ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass |
ตอบ: 31/12/2010 2:33 pm ชื่อกระทู้: |
|
แนวคิดและหลักการเกษตรธรรมชาติ : แนวคิดเกษตรธรรมชาติเกาหลี
เกษตรธรรมชาติเกาหลีตามแนวทางของเกาหลีได้รับการเผยแพร่โดย ฮาน คิ โซ ผู้อำนวยการสถาบันเกษตรธรรมชาติจานอง (Janong Natural Farming Institute) เคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมเกษตรธรรมชาติเกาหลี ก่อนเกษียณได้มีการนำแนวคิดการ ใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่นและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่ชุมชน เพื่อใช้เป็นปัจจัยการผลิตในระบบเกษตรธรรมชาติ โดยเริ่มต้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เสร็จสิ้นลง โดยฮาน คิว โซ เป็นคนหนุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม ทำให้ต้องหยุดเรียนหนังสือ เนื่องจากมหาวิทยาลัยต้องปิดยาว ฮาน คิว โซ ได้สังเกตเห็นว่า เทคนิคการหมักพืชผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ในถังหมักของชาวเกาหลี เป็นวิธีการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง (การทำคิมจิ) โดยเมื่อนำของหมักดองไปรับประทานหมดแล้วก็จะเหลือแต่น้ำหมัก ซึ่งชาวเกาหลีมักจะเททิ้งก่อนทำความสะอาดถังหมักใหม่ ฮาน คิว โซ สังเกตว่า พืชผักที่ในนาและต้นไม้ข้างโรงหมักจะเจริญงอกงามดี เมื่อได้รับน้ำหมักจากการถนอมอาหาร ฮาน คิว โซ จึงได้รวบรวมสิ่งที่ได้จากการสังเกตและนำภูมิปัญญาของเกษตรกรเกาหลีมารวบรวมไว้เพื่อเผยแพร่มากกว่า 50 ปี โดยมีแนวคิดว่าการเกษตรที่พึ่งพาตนเองโดยใช้วัสดุเหลือใช้ในพื้นที่ร่วมกับจุลินทรีย์ท้องถิ่นจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและทำให้เกษตรกรสามารถะพึ่งพาตนเองได้
เกษตรธรรมชาติตามแนวทางเกาหลีเป็นรูปแบบเกษตรธรรมชาติวิธีหนึ่งที่มีแนวทางแตกต่างจากแนวทางของฟูกูโอกะ และโอกาดะ โดยจะมีความแตกต่างกัน ในส่วนของรูปแบบการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น โดยการใช้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในพื้นที่ในป่าหมู่บ้าน หรือชุมชนใกล้เคียง มาเป็นตัวเพิ่มความหลากหลายของธรรมชาติในพื้นที่เกษตรกรรม มีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ดินแดงในป่า รำข้าว รวมถึงมูลสัตว์มาหมักร่วมกับจุลินทรีย์ท้องถิ่น แล้วนำไปใช้ปรับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการนำวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นทั้งในรูปของ จุลินทรีย์และวัสดุต่างๆ มาใช้ร่วมกันด้วยวิธีการหมักที่เห็นความรวดเร็ว โดยการเลือกใช้วัสดุที่สามารถสลายตัวได้รวดเร็วใช้แรงงานน้อยลง จึงเป็นแนวทางที่แตกต่างกับวิธีของฟูกูโอกะ และมีผลทำให้ได้มูลค่าตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์สูงขึ้น ในระยะเวลาที่ไม่แตกต่างกับระบบการเกษตรแผนปัจจุบัน จึงทำให้ ระบบเกษตรธรรมชาติเกาหลีแพร่หลายเป็นที่นิยมใช้กันมากในประเทศไทยและทั่วโลกมากกว่าวิธีของฟูกูโอกะที่เน้นการฟื้นฟูโดยจุลินทรีย์ในธรรมชาติเช่นกัน แต่ไม่เน้นการทำปุ๋ยหมักจากวัสดุต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารและขยายปริมาณจุลินทรีย์ ดังนั้นวิธีของฟูกูโอกะจึงใช้ระยะเวลาเริ่มต้นในการปรับเปลี่ยนที่มากกว่า จึงทำให้ไม่ทันใจเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนจากระบบเกษตรแผนปัจจุบันไปเป็นเกษตรธรรมชาติ
เกษตรธรรมชาติตามแนวทางของเกาหลี มีความใกล้เคียงกับเกษตรธรรมชาติ คิวเซ. เป็นอย่างมาก ทั้งในรูปแบบของการปฏิบัติและวิธีการ โดยรูปแบบและวิธีการที่ต่างกันมีเพียงการเลือกใช้จุลินทรีย์ โดยเกษตรธรรมชาติคิวเซจะเลือกใช้จุลินทรีย์ อีเอ็ม (EM) หรือจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพที่มีการผลิตสำเร็จรูปตามมาตรฐานเป็นแบบอย่างเดียวกัน แล้วจึงนำไปเผยแพร่ทางการค้านโดยผ่านองค์การศาสนา ซึ่งอีเอ็ม.จะมีการเผยแพร่เพื่อส่งเสริมแนวทางเกษตรธรรมชาติคิวเซ. รูปแบบเป็นจุลินทรีย์เหมือนกันทั่วประเทศ ในขณะที่เกษตรธรรมเกาหลีจะเน้นการใช้จุลิทรีย์ท้องถิ่น (ไอเอ็มโอ หรือ Indigeneous Microorganism : IMOs)โดยมีหลักการที่ว่า จุลินทรีย์จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะมีความสมดุลในระบบนิเวศของชนิดและปริมาณจุลินทรีย์ที่สมบูรณ์ เนื่องจากมีการปรับตัวตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงมานับเป็นเวลาหลายพันปี
1.) เข้าใจบทบาทของสิ่งมีชีวิตและทำงานร่วมกับธรรมชาติ
หลักการของการทำเกษตรธรรมชาติของ ฮาน คิว โช คือ การทำงานร่วมกับธรรมชาติ เข้าใจกฎการทำการเกษตร รวบรวมองค์ความรู้ของมนุษย์ร่วมกับการใช้แรงงานในการผสมผสานสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ ได้แก่ ธาตุอาหารพืช แสงแดด อาหาร ดินและน้ำ สิ่งที่สำคัญและมีความจำเป็นในการทำเกษตรธรรมชาติ คือ การสังเกตและยอมรับในบทบาทของธรรมชาติ เพราะทุกชีวิตมีหน้าที่และมีบทบาทของตัวเอง โดยทุกชีวิตจะแยกจากกันไม่ได้ ต้องพึ่งพาอาศัยกันอยู่ร่วมกันเป็นระบบนิเวศ ดังนั้นเราต้องเข้าใจถึงวัฎจักรของสิ่งมีชีวิตและยอมรับในความสามารถของพืช สัตว์ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่รอบๆ ตัวตามศักยภาพที่มีอยู่อย่างเหมาะสมที่สุด คงเหลือไว้ให้มนุษย์รุ่นต่อๆ ไปได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติได้เช่นกัน
การทำเกษตรธรรมชาติของ ฮาน คิว โช จะเน้นให้เกษตรกรรู้จักบทบาทของตัวเองในการทำการเกษตร ในขณะเดียวกันก็ควรยอมรับในบทบาทของพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ซึ่งแตกต่างจากระบบเกษตรแผนใหม่ในปัจจุบันที่เน้นการผลิตพืชและสัตว์เพื่อเป็นวัตถุดิบใช้ป้อนโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น โดยความสำคัญของการเกษตร คือ การทุ่มเทแรงงานไปเพื่อการผลิตอาหารสำหรับมนุษย์ และการมีสุขภาพที่ดีจากการทำงานร่วมกับธรรมชาติ
2.) รู้จักใช้สิ่งที่มีอยู่รอบๆ ตัวให้เป็นประโยชน์
ประเทศเกาหลีเป็นประเทศในเขตหนาว ซึ่งในรอบปีจะสามารถทำการเกษตรได้เพียง 4-5 เดือน ดังนั้นผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่จะถูกเก็บรักษาไว้ในรูปของหมักดอง ซึ่ง ฮาน คิว โช ได้ค้นพบโดยบังเอิญว่าน้ำที่ได้จากการทำผักดองของเกาหลีที่เรียกว่า กิมจิ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ จากการสังเกตว่าเมื่อเทน้ำเหล่านี้ทิ้งลงแปลงพืช ทำให้พืชเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่ดี ซึ่งถ้าพิจารณา ส่วนประกอบในน้ำหมักดองจะพบว่ามีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์อยู่เป็นจำนวนมาก ในน้ำผักดองนั้นประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหมัก และสารอินทรีย์ต่างๆ ที่จุลินทรีย์ผลิตขึ้นมากมาย และสารอินทรีย์เหล่านั้นล้วนเป็นประโยชน์ต่อพืชทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ เอนไซม์ ฮอร์โมน และธาตุอาหารต่างๆ เช่น กรดอะมิโน และวิตามิน เป็นต้น ทำให้เกิดความคิดการทำน้ำหมักจากเศษวัตถุดิบที่เหลือใช้หรือมีอยู่มากรอบๆ ตัวมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ไม่เน้นการซื้อหามาจากแหล่งจากอื่น
นอกจากนี้ยังพบว่าจุลินทรีย์มีอยู่รอบๆ ตัวเรา ซึ่งสามารถทำการเก็บเชื้อจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ได้ในการทำเกษตรธรรมชาติ และสามารถเก็บได้เองในพื้นที่ โดยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นจะเป็นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและปรับตัวทำงานได้ดีที่สุด จุลินทรีย์ที่ดีควรมีความหลากหลาย เกษตรธรรมชาติเกาหลีไม่เน้นการใช้จุลินทรีย์เฉพาะตัวใดตัวหนึ่งและไม่สนับสนุนการใช้จุลินทรีย์ต่างถิ่นที่ต้องซื้อหามาใช้เป็นปัจจัยในการผลิต
3.) ให้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
กระบวนการผลิตมีความสำคัญมากกว่าในการผลิต เนื่องจากรูปแบบของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ จะมีลักษณะเฉพาะ การทำเกษตรสมัยใหม่จะมีเป้าหมายอยู่ที่ปริมาณการผลิต โดยไม่ใส่ใจลักษณะเฉพาะและความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัว เช่น การเลี้ยงไก่ในกรงตับ การเลี้ยงสุกรหรือวัวที่เป็นคอกพื้นซีเมนต์ ฯลฯ เกษตรกรควรใส่ใจ และยอมรับในความสุขของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รู้จักสังเกตสิ่งที่เป็นพฤติกรรมทางธรรมชาติของพืชที่ปลูก และสัตว์ที่เลี้ยง สิ่งนี้คือหัวใจของเกษตรธรรมชาติที่แท้จริง
4.) เชื่อในพลังของธรรมชาติ และมุ่งเน้นการผลิตโดยคำนึงถึงคุณภาพ
เกษตรธรรมชาติมีอิทธิพลอย่างมาก ในการกระตุ้นในเกษตรกรเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้ในการผลิตพืชและสัตว์ แนวคิดของเกษตรธรรมชาติเป็นอะไรที่จะฟังดูแปลก และมีความเสี่ยง ไม่มีเหตุผล หรือไม่สามารถอธิบายข้อสงสัยของเกษตรกรได้หมด ความเชื่อในวิธีเกษตรธรรมซึ่งปรากฏออกในลักษณะที่เกษตรกรไม่คุ้นเคย เนื่องจากหลักการและสมมุติฐานนี้ใหม่ดูแล้วไม่น่าจะถูกต้อง แต่ในกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมีความเป็นไปได้ ถ้าเกษตรกรเชื่อในพลังของธรรมชาติ เข้าและทำงานร่วมกันกับธรรมชาติ มนุษย์ต้องทำการเกษตรให้กลมกลืนอยู่กับธรรมชาติ แต่เกษตรกรส่วนใหญ่มักมุ่งเน้นหวังที่จะให้ได้ผลผลิตจากการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ให้ได้ประมาณมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของผลผลิตที่ได้
5.) ปล่อยให้สิ่งมีชีวิตต่างๆ ช่วยเหลือกันเอง และช่วยเหลือตัวเองก่อน
เกษตรกรควรให้ความช่วยเหลือ และดูแลให้สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ให้เหมาะสมและใช้วิธีการถูกต้อง เช่น ถ้ามีแมลงรบกวนก็ควรจะควบคุมตัวอ่อนของแมลง ถ้าวัชพืชเป็นปัญหาก็ควรใช้วิธีหยุดการงอกของเมล็ดวัชพืช การปล่อยให้วัชพืชต้องแข่งขันกันเองในแปลงปลูก จนเกินจุดสมดุลของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่รอบๆ ก็เป็นวิธีการควบคุมวัชพืชวิธีหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าวัชพืชบางชนิดก็มีประโยชน์เช่นกัน
ที่มา : แนวคิด หลักการ เทคนิคปฎิบัติในประเทศไทย เกษตรธรรมชาติ ประยุกต์
โดย รศ. ดร.อานัฐ ต้นโช
http://www.maejonaturalfarming.org
http://www.kasetchonnabot.com/node/115 |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 30/12/2010 5:56 pm ชื่อกระทู้: |
|
Sita บันทึก: | ..อรุณสวัสดิ์ค่ะ คุณลุง
ส่วนหน่วยงานที่ให้การส่งเสริม สนับสนุน จะเอาอะไรมาวัดว่าเค้าให้ความ
ใส่ใจ สนใจ ติดตาม ต่อยอด กับแนวทางนี้ และยิ่งชาวนาชาวบ้านไม่มี
ความสนใจตอบสนอง มันก็ยิ่งทำให้ "ไฟ" ในเรื่องนี้อ่อนลง หรือถึงขั้นดับ
ดับสนิทในบางพื้นที่ด้วยซ้ำ..
แป้งเอง (กราบสวัสดีปีใหม่ล่วงหน้านะคะคุณลุง) |
เก่งมาก ชัดเจน เห็นภาพเลย....นี่แหละ ประเทศไทย
ลุงคิมครับผม |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 30/12/2010 1:12 pm ชื่อกระทู้: |
|
ระบบเกษตรในประเทศไทย : การเกษตรแผนปัจจุบันหรือเกษตรเคมี (Chemical Agriculture)
การเกษตรแผนปัจจุบัน เป็นผลสืบเนื่องมาจากการปฏิวัติเขียวในราว ค.ศ.1960 (พ.ศ. 2503) โดยใช้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เกษตรและเทคโนโลยี มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า เช่น การใช้พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่ให้ผลผลิตสูง การใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรไถพรวนได้ลึกมากขึ้นทดแทนแรงงานจากสัตว์ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถผลิตได้ในทุกช่วงเวลาและมีผลผลิตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการใช้สารเคมีทางการเกษตรจำพวกปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และฮอร์โมนพืชสังเคราะห์ ฯลฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้นในการลงทุนที่เท่าเดิม ในระยะเวลาเดิม เพื่อจะได้มีวัตถุดิบป้อนให้กับโรงงานอุตสาหกรรมและเป็นการประหยัดแรงงาน เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่หลั่งไหลไปสู่ภาคอุตสาหกรรมตามที่ได้มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อนหน้านี้
การปฏิวัติเขียว ได้กลายเป็นนโยบายและแนวทางหลักของการพัฒนาประเทศส่วนใหญ่ในโลก นโยบายส่งเสริมการทำการเกษตร รวมถึงเทคนิคการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ได้ถูกกำหนดให้ใช้แนวทางเดียวกันจนกลายเป็นระบบหลักของทุกประเทศรวมถึงประเทศไทย เนื่องจากแนวคิดในเรื่องผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ที่เน้นความสามารถในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเป็นจำนวนมากมีผลตอบแทนสูงกับผู้ผลิตได้กลายเป็นแนวทางหลักในการเลือกรูปแบบการผลิตทางการเกษตร
การปฏิวัติเขียวได้เข้าสู่ประเทศในเอเชียตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง โดยประเทศผู้ชนะสงครามได้นำการเกษตรกรรมที่ในยุคนั้นเรียกว่า เกษตรกรรมแผนใหม่ ที่เน้นการใช้สารเคมีสังเคราะห์เข้ามาสู่ประเทศญี่ปุ่น และได้แพร่ต่อไปยังประเทศพันธมิตร เช่น เกาหลีใต้ และอีกหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย เป็นต้น
รูปแบบการเกษตรแผนใหม่นี้ช่วยให้ประเทศญี่ปุ่นสามารถผลิตพืชผลได้ในปริมาณที่เท่ากับการเพาะปลูกแบบพื้นบ้านแบบดั้งเดิม แต่ใช้เวลาน้อยกว่า นอกจากนี้ยังใช้แรงงานของเกษตรกรน้อยลงได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง ดังนั้น จึงทำให้เกิดการยอมรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ และได้พัฒนากลายเป็นแนวทางหลักในการผลิตทางการเกษตรหลักของญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศในเอเชียไปในที่สุด
แต่อย่างไรก็ตามได้มีการตั้งข้อสังเกตว่ารูปแบบการผลิตแบบดั้งเดิมของการผลิตทางการเกษตรในญี่ปุ่นที่เน้นการปลูกพืชหมุนเวียนใช้ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก มีการคลุมดินดังเทคนิคที่ได้ปฏิบัติมาหลายร้อยปีที่ทำให้ระดับอินทรียวัตถุในดินมีความคงที่ และส่งผลถึงระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินให้อยู่ในระดับที่ให้ผลผลิตที่สามารถเลี้ยงชาวญี่ปุ่นได้ตลอดมายาวนาน ได้ถูกละทิ้งไปภายหลังจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรและเครื่องจักรกลทางการเกษตร สิ่งนี้มีผลให้ฮิวมัสในดินถูกทำลายหมดไปภายในชั่วอายุคนรุ่นเดียว โครงสร้างของดินเสื่อมโทรมลง พืชอ่อนแอลงและต้องพึ่งพาการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอกที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ชนิดต่างๆ จำนวนมากโดยจะขาดเสียไม่ได้ ซึ่ง ถ้าขาดปัจจัยการผลิตจากภายนอกเมื่อใด ผลผลิตจะลดลงจนเกิดปัญหาความมั่นคงทางด้านอาหารตามมาในทันที
ผลของการทำการเกษตรแบบใช้สารเคมีสังเคราะห์ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาอย่างมากมายหลายประการดังต่อไปนี้
1. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
การทำเกษตรแผนใหม่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติตามมาที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ ปัญหาการพังทลายของหน้าดิน ดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ ปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อมและปัญหาการระบาดของโรคและแมลง ตัวอย่างเช่น จากการสำรวจในประเทศไทยพบว่า ในพื้นที่ลาดชันของจังหวัดน่านส่วนใหญ่ถูกชะล้างพังทลายในอัตราที่มากกว่า 16 ตันต่อไร่ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราสูงกว่าที่ยอมให้มีได้ถึง 20 เท่า และที่จังหวัดเพชรบูรณ์ พื้นที่ที่มีความลาดชัน 9% มีการสูญเสียหน้าดินถึง 26 ตันต่อไร่ต่อปี
เกษตรกรรมแผนใหม่ที่มุ่งเน้นเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรโดยการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นจำนวนมาก และใชัติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของโครงสร้างดินและดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจาก การใช้ปุ๋ยเคมีไม่ใช่การบำรุงดิน แต่เป็นการอัดแร่ธาตุอาหารให้แก่พืช โดยไม่มีการเติมอินทรียวัตถุเพื่ม ลงในดิน และการใช้ปุ๋ยเคมียังเร่งอัตราการสลายตัวของอินทรียวัตถุในดิน ทำให้โครงสร้างของดินเสื่อมลง ดินจึงกระด้างมีการอัดตัวแน่น ไม่อุ้มน้ำในฤดูแล้ง
การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกิดปัญหาสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เนื่องจาก การใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชในแต่ละครั้งจะใช้ประโยชน์ได้เพียง 25% ที่เหลืออีก 75% จะกระจายสะสมในดิน น้ำ และอากาศในสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญ คือ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่ได้ทำลายเฉพาะศัตรูพืชเท่านั้น แต่ยังทำลายแมลงและจุลินทรีย์ที่เป็นประโวชน์ในธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งเป็นการทำลายความสมดุลของระบบนิเวศในธรรมชาติ และผลที่ตามมาคือ การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชที่รุ่นแรงมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ทำลายผลผลิตข้านในประเทศไทย เมื่อปี 2533-2534 ซึ่งมีพื้นที่การแพร่ระบาดมากถึง 3.5 ล้านไร่
การทำเกษตรแผนใหม่ได้นำไปสู่การปลูกพืชเชิงเดี่ยว และการขยายพื้นที่ทำการเกษตร ทำให้เกิดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าธรรมชาติ ทำให้เกิดการสูญเสียพื้นที่ป่าอันเป็นทรัพยากรที่สำคัญในโลกและแหล่งต้นน้ำที่สำคัญลงด้วย
2. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
การทำเกษตรแผนใหม่เป็นการทำการเกษตรที่ต้องพึ่งปัจจัยภายนอก เพื่อนำมาเพิ่มผลผลิตให้ได้เป็นจำนวนมาก แต่ก็ มิได้หมายความว่าเกษตรกรจะประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจเสมอไป ในทางตรงกันข้ามกลับพบว่า เกษตรกรที่ทำการเกษตรแผนใหม่จำนวนมากประสบปัฯหาภาวะขาดทุน และหนี้สิน เกิดความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ เนื่องมาจากต้นทุนการผลิตที่สูงและราคาผลผลิตที่ตกต่ำ ในประเทศไทยการพัฒนาการเกษตรแผนใหม่กลับเป็นการผลักดันให้เกษตรกรต้องตกอยู่ภายใต้การครอบงำของบริษัท เนื่องจากต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิต และเทคโนโลยีต่างๆ จากบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย หรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เป็นการทำการเกษตรที่ถูกผูกขาดจากบริษัทขนาดใหญ่ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การทำเกษตรแผนใหม่เป็นการสร้างรายได้ให้แก่บริษัทเอกชนขนาดใหญ่มากกว่าเกษตรกรที่แท้จริง
3. ผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค
การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยังก่อให้เกิดปัญหาการได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายของเกษตรกรผู้ใช้ และยังมีสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย การใช้สารเคมีทางการเกษตรนานๆ จนทำให้พืชผักมีพิษตกค้างจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของผู้บริโภค จากการตรวจพบสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรของประเทศไทย พบว่า ผลผลิตมีสารพิษตกค้างอยู่สูงจนในผลผลิตบางชนิดไม่ผ่านมาตรฐานมีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย นอกจากนี้การที่คนไทยบริโภคผลผลิตที่มีสารพิษตกค้างอยู่ทำให้มีการสะสมสารพิษในร่างกายเป็นระยะเวลานาน และเกิดการเจ็บป่วย เช่น โรคภูมิแพ้ โรคเครียด โรคมะเร็ง ฯลฯ โดยเฉพาะโรคมะเร็ง ซึ่งจะเห็นได้จากสถิติคนไทยที่ป่ายเป็นโรคมะเร็งมีจำนวนมากขึ้นทุกปี
4. ผลกระทบต่อวิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น
เกษตรกรรมแผนใหม่ทำให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของเกษตรกรไทย ทำลายฐานการเกษตรแบบยังชีพของเกษตรกร ทำลายระบบสังคมของชุมชน และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความคิดที่มีต่อภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นถูกละเลย ด้วยเข้าใจว่าเป็นความเชื่อ หรือวิธีการปฏิบัติที่ไม่ทันสมัย ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ และไม่มีประสิทธิภาพ โดยลืมไปว่าความรู้และภูมิปัญญาที่ถูกถ่ายทอดต่อๆ กันมาได้มาจากประสบการณ์ของคนรุ่นก่อนมานานหลายรุ่น ที่อยู่ในพื้นที่ท้องถิ่นที่พวกเขาอาศัยอยู่ ซึ่งความคิดนี้ได้รุนแรงมากขึ้นเมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคปฏิวัติเขียว ความรู้และแนวทางการพัฒนาการเกษตรจะถูกรวมไปอยู่ในสถาบันการเกษตรต่างๆ ของรัฐ และบริษัทธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่ การพัฒนาและแก้ไขปัญหาของเกษตรกรกลายเป็นบทบาทของผู้เชี่ยวชาญทางการเกษตรจากหน่วยงานของรัฐ หรือบริษัทการเกษตรที่เข้าไปเปลี่ยนแปลงความคิดและวิถีชีวิตของการทำการเกษตร โดยที่เกษตรกรกลายเป็นเพียงผู้รับเท่านั้นเอง ซึ่งหากองค์ความรู้ที่ได้รับนั้นไม่ถูกต้อง ผู้ที่ได้รับความเสียหาย คือ ตัวของเกษตรกรเอง
ที่มา : เกษตรธรรมชาติประยุกต์ โดย รศ.ดร.อานัฐ ตันโช
ศูนย์ข้อมูลเกษตรธรรมแม่โจ้ ภาควิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมเกษตร มหาวิทยาแม่โจ้
www.maejonaturalfarming.org
http://3591105.multiply.com/reviews/item/4 |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 30/12/2010 1:11 pm ชื่อกระทู้: |
|
เท่าที่ได้ค้นคว้าผลงานของ "ฟูโกโอกะ" ในการส่งเสริมแนวทางเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่น.....จำได้ว่า ท่านฟูกูโอกะ เผยแพร่ด้วยสื่อสารพัดชนิด เช่น วิทยุ. โทรทัศน์. สื่อสิ่งพิมพ์. เอกสารตำรา. รวมทั้งเข้าไปสอนในมหาวิทยาลัย เป็นระยะเวลานานถึง 20 ปี จึงประสบความสำเร็จ
ช่วงนั้นพืชต่างๆ เป็นพืชสายพันธุ์พื้นเมืองซึ่งตอบสนองต่อการเกษตรแบบอินทรีย์ดีมาก และปริมาณสารอาหารในอินทรีย์ก็พอเพียงต่อความต้องการของพืชอยู่แล้ว
ต่อมาด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้มีพืช "พันธุ์ลูกผสม" เกิดขึ้น ซึ่งพืชสายพันธุ์ลูกผสมที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่สามารถให้ผลผลิตสูงกว่าสายพันธุ์พื้นเมืองอย่างมาก และจากการที่พืชพันธุ์ลูกผสมให้ผลผลิตในปริมาณที่มากกว่าสายพันธุ์พื้นเมืองนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับสารอาหารในปริมาณที่มากกว่าพืชสายพันธุ์พื้นเมือง
เมื่อปริมาณสารอาหารในอินทรีย์มีไม่เพียงต่อความต้องการของพืชพันธุ์ลูกผสมเพื่อการสร้างผลผลิต จึงต้องให้สารอาหารประเภท "สังเคราะห์" เพิ่มเติม ในขณะเดียวกัน เกษตรกรญี่ปุ่นก็ไม่ละทิ้งแนวทางอินทรีย์เสียทีเดียว รูปแบบการเกษตรจากอินทรีย์เดี่ยวๆ เปลี่ยนเป็นมีการใช้สารอาหารสังเคราะห์ร่วมเข้าไปด้วย.....และนี่คือการเกษตรแบบ "อินทรีย์ + เคมี" นั่นเอง
ปัจจุบัน เกษตรกรญี่ปุ่นเข้าใจรูปแบบเกษตรแบบ "อินทรีย์ + เคมี" อย่างถ่องแท้ ด้วยการใช้สารอาหารพืชทั้ง "สารอินทรีย์" และ "สารสังเคราะห์" อย่างเหมาะสมและตรงตามความต้องการที่แท้จริงของพืช
หมายเหตุ : ยูเรียญี่ปุ่น คือ 11-0-0 แต่ยูเรียไทย คือ 46-0-0
ลุงคิมครับผม |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 30/12/2010 12:35 pm ชื่อกระทู้: |
|
แนวคิดและหลักการเกษตรธรรมชาติ : แนวคิดเกษตรธรรมชาติฟูกูโอกะ
มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เป็นเจ้าของแนวคิดเกษตรธรรมชาติที่เป็นที่รู้จักในหมู่เกษตรกรและนักวิชาการชาวไทยเป็นอย่างดี ภายหลังจากที่หนังสือ One Rice Straw Revolution หรือในชื่อไทย คือ "ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว" ได้รับการเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2530 ฟูกูโอกะได้รับรางวัล แมกไซไซ ในปี 2531 จากผลงานเกษตรธรรมชาติ ซึ่งมีหลักการสี่ประการได้แก่ การไม่ไถพรวน. การไม่ใช้ปุ๋ยเคมี. การไม่กำจัดวัชพืช. และการไม่ใช้สารเคมี. ซึ่งหลักการของฟูกูโอกะได้สวนทางกับการเกษตรกรรมแผนปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ฟูกูโอกะเป็นนักโรคพืชวิทยาที่ผันตัวเองไปเป็นเกษตรกรมาไม่ต่ำกว่า 50 ปี โดยพยายามที่จะฟื้นฟูดินและระบบนิเวศในไร่นาให้กลับมามีชีวิตดังเดิม สร้างเสริมความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พรรณไม้ และพืชผล ในทางคุณภาพ และปริมาณอีกด้วย
มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2454 ในหมู่บ้านเล็กๆ บนเกาะซิโกกุทางตอนใต้ของญี่ปุ่น และจบการศึกษาทางจุลชีววิทยาสาขาโรคพืชวิทยา เคยทำงานเป็นนักวิจัยทางการเกษตรของกรมศุลกากร เมืองโยโกฮาม่า ในการตรวจสอบพันธุ์พืชที่จะนำเข้าและส่งออก เมื่อเขาอายุได้ 25 ปี ได้ตัดสินใจลาออกจากงาน และกลับไปทำเกษตรกรรมที่บ้านในชนบท เขา ใช้เวลากว่า 50 ปี ไปกับการพัฒนาวิธีการทำการเกษตรธรรมชาติ
ฟูกูโอกะเป็นผู้นำงานจากห้องทดลองออกมาสู่ไร่นา เขาอธิบายว่า ชาวนาเชื่อว่าทางเดียวที่จะให้อากาศเข้าไปปรับสภาพเนื้อดินได้ดี คือ ต้องใช้จอบ พลั่ว ไถ หรือใช้แทรคเตอร์พรวนดิน แต่ยิ่งไถพรวนมาก ดินก็จะแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยมากขึ้นทำให้อนุภาคของดินแตกกระจายออกจากกัน ทำให้อนุภาคของดินเหล่านี้เข้าไปอุดอยู่ในช่องว่างในดิน ดินก็จะแข็งขึ้นเกิดชั้นดินดาน ถ้า ปล่อยให้วัชพืชทำหน้าที่นี้แทน รากของวัชพืชจะซอนไซลงไปได้ลึกได้ถึง 30-40 ซม. ซึ่งจะช่วยทำให้ทั้งอากาศและน้ำผ่านเข้าไปในเนื้อดินได้ เมื่อรากเหล่านี้ตายก็เป็นอาหารของจุลินทรีย์ทำให้แพร่ขยายจำนวนมากขึ้น ไส้เดือนก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นและตัวตุ่นก็จะมีตามมา ซึ่งจะช่วยขุดดิน เป็นการช่วยพรวนดินตามธรรมชาติ ดินจะร่วนซุย และสมบูรณ์ขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องให้มนุษย์ช่วย เพียงแต่ปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเอง
ทฤษฎีของฟูกูโอกะนี้เป็นการเดินตามหลักเกณฑ์ของธรรมชาติ และเป็นวิธีบำรุงธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งโดยมุ่งเน้นวิธีการคลุมดิน ไม่มุ่งเน้นในเรื่องการทำปุ๋ยหมัก เพราะการคลุมดินจะช่วยปรับสภาพดินได้เป็นธรรมชาติกว่า
วิธีการทำเกษตรธรรมชาติของฟูกูโอกะ มีดังนี้
1.) ไม่มีการไถพรวนดินด้วยเครื่องจักรกล
2.) ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี แต่จะใช้วิธีการปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน โดยไม่สนับสนุนการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก แต่ให้ใช้ฟางข้าวโรยคลุมดินแทน
3.) ไม่มีการกำจัดวัชพืช แต่ใช้หลักการคุมปริมาณวัชพืช โดยใช้วิธีปลูกพืชคลุมดิน หรือใช้ฟางข้าวคลุมดิน
4.) ไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลง แต่อาศัยการควบคุมโรคและแมลงด้วยกลไก การควบคุมกันเองของ สิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ โดยเชื่อว่าวิธีการควบคุมโรคและแมลงที่ดีที่สุด คือ การปลูกพืชในสภาพแวดล้อมที่มีความสมดุลทางนิเวศวิทยา
ฟูกูโอกะเชื่อในการบำรุงรักษาดิน และการปล่อยให้สภาพแวดล้อมคงอยู่ตามธรรมชาติ ไม่แยกสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันตามธรรมชาติออกจากกัน โดยเขาได้กล่าวไว้ว่า ถ้าเราเปลี่ยนแปลงวิธีการเพาะปลูกธัญญาหารของเรา เท่ากับเราเปลี่ยนแปลงลักษณะอาหาร เปลี่ยนแปลงลักษณะสังคม และเปลี่ยนวิถีชีวิตค่านิยมของเราไปด้วย
การทำเกษตรธรรมชาติของฟูกูโอกะไม่ได้ปล่อยให้ธรรมชาติจัดการทุกอย่างเอง โดยที่เกษตรกรนั่งดูอยู่เฉยๆ โดยไม่ลงมือปฏิบัติอะไรเลย แต่ ตัวเกษตรกรเองจะต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และทำการเกษตรกรรมโดยประสานความร่วมมือกับธรรมชาติ มากกว่าพยายามที่เปลี่ยนแปลงธรรมชาติ และเพื่อลดการใช้ปัจจัยการผลิตที่ไม่จำเป็นลง มีจุดมุ่งหมายของการทำการเกษตรไม่ใช่เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้นเพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของผลผลิต ฟูกูโอกะได้กล่าวว่า การทำเกษตรกรรมด้วยความรู้สึกที่เป็นอิสระในแต่ละวัน คือ วิธีดั้งเดินของเกษตรกรรม ซึ่งมนุษย์เรามิได้มีชีวิตอยู่ด้วยอาหารเพียงอย่างเดียว
ข้อดีและข้อจำกัดของการทำเกษตรธรรมชาติฟูกูโอกะ
ข้อดี
1.) สมดุลทางธรรมชาติไม่ถูกทำลาย
2.) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อคนและสัตว์
3.) สามารถปรับปรุงการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมให้ดีขึ้น
4.) ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพปราศจากสารพิษ
5.) ลดต้นทุนการผลิต และใช้แรงงานน้อย
ข้อจำกัด
1.) ต้องใช้เวลาในการศึกษาและทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ
2.) เห็นผลช้า ไม่รวดเร็วทันใจ
3.) เกษตรกรต้องมีความพยายามและมีความอดทน
4.) ผลิตผลไม่สวยงามเมื่อเทียบกับการเกษตรสมัยใหม่
5.) ไม่สามาถผลิตเป็นการค้าได้ทีละมากๆ
ที่มา : แนวคิด หลักการ เทคนิคปฎิบัติในประเทศไทย เกษตรธรรมชาติ ประยุกต์ โดย รศ. ดร.อานัฐ ต้นโช
http://www.maejonaturalfarming.org
http://www.be2hand.com/scripts/shop.php?do=article_detail&news_id=2469&user=kasedinsee |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 30/12/2010 12:28 pm ชื่อกระทู้: |
|
วิีถีเกษตรธรรมชาติ
ภายใต้ยุคการล่าอาณานิคมสมัยใหม่ ที่เน้นการรุกคืบเข้าสู่ประเทศด้อยพัฒนาโดยมิติแห่งเศรษฐกิจแบบทุนนิยม วางรากฐานแนวคิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม การค้าและเทคโนโลยี ทะลายกำแพงทางวัฒนธรรมสู่สังคมต่าง ๆ ตั้งแต่สัมคมชั้นสูง ชนชั้นกลาง และชนชั้นรากหญ้า ส่งผลกระทบมากมายในสังคมประเทศเกษตรกรรมในทุก ๆ ด้าน
แนวคิดทางอุตสาหกรรม และการค้าสมัยใหม่ ทำให้ทัศนคติต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมเกษตรกรรมเปลี่ยนไปอย่างมหาศาล การดำรงชีวิตด้วยการถ้อยทีถ้อยอาศัยกับธรรมชาติเลี้ยงปากเลี้ยงท้องอย่างพอเพียงหาได้ยากยิ่งในปัจจุบัน อิทธิพลจากความรู้ทางการเกษตรแนวใหม่ได้พร่ำสอนให้มนุษย์กบฏต่อธรรมชาติ มุ่งถึงผลผลิตที่เน้นปริมาณ และคำนึงถึงกำไรสูงสุดที่ได้จากการค้าขาย เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากธรรมชาติอย่างน่าหวาดวิตก โดยไม่ตระหนักในผลกระทบและการเสื่อมถอยของสภาวะแวดล้อมในปัจจุบันที่มีแนวโน้มแย่ลงเรื่อย ๆ
วิทยาศาสตร์สอนให้ชาวนาปฏิรูปการเกษตร เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรโดยใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่มนุษย์สร้างขึ้น การใช้ยาฆ่าแมลง รวมไปถึงหลักการเกษตรสมัยใหม่ที่มีฐานความรู้จากห้องทดลอง เน้นการคิดแบบแยกส่วน การเกษตรถูกย่อยเป็นองค์ประกอบต่าง ๆ ความรู้เรื่องดิน เรื่องปุ๋ย วิชาที่ว่าด้วยศัตรูพืช ลักษณะของพืช ใบ ราก ดอก ผล กิ่งก้านลำต้นและราก ถูกแยกออกจากัน ทุก ๆ ส่วนจะมีนักวิชาการประจำดูแลรับผิดชอบอยู่เฉพาะทาง
เมื่อเกิดปัญหา นักวิชาการก็จะแจงแจงปัญหาออกเป็นส่วนๆ แบ่งงานให้ผู้รับผิดชอบงานตามส่วนนั้น ๆ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและหาวิธีแก้ไขในมุมมองของตน แล้วจึงนำมาประกอบเป็นองค์รวม จากนั้นก็เสนอแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งวิธีการเช่นนี้ดูคล้ายกับวิธีการที่เป็นระบบ มีคุณภาพ แต่แท้จริงแล้วกลับขาดศักยภาพ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่ต้องการวิเคราะห์แบบเชื่อมโยงผลกระทบของแต่ละองค์ประกอบและสังค์เคราะในรูปปัจเจคภาพ ซึ่งในความเป็นจริงเราไม่สามารถแยกย่อยธรรมชาติเช่นนั้นได้ ปัญหาการเกษตรทุกวันนี้จึงยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธี
มีแมลงศัตรูพืชมากัดกินพืชผลก็ใช้ยาฆ่าแมลง
พืชแคระเกร็น ผลผลิตได้ปริมาณไม่ตรงตามเป้าก็ใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มเพื่มผลผลิต
แนวโน้มของอัตราสารพิษตกค้าง และส่วนผสมของสารเคมีชนิดร้ายแรงอย่างน่าเป็นห่วงซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อมนุษย์และธรรมชาติ
นักปรัชญาชาวนา อดีตนักวิชาการเกษตร นักวิทยาศาสตร์ มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ ได้กบฏต่อแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ และอินทรีย์เกษตรกรรม ทดลองทำวิธีการเกษตรจากธรรมชาติ โดยฟูกูโอกะได้สรุปหลักการสำคัญของการเกษตรชนิดนี้ไว้สี่ประการคือ หนึ่งไม่ไถพรวนดิน หนึ่งไม่ใช้ปุ๋ยเคมี หนึ่งไม่ใช้ยาปราชศัตรูพืช และปล่อยวัชพืชทิ้งไว้ไม่กำจัด ฟูกูโอกะเชื่อว่ามนุษย์ควรจะอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เรียนรู้จากธรรมชาติ โดยไม่ทำการเปลี่ยนแปลงวิธีการเพาะปลูกธัญญาหาร เพราะการเปลี่ยนแปลงนั้น จะส่งผลกระทบต่อลักษณะสังคม และวิถีชีวิตของมนุษย์ ค่านิยมของคนในสังคมในที่สุด
แนวคิดของฟูกูโอกะนั้นเรียบง่าย พยายามไม่ทำอะไรให้มากที่สุด ปล่อยให้สิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติขับเคลื่อนด้วยตัวของตัวเอง การที่เกษตรกรไถคราดพรวนดิน ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยเคมี พ่นยาปราบศัตรูพืชนั้นถือว่าขัดต่อธรรมชาติ ฟูกูโอกะเชื่อว่า มนุษย์ไม่สามารถ และไม่มีทางเข้าใจธรรมชาติได้ การอ่อนน้อมถ่อมตน ขอแบ่งปันผลประโยชน์อย่างพอเพียงจากธรรมชาติ และทำตัวตามสบายไม่ฝืนธรรมชาตินั้นดีที่สุด
ผู้คนสมัยใหม่ไม่เชื่อว่าผลผลิตที่ได้จากการเกษตรธรรมชาติจะมีความแน่นอน และมีผลผลิตต่อไร่ไม่คุ้มค่าเท่ากับเกษตรกรรมที่มีแบบแผน แต่ จากการลองผิดลองถูกมากว่าครึ่งชีวิต ฟูกูโอกะสามารถพิสูจน์ได้ว่าการทำเกษตรแบบธรรมชาติสามารถให้ผลผลิตได้เท่ากับหรือมากกว่าได้ในบางปี และสามารถบำรุงรักษาดินโดยไม่ทำให้ดินเสียหาย โดยผืนดินที่ใช้เพาะปลูกเกษตรกรรมแบบธรรมชาตินับวันจะยิ่งอุดมสมบูรย์ยิ่งขึ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับผลของการเกษตรยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งได้ทำลายหน้าดินและความอุดุมสมบูรณ์ของดินลงทุกปี เพราะดินนั้นคือหัวใจของการเกษตร ถ้าดินถูกทำลาย พืชพรรณธัญญาหารก็ไม่สามารถเจริญงอกงามได้
ภายหลังผลงานหนังสือ One Rice Straw Revolution (ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว แปลเป็นไทยโดย รจนา โตสิตระกูล) ของฟูกูโอกะ ได้รับการตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2530 หนังสือได้กล่าวถึงหลักการและแนวคิดของเกษตรกรรมที่กลับสู่ธรรมชาติ วิธีการที่มนุษย์สามารถสร้างผลิตผลทางการเกษตร เสนอหลักการสี่ข้อของการเกษตรแบบธรรมชาติ ชี้แนะการไม่ปฏิเสธการคงอยู่และความแท้จริงของธรรมชาติ หนังสือเล่มนี้ทำให้ฟูกูโอกะได้รับรางวัลแมกไซไซในต่อมาในปี พ.ศ. 2531
หลังจากนั้นมาหลักการของฟูกูโอกะได้กระเืืทือนต่อแนวคิดการเกษตรกรรมไปทั่วโลก ทั้งตะวันตก และตะวันออก ฟูกูโอกะได้มีโอกาสเดินทางไปเยือนอเมริกา ยุโรป และอีกหลายประเทศในกลุ่มโลกตะวันตกตามคำเชื้อเชิญ เขาได้มีโอกาสพบปะกับชาวนา และผู้คนที่ทำการเกษตร และพบว่าเขาเหล่านั้นกำลังประสบปัญหาเป็นอย่างมากอันเนื่องจากแนวคิดการเกษตรแบบอุตสาหกรรม แร่ธาติในดินถูกทำลาย ทำให้ผลผลิตที่ได้ลดลง ต้องบุกรุกทำลายป่าเพื่อนำพื้นที่มาทำให้ผลผลิตมากขึ้น คงไม่มีใครคาดคิดว่าชาวนาของประเทศที่มีพร้อมทั้งวิทยาการและเทคโนโลยีชั้นสูงจะประสบปัญหาทางการเกษตรถึงเพียงนี้ แต่ชาวตะวันออกก็หลงเชื่อลมปากนายทุน หรือเอกสารการวิจัยที่ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนสินค้า นำเครื่องมือทางการเกษตร ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชไปใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยไม่รับรู้ถึงหายนะที่รออยู่ข้างหน้า เหมือนกับที่ชาวตะวันตกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้
ชาวตะวันตกส่วนหนึ่งที่ตื่นตัวกับวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ ก็มีความปราถนาทางมายังสวนธรรมชาติบ้านของฟูกูโอกะ ณ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้ฟูกูโอกะถ่ายทอดความรู้ในการทำเกษตรในแบบฉบับของเขา ตรงกันข้ามกับชาวตะวันออกที่นับวันจะถลำลึกตามรอยเท้าไปในทิศทางที่ผิดพลาดของชาวตะวันตกเข้าไปทุกที แม้ในบางครั้ง นักวิทยาศาสตร์ก็เชื่อในหลักการเกษตรธรรมชาติ แต่ก็มิวายประยุกต์นำสารเคมีมาประยุกต์ใช้ร่วมกันเล็กน้อย โดยอ้างเหตุผลที่ว่าอาจจะเป็นการปรับปรุงการเกษตรธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งแท้จริงแล้วไม่มีประโยชน์ใด ๆ เลย ที่จะทำเช่นนั้น
ข้อความข้างล่างนี้คือตอนหนึ่งจากหนังสือของฟูกูโอกะ ชื่อ "การปฏิวัติของพระเจ้า" ได้เปรียบเทียบระหว่างพระเจ้าและมนุษย์ แต่เราถ้าคิดว่าพระเจ้าก็คือธรรมชาติ บทความนี้ก็อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่มีต่อธรรมชาติได้ดี
เมื่อถึงเวลาพูด พระเจ้าก็นิ่งเฉย
มนุษย์ไม่อยู่ในฐานะที่จะพูดอะไรทั้งนั้น แต่มนุษย์ก็พูด
มนุษย์เป็นผู้ไม่รู้สัจธรรม ทว่าอธิบายความรู้ทุกสาขาได้ตลอด
พระเจ้านั้นเชี่ยวชาญในทุกสิ่ง แต่ไม่อธิบายอะไรเลย
พระเจ้าไร้ซึ่งการกระทำ แต่สร้างสรรค์ทุกสิ่ง
มนุษย์ทำทุกสิ่ง แต่ไม่ได้สร้างสรรค์อะไรเลย
มนุษย์ต้องพึงตระหนักเสมอว่า มนุษย์ไม่สามาระเข้าใจธรรมชาติได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มนุษย์มีขีดจำกัดทางประสาทการรับรู้ระดับหนึ่ง ดังนั้นความรู้ที่ได้จากการรับรู้จากสิ่งที่มีขีดจำกัดนั้น ย่อมเป็นความรู้เพียงมุม ๆ หนึ่ง ในเศษเสี้ยวเล็ก ๆ ไม่สามารถนำมาสังเคราะห์ วิเคราะห์และหาข้อสรุปในความจริงแท้ของธรรมชาติได้เลย
หนังสืออ้างอิง
1. วิถีสู่ธรรมชาติ มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เขียน นวลคำ จันภา แปล
2. ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เขียน รจนา โตสิตระกูล แปล
http://www.atthakorn.com/2008/07/10/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%B5%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4/ |
|
|
kimzagass |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 30/12/2010 12:11 pm ชื่อกระทู้: |
|
เกิดในปี พ.ศ. 2454 ในหมู่บ้านเล็กๆ บนเกาะชิโกกุทางตอนใต้ของญี่ปุ่น เขาจบการศึกษาทางจุลชีววิทยา สาขาพยาธิวิทยาของพืช และทำงานเป็นนักวิจัยทางเกษตรของกรมศุลกากรในเมืองโยโกฮาม่า ในแผนกตรวจสอบพันธุ์พืชที่จะนำเข้าและส่งออก เมื่อเขาอายุได้ 25 ปี ฟูกูโอกะเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของเกษตรกรรมสมัยใหม่ เขาตัดสินใจลาออกจากงานและกลับไปทำเกษตรกรรมที่บ้านในชนบท เขาอุทิศเวลากว่า 50 ปีให้กับการพัฒนาวิธีการทำเกษตรกรรมธรรมชาติ
ผมเชื่อว่าการปฏิวัติสามารถเริ่มต้นจากฟางข้าวเพียงเส้นเดียว ดูเผินๆ ฟางข้าวนี้อาจจะดูบอบบางไร้น้ำหนัก และไม่มีความสลักสำคัญอะไร จึงยากที่ใครจะเชื่อว่ามันสามารถเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติได้ แต่ผมได้ตระหนักแล้วถึงน้ำหนักและพลังของฟางเส้นนี้ หากผู้คนรู้ถึงคุณค่าที่แท้จริงของฟางเส้นนี้ การปฏิวัติของมนุษยชาติก็จะเกิดขึ้น เป็นการปฏิวัติที่ทรงพลังเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศและโลกทั้งโลกเลยทีเดียว
http://beztdmfarming.blogspot.com/p/blog-page_25.html |
|
|
kimzagass |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 30/12/2010 12:04 pm ชื่อกระทู้: |
|
มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ
จากหนังสือ ไส้เดือนรำพึง
ภาพและกวีวัจนะของมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ
จะ เป็น หรือ ตาย
ก็แค่ข้าวชามเดียว
อธิบายความ
ฟูกูโอกะต้องการแสดงให้เห็นว่าชีวิตของคนเรามิได้ยิ่งใหญ่อะไร ต้องอาศัยข้าว หล่อเลี้ยงจึงจะมีชีวิตอยู่ได้ โดยเปรียบเทียบว่า ชีวิตคนขึ้นอยู่กับข้าวเพียงชาม
เีดียวเท่านั้น
เป็นชาวญี่ปุ่นผู้ซึ่งหลงใหลใน วิถีแห่งธรรมชาติ ได้เขียนหนังสือเรื่อง ปฎิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว (The One Straw Revolution ) เมื่อปี พ.ศ. 2518 ซึ่งทำให้เขาได้รางวัลแมกไซไซ ประจำปี พ.ศ.2531 ในหนังสือเขากล่าวถึง เกษตรกรรมแบบธรรมชาติ ซึ่งมีหลัก 4 ประการคือ
1. ไม่ไถพรวนดิน
เกษตรกร เชื่อว่าการไถพรวนดินเป็นสิ่งจำเป็นต่อการปลูกพืช แต่ฟูกูโอกะเห็นว่า การไม่ไถพรวนดินคือ พื้นฐานของเกษตรกรรมธรรมชาติ พื้นดินมีการไถพรวนตามธรรมชาติด้วยตัวของมัน เองอยู่แล้ว จากการชอนไชของรากพืช และการกระทำของพวกสัตว์เล็กๆในดิน เช่น ไส้เดือน จุลินทรีย์
2. ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี หรือทำปุ๋ยหมัก
คน เรามักเข้าไปวุ่นวายกับธรรมชาติและไม่สามารถแก้ไขผลเสียที่เกิดขึ้น เช่น การเพาะปลูกที่เลิ่นเล่อสะเพร่าทำให้สูญเสียหน้าดินอันอุดมสมบูรณ์ไป ดินก็ จะจืดลงทุกปี แต่ถ้าปล่อยให้ดินอยู่ไปตามสภาพของมันเอง ดินจะสามารถรักษาความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติเอาไว้ได้ ซึ่งเป็นไปตามวงจร ชีวิตของพืชและสัตว์
3. ไม่จำกัดวัชพืช ไม่ว่าด้วยการถากถางหรือใช้ยากำจัดวัชพืช
วัชพืช มีความสำคัญในการสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินและ ช่วยให้เกิดความสมดุลในสิ่งแวดล้อมทางชีววิทยา ตามหลักการพื้นฐาน วัชพืชเป็นสิ่งที่ต้องควบคุม แต่ไม่ต้องกำจัด การใช้ฟางคลุม ปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน หรือการปล่อยน้ำ เข้านาเป็นครั้งคราว เป็นวิธีควบคุมวัชพืช
4. ไม่ใช้สารเคมี
เมื่อพืชอ่อนแอลงเพราะผลจากการปฎิบัติที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ได้แก่การไถพลิก ดิน การใช้ปุ๋ย เป็นต้น ทำให้เกิดความไร้สมดุลของโรคพืช และแมลงก็กลายเป็น ปัญหาใหญ่ในการเกษตร ธรรมชาตินั้นหากปล่อยไว้ตามลำพังก็จะอยู่ในสภาพ สมดุล แมลงที่เป็นอันตรายและโรคพืชมักมีอยู่เสมอ แต่ในธรรมชาตินั้นมันจะไม่ เกิดขึ้นจนถึงระดับที่ต้องใช้สารที่มีพิษเหล่านั้นเลย วิธีการควบคุมโรคและ แมลงที่เหมาะสมคือการปลูกพืชที่แข็งแรง ในสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์
ฟูกูโอกะได้พิสูจน์ให้เห็นว่า หลักการดังกล่าวไม่เพียงแต่จะฟื้นฟูดินและระบบ นิเวศน์ในไร่นาให้กลับมีชิวิตชีวาพร้อมพรั่งดังเดิม หากยังเสริมสร้างความ อุดมสมบูรณ์ให้แก่พรรณไม้และพืชผล ทั้งในทางปริมาณและคุณภาพเหนือกว่า เกษตรกรรมแผนใหม่ซึ่งเน้นวิทยาการขั้นสูงเสียอีก
รับใช้ธรรมชาติแล้วทุกอย่างจะดำเนินไปด้วยดี
อย่าฆ่าสัตว์กินแมลงตามธรรมชาติ
ปลูกผักบ้านแบบผักป่า
ฟูกูโอกะกล่าวว่า ความทะเยอทะยานอันไม่มีที่สิ้นสุด คือสาเหตุพื้นฐานที่ทำให้โลกตกอยู่ในสภาพอย่างที่เห็นในปัจจุบัน การพัฒนาแบบชั่วแล่นทำให้สังคมล่มสลาย ทำให้มนุษย์ถูกแยกขาดจากธรรมชาติ หมกมุ่นอยู่ในความทะเยอทะยานทางวัตถุและผล ประโยชน์ส่วนตัว
ยิ่งเกษตรกรรมเพิ่มขนาดการผลิตมากขึ้นเท่าใด ร่างกายและจิตใจของคนเราก็จะยิ่งเหนื่อยล้าและยุ่งเหยิงมากขึ้นเท่านั้น และก็ยิ่งห่างไกลจากชีวิตที่งอกงาม ทางจิตวิญญาณ วิถีชีวิตแห่งเกษตรกรรมขนาดเล็กอาจจะดูโบราณล้าหลัง แต่วิถีเช่นนั้นย่อมเอื้อต่อการเพ่งพินิจ หนทางอันยิ่งใหญ่ ถ้าบุคคลใดเข้าใจเพื่อนบ้านของตนและเข้าใจโลกแต่ละวันที่เขามีชีวิตอยู่อย่างลึกซึ้ง ความยิ่งใหญ่ของโลกก็จะ เปิดเผยแก่ตัวเขา
ฟูกูโอกะ กล่าวว่า เป้าหมายสูงสุดของการเกษตรกรรมไม่ใช่การเพาะปลูกพืช แต่คือการบ่มเพาะความอุดมสมบูรณ์แห่งความเป็นมนุษย์ เขาได้กล่าวถึงเกษตรกรรมในฐานะที่เป็นวิถีชีวิตแบบเก่าว่า การอยู่ที่นี่ ดูแลทุ่งนาเล็กๆด้วยความรู้สึกที่เป็นอิสระในแต่ละวัน ทุกๆวันนี้คือวิถีดั้งเดิมของเกษตรกรรม งานเกษตรกรรมซึ่งมีความสมบูรณ์เป็นหนึ่งเดียวจะหล่อเลี้ยงบุคคลทั้งร่างกายและวิญญาณ เรามิได้มีชีวิตอยู่ด้วยอาหารเพียงอย่างเดียว
http://www.pamame.com/magazine/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B8-%E0%B8%9F%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B0.html |
|
|
Sita |
ตอบ: 30/12/2010 6:44 am ชื่อกระทู้: |
|
..อรุณสวัสดิ์ค่ะ คุณลุง
...โห..คุณลุงถามซะเป็นการเป็นงานเชียว และแป้งจะตอบยังงัยล่ะเนี่ย..
ตามความรู้สึกก็แล้วกันนะคะ..
ก็ชาวนาทุกวันนี้ มีแต่ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เก๋าแล้วทั้งนั้น การที่จะเปลี่ยน
หรือแค่ให้ สนใจ คิดร่วม เห็นร่วมเ ข้าใจร่วม กับแนวทางที่ไม่ใช่แบบเดิมๆ
อย่างที่เค้ายึดติด เคยชิน มันก็ถือว่าเป็นยากที่หนึ่งแล้ว เพราะเค้าแค่
ให้ความสนใจ แต่คงไม่ทำความเข้าใจหรือรับมันจริงๆหรอก..
การทำนาในแนวทาง "อินทรี-ชีวภาพ" มันยุ่งยากหลายขั้นหลายตอน
และผลที่ได้มันไม่ชัดเจนรวดเร็วเหมือนเคมี เคมีก็ไม่ต้องใส่ใจ มีวินัย
ให้ยุ่งยาก และโดยทั่วไปชาวนาที่ทำนาอยู่ มุ่งเน้นที่ผลผลิต ทำเพื่อขาย
ไม่ใชเพื่อกิน ต้องทำแข่งกับเวลา แข่งกับเพื่อนบ้าน และแนวทางอินทรีย์
ชีวภาพ ไม่ได้อำนวยในเรื่องนี้ มันจึงเป็นยากต่อมา..
และก็ยังมีอีกหลายๆยาก ที่ท่านๆ ก็คงรู้ๆกันอยู่
ส่วนหน่วยงานที่ให้การส่งเสริม สนับสนุน จะเอาอะไรมาวัดว่าเค้าให้ความ
ใส่ใจ สนใจ ติดตาม ต่อยอด กับแนวทางนี้ และยิ่งชาวนาชาวบ้านไม่มี
ความสนใจตอบสนอง มันก็ยิ่งทำให้ "ไฟ" ในเรื่องนี้อ่อนลง หรือถึงขั้นดับ
ดับสนิทในบางพื้นที่ด้วยซ้ำ..
ตัวอย่างเล็กๆที่พอให้เห็นภาพ เมื่อมีโครงการให้หาชาวบ้านรวมกลู่มอบรม
เรื่องปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำ อบต. โยนเรื่องมาให้ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ใหญ่บ้านก็โยน
ต่อมาถึงหมอดินอาสาอีกที หารายชื่อชาวบ้านมาส่ง ซึ่งก็พอหาได้ แต่ก็ไม่ครบ
ตามจำนวน (ขาดอีกเยอะ) แต่เมื่อถึงเวลาจริงๆ ก็มีเพียงรายชื่อที่เข้าร่วมกิจกรรม
กลายเป็นงาน ก. แทนงาน "กลุ่ม"....ซึ่งเราคงไม่มีบทบาท, ความสามารถพอ
พอที่จะทำอะไรได้....ที่ทำได้ทุกวันนี้ก็คือ พาตัวเองเดินในแนวทางนี้ให้ดีที่สุด
ให้เวลา มันเป็นเครื่องพิสูจน์ตัวของมันเอง คนรุ่นนี้ไม่เห็น คนรุ่นต่อๆไปคงมี
คนเห็น และร่วมเดินทางไปด้วยกัน...
แป้งเอง (กราบสวัสดีปีใหม่ล่วงหน้านะคะคุณลุง) |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 28/12/2010 5:55 pm ชื่อกระทู้: |
|
Sita บันทึก: | ..ส่วนตัวนะคะ (ส่วนตัวจริงๆ)..
ตอบ :
ดีซี่ ส่วนตัวนี่แหละดี ในฐานะที่หนูแป้งเกษตรกร เป็นชาวนาจริงๆ ทำกับมือทุกอย่าง
ลุงคิมอยากให้หนูแป้งออกความคิดเห็น หรือความรู้สึก หรือประสบการณ์ตรง
ระหว่าง เกษตรกรผู้รับการส่งเสริม กับใครก็ได้ที่เป็นผู้ส่งเสริม ว่าผลงานการส่ง
เสริมมันเกิด หรือไม่เกิด หรือไม่ อย่างไร และเพราะอะไร....
ไม่รู้หรอกว่า ใคร มีหน้าที่ตอบโต้ ..
หรือ ใครสามารถโต้ตอบ บทความนี้ได้บ้าง....อย่างไร..
แต่ที่รู้ก็คือ การที่จะรณรงค์โน้มน้าวให้ชาวนา "ลด" การใช้ "เคมี"
แล้วหันมาใช้ อินทรีย์ชีวภาพ หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่ไม่ใช่ "เคมี" นั้น
มันเป็นเรื่องที่ "ยาก" และต้องใช้ความพยายาม, อดทน และที่สำคัญ
"เวลาในการทำความเข้าใจในแนวทาง อินทรีย์ชีวภาพ" ซึ่งก็สำเร็จ
ไปได้แค่บางส่วน (น้อย) เท่านั้น
ตอบ :
ที่ว่า "ยาก" น่ะ.....ยากยังไง ? เพราะอะไร ? แก้ไขได้ไหม ?
ยังมีชาวนาที่ยังใช้ "เคมี" ในนาข้าวอยู่ ซึ่งเค้าก็คงไม่รู้สึกอะไร กับบทความนี้
แต่กับชาวนาที่ได้ปฏิบัติ, ซึมซับ แนวทางอินทรีย์ชีวภาพ และเคมีบ้าง
ตามความเหมาะสมนั้นเค้าก็คงจะรู้สึก
....งง และ สับสน อยู่ไม่น้อยว่า..."มันจะอะไรกับชาวนานักหนา (วะ)"...
ตอบ :
ดุดีจัง.....กินข้าวกับอะไรน่ะ...
แป้ง.. |
|
|
|
Sita |
ตอบ: 28/12/2010 5:29 pm ชื่อกระทู้: |
|
..ส่วนตัวนะคะ (ส่วนตัวจริงๆ)..
ไม่รู้หรอกว่า ใคร มีหน้าที่ตอบโต้ ..
หรือ ใครสามารถโต้ตอบ บทความนี้ได้บ้าง....อย่างไร..
แต่ที่รู้ก็คือ การที่จะรณรงค์โน้มน้าวให้ชาวนา "ลด" การใช้ "เคมี"
แล้วหันมาใช้ อินทรีย์ชีวภาพ หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่ไม่ใช่ "เคมี" นั้น
มันเป็นเรื่องที่ "ยาก" และต้องใช้ความพยายาม, อดทน และที่สำคัญ
"เวลาในการทำความเข้าใจในแนวทาง อินทรีย์ชีวภาพ" ซึ่งก็สำเร็จ
ไปได้แค่บางส่วน (น้อย) เท่านั้น
ยังมีชาวนาที่ยังใช้ "เคมี" ในนาข้าวอยู่ ซึ่งเค้าก็คงไม่รู้สึกอะไร กับบทความนี้
แต่กับชาวนาที่ได้ปฏิบัติ, ซึมซับ แนวทางอินทรีย์ชีวภาพ และเคมีบ้าง
ตามความเหมาะสมนั้นเค้าก็คงจะรู้สึก
....งง และ สับสน อยู่ไม่น้อยว่า..."มันจะอะไรกับชาวนานักหนา (วะ)"...
แป้ง.. |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 28/12/2010 10:07 am ชื่อกระทู้: |
|
Soup บันทึก: | คำพูด: | เปลี่ยนจากการใช้ปุ๋ยคอก-ปุ๋ยหมัก มาใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตรไนโตรเจน ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซมีเธนได้ |
ขอแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างแรงครับ ไม่ว่าเราจะหมักหรือไม่หมักเศษซากพืช มันก็หมักตัวมันเองเพราะจุลินทรีย์จะเข้าไปหากินอาหารเองโดยอัตโนมัติตามสัญชาติญาณการอยู่รอดของเขาครับ ก๊าซมีเธนก็ต้องเกิดขึ้นเพราะเป็นกระบวนการตามธรรมชาติ
พืชและสัตว์เกิดแล้วตาย เกิดแล้วตาย เกิดแล้วตาย มาอย่างนี้มานับปีไม่ได้แล้วทำไมมันเพิ่งมามีก๊าซมีเธนมากขนาดนี้เอาตอนนี้ล่ะครับ ผมงงจริง ๆ กับตรรกะที่เขาใช้เนี่ย
จะเอาข้ออ้างนี้มาอ้างให้เราใส่ปุ๋ยเคมีแทนอีกแล้วจะแก้ปัญหาได้ อ้างผิดเหตุผลมาก ๆ ครับ ใส่ปุ๋ยเคมีแทนเลยหมายความว่าดินเราจะไม่มีการหมุนเวียนของอินทรีย์วัตถุ ทำให้ดินแข็ง กลายเป็นดินที่ไม่มีชีวิต สิ่งมีชีวิต(ซึ่งก็กำเนิดมาจากสารอินทรีย์เหมือนกัน)ก็ค่อย ๆ ตายหายไป ไม่อยากอยู่ในดินที่มีอินทรีย์วัตถุน้อย กลายเป็นดินที่มีแต่ความแห้งแล้ง
ผมไม่ได้ว่าลุงคิมนะครับ ว่าคนเขียนครับ
|
ถูกต้อง คุณ SOUP พูดถูกต้องแล้ว....
ลุงคิมเอาเรื่องนี้มาโพสต์ไว้ ก็เพื่อบอกกล่าวให้พวกเรารู้ว่า "เกษตรไทยในสายตาต่างชาติ" ยุคโลกาภิวัตรนี้เป็นอย่างไร
แนวคิดของลุงคิม คือ บ้านเมืองเรามัน "อ่อนประชาสัมพันธ์" ก็ในเมื่อประเทศอื่นเขาอ้างเหตุผลแบบนี้ขึ้นมา เราก็น่าจะเอาเหตุผลแบบที่คุณ SOUP อ้าง ตอบโต้ไปบ้าง
แน่นอนที่สุด บทความนี้มี "ผลประโยชน์แอบแฝง" โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี
ฝากถึงพวกเรา....ยืนหยัดแนวทางเดิม "อินทรีย์ นำ - เคมี เสริม - ตามความเหมาะสม" ต่อไป
ลุงคิม (อยากฟังความคิดเห็นจาก สมช. อื่นๆอีก) ครับผม
ปล.
เอเมริกา หรือประเทศอื่นๆ ที่เขาคิดว่า เขาเป็นมหาอำนาจ (เขาพูดของเขาเอง) คุณ SOUP เคยสัมผัสมาชนิดรู้ไส้รู้กึ๋นดี จึงอยากให้คุณ SOUP นำประสบการณ์ตรงเรื่องนี้มาตีแผ่บอกกล่าวพวกเรา (คนไทย) ได้รู้บ้างนะ.... |
|
|
catcaty |
ตอบ: 28/12/2010 2:28 am ชื่อกระทู้: |
|
Soup บันทึก: | คำพูด: | เปลี่ยนจากการใช้ปุ๋ยคอก-ปุ๋ยหมัก มาใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตรไนโตรเจน ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซมีเธนได้ |
ขอแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างแรงครับ ไม่ว่าเราจะหมักหรือไม่หมักเศษซากพืช มันก็หมักตัวมันเองเพราะจุลินทรีย์จะเข้าไปหากินอาหารเองโดยอัตโนมัติตามสัญชาติญาณการอยู่รอดของเขาครับ ก๊าซมีเธนก็ต้องเกิดขึ้นเพราะเป็นกระบวนการตามธรรมชาติ
พืชและสัตว์เกิดแล้วตาย เกิดแล้วตาย เกิดแล้วตาย มาอย่างนี้มานับปีไม่ได้แล้วทำไมมันเพิ่งมามีก๊าซมีเธนมากขนาดนี้เอาตอนนี้ล่ะครับ ผมงงจริง ๆ กับตรรกะที่เขาใช้เนี่ย
จะเอาข้ออ้างนี้มาอ้างให้เราใส่ปุ๋ยเคมีแทนอีกแล้วจะแก้ปัญหาได้ อ้างผิดเหตุผลมาก ๆ ครับ ใส่ปุ๋ยเคมีแทนเลยหมายความว่าดินเราจะไม่มีการหมุนเวียนของอินทรีย์วัตถุ ทำให้ดินแข็ง กลายเป็นดินที่ไม่มีชีวิต สิ่งมีชีวิต(ซึ่งก็กำเนิดมาจากสารอินทรีย์เหมือนกัน)ก็ค่อย ๆ ตายหายไป ไม่อยากอยู่ในดินที่มีอินทรีย์วัตถุน้อย กลายเป็นดินที่มีแต่ความแห้งแล้ง
ผมไม่ได้ว่าลุงคิมนะครับ ว่าคนเขียนครับ |
ใช่...
หมึกครับผม |
|
|
Soup |
ตอบ: 27/12/2010 10:39 pm ชื่อกระทู้: |
|
คำพูด: | เปลี่ยนจากการใช้ปุ๋ยคอก-ปุ๋ยหมัก มาใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตรไนโตรเจน ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซมีเธนได้ |
ขอแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างแรงครับ
ไม่ว่าเราจะหมักหรือไม่หมักเศษซากพืช มันก็หมักตัวมันเองเพราะจุลินทรีย์จะเข้าไปหากินอาหารเองโดยอัตโนมัติตามสัญชาติญาณการอยู่รอดของเขาครับ ก๊าซมีเธนก็ต้องเกิดขึ้นเพราะเป็นกระบวนการตามธรรมชาติ
พืชและสัตว์เกิดแล้วตาย เกิดแล้วตาย เกิดแล้วตาย มาอย่างนี้มานับปีไม่ได้แล้วทำไมมันเพิ่งมามีก๊าซมีเธนมากขนาดนี้เอาตอนนี้ล่ะครับ ผมงงจริง ๆ กับตรรกะที่เขาใช้เนี่ย
จะเอาข้ออ้างนี้มาอ้างให้เราใส่ปุ๋ยเคมีแทนอีกแล้วจะแก้ปัญหาได้ อ้างผิดเหตุผลมาก ๆ ครับ ใส่ปุ๋ยเคมีแทนเลยหมายความว่าดินเราจะไม่มีการหมุนเวียนของอินทรีย์วัตถุ ทำให้ดินแข็ง กลายเป็นดินที่ไม่มีชีวิต สิ่งมีชีวิต(ซึ่งก็กำเนิดมาจากสารอินทรีย์เหมือนกัน)ก็ค่อย ๆ ตายหายไป ไม่อยากอยู่ในดินที่มีอินทรีย์วัตถุน้อย กลายเป็นดินที่มีแต่ความแห้งแล้ง
ผมไม่ได้ว่าลุงคิมนะครับ ว่าคนเขียนครับ |
|
|
kimzagass |
|
|