kimzagass |
ตอบ: 14/07/2011 4:08 pm ชื่อกระทู้: Re: ผมสงสัยจริงๆ (เรื่องอ้อย) ........................ BBEA |
|
[quote="kimzagass"]
จาก : BBEAM
ถึง : kimzagass
ตอบ : 14/07/2011 12:54 pm
ชื่อกระทู้ : ผมสงสัยจริงๆ
ข้อเปรียบเทียบมี 2 กรณี คือ การใส่ปุ๋ยแบบหว่านด้วยมือ กับการละลายด้วยน้ำฉีดใส่ดินโดยเครื่องสะพายหลัง
ถามลุงคิมครับ
คำถามที่1
สำหรับชาวบ้านอย่างผมและท่านอื่นที่มีต้นทุนต่ำ การหว่านปุ๋ยใส่อ้อยหรือมันสำปะหลังด้วยมือ จะทำให้ใช้ในปริมาณมาก ดังนั้น ผมอยากทราบว่าการนำปุ๋ยทางดินมาละลายน้ำแล้วฉีดใส่ดินด้วยเครื่องสะพายหลัง (อยากติดตั้งสปริงเกอร์อยู่แต่งบยังไม่มี) ที่มีความชื้นหลังฝนตก จะทำให้เห็นผลเหมือนกันกับการหว่านหรือเปล่าครับ..... สำหรับผมขอแค่ใบใหญ่ เขียวเข้มก็พอ เพราะการทำให้ต้นมีลำใหญ่เป็นเรื่องที่ยากสำหรับผมครับ (ผมไม่มีความรู้การดูแลอ้อยมากเท่าไร พึ่งจบแค่ ปวส.)
ตอบ :
- ละลายปุ๋ยในน้ำก่อนแล้วฉีดลงบริเวณโคนดีกว่า เพราะปุ๋ยกับน้ำจะซึมลงดินไปถึงรากพืชทันที เนื้อปุ๋ยที่ละลายน้ำแล้วลงไปในดิน โดยไม่โดนแดดโดนลม คุณสมบัติของปุ๋ยจะไม่เปลี่ยน แต่การหว่านหรือหยอดทั้งๆที่ยังเป็นเม็ด ต้องรอน้ำ (คนรด/ฝนตก) ไปละลายเม็ดปุ๋ยก่อน นั่นแหละปุ๋ยจึงจะลงไปหารากพืชให้พืชได้กิน แล้วเม็ดปุ๋ยที่โดนแดดโดนลมนานๆ คุณสมบัติของเนื้อปุ๋ยก็จะเปลี่ยนด้วย
- ให้ปุ๋ยขณะดิน ชุ่ม/ชื้น ถือว่าดีมากๆ ยิ่งให้กลางสายฝนได้ยิ่งดีใหญ่
- ให้ปุ๋ยทางรากตอนค่ำดีที่สุด เพราะธรรมชาติพืชดูด น้ำ+ปุ๋ย จากพื้นดินเข้าสู่ลำต้นตอนกลางคืน แล้วก็ส่งอาหารจากใบลงสู่ลำต้นตอนกลางวัน
- ดิน คือ ที่กินที่อยู่ของต้นพืช ใส่ปุ๋ยลงไปในดินแล้วต้นพืชยังไม่สามารถเอาไปกินทันทีทันใดได้ ต้องผ่านกระบวนการจุลินทรีย์ให้เรียบร้อยเสียก่อน นั่นแหละพืชจึงจะเอาไปกินได้
- ต้องการให้ใบพืช (ทุกชนิด) ใหญ่ หนา เขียวเข้ม ลอง (เน้นย้ำ...ลอง) ให้ปุ๋ย 3 : 1 : 1 + แม็กเนเซียม ทั้งทางใบทางรากดูซิว่าจะดีขึ้นไหม ?
- จบถึง ปวช. ดูถูกตัวเองหรือน้อยใจอะไร ต้องเรียนจบขนาดไหนถึงจะพอใจ ...... คุณชาตรี (081)841-9874 คนของลุงคิม อยู่สวนผึ้ง ราชบุรี จบ ป.4 ทำอ้อย 20 ไร่ ตอ 8 ใส่ปุ๋ย 8-24-24 ไม่ถึงกระสอบ ได้ผลผลิต 14 ตัน กับอีกหลายคน ทั่วประเทศ ที่ประสบความสำเร็จมากกว่าคนจบปริญญา ..... ลุงคิมจบ ม.6 สมัยเก่า เท่ากับ ม.3 ปัจจุบัน ไม่มี ปวช. - ปวส. - ปรินแหยะ อะไรทั้งสิ้น ยังทำอะไรต่อมิอะไรได้เหมือนด็อกเตอร์ทำ .... งานนี้ แพ้/ชนะ กันที่ใจ
คำถามที่ 2
ช่วงนี้มีฝนตกบ้างตอนกลางคืน ผมสามารถผสมปุ๋ยทางรากไปกับไบโออิได้ไหมครับ ผมทราบครับว่า ปุ๋ยสำหรับหว่านทางดินมีโมเลกุลใหญ่ไม่สามารถผ่านปากใบได้ แต่ไม่ใช่ปัญหา เพราะถ้าฝนตกโมเลกุลเหล่านั้นก็จะตกลงสู่ดินเอง แต่ปัญหา คือสามารถใช้วิธีการผสมรวมกับน้ำดำได้หรือเปล่า ถ้าได้ควรใช้อัตราเท่าใด อัตราการใช้ดังนี้เพียงพอหรือจะเป็นโทษไหมครับ ที่สำคัญกลัวเหนื่อยเปล่า
น้ำ 200 ลิตร + น้ำหมักชีวภาพ 3.0 cc. + ไบโออิ 300 cc. + ปุ๋ยทางดิน สูตรตามระยะการเจริญเติบโต 2 กิโลกรัม ฉีดพ่นทางใบด้วยเครื่องสะพายหลัง
น้ำ 200 ลิตร + น้ำหมักชีวภาพ (มูลค้างคาว) 500 cc. + ปุ๋ยทางดินสูตรตามระยะการเจริญเติบโต 10 กิโลกรัม + สารบำรุงดิน 300 cc. ฉีดพ่นใส่ดินด้วยเครื่องสะพายหลังหัวฉีดแบบฉีดยากำจัดวัชพืช (ดินจะเป็นไงครับเนี่ย แต่ผมจะวัดกรด ด่างก่อนเสมอ)
ตอบ :
- ปุ๋ยทางดิน ต้นพืชรับได้เฉพาะทางรากทางเดียว
- ปุ๋ยทางใบ ต้นพืชสามารถรับได้ทั้งทางรากและทางใบ (2 เด้ง) แต่ปุ่ยทางใบราคาแพงกว่าปุ๋ยทางราก เมื่อปุ๋ยทางใบใช้น้อย บวกลบแล้ว ปุ๋ยทางใบจึงราคาถูกกว่าปุ๋ยทางดิน
- คุณได้ไบโออิมาจากไหน (ซื้อที่ใคร) เพราะเท่าที่ลุงคิมขายตรงเองไม่เคยมีลูกค้าคนไหนเอาไปใช้กับอ้อยเลย ถ้าซื้อกับลุงคิม ลุงคิมก็จะไม่แนะนำให้ใช้ไบโออิทางใบกับอ้อย แต่จะแนะนำให้ทางรากแทน......(อ้างอิงหลักวิชาการ : ปุ๋ยทางใบต่ออ้อย ได้ผลน้อยกว่าปุ๋ยทางราก)
- ใบไบโออิ มี Mg. Zn. Urea. เป็นพระเอก เป็นปุ๋ยประเภทให้ทางใบโดยตรงซึ่งสามารถให้ทางดินได้ (2 เด้ง อย่างที่บอก) เพราะฉนั้น ก่อนใช้งานคุณจะผสมกับปุ๋ยธาตุหลักสูตรไหนก็ได้ เพียงแต่ถ้าจะให้ทางใบก็ผสมปุ๋ยประเภทให้ทางใบ หรือถ้าจะให้ทางดินก็ผสมปุ๋ยประเภทให้ทางดิน สำคัญแต่ว่า จะผสมปุ๋ยสูตรไหน เท่านั้นแหละ.....กรณีอ้อยระยะต้นเล็ก ถ้าคุณต้องการใบ ใหญ่ หนา เขียวเข้ม ก็ผสม 3 : 1 :1 ลงไป ซัก 3-5 กก./ไร่/เดือน.....ถ้าเป็นลุงคิมจะแนะนำให้ใช้ "ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10" เหตุผลเพราะ
1) ได้ 3 : 1 :1 ธาตุหลัก
2) ได้ Mg - Zn ธาตุรอง
3) ได้ NAA. B-1 บำรุงราก
4) ได้ TE ธาตุรอง/ธาตุเสริม
5) ได้จุลินทรีย์ และแหล่งพลังงานจุลินทรีย์
6) ได้สารอาหารอื่นๆ จากส่วนผสมที่หมักนาข้ามปี (
แบบนี้ประหยัด แล้วอ้อยก็ได้ประโยชน์กว่าไหม ?
- อ้อยชอบ "ซิลิก้า" นะ ใส่หินภูเขาไฟด้วยซี่ ซัก 4-5 กก./ไร่/รุ่น ก็พอ....ซิลิก้า.มีในเปลือกต้นอ้อย ในพืชตระกูลหญ้า (ฟางข้าวมีมากที่สุด) ถ้าไถกลบเศษซากต้นอ้อยลงดิน ก็ได้ซิลิก้ามหาสาลแล้ว ถ้าไม่ไถกลบ ปล่อยคลุมหน้าดินอยู่อย่างนั้น แล้วหาวิธีส่งจุลินทรีย์ (น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง ไง ฉีดพ่นราดทับลงไปเลย) ทั้งจุลินทรีย์ในน้ำหมัก และจุลินทรีย์ประจำถิ่นจะช่วยกันรุมย่อยสลายเศษซากใบอ้อยได้ พอๆกับไถกลบ แต่ต้นทุนต่ำกว่า..... งานแบบนี้ ยาก/ง่าย อยู่ที่ใจอีกนั้นแหละ
ฉนี้แล้ว คิดจะทำ "น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง" ไว้ใช้งานเองไหม ?
คำถามที่ 3
การทำไบโออิ เริ่มจากการผสมส่วนผสมที่เป็นของเหลวก่อนเสมอใช่ไหมครับ แล้วกรณีที่อย่างสาหร่ายทะเลที่หาซื้อแบบน้ำง่ายกว่า นำมาใช้แทนได้ไหมครํบ ใส่ทั้งขวดเลย 1,000 cc อย่างนี้ต้องใส่ตามลำดับ คือ ใส่ก่อนฮิวมิคหรือเปล่าครับ หรือใส่หลังกลูโคสที่เป็นน้ำเหมือนกัน แล้วค่อยใส่ ปุ๋ยธาตุหลัก
การทำไบโออิ สามารถผสมสารอาหารพืชที่นอกเหนือจากสูตรเพิ่มเข้าไปในสูตรเดิมได้ไหมครับ ผมกลัวแค่ว่าประสิทธิภาพของน้ำดำจะลดลง
ตอบ :
คำตอบอยู่ที่ไร่กล้อมแกล้ม....
คำถามที่ 4
ผมจะอธิบายอย่างไงให้แม่ผมเข้าใจครับว่า ไอ้ที่ผมฉีดทางใบด้วยน้ำดำเนี่ยมันจะดีกว่าไม่ทำอะไรเลย เพราะแม่ผมบอกว่ามันไม่เห็นเกิดอะไรขึ้นเลย(ฉีดมาแล้ว 3 ครั้งแต่ละครั้งห่างกัน 10-15 วัน) ผมเองก็ไม่รู้จะทำอย่างไงหรือว่าผมใช้อัตราที่น้อยเกินไปครับ
อัตราที่ผมใช้ปกติดังนี้
น้ำ 200 ลิตร + น้ำหมักชีวภาพ 200 CC. และ + Bioi 300 cc ฉีดให้ทางใบด้วยเครื่องสะพายหลังครับ แล้วถ้าเพิ่มอัตราการใช้เป็น
น้ำ 200 ลิตร + น้ำหมักชีวภาพ 300 cc.+ Bioi 500 cc. ฉีดให้ทางใบด้วยเครื่องสะพายหลังเช่นเดิม จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตจนกระทั้งชะงักการเจริญเติบโตไหมครับ
ตอบ :
ข้อที่ 1. ถ้าแม่ไม่ฟัง "ห้ามสอน-ห้ามเถียง-ห้ามคัดค้าน-ห้ามขัดขืน" แม่เด็ดขาด เพราะมันจะเข้าข่ายลูกอกตัญญู อดีตที่แม่เคยทำมาจะผิดถูกอย่างไร ถึงจะมีหนี้สินเต็มบ้านแค่ไหน ท่านก็เลี้ยงเรามาเติบใหญ่ได้
ข้อ 2. โดยธรรมชาติแล้ว คนเป็นพ่อไม่ค่อยฟังลูก แต่ธรรมชาติของแม่มักจะฟังลูกมากกว่า หาจังหวะเหมาะๆที่แม่อารมย์ดี แล้วคุยกับแม่ พูดอธิบายให้แม่เข้าใจ
ข้อ 3. เตรียมความพร้อมด้านข้อมูลที่เป็นทั้ง วิชาการ-ประสบการณ์-จินตนาการ ให้พร้อม
ข้อ 4. ใช้สูตร "เลยตามเลย -ไหนๆก็ไหนๆ" นั่นคือ ต้นอ้อยที่อยู่ในแปลงวันนี้ แม่จะใส่ปุ๋ยสูตร ฉีดยาอะไร ก็ปล่อยให้แม่ทำไป แล้วคุณหาโอกาสเอาปุ๋ยที่ได้มาจาก วิชาการ+ประสบการณ์+จินตนาการ ของคุณให้ทับลงไป ครั้งแรกอาจจะลองซัก 1-2 ไร่ ก่อนก็พอ เชื่อเถอะว่า ถึงตอนตัดหรืออาจจะก่อนตัดก็ได้ ที่แม่จะเห็นเองว่า แปลงที่คุณใส่อะไรทับลงไปน่ะ มันดีกว่าแปลงที่ไม่ได้ใส่ หลังจากนั้นค่อยว่ากันใหม่
ข้อ 5. พ่อไปไหน พูดถึงแต่แม่
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2054&sid=fe7048467ffc7192eb7f4d2a45548fba
คำถามที่ 5
ทำอย่างไรให้อ้อยลำใหญ่ ไม่กลวงครับ พันธุ์หนึ่งที่ลำเล็กก็ชวนปวดหัว อีกพันธุ์ลำใหญ่ก็แบบนี้เลยครับลำใหญ่มาก ใกล้เคียงหรือใหญ่กว่าขวดกระทิงแดงปล้องยาวมากว่าคืบ แต่มักพบปัญหา คือ น้ำหนักเบา (เพราะกลวง) ไม่ทราบว่ามีวิธีที่ช่วยให้กลวงน้อยลงหรือไม่กลวงได้ไหมครับ อีกพันธุ์ก็เล็กบ้างใหญ่บ้างตามปกติ แต่ผมอยากให้ใหญ่ทุกลำ จะได้หมดหนี้เร็วๆครับ
ตอบ :
- ในธรรมชาติไม่มีตัวลข ไม่มีสูตรสำเร็จ
- ปุ๋ยไม่ใช่ของวิเศษ ทั้งนี้ ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักโฆษณา และต้นพืชพูดไม่ได้ แต่ต้นพืชพูดด้วยใบบอกด้วยรากได้
- ปริมาณปุ๋ยทางใบกับปุ๋ยทางดินต้องสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม บางสภาวะแวดล้อมต้นพืชรับปุ๋ยทางใบได้มากกว่าทางดิน และในบางสภาวะแวดล้อมต้นพืชรับปุ๋ยทางดินได้มากกว่าทางใบ โดยเฉพาะปุ๋ยทางใบซึ่งต้นพืชจะตอบสนองได้ดีก็ต่อเมื่อสภาพต้นมีความสมบูรณ์รองรับ และสภาพความสมบูรณ์ของต้นก็เริ่มมาจากดิน
- ชนิดพืช อายุต้น ปริมาณผลผลิตบนต้น ก็เป็นอีก 1 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาถึงปริมาณและชนิดของปุ๋ยที่ต้นพึงได้รับเพื่อพัฒนาการอย่างพอเพียง
- การที่พืชหรืออ้อยจะเจริญเติบโต มีพัฒนาการตามที่คนปลูกต้องการได้นั้น ต้องอาศัย "ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก" ได้แก่ "ดิน-น้ำ/แสงแดด/อุณหูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค" เป็นหลัก ปัจจัยทั้ง 6 นี้จะต้องเหมาะสมกับพืชหรืออ้อย ต้องบริหารจัดการให้ตรงกับความต้องการทางธรรมชาติองอ้อยอย่างแท้จริง พูดง่ายๆก็คือ "ปลูกอ้อยตามใจอ้อย ไม่ใช่ตามใจคน" เท่านั้น
คำถามที่ 6
ที่จังหวัดกำแพงเพชรพันธุ์ 156 ฮิตมากเลยครับ ผมก็ปลูกอยู่บ้าง ลำใหญ่น้ำหนักมาก ไม่ต้องดูแลมากเท่าไรมั้งครับ เห็นของคนอื่นไม่เห็นค่อยทำอะไรเลย แค่โตมาฉีดน้ำอามิ ฉีดปุ๊บเขียวปั๊บ (แม่ผมอยากให้ฉีดอะไรก็ได้ทางใบที่เขียวสู้ได้ แต่ผมบอกแม่ไปว่าผมก็ไม่รู้หลอกว่าจะมีอะไรสู้ได้ มักทะเลาะกันบ่อยเรื่องนี้ แต่ผมไม่ฉีดหรอกครับเห็นบอกว่าไม่ดี ก็ไม่ดี) แต่พันธุ์นี้มีปัญหาหรือเปล่าไม่รู้เรื่องใบเป็นสนิม ปีที่แล้วเห็นลงทีเป็นกันหมดอำเภอ อย่างนี้จะมีผลเสสียต่อผลผลิตไหมครับ พอมีวิธีแก้โรคสนิมไหมครับ (ความเห็นส่วนตัว ผมว่าพันธุ์ 366 ที่พอสู้ได้นิดหน่อยยังดีกว่าที่ไม่เป็นโรคสนิม และเป็นพันธุ์ที่มีมานานแล้ว น่าจะมีความต้านทานอะไรต่อมิอะไรได้ดีกว่า)
สำหรับข้อที่ 6 นี้ อยากให้ตอบมากที่สุดก็คือ มีอะไรสู้น้ำอามิได้ไหมครับ สำหรับฉีดทางใบ ผมขี้เกียจทะเลาะกับแม่เรื่องนี้ และเบื่อญาติๆที่ชอบคุยอวดว่าอ้อยตนเองเขียว ลำใหญ่ ดีเช่นนี้เช่นนั้นครับ
ตอบ :
- อ้อยต้องการกินธาตุอาหารอะไร ? ..... ในอามิอามิ มีธาตุอาหารอะไร ? .... คำตอบก็คือ อะไรที่มีธาตุอาหารตรงตามความการของอ้อยมากกว่า สิ่งนั้นคือ ดีกว่า ..... เปรียบดั่งอาหารคน ถ้าบอกว่า ไข่ว่าดีที่สุด ถามว่า จริงหรือ และอะไรดีกว่าไข่
- สารอาหารที่พืชทั้งโลกต้องการกินมี 14 ธาตุ, 3 ก๊าซ, 10 ฮอร์โมน, 2 วิตามิน, และ 100 อื่นๆ
- ในโลกนี้ไม่มี "อะไรดีที่สุด" มีแค่ "เหมาะสมที่สุด" การที่จะรู้และเข้าใจได้ หลักการง่ายๆ คือ อย่าเอาตัวเองหรืออย่าเอาคนเป็นที่ตั้ง เท่านั้น เปิดใจให้กว้างทำจิตรให้ละเอียด มนุษย์ สัตว์ พืช จุลินทรีย์ ต่างมีความเหมาะสมสำหรับตัวเองทั้งสิ้น
-----------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิง :
กากผงชูรส (อามิ-อามิ) อามิ-อามิ เป็นกากของการทำผงชูรส ซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุไนโตรเจน 4.2% และฟอสฟอรัส 0.2 % การใช้ควรใช้ทั้งน้ำและตะกอนร่วมกัน ในกรณีอามิ-อามิ เกิดการ ตกตะกอนมากขึ้นควรลดระดับปริมาณที่ใช้ลง เพื่อป้องกันการเน่าเสียของน้ำในบ่อไรแดง
http://www.fisheries.go.th/Dof_thai/knownledge/Aquacultures/Rotifer/Rotifer_index.htm
comment :
- อามิอามิ.มีหลายเกรด เกรด เอ.เขาส่งไปญี่ปุ่นหมด ที่ใช้ในบ้านเราเป็นเกรดสุดท้าย ที่โรงงานชูรสต้องแหล่งเททิ้งเท่านั้น
- อามิอามิ.เกรดสุดท้ายมีสารอาหารก็พืชจริง แต่มีสารเคมีในกระบวนผลิตผงชูรสเหลือตกค้างอยู่อีก 5-6 ตัว
- อัตราใช้ที่เหมะสม คือ 4-5 ล/ไร่/รุนเว้นรุ่น หากใส่ครั้งละมากๆ แบบรุ่นต่อรุ่น ซัก 2-3 รุ่น ดินจะเสีย (แข็งจัด กรดจัด)
- ประสบการณ์ตรงเรื่องการใช้อามิอามิ. มีมากมาย รวมแล้วเสียทั้งนั้น มีเวลาจะเล่าให้ฟัง
-------------------------------------------------------------------------------------------
คำถามที่7
การติดตั้งสปริงเกอร์สำหรับไร่อ้อย 20-30 ไร่ ต้องใช้งบประมาณเท่าไรครับ ผมจะได้เสนอพ่อแม่ผมถูก ปีหน้าต้องทำให้ได้ แต่ปีนี้ต้องเพิ่มผลผลิตให้ได้มากกว่าเดิมจากเฉลี่ย 16.4 ตันต่อไร่ เป็น 18-20 ตันต่อไร่ ด้วยอ้อยตอ 3 ไม่รู้ว่าจะยากไปสำหรับผมหรือเปล่า ไม่น่ารับผนันกับแม่เลยเศร้า
ตอบ :
- งบประมาณเท่าไหร่ = ไม่ทราบ เพราะ พื้นที่คุณพื้นที่ลุงคิม, ราคาวัสดุอุปกรณ์บ้านคุณบ้านลุงคิม, รูปแบบการติดตั้งของคุณลองลุงคิม จิปาถะ ไม่เหมื่อนกันเลย บอกแล้ไง COPY ไม่ได้แต่ APPLY ได้ ไปดูของจริงหลายๆที่ก่อน แล้วิเคราะห์ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม สำหรับตัวเอง
- อยากบอกว่า ระบบกะเหรี่ยง ไร่ละ 5,000 ระบบอิสราเอล ไร่ละ 100,000 ราคานี้ไม่รวมปั๊ม.....ค่าวัสดุอุปกรณ์ ไร่บละ 5,000 แต่ค่าแรง ไร่ละ 15,000
- คุณจะเอาแปลงอ้อย มาเปรียบเทียบกับแปลงไม้ผล แปลงผัก ไม่ได้ มันคนละเรื่อง คนละระบบ คนละแบบกันเลย
- กรองอิสราเอลตัวละ 80,000 ไต้หวันตัวละ 3,500 ไร่กล้อมแกล้มตัวละ 14 บาท
- ระบบ (คำว่า "ระบบ") มีหลากหลาแบบ แต่ละระบบต่างก็มีความเหมาะสมสำหรับแต่ละพื้นที่ แต่ละชนิดพืช.....แม้ไม่ง่ายอย่างที่คิด แต่ก็ไม่ยากอย่างที่กลัว
- คิดกว้างๆ ไกลๆ ไปดูให้เห็นกับตาคนที่เขาทำอ้อยตอ 1 ได้ 20 ตัน ตอ 2 ได้ 35 ตัน/ไร่ แค่ 20 ตัน/ไร่ เนี่ยเหรอ เด็กๆทำ
คลิกไปดูตามลิงค์นี้ แล้วหาทาง apply มาใช้กับไร่อ้อย....
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1813&sid=6b13e4fc87020eb7cea9629ba979479f
สุดท้ายก็ต้องขอบคุณลุงคิมทุกคำแนะนำครับ ถึงแม้ผมจะเริ่มจากศูนย์ไม่เหมือนคนอื่นที่เริ่มจากสิบ ผมก็จะนำคำสอนของลุงมาประยุกค์ใช้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมีความสามารถเพื่อไปถึงจุดหมายเหมือนคนอื่น คือ หนึ่งร้อยครับ
ตอบ :
วิชาการ + ประสบการณ์ + จินตนาการ + แรงบันดาลใจ + แรงจูงใจ + บ้าเป็น จะนำพาไปสู่ความสำเร็จ
ลุงคิมครับผม |
|