆ สามารถลอยน้ำได้ ควรใช้ตาขายถี่ ๆ กั้นขณะสูบน้ำเข้าข้าว หรือกั้นบริเวณทางน้ำไหล
3.1.3 การใช้ไม้หลักปักในนาข้าว
การล่อให้หอยมาวางไข่โดยใช้หลักปักในที่ลุ่มหรือทางที่หอยผ่าน เมื่อหอยเข้ามาวางไข่ตามหลักที่ปักไว้ทำให้ง่ายต่อการเก็บไข่หอยไปทำลาย
3.1.4 การใช้เหยื่อล่อ
พืชทุกชนิดใช้เป็นเหยื่อล่อหอยเชอรี่ได้ หอยจะเข้ามากินและหลบซ่อนตัวพืชที่หอยชอบกิน เช่น ใบผัก ใบมันเทศ ใบมันสำปะหลัง ใบมะละกอ หรือพืชอื่น ๆ ที่มียางขาวคล้ายน้ำนม
3.2 โดยชีววิธี
3.2.1 ใช้ศัตรูธรรมชาติช่วยกันกำจัด
ฝูงเป็ดเก็บกินลูกหอย
3.2.2 อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ
โดยปกติในธรรมชาติมีศัตรูหอยเชอรี่อยู่หลายชนิดที่ควรอนุรักษ์ เช่น นกกระยาง นกกระปูด นกอีลุ้ม นกปากห่าง และสัตว์ป่าบางชนิด ซึ่งสัตว์เหล่านี้นอกจากจะช่วยทำลายหอบเชอรี่แล้ว ยังทำให้ธรรมชาติสวยงามอีกด้วย
4. ประโยชน์จากหอยเชอรี่
เนื้อหอยเชอรี่มีโปรตีนสูงถึง 34-53 เปอร์เซ็นต์ไขมัน 1.66 เปอร์เซ็นต์ ใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่างหรือทำน้ำปลาจากเนื้อหอยเชอรี่ ใช้ทำเป็นอาหารสัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ สุกร เป็นต้น เปลือกก็สามารถปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินได้ ตัวหอยทั้งเปลือกถ้านำไปฝั่งบริเวณทรงพุ่มไม้ผล เมื่อเน่าเปื่อยก็จะเป็นปุ๋ยทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตเร็ว และได้ผลผลิตดี
ไม่ควรบริโภคเนื้อหอยเชอรี่ในบริเวณที่อยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยน้ำเสีย หรือบริเวณพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
5. การทำลายจากหอยเชอรี่
หอยเชอรี่กินพืชที่มีลักษณะนุ่มได้เกือบทุกชนิด เช่น สาหร่าย ผักบุ้ง ผักกระเฉด แหน ต้นกล้าข้าว ซากพืชน้ำ และซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยในน้ำ โดยเฉพาะต้นข้าวในระยะกล้าและที่ปักดำใหม่ ๆ ไปจนถึงระยะแตกกอ หอยเชอรี่ จะชอบกินต้นข้าวในระยะกล้าที่มีอายุ ประมาณ 10 วัน มากที่สุด โดยเริ่มกัดส่วนโคนต้นที่อยู่ใต้น้ำเหนือจากพื้นดิน 11.5 นิ้ว จากนั้นกินส่วนใบที่ลอยน้ำจนหมด ใช้เวลากินทั้งต้นทั้งใบ นานประมาณ 1-2 นาที
เป็นหอยทากน้ำจืด มีขนาดและรูปร่างคล้ายหอยโข่ง แต่เปลือกบางกว่า เป็นศัตรูสำคัญของข้าว กัดทำลายต้นข้าวระยะกล้าจนถึงแตกกอในช่วงเช้าและเย็น พบระบาดมากในนาข้าวทั่วประเทศ
6. กำจัดหอยเชอรี่ด้วยกากเมล็ดชา
หากเกษตรกรต้องการจะหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ในการกำจัดหอยเชอรี่ ให้มาพิจารณา กากเมล็ดชา ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
กากเมล็ดชา ( tea seed cake) เป็นส่วนเหลือจากการหีบ
น้ำมันจากเมล็ดชา มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง มีการนำเข้าก้อนกากเมล็ดชาจากประเทศจีน เพื่อใช้กำจัดปลาต่างๆ ในนากุ้ง เป็นเวลานานกว่า 20 ปีแล้ว ในเมล็ดชานี้มีสารซาโปนิน (saponin) อยู่ประมาณ 10-13% ซึ่งมีความเป็นพิษรุนแรงเฉพาะสัตว์เลือดเย็นหรือสัตว์ชั้นต่ำ เช่น ปลา กุ้ง และหอย เท่านั้น ซาโปนินจะมีผลต่อศูนย์ประสาทที่ควบคุมการหายใจของสัตว์ชั้นต่ำ ทำให้ขาดออกซิเจนและทำให้เกิดการสลายตัวของเม็ดเลือดแดง แต่ในสัตว์ชั้นสูงหรือสัตว์เลือดอุ่น เช่น คนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซาโปนินจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเยื่อบุช่องจมูก ทำให้น้ำมูกไหล จาม และมึนงง นอกจากนี้พิษของเมล็ดชายังสลายตัวได้ง่ายและไม่สะสมในร่างกายของคนและสัตว์เลี้ยง ความเป็นพิษจะหมดไปหลังการใช้สารละลายเมล็ดชาเป็นเวลา 7-14 วัน
ในการกำจัดหอยเชอรี่ แนะนำให้ใช้กากเมล็ดชา ชื่อการค้าว่า แซปโปเคียว-วัน อัตรา 3 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านลงในนาข้าวที่มีน้ำสูง 5 ซม. หลังสูบน้ำเข้านาครั้งแรก เพราะเป็นช่วงที่เกือบจะไม่มีสัตว์น้ำในนา กากเมล็ดชามีความเป็นพิษสูงต่อหอยเชอรี่ แต่สลายตัวได้เร็วจึงไม่มีพิษตกค้างที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำอื่นๆ ในลำคลองหรือแม่น้ำภายหลังระบายน้ำออกจากนา ทั้งยังมีราคาถูกอีกด้วย
7. สมุนไพรฆ่าหอยเชอรี่
สมุนไพรฆ่าหอยเชอรี่ โดยใช้สารสะกัดจากหางไหลแดง และหางไหลขาว ปรากฎว่าใช้เวลา เพียง 6 ชั่วโมงหอยตาย แต่มีปัญหาว่าจะทำอย่างไรให้หอยมารวมกันเพื่อง่ายในการเก็บซากหอย จึงควรทำดังนี้
1. นำสารสกัดคลุกข้าวสุกโรยรอบคันนาให้หอยกิน
2. ใช้สารสกัดผสมน้ำมันพืชทาใบมะละกอ ใบละหุ่ง แล้วไปวางให้หอยกิน
หมายเหตุ หางไหลแดงจะทำให้ปลาตายด้วยหากท่านเลี้ยงปลาในนาข้าวไม่ควรใช้งาน
สารกำจัดเพลี้ยอ่อน หอยเชอรี่ และแมลงทั่วไป
สูตรที่ 1
ส่วนผสม
1. หัวกลอย 1 กก.
2. จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ½ ลิตร (500 ซีซี)
3. กากน้ำตาล ½ ลิตร (500 ซีซี)
4. น้ำสะอาด
วิธีทำ
1. นำหัวกลอยโขลกหรือบดละเอียด
2. นำจุลินทรีย์กับกากน้ำตาลคลุกเคล้ากับหัวกลอยที่บดแล้ว
ให้เข้ากัน หมักไว้ 10 วัน
วิธีใช้
กรองเอาสารที่ได้ (น้ำที่หมักหัวกลอยไว้) 10 ซีซี ผสมน้ำ 1 ลิตร ฉีด พ่น กำจัดหอยเชอรี่ หอยจะไม่ไข่และค่อยๆตายหมดใน 2 วัน ใช้สารนี้กำจัดเพลี้ย และแมลงต่างๆ ได้
หมายเหตุ - กลอย เป็นพืชหัวที่มีพิษแรง เรียกสารไดออสคอรัน (Dioscorine) หากรับประทานโดยไม่ทำลายพิษก่อน จะมีฤทธิ์ในทางเบื่อเมา หาก รับประทานมากอาจจะทำให้ตายได้ภายใน 6 ชั่วโมง
ดังนั้นช่วงคลุกกลอย ควรใส่ถุงมือยางจะปลอดภัยดี
สูตรที่ 2
ใช้กากชา (หาซื้อได้ตามร้านเกษตรทั่วไป) โรยในนาข้าวให้ทั่ว หอยจะตายใน 1 วัน
ใช้กากชา ที่หาซื้อได้ตามร้านขายวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเกษตรทั่วไป กระสอบละประมาณ 130 บาท นำมาใส่ในแปลงนา ขณะที่ทำเทือก 1 กระสอบ จะควบคุมพื้นที่ได้ประมาณ 4 ไร่ หอยก็จะตาย
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากสมุนไพร ป้องกันและปรามหอยเชอรี่ (ในถังขนาด 30 ลิตร)
ส่วนประกอบ เหล้าขาว 0.5 -1 ขวด น้ำ 10 ลิตร กากน้ำตาล 1 กก. ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตร พด.2 500 ซีซี มะกรูด 60 ลูก หัวน้ำส้ม 1 ขวด หอยเชอรี่ 10 กก. กระเทียม 1 กก. เถาวัลย์เปรียง 1 กก. เมล็ดสะเดา 1 กก. ปูนขาว 1 กก.( ต้องผสมเรียงลำดับตามนี้ )
http://www.budmgt.com/agri/agri01/golden-apple-snail-control.html |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 23/08/2011 10:24 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการฆ่าหอย (Molluscicidal activity)
มีหลายชนิด เช่น กระเทียม มะม่วงหิมพานต์ น้อยหน่า ยี่โถ สบู่ขาว สบู่แดง เป็นต้น แต่ยังไม่มีรายงานระบุว่าเป็นการฆ่าหอยเชอรี่ ซึ่งคุณสามารถสืบค้นข้อมูลจากหัวข้อ PHARM database เลือก Bioactivity พิมพ์ Molluscicidal ซึ่งหากต้องการสืบค้นอย่างละเอียดรบกวนเข้ามาสืบค้นได้ที่สำนักงานฯ ค่ะ ซึ่งมีค่าบริการด้วยค่ะ
ข้อมูลจาก : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
http://guru.sanook.com
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/04/2020 9:30 pm, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 23/08/2011 10:29 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ประคำดีควาย กำจัดหอยเชอรี่
หอยเชอรี่ ถือเป็นศัตรูตัวฉกาจ ในแปลงนาข้างของเกษตรกร ซึ่งทุกปี เกษตรกรต้องประสบกับปัญหาหอยเชอรี่ระบาดในนาข้าว กัดกินต้นข้าวเสียหาย บางรายหาวิธีกำจัดหอยเชอรี่ด้วยการใช้สารเคมี ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจมีสารพิษตกค้างในข้าว จากปัญหาดังกล่าว นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ทดลองนำสมุนไพร อย่าง ประคำดีควาย มาใช้กำจัดหอยเชอรี่ ซึ่งผลออกมาเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง
ผศ.ดร.พีระยศ แข็งขัน รองคณบดีคณะเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า ได้ร่วมกับนิสิตคิดค้นวิธีกำจัดหอยเชอรี่ โดยที่ไม่มีสารเคมีมาเจือปน 100% โดยได้นำลูกประคำดีควายมาสกัดเอาน้ำ และนำไปคลุกกับเหยื่อพิษ จากนั้นนำไปวางไว้ในนาข้าว เท่านี้ก็สามารถกำจัดหอยเชอรี่ ศัตรูตัวร้ายของชาวนาได้แล้ว
โดยวิธีการของอาจารย์พีระยศ ซึ่งอาจารย์ใช้สอนนิสิตภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยมหาสารคามด้วย ก็คือ การนำลูกประคำดีควาย มาสกัดเป็นสารละลายเข้มข้น และนำไปคลุกกับเหยื่อพิษ หรือฉีดพ่นต้นข้าว โดยขั้นตอนการทำเริ่มจาก นำลูกประคำดีควาย 1 ส่วน ต่อน้ำร้อน 2 ส่วน แช่ประคำดีควายกับน้ำไว้ 12 ชั่วโมง จากนั้นขยำเนื้อให้ละเอียด แยกเอาเมล็ดออกมา (เมล็ดสามารถนำไปปลูกใหม่ได้) เมื่อได้ที่แล้ว นำผ้าขาวบางมากรองเอาแต่สารละลาย เสร็จแล้วนำสารละลายที่กรองได้ มาผสมน้ำเพิ่มอีกในอัตรา สารละลาย 1 ส่วน ต่อน้ำเปล่า 6 ส่วน แค่นี้ก็ถือว่าสารสกัดจากประคำดีควายเป็นอันเสร็จสมบูรณ์ ส่วนเนื้อประคำดีควายสามารถนำมาผสมน้ำและคั้นเอาสารสกัดได้อีก 2 ครั้ง
โดยอาจารย์พีระยศ ได้ทดลองสารสกัดจากประคำดีควายฆ่าหอยเชอรี่ในห้องทดลอง โดยการนำหอยเชอรี่ ใส่ลงในน้ำธรรมดา และน้ำที่มีสารสกัดประคำดีควาย ซึ่งหอยเชอรี่ที่อยู่ในน้ำธรรมดา จะเดินไปเกาะที่ขอบภาชนะ หรือต้นข้าวได้ แต่หอยเชอรี่ที่อยู่ในน้ำประคำดีควาย หอยจะปิดปากสนิท ไม่ขยับเขยื้อนไปไหน เพราะเป็นการป้องกันตัวเอง ไม่ให้รับพิษจากสารสกัดประคำดีควาย แต่เมื่อใดก็ตามที่หอยเปิดปาก ก็จะมีอาการตัวบวม และฝ่อตายในที่สุด
จากนั้นนำสารละลายประคำดีควายที่ได้ ไปใช้จริงในแปลงนาข้าวของเกษตรกร หมู่ 14 บ้านใคร่นุ่น ต.ท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ อ.พีระยศ ได้นำน้ำประคำดีควาย มาใช้กำจัดหอยเชอรี่ ซึ่งในการกำจัดหอยเชอรี่ มีอยู่ 2 วิธีด้วยกันคือ การวางเหยื่อพิษ โดยการคลุกกับใบมะละกอ และการฉีดพ่นต้นข้าว
โดยวิธีที่ อ.พีระยศ แนะนำ ก็คือ การวางเหยื่อพิษ โดยการนำใบมะละกอ หรือพืชที่มียางขาวคล้ายน้ำนม เช่น ใบผัก หรือใบมันสำปะหลัง เป็นต้น แต่จากการทดลอง พบว่า ใบมะละกอ ใช้ได้ผลดีที่สุด โดยวิธีการทำ ก็คือ นำใบมะละกอ ที่ได้มาขยี้ ให้มีน้ำยางออกมา แล้วคลุกกับน้ำประคำดีควาย ให้เกิดฟอง จากนั้นนำไปวางไว้ในแปลงนาข้าว หอยเชอรี่จะขึ้นมาเกาะกินใบมะละกอ และจะตายภายใน 72 ชั่วโมง
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ดร.พีระยศ แข็งขัน คณะเทคโนโลยี โทรศัพท์. 0-4374-3135
ภาพ / ข่าว : บุณฑริกา ภูผาหลวง
ที่มา : คณะเทคโนโลยี
http://www.web.msu.ac.th/hotnews/detailnews.php?hm=&hotnewsid=2552&uf=&qu= |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 23/08/2011 10:35 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
พญาไร้ใบ สมุนไพรป้องกันและกำจัดหอยเชอรี่ ในนาข้าว
บางพื้นที่อาจเรียกแตกต่างกันออกไป อย่างเช่น เคียะจีน พญาร้อยใบ (เชียงใหม่); เคียะเทียน (เหนือ) ลักษณะเป็นพรรณไม้เถาไร้ใบสูงประมาณ 7-10 เมตร กิ่งก้านจะเป็นข้อๆแต้ละข้อนั้นมีความยาวประมาณ 10-15 ซม. เป็นสีเขียวและทุกส่วนมีน้ำยางเป็นสีขาวดอกจะอกกเป็นกระจุกเป็นสีขาวอมเขียวซึ่งจะออกตรงข้อและตรงปลายกิ่งส่วนเมล็ดหรือผลจะออกเป็นฝักซึ่งฝักนั้นจะมีความยาวประมาณ 10-12 ซม.ส่วนเมล็ดลักษณะจะเป็นรูปไข่แบนและมีความยาว4-5มม.
สำหรับสรรพคุณของพญาไร้ใบสามารถใช้ได้ทุกส่วนของลำต้นเช่น
- ยางแต้มกัดหูดในน้ำยางมีฤทธิ์ระคายเคืองอย่างแรงและเป็นสารสมก่อมะเร็ง
- ใบและรากมีรสเฝื่อนตำพอกแก้ริดสีดวงทวาร
- ต้นตำพอกแก้รังแคแก้ปวดบวมตำทาแก้ปวดกระดูกต้มดื่มแก้กระเพาะ
- รากใช้สกัดเป็นยาระบายต้มดื่มแก้ธาตุพิการต้มกับน้ำมะพร้าวทาแก้ปวดท้อง
สมุนไพรป้องกันหอยเชอรี่กัดข้าวในนาข้าว
หอยเชอรี่กินพืชที่มีลักษณะนุ่มได้เกือบทุกชนิดเช่นสาหร่ายผักบุ้งผักกระเฉดแหนตัวกล้าข้าวซากพืชน้ำและซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยในน้ำโดยเฉพาะต้นข้าวในระยะกล้าและที่ปักดำใหม่ๆไปจนถึงระยะแตกกอหอยเชอรี่จะชอบกินต้นข้าวในระยะกล้าที่มีอายุประมาณ10 วันมากที่สุดโดยเริ่มกันส่วนโคนต้นที่อยู่ใต้น้ำเหนือจากพื้นดิน 1-11/2 นิ้วจากนั้นกินส่วนใบที่ลอยน้ำจนหมดใช้เวลากินทั้งต้นทั้งใบนานประมาณ 1-2 นาทีและหอยเชอรี่เป็นสัตว์ศัตรูข้าวที่สำคัญมากสามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วทนทาต่อความแห้งแล้งและยังลอยตัวไปตามน้ำไหลได้อีกด้วยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องป้องกันกำจัดหอยเชอรี่อย่างต่อเนื่องและจะให้ได้ผลดียิ่งขึ้นควรทำหลายๆวิธีผสมผสานกันไปคุณลุงบุญลือเต้าแก้วเป็นเกษตรกรอีกท่านหนึ่งที่เคยประสบปัญหาการเข้าทำลายของหอยเชอรี่จึงหาวิธีการกำจัดมาตลอดโดยได้ลองผิดลองถูกมาหลายครั้งจนสำเร็จดังนี้
พญาไร้ใบสมุนไพรป้องกันกำจัดหอยเชอรี่กัดข้าวในนาข้าว
1.พญาไร้ใบจำนวน3 กิโลกรัม
2.น้ำจำนวน10 ลิตร
3.กากน้ำตาล0.5 ลิตร
วิธีการทำนำส่วนผสมทุกอย่างมาหมักรวมกันไว้ปิดถังหมักทิ้งไว้ในที่ร่มจำนวน1 เดือนก็สามารถกรอกเอาน้ำมาใช้ในการกำจัดหอยเชอรี่ได้แล้ว
ส่วนวิธีการนำไปใช้นั้นให้ปล่อยไปตามน้ำหรือว่าเทราดตามข้างนาจำนวน1 ลิตรต่อไร่หรือมากกว่านั้นก็ได้เพื่อเป็นการกำจัดหอยเชอรี่ไม่มีผลกระทบหรืออันตรายใดๆต่อต้นข้าว
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=3e877097d5cf9c8d |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 23/08/2011 10:38 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ไล่หอยเชอรี่
เขียนโดย: jerry
ใช้ "สารสกัดสมุนไพร (กลอย. หนอนตายหยาก.หางไหล.กากชา.)80 ล. + น้ำหมักชีวภาพ 20 ล." ผสมให้เข้ากันดี ได้ "หัวเชื้อเข้มข้น" พร้อมใช้.......ใช้ "หัวเชื้อ 3-5 ล. + น้ำ 10-20ล." สาดให้ทั่วแปลงนาก่อนย่ำเทือก สารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพร สารท็อกซิคจากน้ำหมักชีวภาพ และกลิ่นของน้ำหมักชีวภาพจะเป็นอันตรายต่อหอยเชอรี่ ทำให้หอยเชอรี่ตายหรือหนีไปได้
(บุญลือ สุขเกษม / นิตยสารไม่ลองไม่รู้)
เอาวิธีง่ายๆนะครับแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน ได้ผลครับ ให้เอาฝักคูณ ฝักต้นคูณนะครับ เอามาเยอะๆเลยครับเอาฝักที่แก่ที่มันหล่น เอามาทุบครับทุบให้แตก เอาใส่กระสอบแล้วเอาค้อนทุบก็ได้ ให้ได้เยอะพอสมควรครับ แล้วเอาไปหว่านลงนาข้าวที่ๆมีหอยเชอร์รี่ครับ รับรองไม่เหลือ เป็นการไล่หอยครับ เพราะในฝักคูณจะมีสารที่หอยเชอร์รี่กลัว รับรองครับไม่มีอันตราย ปราศจากสารพิษ ลองดูนะครับ ทุกปัญหามีทางแก้ไขเสมอ
เรื่องทำนาเรื่องหอยเชอร์รี่ปัญหาเล็กครับ ต่อนี้ไปไม่ต้องหลัวครับ
แนะนำวิธีนี้ครับ....การกำจัดหอยเชอรีในนาข้าวโดยใช้ปูนขาว
ปูนขาว 5 กิโลกรัม ละลายน้ำ 100 ลิตร คนให้เข้ากันทิ้งไว้ 1 คืน นำน้ำปูนใส 2 ลิตร ผสมน้ำ 10 ลิตร สาดให้ทั่วแปลงนาที่มีน้ำลึกประมาณ 10 เซนติเมตร ความเป็นด่างของปูนขาวจะทำให้หอยเชอรี่ตายหรือหนีไป แถมยังช่วยลดความเป็นกรดของดินได้ดี หรือถ้าแปลงนาเป็นแอ่งน้ำขัง เวลาหว่านข้าวเปลือก หอยเชอรี่จะมารวมอยู่บริเวณน้ำ ถ้านำกิ่งสะเดา มาวางให้ใบเน่าอยู่ในแอ่งน้ำ หรือใช้มะละกอสุกบดแช่ในน้ำหมักชีวภาพ 2-6 ชั่วโมง นำไปหว่านในนาช่วงทำเทือก ระดับน้ำประมาณ 10 เซนติเมตร หอยเชอรี่จะหนีไปหมด
http://www.raja.co.th/show.php?id=516 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 24/08/2011 5:19 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ใช้มะกรูด กำจัดหอยเชอรี่ระบาด
คุณอรุณ คุ้มครอง เกษตรกรนักคิดนักทดลองเล่าให้ฟังว่า เมื่อปี 2533 ได้เริ่มใช้ผลมะกรูดหมักในน้ำเพื่อไปใช้กำจัดหอยเชอรี่ในนาข้าว โดยเริ่มแรกก็ลองผิดลองถูกมาตลอดอัตราส่วนผสมในการหมักยังไม่แน่นอน ผลที่เกิดขึ้นจากหลังการใช้งานยังไม่ดีเท่าที่ควร ต่อมาได้มีโอกาสไปอบรมการใช้สมุนไพรเพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่สำนักงานเกษตรจังหวัดสิงห์บุรีเป็นผู้จัดและถ่ายทอดความรู้ให้ จากนั้นได้นำความรู้นั้นมาปรับใช้ในการหมักมะกรูดเมื่อนำไปใช้ในนาข้าวทำให้กำจัดหอยเชอรี่ได้ผลดีขึ้น
หลังจากการ อบรมแล้วก็ได้นำความรู้มาปรับปรุงส่วนผสมการหมักผลมะกรูดเพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อปรับปรุงวิธีการหมักอยู่ได้ระยะหนึ่งก็ทำให้ได้ค้นพบอัตราส่วนที่เหมาะสมในการหมักเมื่อนำไปใช้ประโยชน์ก็ได้ผลดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งต่อมากระทั่งปัจจุบันเพื่อนบ้านที่แวะเวียนมาหาก็ได้นำสูตรการหมักมะกรูดไปใช้บ้างและก็ได้รับผลดีเช่นเดียวกัน
สำหรับวัสดุการหมักได้แก่ ผลมะกรูดแก่ 1 กิโลกรัม เปลือกมังคุด 1 กิโลกรัม น้ำและถังหมัก ส่วนวิธีการหมักทำได้ดังนี้
วิธีทำ นำมะกรูดทั้งผลที่เตรียมไว้หั่นให้เป็น 8 ชิ้น ใส่ในถังหมัก เติมน้ำลงไปให้ท่วม แล้วนำเปลือกมังคุดที่เตรียมไว้หั่นให้เป็น 8 ชิ้น ใส่ในถังหมัก เติมน้ำลงไปให้ท่วม หมักทั้งสองชนิด 1 คืน รสเปรี้ยวและรสฝาดจะย่อยสลายรวมอยู่กับน้ำในถังหมักซึ่งเป็นสารที่เป็นประโยชน์ในการป้องกันกำจัดหอยเชอรี่
วิธีใช้ นำน้ำหมักที่ได้จากการหมักผลมะกรูดและเปลือกมังคุดเทผสมรวมลงในถังเดียวกัน โดยไม่ต้องกรองเอากากออก นำไปตักหว่านในแปลงนาข้าว ตักสาดให้ทั่วแปลงนาข้าว ชิ้นส่วนของผลมะกรูดและเปลือกมังคุดที่ตกอยู่ในแปลงนาก็ย่อยสลายสารที่ยังเหลืออยู่ออกมาได้อีก แล้วเปลือกก็จะกลายเป็นปุ๋ยในเวลาต่อมา
สูตรนี้ใช้ในแปลงนาข้าวพื้นที่ 1 ไร่ ช่วงต้นข้าวอายุ 15-20 วัน ระดับน้ำประมาณ 20 ซม. จะได้ผลดีมาก ผลที่ได้รับหลังจากหว่านน้ำหมักผลมะกรูดและเปลือกมังคุดเมื่อผ่านไป 1 คืน หอยเชอรี่จะได้รับสารที่เป็นรสเปรี้ยวหรือกลิ่นจากผลมะกรูดและรสฝาดจากเปลือกมังคุด เมือกที่ตัวหอยเชอรี่จะเริ่มน้อยลง การเคลื่อนที่ลำบากขึ้น ปากหอยเชอรี่จะเริ่มเจ่อกินอะไรไม่ได้ แล้วมันเริ่มเคลื่อนที่ขึ้นมาตามคันนาเพื่อหาที่ปลอดภัย หลังจากนั้นหรืออีก 1-3 วัน หอยเชอรี่จะตายไปเพราะกินอาหารไม่ได้
สำหรับเกษตรกรอีกหลาย ๆ คน ที่ยังคงใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดหอยเชอรี่อยู่จะลองหันมาใช้วิธีการหมักผลมะกรูดดูบ้างก็ไม่เป็นการผิดกติกาแต่อย่างใด
ซึ่งถ้าหากสนใจหรือต้องการจะได้ข้อมูลเพิ่มเติมก็ลองแวะไปคุยกับลุงอรุณ คุ้มครอง ที่ 34/2 หมู่ 3 ต.ต้นโพธิ์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี โทร. 036-543169 หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ผู้อำนวยการ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลต้นโพธิ์ หรือที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี โทร. 036-521490 ก็ได้
http://www.chiangmainews.co.th/read.php?id=19818 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|