-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 10 พ.ค. * จุลินทรีย์สร้างปุ๋ย
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
ตอบตอบ: 09/05/2022 4:38 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 10 พ.ค. * จุลินทรีย์สร้างปุ๋ย

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 10 พ.ค.

***********************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า

ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก

** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด


- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 14 พ.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน
ไปวัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี

ทุกงานสัญจร ....
ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....
แจก ! .... กับดักแมลงวันทอง


****************************************************************
****************************************************************

จาก : (097) 415-37xx
ข้อความ : จุลินทรีย์สร้างปุ๋ยอย่างไรคะ

จาก : (093) 441-83xx
ข้อความ : ขอความรู้เรื่องจุลินทรีย์ กลุ่มไหนที่มีประโยชน์ต่อพืชครับ

คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :

จุลินทรีย์สร้างปุ๋ย ทำได้อย่างไร ? :
จุลินทรีย์มีหลายชนิดและมีความสามารถที่แตกต่างกันออกไป เช่นบางชนิดสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ในปริมาณมากๆ บางชนิดสามารถย่อยสลายโปตัสเซี่ยมในดินได้ดี บางชนิดผลิต Growth ฮอร์โมน ออกมากระตุ้นให้เกิดรากและการแตกยอดของพืช ฯลฯ

จุลินทรีย์แบ่งเป็น 3 กลุ่ม :

1. กลุ่มจุลินทรีย์สร้างสรรค์หรือกลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10 %

2. กลุ่มจุลินทรีย์ทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรคต่างๆรวมทั้งของเสียต่างๆ มีประมาณ 10 %

3. กลุ่มจุลินทรีย์เป็นกลาง มีประมาณ 80 % จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใด มีจำนวนมากกว่า จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย

ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพลงในดิน ก็เพื่อให้กลุ่มสร้างสรรค์มีจำนวนมากกว่า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมา อีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป

จุลินทรีย์มีจุดเด่นคือสามารถขยายพันธุ์ได้จำนวนมากภายในเวลาสั้นๆและต้องการปัจจัยสนับสนุนในการขยายพันธุ์น้อย เช่นน้ำ / อาหาร ดังนั้นเมื่อเรานำจุลินทรีย์ที่ผลิตปุ๋ยสำหรับพืชมาเลี้ยงไว้และทำให้เกิดการขยานพันธุ์อย่างเข้มข้นเราก็จะได้ปุ๋ยสำหรับพืชอย่างพอเพียง

จุลินทรีย์ขยายพันธุ์จาก 1 เป็น 2 เป็น 4 เป็น 8 และหากเริ่มต้นจากจุลินทรีย์ 100 ตัว จะสามารถเพิ่มจำนวนเป็น 100 ล้านตัวได้ภายในเวลาเพียง 6-12 ชั่วโมง ดังนั้นการคัดเลือกจุลินทรีย์ที่ดีสามารถสร้างปุ๋ยสำหรับพืชมาเพาะเลี้ยงไว้ในระบบนาโนจึงสามารถทำเป็นปุ๋ยสำหรับพืชที่สมบูรณ์แบบที่สุด

กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางการเกษตร :
1. จุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจน (Nitrogen Fixing Microorganisms)
ซึ่งมักจะเป็นกลุ่มแบคทีเรีย เพราะทำงานเร็วและมีจำนวนอยู่มาก โดยครึ่งหนึ่งของมวลจุลินทรีย์ทั้งหมดในโลกคือ แบคทีเรีย แบคทีเรียที่ตรึงไนโตรเจนได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ต้องอยู่ร่วมกับตัวอื่นถึงจะตรึงไนโตรเจนได้แบบพึ่งพาอาศัยกันและ กัน (Symbiosis) เช่น ไรโซเบียม (Rhizobium sp.) ในปมรากพืชตระกูลถั่ว และอีกกลุ่มหนึ่งที่ตรึงไนโตรเจนได้อย่างอิสระ (Non-Symbiosis)

2. จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ หรือเซลลูโลส (Cellulolytic Microorganisms หรือ Cellulolytic Decomposers) เป็นพวกที่ย่อยสลายเซลลูโลส หรือซากพืช ซากสัตว์ ประกอบไปด้วย แบคทีเรีย รา แอคติโนมัยซิท และโปรโตซัว จุลินทรีย์พวกนี้พบได้ทั่วไประหว่างการสลายตัวของเศษวัสดุเหลือใช้ทางการ เกษตรต่างๆ ซากพืช ซษกสัตว์ ใบไม้ กิ่งไม้ เศษหญ้า และขยะอินทรีย์ชนิดต่างๆ ทำให้เกิดปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ ขึ้นมาได้เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ น้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น

ในปุ๋ยหมักที่มีกิจกรรมจุลินทรีย์ค่อนข้างดีพบว่าในทุก 1 กรัมของปุ๋ยหมักจะต้องมีแบคทีเรีย 150-300 ไมโครกรัมและมีแบคทีเรียที่มีกิจกรรมสูง (Active) อยู่ 15-30 ไมโครกรัม มีเชื้อรา 150-200 ไมโครกรัมและมีเชื้อราที่มีกิจกรรมสูง 2-10 ไมโครกรัม มีพวกโปรโตซัวร์ ซึ่งจะย่อยสลายเศษชิ้นส่วนขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง ต้องมีถึงประมาณ 10,000 ตัวต่อ 1 กรัมของปุ๋ยหมัก และมีพวกไส้เดือนฝอยชนิดที่เป็นประโยชน์ 50-100 ตัว

3. จุลินทรีย์ที่ละลายฟอสเฟตและธาตุอาหารพืชอื่นๆ (Phosphate and Other Nutrient Elements Solubilizing Microorganisms) จุลินทรีย์พวกนี้สามารถทำให้ธาตุอาหารพืชหลายชนิด เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี ทองแดง และแมงกานีส ที่มักอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้ ให้ละลายออกมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งจุลินทรีย์ที่ช่วยส่งเสริมให้รากพืชดูดกินธาตุอาหารพืชได้ดีขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วจะไม่สามารถดูดกินธาตุอาหารบางชนิดได้ หรือดูดกินได้น้อย

จุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการแปรสภาพฟอสฟอรัสจะมีทั้งกลุ่มที่ทำ หน้าที่ เปลี่ยนอินทรีย์ฟอสฟอรัสและอนินทรีย์ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปไม่เป็นประโยชน์ ต่อพืชให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช

ในกรณีของสารอินทรีย์ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชจะอยู่ในรูป ของไฟทิน และกรดฟอสฟอรัส จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะสร้างเอนไซม์ Phytase, Phosphatase, Nucleotidases และ Glecerophosphatase เพื่อแปรสภาพอินทรีย์ฟอสฟอรัสให้อยู่ในรูปของอนินทรีย์ฟอสฟอรัสที่เรียกว่า ออโธฟอสเฟต (Orthophosphate) ซึ่งเป็นพวกโมโน (Mono) และ ไดไฮโดรเจนฟอสเฟต (Dihydrogen Phosphate)

จุลินทรีย์ดังกล่าวได้แก่ แบคทีเรียในสกุล Bacillus sp. และราในสกุล Aspergillus sp., Thiobacillus, Penicillium sp. และ Rhizopus sp. เป็นต้น

นอกจากนี้สารประกอบอนินทรีย์ฟอสฟอรัสบางชนิดในรูปของหินฟอสเฟตซึ่งพืชยังไม่ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้จุลินทรีย์บางชนิดในสกุล Bacillus sp. และ Aspergillus sp. จะสร้างกรดอินทรีย์ละลายฟอสฟอรัสออกมาให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้

นอกจากนี้เชื้อราไมคอร์ไรซา (Mycorrhizal Fungi) ยังมีบทบาทในการละลายและส่งเสริมการดูดใช้ธาตุฟอสฟอรัส บทบาทของจุลินทรีย์ในการทำให้เกิดการหมุนเวียนทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบๆ ตัวเรา

4. จุลินทรีย์ที่ผลิตสารป้องกันและทำลายโรคพืช :
จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันและยับยั้งการเจริญของเชื้อรา และแบคทีเรียพวกที่ก่อโรคบางชนิด เช่น กลุ่มแบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติก (Lactic Acids Bacteria) ได้แก่ Lactobacillus spp. บนใบพืชที่สมบูรณ์และมีสุขภาพดีแจะพบแบคทีเรียกลุ่มผลิตกรดแลคติกมาก จุลินทรีย์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่ต้องการออกซิเจน (Anaerobic Microorganisms) และมีประโยชน์อย่างมากในการเกษตร เช่น เปลี่ยนสภาพดินจากดินไม่ดีหรือดินที่สะสมโรคให้กลายเป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชให้มีจำนวนน้อยลง มีประโยชน์ทั้งกับพืชและสัตว์ นอกจากนี้ยังมีจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการสร้างสารปฏิชีวนะออกมาทำลา ลเชื้อโรคพืชบางชนิด เช่น เชื้อรา Aspergillus sp., Trichoderma sp. และเชื้อแอคติโนมัยซิทพวก Streptomyces sp.

5. จุลินทรีย์ที่ผลิตฮอร์โมนพืช :
แบคทีเรียหลายสายพันธุ์ เช่น Bacillus sp. สามารถสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน เป็นต้น ซึ่งสามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช

http://www.bionanothai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=48&Itemid=89

บทบาทของจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร :
1. ย่อยสลาย (กิน) อินทรีย์วัตถุและอนินทรีย์วัตถุแล้วถ่ายมูลออกมาเรียกว่า "กรดอินทรีย์" ส่วนที่เป็นธาตุอาหารพืชซึ่งอยู่ใน "รูป" ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ได้แก่ โพลิตินอล. ควินนอยด์. อโรเมติค. ซิลิลิค. ออแกนิค. ส่วนที่เป็นฮอร์โมนพืช ได้แก่ อ๊อกซิน (ไซโตคินนิน. จิ๊บเบอเรลลิน. เอทธิลิน. อีเทฟอน. อีเทรล. แอบซิสสิค. เอบีเอ. ไอเอเอ. เอ็นเอเอ.ฯลฯ) และส่วนที่เป็นท็อกซิก. ซึ่งมีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อโรคพืชได้

2. ปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน ทำให้ดินเป็นกลาง
3. จับยึดธาตุอาหารพืชจากอากาศไปไว้ในตัวเองแล้วปลดปล่อยให้แก่ต้นพืช
4. ปลดปล่อยปุ๋ยเคมีที่ถูกดิน (กรดจัด) ตรึงไว้ให้ออกมาเป็นประโยชน์แก่ต้นพืช
5. ตรึงปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่ลงไปไว้แล้วปลดปล่อยให้ออกมาช้าๆ เพื่อให้พืชได้มีเวลาดูดซับไปใช้งานได้ทันทีและสม่ำเสมอ

6. สลายฤทธิ์สารที่เป็นพิษต่อพืชให้เจือจางลงๆ จนกระทั่งหมดไปในที่สุด
7. กำจัดจุลินทรีย์ประเภทที่ไม่มีประโยชน์หรือเป็นโทษ (เชื้อโรค) ต่อต้นพืช
8. เกิดได้เองตามธรรมชาติภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ประโยชน์ของฮิวมัส :
1. ป้องกันการชะล้างหน้าดิน
2. ป้องกันเม็ดดินอัดตัวกันแน่นจนเป็นดินเหนียวจัด
3. รักษาความชุ่มชื้นของเม็ดดิน (ปุ๋ยอินทรีย์ 10 กก.เก็บน้ำได้ 19.66 ล.)
4. ลดและสลายสารพิษในดิน
5. กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
6. เสริมประสิทธิภาพของธาตุอาหารพืชที่ได้จากการสังเคราะห์แสง

เกร็ดความรู้เรื่อง "จุลินทรีย์" เพื่อการเกษตร :
- จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตแต่ไม่ใช่สัตว์หรือพืช เรียกว่า "สัตว์เซลล์เดียว" อาศัยอยู่ในแหล่งที่มีความชื้นตั้งแต่ระดับความชื้น 1-100 เปอร์เซ็นต์ ........ องค์การนาซาได้รายงานว่าพบจุลินทรีย์ในก้อนเมฆ และรายการ ทีวี.ดิสคัฟเวอรี่ แชลแนล ได้ให้ข้อมูลว่า ดิน 1 ลบ.ซม.มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ถึง 78 ล้านตัว

- จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ แบคทีเรีย. ไวรัส. ยีสต์. และรา. ซึ่งกลุ่มใหญ่ๆ เหล่านี้แยกออกเป็นประเภทต่างๆ อีกหลายประเภท เช่น

- ประเภทที่มีประโยชน์ (ฝ่ายธรรมะ) มีประสิทธิภาพในการสร้างและส่งเสริมปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร (ดิน-น้ำ-อุณหภูมิ-สายพันธุ์-โรค) ให้พืชเจริญเติบโต

- ประเภทที่ไม่มีประโยชน์หรือเชื้อโรค (ฝ่ายอธรรม) มีประสิทธิภาพในการทำลายปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร ทำให้พืชไม่เจริญเติบโตหรือตาย

- ประเภทไม่ต้องการอากาศ ชอบและอยู่ในดินลึกที่อากาศลงไปถึงได้น้อยหรือไม่มีอากาศเลย แต่ยังเป็นจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ต่อพืช มีพลังในการย่อยสลายเหนือกว่าจุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศ

- ประเภทต้องการอากาศ ชอบและอยู่บริเวณผิวหน้าดินที่อากาศผ่านหรือถ่ายเทสะดวก
- ประเภทต้องการความชื้นน้อย เจริญเติบโต ขยายพันธุ์ได้ดีภายใต้สภาพความชื้นน้อยๆ หรือแห้งแล้ง
- ประเภทต้องการความชื้นมาก เจริญเติบโตได้ภายใต้สภาพความชื้นที่เหมาะสม เช่น ชื้นพอดี ชื้นแฉะ น้ำขังค้าง

- ประเภทเกิดได้เร็ว เกิดและขยายพันธุ์ได้ในถังหมักหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมภายใน 3-10 วัน
- ประเภทเกิดได้ช้า เกิดและขยายพันธุ์ได้ในถังหมักหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต้องใช้ระยะเวลานานนับเดือนหรือหลายๆ เดือนทั้งจุลินทรีย์ประเภทเกิดได้เร็วและเกิดได้ช้า ถ้าเป็นจุลินทรีย์ฝ่ายธรรมะย่อมมีประโยชน์ต่อพืชเหมือนๆ กันดังนั้นการใช้จุลินทรีย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงควรใช้ทั้งจุลินทรีย์ประเภทหมักใหม่และหมักนานแล้วร่วมกัน

- การใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรที่เกี่ยวกับพืชให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรใช้ "ปุ๋ยอินทรีย์แห้ง" หรือ "ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ" ที่หมักนานข้ามปีแล้วกับที่หมักใช้การได้ใหม่ๆ ผสมกัน 1:1 จะได้ทั้งจุลินทรีย์ประเภทเกิดเร็วและประเภทเกิดช้า

- อาหารที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ คือ "รำละเอียด" และ "สารรสหวาน" เช่น กากน้ำตาล น้ำตาลในครัว น้ำหวานในเครื่องดื่มต่างๆในอัตราที่เหมาะสม ปริมาณของสารรสหวานมีผลต่อการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ทั้งสองชนิด กล่าวคือ

- สารรสหวานปริมาณมากเกินจะยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ทั้งจุลินทรีย์ดีและจุลินทรีย์โทษ
- สารรสหวานปริมาณที่น้อยเกินไปจะยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ดีและส่งเสริมการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์โทษ

- สารรสหวานปริมาณที่พอดีจะส่งเสริมการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ดี และยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์โทษ

- จุลินทรีย์ในถังหมักจะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง และขยายพันธุ์ได้ดีมากภายใต้อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส มีอากาศหมุนเวียน มีสารอาหาร และค่ากรด-ด่างที่เหมาะสมสำหรับชนิดของจุลินทรีย์

- การบำรุงจุลินทรีย์ประจำถิ่นสามารถทำได้โดยการโรยรำละเอียดบางๆ รดด้วยน้ำเจือจางสารรสหวานพอหน้าดินชื้น ใส่หรือคลุมทับด้วยอินทรียวัตถุ แสงแดดส่องถึงได้เล็กน้อย อากาศถ่ายเทสะดวก มีระดับความชื้นพอดี เมื่อจุลินทรีย์ได้รับสารอาหารและสภาพแวดล้อมเหมาะสมก็จะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง ขยายพันธุ์และทำหน้าที่ได้ดีเอง

- เนื่องจากพืชกินธาตุอาหารที่เป็นของเหลวด้วยการดูดซึม ไม่สามารถกินอาหารที่เป็นชิ้น แม้ว่าอาหารชิ้นนั้นจะมีขนาดเท่าปลายเข็มก็กินไม่ได้ แต่หากอาหารชิ้นเท่าปลายเข็มนั้นเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวแล้วนั่นแหละพืชจึงจะดูดซึมไปใช้ได้.........จุลินทรีย์ คือ ตัวทำหน้าที่ย่อยสลายอาหารพืชที่สภาพยังเป็นชิ้นๆ (อินทรีย์วัตถุ) ให้กลายเป็นของเหลวจนพืชสามารถดูดซึมผ่านปลายรากไปใช้ได้ จุลินทรีย์จึงเปรียบเสมือน "แม่ครัว" หรือผู้สร้างอาหารของต้นพืชนั่นเอง

แหล่งจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ ได้แก่
- บาซิลลัส ซับติลิส. ..................... มีอยู่ในตาติดเปลือกสับปะรดสด
- ฟังก์จัย. จินเจียงลินซิส. ................ มีอยู่ในฟางเพาะเห็ด
- คีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซา. .. มีอยู่ในเปลือกถั่วลิสง
- แอ็คติโนมัยซิส. ......................... มีอยู่ในเหง้า/รากกล้วย มูลสัตว์กินหญ้า
- แล็คโตบาซิลลัส. ....................... มีอยู่ในยาคูลท์ โยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยว
- แฟลงเกีย. .............................. มีอยู่ในสนทะเล สนประดิพัทธ์
- ไบโอโพลิเมอร์. คลาไมโดโมแนส. .... มีอยู่ในสาหร่ายน้ำจืด
- นอสท็อก. ............................... มีอยู่ในรากต้นปรง
- อะโซโตแบ็คเตอร์. ................... มีอยู่ในเหง้าหญ้าขน และหญ้าประเภทหน้าแล้งตายหน้าฝนฟื้น
- แอ็คติโนมัยเกรต. ซีอะโนแบคทีเรีย. อัลเกีย. ฟังก์จัยลิเซ่. ... เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นได้เองจากดินที่มีสภาพโครงสร้างเป็นกลางดีอย่างต่อเนื่อง และมีอินทรีย์วัตถุสะสมมานาน

ตรวจสอบจุลินทรีย์น้ำ :
สี :
น้ำตาลอ่อน ถึง น้ำตาลไหม้ แต่ไม่ถึงกับดำ ขึ้นอยู่กับปริมาณกากน้ำตาล
กลิ่น : หวานอมเปรี้ยว ออกฉุดนิดๆ ดมแล้วไม่เวียนหัว ไม่น่ารำคาญ ถ้ามีกลิ่นเหม็นเน่า นั่นคือ จุลินทรีย์กลุ่มแบคทีเรีย (เชื้อโรค)

กาก : ส่วนที่อ่อนนิ่ม ถึง เละ จะนอนก้น ส่วนที่แข็งหยาบจะลอยหน้า
ฝ้า : สีขาวอมเทา พวกนี้เป็นจุลินทรีย์กลุ่ม "รา" ที่ตายแล้ว เมื่อคนลงไปจะกลายเป็นสารอาหารของพวกที่ยังไม่ตาย

ฟอง : ปล่อยวางนิ่งๆ จะมีฟองเล็กๆ ละเอียดๆ ผุดขึ้นมาจากด้านล่างของภาชนะหมัก เกิดจากกระบวนการจจุลินทรีย์ (ไม่แน่ใจว่าจุลินทรีย์หายใจหรือเปล่า เพราะจุลินทรีย์ไม่มีปอด) ฟองผุดบ่อยๆ ฟองขนาดใหญ่ แสดงว่าจุลินทรีย์มากและแข็งแรง ถ้าไม่มีฟองก็แสดงว่าไม่มีจุลินทรีย์

รูปลักษณ์ : ขุ่น ใส มีตะกอนละเอียดแขวนลอย
กรด-ด่าง : ค่า พีเอช 4.0- 6.0

ทดสอบ :
กรอกใส่ขวด แล้วปิดปากขวดด้วยลูกโป่ง ทิ้งไว้ในร่ม อุณหภูมิห้อง ไม่คนไม่เขย่า นาน 24 - 48 - 72 ชม. สังเกตุ.....

1. ลูกโป่งพอโต โตมากแสดงว่ามีจุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศจำนวนมาก แข็งแรง พองน้อยจุลินทรีย์น้อย ไม่พองเลยก็แสดงว่าไม่มีจุลินทรีย์

2. ช่วงแรกที่ลูกโป่งพอโต ต่อมาลูกโป่งยุบแล้วถูกดูดเข้าไปในขวด กรณีนี้เกิดจากจุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศ ก็แสงดงว่าจุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศตายหมดแล้ว จุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศเกิดขึ้นมาแทน

3. บรรจุขวดพลาสติกเปล่า ปิดฝาสนิท แน่น วางทิ้งไว้ ถ้าขวดบวมพองออกแสดงว่าเป็นจุลินทรีย์ดี เป็นจุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศ ถ้าขวดไม่บวมพองหรือบวมพองน้อยก็หมายถึงจุลินทรีย์เหมือนกัน ก็ได้

4. บรรจุขวดช่วงแรกขวดบวมพอง ต่อมาขวดยุบบุบบู้บี้ แสดงว่า จุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศตายหมดแล้ว จุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศเกิดขึ้นมาแทน

หมายเหตุ :
- จุลินทรีย์ คือ สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่สุด ได้แก่ รา-แบคทีเรีย-ไวรัส วงจรชีวิตประกอบด้วย เกิด-กิน-ถ่าย-ขยายพันธุ์-ตาย....ประเภทต้องการอากาศ ต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีอากาศ ถ้าไม่มีอากาศจะตาย....ประเภทไม่ต้องการอากาศ ต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่มีอากาศ ถ้ามีอากาศจะตาย

- การบรรจุในขวดปิดสนิทแน่น อากาศเข้าไม่ได้ จุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศจะใช้อากาศที่พอมีอยู่ในขวดนั้นเพื่อการดำรงชีวิต ช่วงนี้จุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศจะยังไม่เกิด ครั้นเมื่ออากาศในขวดหมด จุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศ เกิดอาการขาดอากาศจึงตาย พร้อมกันนั้นจุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศก็เริ่มเกิดแล้วเจริญเติบโต

- จุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศ อาศัยอยู่บริเวณผิวดินที่อากาศผ่านได้ ส่วนจุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศอาศัยอยู่ใต้ดินลึกบริเวณที่อากาศลงไปไม่ถึง....จุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศมีพลังในการย่อยสลายสูงกว่าจุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศ

---------------------------------------------------------------------------------


.