ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass |
ตอบ: 15/01/2011 4:52 pm ชื่อกระทู้: |
|
ร้านอาหารไทยในอังกฤษ
เมื่อไม่มีอาหารตามสั่ง ข้าวราดแกง หรือแกงถุง ไม่แปลกใจเลยที่หลาย ๆ คนเมื่อไป
อยู่ต่างประเทศแล้วจะคิดถึงอาหารไทยเป็นที่สุด อาหารการกินในต่างแดนหาง่ายซะ
ที่ไหน ข้าวราดแกงนี่ไม่ต้องพูดถึง อาหารตามสั่งก็ลืมไปได้เลยเช่นกัน
พอมาอยู่อังกฤษถึงได้รู้ว่าอาหารไทยนี่ดังไม่ใช่น้อย ถือว่าเป็นอาหารมีระดับถ้า
เปรียบเทียบกับอาหารจากอีกหลาย ๆ ประเทศ ร้านอาหารไทยนั้นมีให้เห็นอยู่ใน
หลายเมืองโดยเฉพาะเมืองใหญ่ ๆ อย่างเช่น เมืองเอดินเบอร์ก มีร้านอาหารไทยที่
นับได้ตอนนี้ก็เกือบ 10 ร้านเข้าไปแล้ว ส่วนที่เคมบริดจ์นี่มีอยู่ 4 ร้านถ้วน สำหรับ
กรุงลอนดอนก็คงมีอยู่อีกไม่น้อยเช่นกัน แต่ร้านอาหารใน UK มีการปรับเปลี่ยนวิธี
การขายให้เข้ากับวัฒนธรรมการกินของคนที่นี่ ในเมนูอาหารจะแบ่งเป็น 3 ประเภท
หลัก ๆ ด้วยกัน คือ อาหารเรียกน้ำย่อย (starter) อาหารจานหลัก (main
course) และของหวาน (dessert)
อาจจะแปลกใจว่าอาหารไทยมี starter ด้วยเหรอเนี่ย จริง ๆ แล้ว starter ที่
ขาย ๆ กันก็คืออาหารที่พวกเรากินกันทั่ว ๆ นี่ล่ะค่ะ เช่น ทอดมัน หมูสะเต๊ะ ขนมจีบ
กุ้งชุปแป้งทอด ถุงเงินถุงทอง (คนไทยอาจจะไม่ค่อยคุ้นนัก) ปอเปี๊ยะทอด ส้มตำ
(ไม่มีปูปลาร้า มีแต่ตำไทค่ะ) ต้มยำ ต้มข่า (ใส่เป็นถ้วยเล็ก ๆ ทานเป็นซุปอย่าง
เดียว ไม่มีข้าว) เวลาเสิร์ฟก็ใส่จานเล็ก ๆ เช่นถ้าสั่งทอดมัน ก็ใส่ไปสัก 3 ชิ้น ถ้าสั่ง
หมูสะเต๊ะ ก็จะมีอยู่ 2-3 ไม้ แต่ราคานี่ไม่เล็กตามเลยค่ะ ราคา starter ตกอยู่ราว
ๆ 2-5 ปอนด์ ขึ้นอยู่กับอาหารที่สั่ง เป็นเงินไทยก็ประมาณ 150-400 บาท คิดง่าย
ๆ ก็ทอดมันชิ้นล่ะ 50 บาท ไม่ถูกเลยใช่มั้ยล่ะคะ
อาหารจานหลักที่ขึ้นชื่อที่นี่ก็หนีไม่พ้นกับข้าวอาหารตามสั่งเรานี่เอง อันดับต้น ๆ ก็คง
เป็นแกงเขียวหวาน (green curry) แกงเผ็ดแดง (red curry) มัสมั่น
(massaman curry) อะไรที่เป็นแกงกะทิแบบนี้ (curry) ฝรั่งและต่างชาติชอบ
ค่ะ อย่างอื่นก็อาจจะมีผัดผัก ผัดน้ำมันหอย ปลานึ่งซีอิ๋ว ผัดไท ผัดหมี่
ส่วนข้าวที่ทานก็ไม่ใช่แค่ข้าวสวยนะคะ ยังมีข้าวผัดไข่ ข้าวมันกะทิ และข้าวเหนียว
อีกด้วย
สนนราคากับข้าวหนึ่งอย่างก็ประมาณ 5-13 ปอนด์ (350-900 บาท) เช่น
แกงเขียวหวานไก่ถ้วยนึงราคาราว ๆ 7 ปอนด์ (500 บาท)
ปลานึ่งซีอิ๋วตัวล่ะประมาณ 13 ปอนด์ (900 บาท) และ
สั่งข้าวด้วยอีกจาน ก็จ่ายเพิ่มอีก 1-3 ปอนด์ (70-200 บาท)
ราคาอาหารนอกจากขึ้นอยู่กับอาหารที่สั่งแล้ว ยังขึ้นอยู่กับค่าครองชีพของแต่ละ
เมืองอีกด้วยค่ะ คล้าย ๆ กับกรุงเทพที่อาหารมักจะแพงกว่าต่างจังหวัด
อาจจะสงสัยว่าราคานี้ได้กับข้าวประมาณเท่าไหร่ ถ้าให้คิดเล่น ๆ ก็เหมือนกับเราไป
ตลาดซื้อแกงถุง 20-30 บาทมาสักถุงและก็ข้าวเปล่าสัก 5-10 บาท ทำนองนั้นค่ะ
ราคานี้ถ้าขายที่เมืองไทยคงเจ๊งไปไม่เป็นท่า แต่สำหรับที่นี่ถือว่าพอรับได้ค่ะ เป็น
ราคาโดยเฉลี่ยของการทานอาหารนอกบ้าน (ทานแล้วต้องปาดเหงื่อกลับมาทุกที
เลย ฮ่าๆๆๆ)
ของหวานนี่ก็ไม่มีอะไรมาก อาจจะเป็นผลไม้ในน้ำเชื่อมสักถ้วย ข้าวต้มมัดสักอัน
(ขนมหวานนะเนี่ย) กล้วยชุบแป้งทอด หรือไอศครีมกะทิ แค่นี้ก็อยู่ได้แล้ว ราคาก็
ประมาณ 2-4 ปอนด์อีกเช่นกัน
เรื่องราวในร้านอาหารไทยยังไม่จบแค่นี้นะคะ คราวหน้ามาดูกันต่อว่าคนที่นี่เค้าสั่ง
อาหารกันยังไง จะเหมือนเวลาเราไปทานข้าวตามร้านอาหารในเมืองไทยรึเปล่านะ
http://gotoknow.org/blog/nichy/90057 |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 15/01/2011 4:42 pm ชื่อกระทู้: |
|
10 เมนูอาหารไทยที่ชาวต่างชาติชื่นชอบ
อันดับ 10...แกงพะแนง
อันดับ 9....ไก่ผัดเม็ดมะม่วง
อันดับ 8....หมูสเต๊ะ
อันดับ 7....ยำเนื้อย่าง
อันดับ 6....ต้มข่าไก่
อันดับ 5....ผัดเผ็ดเป็ดย่าง
อันดับ 4....ผัดกระเพา
อันดับ 3.....ผัดไทย
อันดับ 2....แกงเขียวหวาน
อันดับ 1....ต้มยำกุ้ง
http://board.postjung.com/496235.html |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 15/01/2011 12:43 pm ชื่อกระทู้: |
|
ผิวมะกรูด อบแห้ง
รายละเอียด : มะกรูด เป็นได้ทั้งพืชเครื่องเทศและสมุนไพร
ชื่อท้องถิ่น : มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ) มะหูด (หนองคาย) ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาค
ใต้) โกรยเซียด (เขมร) มะขู (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ : Porcupine Orange, Kiffir Lime, Leech Lime
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus hystrix DC.
ส่วนที่ใช้ ผล ผิวของผล น้ำของผล ใบ และราก (รุ่งรัตน์, 2535)
คุณสมบัติ
ใช้เป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่าง ๆ คือ น้ำในผลแก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญ
อาหาร น้ำมะกรูดใช้ดองยา เพื่อใช้ฟอกเลือด และบำรุงโลหิตสตรี เนื้อของผลใช้
เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ใบมะกรูดใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด ผล
มะกรูดที่คว้านไส้ออกนำมหาหิงส์ใส่แทนใช้เป็นยาขับลมแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน
ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมและเครื่องสำอางค์ต่าง ๆ
กรด Citric ช่วยขจัดคราบสบู่ (ด่าง) ที่หลงเหลืออยู่ ทำให้ผมหวีง่าย น้ำมันจากผิว
มะกรูดช่วยให้ผมดกเป็นเงางาม ใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร ในดับกลิ่นคาวของ
อาหาร ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงต่าง ๆ (รุ่งรัตน์, 2535)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะกรูดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ต้นสูง 2 8 เมตร ประกอบไปด้วย
ใบ .....มีใบย่อยเพียงใบเดียว ใบค่อนข้างหนา มีสีเขียวแก่ มีกลิ่นหอม
ดอก....มีสีขาว ออกเดี่ยวๆ อยู่เป็นกระจุก 3-5 ดอก กลีบดอกร่วงง่าย
ผล..... เป็นผลเดี่ยวค่อนข้างกลม บางพันธุ์มีผิวขรุขระ มีจุกที่หัวผล (เชษฐา,
2525)
สรรพคุณทางยา
ขับลมแก้จุกเสียด
วิธีใช้
ตัดจุกผลมะกรูด คว้านไส้กลางออก เอามหาหิงส์ใส่แล้วปิดจุก นำไปเผาไฟจนดำ
เกรียม บดเป็นผงละลายกับน้ำผึ้งรับประทาน จะช่วยขับลม แก้ปวดท้องหรือป้ายลิ้น
เด็กอ่อน เป็นยาขับขี้เทาได้ น้ำมะกรูดใช้ถูกฟัน แก้เลือดออกตามไรฟัน เอาผล
มะกรูดมาดอง เป็นยาดองเปรี้ยวรับประทานขับลมขับระดู เปลือกผลฝานบาง ๆ ชงน้ำ
เดือดใส่การะบูรเล็กน้อย รับประทานแก้ลมวิงเวียน เปลือกฝนใช้ผสมในเครื่อง
สำอางบางชนิด เช่น แชมพู สบู (เชษฐา, 2525)
ขนาดการใช้และผลที่ได้รับจากการรักษาโรค
แก้ลม บำรุงหัวใจ ใช้ผิวสดหั่นเป็นชิ้น ผสมการะบูรหนึ่งหยิบมือ ชงน้ำเดือด คนให้
ละลาย ปิดฝาทิ้งไว้ 35 นาที ดื่มเอาแต่น้ำ ช่วยให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดี
ยาขับเสมหะ แก้ไอ ใช้ผลมะกรูดผ่าซีกเติมเกลือ ลนไฟให้เปลือกนิ่ม บีบน้ำมะกรูด
ลงในคอทีละน้อย ๆ
เป็นยาสระผม หรืออาบ นำมะกรูดผ่าซีกลงในหม้อ ต้มอาบได้น้ำมันหอมระเหยอยู่
บนผิว ทำให้ผิวไม่แห้ง และรสเปรี้ยวของมะกรูดช่วยให้อาบสะอาด นอกจากนี้ใช้
มะกรูดผ่าซีกเอาน้ำมาสระผม
ประสิทธิภาพต่อจุลินทรีย์
ประสิทธิภาพต่อจุลินทรีย์ของผิวมะกรูดอยู่ที่ส่วนน้ำมันหอมระเหย ซึ่งผิวมะกรูดจะมี
ประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ต่าง ๆ ได้ดีกว่าใบมะกรูด จุลินทรีย์
ที่ถูกยับยั้งได้ง่าย คือ รา ดังนั้นให้นำน้ำมันหอมระเหยไปเป็นส่วนผสมในแชมพูสระ
ผมเพื่อกำจัดรังแคที่มาจากสาเหตุจากเชื้อรา สำหรับจุลินทรีย์ที่ถูกยับยั้งมีดังนี้
(บัญญัติ, 2527)
นอกจากมะกรูดจะยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดีแล้ว ยังมีรายงานว่าน้ำมันจาก
ใบมะกรูดจะกระตุ้นการเจริญของเชื้อราบางชนิดได้อีกด้วย เช่น กระตุ้นการสร้างเส้น
ใยของราพวกมูเคอร์ อัลเทอร์นาเรีย แอสเปอร์จิลลัส และกระตุ้นการสร้างสปอร์ของ
แอสเปอร์จิลลัส (บัญญัติ, 2527)
สารเคมีที่สำคัญ
สารเคมีที่สำคัญที่พบในมะกรูดนี้จะอยู่ในส่วนของน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีทั้งในส่วน
ใบและเปลือกของผลที่เรียกว่าผิวมะกรูด โดยที่ผิวมะกรูดจะมีน้ำมันหอมระเหย 4
เปอร์เซ็นต์ และใบจะมีน้ำมันหอมระเหย 0.08 เปอร์เซ็นต์ สำหรับปริมาณของสาร
เคมีที่พบในใบและผิวมะกรูดจะแตกต่างกันไปดังนี้
กลไกในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์
การที่มะกรูดสามารถยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้นั้น เนื่องจากมีสารพวกเจอรา นิ
ออล นีโรลิดอล ไอโซพูลีกอล ลินาลูล และ เทอร์ไปนีนออล อยู่ด้วย ซึ่งมีรายงาน
ว่าสารเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ แต่กลไกในการ
ยับยั้งยังไม่ทราบแน่ชัด (บัญญัติ, 2527)
วิธีการปลูก
ควรปลูกด้วยกิ่งตอน ก่อนจะปลูกควรนำปุ๋ยคอกมาใส่ผสมกับดิน เพื่อให้ดินมีอาหาร
อุดมสมบูรณ์ดี หลุมที่ปลูกมีขนาดกว้าง x ยาว x ลึกประมาณ 80 เซนติเมตร ก่อนที่
จะวางพืชลงปลูกในหลุมควรหาใบไม้ ใบหญ้าแห้งที่เน่าเปื่อยผุพังใส่รองก้นหลุม
ระยะปลูกประมาณ 5 x 5 เมตร (นิรนาม, 2528)
การปฏิบัติดูแลรักษา
การให้น้ำ
ในระยะที่ปลูกมะกรูดใหม่ ๆ ต้องหมั่นรดน้ำให้ความชุ่มชื้นแก่พืช จะทำให้พืชตั้งตัว
ได้เร็ว แตกใบอ่อนกิ่งอ่อนดี
การใส่ปุ๋ย
ควรใส่ปุ๋ยเพิ่มธาตุอาหารให้พืชเป็นครั้งคราว ซึ่งอาจเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยวิทยา
ศาสตร์ และปุ๋ยชีวภาพก็ได้ ปกติจะรับประทานใบมะกรูดเป็นอาหารจึงมักใช้ปุ๋ยที่มี
ไนโตรเจนสูง เช่น 20-14-14 หรือใส่ปุ๋ยพื้น เช่น 15-15-15
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
จะมีหนอนของผีเสื้อกลางคืนกัดกินใบมะกรูดและยอดอ่อน จึงควรตรวจตราจับ
หนอนดังกล่าวในเวลาเช้าแล้วทำลายทิ้งเสีย (รุ่งรัตน์, 2535)
การจำหน่าย
มะกรูดมีการใช้ประโยชน์มาก จึงสามารถจำหน่ายได้ตลอดปี ทั้งใบสด ผลสด แต่
ปัจจุบันสามารถจำหน่ายในรูปของใบมะกรูดแห้งและผิวมะกรูดแห้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะ
ส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ความต้องการมะกรูดของตลาดใน
ประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่เกษตรกรมักจะปลูกมะกรูดกันใน
ลักษณะเป็นพืชสวนครัว เป็นพืชรอง หรือเป็นพืชเสริมรายได้เท่านั้น ไม่ได้ปลูกกัน
เป็นล่ำเป็นสัน การปลูกเป็นพืชหลักเดี่ยว ๆ มีน้อย (รุ่งรัตน์, 2535)
สรุป
มะกรูดเป็นพืชเครื่องเทศและพืชสมุนไพร มนุษย์ได้รู้จักนำเอาประโยชน์ที่ได้รับจาก
มะกรูดเป็นยารักษาโรคหรือส่วนผสมของยา ช่วยแก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญ
อาหาร ใช้ดองยาเพื่อใช้ฟอกเลือด และบำรุงโลหิตสตรี เนื้อของผลใช้เป็นยาแก้
อาการปวดศีรษะและระงับการไอ ส่วนใบใช้ในการดับกลิ่นคาวในอาหาร ใช้เป็นยา
ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด และผลมะกรูดที่คว้านไส้ออกนำมหาหิงค์ใส่แทนใช้เป็น
ยาแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมและเครื่องสำอาง และน้ำ
ของมะกรูดมีกรด Citric ช่วยขจัดคราบสบู่ (ด่าง) ที่หลงเหลืออยู่ น้ำมันจากผิว
มะกรูดช่วยให้ผมดกเป็นเงางาม นอกจากนี้ผิวมะกรูดจะมีประสิทธิภาพในการยับยั้ง
การเจริญของจุลินทรีย์ต่าง ๆ ได้ เพื่อกำจัดรังแคที่มาจากเชื้อรา
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง: http://www.ngcspice.com
05/09/2550 (update 13/01/2554)
http://www.ngcspice.com/product-th-0-1212974-ผิวมะกรูด+อบแห้ง.html |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 15/01/2011 12:29 pm ชื่อกระทู้: |
|
ใบมะกรูดอบแห้ง ( Dried kaffir lime laef )
ใบมะกรูดอบแห้ง เกรดพิเศษ เหมาะสำหรับใช้ทดแทน ใบมะกรูดสด โดยนำใบ
มะกรูดอบแห้งนำไปแช่น้ำ ใบมะกรูดอบแห้งจะคืนรูปกลับมาเป็นเหมือนใบมะกรูด
สด สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาหารได้ตามปรกติเหมาะสำหรับร้านอาหาร
ไทยในต่างประเทศ สามารถเก็บได้นานเป็นปี การขนส่งสะดวกสามารถขนส่งทาง
เรือได้ สินค้ามีแบบบดหยาบด้วย ใบมะดรูดอบแห้งผลิตในกระบวนการที่สะอาดควบ
คุมเชื้อมีใบตรวจเช็คจากแลปกลางของรัฐบาล
รายละเอียด: ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus hystri
ลักษณะ มะกรูดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบหนาและมีรอยคอดตรงกลาง ดอกสีขาว
ผิวของผลมะกรูดขรุขระเป็นปุ่มปมทั้งลูก น้ำในลูกมีรสเปรี้ยว มีหนามแหลมยาว ตาม
ลำต้นและกิ่ง
สรรพคุณ
ใบ ........... รสปร่าหอม แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นโลหิต ช้ำใน ดับคาว
ลูก........... รสเปรี้ยว กัดเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว กัดเถาดานในท้อง แก้ระดูเสีย ฟอกโลหิต ขับระดู ขับลมในลำไส้
ผิวลูก ....... รสปร่าหอมร้อน ขับลมในลำไส้ ขับระดู ขับผายลม
น้ำในลูก .....รสเปรี้ยว แก้ศอเสมหะ ฟอกโลหิตระดู ขับลมในลำไส้
ราก ..........รสจืดเย็น แก้ไข้ ถอนพิษสำแดง แก้ลมจุกเสียด กระทุ้งพิษ ไข้ แก้พิษฝีภายใน แก้เสมหะเป็นโทษ
คณะเภสัชศาสตร์ มศว ค้นพบน้ำมันจากผิวและใบของมะกรูดมีฤทธิ์ไล่แมลง กำลัง
พัฒนาเป็นแคปซูลให้เกษตรกรนำไปใช้งานไล่แมลงและหนอน ลดการใช้สารเคมี
ภญ.ดร. ฐาปนีย์ หงศ์รัตนาวรกิจ รักษาการรองคณบดีฝ่ายพัฒนาระบบการศึกษา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)เปิดเผยว่าจากการศึกษา
น้ำมันบริเวณผิวของผิวมะกรูดและน้ำมันในใบมะกรูดพบว่ามีฤทธิ์ในการไล่แมลงและ
หนอนได้ จึงได้ให้นิสิตทำโครงการสกัดน้ำมันมะกรูดจากผิวและใบของมะกรูดออก
มาจากนั้นจะทำเป็นไมโครเอ็นแคป คล้ายๆ เมล็ดบีช แต่เราจะใช้สาหร่ายผิวทราย
เคลือบไว้บริเวณผิวจะเป็นการหุ้มน้ำมันที่ได้จากผิวและใบมะกรูดอีกชั้นหนึ่ง น้ำมัน
มะกรูดจากใบนั้นจะสกัดยากว่าน้ำมันในเปลือกผล แต่จุดเด่นของน้ำมันในใบนั้นมี
กลิ่นมากกว่า ดังนั้นจึงต้องใช้น้ำมันมะกรูดทั้งที่เป็นส่วนเปลือกผลและใบร่วมกันเพื่อ
ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
ภญ.ดร.ฐาปนีย์ กล่าวว่า โครงการวิจัยนี้จะสามารถช่วยเกษตรกรที่ต้องฉีดสารเคมี
เพื่อไล่แมลงและหนอนได้ โดยปกติแล้วเกษตรกรจะฉีดสารเคมีบ่อยมากเพื่อ
ป้องกันผลผลิตของตัวเองจากพวกแมลงซึ่งเป็นการเสี่ยงต่อชีวิตเนื่องจากฉีดสารเคมี
แต่ละครั้งต้องสูดดมสารเคมีเป็นจำนวนไม่น้อยแม้ว่าบางคนจะมีชุดเพื่อสวมใส่ขณะ
ฉีดสารเคมีแล้วก็ตาม
ขณะที่ผลิตภัณฑ์ซึ่งคณะเภสัชศาสตร์ มศว คิดค้นขึ้นนี้จะปลอดภัยจากสารเคมี อีก
ทั้งสะดวกในการใช้งาน เพราะทำเป็นแคปซูลเล็กๆภายในแคปซูลมีน้ำมันที่ช่วยไล่
แมลงและหนอนให้กับเกษตรกรได้เมื่อเกษตรกรนำแคปซูลน้ำมันมะกรูดไปใช้งานก็
ให้โปรยไว้ใต้ต้นไม้ที่ต้องการไล่แมลง แคปซูลน้ำมันมะกรูดจะค่อยๆ ปล่อยน้ำมัน
ออกมา
ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการทดลอบว่าแคปซูลมะกรูดจะมีฤทธิ์ใช้ไล่แมลงและหนอน
ได้ยาวนานแค่ไหน ซึ่งได้ประสานไปทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งมีความชำนาญ
ด้านโรคพืชให้ช่วยทดสอบ งานวิจัยของคณะเภสัชศาสตร์ในปัจจุบันจะเน้นช่วยเพิ่ม
ศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ"
"โดยเน้นผลิตภัณฑ์ที่สามารถแข่งขันได้และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
เป็นหลัก อีกทั้งต้องทำให้ผู้คนภายในประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
รักษาการรองคณบดีฝ่ายพัฒนาระบบการศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ มศว กล่าว
ประโยชน์ของใบมะกรูด
ใบมะกรูด เป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาปรุงอาหารวันนี้เกร็ดความรู้มีเรื่องนี้มาฝากกัน...
ประโยชน์ของใบมะกรูดมีหลายอย่าง เช่น ขับลมทำให้เลือดลมไหลเวียนดี แต่บาง
คนคิดว่าเอามาทานได้อย่างเดียว ทั้ง ๆที่บางคนก็เอามาทำเป็นสมุนไพร
แบบ สปา ซึ่งถ้ารู้สึกเครียด ๆ ก็เอาใบมะกรูดมาฉีก ๆ แล้วดมก็ทำให้ผ่อนคลาย
ได้เหมือนกัน เพราะในใบมะกรูดจะมีสารบางตัวทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้ดี คนที่อยู่
ต่างแดน ช่วงนี้อากาศเย็นมาก ๆ ออกไปข้างนอกกลับมาเย็นมือเย็นเท้า แถมเกร็ง
ๆ ไปทั้งตัวก็ใช้ ใบมะกรูดได้เหมือนกัน
วิธีทำ คือ นำน้ำอุ่นใส่ภาชนะ ฉีกใบมะกรูดลงในน้ำอุ่นแช่เท้าหรือมือไว้สักพัก กลิ่น
ใบมะกรูดทำให้รู้สึกผ่อนคลาย บวกกับน้ำอุ่นก็จะทำให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้นสบาย
ตัวดีด้วยรู้อย่างนี้แล้ว หันมาทานใบมะกรูดกันดีกว่า เพื่อสุขภาพที่ดี
แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง: http://www.ngcspice.com
26/04/2549 (update 13/01/2554)
http://www.ngcspice.com/product-th-0-598929-%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%87+(+Dried+kaffir+lime+laef+).html |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 15/01/2011 10:45 am ชื่อกระทู้: |
|
กาลครั้งนั้น หลายปีมาแล้ว ที่ ซับสนุ่น มวกเหล็ก สระบุรี ภายใต้โครงการ "ยุว
เกษตรกรรุ่นใหม่" ดูเหมือนจะเป็นของ ก.เกษตร เพราะมี รมต.เกษตร ไปเปิดงาน
โดยมี นศ. หนุ่มสาวระดับ ปวช.-ปวส. (ประมาณนี้) 50 คน เข้าโครงการ เรียนฟรี
จนจบ จบแล้วให้ที่ดินคนละ 5 ไร่ มีข้อแม้ "ต้องทำจริง" ถ้าไม่ทำจริง ไม่ให้
พื้นที่เกษตรตรงนั้นเป็นป่าเปิดใหม่ ทางราชการปรับเรียบให้เรียบร้อย ใกล้ๆ กับมี
ลำธารน้ำธรรมชาติ น้ำไหลผ่านตลอดปี ทางราชการก็ได้เตียมแผนปรับปรุงระบบน้ำ
ใช้เพื่อการเกษตารไว้ให้แล้วด้วยเช่นกัน
ลุงคิมได้รับการติดต่อให้ไปบรรยายแนะนำวิธีการทำเกษตรแล้วรวยได้ จึงเสนอ
แนวคิดภายใต้หัวข้อ "1 ไร่รวย" ให้ทีมผู้ดำเนินการพิจารณา ซึ่งก็ได้รับการเห็น
ชอบในหลักการด้วย จากนั้นลุงคิมจึงได้จัดทำเอกสารที่มีข้อมูลประเภท HOW
TO ที่เกี่ยวเนื่องกับ "พืช" ล้วนๆ ราว 20 พืช จำนวน 50 เล่ม สำหรับแจกเป็น
เอกสารประกอบการบรรยาย
ส่วนกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรอย่างอื่น เช่น เลี้ยงสัตว์ ประมง ฯลฯ เว้นไว้
เพื่อไม่ให้หัวข้อบรรยายมากเกินไป
(ตัวอย่าง...ย่อ)
สรุปเนื้อหา "1 พืช 1 ไร่รวย" ในเอกสารประกอบการบรรยาย....
1. เนื้อที่ 50 แปลง โดยเจ้าของ 50 คน จัดสรรเนื้อที่คนละ 1 ไร่ ปลูกพริก จะได้
เนื้อที่รวม 50 ไร่
2. กำหนดเป้าหมาย "ทำพริกป่น" ส่งขายแบบ CONTACT FARMING โดยประ
กันออร์เดอร์ และเกรด ได้ตามสัญญา
3. พริกทุกแปลง สายพันธุ์เดียวกัน บำรุงด้วยเทคโนโลยีเดียวกัน ทะยอยเก็บเป็น
งวดๆ แต่ละงวดให้ได้ปริมาณตามออร์เดอร์ และทุกงวดเก็บจะต้องคุณภาพหรือ
เกรดเดียวกันด้วยเทคโนโลยีการปฏิบัติบำรุงระบบเดียวกัน
4. พริกสดแก่จัดเข้าเครื่องอบแห้งพลังแสงอาทิตย์ (ประหยัดต้นทุน) ด้วยเครื่องอบ
แบบเดีนยวกัน คุณภาพที่ออกมาจะเหมือนกัน หรือเกรดเดียวกัน
5. พริกแห้งเข้าเครื่องบดพริกป่น ด้วยเครื่องแบบเดียวกัน คุณภาพที่ออกมาจะ
เหมือนกัน หรือเกรดเดียวกัน ทุก LOT ทุกวันหรือทุกครั้ง
รูปแบบการบริหารแนวนี้จะบรรลุเป้าหมายได้ ต้อง.....
1. รวมกลุ่ม แลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ เกื้อหนุนส่งเสริมซึ่งกันและกัน
แบบมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบเดียวกัน
2. คิดค้น ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ผลิตภัณท์ก้าวไปสู่เกรดใหม่ที่ดีขึ้น ด้วยแทค
โนโลยีสมัยใหม่ เช่น เทคโนโลยีในการปลูก, เทคโนโลยีหลังเก็บเกี่ยว, การแปร
รูป, บรรจุภัณท์, ฯลฯ
3. ควบคุมปริมาณการผลิตให้สอดคล้องกับหลักการ DEMAND - SUPPLY
อย่างสม่ำเสมอ อย่าให้ขาดจนเสียประกันออร์เดอร์ หรืออย่าให้มากจนล้นตลาด
หรือเกินออร์เดอร์
4. ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ผู้รับซื้อกำหนด แบบ "การตลาดนำการผลิต หรือตามใจคน
ซื้อ" โดยที่ผู้ผลิตไม่เสียผลประโยชน์จนเกินไป หรือจนรับไม่ได้
5. บริหารการผลิตแบบ "ผลผลิตเพิ่ม (คุณภาพ-ปริมาณ) ต้นทุนลด" เช่น
แบบ "อินทรีย์ นำ - เคมี เสริม - ตามความเหมาะสม ของพริก"
6. รวม "พลังกาย-พลังใจ-พลังความคิด" ให้เป็น 1 แนวเดียวกัน ด้วยความซื่อ
สัตย์ต่อกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
7. โฆษณา ประชาสัมพันธ์
ลุงคิมครับผม
ปล.
ภารกิจบรรยายวันนั้นถูก "ยกเลิก" เพราะผู้ดำเนินงานต้องไปต้อนรับ รมต.
เอกสารประกอบการบรรยายมอบให้ผู้ติดต่อประสานงาน 1 เล่ม กับ จนท.เกษตร
(ระดับไหมไม่ทราบ เพราะไม่ได้ถาม) อีก 1 เล่ม ที่เหลือหอบกลับบ้าน
เวลา 1 เดือนผ่านไป ทราบจากผู้ติดต่อประสานงานว่า จนท.เกษตรท่านนั้น สนใจ
เอกสารประกอบการบรรยายส่วนที่หอบกลับบ้าน ว่าเป็นเอกสารที่ให้แนวคิดดีมาก
จึงอยากขอเอาเผยแพร่ ที่ไหนหรือโครงการอะไรไม่ได้แจ้ง คำตอบจากลุงคิม คือ
"เผาทิ้งหมดแล้ว...." แล้วก็ทราบภายหลังจากผู้ติดต่อประสานงานคนเดิมอีกว่า
จนท.เกษตรท่านนั้นบอก "เสียดาย" ลุงคิมเลยฝากกลับไปบอกว่า "คุณเสียดาย
กระดาษ แต่ผมเสียดายความรู้สึก...."
ลุงคิมก็ยังเปรยๆ ผ่านผู้ประสานงาน หวังจะให้เข้าหู จนท.เกษตร ผู้รับผิดชอบโครง
การบ้างว่า ..... พวกคุณไปเดินแห่ตาม รมต.ทำไม....ทำไมไม่ให้มีการบรรยาย
ตามแผนที่กำหนดไว้ต่อหน้า รมต. ให้ รมต.เห็นเลยว่า นี่คือ "งาน" ที่คุณทำ
ตามนโยบาย
ถึงวันนี้ เวลาผ่านไปหลายปี โครงการนั้น บรรดา นศ.หนุ่มสาวเหล่านั้น ยังคงอยู่
หรือดำเนินการต่อหรือไม่ ไม่ทราบ แล้วก็ไม่ใส่ใจจะทราบด้วย .... หรือแม้แต่จะ
ให้ไปถ่ายทอดแนวคิดใหม่ ให้ค่าตัวเป็นแสน นอกจากไม่เอา แล้วก็ไม่ไปด้วย |
|
|
kimzagass |
|
|