-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 26 ส.ค. * กล้วยหอมแจ๊คพ็อต
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 29 ส.ค. * สับปะรด
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 29 ส.ค. * สับปะรด

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11627

ตอบตอบ: 28/08/2022 4:23 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 29 ส.ค. * สับปะรด ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 29 ส.ค.

***********************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน . ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา

** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- วันนี้วันจันทร์ที่ 29 ส.ค. เฉพาะวันจันทร์ ทุกวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย.... แจก ! กับดักแมลงวันทอง เลือกเอา 2-3-4 อัน ..... ด้วยประสบการณ์เกือบ 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง

- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 3 ก.ย. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี .... งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....


****************************************************************
****************************************************************

จาก : (090) 723-81xx
ข้อความ : ลุงครับ สับปะรดทำงานทั้งปีได้ขายรอบเดียว ต้องให้ได้เกรด เอ. จัมโบ้. เท่านั้นถึงจะรอดได้


ตอบ :
พันธุ์ที่ปลูกมากในประเทศไทย

พันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น 5 พันธุ์ โดยถือตามลักษณะของต้นที่ได้ขนาดโตเต็มที่ และแข็งแรงสมบูรณ์เป็นบรรทัดฐานดังนี้คือ

1. พันธุ์ปัตตาเวีย :
พันธุ์นี้รู้จักแพร่หลายในนามสับปะรดศรีราชา และชื่ออื่น ๆ เช่น ปราณบุรี, สามร้อยยอด ปลูกกันมากเพื่อโรงงานอุตสาหกรรม แหล่งปลูกที่สำคัญคือประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี เพชรบุรี ลำปาง และการปลูกกันทั่ว ๆ ไป เพื่อขายผลสด เพราะมีรสหวานฉ่ำมีน้ำมาก

ลักษณะทั่วไป มีใบสีเขียวเข้ม และเป็นร่องตรงกลางผิวใบด้านบนเป็นมันเงา ส่วนใต้ใบจะมีสีออกเทาเงิน ตรงบริเวณกลางใบมักมีสีแดงอมน้ำตาล ขอบใบเรียบมีหนามเล็กน้อยบริเวณปลายใบ กลีบดอกสีม่วงอมน้ำเงิน ผลมีขนาดและรูปทรงต่างกันไป มีน้ำหนักผลอยู่ระหว่าง 2-6 กิโลกรัม แต่โดยปกติทั่วไปประมาณ 2.5 กิโลกรัม เปลือกผลเมื่อดิบสีเขียวคล้ำ เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้มทางด้านล่างของผลประมาณครึ่งผล ก้านผลสั้นมีไส้ใหญ่เนื้อเหลืองอ่อนแต่จะเปลี่ยนเป็นสีเข้มในฤดูร้อน รสชาติดี

2. พันธุ์อินทรชิต :
เป็นพันธุ์พื้นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ปลูกกันกระจัดกระจายทั่วไป แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่จังหวัดฉะเชิงเทรา

ลักษณะทั่ว ๆ ไป คือขอบใบจะมีหนามแหลมร่างโค้งงอสีน้ำตาลอมแดง ใบสีเขียวอ่อนไม่เป็นมัน ขอบใบทั้ง 2 ข้างมีแถบสีแดงอมน้ำตาลตามแนวยาว ใต้ใบจะมีสีเขียวออกขาวและมีวาวออกสีน้ำเงินกลีบดอกสีม่วงเข้ม ผลมีขนาดเล็กกว่าพันธุ์ปัตตาเวีย รสหวานอ่อน มีตะเกียงติดอยู่ ที่ก้านผล เปลือกผลเหนียวแน่นทนทานต่อการขนส่ง เหมาะสำหรับบริโภคสด

3. พันธุ์ขาว :
เป็นพันธุ์พื้นเมือง เกษตรนิยมปลูกพันธุ์นี้ร่วมกับพันธุ์อินทรชิต เข้าใจว่าจะกลายพันธุ์มาจากพันธุ์อินทรชิต แหล่งปลูกที่สำคัญคือ ฉะเชิงเทรา

ลักษณะทั่ว ๆ มีใบสีเขียวอมเหลืองหรือเขียวใบไม้ ทรงพุ่มเตี้ยใบแคบและสั้นกว่าพันธุ์อินทรชิต ขอบใบมีหนามโค้งงอเข้าสู่ปลายใบ โคนกลีบดอกสีม่วงอ่อน ปลายกลีบสีม่วงอมชมพู เนื้อผลสีเหลืองทอง รสหวานอ่อน ผลมักมีหลายจุก คุณภาพของเนื้อไม่ค่อยดีนัก ผลมีขนาดปานกลาง น้ำหนักเฉลี่ย 0.85 กิโลกรัม มีลักษณะเป็นทรงกระบอก มีตาลึกทำให้ผลฟ่ามง่าย

4. พันธุ์ภูเก็ตหรือสวี :
ปลูกกันมากในสวนยางจังหวัดภูเก็ต ชุมพร นครศรีธรรมราช และตราด โดยปลูกระหว่างแถวยาวรุ่นที่ยังมีอายุน้อยเพื่อเก็บผลขายก่อนกรีดยาง มีชื่ออื่น ๆ อีกเช่น พันธุ์ชุมพร พันธุ์สวี พันธุ์ตราดสีทอง

ลักษณะทั่ว ๆ ไป ใบสีเขียวอ่อนและมีแถบสีแดงในตอนกลางและปลายในขอบใบมีหนามสีแดงแคบและยาวกว่าพันธุ์อินทรชิตและ พันธุ์ขาวกลีบดอก สีม่วงอ่อน ผลมีขนาดเล็กกว่าทุกพันธุ์ที่กล่าวมาตาลึกเปลือกหนา เนื้อหวานกรอบสีเหลืองเข้ม เยื่อใยน้อย มีกลิ่นหอม เหมาะสำหรับบริโภคสด เป็นที่นิยมมากในภาคใต้

5.พันธุ์นางแลหรือน้ำผึ้ง :
ปลูกมากในจังหวัดเชียงราย

ลักษณะทั่ว ๆ ไป คล้ายคลึงกับพันธุ์ปัตตาเวีย แต่มีรูปร่างของผลทรงกลมกว่าพันธุ์ปัตตาเวีย ตานูน เปลือกบางกว่าและรสหวานจัดกว่าพันธุ์ปัตตาเวีย ผลแก่มีเนื้อในสีเหลืองเข้ม มีเยื่อใยน้อยเหมาะสำหรับบริโภคสด เป็นที่นิยมมากในภาคเหนือ ผลมีเปลือกบางมาก ขนส่งทางไกลไม่ดีนัก


คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :

สายตรง
(068) 174-93xx :
สมช. : ลุงครับ ผมโทรจากเพชรบุรี ได้ฟังลุงเล่าเรื่องสับปะรดที่แปลงยาว 8 ไร่ ได้ 2 แสน ผมก็ลงสับปะรด 15 ไร่ อยากทำอย่างเจ้านี้บ้างครับ
ลุงคิม : ปลูกสับปะรดอย่างเขา จะเอาให้ได้ผลผลิตอย่างเขาน่ะเหรอ ?

สมช. : ครับลุง ขอข้อมูลด้วยครับ
ลุงคิม : อืมมม สับปะรด สับปะรด .... บนความเหมือนย่อมมีความต่าง แม้แต่บนความต่างยังมีความเหมือน สับปะรดเหมือนกัน แต่ปลูกแล้วโตแล้วไม่เหมือนกันเพราะปัจจัยพื้นฐาน ดิน น้ำ แสงแดด อุณหภูมิ ฤดูกาล สารอาหาร สายพันธุ์ โรค นี่แหละ เชื่อไหม ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเพียงปัจจัยเดียวมีปัญหา จะส่งผลเสีย เน้นย้ำ ผลเสีย ไปที่ปัจจัยตัวอื่นด้วย สุดท้ายก็ไปลงที่สับปะรดนั่นแหละ .... ว่าแต่ว่า เข้าใจหรือยอมรับความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างปัจจัยทุกอย่างที่มีผลต่อสับปะรดไหม ?

สมช. : ยอมรับครับ ตามความเหมาะสมของสับปะรดไงครับ
ลุงคิม : ต้องสับปะรดเพชรบุรี บ้านคุณด้วย

สมช. : จริงครับ ดินเพชรบุรีกับดินฉะเชิงเทรา แม้แต่ดินเพชรบุรีจังหวัดเดียวกัน อยู่ติดกัน แต่คนละแปลงยังต่างกันเลยครับ
ลุงคิม : แค่ดิน ดินคือดิน ดินเหมือนกันแต่สารประกอบที่อยู่ในดินต่างกัน ต้นสับปะรดไม่ได้กินดินแต่อาศัยดินเป็นที่ยึดรากไม่ให้ต้นล้มเท่านั้น สารประกอบที่ว่า ที่เห็นชัดที่สุด นั่นก็คือ น้ำ สารอาหาร กับตัวช่วยหรือตัวเสริมก็คือ แสงแดด อุณหภูมิ ฤดูกาล จุลินทรีย์

สมช. : ครับ ทั้งหมดนี้เราปรับเราแก้ได้ไหมครับ ?
ลุงคิม : ด้ายยยย 2 วิธี คือ เข้าห้อง LAB ปฏิบัติการเคมี ตรวจด้วยน้ำยาเคมี เมื่อรู้ว่าขาดหรือเกินตัวไหนก็แก้ตัวนั้น ใส่ลงไปหรือเอาออก กับอีกวิธีนึง แบบธรรมชาติ ใส่อินทรีย์วัตถุกับให้จุลินทรีย์เป็นตัวช่วย ในเมื่อดินยังไม่พร้อม ระบบรากยังทำงานส่งอาหารไปเลี้ยงต้นไม่ได้ เราก็ให้ทางใบซี่ .... เอาเถอะ ปัญหามีให้แก้ไม่ใช่มีให้กลุ้ม อยู่แต่ว่า มันคุ้มกันไหม ต้นทุนทุกอย่างทุกรายการที่ใส่ลงไป ไม่ใช่เงิน แรงงาน เท่านั้นนะ เวลาก็เป็นต้นทุนเหมือนกัน

สมช. : ครับ
ลุงคิม : ธรรมชาติไม่มีตัวเลข ไม่มีสูตรสำเร็จ คนเอาชนะธรรมชาติไม่ได้ แต่อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้ .... ธรรมชาติบางอย่างต้องใช้เวลา จะมาทำสไตล์อาหารจานด่วนไม่ได้

สมช. : ครับ จริงครับ
ลุงคิม : ลำพังธรรมชาตินิสัยของสับปะรดไม่ใช่เรื่องยาก เมื่อทำทุกอย่างตามความเหมาะสมที่สับปะรดต้องการ 100 เปอร์เซ็นต์ไม่ได้ ก็เอาแค่เท่าที่ได้ซี่

สมช. : ครับ จริงครับ
ลุงคิม : นี่ก็อีกวิธีการหนึ่งที่ลุงคิมพูดบ่อยๆ บำรุงพืชสูตร เลยตามเลย ไหนไหนก็ไหนไหน แบบเหมาจ่าย แบบประณีต

สมช. : ครับ ถ้าปัจจัยบางอย่างไม่สมบูรณ์แบบ เราก็บำรุงไปเลย แบบเหมาจ่าย แบบประณีต เหมือนนาข้าว
ลุงคิม : ช่ายยยย กรณีสับปะรดเจ้าแปลงยาว เพราะใจมาก่อน ต้นทุนค่าปุ๋ยค่ายาที่เคยจ่ายรุ่นละเป็นหมื่นๆ ไม่ใช่หมื่นเดียวแต่หลายๆหมื่นด้วย มารุ่นนี้ตัดสินใจแน่วแน่เด็ดขาด เลิกแบบเก่า ทั้งปุ๋ยทั้งยา เอาแบบลุงคิม ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น

สมช. : ลุงครับ ย้อนกลับไปเรื่องดิน ไม่รู้ว่าที่แปลงยาวเขาเน้นเรื่องดินหรือแก้ปัญหาเรื่องดินยังไงไหม
ลุงคิม : อืมมม อันนี้ไม่รู้นะ ไม่เป็นไรดินคือดิน ดีดีคือดินดี ดินไม่ดีคือไม่ดี ต้นไม้ไม่ได้กินดินแต่กินสารอาหารในดิน สารอาหารคือปุ๋ย ปุ๋ยมี 14 ตัว แถมฮอร์โมน วิตามินอีกต่างหาก .... ต้นไม้กินอาหารได้ 2 ทาง คือทางใบกับทางราก ว่าแล้วเราก็ให้ทั้งสองทาง ทั้งทางใบทางรากไปคู่กันเลย การรับสารอาหารทางใบไม่มีปัญหา ต้นรับได้เลย ส่วนปัญหาทางดิน แรกๆต้องใจเย็นๆ รอให้จุลินทรีย์ช่วยปรับสภาพดินก่อน ดินที่เคยเสียจะค่อยๆดีขึ้นเอง

สมช. : ครับ
ลุงคิม : ทีนี้ปัญหาคือ ปุ๋ยตัวไหน สูตรไหน จุลินทรีย์ตัวไหน มาจากไหน ทั้งการให้ ให้อย่างไร ? เมื่อไร ? เท่าไหร่ ?

สมช. : ครับ เอาสูตรแปลงยาวเลยครับ
ลุงคิม : กรณีของคุณลุงคิมว่านะเอาแบบเหมาจ่ายไปเลย

สมช. : ครับ
ลุงคิม : วันนี้ลงมือเลย .... ทางใบให้ หัวโต 2 รอบ สลับแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละอาทิตย์ ทุกรอบที่ให้ทางใบ บวกยาน็อคไปด้วยเพื่อไม่เสียเวลา .... ทางรากให้ ระเบิดเถิดเทิง 5-10-40 เดือนละครั้ง .... ปุ๋ยเคมี ไม่ว่าจะ รองพื้น แต่งหน้า เร่งต้นเร่งหัว ไม่ต้องใส่เลย เพระต้นได้จาก หัวโต ระเบิดเถิดเทิงพอแล้ว

สมช. : ครับ
ลุงคิม : ปัญหาสุดท้าย น่าอยู่ที่เครื่องทุ่นแรงนะ

สมช. : ครับ สปริงเกอร์ โอเวอร์เฮด....
ลุงคิม : อันนี้คิดเอาเอง ต้นทุนจะคุ้มไหม


บำรุงสับปะรด :
ระยะต้นเล็ก :
ทางใบ :
ให้โออิ 25-5-5 เดือนละครั้ง
ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพ +30-10-10 หรือ 25-7-7 เดือนละครั้ง ให้น้ำเดือนละ 2 ครั้ง

ระยะออกดอก :
ทางใบ :
ให้แคลเซียม คาร์ไบด์ กระตุ้นการออกดอกตามปกติ
ทางราก : ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น ถ้าแล้งมากๆ สับปะรดจะไม่ออกดอก หรือออกไม่ดี

ระยะลงหัว :
ทางใบ :
ให้หัวโต (ไบโออิ 5-10-40) ทุก 15 วัน
ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพ 5-10-40 (2 ล.) เดือนละครั้ง ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- สับปะรดเป็นพืชอวบน้ำ ถ้าไม่ให้น้ำเขา เขาจะเอาน้ำที่ไหนไปสร้างความอวบ นั่นคือ คิดจะปลูกสับปะรดต้องสร้าง “ดินและน้ำ” ให้พร้อมจริงๆ หาไม่แล้ว จะไม่ได้อะไรเลย

- โมลิบดินั่ม. คือตัวช่วยปรับโครงสร้างไนโตรเจนในหัวสับปะรดไม่ให้เหลือตกค้างมากเกินไป จนเป็นเหตุให้กลายเป็นไนเตรท

- สับปะรดที่เร่งหวานก่อนเก็บเกี่ยวด้วย 13-0-46 จะได้หัวสีเขียวสด รสชาติหวานจัดดี โรงงานชอบ
- สับปะรดที่เร่งหวานก่อนเก็บเกี่ยวด้วย 0-0-50 จะได้หัวสีเหลือง คนกินสดชอบ แต่โรงงานไม่ชอบ
- บำรุงหัวให้โตเท่ากันหรือหัวเป็นรูปทรงกระบอกด้วย 1 : 2 : 8 ทั้งทางรากและทางใบ
- สับปะรด 300 ไร่ ที่สวนผึ้ง ราชบุรี ให้น้ำด้วยสปริงเกอร์โอเวอร์เฮด ทุก 15 วัน ทั้งรุ่นคิดต้นทุนตกหัวละ 2.80 ตังค์ ขายโรงงานได้หัวละ 5.40 ตังค์ สับปะรด 300 ไร่ หลายแสนหัวคุ้มเกินคุ้ม

บำรุง :
ระยะต้นเล็ก :
ทางใบ :
ให้ไบโออิ 25-5-5 เดือนละครั้ง
ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพ +30-10-10 หรือ 25-7-7 เดือนละครั้ง ให้น้ำเดือนละ 2 ครั้ง

ระยะออกดอก :
ทางใบ :
ให้แคลเซียม คาร์ไบด์ กระตุ้นการออกดอกตามปกติ
ทางราก : ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น ถ้าแล้งมากๆ สับปะรดจะไม่ออกดอก หรือออกไม่ดี

ระยะลงหัว :
ทางใบ :
ให้ไบโออิ 5-10-40. ทุก 15 วัน
ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพ 5-10-40 (2 ล.) เดือนละครั้ง ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
- สับปะรดเป็นพืชอวบน้ำ ถ้าไม่ให้น้ำเขา เขาจะเอาน้ำที่ไหนไปสร้างความอวบ นั่นคือ คิดจะปลูกสับปะรดต้องสร้าง “ดินและน้ำ” ให้พร้อมจริงๆ หาไม่แล้ว จะไม่ได้อะไรเลย

- โมลิบดินั่ม. คือตัวช่วยปรับโครงสร้างไนโตรเจนในหัวสับปะรดไม่ให้เหลือตกค้างมากเกินไป จนเป็นเหตุให้กลายเป็นไนเตรท

- สับปะรดที่เร่งหวานก่อนเก็บเกี่ยวด้วย 13-0-46 จะได้หัวสีเขียวสด รสชาติหวานจัดดี โรงงานชอบ
- สับปะรดที่เร่งหวานก่อนเก็บเกี่ยวด้วย 0-0-50 จะได้หัวสีเหลือง คนกินสดชอบ แต่โรงงานไม่ชอบ
- บำรุงหัวให้โตเท่ากันหรือหัวเป็นรูปทรงกระบอกด้วย 1 : 2 : 8 ทั้งทางรากและทางใบ
- สับปะรด 300 ไร่ ที่สวนผึ้ง ราชบุรี ให้น้ำด้วยสปริงเกอร์โอเวอร์เฮด ทุก 15 วัน ทั้งรุ่นคิดต้นทุนตกหัวละ 2.80 ตังค์ ขายโรงงานได้หัวละ 5.40 ตังค์ สับปะรด 300 ไร่ มีหลายแสนหัวคุ้มเกินคุ้ม



จาก : สมช. สวพ. FM 91.0 (07.00-08.00 / อาทิตย์)
ข้อความ : สับปะรดใช้ปุ๋ยสูตรไหน...?
ตอบ :
- สับปะรดโรงงาน หรือสับปะรดกินสด น่าจะบอกหน่อยเพราะสับปะรดเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน
- เปิดมุ้งออกมาก็ ปุ๋ยปุ๋ยปุ๋ย เลย .... ก็ได้ สับปะรดใช้ 5-10-40 ทั้งทางใบทางราก เรียกว่า 2 เด้ง หรือ 8-24-24 + 0-0-60 (1:1) ทางราก .... บอกสูตรปุ๋ยแล้ว รู้สูตรปุ๋ยแล้ว นำไปใช้แล้วต้องได้ผลตามสูตรปุ๋ยเป๊ะๆ เลยเหรอ .... สมการปุ๋ย : ปุ๋ยถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล, ปุ๋ยผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล. ปุ๋ยผิด + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลังสอง มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยไหม ?

- ปุ๋ยไม่ใช่ของวิเศษ ใส่แล้วใช้แล้วต้องได้ผลเสมอไป ปุ๋ยมี 2 อย่าง ปุ๋ยอินทรีย์ กับปุ๋ยเคมี แต่ละอย่างต่างมี ข้อดี/ข้อเสีย-จุดเด่น/จุดด้อย ในตัวเอง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเลือกเฉพาะ ข้อดี/จุดเด่น ของแต่ละอย่างมาใช้ นั่นคือ ใช้ทั้ง 2 อย่างแบบ อินทรีย์เคมีร่วมกัน หรือ อินทรีย์นำ เคมีเสริม แล้วก็ต้อง “ตามความเหมาะสมของสับปะรด” ด้วย พูดง่ายคืออย่ามั่วนั่นเอง

- เรื่องของปุ๋ยปุ๋ยปุ๋ย คนขายปุ๋ย คนข้างบ้านที่แนะนำปุ๋ย ไม่เคยบอก ขณะที่คนซื้อ คนทำตามคำแนะนำของข้างบ้าน ไม่เคยถาม

- ปุ๋ยทางใบจะเกิดประสิทธิภาพได้ต้องมีความสมบูรณ์ของต้นรองรับ ความสมบูรณ์ของต้นมาจากดิน ดินไม่ดีต้นไม่สมบูรณ์แล้วให้ปุ๋ยทางใบขณะที่ต้นโทรมแสนโทรมจะได้ผลเพียงระดับหนึ่งแค่ดีกว่าไม่ได้ให้เท่านั้น

- ปุ๋ยทางรากจะเกิดประสิทธิภาพได้ต้องมีดินเป็นพื้นฐาน ดินดีคือดินที่มีอินทรีย์วัตถุ มีจุลินทรีย์ และมีความชื้น ดินไม่ดีใส่ปุ๋ยเคมีลงไปต้นสับปะรดก็เอาไปกินไม่ได้

- เอาเงินค่าปุ๋ยเคมีที่เคยใส่ไร่ละกระสอบ 50 กก. มาซื้ออินทรีย์วัตถุ สารปรับปรุงปรุงดิน หรือทำเองครึ่งหนึ่งซื้อครึ่งหนึ่ง จ่ายน้อยกว่าค่าปุ๋ย 50 กก. ที่จริง สับปะรดกินปุ๋ยเคมีแค่ 10 กก./ไร่/รุ่น เท่านั้น....เกษตรกรไม่ใช่น้อยที่ไม่รู้แล้วก็ไม่ยอมรับด้วยว่า ปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไปมากๆ มากจนพืชเอาไปกินไม่หมด เอาไปกินไม่ทัน เหลือตกค้างอยู่ในดิน ทำให้ดินเสีย นอกจากต้นพืชเอาไปกินไม่ทันแล้ว ปุ๋ยส่วนหนึ่งยังถูกดินจับยึด ที่ภาษาวิชาการเรียกว่า "ตรึง" เอาไว้ ไม่ปล่อยให้พืชเอาไปกิน นั่นคือ ดินเสีย-ดินไม่ดี-ดินไม่มีอินทรีย์วัตถุ-ดินไม่มีจุลินทรีย์

- นั่นคือ คิดจะปลูกพืชให้ได้ผลจริงๆ ดินต้องมาก่อน ดินต้องมาก่อน และดินต้องมาก่อน

- สับปะรดเป็นพืชอวบน้ำ ถ้าไม่ให้น้ำเขา เขาจะเอาน้ำที่ไหนไปสร้างความอวบ นั่นคือ คิดจะปลูกสับปะรดต้องสร้าง “ดินและน้ำ” พร้อมจริงๆ หาไม่แล้ว จะไม่ได้อะไรเลย

- ดินต้องมาก่อน....เตรียมดินก่อนลงมือปลูก ใส่ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ คิดให้ได้ปริมาณ 3-5% ของเนื้อดิน รดด้วยน้ำหมักชีวภาพที่มีสารอาหารอินทรีย์ สารอาหารสังเคราะห์ (ปุ๋ยเคมี) จุลินทรีย์ และสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น รดให้โชกมากๆ บ่มดินทิ้งไว้ 20-30 วัน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ทำการปรับภาพดินก่อน แล้วจึงเริ่มลงมือปลูกต้นกล้า

@@ บำรุง :
ระยะต้นเล็ก :
ทางใบ :
ให้แม็กเนเซียม. สังกะสี. เดือนละครั้ง
ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพ +30-10-10 หรือ 25-7-7 เดือนละครั้ง ให้น้ำเดือนละ 2 ครั้ง

ระยะออกดอก :
ทางใบ :
ให้แคลเซียม คาร์ไบด์ กระตุ้นการออกดอกตามปกติ
ทางราก : ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น ถ้าแล้งมากๆ สับปะรดจะไม่ออกดอก หรือออกไม่ดี

ระยะลงหัว :
ทางใบ :
ให้แม็กเนเซียม. สังกะสี. 5-10-40. ไคโตซาน. อะมิโนโปรตีน ทุก 15 วัน
ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพ +5-10-40 เดือนละครั้ง ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น

หมายเหตุ :
สับปะรด 300 ไร่ ที่สวนผึ้ง ราชบุรี ให้น้ำด้วยสปริงเกอร์โอเวอร์เฮด ทุก 15 วัน ทั้งรุ่นคิดต้นทุนตกหัวละ 2.80 ตังค์ ขายโรงงานได้หัวละ 5.40 ตังค์ สับปะรด 300 ไร่ มีหลายแสนหัวคุ้มเกินคุ้ม


-----------------------------------------------------------------------------------


.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©