kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 17/08/2011 5:34 am ชื่อกระทู้: ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 17 ส.ค |
|
|
คิดนอกกรอบ ออกจากกรอบ ไปหาความจริงของธรรมชาติ
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 17 ส.ค
**********************************************************
สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ...
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.1009.00 และ 20.05-20.30 ทุกวัน
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว
ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986
*********************************************************
จาก : (080)817-23xx
ข้อความ : ลุงคิมครับ ช่วยแนะนำวิธีการให้ปุ๋ย (ปริมาณต่อต้น และช่วงระยะเวลา) สำหรับมะพร้าวน้ำหอมโดยสูตร
21-7-14 ด้วยครับ ขอฟังคืนนี้ครับ....จากหนุ่มสวนมะพร้าว ราชบุรี
ตอบ :
มะพร้าวเป็นพืชตระกูลปาล์ม สารอาหารหลัก (ไม่ใช่ธาตุหลัก) คือ แม็กเนเซียม. สังกะสี. โบรอน. โซเดียม.
ฟอสฟอรัส. โปแตสเซียม.
สังเกตุมะพร้าวตามเกะในทะเล เจริญเติบโตให้ผลผลิตดีมากๆ เพราะได้แม็กเนเซียม + โซเดียม. จากทะเล
ประจำตั้งแต่เกิด เทียบกับมะพร้าวที่ปลูกห่างทะเล อย่างในเขตภาคเหนือ อิสาน ดูก็ๆได้
มะพร้าวออกดอกติดผลตลอดปี แบบไม่มีฤดูกาล ไม่ต้องสะสมตาดอก ไม่ต้องเปิดตาดอกก็ได้
บำรุงทางดินด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงที่มีส่วนผสมของปลาทะเล (ได้สารอินทรีย์....แม็กเนเซียม.
สังกะสี. ทองแดง. แมงกานิส.) + 13-13-21 หรือ 8-24-24 (250-500 กรัม)/ต้น/3 เดือน ฉีดพ่น
ให้ทั้งเขตทรงพุ่ม
หมายเหตุ :
*** 21-7-14 ไม่เหมาะกับมะพร้าว เพราะ K. ต่ำกว่า N.
*** การให้เกลือแกง 1/2-1 กก./ต้น/ปี แบ่งให้ 2 ครั้ง...............มะพร้าวชอบ
*** การให้ขี้แดดนาเกลือ 1/2-1 กก./ต้น/ปี แบ่งให้ 2 ครั้ง.........มะพร้าวชอบ
*** ใช้เศษทะลายปาล์มคลุมโคนต้น (ในทะลายปาล์มีโบรอน)......มะพร้าวชอบ
บำรุงทางใบด้วยไบโออิที่มีส่วนผสมของ แม็กเนเซียม. สังกะสี. แคลเซียม โบรอน. + ฮอร์โมนไข่ไทเป
ฉีดให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบ เดือนละครั้ง
เนื่องจากต้นมะพร้าวสูง การฉีดพ่นทางใบต้องมีอุปกรณ์พิเศษแบบเฉพาะ แนะนำให้ผูกหัวฉีดกับปลายไม้ยาวๆ สูง
ถึงคอหรือยอดต้นมะพร้าว ใช้เครื่องฉีดพ่นกำลังอัดแรงๆ ก็จะช่วยได้.....
ต้นมะพร้าวที่ปลูกเรียงชิดติดกันเป็นดง ไช้ไม้ต่อหัวฉีดยาวๆ ให้สูงกว่ายอด แล้วฉีดพ่นแบบตามลม ให้ลมช่วยพัด
ละอองสารอาหารไปสู่ต้นข้างเคียง แบบนี้ก็ได้
การติดสปริงเกอร์เหนือยอด แบ่งพื้นที่เป็นโซน ๆละ 20 ต้น ใช้เวลาเพียง 10 นาที ..... นั่นคือ 10 นาทีไฟฟ้า
ต่อการทำงาน 1 ครั้ง กับแรงงานเพียงคนเดียว
การลากสายยางฉีดพ่นให้มะพร้าว 20 ต้น ฉีดทีละต้น ใช้เวลาต้นละ 5 นาที ต้องใช้เวลา 100 นาที.....นั่นคือ 100 นาที
ไฟฟ้า ต่อการทำงาน 1 ครั้ง กับแรงงาน 2 คน
การใช้เครื่องทุนแรง (สปริงเกอร์) เป็นการ "ลงทุนเพื่อลดต้นทุน" ลงทุนครั้งเดียวใช้งานได้นาน 10 (+) ปี สิ่งที่ได้ คือ....
- ประหยัดค่าไฟฟ้า
- ประหยัดเวลา
- ประหยัดแรงงาน
- ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ของเนื้องานเพิ่มขึ้น
- ปริมาณและคุณภาพผลผลิตเพิ่มขึ้น เพราะบำรุงต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
- ฯลฯ
อุปสรรค :
- ติดตั้งระบบสปริงเกอร์ไม่เป็น
- จินตนาการ การทำงานของสปริงเกอร์ไม่ออก เพราะไม่เคยเห็น
- ไม่รู้และไม่เชื่อว่าการให้สารอาหารทางใบจะช่วยให้ต้นสมบูรณ์มากขึ้นหลายเท่า เมื่อเทียบกับการให้ทางดินอย่างเดียว
- ใจไม่รับ เพราะชาวบ้านย่านนั้นไม่มีใครทำ
- ฯลฯ
คลิก...."มะพร้าว"
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=81
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=82
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
จาก : (085)456-25xx
ข้อความ : ลุงคิมครับ วันสองวันมานี้ ได้ยินลุงคิมกับคุณมงคลพูดในรายการวิทยุถึงเรื่องพักดินนาข้าว ผมอยากให้ทั้ง
คุณมงคลและลุงคิม แนะนำวิธีการ ตามความคิดของแต่ละคน ยอมรับว่า ข้อมูล "โมเด็ม มงคิม" สุดยอดจริงๆครับ
ขอบคุณครับ ...จาก เกษตรกร ปวส.ชัยนาท
ตอบ :
แนวทางของลุงคิม....
วิธีที่ 1
- วางแผนทำนาปีละ 2 ครั้ง .....
ครั้งที่ 1 หว่าน/ดำ เดือน ส.ค. แล้วเกี่ยวปลายเดือน พ.ย.
ครั้งที่ 2 หว่าน/ดำ เดือน ธ.ค. แล้วเกี่ยวปลายเดือน มี.ค.
ไม่คววรเกี่ยวเดือน เม.ย. (สงกรานต์) เนื่องจากอาจจะมีฝน
- ช่วงเดือน เม.ย. - ก.ค. รวม 4 เดือน ช่วงนี้ให้ปลูกพืชตระกูลถั่ว หรือพืชอายุสั้นที่ตั้งแต่เริ่มเตรียมดิน ถึงเก็บเกี่ยว รื้อแปลง อยู่ในห้วง 4 เดือนนี้
การปลูกถั่ว (เขียว-แดง-ดำ-เหลือง-ถั่วบำรุงดินของ พด.) เพื่อวัตถุประสงค์ 2 อย่าง คือ เอาผลผลิต กับเอาตอซังไถกลบ ..... ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 2 กก./ไร่ เมื่อไถกลบจะได้เศษซากตอซังประมาณ 1.5-2 ตัน
ปลูกถั่วเอาผลผลิต ....... ควรเตรียมดินโดยการไถกลบตอซังข้าวเพื่อเป็นปุ๋ยให้ต้นถั่ว หลังจากลงเมล็ดถั่วไปแล้วให้บำรุงเต็มรูปแบบ กระทั่งเก็บเกี่ยวแล้วก็ไถกลบเศษซากต้นถั่วลงดิน
ปลูกถั่วไม่เอาผลผลิต ....... อาจจะต้องเตรียมดินโดยไถกลบตอซังต้นข้าวบ้างพอประมาณ เพราะถ้ายังมีตอซังต้นข้าวตั้งโด่เด่อยู่ พอหว่านเมล็ดถั่วลงไป เมล็ดถั่วจะค้างอยู่บนตอซัง ทำให้สูญเสีย เมื่อต้นถั่วงอกจนโตขึ้นมาแล้วไม่ต้องบำรุงอะไรมากนัก ประมาณ 45-50 วัน ต้นถั่วเริ่มออกดอก ก็ให้ไถกลบในจังหวะนี้ ซึ่งจะทำให้ได้สารอาหารพืชสูงสุด หลังจากไถกลบแล้ว ปล่อยดินไว้ประมาณ 1 เดือน หรือน้อยกว่าเล็กน้อยก็ให้เริ่มลงนาข้าวได้
วิธีที่ 2
ช่วงเดือน เม.ย.- ก.ค. ซึ่งเป็นช่วงว่างจากการทำนา หลังเกี่ยวข้าวเสร็จ เกลี่ยฟางให้กระจายทั่วๆ แล้วราดรดด้วย "น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง หรือ จุลินทรีย์หน่อกล้วยซุปเปอร์" ราดโชกๆ อัตรา 5-7 ล./ไร่ (ผสมน้ำตามถนัด) แล้วไถกลบโดยการไถดะครั้งเดียวก็พอ จากนั้นทิ้งไว้จนถึงรอบทำนาใหม่ ให้ปล่อยน้ำเข้าเพื่อหมักฟางทั้งที่อยู่บนผิวดิน กับที่ไถกลบลงไปอยู่ใต้ดินก่อนหน้านั้น หมักนานประมาณ 10-15 วัน เมื่อเห็นว่าทั้งฟาง ทั้งเนื้อดินเปื่อยยุ่ยดีก็เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการทำนาต่อไปได้.....
หมายเหตุ :
การพักดิน คือ การให้เวลาแก่จุลินทรีย์ในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ เมื่ออินทรีย์วัตถุทั้งหลายผุเปื่อยแล้ว สภาพโคงสร้างของดินก็จะดีขึ้นเอง วิธีนี้เป็นการพักดินแบบ "เร่งเวลา" แต่กรณีที่ปล่อยให้ดินอยู่เฉยๆ ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ต้องใช้เวลานานมาก หลายๆเดือนหรืออาจจะเป็นปี ซึ่งระยะเวลาแสนนานนี้ก็ต้องพึ่งพากระบวนการจุลินทรีย์อยู่ดี
การเติมน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงลงไปในดิน นอกจากทำให้ได้สารอาหารพืชที่เป็นสารอินทรีย์ในส่วนผสมของน้ำหมักแล้ว ยังได้แหล่งพลังงาน (อาหาร) สำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่นที่มีอยู่เดิมในดินนา และสารอาหารที่ได้จากเศษพืชเมื่อถูกย่อยสลายอีกด้วย
ปริมาณ/ชนิด ของสารอาหารที่ได้จากน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง รวมกับสารอาหารที่เกิดจากเศษซากพืช มากพอสำหรับนาข้าวแล้ว อาจจะไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม หรือใส่เพียงเล็กน้อย ช่วยให้ทั้งประหยัดต้นทุน และบำรุงดินให้ดีอย่างยั่งยืนอีกด้วย
คลิก....นาข้าวปีละ 2 ครั้ง และพักดิน....
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1703
------------------------------------------------------------------------------------------------------
. |
|