-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - * จุลินทรีย์ไม่ใช่ปุ๋ย - ปุ๋ยไม่ใช่จุลินทรีย์
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
ตอบตอบ: 11/05/2023 6:54 am    ชื่อกระทู้: * จุลินทรีย์ไม่ใช่ปุ๋ย - ปุ๋ยไม่ใช่จุลินทรีย์

.
.

จุลินทรีย์ไม่ใช่ปุ๋ย - ปุ๋ยไม่ใช่จุลินทรีย์ :


** จุลินทรีย์ชื่อ คีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซ่า. แอ็คติโนมัยซิส. บาซิลลัส ซับติลิส. บาซิลลัส ทูรินจินซิส, ฯลฯ

** ปุ๋ยชื่อ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แคลเซียม แม็กเนเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง สังกะสี แมงกานิส โมลิบดินั่ม โบรอน ซิลิก้า ฯลฯ ....

จุลินทรีย์กับปุ๋ย คือ คนละตัวกัน แต่อยู่ด้วยกัน ไปด้วยกัน เปรียบเสมือน ปุ๋ยคือข้าวสาร จุลินทรีย์คือคนหุงข้าวสาร .... ถามว่า คุณจะกินข้าวสารที่หุงแล้ว หรือกินคนหุง

ใส่อินทรีย์วัตถุ (OM) ลงไปในดิน ถ้าไม่มีจุลินทรีย์แปรรูปอินทรีย์วัตถุนั้นก่อน ต้นพืชก็เอาไปกินไม่ได้ อย่าลืมว่า พืชกินอาหารที่เป็นของเหลว โมเลกุลเล็กระดับอะมิโน .... นี่ไง จุลินทรีย์ คือ แม่ครัว ของต้นพืช

ในโลกนี้มีจุลินทรีย์นับล้านชนิด ที่มนุษย์รู้จักและตั้งชื่อแล้วเป็นเพียงเศษเสี้ยวส่วนล้านเท่านั้น เมื่อไม่รู้จักแต่มนุษย์ก็ใช้วิธีแยกประเภท คือ ประเภทมีประโยชน์ กับประเภทมีโทษ เท่านี้ก็พอสื่อสารกันรู้เรื่อง ทั้ง 2 ประเภทแบ่งกลุ่มได้ กลุ่มต้องการอากาศ/ไม่ต้องการอากาศ, กลุ่มต้องการแสง/ไม่ต้องการแสง, กลุ่มต้องการความชื้น/ไม่ต้องการความชื้น, กลุ่มต้องการความร้อน/ไม่ต้องการความร้อน, ฯลฯ (ในเมฆบนท้องฟ้าก็มีจุลินทรีย์....NASA USA.)

12. การบำรุงจุลินทรีย์ประจำถิ่นสามารถทำได้โดยการโรยรำละเอียดบางๆ รดด้วยน้ำเจือจางสารรสหวานพอหน้าดินชื้น ใส่หรือคลุมทับด้วยอินทรีย์วัตถุ แสงแดดส่องถึงได้เล็กน้อย อากาศถ่าย เทสะดวก มีระดับความชื้นพอดี เมื่อจุลินทรีย์ได้รับสารอาหารและสภาพแวดล้อมเหมาะสมก็จะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง ขยายพันธุ์และทำหน้าที่ได้ดีเอง

13. จุลินทรีย์ประเภทที่มีประโยชน์ (ฝ่ายธรรมะ) สามารถดำรงชีวิต (เกิด กิน ขับถ่าย ขยายพันธุ์ และตาย) ได้ดีภายใต้สภาพโครงสร้างดินเป็นกลางหรือเป็นกรดอ่อนๆ .... ถ้าเป็นกรดจัดหรือด่างจัดจะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้

14. จุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์ (ฝ่ายอธรรม) หรือเชื้อโรค สามารถดำรงชีวิต (เกิด กิน ขับถ่าย ขยายพันธุ์ และตาย) ได้ดีภายใต้สภาพโครงสร้างดินที่เป็นกรดจัดหรือด่างจัด ..... ถ้าดินเป็นกรดอ่อนๆ หรือเป็นกลางจุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์ (เชื้อโรคพืช) นี้จะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้หรือตายไปเอง

15. เนื่องจากพืชกินธาตุอาหารที่เป็นของเหลวด้วยการดูดซึม ไม่สามารถกินอาหารที่เป็นชิ้น แม้ว่าอาหารชิ้นนั้นจะมีขนาดเท่าปลายเข็มก็กินไม่ได้ แต่หากอาหารชิ้นเท่าปลายเข็มนั้นเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวแล้วนั่นแหละพืชจึงจะดูดซึมไปใช้ได้ .... จุลินทรีย์ คือ ตัวทำหน้าที่ย่อยสลายอาหารพืชที่สภาพยังเป็นชิ้นๆ (อินทรีย์วัตถุ) ให้กลายเป็นของเหลวจนพืชสามารถดูดซึมผ่านปลายรากไปใช้ได้ จุลินทรีย์จึงเปรียบเสมือน "แม่ครัว" หรือผู้ สร้างอาหารของต้นพืชนั่นเอง

16. การดูด้วยสายตาให้รู้ว่าบริเวณใดมีจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ต่อพืช หรือมีจุลินทรีย์ประเภทมีโทษต่อพืช ดูได้จากการเจริญเติบโตของพืชที่ขึ้นในบริเวณนั้น ถ้าระบบรากสมบูรณ์ อวบอ้วน มีจำนวนมาก แสดงว่าดินดี หรือสังเกตการณ์ตอบสนองของพืชต่อปุ๋ยทางราก ทั้งๆ ที่ใส่ปุ๋ยเพียงน้อยนิดแต่ต้นพืชยังเจริญเติบโตได้ดี ก็แสดงว่าดินดีอีกเช่นกัน และการที่ดินดีได้ก็เพราะมีจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ (ธรรมะ) ทำหน้าที่อนุรักษ์ให้ในทางตรงกันข้าม ถ้าระบบรากไม่ดีหรือต้นพืชไม่เจริญงอกงามทั้งๆ ที่ใส่ปุ๋ยลงไปแล้วก็แสดงว่าดินไม่ดี และดินไม่ดีก็คือดินที่เป็นแหล่งอาศัยของจุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์ (เชื้อโรค/อธรรม) นั่นเอง

จุลินทรีย์ในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง :
หลังจากบด “กุ้งหอยปูปลาทะเล” 20 กก. ด้วยโมลิเน็กซ์ยักษ์จนละเอียดเป็นผงแล้ว ใส่น้ำหมักเก่าที่พร้อมใช้แล้ว 20 ล. ลงไป ในน้ำหมักเก่ามีจุลินทรีย์ “อีแอบ” จุลินทรีย์อีแอบ.คือจุลินทรีย์ตัวเดียวกันกับ “อีเอ็ม” (อีเอ็ม.ทำจากปลาทะเล....ดร.สุริยา ศาสนรักษ์กิจ)

แหล่งจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ :
- บาซิลลัส ซับติลิส.......................... มีอยู่ในตาติดเปลือกสับปะรดสด
- ฟังก์จัย. จินเจียงลินซิส.................... มีอยู่ในฟางเพาะเห็ด
- คีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซา ..... มีอยู่ในเปลือกถั่วลิสง
- แอ็คติโนมัยซิส ............................ มีอยู่ในเหง้า/รากกล้วย มูลสัตว์กินหญ้า
- แล็คโตบาซิลลัส ........................... มีอยู่ในยาคูลท์ โยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยว
- แฟลงเกีย .................................. มีอยู่ในสนทะเล สนประดิพัทธ์
- ไบโอโพลิเมอร์. คลาไมโดโมแนส ........ มีอยู่ในสาหร่ายน้ำจืด
- นอสท็อก ................................... มีอยู่ในรากต้นปรง
- อะโซโตแบ็คเตอร์. ... มีอยู่ในเหง้าหญ้าขน และหญ้าประเภทหน้าแล้งตายหน้าฝนฟื้น
- แอ็คติโนมัยเกรต. ซีอะโนแบคทีเรีย. อัลเกีย. ฟังก์จัยลิเซ่. เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นได้เองจากดินที่มีสภาพโครงสร้างเป็นกลางดีอย่างต่อเนื่อง และมีอินทรียวัตถุสะสมมานาน


จากหนังสือ “หัวใจเกษตรไท” ......
จุลินทรีย์จาวปลวก

จาวปลวก คือ รังของปลวกสีขาวขุ่น รูปร่างคล้ายปะการัง หรือมันสมอง เป็นช่องตารางเหมือนรังผึ้ง มีแบคทีเรียกลุ่มโปรโตซัวร์. ชื่อ BACILLUS SEREUS ช่วยบำรุงราก เป็นเชื้อปฏิปักษ์ต่อโรครากเน่า รากขาว รากปม

ในลำไส้ปลวกมีจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายเส้นใยของเศษซากพืช แล้วเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นสารอาหาร สำหรับพืชได้

ขยายเชื้อจุลินทรีย์จาวปลวก :
วิธีที่ 1 :

จาวปลวกสดใหม่ 1 กก., ข้าวเหนียวนึ่งปล่อยให้เย็น 1 กก. คลุกเคล้าให้เข้ากันดี แล้วนำลงผสมน้ำ 20 ล. คนเคล้าให้เช้ากัน ปิดฝาภาชนะสนิท เก็บในอุณหภูมิ ห้อง ทิ้งไว้ 7 วัน เริ่มเกิดฝ้าสีขาวปนเทา ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน

วิธีที่ 2 :
จาวปลวกสดใหม่ 1 กก., ข้าวจ้าวสุกปล่อยให้เย็น 1 กก. คลุกเคล้าให้เข้ากันดี แล้วนำลงผสมน้ำ 20 ล. คนเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะสนิท เก็บในอุณหภูมิห้อง ทิ้งไว้ 7 วัน เริ่มเกิดฝ้าสีขาวปนเทา ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน

วิธีที่ 3 :
- จาวปลวกสดใหม่ 1/2 กก. พ่นน้ำซาวข้าวพอชื้น ใส่ลงในกระติกน้ำแข็ง ปิดฝาสนิท วางไว้กลางแดดวันละ 4-5 ชม. หน้าร้อน 2-3 วัน หน้าหนาว 5-7 วัน

- ครบกำหนดเปิดกระติก เส้นใยสีขาว คือ เชื้อโปรโตซัวร์. พร้อมขยายต่อ
- นำเชื้อโปรโตซัวร์. คลุกกับข้าวเหนียวนึ่งสุก 1/2 กก. (1:1) ใส่ลงภานะน้ำซาวข้าว 20 ล. ปิดฝาสนิท อุณหภูมิห้อง นาน 7-10 วัน เริ่มเกิดฝ้าสีขาวปนเทา ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน

วิธีที่ 4 :
น้ำ 10 ล. + กากน้ำตาล 1 ล. คนเคล้าให้เข้ากันดี เป็นน้ำขยายเชื้อ ใส่จาวปลวก สดใหม่บดละเอียด 1 กำปั้นมือ ลงในน้ำขยายเชื้อ คนเคล้าให้เข้ากันดี ปิดฝาพอหลวม วางไว้ในร่ม อุณหภูมิห้อง ใส่ปั๊มอ๊อกซิเจน (ปั๊มปลาตู้) เพื่อเติมออกซิเจนให้แก่จุลินทรีย์ ปล่อยไว้ 5-6-7 วัน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ขยายพันธุ์ อากาศร้อนขยายพันธุ์เร็ว อากาศเย็นขยายพันธุ์ช้า

ใช้งาน :
- หัวเชื้อเข้มข้น 1-2 ล. + น้ำตามความจำเป็น ใส่นาข้าว/พืชไร่ 1 ไร่ หรือแปลงปลูกผัก 1 ไร่ หรือโคนต้นไม้ผลบริเวณทรงพุ่ม 10-20 ต้น หรือใส่ในกองปุ๋ยอินทรีย์ 1 กอง (1 ตัน) ใส่มากเกินไม่ส่งผลเสีย แต่สิ้นเปลืองเท่านั้น

- จาวปลวก สดใหม่ บดละเอียด ผสมปุ๋ยอินทรีย์ในกอง หรือหว่านลงพื้นในแปลงปลูก จุลินทรีย์ในจาวปลวกก็ขยายเผ่าพันธุ์เองได้

หมายเหตุ :
- ทดสอบจุลินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการขยายพันธุ์แล้ว ตักน้ำเลี้ยงจุลินทรีย์ใส่ขวดน้ำดื่ม ปิดฝาขวดด้วยลูกโป่ง ทิ้งไว้ 3-4-5 วัน แล้งสังเกตลูกโป่ง .... ลูกโป่งพองโตมากและเร็ว แสดงว่าจุลินทรีย์มาก สมบูรณ์ แข็งแรง ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ถ้าลูกโปร่งพองโตน้อยและช้า แสดงว่าจุลินทรีย์น้อย ไม่สมบูรณ์ และไม่แข็งแรง ให้ขยายเชื้อต่อไป

- วิธีการนี้นำไปทดสอบจุลินทรีย์ได้ทุกชนิด

จุลินทรีย์หน่อกล้วย :
เตรียมเชื้อจุลินทรีย์เริ่มต้น :

1. เลือกหน่อกล้วยความสูง 1 ม.จากพื้นถึงยอด เป็นหน่อชนิดที่สมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีโรค เกิดจากต้นแม่ที่สมบูรณ์แข็งแรงให้ผลผลิตดี ทั้งต้นแม่และหน่ออยู่ในบริเวณที่ดินมีค่ากรด-ด่างเป็นกลางหรือเป็นกรดอ่อนๆ

2. ขุดหน่อขึ้นมาให้มีเหง้าติดรากมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ สลัดดินทิ้งไปให้เหลือติดรากไว้เล็กน้อย ไม่ต้องล้างน้ำ

3. สับเล็กหรือบดละเอียดทั้งต้น (ราก เหง้า ต้น) ที่ตัดมา อัตราส่วน หน่อกล้วย 3 ส่วน : กากน้ำตาล 1 ส่วน (3:1) เติมน้ำมะพร้าวอ่อนพอเหลว บรรจุในภาชนะที่ไม่ใช่โลหะ คลุกเคล้าให้เข้ากันดี เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง คนบ่อยๆ เพื่อเร่งอากาศให้แก่จุลินทรีย์ หมักนาน 7-10 วัน กรองเอากากออก น้ำที่ได้คือ “น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วยเข้มข้น” พร้อมใช้งาน

ขั้นตอนการหมัก การตรวจสอบ และการนำไปใช้ เหมือนจุลินทรีย์ประจำถิ่น อายุการเก็บนาน 6 เดือนหลังจากหมดอายุแล้วนำมาขยายเชื้อด้วยจุลินทรีย์เริ่มต้นชุดใหม่ได้

ประโยชน์ :
- ใช้ในการหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพ ฮอร์โมนพืช บ่มดิน ปรับปรุงดิน ฯลฯ
- ราดลงดินช่วยปรับโครงสร้างของดิน ทำให้ดินโปร่งร่วนซุยและกำจัดเชื้อโรคในดิน
- ผสมกับปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอก ให้ได้ความชื้น 50% ช่วยเร่งให้ ปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอก ใช้งานได้เร็วและดีขึ้น
- ช่วยย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุที่ใส่ลงไปในดินให้เกิด “ฮิวมิค แอซิด” ได้เร็วและจำนวนมาก
- ช่วยย่อยสลายฟางในนาข้าวที่ไถกลบช่วงทำเทือกให้เปื่อยยุ่ยเร็วขึ้น
- ฉีดพ่นทางใบช่วยกำจัดเชื้อรา ทำให้หนอนไม่ลอกคราบไม่กินอาหาร (ทำลายพืช) ทำให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อจนฟักออกมาเป็นตัวหนอนไม่ได้ และขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่

- กำจัดเชื้อโรคในน้ำในร่องสวน สระกักเก็บน้ำ และคอกปศุสัตว์

หมายเหตุ :
- ในหน่อกล้วยมีจุลินทรีย์กลุ่ม “แอ็คติโนมัยซิส” ซึ่งมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายสูง
- ฉีดพ่นจุลินทรีย์หน่อกล้วยทางใบให้ทั่วทรงพุ่มตอนกลาวันช่วงหลังฝนหยุด (ฝนต่อแดด) เพื่อล้างน้ำฝนออกจากต้นไม่ให้น้ำฝนแห้งคาต้นช่วยกำจัดเชื้อราแอนแทร็คโนส. ไม่ให้เข้าทำลายใบ ยอด ดอก ผล และส่วนต่างๆ ของพืชได้ .... ฉีดพ่นตอนเช้ามืดเพื่อล้างน้ำค้างและหมอกออกจากต้นก่อนที่น้ำค้างและหมอกจะแห้งคาต้น ช่วยกำจัดเชื้อราน้ำค้าง. ราแป้ง. ราสนิม. ไม่ให้เข้าทำลายส่วนต่างๆ ของต้นพืชได้

- จุลินทรีย์กลุ่มแอ็คติโนมัยซิส. มีประสิทธิภาพในการกำจัดจุลินทรีย์เชื้อโรคพืชประเภทเชื้อราในดิน เช่น เชื้อไฟธอปเทอร่า. พิเทียม. ฟูซาเลียม. สเคลโรเทียม. และไรช็อคโธเนีย. ได้ผลดีมาก

- ถ้าไม่ใช้หน่อกล้วยทั้งหน่อ สามารถใช้เฉพาะส่วนลำต้นของต้นกล้วยแก่ตัดเครือใหม่ๆ แทนก็ได้ ด้วยอัตราส่วนและวิธีการเดียวกัน

รวมเรื่องจุลินทรีย์ในหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ :
จุลินทรีย์ธรรมชาติ, จุลินทรีย์อีแอบ, จุลินทรีย์ก้นครัว, จุลินทรีย์ฟังจัย, จุลินทรีย์นมสด, จุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง, ขยายเชื้อจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่า, ขยายเชื้อเห็ดธรรมชาติ, ทำจุลินทรีย์ผง, วิธีเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์, ทดสอบจุลินทรีย์, จุลินทรีย์ ไอเอ็มโอ. (ประจำถิ่น)

---------------------------------------------------------------------------------------








.