ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 08/02/2011 7:57 pm ชื่อกระทู้: กล้วยไม้ไต้หวัน.... |
|
|
เทคโนโลยีการผลิตพืชในประเทศไต้หวัน
นอกจากผมจะได้รายงานสดในงานนี้ 5 ตอนแล้ว ผมได้เขียนถึงเรื่องเทคโนโลยีการผลิตพืชในประเทศไต้หวันไว้ 10 ตอน
แบ่งออกเป็นการเยี่ยมชมการผลิตพืช ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตฟาแลนนอพซิสในบริษัทเอกชนและในภาครัฐของ
มหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไต้หวัน
ต้องอนุญาตเผยแผ่เรื่องนี้ผ่านในห้องเรือนกล้วยไม้จากผู้คุมห้องไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
หากมีข้อสงสัยหรือมีข้อมูลเพิ่มเติม จะทิ้งคำถามไว้ที่นี้หรือในบล็อคเป็นตอนๆ ไปก็ได้ครับ
ขอขอบคุณล่วงหน้าไว้ ณ ที่นี้ครับ
จากคุณ : appendiculata191
http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2008/04/J6506437/J6506437.html |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 08/02/2011 8:35 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ไต้หวันส่งออกกล้วยไม้มูลค่าเกือบ 2,400 ล้านเหรียญไต้หวัน
วันที่ 29 พ.ย. สวี่ฮั่นชิง(許漢卿) เลขาธิการสำนักงานเกษตรและธัญญาหาร คณะกรรมการเกษตร สภาบริหารไต้หวัน
ระบุว่า ไต้หวันเพาะเลี้ยงพันธุ์กล้วยไม้มาเป็นเวลานาน จากความพยายามของผู้บ่มเพาะขยายพันธ์กล้วยไม้ในประเทศ
เสริมสร้างคุณภาพของกล้วยไม้ไต้หวันให้สูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงต่อการแข่งขันในตลาดสากล
สวี่ฮั่นชิงเปิดเผยว่า 10 เดือนแรกของปีนี้ ไต้หวันมีมูลค่าส่งออกกล้วยไม้รวม 2,380 ล้านเหรียญไต้หวัน เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 43 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สร้างชื่อเสียงเป็นประเทศราชาแห่งกล้วยไม้อย่างต่อเนื่อง
สวี่ฮั่นชิงระบุว่า คณะกรรมการเกษตรจะทำการส่งเสริมขยายพันธุ์กล้วยไม้ต่อไป พร้อมทั้งส่งพันธุ์กล้วยไม้ชั้นยอดออก
สู่เวทีโลก เพื่อกระตุ้นพัฒนาการเกษตรและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร
http://rti-thai.blogspot.com/2010/11/2400.html |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
ตอบ: 08/02/2011 8:39 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ไต้หวัน แหล่งผลิตฟาแลนน๊อปซิส
ในบรรดาประเทศที่ผลิตกล้วยไม้เพื่อ การส่งออก, ไทยนับเป็นประเทศที่มีการส่งออกกล้วยไม้ สกุลหวายมากที่สุดในโลก
และนำเงินตราเข้าประเทศนับหมื่นล้านบาทต่อปี ในขณะที่ ไต้หวัน เป็นแหล่งผลิตกล้วยไม้สกุลฟาแลนน๊อปซิสที่ยิ่งใหญ่
แห่งหนึ่ง โดยเฉพาะที่ อ.ไทนาน
ที่นี่มีการผลิตกล้วยไม้เพื่อการส่งออกโดยประเทศที่สั่งซื้อมากที่สุด 5 อันดับแรกในปัจจุบันคือ สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น, ฮอลแลนด์,
เยอรมนีและแคนาดา ตามลำดับ เป็นที่สังเกตว่าฟาแลนน๊อปซิสดอกสีขาวได้รับความนิยมมากที่สุดคือประมาณ 60% ของ
ปริมาณการส่งออกทั้งหมด ที่เหลืออีก 40% จะเป็นสีอื่น ๆ ต้นกล้วยไม้ที่ทำการส่งออกนั้นจะมีจำนวนใบ 4 ใบ และเมื่อไปถึง
ปลายทาง เช่น สหรัฐอเมริกาและยุโรปจะต้องนำต้นกล้วยไม้ไปเลี้ยงต่อในห้องเย็นที่มี อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงกลางคืน 15 องศา
เซลเซียสและกลางวัน 28 องศาเซลเซียส เป็นเวลาประมาณ 2 เดือน ถึงจะออกดอกและนำออกจำหน่าย สำหรับกล้วยไม้ตก
เกรดทางบริษัทจะส่งขายในตลาดไต้หวัน
หลายคนยังไม่ทราบ ว่าอาชีพเกษตรกรรมในไต้หวันจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทุกอาชีพรวมถึงการ ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้
ด้วย โดยรัฐบาลจะสนับสนุนเรื่องที่ดิน ส่วนการลงทุนเรื่องโรงเรือนเกษตรกรหรือภาคเอกชนจะต้องลงทุนเอง สภาพโรงเรือน
กล้วยไม้แห่งนี้ใช้ เงินลงทุนค่าสร้างโรงเรือนและใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมทั้งหมดเป็นเงิน ประมาณ 200 ล้านบาท (พื้นที่
ของโรงเรือนจำนวน 15 ไร่) รวมถึงค่าต้นพันธุ์และการดูแลรักษา ในแต่ละโรงเรือนจะปลูกต้นกล้วยไม้ฟาแลนน๊อปซิสได้ถึง
800,000 ต้น เป็นเงินประมาณ 200 ล้านบาท และในแต่ละโรงเรือนจะมีอายุการใช้งานได้ถึง 20 ปีและจะคืนทุนภายใน 8 ปี
วัสดุที่ใช้ปลูกกล้วยไม้ฟาแลน น๊อปซิสเพื่อการส่งออกหญ้าชิลีซึ่งเป็น วัสดุปลูกที่มีคุณภาพดีและอุ้มน้ำได้นาน ในการส่งออก
ต้นกล้วยไม้ฟาแลนน๊อปซิส จะมีดินติดไปไม่ได้แม้แต่เปลือกไม้ก็ไม่ได้ ในเรื่องของการให้ปุ๋ยและน้ำจะถูกควบคุมด้วยคอมพิว
เตอร์ สำหรับโรคที่เกิดจาก เชื้อราชนิดต่าง ๆ จะมีผู้เชี่ยวชาญมาตรวจดูทุกวัน แต่ปัญหาที่ยังแก้ไขไม่ตกใน ขณะนี้คือปัญหา
โลกร้อนได้กระทบต่อการปลูกกล้วยไม้ฟาแลนน๊อปซิส ในปีนี้ (พ.ศ. 2553) ไต้หวันมีอุณหภูมิสูงสุดถึง 37 องศาเซลเซียส
มีผลทำให้ต้นกล้วยไม้เหี่ยวและตายในที่สุด.
ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ
http://www.dailynews.co.th
http://www.tjorchid.com/about-of-orchid/phal.html |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11623
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|