ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass |
ตอบ: 11/02/2011 10:49 pm ชื่อกระทู้: |
|
joBcoMmatammi บันทึก: |
ขออภัยใส่อารมณ์ในคำพูดมากไปหน่อยครับ
คือแถวบ้านผม จ้างไร่ละ700 แต่มาแต่ตัวกับหัวใจครับ ไม่มีอะไรมาเรย
ไปถาม ว่าทำไมแพงจังอุปกรณ์ก็ไม่มี พี่รู้ป่ะมันตอบว่าไง
ถ้ามีผมก็ เอาไปหยดไร่ตัวเองแล้ว ผมก็นิ่งพักนึง ก็คิดในใจว่า เออจริงของมรึง
ไม่น่าถามมันเรย 5555+ |
วัฒนธรรมที่นี่ ไม่ถือสาอยู่แล้ว เราเอาเนื้อหาเป็นหลัก
คนมีอารมย์ คนโมโห คนเมา พูดความจริงทั้งนั้น
ลุงคิม (ไม่มีอารมย์ ไม่โมโห ไม่เมา) ครับผม |
|
|
joBcoMmatammi |
ตอบ: 11/02/2011 11:00 am ชื่อกระทู้: |
|
ขออภัยใส่อารมณ์ในคำพูดมากไปหน่อยครับ
คือแถวบ้านผม จ้างไร่ละ700 แต่มาแต่ตัวกับหัวใจครับ ไม่มีอะไรมาเรย
ไปถาม ว่าทำไมแพงจังอุปกรณ์ก็ไม่มี พี่รู้ป่ะมันตอบว่าไง
ถ้ามีผมก็ เอาไปหยดไร่ตัวเองแล้ว ผมก็นิ่งพักนึง ก็คิดในใจว่า เออจริงของมรึง
ไม่น่าถามมันเรย 5555+ |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 10/02/2011 6:03 pm ชื่อกระทู้: |
|
ดีมาก GOOD IDEA ทั้งนั้น...แต่ละพื้นที่ปัญหาไมใหมือนกัน เพราะฉนั้นใครที่มี
IDEA หรือมี ประสบการณ์ตรง ก็น่าจะเอามาแบ่งปันกัน....ว่ามั้ย
ช่วยกันคิดวิธีการให้น้ำแก่อ้อยต่ออีก เพราะเป้าหมาย คือ "อ้อยต้องได้น้ำ"
วิธีการ + ต้นทุน = คำตอบ
ลุงคิมครับผม
ปล.
วิชาการ + ประสบการณ์ + จินตนาการ + แรงจูงใจ + แรงบันดาลใจ = สำเร็จ ยกกำลัง 2 |
|
|
Yuth-Jasmine |
ตอบ: 10/02/2011 5:41 pm ชื่อกระทู้: |
|
joBcoMmatammi บันทึก: | ลุงพี่ยุทธเข้าลงขี้เคก 40ตัน ใน22ไร่ เขาจะทำ 100ตันอ่ะลุง ไม่เห็นภาพหรอ
พี่ยุทธเขาจะเปลี่ยน นวัตกรรม ทำไร่อ้อยเลยนะน่ะ
5555555+ คุ้มครับลุง แต่ที่ทำไม่ได้ 30 ตันอ่ะครับ 20ต้นๆ
ตัวอย่าง ไปเช่าที่ทำไร่อ้อย 30 ไร่
ข้อจำกัด จะไปขุดสระ หรือเจาะบาดาลก็ไม่ได้ ดันไม่ใช่ที่เรา
โดนยกเลิกเมื่อไหร่ล่ะยุ่งเลย
ผมอยากจะรู้ว่าคนที่รับจ้างไร่ละ 900 บาทเนี่ยมันอยู่ไหน จะถามว่ามันขนน้ำให้ด้วยไหม ถ้าขนให้ จะได้จ้างซะเลย |
ก็อย่างที่เขียนไว้ล่ะครับ ผมมีที่ดินจำกัดเท่านี้ เมื่อคิดจะไว้ตอให้นานเพื่อความคุ้มค่า
มันก็น่าลงทุนน่ะครับ ธรรมดา เมื่อมี "อุปสงค์" ก็ต้องมี "อุปทาน" ใช่ไหมครับ
ไม่ได้หวังว่าจะได้มากเกินความเป็นจริง เพียงแต่ว่า โอกาสที่เราจะเตรียมดิน
ไม่มีกันบ่อย ๆ ไหน ๆ ทำแล้ว ก็ทำให้ดีเลยดีกว่าน่ะครับ
จะได้ไม่มานึกเสียดายทีหลัง
กรณี ผู้รับจ้างวางระบบน้ำหยดในแถบ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ บ้านผมนี้น่ะครับ
ข้อตกลงก็คือ ราคา ๙๐๐ บาท/ไร่/๑๒ ชั่วโมงนี้ ต้องมีแหล่งน้ำให้ผู้รับจ้างครับ
เมื่อไม่มีแหล่งน้ำก็คิดอีกราคานึงน่ะครับ |
|
|
joBcoMmatammi |
ตอบ: 10/02/2011 2:42 pm ชื่อกระทู้: |
|
ลุงพี่ยุทธเข้าลงขี้เคก 40 ตัน ใน 22 ไร่ เขาจะทำ 100 ตันอ่ะลุง ไม่เห็นภาพหรอ
พี่ยุทธเขาจะเปลี่ยน นวัตกรรม ทำไร่อ้อยเลยนะน่ะ
5555555+ คุ้มครับลุง แต่ที่ทำไม่ได้ 30 ตันอ่ะครับ 20 ต้นๆ
ตัวอย่าง ไปเช่าที่ทำไร่อ้อย 30 ไร่
ข้อจำกัด จะไปขุดสระ หรือเจาะบาดาลก็ไม่ได้ ดินไม่ใช่ที่เรา
โดนยกเลิกเมื่อไหร่ล่ะยุ่งเลย
ที่น้าผมทำคือ ชุดน้ำหยด 5 ไร่
สายน้ำหยด + ชุดกรอง +ปั้มแบบพี่ยูทธ +เครื่องยนต์ และรถ 10 ล้อ 1 คัน
ระยะทาง 10 km. ในการเดินทางไปไร่ +16 km. ไปเอาน้ำที่คลองชลประธานไปกลับ
อันดับแรกให้คนขับไปดึงน้ำ ให้เต็มถัง 3,000 ลิตร 2 ถังบนรถ 10 ล้อ
ก็ติดตั้ง ชุดกรองและสายน้ำหยด แล้วก็หยดไปครับ หมดก็ไปเอาใหม่
อันนี้สำหรับเกษตรกรระดับชำนาญการพิเศษครับ แต่ถ้าไม่ชำนาญการก็คงจะลำบากกว่านี้ครับ
อันนี้มาดูราคาอุปกรณ์กัน
ชุดน้ำหยด สาย +กรอง ท่อ 5 ไร่ 25,000 บาท
เครื่องยนต์ ที่ดันได้ 5 km. มือสอง 35,000 บาท (อาจถูกกว่านี้ แต่ของน้าเขาซื้อมาราคาเท่านี้)
ปั้ม (เอาหน้าใหญ่ไว้ช่วยในการดึงน้ำขึ้นถัง) 4,500 บาท
ในการไปให้น้ำแต่ละครั้งต้องมี ค่าน้ำมัน ค่าลูกมือ
ผมอยากจะรู้ว่าคนที่รับจ้างไร่ละ 900 บาทเนี่ย มันอยู่ไหน จะถามว่ามันขนน้ำให้ด้วยไหม ถ้าขนให้ จะได้จ้างซะเลย |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 10/02/2011 5:42 am ชื่อกระทู้: |
|
Yuth-Jasmine บันทึก: | kimzagass บันทึก: | กรณีที่ไม่มีบ่อน้ำ ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ไม่มีเครื่องมือให้น้ำ ใดๆทั้งสิ้น เรียกว่ามีแต่ตัวเปล่าๆ กับรอยยิ้ม
ว่าแล้วก็ว่าจ้างรถบันทุกน้ำ เอาน้ำมาปล่อยที่หัวร่อง ให้น้ำมันไหลไปตามร่องเอง ปริมาณน้ำเอาแค่ดินเปียก อาจจะให้ซัก 3-4 ครั้ง/รุ่น เฉพาะช่วงหลังเจียนตอ ช่วงย่างปล้อง ช่วงแล้งจัดจริงๆ แบบนี้ใช้ทุน 5,000 บาท/ไร่/รุ่น ..... จะได้ไหม
ลุงคิมครับผม |
หากแหล่งน้ำไกลแหล่งน้ำมาก ๆ เที่ยวนึง ๑๐ คิว
ระยะทางมากกว่า ๑๐ กม. คิดเที่ยวล่ะ ๑,๐๐๐ บาท (ตัวเลขสมมติ)
ทำอ้อย ๑๐ ไร่ ไร่ล่ะ ๑ เที่ยว เท่ากับ ๑๐,๐๐๐ บาทต่อการให้น้ำครั้งนึง
หากให้ ๓ ครั้งต่อรุ่น ก็ ๓๐,๐๐๐ บาท เป็นต้นทุนค่าน้ำ
หากได้อ้อยไร่ล่ะ ๓๐ ตันอย่างลุงปุจฉามา อ้อยได้ตันละ ๑,๐๐๐ บาท
๑๐ ไร่ ก็ ๓๐๐,๐๐๐ บาท ขาดตัว
ปัญหาคือมันไม่เคยมีใครยืนยันว่ามัน ได้จริง ๓๐ ตัน สิครับลุง
เกษตรกรเขาก็ไม่กล้าจะลงทุนซื้อน้ำมาให้อ้อยน่ะครับ
หากมีใครทำแล้วมันได้ตัวเลขนี้จริง มันก็ยังคุ้มค่าอยู่ดีนั่นแหละครับลุง
ก็น่าจะมีคนทำตามแน่นอนครับ แต่ปัญหาคือ มันจะได้ ๓๐ ตัน จริงหรือเปล่า
นี่แหละครับ
หากคิดตามตัวเลขของลุง ๕,๐๐๐ ต่อไร่ต่อรุ่น ให้น้ำ ๓ ครั้งน่ะครับ
๑๐ ไร่ก็ใช้เงินซื้อน้ำ ๕๐,๐๐๐ บาท แล้วถ้าเซฟค่าใช้จ่ายด้านอื่นได้
ผมก็ว่ามันก็น่าลองน่ะครับลุง สำคัญคือ คนที่ประกอบการ รถน้ำ นี่มันเล่นตัว จริง ๆ
ครับน่ากระทืบจริง ๆ อ้างว่าไม่คุ้มมั่งล่ะ ยังโง้นยังงี้มั่งล่ะ หากตัดข้อจุกจิกเหล่านี้
ออกไปได้ มันน่าลองดูเหมือนกันน่ะครับลุง ใครมีที่ดินเหลือ ๆ ลองดูหน่อยเป็นไรครับ
หรือลุงมองในด้านอื่นยังไงก็จะได้ช่วยให้เกษตรกรรายอื่น ๆ
ฉุกคิดได้เหมือนกันน่ะครับ |
ประเด็นปริมาณผลผลิต 30 ตัน/ไร่ ลุงคิมว่ามีคนทำได้นะ ที่ด่านมะขามเตี้ย
กาญจนบุรี สมช.ของลุงคิมทำอยู่ที่นั่น งวดที่แล้วอ้อยตอ 2 ได้ 20 ตัน ตัดอ้อย
เสร็จถอยวีออสป้ายแดงมาหาลุงคิมเลย บอกว่ามาขอกำลังใจ ...... งวดหน้าหมาย
ถึงปีนี้มันบอกจะเอา 30 ตัน เป้าหมายตามมิตรผล งวดนี้ เดือนนี้ ไม่รู้ว่าตัดแล้ว
หรือยัง แล้วจะเอาข้อมูลมาให้ดู เบื้องต้นรู้แต่ว่า ให้น้ำประจำ แล้วที่ว่าประจำน่ะ กี่
วันกี่เดือน/ครั้ง ไม่ได้เก็บรายละเอียดมา.....มันคงไม่โม้หรอกน่ะ
ส่วนประเด็น "รถบันทุกน้ำเล่นตัว" นี่ปัญาหาโลกแตก เรื่องอย่างนี้ต้องช่วยตัวเอง
แก้ไขให้ได้ หลักสำคัญ คือ ให้อ้อยได้รับน้ำให้จงได้ ลุงคิมว่า ต้นทุนค่าน้ำไร่ละ
5,000 น่าจะอยู่นะ ..... ถ้าเป็นอ้อยตอ ต้นทุนต่ำมากๆ ถึงได้แค่ 10 ตัน/ไร่ ขาย
อ้อยตันละ 800 ก็ได้ 80,000 /ไร่ หักต้นทุนค่าใช้จ่ายอย่างอื่น บวกลบแล้วก็น่า
จะคุ้มกับต้นทุนค่าน้ำ
กรณี "มีคนทำ หรือ ไม่มีใครทำ" นั่นเป็นเพราะแนวคิดแบบเดิมๆ ขนาดมีน้ำอยู่ริม
แปลงแท้ๆ ยังไม่เอาเลย ก็มี นับประสาอะไรกับน้ำอยู่ไกลๆ เปลี่ยนอะไรก็เปลี่ยน
ได้ แต่เปลี่ยนใจ เปลี่ยนแนวคิดคนนี่ ยากชมัด แม้แต่เคยทำแล้วล้มเหลวก็ยังทำ
แบบเดิม เห็นเขาทำแล้วล้มเหลวก็ยังทำตาม.....
เรากำลังวิเคราะห์ถึง "หลักเศรษฐศาตร์การลงทุน" เพื่อดูความเป็นไปได้ แม้แต่
การลงทุนเจาะบ่อบาดาล สำหรับแปลงที่มีน้ำใต้ดิน ลงทุนครั้งเดียว ใช้ได้หลายสิบ
ปี หรือตลอดชีวิต ก็น่าจะลงทุน เพราะน้ำยังใช้งานอย่างอื่นได้อีกด้วย
หลักคิดในการส่งเสริม ยึดตามแนวในหลวงซี่ "....ไม่ต้องทั้งหมด ครึ่งหนึ่งก็ไม่
ต้อง เศษหนึ่งส่วนสี่ ก็พอ...." จะดีไหม ?
ลุงคิมครับผม
ปล.
ยุคนี้ต้องกล้า "เปลี่ยน" ว่ามั้ย |
|
|
Yuth-Jasmine |
ตอบ: 09/02/2011 10:54 pm ชื่อกระทู้: |
|
kimzagass บันทึก: | กรณีที่ไม่มีบ่อน้ำ ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ไม่มีเครื่องมือให้น้ำ ใดๆทั้งสิ้น เรียกว่ามีแต่ตัวเปล่าๆ กับรอยยิ้ม
ว่าแล้วก็ว่าจ้างรถบันทุกน้ำ เอาน้ำมาปล่อยที่หัวร่อง ให้น้ำมันไหลไปตามร่องเอง ปริมาณน้ำเอาแค่ดินเปียก อาจจะให้ซัก 3-4 ครั้ง/รุ่น เฉพาะช่วงหลังเจียนตอ ช่วงย่างปล้อง ช่วงแล้งจัดจริงๆ แบบนี้ใช้ทุน 5,000 บาท/ไร่/รุ่น ..... จะได้ไหม
ลุงคิมครับผม |
หากแหล่งน้ำไกลแหล่งน้ำมาก ๆ เที่ยวนึง ๑๐ คิว
ระยะทางมากกว่า ๑๐ กม. คิดเที่ยวล่ะ ๑,๐๐๐ บาท (ตัวเลขสมมติ)
ทำอ้อย ๑๐ ไร่ ไร่ล่ะ ๑ เที่ยว เท่ากับ ๑๐,๐๐๐ บาทต่อการให้น้ำครั้งนึง
หากให้ ๓ ครั้งต่อรุ่น ก็ ๓๐,๐๐๐ บาท เป็นต้นทุนค่าน้ำ
หากได้อ้อยไร่ล่ะ ๓๐ ตันอย่างลุงปุจฉามา อ้อยได้ตันละ ๑,๐๐๐ บาท
๑๐ ไร่ ก็ ๓๐๐,๐๐๐ บาท ขาดตัว
ปัญหาคือมันไม่เคยมีใครยืนยันว่ามันได้จริง ๓๐ ตันสิครับลุง
เกษตรกรเขาก็ไม่กล้าจะลงทุนซื้อน้ำมาให้อ้อยน่ะครับ
หากมีใครทำแล้วมันได้ตัวเลขนี้จริง มันก็ยังคุ้มค่าอยู่ดีนั่นแหละครับลุง
ก็น่าจะมีคนทำตามแน่นอนครับ แต่ปัญหาคือ มันจะได้ ๓๐ ตัน จริงหรือเปล่า
นี่แหละครับ
หากคิดตามตัวเลขของลุง ๕,๐๐๐ ต่อไร่ต่อรุ่น ให้น้ำ ๓ ครั้งน่ะครับ
๑๐ ไร่ก็ใช้เงินซื้อน้ำ ๕๐,๐๐๐ บาท แล้วถ้าเซฟค่าใช้จ่ายด้านอื่นได้
ผมก็ว่ามันก็น่าลองน่ะครับลุง สำคัญคือคนที่ประกอบการ รถน้ำ นี่มันเล่นตัวจริง ๆ
ครับน่ากระทืบจริง ๆ อ้างว่าไม่คุ้มมั่งล่ะ ยังโง้นยังงี้มั่งล่ะ หากตัดข้อจุกจิกเหล่านี้
ออกไปได้ มันน่าลองดูเหมือนกันน่ะครับลุง ใครมีที่ดินเหลือ ๆ ลองดูหน่อยเป็นไรครับ
หรือลุงมองในด้านอื่นยังไงก็จะได้ช่วยให้เกษตรกรรายอื่น ๆ
ฉุกคิดได้เหมือนกันน่ะครับ |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 09/02/2011 10:01 pm ชื่อกระทู้: |
|
กรณีที่ไม่มีบ่อน้ำ ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ไม่มีเครื่องมือให้น้ำ ใดๆทั้งสิ้น เรียกว่ามีแต่ตัวเปล่าๆ กับรอยยิ้ม
ว่าแล้วก็ว่าจ้างรถบันทุกน้ำ เอาน้ำมาปล่อยที่หัวร่อง ให้น้ำมันไหลไปตามร่องเอง ปริมาณน้ำเอาแค่ดินเปียก อาจจะให้ซัก 3-4 ครั้ง/รุ่น เฉพาะช่วงหลังเจียนตอ ช่วงย่างปล้อง ช่วงแล้งจัดจริงๆ แบบนี้ใช้ทุน 5,000 บาท/ไร่/รุ่น ..... จะได้ไหม
ลุงคิมครับผม |
|
|
Yuth-Jasmine |
ตอบ: 09/02/2011 9:32 pm ชื่อกระทู้: |
|
ปริมาณน้ำที่อ้อยต้องการ ต่อพื้นที่ ๑ ไร่ ถ้าคิดที่ ๑๐ คิวต่อรอบการให้น้ำ ๑ ครั้ง
การซื้อน้ำมาให้อ้อย
ตัวเลขจริงแถวไร่น่ะครับลุง เที่ยวล่ะ ๓๐๐ ต่อ ๑๐ คิว
ระยะทางไม่เกิน ๕ กม.
ลงทุนเรื่องระบบน้ำให้เหมาะสม จะ น้ำหยด หรือ สปริงเกอร์ ก็แล้วแต่
ถ้าเป็นน้ำหยด ชุดเล็ก ให้น้ำครั้งนึง คราวละ ๗ ไร่ ชุดนึงราว ๔๐,๐๐๐ บาท
ให้น้ำราวครั้งล่ะ ๑๒ ชั่วโมง (บริการรับจ้างแถวไร่คิด ไร่ละ ๙๐๐ บาท ครับ)
น้ำต้องมีให้เขาด้วย
ประสิทธิภาพ - ขอย้ำว่าความคิดเห็นส่วนตัวน่ะครับ ดีที่สุดครับ
แต่ การบำรุงรักษา ค่อนข้างจุกจิกน่ะครับผมว่า ต้องใช้แรงงาน
จำนวนมาก ขาดแรงงานก็ต้องเอาอะไรมาก่ายหน้าผากเหมือนกัน
เวลาในการปฏิบัติงานค่อนข้างช้า
ลงทุนระบบสปริงเกอร์ระยะไกล
เงินลงทุนส่วนใหญ่หมดไปกับค่าสายส่งน้ำระยะไกล อย่างน้อยคงต้องมี
๓ ม้วน ๆ ละ ๑๐๐ เมตร ม้วนนึงถ้าเป็นหน้า ๒ นิ้ว ก็ตก ม้วนละ ๓,๐๐๐
ปลาย ๆ ถึง ๔,๐๐๐ ต้น ๆ กับเครื่องยนต์ต้นกำลัง (๑๐ แรง ยันม่าร์
มือสอง ก็หมื่นกว่าถึงสองหมื่นกว่าหากสภาพดี ๆ)
ตัวสปริงเกอร์ ไม่กี่พันบาท หนึ่งหรือสองตัวก็พอทำงานได้คราวล่ะ ๑ - ๒ ไร่
เท่าที่ใช้ดูน่ะครับ ครึ่งชั่วโมงได้ปริมาณน้ำราว ๑๒ คิว แล้วก็ย้ายจุดต่อไป
ประสิทธิภาพ - เป็นรองน้ำหยดน่ะผมว่า แต่ทำงานสะดวกกว่ากันมาก
แรงงานใช้น้อยมากครับ ผมทำงานสองคน การบำรุงรักษาไม่จุกจิกเท่า
แต่ต้องระวังเรื่องวัชพืชให้ดีเหมือนกันครับ
หากต้องซื้อน้ำมาให้อ้อย ก็ต้องทำแหล่งเก็บน้ำ นี่แหละครับที่หนักมือเอาเรื่อง
สระเก็บน้ำแถวไร่ขนาดกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ลึก ๔ เมตร (๒ งาน)
ต้องใช้เงินราว ๖๐,๐๐๐ - ๗๐,๐๐๐ บาท เก็บน้ำได้ราว ๒,๐๐๐ ถึง ๓,๐๐๐ คิว
ส่วนตัวน่ะครับ ผมว่าคุ้มค่าพอที่จะซื้อน้ำมาให้อ้อยมากครับ
ระยะยาว เรารักษาตออ้อยได้หลายปีเลย กำไรเห็นๆ คุ้มกว่าแฟลตปลาทอง
แน่นอนครับ |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 09/02/2011 8:48 pm ชื่อกระทู้: ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ให้น้ำอ้อย.... |
|
คิดแบบ สมมุตสมมุต....
อ้อยให้น้ำ 1 ไร่ ได้ 30 ตัน (สมมุติ) ขายตันละ 800 บาท เท่ากับ 24,000.
อ้อยน้ำฝน 1 ไร่ ได้ 10 ตัน (สมมุติ) ขายตันละ 800 บาท เท่ากับ 8,000
อ้อย 1 ไร่ ลงทุน ซื้อน้ำ มาให้ 5,000 ได้ 30 ตัน (สมมุติ) นั่นคือ 24,000-5,000 = 19,000
ฝากพวกเรา ใครก็ได้ ปลูกอ้อยโดยตรงก็ได้ พืชอื่นๆโดยเฉพาะพืชไร่
ช่วยกันวิเคราะห์ หรือคำนวน ความเป็นไปได้ หรือเป็นไปไม่ได้ หน่อยนะ
แล้วเสนอข้อคิดเห็นมาได้เลย
ลุงคิม (ว่างจึงคิด) ครับผม |
|
|