kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11621
|
ตอบ: 01/09/2022 6:16 pm ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 2 ก.ย. . * นาข้าว ดิน-เทือก ลด |
|
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 2 ก.ย.
***********************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม .. ? ..
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***
งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน . ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด
- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 3 ก.ย. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี .... งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....
****************************************************************
****************************************************************
จาก : (094) 717-45xx
ข้อความ : ลุงครับ ขอวิธีทำเทือกนาข้าวลดต้นทุนครับ
จาก : (068) 153-03xx
ข้อความ : ขอวิธีลดต้นทุนเตรียมดินนาข้าวทุกต้นทุนครับ
จาก : (092) 174-96xx
ข้อความ : นาข้าว เทือกดี ดินดี ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคตดี สัจจะธรรม เชียร์ค่ะ
บ่น :
60. ชาวนา คิดใหม่ทำใหม่ :
ผลผลิตเพิ่ม :
ให้ปุ๋ยถูกสูตร ทางดินให้ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 + 16-8-8 ทางใบให้แม็กเนเซียม. สังกะสี. ยืนพื้น ....ปุ๋ยแต่ละสูตรที่ว่ามีผลต่อต้นข้าวโดยตรงยังไง บอกไว้ครบ....
ใช้ เทคนิค/เทคโนโลยี ให้ได้ผลผลิตต่อไร่มากที่สุด ให้ได้คุณภาพสูงสุด ไม่มีข้าวลีบ ไม่มีท้องไข่ เมล็ดแกร่งใส น้ำหนักดี ความชื้นน้อย ใช้ทำพันธุ์ได้ ....
ต้นทุนลด :
"ลดค่าไถ" ...ไถดะไถแปรไถพรวนตัดออกให้หมด ข้ามขั้นไปทำเทือกเลย ทำเทือกแบบประณีต ตีเทือกครั้งสุดท้าย ติดตั้งถังบรรจุปุ๋ย อินทรีย์น้ำ+เคมี ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 + 16-8-8 ปริมาณสำหรับ 1 ไร่ ..
ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 + 16-8-8 คนให้ละลายเข้ากันดี ติดก๊อกที่ก้นถัง เริ่มวิ่งรถย่ำเทือก เปิดก๊อกที่ก้นถังปุ๋ยที่หน้ารถ รถไถวิ่งไป น้ำผสมปุ๋ยหยดลงข้างหน้า ลูกทุบอีขลุบที่ท้ายรถจะกวาดละเลงเนื้อปุ๋ยกระจายทั่วแปลงนาทุกตารางนิ้วเอง แบบนี้จะช่วยให้ข้าวทุกต้นทุกกอได้รับปุ๋ยเท่ากันทั้งแปลง
ทั้งนี้ ปุ๋ยที่หว่านด้วยมือ เม็ดปุ๋ยลงไปที่กอข้าวไม่เสมอกัน ข้าวกอไหนได้ปุ๋ยกอนั้นเขียว กอที่ไม่ได้ปุ๋ยก็ไม่เขียว ชาวนาบอกก็ว่าอ่อนปุ๋ย ว่าแล้วหว่านยูเรียซ้ำอีก กส. นั่นเท่ากับหว่านยูเรีย 2 กส. 16-20-0 อีก 1 กส. รวมเป็นใส่ปุ๋ย 3 กส./ไร่ ถึงจะหว่านซ้ำแล้วก็ยังได้ไม่ทั่วแปลง บางกอได้ปุ๋ย บางกอไม่ได้ปุ๋ย สภาพต้นข้าวยังเหมือนเดิม
คิดดู ข้าวกอที่ได้ปุ๋ยกับกอที่ไม่ได้ ผลออกมาจะต่างกันยังไง....ชัดเจน ย่ำเทือกใช้น้ำมันน้อยกว่าไถ
"ลดยาฆ่าหญ้า" .... กำจัดหญ้าวัชพืช ย่ำเทือกแบบประณีต 4 รอบ :
รอบแรก ย่ำวันที่ 1 ในปฏิทิน
รอบสอง ย่ำวันที่ 10 ในปฏิทิน
รอบสาม ย่ำวันที่ 20 ในปฏิทิน
รอบสี่รอบสุดท้าย ย่ำวันที่ 30 ในปฏิทิน
ก่อนลงมือย่ำรอบแรกสังเกตปริมาณหญ้าวัชพืชว่ามีเท่าไหร่ ก่อนลงมือย่ำรอบสอง-สาม-สี่ ก่อนย่ำสังเกตว่าหญ้าวัชพืชลดลงเท่าไหร่แล้ว ถ้าจุดไหนยังมีหญ้าวัชพืชหลงเหลืออยู่หรือลดลงน้อยให้ย่ำซ้ำ
หญ้าวัชพืชงอกจากไหล/หัว/เหง้า ถ้าไม่มีใบก็จะกินอาหารที่สะสมไว้ใน ไหล/หัว/เหง้า เมื่อใบถูกทำลายซ้ำ ๆๆ ก็ต้องกินอาหารที่สะสมจนหมด เมื่อไม่มีอาหารสะสมต้นก็ตายสนิทไปเอง ลงท้ายเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์
ผานอัจฉริยะ .... ออกแบบสร้างผานโรตารี่สำหรับใช้กับรถไถใหญ่คนนั่งขับ ไม่ใช่เดินตาม รูปแบบ-ทำงาน เหมือนผานธรรมดาๆนี่แหละ แต่มีผานโรตารี่ 3 อันหมุนพร้อมกัน อันแรกกับอันที่สามหมุนไปข้างหน้าตามรถไถ อันกลางหมุนย้อนกลับหลัง
คิดดู.... ผานโรตารี่ 3 อัน สองอัน หน้า-หลัง หมุนไปหน้า หนึ่งอันกลาง หมุนย้อน แบบนี้ทั้งหญ้า วัชพืช ดิน จะป่นละเอียดสุดๆ ผานสามอันทำงานวิ่งรอบเดียวเท่ากับผานเดี่ยววิ่ง 3 รอบ
นี่คือ ประหยัดเวลา แรงงาน น้ำมันรถไถ อารมณ์...
"จุลินทรีย์ดี" ....ใช้ยาฆ่าหญ้า หญ้าไม่ตายแค่ใบไหม้ เดี๋ยวก็งอกใหม่งามกว่าเก่า นั่นคือ หญ้าไม่ตายแต่จุลินทรีย์ตาย
เลิกใช้ยาฆ่าหญ้าแต่ฆ่าหญ้าด้วยวิธี ย่ำ-ไถกลบ-หมัก หญ้าตาย ตายสนิท ไม่งอกใหม่ แถมจุลินทรีย์ทั้งเก่าและใหม่ ไม่ตาย
เชื่อหรือไม่ จุลินทรีย์ คือ แม่ครัวของพืช จุลินทรีย์ช่วยสร้างสารอาหารให้พืช จุลินทรีย์ช่วยกำจัดเชื้อโรคพืช จุลินทรีย์ช่วยปรับ กรด/ด่าง ให้กับดิน
ตอบ :
ชาวนาร้อยละ 87.65 โอดต้นทุนการผลผลิตสูงขึ้น วอนภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่รับฟังข้อมูลปัญหาของเกษตรกรกร
เขียนโดย : นายชุมพลภัทร์ คงธนาจารุอนันต์
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร (แม่โจ้โพลล์) ได้สำรวจความคิดเห็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวจากทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 688 ราย ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม 12 สิงหาคม 2564 ในหัวข้อ อนาคตชาวนาไทย กับทางออกในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวจากทั่วประเทศ ในประเด็นปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ผลการสำรวจพบว่า ในช่วงปีที่ผ่านมาเกษตรกรผู้ปลูกข้าวส่วนใหญ่ประสบปัญหาความเดือดร้อนจากการเพาะปลูกข้าวกว่าร้อยละ 96.08 โดยมีเพียงร้อยละ 3.92 ที่ไม่มีปัญหา เมื่อสอบถามต้นเหตุของปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว พบว่า
อันดับ 1 สาเหตุมาจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น อาทิ ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรงงาน ค่าเมล็ดพันธุ์ ที่มีราคาสูงขึ้น (ร้อยละ 87.65)
อันดับที่ 2 ประสบปัญหาสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยในช่วงการผลิต (ร้อยละ 48.69)
อันดับ 3 กลไกตลาดที่ไม่มีประสิทธิภาพ (ร้อยละ 46.66)
อันดับ 4 พืช ข้าว กลายเป็นพืชการเมือง (ร้อยละ 42.8
ประเทศไทยขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการปลูกข้าวมาตั้งแต่สมัยโบราณ อาชีพเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งในอดีตเคยถูกยกย่องให้เป็นกระดูกสันหลังของชาติ โดยเป็นผู้ที่ผลิตอาหารเลี้ยงมวลมนุษยชาติมาอย่างยาวนาน แต่ปัจจุบันนี้พบว่า อาชีพเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ประสบกับปัญหาความเดือดร้อนจากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุหนึ่งที่สำคัญ คือ ปัญหาจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นอีกทั้งประสบปัญหาสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยในช่วงฤดูกาลผลิต และกลไกตลาดของข้าวยังไม่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือ รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรลงพื้นที่รับฟังข้อมูลความต้องการและปัญหาของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโดยตรงไม่ต้องผ่านตัวแทน รวมไปถึงการออกนโยบายให้หน่วยงานราชการในระดับพื้นที่สามารถรับซื้อข้าวจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้โดยตรง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรในระดับรากหญ้ามีโอกาสทางด้านเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น แต่ในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรผู้ปลูกข้าวยังรับผลกระทบประสบปัญหากับความยากจนมาจนถึงปัจจุบันซึ่งเป็นโจทย์ที่สำคัญให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาแก้ปัญหาอย่างจริงจัง
https://maejopoll.mju.ac.th/poll.aspx?id=3160
"เทือก" หัวใจของนาข้าว :
ดินคือที่กินที่อยู่ของต้นข้าว ดินดีสำเร็จแล้วกว่าครึ่ง ดินไม่กินปุ๋ย คือ ดินตรึงปุ๋ยเอาไว้ แม้จะได้ใส่ปุ๋ยลงไปมากเท่าไร ต้นข้าวก็เอาไปกินไม่ได้ นอกจากนี้ดินเป็นกรดดินที่เป็นด่าง ดินที่ไม่มีอากาศ ดินที่ไม่มีจุลินทรีย์ ต้นข้าวก็เอาปุ๋ยในดินไปกินไม่ได้เช่นกัน ทั้งนี้ ต้นข้าวรับปุ๋ยได้ 2 ทาง ทั้งจากทางรากและทางใบเท่าๆกัน เมื่อดินไม่ดีรากกินปุ๋ยจากดินไม่ได้ก็ทางใบแทน ถึงกระนั้น ต้นข้าวก็ยังได้ปุ๋ยเพียงครึ่้งเดียว
การใส่ปุ๋ยเคมีลงมากๆ ส่วนหนึ่งต้นข้าวเอาไปกินไม่ได้เนื่องจากดินมีปัญหา ปุ๋ยจึงเหลือตกค้างอยู่ในดิน ตัวปุ๋ย N. ที่เหลือตกค้างอยู่ในดินจะเปรียบรูปทางเคมีเป็นไนเตรท์. ไนเตรท. ซึ่งมีสถานะทางเคมีเป็นกรดจัด นี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ดินเป็นกรดจัด
ดินที่ดี คือ ดินที่มีอินทรีย์วัตถุ จึงควรมีเศษซากพืชเศษซากสัตว์อัตราส่วน 1 ต่อ 4 เมื่อเทียบกับเนื้อดิน และจุลินทรีย์....ฟางข้าว คือ เศษซากพืช ซึ่งก็คืออินทรีย์วัตถุที่มีราคาถูกที่สุด นาข้าวที่ได้ข้าวเปลือก 100 ถัง จะมีฟางประมาณ 1,200 กก.เสมอ ในฟาง 1,200 กก. จะปุ๋ยอินทรีย์ เอ็น-พี-เค 16 กก.กับซิลิก้า. หินภูเขาไฟอีก 6.9 กก. นี่คืองานวิจัยจากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
ฟาง คือ เศษซากพืชที่ช่วยน้ำไว้ใต้ดิน ยามที่น้ำบนดินขาดแคลนเนื่องจากความแห้งแล้งทางธรรมชาติ หรือจากการที่เราเจตนาเอาน้ำออก.....ข้าวระยะแตกกอ จะแตกกอดีมากเมื่อน้ำบนผิวดินน้อยๆ ถึงระดับหน้าดินแตกระแหงก็ตาม คล้ายๆกับต้นข้าวเขาพยายามช่วยตัวเอง สร้างรากขึ้นมาเพื่อจะยิดยาวไปหาน้ำมาหล่อเลี้ยงต้น นั่นคือ หากต้องการให้ต้นแตกรากมากๆ ก็จงมีน้ำที่ผิวดินน้อยๆ ระหว่างที่ไม่มีน้ำบนผิวดินนี้ รากข้าวจะได้น้ำที่ฟางในดินอุ้มไว้ให้ แล้วต้นข้าวก็จะไม่ชงักการเจริญเติบโตตรงกันข้ามจะสมบูรณ์แข็งแรงดีกว่าเก่า
การมีอินทรีย์วัตถุมากๆ มีน้ำน้อยๆ ลักษณะทางธรรมชาตินี้ยังช่วยให้ต้นข้าวแตกกอมาก แตกกอดีอีกด้วย ลำต้นที่แตกใหม่จะสมบูรณ์ แข็งแรง ให้ผลผลิตดี ดีกว่าข้าวลำต้นเดียวเดี่ยวๆ.....ต้นข้าวลำต้นใหญ่ขนาดหลอดดูดเฉาก๊วย ย่อมดีกว่าต้นข้าวที่ลำใหญ่ขนาดดูดยาคูลท์
การไถกลบฟางแต่ละครั้งให้สังเกตุความลึกของขี้เทือก จากประสบการณ์ตรงบอกให้รู้ว่า หากไถกลบฟาง 2 รุ่นติดต่อกันแล้ว ได้ขี้เทือกลึกประมาณครึ่งหน้าแข้งแล้วความลึกระดับนี้กำลังเหมาะกับต้นข้าวและคนเข้าไปทำงานได้สดวก หากไถกลบฟางต่อเป็นรุ่น 3 ขี้เทือกจะลึกถึงระดับหัวเข่า แม้ต้นข้าวจะอยุู่ได้แต่คนไม่สดวกในการทำงาน กับช่วงก่อนเกี่ยวข้าว งดน้ำแล้วแต่ดินจะยังอ่อนจนรถเกี่ยวลงทำงานไม่ได้ เพราะฉนั้น ควรงดเว้นการไถกลบฟางรุ่น 3 เหลือไว้แค่ตอซังก็พอ
ทำเทือกแบบไถกลบฟาง :
วัตถุประสงค์ :
1) เพื่อทำให้เนื้อดินเละเป็นเลนละเอียดที่สุดเท่าที่จะละเอียดได้
2) มีอินทรีย์วัตถุ เศษซากพืชและสัตว์ ที่หลากหลาย เทียบปริมาณกับเนื้อดินไม่น้อย 20%
3) เพื่อให้มีจุลินทรีย์
4) เพื่อให้มีสารอาหารทั้งอินทรีย์และเคมี
5) เพื่อให้น้ำและอากาศผ่านสดวก
การปฏิบัติปกติ :
1) ไถดะพร้อมฟาง ให้ขี้ไถใหญ่ๆ ตากแดดทิ้งไว้ 15-20 แดด,
2) ปล่อยน้ำเข้าท่วมขี้ไถ ทิ้งไว้ 3-5 วัน เพื่อให้ดินขี้ไถเปื่อยยุ่ย,
3) ไถด้วยโรตารี 1-2 รอบ,
4) ย่ำด้วยลูกทุบหรืออีขลุบ เพื่อให้เนื้อดินเละเป็นเลน,
5) ปรับเรียบหน้าเทือกให้เสมอกัน,
6) ทำร่องน้ำในแปลง
ทำเทือกแบบเผาฟาง :
เหตุผลที่เผาฟาง :
1) เพราะฟางที่เคยไถกลบมากเกิน จำเป็นต้องเอาออกบ้าง
2) รู้เท่าไม่ถึงการ
วัตถุประสงค์ :
1) ให้ได้ขี้เทือกลึกระดับครึ่งหน้าแข้ง
2) เพื่อกำจัดวัชพืช
3) ใส่จุลินทรีย์ชุดใหม่ลงไปชดเชยจุลินทรีย์เก่าที่ถูกไฟเผา
4) ใส่สารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น
5) ใส่สารอาหาร ทั้งอินทรีย์และเคมี ตามความเหมาะสมของต้นข้าว
การปฏิบัติ :
1) ทิ้งเถ้าฟางแตกแดด 7-10 แดด
2) เอาน้ำเข้าครึ่งหน้าแข้ง ปล่อยดินแช่น้ำ 5-7 วัน
3) ไถด้วยโรตารี่ 1 รอบ
4) ใส่น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) + 16-8-8 (10 กก.)/ไร่
5) ย่ำด้วยอีขลุบหรือลูกทุบ ย่ำประณีต 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน เพื่อกำจัดวัชพืช
6) ลงมือหว่านหรือดำ
ทำเทือกสูตร "เลยตามเลย"
นาข้าวบางแปลง เผาฟาง-โรตารี่-อีขลุบ-หว่าน/ดำ-ยูเรีย-ยาฆ่ายาคุม-ฯลฯ ครบถ้วนตามสูตร พลันเกิดอาการเสือสำนึกบาป ในแปลงไม่มีจุลินทรีย์ ไม่มีสารอาหารอินทรีย์ สารอาหารเคมีก็มีแต่ N. จากยูเรียเพียงตัวเดียว.... เอาเถอะ ธรรมชาติยังไห้โอกาสเสมอ
หากต้นข้าวยังอยู่ใน ระยะกล้า ถึง ระยะแตกกอ ซึ่งยังมีช่องว่างระหว่างกอให้ฉีดพ่นสารอาหารต่างๆ แหวกช่องว่างลงไปที่พื้นดินได้ ขอให้ฉีดพ่น "ระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล.) + 16-8-8 (10 กก.)/ไร่ ทั้งนี้แม้ว่าน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงจะถูกใบ ใบไม่ไหม้เพราะมีกากน้ำ ตาลเป็นส่วนผสมน้อยมาก.....วันรุ่งขึ้นให้ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ สูตรเร่งการแตกกอ (ไบโออิ + 18-38-12 + ยูเรีย จี. + สารสมุนไพร) ตามไปแล้วเริ่มเข้าสู่วงรอบการบำรุงตามปกติต่อไปตามลำดับ
ประสบการณ์ตรง :
1) ปล่อยน้ำเข้าลึกครึ่งหน้าแข้ง ทิ้งไว้ 3-5 วัน เพื่อให้ดินเปื่อย,
2) ย่ำเทือกด้วยลูกทุบหรืออีขลุบ รอบที่ 1 ย่ำประณีต 2-3 รอบใน 1 กระทง,
3) ย่ำเทือกด้วยลูกทุบหรืออีขลุบ รอบที่ 2 ย่ำประณีต 2-3 รอบใน 1 กระทง,
4) ใส่น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (2 ล./ไร่) + 16-8-8 (10 กก./ไร่) ย่ำเทือกด้วยลูกทุบหรืออีขลุบ ย่ำประณีต 2-3 รอบใน 1 กระทง,
หมายเหตุ :
- ไม่ไถ ใส่น้ำแช่ 3 วัน แล้วย่ำเลย
- หลังจากย่ำรอบที่ 1 ผ่านไป 7 วัน ก่อนย่ำรอบที่ 2 วัชพืชหายไปกว่า 50%
- ย่ำรอบ 2 และรอบ 3 ห่างกันรอบละ 1 อาทิตย์ วัชพืชหายไป เหลือให้เห็นหลังจากต้นข้าวโตแล้วไม่ถึง 5%
- ก่อนลงมือย่ำแต่ละรอบ ตรวจสอบกลิ่นแก๊สในฟาง เพื่อป้องกันโรคเน่าตอซัง
- ทำนาดำด้วยรถดำนา
สรุป :
@@@ ต้นทุนทำเทือกปกติ : ไถดะพร้อมฟาง, ไถโรตารี่ 2 รอบ, ย่ำเทือก 2 รอบ, วัชพืชไม่ถูกกำจัด
@@@ ต้นทุนทำเทือกจากประสบการณ์ตรง : ย่ำเทือก 3 รอบ, วัชพืชถูกกำจัด
(คนงานที่ทำเล่าให้ฟังภายหลังว่า....ปรึกษากัน ไม่ไถแต่ย่ำเลย จะได้ผลหรือ แต่ไม่กล้าขัดเพราะเป็นคำสั่ง กระทั่งย่ำ ย่ำประณีตครบ 3 รอบ จึงยอมรับว่าได้เทือกลึกและเนื้อดินดีกว่าไถก่อน....)
ปุ๋ยไม่ใช่จุลินทรีย์ - จุลินทรีย์ไม่ใช่ปุ๋ย...แต่ไปด้วยกัน :
- ปุ๋ย ไม่ใช่สัตว์ ไม่มีชีวิต ขยายพันธุ์ไม่ได้ ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปรแตสเซียม แคล เซียม แม็กเนเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง สังกะสี แมงกานิส โมลิบดินั่ม โบรอน ซิลิก้า โซเดียม คลอรีน ฯลฯ
- จุลินทรีย์ เป็นสัตว์เซลล์เดียว มีชีวิต ขยายพันธุ์ได้ ได้แก่ คีโตเมียม ไรโซเบียม ไมโครไรซ่า แอ็คติโนมัยซิส อะโซโตแบ็คเตอร์ บาซิลลัสส์ ซับติลิส. บาซิลลัสส์ ทูรินจิสซิส บีที. เอ็นพีวี. ฯลฯ
- ดินแข็ง ดินแน่น แก้ได้ด้วยจุลินทรีย์เท่านั้น
อเมริกาไม่ผาฟาง...อินทรีย์นำ-เคมีเสริม แท้จริง :
หลุยส์เชียร์น่า สหรัฐอเมริกา รัฐเดียวใหญ่กว่าประเทศไทย รัฐนี้ทำนาทั้งรัฐ ข้าวหอมอเมริกาเกิดที่นั่น มัน COPPY ไปจากข้าวหอมมะลิไทย แต่ทำไม่สำเร็จเพราะโซนภูมิศาสตร์โลกไม่เอื้ออำนวย นี่ไม่ใช่ประเด็น ประเด็นอยู่ที่ ชาวนาอเมริกาไม่เผาฟาง แต่เขาไถกลบฟาง แล้วใส่ทั้งปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมีลงไป นี่ใช่อินทรีย์นำ เคมีเสริม ไหม ? .... คิดดู ถ้าหลุยส์เซียร์น่าเผาฟาง ควันจะลอยตลบอบอวลไปทั่วอเมริกาทั้งประเทศไหม ขนาดอินโดเนเซียแค่เผาไร่ ควันยังลอยข้ามมาเลเซียมาถึงไทยได้ ทางเหนือขอเรา แค่ชาวบ้านเผาป่าเล็กๆในไร่ ควันยังไปทั่วทั้งจังหวัด
---------------------------------------------------------------------------------
. |
|