kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11600
|
ตอบ: 11/09/2022 5:15 pm ชื่อกระทู้: เก็บตกงานสัญจรวัดอัพมวันสุพรรณบุรี (๑) * ข้าวพร้อมหุง |
|
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 12 ก.ย.
***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม .. ? ..
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้าถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***
งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน . ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด
- วันนี้วันจันทร์ที่ 12 ก.ย. เฉพาะวันจันทร์ ทุกวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย คุณล่า (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย.... แจก ! กับดักแมลงวันทอง เลือกเอา 2-3-4 อัน ..... ด้วยประสบการณ์เกือบ 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง
- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 17 ก.ย. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดท่าตำหนัก ถ.เพชรเกษม (ขาล่อง) ก่อนถึงแยกนครชัยศรี 200 ม. นครชัยศรี นครปฐม.... งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....
*****************************************************************************
*****************************************************************************
เก็บตกงานสัญจรวัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี 10 ก.ย. (๑)
สมช. : ลุงครับ สนใจอยากปลูกข้าวพร้อมหุงครับ
ลุงคิม. : อืมมม ข้าวพร้อมหุง ข้าวพร้อมหุง ชื่อนี้เอามาจากไหนเนี่ย
สมช. : ฟังวิทยุลุงนี่แหละครับ
ลุงคิม. : โอ.ค. ซิกาแร็ต.... แล้วเคยเห็นรูปร่างหน้าตามันไหมว่าเป็นยังไง ?
สมช. : เคยครับ แต่ยังไม่ได้ได้กินเท่านั่น
ลุงคิม. : เคยเห็น....เห็นที่ไหน
สมช. : ในร้านที่ตลาดสดครับ เขาทำเป็นถุง ถุงละกิโล 5กิโล 20กิโลครับ ดูแล้วจริงอย่างลุงพูด ข้าวคนรวยกินทั้งนั้น
ลุงคิม. : ก็ว่าไป.... งานนี้ ถ้าจะทำเป็นอาชีพกันจริงๆ ต้องจับหลัก การตลาดนำการผลิต นะ คุณต้องไปพูดไปคุยไปเจรจาการค้ากับร้านที่ขายก่อนว่ามีรายะเอียดในการซื้อขายกันยังไงบ้าง
สมช. : ครับ
ลุงคิม. : อย่างเช่น สายพันธุ์ข้าว สีเรียบร้อย บรรจุถุงแพคเจตจิ้ง พะยี่ห้อตราแบรนด์ ปริมาณ ราคา การันตี กับอีกหลากหลายรายการ อันนี้ให้ทางคนรับซื้อเขาจะแจ้งมา ถ้าไม่แจ้งเราก็ต้องถามเขา
สมช. : ครับ
ลุงคิม. : สำหรับที่นี่ ที่พอจะแนะนำได้ก็แค่ เทคนิคการปลูก การบำรุงรักษา ทำให้ผลผลิตเพิ่มทั้งปริมาณคุณภาพผลิตภัณฑ์ ต้นทุนลดค่าปุ๋ยค่ายาค่าแรง อนาคตดีคนซื้อสั่งจองล่วงหน้า
สมช. : ครับ
ลุงคิม. : อีกอย่างนะ คุณมี คิวซี. จีเอพี. ประกันคุณภาพจากเกษตรซี่
สมช. : ครับ
ลุงคิม. : กับสังคมโลกวันนี้ การค้าขายต้องมีโฆษณา อันนี้เราทำได้ โซเชียล. อินเตอร์เน็ต. ไง ให้หลานมันทำให้
สมช. : ครับ
ลุงคิม. : ข้าวสารพร้อมหุงที่คุณจะทำส่งเอเย่นต์นี่ คุณสีเรียบร้อย ถึงเวลาใส่ลงหม้อหุงได้เลย หรือคุณจะขายเป็นข้าวเปลือกล่ะ ?
สมช. : สีเรียบร้อยพร้อมหุงได้เลยครับ
ลุงคิม. : อืมมม เกี่ยวกับเครื่องสีข้าว เครื่องเล็กใช้งานในบ้าน สีได้วันละ 100 กิโล อันนี้คุณโทรเช็คที่คุณล่าซี่ ไปดูของจริงซักวันก็น่าจะดีนะ คุณล่า (081) 944-8494
สมช. : ครับ ขอบคุณครับ
ลุงคิม. : เทคนิคสุดท้ายที่ลุงคิมจะให้คือ ปลูกข้าว ตามใจข้าว ไม่ใช่ตามใจคน
สมช. : ครับ ผมจะใช้สูตรลุงนี่แหละครับ ได้ผลแล้วก็ประหยัดต้นทุนด้วยครับ
ลุงคิม. : ก็ว่าไป....ที่นากี่ไร่น่ะ
สมช. : 40 ไร่ครับ ระบบน้ำดี แปลงเกษตรรอบข้างดี นาข้าวทั้งนั้น
ลุงคิม. : ก็ดี 40 ไร่ น่าจะเอาซัก 4 สายพันธุ์ สายพันธุ์ละ 10 ไร่ ได้ผลผลิตไร่ละเกวียน ลุงว่า คุ้มเกินคุ้มนะ
สมช. : ครับ ก็มีแปลงข้างบ้านเขาสนใจจะเอาด้วยอยู่เหมือนกันครับ
ลุงคิม. : ก็ดี .... เป็นนาข้าวแปลงเล็กในแปลงใหญ่ไปเลย กะรวยด้วยกันแล้วจะรวย
สมช. : ครับลุง
ลุงคิม. : เอาว่ะ....เชียร์นะ
คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :
สายพันธุ์ประเภทของข้าว :
ข้าวหอมมะลิ 105 :
เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกที่อื่นได้ไม่ดีเท่ากับปลูกในไทย และเป็นพันธุ์ข้าวที่ทำให้ข้าวไทยเป็นสินค้าส่งออกที่รู้จักไปทั่วโลก ซึ่งข้าวหอมมะลิ 105 เป็นข้าวที่มีต้นกำเนิดจาก จ.ฉะเชิงเทรา เป็นข้าวพันธุ์เบาที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์มาจากข้าวขาวดอกมะลิ ซึ่งเป็นข้าวพื้นเมืองที่พบและรู้จักกันในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยคุณลักษณะอันโดดเด่นยามหุงข้าว กลิ่นจะหอมชวนให้รับประทานไม่เหมือนพันธุ์ข้าวใดในโลก
ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา :
เป็นข้าวพันธุ์ที่มาจากแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในโลก นั่นก็คือที่ราบอันมีอาณาเขตกว้างขวางใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน ที่เราเรียกกันว่า ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเมล็ดข้าวจะมีลักษณะยาว เรียว และเมล็ดไม่มีหางข้าว เมล็ดข้าวที่ผ่านการสีแล้ว จะมีความเลื่อมมัน จมูกข้าวเล็ก เมื่อหุงแล้วจะมีกลิ่นหอมและนุ่ม
ข้าวเหนียวพันธุ์ กข. 6 :
ข้าวพันธุ์มีลักษณะเมล็ดยาวเรียว มีเปลือกสีน้ำตาล เมล็ดมีขนสั้น เป็นสายพันธุ์ข้าวเหนียวหอม ไวต่อช่วงแสง เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์มาจากข้าวเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เมื่อนำไปหุงแล้วข้าวจะนุ่ม มีกลิ่นหอม ทนแล้ง และมีคุณภาพการหุงต้มรับประทานดี เป็นข้าวเหนียวที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่นิยมปลูกกันแพร่หลายในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์ :
เป็นข้าวเหนียวที่ปลูกในพื้นที่อำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ (เฉพาะตำบลนาโท และตำบลหนองห้าง) และกิ่งอำเภอนาคู (เฉพาะตำบลนาคูและตำบลบ่อแก้ว) จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีแคลเซียมและซิลิกอนสูง อากาศเย็นแห้งน้ำน้อย ส่งผลให้ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์มีความนุ่มและหอมมาก เมื่อนึ่งสุกจะหอมและนุ่ม ไม่แฉะติดมือ และข้าวที่นึ่งแล้วเมื่อเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดหลายชั่วโมง จนข้าวเย็นยังคงรักษาความอ่อนนุ่มไว้ได้
ข้าวเหนียวเขี้ยวงู :
เป็นข้าวที่มีเม็ดเรียวยาว สีขาว และทนทานต่อโรคต่างๆ ได้ดี เมื่อนำมาหุงให้สุกเม็ดข้าวที่ได้จะเหนียวนุ่ม เรียงตัวสวยไม่เละ มีสีขาวในลักษณะเลื่อมเป็นมันและมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน ข้าวเหนียวเขี้ยวงูเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่มีคุณภาพดีและเป็นสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมในการนำมาทำข้าวเหนียวมูน เป็นข้าวที่ปลูกในทางภาคเหนือ นิยมปลูกกันมากในจังหวัดเชียงราย
ข้าวเหนียวดำหรือข้าวก่ำ :
เมล็ดข้าวมีสีม่วงดำ และเมล็ดค่อนข้างแข็ง เคี้ยวละเอียดยากกว่า แต่นิยมนำมาทำเป็นขนมหวานมากกว่าข้าวอื่น ๆ และเป็นข้าวที่ชาวนายกย่องให้เป็นพญาข้าวเหนือข้าวพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งชาวนามีความเชื่อว่าข้าวก่ำจะปกป้องคุ้มครองข้าวพันธุ์อื่นที่อยู่ในท้องนาไม่ให้ถูกแมลงกัดกิน ทำให้ผลผลิตในการเก็บเกี่ยวข้าวได้ผลดี ข้าวก่ำยังช่วยป้องกันโรคหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล และยับยั้งการเจริญเติบโตของโรคมะเร็ง
ข้าวเหลืองประทิวชุมพร :
เป็นข้าวพื้นเมืองดั้งเดิมของอำเภอปะทิว จ.ชุมพร เป็นข้าวพันธุ์หนักในฤดูนาปี เก็บเกี่ยวในช่วงเดือนธันวาคม มีจำนวนเม็ดต่อรวงจำนวนมาก และปลูกในที่ที่เป็นดินเปรี้ยวได้ดี อีกทั้งยังทนต่อโรคของแมลงได้ด้วย ลักษณะเมล็ดมีสีเหลือง เลื่อมมัน เมล็ดยาว มีน้ำหนักเมล็ดที่ดี เมื่อนำไปหุงแล้วข้าวขึ้นหม้อ จึงเป็นข้าวที่ชาวนาชุมพรมักนิยมปลูก เพราะปลูกง่าย ได้ผลผลิตที่ดี เหมาะกับพื้นที่และสภาพอากาศ
ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ :
พันธุ์ข้าวพื้นเมืองคุณภาพดีของอำเภอเสาไห้ จ.สระบุรี ที่มาของชื่อมาจากชื่อผู้นำสายพันธุ์ข้าวพันธุ์นี้เข้ามาในพื้นที่ คือพ่อค้าชาวไทยเชื้อสายจีน ชื่อ เจ๊กเชย ซึ่งข้าวสายพันธุ์นี้มีชื่อเสียงมายาวนานตั้งแต่ต้นรัชสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นข้าวที่หุงขึ้นหม้อ ไม่แข็งกระด้าง ที่สำคัญไม่บูดง่าย และไม่ยุบตัวเมื่อราดแกง สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้นและขนมได้ดี
ข้าวกล้อง :
ข้าวกล้อง หรือที่บางคนเรียกกันติดปากว่า ข้าวซ้อมมือหรือข้าวแดง เนื่องจากในสมัยโบราณ ชาวบ้านใช้วิธีตำข้าวกินกันเอง จึงเรียกว่า ข้าวซ้อมมือ แต่ปัจจุบันเราใช้เครื่องจักรสีข้าวแทน จึงเรียกข้าวที่สีเอาเปลือกออกนี้ว่า ข้าวกล้อง โดยข้าวกล้องนั้นจะต้องมีส่วนของจมูกข้าวและรำข้าวติดอยู่ด้วยเสมอ ข้าวกล้องมีเส้นใยสูงมากกว่าข้าวขาว 3 - 7 เท่า การกินข้าวกล้องจะได้เส้นใยไปพร้อม ๆ กับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสารพัดชนิด และเส้นใยในข้าวกล้องยังทำให้รู้สึกอิ่มนานกว่าการกินข้าวขาวและไม่อยากกินจุบจิก
ข้าวไรซ์เบอร์รี :
เป็นผลงานการปรับปรุงสายพันธุ์ของ รศ.ดร.อภิชาติ และทีมนักวิจัยจากศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และความร่วมมือจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยเป็นการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิล ซึ่งเป็นสายพันธุ์พ่อ + ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งเป็นสายพันธุ์แม่ ซึ่งพันธุ์ข้าวนี้ได้รับการจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ มีลักษณะเรียวยาว ผิวมันวาว เป็นข้าวเจ้าที่มีสีม่วงเข้มคล้ายกับลูกเบอร์รีที่มีสีม่วงเข้มเมื่อสุก มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อีกทั้งยังมีรสชาติหอมมัน เนื้อสัมผัสเหนียวนุ่ม เนื่องจากผ่านการขัดสีเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น ข้าวสายพันธุ์พิเศษสีม่วงนี้สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี
ข้าวมันปู :
เป็นข้าวที่ชาวจีนเรียกว่า ข้าวแดง หรือชื่อพื้นเมืองเรียกว่า อั้งคั่ก มีลักษณะเยื่อหุ้มเปลือกข้าวเป็นสีแดงแบบสีมันปู จัดเป็นข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือชนิดหนึ่ง มีไขมันในปริมาณเดียวกับข้าวกล้อง ซึ่งสูงกว่าข้าวขัดสีประมาณสองเท่า มีสารที่เรียกว่าเคโรทีนที่จะเปลี่ยนเป็นวิตามิน เอ ในร่างกายสูงกว่าข้าวขัดสี เมื่อหุงสุกแล้วเนื้อข้าวจะเป็นสีชมพูอ่อน มีกลิ่นหอม เมล็ดนุ่มสวย ไม่แฉะ ดูน่ารับประทาน ใช้ประกอบอาหารต่าง ๆ ได้อร่อย ไม่ว่าจะเป็นข้าวผัด ข้าวอบต่าง ๆ หรือเคี่ยวเป็นโจ๊ก
ข้าวสังข์หยดพัทลุง :
ข้าวที่มีกำเนิดอยู่ในจังหวัดพัทลุง เป็นข้าวที่มีเมล็ดเล็ก เรียว ท้ายงอน เยื่อหุ้มเมล็ดจะมีสีแดงถึงแดงเข้ม เมื่อหุงสุกแล้วเมล็ดข้าวจะนุ่ม และจับตัวกันคล้ายข้าวเหนียว ข้าวสังข์หยดมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่น ๆ มีเส้นใยสูง ช่วยชะลอความแก่ มีประโยชน์ในการบำรุงโลหิต ป้องกันโรคความจำเสื่อม และช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง
สนใจข้าวสายพันธุ์ต่างๆ สามารถติดต่อได้ที่
1. วิสาหกิจชุมชนข้าวหอมดอกฮัง จ.สกลนคร ติดต่อ บำเพ็ญ ไชยรักษ์ 089-6643012
2. วิสาหกิจผู้ผลิตข้าวอินทรีย์เพื่อสังคม จ.ยโสธร ติดต่อ บุญส่ง มาตขาว 081-3000165
3. ร้านข้าวหอม organic จ.สุรินทร์ ติดต่อ ลัดดาวัลย์ หอมเนียม 094-4840192, 044-515857
4. วิสาหกิจชุมชนบ้านโฉนดชุมชนคลองโยง-ลานตากฟ้า จ.นครปฐม ติดต่อ นันทา ประสารวงษ์ 087-5522262
5. กลุ่มส่งเสริมเกษตรกรอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ติดต่อ โอเล่ 086-0107212, 095-7294745
6. มูลนิธิจัดการความรู้เครือข่ายโรงเรียนชาวนา จ.นครสวรรค์ ติดต่อ นพดล 081-6884443
7. กลุ่มอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้านตำบลสายนาวัง อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์ ติดต่อ คนึงนิจ พลขยัน 094-2730444
8.สหกรณ์กรีนเนท จำกัด ติดต่อ 02-2779380
9. กลุ่มสภาองค์กรชุมชนบ้านเพ็กใหญ่ อ.พล จ.ขอนแก่น ติดต่อ นายทองม้วน โลกาวี 0810473209
10. แหล่งเรียนแสงตะวัน มหาวิทยาลัยชาวนา ต.นาโส่ อ.กุดชุม จ.ยโสธร ติดต่อ พณ 0925465949
อ้างอิง :
- Uriceโกดังข้าวอุดมพืชผล. ข้าวมีกี่ชนิด?. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2560, จาก http://u-rice.com
- กรมการค้าภายใน. 18 พันธุ์ข้าวคุณค่าโภชนาการสูง. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2560, จาก http://www.thaismescenter.com
- ตลาดวิธีผู้ไทชาวเขาวง. ประวัติข้าวเหนียวเขาวง. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2560, จาก http://rice.khaowongshop.com/history
- ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวขอนแก่น. พันธุ์ข้าว. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2560, จาก http://kkn-rsc.ricethailand.go.th/index.php/e-library/varieties อ่านต่อได้ที่ https://www.wongnai.com/food-tips/12-rice-in-thailand?ref=ct
บำรุงต้นข้าวสูตรแบบประณีต :
ระยะกล้า :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน ระยะนี้หาโอกาสให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
ระยะตั้งท้อง ออกรวง :
- ฉีดพ่น "ไทเป + ยาน็อค" 2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
ระยะน้ำนม :
- ฉีดพ่น "ไบโออิ + ยูเรก้า + ยาน็อค" ทุก 7-10 วัน
- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" เมื่อมีศัตรูพืชเฉพาะชนิดก่อนการระบาด (ป้องกัน) และระหว่างการระบาด (กำจัด) ทุก 3 วัน
หมายเหตุ :
- การให้ทางใบเท่ากับบำรุงทั้งต้นข้าวและต้นวัชพืช แม้จะสิ้นเปลืองปุ๋ยแต่จำเป็นต้องทำ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ต้นข้าวก็จะไม่ได้ปุ๋ยเลย ส่งผลให้ไม่ได้ผลผลิตข้าวไปด้วย
- หลังจากต้น (ข้าว-วัชพืช) โตแล้ว ไม่ควรใส่ปุ๋ยทางราก เพราะธรรมชาติของต้นวัชพืชจะดูดสารได้เก่งกว่าต้นข้าว นี่คือ ต้นวัชพืชแย่งอาหารต้นข้าวนั่นเอง
- ปุ๋ยทางใบอยู่ที่ใบข้าว ต้นวัชพืชไม่สามารถแย่งได้ นั่นคือ ต้นข้าวยังได้รับปุ๋ยเท่าที่ให้อย่างแน่นอน
- หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนทำนารุ่นต่อไป ทำการไถกลบฟางพร้อมต้นวัชพืช ก็จะได้ปุ๋ยที่ต้นวัชพืชเอาไปกลับคืนมา
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=10
-------------------------------------------------------------------------------------
.
|
|