kimzagass |
ตอบ: 22/04/2016 11:51 am ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรทางวิทยุ 22APR *สมุน'ไพร(50),นายก-แล้ง,จาว |
|
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตทางรายการวิทยุ 22 APR
AM 594 เวลา 06.30-07.00 (ทุกวัน) และ 08.10-09.00 (จันทร์-ศุกร์)
********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
@@ สนับสนุนรายการโดย ...
* บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
http://kasate.site88.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1
* ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
http://www.mysuccessagro.com
* บ.มายซัคเซส อะโกร---ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986
----------------------------------------------------------------------------------------------
ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ เคมี)
1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) คุณชาตรี (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)
3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) คุณล่า (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี
5) คุณประเสริฐ (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) คุณพรพรรณ (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
7) คุณน้ำส้ม (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)
----------------------------------------------------------------------------------------
@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :
** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม
** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)
มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
...... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .......
...... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .......
------------------------------------------------------------------------
สารสมุนไพร (50)
การทำ .... สมุนไพรกำจัดแมลงศัตรูพืช ! !
กลอย :
ใช้ หัวกลอย กำจัดเพลี้ยแป้ง
ในหัวกลอยจะมีสารพิษที่ชื่อว่า ไดออสคารีน ที่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด จึงเป็นการ เหมาะที่จะหัวหลอยมาหมักเพื่อใช้กำจัดแมลงทางการเกษตร โดยเฉพาะการมาใช้ในการกำจัดเพลี้ยแป้ง ซึ่งให้ผลดีชะงัด
การทำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพจากหัวกลอย :
วิธีการทำ :
- หัวกลอยดิบ จำนวน 10 กิโลกรัม สับเป็นชิ้นเล็กๆ บางๆ ใส่ในถัง ใส่น้ำพอดีท่วมหัวกลอย หมักไว้เป็นเวลา 3 วัน จะได้น้ำหมักชีวภาพจากกลอยเป็นสีขาวข้น
ประโยชน์และการนำไปใช้ :
- ใช้เพื่อขับไล่เพลี้ยแป้งโดยเฉพาะ และฉีดพ่นเมื่อพบเพลี้ยแป้งระบาดในแปลงพืช ในอัตราน้ำ หมักกลอย 1 ส่วน ผสมกับน้ำเปล่า 1 ส่วน ฉีดพ่นในตอนเย็นช่วงที่ไม่มีแดด
-----------------------------------------------------------
กระทกรก :
ใช้ กระทกรก กำจัดด้วงถั่วเขียว
วิธีการใช้ : โดยจะใช้ทั้งต้น ตำคั้นน้ำ แล้วผสมน้ำคั้นที่ได้กับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 20 ลิตร ฉีดพ่น หรือจะใช้ผสมกับสมุนไพรกำจัดแมลงชนิดอื่น ก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดแมลง และยับยั้งการเกิดเป็นตัวของไข่แมลงด้วงถั่วเขียวได้เป็นอย่างดี
----------------------------------------------------------------
พริกไทย :
พริกไทย มีรสเผ็ดร้อน เป็นสารที่เกิดอันตรายต่อสัตว์ขนาดเล็ก จึงสามารถป้องกันหนอนและแมลงศัตรูพืชได้แทบทุกชนิด
วิธีการนำพริกไทยมาใช้เป็นสารกำจัดแมลงศัตรูพืช :
นำเมล็ดพริกไทยมาตำ คั้นเอาน้ำ หรือต้มเอาน้ำ หรือกลั่นเอาน้ำ เมื่อได้ความเข้มข้นแล้วจึงนำไปผสมน้ำให้ได้ความเข้มข้นพอประมาณ โดยใช้อัตราส่วน น้ำเปล่า 20 ลิตร ต่อน้ำสกัดสมุนไพร 1 ลิตร
วิธีการใช้อาจให้ไปกับระบบน้ำในช่วงเย็นและค่ำ (เท่านั้น) และใช้ซ้ำทุกๆ 2-3 วัน (การพิจารณาใช้ซ้ำนั้น ขึ้นอยู่กับจำนวนแมลงที่เข้ามาทำลายให้เกิดความเสียหายในแปลงพืช และการใช้สารสกัดจากสมุนไพรนั้นจะไม่ให้ผลทันทีทันใดเหมือนการใช้สารเคมี จำต้องใช้ซ้ำให้บ่อยครั้งกว่าการใช้สารเคมี และสลับตัวยาสมุนไพรในการใช้กำจัดแมลง เพื่อป้องกันแมลงดื้อยา)
---------------------------------------------------------------
จาก : (087) 066-37 xx
ข้อความ : น้ำแล้งโทษนายก แต่ตอนน้ำท่วมไม่โทษนายก นี่คนไทยหรือ .... นิมิต ดำเนิน
ตอบ 1 :
- เป็นความบกพร่องของอดีตนายก ทุกคน/ทุกสมัย/ทุกรัฐบาล ที่ผ่านมา สั่งการแล้ว/ให้นโยบายแล้ว แต่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติ ไม่ได้ปฏิบัติ คือ ไม่ได้ทำ แถมผู้สั่งการ/ผู้ให้นโยบาย ขาดการติดตามผลงานอีกด้วย แล้งคือแล้ง ท่วมคือท่วม แล้งแล้งท่วมท่วม ท่วมท่วมแล้งแล้ง
.... ที่ไหนท่วม แก้ไขโดย ระดมเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ 20 เครื่อง ระดมเรือรบเดินเครื่องดันน้ำ 10 ลำ เพื่อ เร่งเร่งเร่ง เร่งระบายน้ำลงทะเล ครั้นระบายน้ำลงทะเลหมดก็กลายเป็นแล้งอย่างเดิม หลักการบริหารน้ำแบบนี้ รัฐบาลไทย-ศาสตราจารย์ดอกเตอร์ไทย ไม่รู้ แก้ไขไม่ได้ .... ถุย !
.... โครงการ "โขงชีมูล" คิดมาตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษฏิ์ ธนะวัชต์ จนป่านนี้ยังสร้างไม่ได้
.... โครงการผันน้ำด้วยไฟฟ้าจาก ม.โขง ทุกระยะ 50 กม. (ของกระทรวงไหนไม่รู้) วันนี้ก็ยังอยู่ ฤดูกาลปกติสูบน้ำเข้ามาในแผ่นดินแค่ระยะ 25 กม. (ตามกฏหมายระหว่างประเทศ) แต่ถ้าน้ำท่วมตลิ่ง สูบน้ำเข้ามาได้ไกลไม่อั้น ทำไมไม่สูบเข้ามาแล้วกักเก็บไว้ตามแก้มลิง (สร้างขึ้นมา)
.... โครงการสูบน้ำบาดาล "บึงสีไฟ" เอาน้ำไต้ดินลึก ที่อยู่ไต้บึงขึ้นมาบนบึงได้ เริ่มทำเมื่อก่อนสงกรานต์ 2 อาทิตย์ กระทั่งได้น้ำให้คนเล่นสงกรานต์สมประสงค์ .... สงกรานต์ผ่านไป 2 อาทิตย์แล้ว (22 APR) การสูบน้ำบาดาลไต้บึงเอาน้ำขึ้นมาอยู่บนบึงยังสัมฤทธิ์ผล ผู้ว่า (ผู้หญิง) สั่งสูบน้ำต่อ สูบขึ้นมาให้เต็มบึงสีไฟ แล้วให้ไหลล้นไปตามแม่น้ำพิจิตร หรือสูบต่อไปจนกว่าจะสั่งหยุด .... ที่บึงสีไฟทำได้ บึงอื่นทำไมทำไม่ได้
google....พิจิตรแล้งหนัก เร่งเจาะบ่อบาดาลเติมน้ำบึงสีไฟ .... คลิก
google... ผันน้ำเข้าบึงสีไฟฟื้นระบบนิเวศน์จากภัยแล้ง....คลิก
คลิก
http://www.nationtv.tv/main/content/social/378496415/
"เดินเครื่องสูบน้ำใต้ดินเติมบึงสีไฟ"
.... ที่พิษณุโลก น้ำในห้วยแห้งสนิทจนดินแตกระแหง ทหาร ป.พัน.104 สูบน้ำบาดาลไต้ลำห้วยขึ้นมาอยู่บนห้วย (เดิม) แล้วไหลตามห้วยไปแปลงเกษตรได้ .... พิษณุโลกทำได้ ที่อื่นทำไมทำไม่ได้
- นายกคนปัจจุบัน สั่งการแล้ว/ให้นโยบายแล้ว รู้กันทั่วแผ่นดิน แม้แต่คนหูหนวกตาบอดก็รู้ อันนี้ต้องรอ 1-2-3 ปี ข้างหน้าจึงจะเห็นผลงานว่า ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติ ได้ปฏิบัติหรือไม่ได้ปฏิบัติ เพราะอะไร ? แต่ดูเหมือน ผู้สั่งการ/ผู้ให้นโยบาย ก็ขาดการติดตามผลงาน หรือสั่งทิ้งสั่งขว้าง ส่วนนโยบายก็เป็นแค่กระดาษเปื้อนหมึกธรรมดาๆ อีกเหมือนกัน
.... วันนี้ รัฐบาลนี้พูดถึง โครงการผันน้ำจาก "สารวิน" ก็ไม่รู้อีกเหมือนกันว่า จะได้สร้างหรือไม่
.... วันนั้น วันที่นายกชั่วคราวไปแล้ว รัฐบาลเลือกตั้งเข้ามา เขาจะทำอะไรหรือไม่ทำอะไรตามที่นายกชั่วคราว สั่งการ/ให้นโยบาย ไว้หรือไม่ .... ไม่ทราบ
.... วันนี้ ทีวี.ทำข่าวเฉพาะพื้นที่แห้งแล้ง ดินแตกระแหง ใครเห็นก็สลดหดหู่หมดกำลังใจ แต่ถ้า ทีวี.ไปทำข่าวชาวนาเจาะบาดาลในแปลงนาตัวเอง บาดาลส่วนตัว ได้น้ำขึ้นมาใช้งาน แล้วสัมภาษณ์ คุณป้าคุณลุงคุณตาคุณยาย ว่า มีความคิดเริ่มต้นอย่างไร ? ทำอย่างไร ? ราคาเท่าไหร่ ? ใช้งานได้ดีแค่ไหน ? ข่าวแบบนี้จะเป็น "แรงบันดาลใจ" ให้กับคนที่ไม่ได้ทำบ้างไหม ?
.... ทำข่าวเฉพาะพื้นที่แล้ง นั่นแหละข่าว "หมากัดคน"
.... ทำข่าวเจาะบาดาลแก้แล้งได้ นั่นแหละข่าว "คนกัดหมา"
*** ฉะนี้แล้ว ผู้ที่จะช่วยเหลือเกษตรกรได้ คือ "คน ใน กระ จก" เท่านั้น ว่ามั้ย ?
--------------------------------------------------------------------
จาก : (089) 791-52 xx
ข้อความ : สวัสดีครับ ผมต้องการซื้อจุลินทรีย์จาวปลวก ขอทราบข้อมูลการจ่ายเงิน การจัดส่งด้วยครับ ....
ตอบ 2 :
ไม่ได้ขาย แม้แต่คิดก็ไม่เคย แต่ส่งเสริมแนะนำบอกกล่าว สารพัดวิธี ให้ ทำเอง .... ทำใช้ ทำขาย ทำแจก ทำเททิ้ง ....
วิธีทำจุลินทรีย์จาวปลวก :
- น้ำ 10 ล. + กากน้ำตาล 1 ล. (10 : 1) คนเคล้าให้เข้ากันดี อยู่ในร่ม อุณหภูมิห้อง
- ใส่จาวปลวก สด ใหม่ ใหญ่ สมบูรณ์ บดพอแตก 1-2-3-4 กำมือ คนเค้าให้เข้ากันดี
- ติดปั๊มอ๊อกซิเจน (ตู้ปลา) ให้ออกซิเจนตลอด 24 ชม. นาน 3-5-7 วัน ได้หัวเชื้อพร้อมใช้งาน หรือต่อเชื้อ
หมายเหตุ :
- ดินในใจกลางจอมปลวก รูปร่างลักษณะเหมือนรังผึ้ง รังต่อ รังแตน (ช่อง 6 เหลี่ยม) สำหรับวางไข่ ทายาทของปลวก
- ดินจาวปลวกเกิดจาก พืชสดบดละเอียดที่ปลวกกัดหรือกินก็สุดแท้ กลายเป็นลิกนิน +น้ำลายปลวก ทำปฏิกิริยากัน เกิดเป็นจุลินทรีย์กลุ่มย่อยสลายอินทรีย์วัตถุเศษซากพืชโดย เฉพาะ
- นำจุลินทรีย์หัวเชื้อ 1 ล. ผสมน้ำขายเชื้อ (น้ำ 10 ล. + กากน้ำตาล 1 ล.) แล้วให้ออกซิเจน 3-5-7 วัน จะได้จุลินทรีย์ชุดใหม่ พร้อมใช้ดีอีก
- ทดสอบจุลินทรีย์ ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ในขวดน้ำดื่ม ปิดปากขวดด้วยลูกโปร่ง ปล่อยให้ในร่ม อุณหภูมิห้อง ทิ้งไว้ 1-2-3-4 วัน ลูกโปร่งจะพอโตขึ้นๆ ๆๆ ๆๆ เพราะได้อากาศจากจุลินทรีย์ ในขวดนั้น
.... ลูกโปร่งโตดีและเร็ว แสดงว่า จุลินทรีย์ดี มีมาก แข็งแรง
.... ลูกโปร่งโตน้อยและช้า แสดงว่า จุลินทรีย์ไม่ดี มีน้อย ไม่แข็งแรง
.... เลี้ยงจุลินทรีย์ในลูกโปร่งนานๆ ลูกโปร่งจะยุบ ขนาดเล็กๆ ๆๆ ๆๆ จนหายไปในขวด นั่นคือ จุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศตายหมดแล้ว เพราะระหว่างนั้นจุลินทรีย์ไม่ได้รับอากาศเลย แต่จุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศ (NON AIROBIC) จะเกิดขึ้นมาแทย เพราะในขวดลูกโปร่งไม่มีอากาศ จุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศก็จะขยายพันธุ์เพิ่มจำนมากขึ้นๆ ๆๆ ๆๆ นั่นเอง
*** วิธีการขยายเชื้อ ทดสอบ ใช้ได้กับจุลินทรีย์เพื่อการเกษตรได้ทุกชนิด
- จุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศ มีพลังในการย่อยสลาย มากกว่า/สูงกว่า/เร็วกว่า/ดีกว่า จุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศหลายเท่า
(ในถังหมักระเบิดเถิดเทิง ใส่ส่วนผสมทุกอย่างลงตัวแล้ว จะไม่คนก้นถัง เพราะไม่อยากรบกวนจุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศที่ก้นถัง จะคนแต่ปากถัง เพื่อเติมอากาศให้จุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศเท่านั้น)
- จุลินทรีย์ชนิดน้ำ บรจุขวด ปิดสนิท เก็บนาน นั่นคือ จุลินทรีย์ประเภทไม่ต้อง การอากาศทั้งนั้น
- จุลินทรีย์ชนิดผง เป็นทั้งประเภทต้องการอากาศ และไม่ต้องการอากาศ ตามกรรม วิธีในการผลิต (ตอนผลิตเป็นน้ำ เพราะผลิตในน้ำขยายเชื้อ .... น้ำขายเชื้อ คือ น้ำ 10 ล. กาก น้ำตาล 1 ล. หรือ 10 : 1) ได้มาแล้วคลุกใน แป้งข้าวโพด หรือมูลม้าบดละเอียด บรรจุลงถุงสุญญกาศ เพื่อ STOP จุลินทรีย์ หรือทำให้หลับ เก็บในตู้เย็นอยู่ได้นานกว่าเก็บในอุณหภูมิ ห้องธรรมดาๆ .... ก่อนใช้งาน ปลุกให้ตื่นก่อน โดยใส่ในน้ำขยายเชื้อ เต็มออกซิเจน นาน 1-2-3 วัน ก็จะได้ หัวเชื้อเข้มข้น พร้อมใช้งาน
-------------------------------------------------------------
หลากหลายจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร :
1. จุลินทรีย์ธรรมชาติ (ทำเอง)
2. จุลินทรีย์ อีแอบ.
3. จุลินทรีย์ อีแอบ. ซุปเปอร์
4. จุลินทรีย์หน่อกล้วย
5. จุลินทรีย์เปลือกถั่วลิสง
6. จุลินทรีย์ก้นครัว
7. จุลินทรีย์ฟังก์จัย
8. จุลินทรีย์ ไอเอ็มโอ.
9. จุลินทรีย์นมสด
10. จุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง
บทบาทของจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร
1. ย่อยสลาย (กิน) อินทรีย์วัตถุและอนินทรีย์วัตถุแล้วถ่ายมูลออกมาเรียกว่า "กรดอินทรีย์" ส่วนที่เป็นธาตุอาหารพืชซึ่งอยู่ใน "รูป" ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ได้แก่ โพลิตินอล. ควินนอยด์. อโรเมติค. ซิลิลิค. ออแกนิค. ส่วนที่เป็นฮอร์โมนพืช ได้แก่ ออกซิน (ไซโตคินนิน. จิ๊บเบอเรลลิน. เอทธิลิน. อีเทฟอน. อีเทรล. แอบซิสสิค. เอบีเอ. ไอเอเอ. เอ็นเอเอ.ฯลฯ) และส่วนที่เป็นท็อกซิก. ซึ่งมีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อโรคพืชได้
2. ปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน ทำให้ดินเป็นกลาง
3. จับยึดธาตุอาหารพืชจากอากาศไปไว้ในตัวเองแล้วปลดปล่อยให้แก่ต้นพืช
4. ปลดปล่อยปุ๋ยเคมีที่ถูกดิน (กรดจัด) ตรึงไว้ให้ออกมาเป็นประโยชน์แก่ต้นพืช
5. ตรึงปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่ลงไปไว้แล้วปลดปล่อยให้ออกมาช้าๆ เพื่อให้พืชได้มีเวลาดูดซับไปใช้งานได้ทันทีและสม่ำเสมอ
6. สลายฤทธิ์สารที่เป็นพิษต่อพืชให้เจือจางลงๆ จนกระทั่งหมดไปในที่สุด
7. กำจัดจุลินทรีย์ประเภทที่ไม่มีประโยชน์หรือเป็นโทษ (เชื้อโรค) ต่อต้นพืช
8. เกิดได้เองตามธรรมชาติภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ประโยชน์ของฮิวมัส
1. ป้องกันการชะล้างหน้าดิน
2. ป้องกันเม็ดดินอัดตัวกันแน่นจนเป็นดินเหนียวจัด
3. รักษาความชุ่มชื้นของเม็ดดิน (ปุ๋ยอินทรีย์ 10 กก.เก็บน้ำได้ 19.66 ล.)
4. ลดและสลายสารพิษในดิน
5. กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
6. เสริมประสิทธิภาพของธาตุอาหารพืชที่ได้จากการสังเคราะห์แสง
แหล่งจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ :
- บาซิลลัส ซับติลิส. มีอยู่ในตาติดเปลือกสับปะรดสด
- ฟังก์จัย. จินเจียงลินซิส. มีอยู่ในฟางเพาะเห็ด
- คีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซา. มีอยู่ในเปลือกถั่วลิสง
- แอ็คติโนมัยซิส. มีอยู่ในเหง้า/รากกล้วย มูลสัตว์กินหญ้า
- แล็คโตบาซิลลัส. มีอยู่ในยาคูลท์ โยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยว
- แฟลงเกีย. มีอยู่ในสนทะเล สนประดิพัทธ์
- แอ็คติโนมัยเกรต. ซีอะโนแบคทีเรีย. อัลเกีย. ฟังก์จัยลิเซ่. เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นได้เองจากดินที่มีสภาพโครงสร้างเป็นกลางดีอย่างต่อเนื่อง และมีอินทรียวัตถุสะสมมานาน
- ไบโอโพลิเมอร์. คลาไมโดโมแนส. มีอยู่ในสาหร่ายน้ำจืด
- นอสท็อก. มีอยู่ในรากต้นปรง
- อะโซโตแบ็คเตอร์. มีอยู่ในเหง้าหญ้าขน และหญ้าประเภทหน้าแล้งตายหน้าฝนฟื้น
--------------------------------------------------------------------
. |
|