ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
PP หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 29/03/2010 ตอบ: 13
|
ตอบ: 12/10/2010 2:58 pm ชื่อกระทู้: การเสริมรากยางพารา |
|
|
สอบถามลุงคิม และผู้รู้ครับ...
จากที่ได้ค้นคว้าในเน็ตถ้ามันสามารถเพิ่มน้ำยางได้จริงก็น่าสนใจครับ แต่ที่อยากถามก็คือ
-เมล็ดที่จะนำมาเสริมรากจะหยอดเมล็ดปลูกห่างจากต้นพันธุ์แค่ไหน
-เมล็ดที่ปลูกข้างต้นพันธุ์งอกโตขนาดไหนถึงจะเสริมราก
-แผลที่จะประกบกันให้สูงจากพื้นดินแค่ไหน
-มันจะมีผลกระทบเมื่อถึงเวลากรีดหรือเปล่า
ขอบคุณมากครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
ott_club หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009 ตอบ: 718
|
ตอบ: 12/10/2010 3:27 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เสริมเพื่ออะไร ยังไม่เคยเห็นใครทำเลยครับ _________________ อ๊อด ระยอง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
tooa สาวดอง
เข้าร่วมเมื่อ: 18/08/2010 ตอบ: 44
|
ตอบ: 12/10/2010 7:24 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
การเสริมราก น่าจะทำเพื่อช่วยพยุงต้นยาง ให้ทนต่อสภาพอากาศ ที่มีลมแรง
มากกว่า ส่วนเรื่องเพิ่มผลผลิด น่าจะเป็นผลพลอยได้ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11627
|
ตอบ: 12/10/2010 8:00 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
การปลูกยางแบบเสริมราก
นายสุนทร นาควิลัย หมู่ที่ 18 บ้านประชาธรรม ต.บ้านเสด็จ อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี เดิมเมื่อปี พ.ศ.2537 นายสุนทร นาควิลัย ได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านประชาธรรม ม.18 ต.บ้านเสด็จ มาซื้อที่ดินเพื่อปลูกยางพารา จำนวน 19 ไร่ ทำการเตรียมพื้นที่เสร็จก็นำเมล็ดยางพาราไปปลูกในหลุมๆละ 5 เมล็ด บำรุงรักษาให้เมล็ดยางพารางอก ต้นที่งอกออกมามีความอุดมสมบูรณ์ดีมาก ใช้เวลาดูแลรักษาประมาณ 1 ปี ต้นยางเจริญเติบโตจนได้ขนาดที่ติดตาได้ นายสุนทรก็ทำการติดตา ในแต่ละหลุมมี 5 ต้น แต่ติดตาจำนวน 3 ต้น ส่วน 2 ต้นก็เหลือไว้ไม่ติด มีแนวคิดว่าจะทำการทดลองแบบเสริมราก ได้เห็นเกษตรกรรายอื่นเขาทำการเสริมรากทุเรียนก็มีแนวคิดที่จะเสริมรากยางพาราดูบ้าง ก็ทำการติดตาแบบเสริมรากในเนื้อที่ 19 ไร่ เมื่อติดตาเสร็จก็ใช้เวลาประมาณ 45 วัน ก็ตัดปลายต้นตอออกให้ตาที่ติดงอกออกมา นายสุนทรก็ปล่อยไว้ให้ยางแต่ละต้นเจริญเติบโตให้ได้ประมาณ 3 ฉัตรใบ ก็เตรียมการต้นที่เหลืออีก 2 ต้น ที่ไม่ได้ติดตามาทำการเฉือนเปลือกทั้งต้นที่ติดตาแล้ว และต้นที่ไม่ได้ติดตา มารวมกันแล้วเอาผ้าเทปกาวพันให้แน่นแล้วทิ้งไว้ประมาณ 50-60 วัน ก็ทำการตัดปลายต้นที่ทำการเสริมราก ทิ้งให้เหลือส่วนที่ทำการเสริมราก ทำการดูแลรักษาต้นยางที่ติดตาเสริมรากเสร็จแล้ว ผลปรากฏว่า
ต้นยางที่ทำการเสริมราก มีการเจริญเติบโตดีมากกว่าต้นยางที่ติดตาปกติประมาณ 1 เท่า
นายสุนทร บำรุงต้นยางที่ติดตาเสริมรากอายุยางได้ประมาณ 6 ปี ก็เปิดกรีดได้ เมื่อทำการเปิดกรีด
ผลปรากฏว่าต้นยางให้น้ำยางมากกว่าต้นยางที่ไม่ได้ทำการเสริมรากประมาณ 1 เท่า
ทำให้นายสุนทร เจ้าของสวนดีใจมาก และนำไปบอกเล่าเพื่อนๆ เจ้าของสวนยางบริเวณใกล้บ้าน
เพื่อนบ้านก็ได้มาดูตัวอย่าง ทุกคนมีการยอมรับว่าปลูกยางแบบเสริมราก ต้นยางให้น้ำยางมากจริงๆ สาเหตุเพราะต้นยางมีระบบรากหากินอาหารได้มากกว่าปกติอีก 1 เท่าตัว ทำให้ต้นยางเจริญเติบโตเร็วและให้น้ำยางมาก
จากผลที่นายสุนทรได้ปลูกยางแบบเสริมราก ทำให้เพื่อนบ้านมีความสนใจ และนำไปปฏิบัติตามจำนวน 9 ราย 175 ไร่ ขณะนี้ต้นยางกรีดได้แล้วจำนวน 2 แปลง 35 ไร่
สำหรับแปลงยางของนายสุนทร นาควิลัย พื้นที่ปลูก 19 ไร่ กรีดยางมาแล้วเป็นเวลา 8 ปี ผลผลิตที่ได้วันละ 78 กิโลกรัมโดยเฉลี่ย ทำให้นายสุนทรมีรายได้เพิ่มขึ้น เลี้ยงครอบครัวได้อย่างสุขสบาย และนายสุนทรปลูกยางแบบเสริมรากเพิ่มอีกแปลง เนื้อที่ 11 ไร่ อายุ 5 ปี
การปลูกยางพาราแบบเสริมราก สามารถนำไปปรับใช้/ประยุกต์ใช้ แนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรปฏิบัติตามได้ อาจจะเกิดความยุ่งยากขั้นตอนมากไปสักนิดแต่ผลที่ได้เป็นที่น่าพอใจ เป็นแนวคิดที่ดีสำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกยางไม่มาก ตั้งแต่ 1-20 ไร่ สามารถนำภูมิปัญญานี้ไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม
ผู้เล่าเรื่อง นายสุนทร นาควิลัย
ผู้บันทึก นายบรรเทิง โชติรัตน์
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6ว
วันที่ 13 มิถุนายน 2551
Section: เกษตรกรรม อุตสาหกรรม ธุรกิจการค้า
คำสำคัญ: นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ยางพารา เกษตรสุราษฎร์ สำนักงานเกษตรอำเภอเคียนซา
สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ
สร้าง: 10 กรกฎาคม 2551 15:07 แก้ไข: 10 กรกฎาคม 2551 15:09 [ แจ้งไม่เหมาะสม ]
http://gotoknow.org/blog/bansadat/193265
gotoknow.org/blog/bansadat/193265 - |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Soup สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 01/09/2010 ตอบ: 181 ที่อยู่: อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี
|
ตอบ: 12/10/2010 8:55 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ผมไม่ได้จบเกษตร แต่ตั้งแต่เกิดมาจากท้องพ่อท้องแม่เพิ่งจะเคยได้ยินคำว่าเสริมราก อ่านจากที่ลุงคิมโพสต์ให้ดูก็เหมือนจะเป็นการทาบกิ่งแต่แทนที่จะเอายอดไว้กลับเอาตอไว้ แปลกมากเลยครับ แล้วมันจะมียอดแทงออกมาจากโคนต้นของรากที่เราเสริมเข้าไปหรือเปล่าล่ะเนี่ย หรือต้องคอยตัดทิ้ง สิ่งมีชีวิตนี่อัศจรรย์จริง ๆ ต้นไม้ก็ยังเปลี่ยนอวัยวะได้ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11627
|
ตอบ: 12/10/2010 9:02 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ทำไมต้องเสริมรากลำไย
ในช่วงที่ลำไยออกดอกติดผล เกษตรกรชาวสวนลำไย มักประสบปัญหาต้นลำไยหักโค่นล้ม ทำความเสียหาย เนื่องจากต้นลำไย ที่ปลูกส่วนใหญ่ปลูกด้วยกิ่งตอน ไม่มีรากแก้ว ประกอบกับเป็นช่วงฤดูฝน มีพายุลมแรง ชาวสวนต้องดูแลเอาใจใส่ โดยการใช้ไม้ค้ำยัน เพื่อป้องกันต้นหักโค่นล้า และรักษาผลผลิต ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ และอีกปัญหาหนึ่งคือ การปลูกลำไย จากกิ่งตอนหรือกิ่งทาบพันธุ์ดี จะเจริญเติบโตตามปกติ แต่ลำต้นจะไม่ค่อยแข็งแรง เนื่องจากไม่มีรากแก้ว ดังนั้นการเสริมรากลำไย จะทำให้ต้นเติบโตแข็งแรงมากขึ้น มีรากแก้วช่วยหาอาหารได้มากขึ้น เป็นการเพิ่มผลผลิต และป้องกันการโค่นล้ม
ประโยชน์
การเสริมรากลำไย นับว่าเป็นวิธีการ ที่แก้ปัญหาการหักโค่นล้มของลำไยได้ดี เพราะมีระบบรากแก้ว ช่วยยึดลำต้น และช่วยหาอาหาร ทำให้ต้นลำไยโตเร็วทำให้ผลผลิตสูง และวิธีการเสริมรากลำไยก็ทำได้ง่าย
หลักการสำคัญ
ขั้นตอนใหญ่ ๆ ในการเสริมรากลำใยมีดังนี้
1. เตรียมอุปกรณ์ เช่น มีดตอนกิ่ง พลาสติก หรือเชือกฟางสำหรับพันกิ่ง กรรไกรตัดแต่งกิ่ง
2. เตรียมต้นลำไยพันธุ์ดีและต้นรากที่เพราะจากเมล็ด
3. นำมาปลูกใกล้กันแล้วทำการเสริมราก
เทคนิคการเสริมราก
วิธีการเสริมรากลำไย มีดังนี้
1. ปลูกต้นรากที่จะใช้เสริมรากโดยเพาะจากเมล็ดที่มีขนาดโต เท่าแท่งดินสอ ปลูกให้ใกล้กับต้นพันธุ์ดี ห่างกันประมาณ 10 นิ้ว ปลูก 2-3 ต้น รอบตันพันธุ์ดี
2. เฉือนเปลือกต้นพันธุ์ดี โดยให้แผลมีขนาดเท่าต้นราก ที่จะทำการเสริม
3. เฉือนเปลือกต้นรากเหนือดิน ประมาณ 10 นิ้ว
4. โน้มต้นรากมาประกบต้นพันธุ์ดี โดยให้รอยแผลทั้งสองประสานกันพอดี
5. พันพลาสติกหรือเชือกฟางทับให้แน่น ทิ้งไว้ประมาณ 2 เดือน เมื่อเห็นว่าเนื้อที้งสองประสานติดกันดีแล้ว จึงแกะพลาสติกหรือเชือกฟางออก
6. ตัดยอดต้นรากที่นำมาเสริมออก
ลำไยต้นหนึ่งสามารถทำการเสริมราก ได้มากกว่า 3-5 รากก็ได้ ซึ่งทำวิธีการเดียวกัน แต่ข้อสำคัญคือ การปาดแผลบริเวณที่เสริมราก อย่าให้ตำแหน่งตรงกันปาดให้ขึ้นบนบ้าง ลงล่างบ้าง ทำโดยรอบลำต้น
http://www.sisaket.go.th/WEB_ldd/Plant/Page08.htm
เสริมรากมะยงชิด
ให้ผลผลิตดก
เปรียบเทียบกับไม้ผลชนิดอื่น มะยงชิดราคายังดีอยู่อย่างต่อเนื่อง ในงานมะยงชิดที่นครนายก เกษตรกรขายกันกิโลกรัมละ 200 บาท สาเหตุที่มะยงชิดยังราคาดีอยู่ หากวิเคราะห์กันแบบชาวบ้านๆ คงเป็นเพราะผลผลิตมีไม่มาก แล้วทำไมผลผลิตจึงไม่มาก ปัจจัยที่เป็นสาเหตุมีอยู่ไม่น้อย เช่น การติดผลอาจจะน้อย เกษตรกรปลูกกันไม่มาก การติดผลเว้นปี ตัวเลขที่เกษตรกรบอกการติดผลต่อต้นอาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริง สิ่งเหล่านี้อาจจะมีส่วนถูก หรือไม่ถูกก็ได้ ไม่ถือว่าเป็นข้อยุติ แต่สามารถที่จะแสดงความคิดเห็นและต่อยอดกันได้
มาดูการเสริมรากมะยงชิดกันดีกว่า
คุณวชิระ โสตระกูล แห่งสวนละอองฟ้า นครนายก บอกว่า การเสริมรากมะยงชิดนั้น ทำได้ตั้งแต่อยู่ในกระถางหรืออยู่ในถุง รวมทั้งเสริมในแปลงปลูก
"ผมแนะนำให้เสริมราก เพราะว่ารากฝอยของมะยงชิดนั้นมีน้อย เมื่อเสริมรากเข้าไปจะหากินเก่ง ลูกค้าที่มาซื้อกิ่งผมต้องการ จึงเสริมให้ต้นหนึ่งมี 3 ราก ผลดีของการเสริมรากนั้น ให้ผลผลิตเร็ว 3 ปีเริ่มเก็บผลผลิตได้แล้ว ต้านทานโรคดี เนื่องจากมีตัวช่วย เกษตรกรผู้ปลูกก็ประหยัด เนื่องจากมีรากมาก หากินเก่ง จึงเปลืองปุ๋ยน้อย จำนวนรากที่เสริม รวมกับรากเดิมแล้วไม่น่าจะเกิน 3 เพราะหากเกิน 3 แล้ว จะมีอาหารมากเกินไป เกิดการเฝือใบ มีแต่ใบไม่มีลูก รากที่ผมเสริม ผมใช้ตอป่า ที่หากินเก่ง" คุณวชิระ อธิบาย
คุณวชิระบอกว่า ใครที่ปลูกมะยงชิดอยู่แล้ว ต้องการเสริมราก นำต้นตอลงปลูกใกล้ๆ ต้นเดิม เมื่อต้นได้ขนาด ก็เสริมรากเข้าไป ทำคล้ายๆ กับการทาบกิ่ง ทำได้ไม่ยาก ติด 100 เปอร์เซ็นต์
เป็นเทคโนโลยีที่เก็บมาจากงานมะยงชิดที่นครนายก เกษตรกรท่านใดต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ถามได้ตามที่อยู่ หรือโทร. (037) 328-129, (081) 481-4287 และ (081) 686-1555
นครนายก มีศักยภาพทางด้านการเกษตรและท่องเที่ยว
คุณกรินทร์ ไลนฤทธิสิงห์ เกษตรจังหวัดนครนายก บอกว่า จังหวัดนครนายกมีพื้นที่ทางการเกษตรกว่า 7 แสนไร่ นอกจากที่นาและพืชไร่แล้ว ที่ทำสวนมีหลายหมื่นไร่ พืชเศรษฐกิจที่ทำเงินให้เกษตรกรได้ดีคือ มะยงชิด
เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นกรด ทำให้ดินเปรี้ยว ทางแก้ไขเฉพาะหน้า ทางนักวิชาการเกษตรแนะนำให้ใช้ปูนมาร์ล สำหรับแนวทางระยะยาว มีการปรับปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ
"จังหวัดนครนายกมีศักยภาพเรื่องของการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ยิ่งมีเขื่อนขุนด่านปราการชล ทำให้คนเข้ามาเที่ยวมากขึ้น ปัญหาเรื่องน้ำก็ลดลง เกษตรกรปลูกพืชเศรษฐกิจได้ผลดีขึ้น อย่างมะยงชิด ขายได้กิโลกรัมละ 200-250 บาท ทำให้การปลูกเงาะและทุเรียนลดลง เรื่องของไม้ดอกไม้ประดับก็ทำรายได้ดี เกษตรกรอาจจะผลิตอยู่ที่อื่น แล้วนำผลผลิตมาจำหน่ายที่คลอง 15" คุณกรินทร์ บอก
http://www.nicaonline.com/webboard/index.php?topic=6746.0
เสริมรากทุเรียน
ลุงคิมคะ ทุเรียนที่สวนส่วนใหญ่ แม่จะใช้วิธีการเสริมรากทั้งหมด จากการศึกษาขั้นตอนของแม่คือ ใช้ต้นพันตอที่เพาะด้วยเมล็ด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองเพราะมีความแข็งแรงและทนต่อโรคได้ดีกว่า เวลาปลูกก็ปลูกทุกต้นพร้อมๆกัน โดยมีต้นพันธุ์หลักอยู่ตรงกลาง และต้นพันธุ์ที่จะใช้เสริมรากอยู่รอบๆ เมื่อต้นเจริญเติบโต จนมีความสูงประมาณ 50-100 ซม. จากระดับพื้นดิน ก็ทำการเสริมราก
โดยการเฉือนต้นตอหลักเป็นรูปโล่เข้าเนื้อไม้เล็กน้อย และให้แผลยาวประมาณ 1.5-2 นิ้ว เฉือนต้นตอเสริมเฉียงขึ้นเป็นปากฉลามให้แผลยาวเท่ากับแผลที่เตรียมบนต้นตอหลัก นำต้นตอเสริมประกบกับต้นตอหลัก โดยให้แนวเยื่อเจริญทับกันด้านในด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน พันรอบรอยแผลด้วยพลาสติกให้แน่น และบำรุงทางใบและรากตามปรกติ
เมื่อต้นมีการเจริญเติบโตดี ในขั้นต่อไป เราสามารถจะเปลี่ยนพันธุ์ต้นตอหลัก ด้วยการเสียบยอดหรือการทาบกิ่ง
http://www.newwavefarmer.com/forum/index.php?topic=1238.0
http://www.pantown.com/board.php?id=3402&area=4&name=board4&topic=565&action=view |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11627
|
ตอบ: 12/10/2010 10:07 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ไม้ยืนต้นอายุยืนหลายๆสิบปีที่มีรากแก้วมาแต่กำเนิด (ปลูกโดยเพาะเมล็ด) หรือเสริมรากด้วยต้นเสริมที่มีรากแก้ว (เพาะเมล็ด) ไม้ประเภทนี้เมื่อถูกน้ำท่วมขังค้างนานนับเดือน หรือหลายเดือน มักไม่ตาย ต่างจากไม้ที่ไม่มีรากแก้ว หรือมีแต่รากฝอย (ต้นที่มาจากกิ่งตอน) ..... กรณีต้นที่ขยายพันธุ์มาโดยทาบกิ่ง ต้องพิจารณาด้วยว่า ส่วนตอที่ใช้ทาบนั้นมีรากแก้วหรือไม่ เพราะส่วนใหญ่ตอที่นำมาทาบนั้นมักถูกตัดรากแก้วออกไปแล้วเหลือแต่โคน เนื่องจากรากแก้วยาวเกินถุงใสน่ตอ คนทาบจึงตัดออกเหลือแต่ส่วนตอ ดังนั้น ไม้ที่ขยายพันธุ้โดยตอทาบที่ถูกตัดรากแก้วออกไปแล้วก็ถือว่าไม่มีรากแก้ว ทั้งนี้ ธรรมชาติของต้นไม้นั้น รากแก้วมีรากเดียว เมื่อถูกตัดไปแล้วไม่สามารถสร้างใหม่ได้
น้ำท่วมขังค้างนาน น้ำมักซึมลงไปในเนื้อดินได้ลึกไม่เกิน 1 ม.จากพื้นดินปกติ ธรรมชาติของต้นไม้ รากฝอยซึ่งอยู่ที่ผิวดินลึก 3-12 นิ้ว ทำหน้าที่ดูดสารอาหารและอากาศ ส่วนรากแก้วที่อยู่ลึก 1-5 ม. ทำหน้าที่ยึดลำต้นให้มั่นคง และอาจจะ (เน้นย้ำ....อาจจะ) ดูดสารอาหารและอากาศบ้าง (ถ้ามี)
การที่ไม้ใหญ่มีรากแก้ว เมื่อมีน้ำท่วมขังค้าง รากฝอยจะไม่สามารถทำหน้าที่ได้ เพราะไม่มีอากาศเป็นปัจจัยช่วย สภาวะเช่นนี้รากแก้วก็จะรับหน้าที่ดูดสารอาหารไปเลี้ยงต้นแทน แม้ไม่สมบูรณ์ 100 % แต่ก็พอปะทังชีวิตให้รอดได้ระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจจะนานจนกระทั่งน้ำแห้งได้ นี่คือเหตุผลสำคัญที่ไม้ใหญ่ที่มีรากแก้วแล้วถูกน้ำท่วมขังค้างนานไม่ตาย
ไม้ใหญ่มีรากแก้วอย่างมะม่วง. ลำไย. เมื่อราดสารพาโคลบิวทาโซล. หรือโปแตสเซียม คลอเรต. จะไม่ได้ผล เพราะรากแก้วอยู่ลึก สารที่ราดลงไปไม่ถึงนั้นเอง
มะยง (ชิด/ห่าง) - มะปราง (หวาน) กิ่งตอน ไม่มีรากแก้ว ปลูกแล้ว 6-7 ปี ให้ผลผลิต. ....... กิ่งตอน/กิ่งทาบ เสริมราก 1-2 ราก ปลูกแล้ว 2-3 ปี ให้ผลผลิต.... กิ่งตอน/กิ่งทาบ เสริมราก 3 ราก ปลูกแล้ว 1-2 ปี ให้ผลผลิต
ไม้ตระกูลส้ม (ส้มโอ. เขียหวาน. มะนาว. มะกรูด) เสียบยอดบนตอมะสัง/ทรอยเยอร์/คาริโซ่. หรือใช้ตอเหล่านี้เป็นตัวเสริมราก ไม้ตระกูลส้มต้นนั้นจะให้ผลผลิตดีเฉพาะช่วงอายุ 3-5 ปี อย่างนานก็ 8 ปี หลังจากนั้น ส่วนที่เป็นตอซึ่งมีรากอยู่ด้วยจะไม่ส่งสารอาหารให้ แต่จะพยายามแตกยอดของตัวเอง กับขยายขนาดตัวเอง (ตอ) ให้ใหญ่ขึ้น ลักษณะอาการนี้เรียกว่า "ตีนช้าง" เสียชาติตระกูลส้มไปเลย
ลุงคิมครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|