ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass |
ตอบ: 09/03/2016 6:06 pm ชื่อกระทู้: |
|
.
.
แก้ไขไม่ได้หรอก หอมแบ่งอายุสั้น ตั้งแต่เรื่มปลูกถึงเก็บเกี่ยวแค่ 1-2 เดือน
อาการที่เห็น ณ วันนี้ อายุปาเข้าไปเดือนกว่าแล้ว หมดเวลาอายุขัยแล้ว
บอกแล้วไง :
".... ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มีศัตรูพืช (โรค แมลง หนอน) ประจำตัว ประจำตระกูล ประจำเผ่าพันธุ์ วันนี้ยังไม่มีเพราะยังไม่มา .... มาเถอะ เอาไม่ทัน"
".... ไม่มีสารเคมีใด ไม่มีสารสมุนไพรใด ไม่มี IPM ใด ในโลกนี้ สามารถทำให้ส่วนของพืชที่ถูกศัตรูพืช (โรค แมลง หนอน) ทำลายไปแล้วฟื้นคืนดีอย่างเดิมได้ .... ต้องป้องกันเท่านั้น"
ทำไมไม่ คิด/วิเคราะห์ ?
สอนทรภู่สอนไว้ :
รู้อะไร รู้กระจ่าง แต่อย่างเดียว .............. แต่ให้เชี่ยว ชาญเถิด จะเกิดผล
รู้หอมแบ่ง รู้กระจ่าง แต่อย่างเดียว .......... แต่ให้เชี่ยว ชาญเถิด จะเกิดผล
ใช้มั้ย ?
ลุงคิมสอน :
จะปลูกหอมแบ่ง ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับหอมแบ่งให้ครบถ้วนก่อน แล้วป้องกันปัญหาไม่ให้เกิด
ลงมือทำแล้วจะไม่เกิดปัญหาเพราะป้องกันไว้ได้ ย่อมประสบความสำเร็จแน่นอน
ไม่ป้องกันปัญหาล่วงหน้า ลงมือทำไปแล้วจะมีแต่ปัญหา ปัญหา และปัญหา เพราะปัญหามักตามมาทีหลัง บางปัญหาแก้ไม่ได้ ลงท้ายคือ สูญเสีย !
เชื่อมั้ย ?
นายกสอน :
..... ฝืนความความเคยชินบ้าง ....
..... บอกอะไรแล้วไม่ทำ จึงมีแต่ปัญหาๆ ....
หมายความว่าไง ?
N.B.
ไม่ได้เจตนาสอน "น้ำส้ม"
แตี่จงใจสอน สมช. ต่างหาก
. |
|
|
somboonyang |
ตอบ: 09/03/2016 4:52 pm ชื่อกระทู้: |
|
somboonyang บันทึก: |
|
พ่อ...ลูกค้าต้องการแก้ไขปัญหาอาการเหลืองก่อน
อย่างน้อยอยากชะลอให้อยู่รอดเก็บเกี่ยวได้ก่อน เม.ย.
เพราะฉะนั้นขั้นแรกต้องบำรุงอย่างไร
. |
|
|
somboonyang |
ตอบ: 09/03/2016 4:50 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
|
|
kimzagass |
ตอบ: 09/03/2016 3:02 pm ชื่อกระทู้: |
|
.
.
เพราะคำพูดอธิบายไม่ละเอียดพอ เป็นเรื่อปกติธรรมดาสามัญของเกษตรกรไทย
ถ้ามีรูปให้ดูด้วยก็จะดี จะได้เอาไปเทียบกับรูปตามเอกสารตำรา
ใช้มือถือถ่ายรูปแล้วส่งรูปลงเน็ตไม่เป็น ให้ส่งทางมือถือนั่นแหละ ส่งไปที่
คุณน้ำส้ม (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4
ส่งรูปแล้วตามไปอธิบายรายละเอียดทีหลังได้
-----------------------------------------------
จากรายละเอียดเกี่ยวกับโรคหอมแบ่งตัวนี้พอจะเอา (เน้นย้ำ...เดา) ได้ว่าเป็นโรค ...
- โรคโคนเน่า
- โรคเหี่ยวเขียว (พิเทียม....ไฟธอปเทอร์ร่า พิเทียม ฟูซเลียม สเคลโรเทียม ไรซ็อคโธเนีย ไส้เดือนฝอย ฯลฯ)
จะเป็นโรคซื่ออะไรก็แล้วแต่ ที่แน่ๆ โรคนี้คือ ....
- เชื้อโรค (รา แบคทีเรีย ไวรัส)
- อยูู่ในดิน เกิดในดินเมื่อดินเป็นกรด ดินเป็นกรดคน (เจ้าของ) ทำ
เจ้าของทำเพราะเป็นคนใส่ "กรด" ลงไป แล้วไม่ใส่สิ่งต่อต้านกรด
- สิ่งเป็นกรด ได้แก่ ปุ๋ยเคมี สารเคมี ยาฆ่าหญ้า
- สิ่งต่อต้านกรด ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์
*** เกษตรกร ยอมรับปุ๋ยเคมีสารเคมียาฆ่าแมลง โดยไม่มีเงื่อนไข นัยว่า ง่ายดีเร็วดีทันใจดี แล้วปฏิเสธปุ๋ยอินทรีย์สารอินทรีย์ อย่างสิ้นเชิง นัยว่า ยุ่งยากชักช้าเสียเวลาไม่ได้ผล
*** เกษตรกร ใช้เคมี (ทุกอย่าง) แบบไม่มีความรู้ วัดผลจาก "หนี้"
*** เกษตรกร ใช้อินทรีย์ (ทุกอย่าง) แบบไม่มีความรู้ วัดผลจาก "ล้มเหลว"
------------------------------------------------
"พืชเชิงเดี่ยวจนผลผลิตล้นตลาด คุณภาพใช้ไม่ได้ ก็ตายแล้วตายอีก ปลูกอีกตายอีก ก็ยังปลูกอยู่อย่างนั้น เข้าใจว่าท่านคงจะเคยชินกับการแก้ปัญหาเดิม เดี๋ยวชดเชยให้ ขอถามว่า เมื่อไรจะโตกันซะที...."
รายการ คืนความสุขให้คนในชาติ วันศุกร์ที่ 22 มกราคม 2559 :
..... ฝืนความความเคยชินบ้าง ....
.... บอกอะไรแล้วไม่ทำ จึงมีแต่ปัญหาๆ ....
นายก หน.คสช. 8 MAR :
-------------------------------------------------------
COMMENT :
สาเหตุ :
เชื้อราทั้ง 2 กลุ่ม อยู่ในดิน เกิดเองตามธรรมชาติเมื่อดินเป็นกรด เช่น ใส่กรดลงไปมากเกินจนธรรมชาติบำบัดไม่ไหว ถ้าดินไม่เป็นกรด เชื้อโรคพืช (ทุกชนิด) จะไม่เกิด.... ดินเป็นกรด นอกจากส่งเสริมการพ้ฒนาของเชื้อโรคแล้วยังต่อต้านการพัฒนาของเชื้อดีอีกด้วย
แก้ไข :
ปฏิบัติตามลำดับ อย่างเคร่งครัด ....
1. เตรียมใจ หยุดปลูกหอมแบ่งแล้วปลูกพืชอย่างอื่นแทนเพื่อตัดวงจรชีวิตเชื้อราโรคพืชของหอมแบ่ง เลือกผักสวนครัวอายุข้ามปี หรือระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี
2. สร้างโครงสร้างดินใหม่ ไถดะ ขี้ไถใหญ่ๆ ตากแดดจัด 20-30 แดด ให้ดินแห้งสนิท เพื่อกำจัดเชื้อโรคพืช ทุกชนิดเชื้อโรค
3. ไถแปร/ไถพรวน ครั้งที่ 1 พอหยาบ แล้วหว่าน "ยิบซั่ม 2 กส.+ ปุ๋ยอินทรีย์ 50 กก.+ กระดูกป่น 10 กก. + ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ 200 กก. ต่อไร่ แล้วไถพรวนครั้งที่ 2 ละเอียดประณีต ยกแปลงลูกฟูก
3. หญ้าแห้งคลุมสันแปลงหนาๆ รดด้วย "น้ำหมักชีวภาพ" ไม่ปุ๋ยเคมีแต่เน้นจุลินทรีย์เป็นหลัก อัตรา 1-2 ล. /ไร่ /เดือน ไปพร้อมกับน้ำให้หน้าดินโชกๆ
4. ลงมือปลูกพืชตัดวงจรชีวิตเชื้อโรคทันที ไม่ต้องกลัวเชื้อโรคที่เคยเกิดกับหอมแบ่ง เพราะเชื้อโรคตัวนั้นไม่มีผลต่อพืชตัวใหม่
5. บำรุงพืชตัวใหม่แบบ "ถนอมดิน ฟื้นฟูดิน" ไม่ทำไม่ใส่สิ่งที่ทำให้ดินเป็นกรดอย่างเด็ดขาด
หมายเหตุ :
- สารอินทรีย์ (ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ กระดูกป่น ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ น้ำหมักชีวภาพ) ส่งเสริมพัฒนาการของจุลินทรีย์เชื้อดี และต่อต้านพัฒนาการของจุลินทรีย์เชื้อโรคพืชในเวลาเดียวกัน
- ปลูกพืชตัวใหม่แบบถนอมดินฟื้นฟูดิน คือ ให้ปุ๋ยเคมี หรือฮอร์โมนธรรมชาติ ทางใบเป็นหลัก
ปลูกหอมแบ่ง :
เตรียมดิน เตรียมแปลง :
- เก็บเกี่ยวพืชตัดวงจรชีวิตเชื้อโรคพืชในแปลงแล้ว ปรับปรุงบำรุงดินแบบเดิม ด้วยอินทรีย์วัตถุแบบเดิม
เตรียมเมล็ดพันธุ์ :
- แช่เมล็ดพันธุ์ใน ไบโออิ (สังกะสี), แคลเซียม โบรอน (โบรอน), ยูเรก้า (ไคโตซาน).
บำรุง :
ทางใบ....... ให้ ไบโออิ (แม็กเนเซียม สังกะสี ฯลฯ) + ไคโตซาน + สารสมุนไพร ทุก 5-7 วัน
ทางราก .... ให้น้ำหมักชีวภาพ (สูตรระเบิดเถิดเทิง...ทำเอง/ซื้อ) 30-10-10 (2 ล.) /ไร่ ให้ครั้งเดียวตอนเตรียมดินเตรียมแปลงครั้งแรก ไม่ต้อง+ปุ๋ยเคมีเพิ่ม
หมายเหตุ :
บำรุงทางใบด้วย "ยูเรก้า" ต้นหอมแบ่งจะใหญ่มาก ระวังขายไม่ออก
แต่ถ้าต้องการต้นขนาดใหญ่ แนะนำ "ยูเรก้า + ไคโตซาน"
คลิก :
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3850
ต้นหอมแบ่ง......
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=19131&sid=d0affa403f0642160586a20f5d0db5ba#19131
ปลูกต้นหอมใช้ หัว หรือ เมล็ด ?
- |
|
|
hombang |
ตอบ: 09/03/2016 11:01 am ชื่อกระทู้: หอมแบ่งอายุ 20 วัน มีอาการเหลืองและเขียวขึ้นเมื่อเจอแสงแดด |
|
.
.
เรียน คุณลุงคิม
หนูปลูกหอมแบ่ง วันที่ 20 กุมภาพันธุ์ ตอนที่เริ่มงอกขึ้นก็มีอาการเหลืองนิดๆ ซึ่งปกติครั้งที่แล้ว (ครั้งแรกที่ปลูก) ตอนงอกใหม่ๆ จะเขียวเข้ม แต่ตอนนี้ต้นหอมมีอาการเหลืองมาก คิดว่ารดน้ามากเกินไป จึงงดให้น้ำมา 2 วัน สังเกตุเห็นว่าช่วงแดดออกใบจะมีสีเขียวมากขึ้น พอตอเย็นก็กลับมาเหลืองอีก ก่อนปลูกโรยขี้ไก่ไว้ที่ดิน ปลูกได้ 10 วัน ใส่ปุ๋ยเรือใบไวกิ้งสูตร 16-16-16 25 กก./1ไร่
**พอจะมีวิธีไหนแก้ไขให้หนูได้เก็บเกี่ยวผลผลิตรอบนี้ไปขายได้ก่อนมั้ยคะ**
#เมื่อวานไปที่ร้านของป้าพรพรรณ ที่ตลาดนัดธนบุรีมาค่ะ ป้าแนะนำยิปซั่ม ปุ๋ยเม็ดอินทรีย์ถ้ำค้างคาว ยูเรก้า มาด้วยค่ะ
- หนูขอขอบพระคุณล่วงหน้า สำหรับคำแนะนำและแนวทางในการแก้ไขปัญหานะคะ
. |
|
|