kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11618
|
ตอบ: 16/06/2022 4:19 pm ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 17 มิ.ย. *ทุเรียน. ระยะชิด/ออกนอก |
|
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 17 มิ.ย.
***********************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม .. ? ..
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***
งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน . ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด
- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 18 มิ.ย. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดท่าตำหนัก ถ.เพชรเกษม (ขาล่อง) ก่อนถึงแยกนครชัยศรี 200 ม. นครปฐม....งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....
****************************************************************
****************************************************************
จาก : (095) 472-61xx
ข้อความ : ลุงครับ ทุเรียนราคาแพงสุดสุด ส่งเสริมให้มากมาก ปลูกให้มากที่สุดสุด ปลูกระยะชิดชิดเลยนะครับ
จาก : (093) 448-17xx
ข้อความ : ทุเรียนไทยส่งออกจีน ครองตลาดจีน 91 เปอร์เซ็นต์ ทำพิซซ่าฮัททุเรียน ไทยเหนือเวียดนาม
จาก : (083) 728-19xx
ข้อความ : อยากทำทุเรียนนอกฤดู ออกตลอดปี
บ่น :
ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ วันนี้กลายเป็น ไม้ผลมหัศจรรย์ ไม้ผลในฝัน เนื้อที่ 1 ไร่ พันธุ์ทั่วๆไปได้ขาย 1 รอบ ราคาหน้าสวน กก.ละ 100 แต่พันธุ์หมอนทองออกลูกทั้งปี ได้ขายหลายรอบ ราคาหน้าสวน กก.ละ 100 เหมือน กัน แล้วไม้ผลอย่างอื่นล่ะ เนื้อที่ 1 ไร่ ได้ขาย 1 รอบ ราคาหน้าสวน กก.ละ 10 บาท.
ทุเรียนทั่วประเทศออกสู่ตลาดเรียงลำดับ จากเชียงรายเหนือสุด ไล่ลงมา ภาคกลาง ภาคอิสาน ภาคตะวันออก แล้วต่อไปภาคใต้ แม้แต่ภาคไต้ยังแบ่งภาคไต้ตอนบน ภาคไต้ตอนล่าง สรุปก็คือ แผ่นดินไทยมีทุเรียน กิน/ขาย ได้ตลอดปีไม่มีฤดูกาล งานนี้ไม่ใช่เฉพาะแจ๊คหม่าชอบใจคนเดียว แจ๊กหม่ำ ทั่วโลกก็ยิ้มด้วย เหลือแต่คนคนไทย ผู้ผลิต เป็นผู้ขาย ได้หรือไม่...
ด้วยศักดิ์ศรี ราชาแห่งไม้ผล ไม่ต้องรอตลาดต่างประเทศ แค่ในประเทศก็ไม่พอขายแล้ว แบ่งแปลงปลูกเป็นโซนๆ แล้วทำ ทุเรียนแจ๊คพ็อต บำรุงให้ออกครั้งละโซน ๆๆ โซนละกี่ต้นก็ว่ากันไป ระบบการตลาดแบบนี้จะดีไหม ที่สำคัญ ผลผลิต เกรด เอ. จัมโบ้. รับรองไม่พอให้จองล่วงหน้า
เกมส์นี้จะผ่านได้ด้วย เทคโนโลยี เท่านั้น เทคโนโลยีการบริหารจัดการ เทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีการตลาด แม้แต่เทคโนโลยีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ .... ต้องเปิดใจยอมรับ ทำแบบเดิมคงไม่มีอะไรดีไปกว่าเดิม....
ตอบ :
ทุเรียนระยะชิด & สวนแนวตั้ง :
ระยะต้นให้แคบที่สุด คือ 3 เมตร x ระยะระหว่างแถว 13 เมตร ปลูกอยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ (แนวของแถวขวางทางขึ้นลงของดวงอาทิตย์) หรือเท่ากับ 42 ต้น/ไร่ ตัดแต่งกิ่งให้เหลือเฉพาะกิ่งที่อยู่ในแนวทิศตะวันออก-ตก (ทำมุมกับต้น 60 องศา) ควบคุมจำนวนกิ่งเพื่อติดลูกไม่เกิน 10-12 กิ่ง/ต้น และจำกัดความสูงของต้นไม่เกิน 4-4.5 เมตร
กับอีกรูปแบบหนึ่ง คือ การจัดการแบบสวนแนวตั้ง มีระยะห่างของต้น 4 เมตร x ระหว่างแถว 7 เมตร หรือเท่ากับ 60 ต้น/ไร่ จำนวนกิ่งที่ไว้ตั้งแต่ 15-20 กิ่ง/ต้น (เป็นอย่างน้อย) และจำกัดความสูงไม่เกิน 5-5.5 เมตร
ทั้งนี้ การจัดการ 2 แบบที่กล่าว การปลูกเป็นเนินดิน/ลูกฟูก ยกสูงจากพื้นขึ้นมาประมาณ 30-50 ซม. เป็นอย่างน้อย และกว้างประมาณ 3 เมตร เพื่อการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศที่ดี
ลดต้นทุน ช่วยเพิ่มรายได้ (คนมีพื้นที่น้อย) :
ผอ.ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี เปรียบเทียบกับระบบปลูกทั่วไป เช่น 6×6,
8×8 และ 10×10 เมตร นอกจากจะได้จำนวนต้นต่อไร่มากกว่าแล้ว (2-3 เท่าตัว)
* การจัดการแบบเกษตรเชิงประณีตมากขึ้น
* มีการตัดแต่งกิ่งโดยเลือกไว้กิ่งที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตสูง
* การสะสมอาหารได้เต็มที่จากแสงส่องผ่านได้ทั่วถึงทั้งทรงพุ่ม
* การให้น้ำ-ให้ปุ๋ยและการดูแลอย่างเหมาะสม ตรงช่วงเวลาที่พืชมีความต้องการ
** ส่งผลต่อการให้ผลผลิตที่เฉลี่ย 4 ผลขึ้นไป/กิ่ง หรือไม่น้อยกว่า 40-48 ผล/ต้น หรือ 1,680-2,016 ผล/ไร่ (ระยะชิด 3×13 เมตร) และเฉลี่ย 2 ผลขึ้นไป/กิ่ง หรือไม่น้อยกว่า 30-40 ผล/ต้น หรือ 1,800-2,400 ผล/ไร่ (สวนแนวตั้ง 4×7 เมตร) ขึ้นอยู่กับฝีมือการดูแลของเจ้าของสวน (โดยเฉลี่ย 300 ใบสามารถสังเคราะห์แสงที่เพียงพอต่อการเลี้ยงดูผลได้ 1 ผล)
สนใจเยี่ยม ชมแปลงผลิตทุเรียนระยะชิด (ทุเรียนกางแขน) และสวนทุเรียนแนวตั้ง หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี 63 หมู่ 6 ต.ตะปอน อ.ขลุง จ.จันทบุรี โทร. (039) 397-030 (ในวันและเวลาราชการ)
http://dooreview.com
แนวคิดดีๆ จากการทำ ทุเรียนต้นคู่
คุณธีรภัทร อุ่นใจ เกษตรกรดีเด่น สาขาทำสวน ภาคตะวันออก ปี 2560 ซึ่งได้มีการปลูกทุเรียนต้นคู่ คือ ปลูก 2 ต้น/หลุม
การปลูกทุเรียนต้นคู่ คือการปลูกทุเรียน หลุมละ 2 ต้น :
1. การเตรียมดินหรือหลุมปลูก : ปลูกทุเรียนแบบยกโคกหลุมปลูกให้สูงจากพื้นดินปกติ ประมาณ 1.20 เซนติเมตร ความกว้างของหลุมปลูก ประมาณ 4-6 เมตร เพื่อลดปัญหาการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน และเอื้อต่อการจัดการออกดอกติดผลและดูแลรักษา
2. การปลูก : ใช้ระยะปลูก 10×12 เมตร ใน 1 หลุม ปลูก 2 ต้น แต่ละต้นห่างกัน 1 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ใช้ต้นพันธุ์ทุเรียนประมาณ 24-30 ต้น วางแนวปลูกให้วางแนวทิศตะวันออกและตะวันตก (ตามตะวัน)
3. การดูแลรักษา หลังเก็บเกี่ยว : ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง แสงแดดส่องถึงใต้ต้นทุเรียน และตัดกิ่งที่ห้อยชี้ลงดินทิ้ง ในรอบฤดูกาลให้ทุเรียนแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2-3 ชุด พร้อมให้อาหารทางใบเสริมเพื่อสะสมอาหาร .... ใบอ่อนชุดที่ 3 ระยะเพสลาด ใช้สารแพคโคลบิวทราโซล 25% เพื่อกระตุ้นการออกดอกให้สม่ำเสมอ อัตรา 1,000 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น
4. การให้น้ำ : ให้ถูกต้องตามระยะการพัฒนาของทุเรียน ข้อควรระวังระยะแทงตาดอก ควรให้น้ำภายในทรงพุ่ม ถ้าให้รอบปลายทรงพุ่ม ดอกจะเปลี่ยนเป็นใบอ่อนแทน ระยะดอกบานควรให้น้ำน้อยลง เพื่อป้องกันการแตกใบอ่อน
5. การบำรุง ต้น/ดอก/ผล : ใส่ปุ๋ย ประมาณเดือนครึ่ง/ครั้ง โดยใส่ควบคู่และสลับกันไป ระหว่างปุ๋ยทางดิน ทางใบ และธาตุอาหารเสริมให้เพียงพอ
6. สภาพแปลงปลูก : การจัดการวัชพืชในสวนทุเรียน ทุเรียนอ่อนแอต่อสารเคมีกำจัดวัชพืช เพราะมีระบบรากตื้น จึงเน้นปล่อยให้หญ้าคลุมแปลงทุเรียน โดยเน้นที่หน้าแล้งปล่อยให้หญ้ารก หน้าฝนให้หญ้าเตียน
7. ผลตอบแทนและรายได้ : ต้นทุน เฉลี่ย 10-11 บาท ต่อกิโลกรัม หรือ 18,000-20,000 บาท ต่อไร่ (ไม่รวมค่ายกโคก และค่ากิ่งพันธุ์)
ผลผลิต เฉลี่ย 1,800-2,000 กิโลกรัม ต่อไร่
รายได้ ประมาณ 63,000-67,500 บาท ต่อไร่ (ราคาขาย เฉลี่ย 45 บาท ต่อกิโลกรัม)
ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณธีรภัทร อุ่นใจ บ้านเลขที่ 3/6 หมู่ที่ 8 ตำบลตะเคียนทอง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี โทร. (039) 468-422 หรือ (098) 068-1971 สำนักงานเกษตรอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี โทร. (039) 309-092 สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี โทร. (039) 322-158 สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง โทร. (038) 611-578
https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_47180
กระตุ้นการออกดอกและพัฒนาการผลิตทุเรียนต้นฤดู :
ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี
การใช้สารพาโคลบิวทราโซล และหลักการ SOURCE - SINK RELATIONSHIP สามารถสรุปเป็นขั้นตอนในการปฏิบัติได้ดังนี้
1. การประเมินสภาพต้น/การเตรียมความพร้อมของต้นให้พร้อมสำหรับการฉีด พ่นสารพาโคลบิวทราโซล
2. การฉีดพ่นสารพาโคลบิวทราโซล
3. การทำลายการพักตัวของตาดอกและการเพิ่มปริมาณดอก โดยใช้สารไทโอยูเรีย
4. การเร่งการพัฒนาการของตาดอก โดยใช้สารจิบเบอเรลลิน
5. การเตรียมความพร้อมของต้นทุเรียนเพื่อการติดผล ได้แก่ การป้องกันกำจัด โรค-แมลงการให้น้ำการจัดการให้มีดอกรุ่นเดียวกันบนต้นที่สมสบูรณ์และ การช่วยผสมเกสรโดยใช้ละอองเกสรต่างพันธุ์
6. การจัดการเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต โดยใช้หลักการ SOURCE - SINK RELATIONSHIP สำหรับทุเรียน ได้แก่ การจัดการเพื่อลดขนาดและ จำนวนของ SINK และการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ SOURCE
7. การเก็บเกี่ยวตามสภาพการสุกแก่ เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพของผลผลิตทุเรียน เมื่อเสร็จสิ้นการทดสอบจะมีวิทยาการผลิตทุเรียนต้นฤดู สำหรับคำแนะนำให้ เกษตรกรนำไปปฏิบัติและปรับใช้เพื่อผลิตทุเรียนต้นฤดูที่มีคุณภาพดีต่อไป
ตอบ :
คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :
โลกยุคใหม่ คนรุ่นใหม่ คิดใหม่ทำใหม่ ดีไหม ? :
ทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง กับอีกหลากหลายผลไม้ ลงทุนเท่ากัน ทำงานเท่ากัน ทั้งปีได้ขายครั้งเดียวเหมือนกันทั้งหมด แต่ต่างกันที่ราคาต่อ กก. ....
เงาะ มังคุด ลองกอง ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง กก.ละเท่าไร ? เมื่อเทียบกับทุเรียน กก.ต่อ กก. .... สำคัญที่ ทำเป็น ขายเป็น เท่านั้น
- ที่ถามาคำตอบ คือ ดี ดีทั้ง 3 อย่าง หรือจะเพิ่มเข้าไปอีกก็ได้ ชะนี กำปั่น กบ ฯลฯ แม้แต่ พวงมณี ก็น่าสนใจ เพราะเป็นทุเรียนที่มีผลดกที่สุดในบรรดาทุเรียนด้วยกัน ทั้งนี้ ทุเรียน คือ ราชาแห่งผลไม้ แต่มีข้อแม้ ทำเป็น ขายเป็น
**** ทำ ....... ปลูกทุเรียน ตามใจทุเรียน ไม่ใช่ตามใจคน
**** ขาย ...... ลูกค้า คือ พระเจ้า ไม่ใช่เจ้าของยังไม่กิน
- หมอนทอง ออกลูกตลอดปีได้ ถ้าบำรุงแบบตามใจทุเรียน ขายสุกได้ ขายดิบทำทอดกรอบดี
- ก้านยาว หลงลับแล หลินลับแล พวงมณี ออกปีละรุ่นให้ได้ เกรด เอ. จัมโบ้. ลูกละ 2 โล ต้นละ 100 ลูก ออกก่อนฤดู 1 เดือน ..... มีคนทำได้ ยกเว้นเรา
** ช่วงไม่มีผลบนต้น : (เพื่อเตรียมความพร้อมต้น/สะสมแป้งและน้ำตาล สำหรับฤดูกาลหน้า)
ทางใบ : ให้ไบโออิ 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ ห่างกันรอบละ 15-20 วัน .... หาโอกาสให้ น้ำตาลทางด่วน (สะสมแป้งและน้ำตาล) 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 1 เดือน
ทางราก : ใส่ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, หญ้าแห้งใบไม้แห้งคุลมโคนต้นหนาๆ ให้ปีละ 2 รอบ, ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 1-2 ล./ไร่ /เดือน ให้ทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว, ให้ปุ๋ยเคมีสูตรตามระยะ อัตรา ครึ่ง กก. /ต้น /เดือน ละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณทรงพุ่ม, ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น
** ช่วงมีผลบนต้น (เพื่อ .... บำรุงต้น-บำรุงผล-ขยายขนาด-หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ-สร้างคุณภาพ) :
ทางใบ : ให้น้ำ 200 ล. + ไบโออิ 60 ซีซี. + ยูเรก้า 412 (60 ซีซี.) + สมุนไพร 1 ล. 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน
ทางราก : ใส่ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, หญ้าแห้งใบไม้แห้งคุลมโคนต้นหนาๆ
- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 1-2 ล./ไร่ /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว, +เพิ่มปุ๋ยเคมี 21-7-14 อัตรา (ครึ่ง กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่ /ต้น /เดือน)
- ละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณทรงพุ่ม, ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น
- สลับเดือน ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (8-24-24) 1-2 ล. /ไร่ /เดือน รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว, +เพิ่มปุ๋ยเคมี 8-24-24 อัตรา (ครึ่ง กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) /ต้น /เดือน .... ละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณทรงพุ่ม, ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้า ดินชื้น
@@ บำรุงทุเรียนหมอนทอง (เพื่อ....ออกดอกติดผลตลอดปี) :
** ช่วงมีผลบนต้น (บำรุงต้น, สะสมตาดอก, เปิดตาดอก. บำรุงดอก, บำรุงผล-ขยายขนาด-หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ-สร้างคุณภาพ)
ทางใบ : ให้สูตรสหประชาติ น้ำ 100 ล. + ไบโออิ (Mg Zn) 50 ซีซี. + ไทเป (0-52-34. 13-0-46) 50 ซีซี. + ยูเรก้า 412 (21-7-14. ไคโตซาน, อะมิโน โปรตีน) 50 ซีซี. + สารสมุนไพร 1-2 ล 2 รอบ ให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10 วัน หาจังหวะให้น้ำตาลทางด่วน 1-2 เดือน / ครั้ง
ทางราก : ใส่ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, หญ้าแห้งใบไม้แห้งคลุมโคนต้นหนาๆ ปีละ 2 ครั้ง ....ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1-2 ล. /ไร่) +8-24-24 (ครึ่ง กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) สลับเดือนกับ ระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (1-2 ล. /ไร่) +21-7-14 (ครึ่ง กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่)
หมายเหตุ :
- สปริงเกอร์ หม้อปุ๋ยหน้าโซน ช่วยให้การทำงานได้ประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน, ประหยัดเวลา, ประหยัดแรงงาน
- แก้ปัญหา ลูกยอด-พูหลอก โดยการให้ปุ๋ยทางใบบ่อยๆ
- ดินต้องมาก่อน ใส่อินทรีย์วัตถุ, สารปรับปรุงบำรุงดิน, จุลินทรีย์, สารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น, ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น
- ใส่อินทรีย์วัตถุ หญ้าแห้งใบไม้แห้ง คลุมโคนต้นหนาๆ ถึงหัวเข่า ระบบรากจะขึ้นมาอยู่ในเศษซากอินทรีย์ เพราะมีทั้งสารอาหาร อินทรีย์ เคมี และอากาศ เป็นรากที่สมบูรณ์แข็งแรงดีมากๆ
- อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสมของทุเรียน หมายถึง สารอาหารอินทรีย์ในปุ๋ยอินทรีย์และสารปรับปรุงบำรุงดินไม่เพียงต่อความต้องการของไม้ใหญ่อย่างทุเรียน แก้ไขด้วยการใส่เพิ่มสารอาหารสังเคราะห์ (เคมี)
- หมั่นตัดแต่งกิ่งที่ ลำต้น/โคนต้น/ท้องกิ่ง ออกเพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองน้ำเลี้ยง แต่เลี้ยงไว้กิ่งด้านบนของกิ่งที่มีลูก เพื่อให้สังเคราะห์อาหารเลี้ยงลูกกลางกิ่ง
- หมั่นตัดแต่ง ช่อดอก (เริ่มออกดอก หางแย้ กำไร), ผลเล็กที่มากเกิน, ผลที่รูปทรงไม่สวย, อยู่เสมอ
- ปลูกทองหลางแซมแทรกเพื่อเอารากบำรุงทุเรียน ควบคุมทรงพุ่มทองหลางไม่ให้รบกวนแสงแดดต่อทุเรียน
- ทุเรียนอ่อนแอต่อโรค ไฟธอปเทอร์ร่า มาก แนะนำว่า ให้จุลินทรีย์กลุ่ม ไตรโคเดอร์ม่า บ้าง 2-3 เดือน / ครั้ง ให้ไว้ตั้งแต่ดินยังไม่เป็นกรดเพื่อป้องกัน เพราะถ้าดินเป็นกรดจัดจนเกิดไฟธอปเทอร์ร่าแล้ว ไตรโคเดอร์ม่าจะเอาไม่อยู่ เพราะไตรโคเดอร์ม่าอยู่ไม่ได้ในดินที่เป็นกรดจัด
ทุเรียนนอกฤดู :
บำรุงทุเรียนหมอนทอง (เพื่อ....ออกดอกติดผลตลอดปี) :
ช่วงมีผลบนต้น (บำรุงต้น, สะสมตาดอก, เปิดตาดอก. บำรุงดอก, บำรุงผล-ขยายขนาด-หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ-สร้างคุณภาพ)
ทางใบ : ให้สูตรสหประชาติ (ไบโออิ ไทเป ยูเรก้า) + สารสมุนไพร 2 รอบ ให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 10 วัน หาจังหวะให้น้ำตาลทางด่วน 1-2 เดือน /ครั้ง
ทางราก : ใส่ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, หญ้าแห้งใบไม้แห้งคลุมโคนต้นหนาๆ ปีละ 2 ครั้ง ....ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 (1-2 ล. /ไร่) +8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) สลับเดือนกับ ระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (1-2 ล. /ไร่) +21-7-14 (ครึ่ง กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่)
หมายเหตุ :
- สปริงเกอร์ หม้อปุ๋ยหน้าโซน ช่วยให้การทำงานได้ประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องาน, ประหยัดเวลา, ประหยัดแรงงาน
- แก้ปัญหา ลูกยอด-พูหลอก โดยการให้ปุ๋ยทางใบบ่อยๆ
- ดินต้องมาก่อน ใส่อินทรีย์วัตถุ, สารปรับปรุงบำรุงดิน, จุลินทรีย์, สารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น, ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้น
- ใส่อินทรีย์วัตถุ หญ้าแห้งใบไม้แห้ง คลุมโคนต้นหนาๆ ถึงหัวเข่า ระบบรากจะขึ้นมาอยู่ในเศษซากอินทรีย์ เพราะมีทั้งสารอาหาร อินทรีย์ เคมี และอากาศ เป็นรากที่สมบูรณ์แข็งแรงดีมากๆ
- เคมีนำ อินทรีย์เสริม ตามความเหมาะสมของทุเรียน หมายถึง สารอาหารอินทรีย์ในปุ๋ยอินทรีย์และสารปรับปรุงบำรุงดินไม่เพียงต่อความต้องการของไม้ใหญ่อย่างทุเรียน แก้ไขด้วยการใส่เพิ่มสารอาหารสังเคราะห์ (เคมี)
- หมั่นตัดแต่งกิ่งที่ ลำต้น/โคนต้น/ท้องกิ่ง ออกเพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองน้ำเลี้ยง แต่เลี้ยงไว้กิ่งด้านบนของกิ่งที่มีลูก เพื่อให้สังเคราะห์อาหารเลี้ยงลูกกลางกิ่ง
- หมั่นตัดแต่ง ช่อดอก (เริ่มออกดอก หางแย้ กำไร), ผลเล็กที่มากเกิน, ผลที่รูปทรงไม่สวย, อยู่เสมอ
- ปลูกทองหลางแซมแทรกเพื่อเอารากบำรุงทุเรียน ควบคุมทรงพุ่มทองหลางไม่ให้รบกวนแสงแดดต่อทุเรียน
- ทุเรียนอ่อนแอต่อโรค ไฟธอปเทอร์ร่า มาก แนะนำว่า ให้จุลินทรีย์กลุ่ม ไตรโคเดอร์ม่า บ้าง 2-3 เดือน/ครั้ง ให้ไว้ตั้งแต่ดินยังไม่เป็นกรดเพื่อป้องกัน เพราะถ้าดินเป็นกรดจัดจนเกิดไฟธอปเทอร์ร่าแล้ว ไตรโคเดอร์ม่าจะเอาไม่อยู่ เพราะไตรโคเดอร์ม่าอยู่ไม่ได้ในดินที่เป็นกรดจัด
การผลิตทุเรียนทวาย :
1. ราดสารแพกโคลบิวทราโซลลงดิน ในอัตรา 20-80 กรัม/ต้น ทุเรียนจะทยอยออกดอกตามกิ่งประเภทต่างๆ ทั้งปี
2. เลือกกิ่งเพื่อใช้ในการติดผลตามสภาพความพร้อมของต้น และสภาพความพร้อมของกิ่งประเภทต่างๆ
3. จัดการปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย น้ำ การอารักขาพืช การผสมเกสร และการตัดแต่งดอกผล ฯลฯ ตามขั้นตอนของเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนให้สอดคล้องกับสภาพต้น และความพร้อมด้านต่างๆ ของแต่ละกิ่ง
4. ใช้สารแพกโคลบิวทราโซลราดดิน ต้นทุเรียนจะมีสภาพใบเล็กและข้อสั้นตลอดเวลา ซึ่งสภาพดังกล่าวสามารถฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้โดยการฉีดพ่นสารที่มีส่วนประกอบของไซโตไคนิน (Cyto- kinin) อยู่ด้วย 2-3 ครั้ง รวมทั้งการจัดการปัจจัยการผลิตด้านต่างๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น การตัดแต่งกิ่ง การใส่ปุ๋ย การให้น้ำ และการอารักขาพืชด้านโรคและแมลง
การผลิตทุเรียนล่า :
การผลิตทุเรียนล่า คือ การควบคุมให้ผลทุเรียนสุกแก่เก็บเกี่ยวได้ในช่วงปลายฤดูการผลิต เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาราคาผลิตผลตกต่ำ ในช่วงที่ผลผลิตทุเรียนโดยทั่วไปจะออกมาชุกในระหว่างเดือน พ.ค.- มิ.ย. (ภาคตะวันออก) หรือระหว่างเดือน ก.ค.- ส.ค. (ภาคใต้)
วิธีการผลิตทุเรียนล่า :
1. ยืดเวลาสุกแก่ของผลที่เกิดจากดอกที่ออกตามฤดูปกติ
2. ทำลายดอกรุ่นแรก ด้วยการเด็ดดอกทิ้ง หรือใช้สารเคมี แล้วรักษาดอกรุ่นที่ 2 หรือรุ่นที่ 3 ที่ออกตามมาในระยะหลัง
3. เลื่อนการออกดอกรุ่นแรกให้ล่ากว่าปกติ โดยวิธีการให้น้ำและปุ๋ยแก่ต้นทุเรียนในขณะที่สภาพภูมิอากาศเริ่มแล้ง พร้อมจะชักนำการออกดอกตามฤดูกาลปกติ หรืออาจใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช
ขอบคุณที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 28
การใช้ไฟทำให้ทุเรียนออกนอกฤดู :
- ช่วงทุเรียนแตกยอดอ่อนชุดที่ 2 ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 8-24-24 รดทั่วแปลงทุกตารางนิ้ว กับ +เพิ่ม 8-24-24 (1/2 กก.ต้นเล็ก, 1 กก.ต้นกลาง, 2 กก.ต้นใหญ่) ละลายน้ำรดโนต้นบริเวณทรงพุ่ม
- จากนั้น 20-25 วัน ถ้าไม่มี่ฝนตก ให้สารพาโคลบิวทราโซล 15% อัตรา 2 กก./น้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้เปียกทั้งนอกและในทรงพุ่ม
- ฉีดสารแล้ว 1 เดือน ให้เปิดหน้าดินโคนต้นจนเห็นรากฝอยที่ผิวดิน นำใบไม้แห้งสุมกองไว้รอบนอกโคนต้น ที่ปลายเขตทรงพุ่ม (เขตทรงพุ่มอยู่ที่ปลายรากฝอย ล้อมรอบต้น หรือเส้นดิ่งตั้งฉาก จากปลายกิ่งลงมาที่พื้น) ให้เป็นควัน (ไม่มีเปลวไฟ ป้องกันใบเหี่ยว) พุ่งขึ้นหาทรงพุ่มจนทั่ว นาน 10-15 นาที ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 3-5 วัน
- ระหว่างสุมควันให้งดน้ำ กระทั่งสุมควันครั้งสุดท้ายแล้วให้น้ำต่อประมาณ 5 วัน
- งดน้ำครบ 5 วัน แล้วให้ปุ๋ยสูตรกระตุ้นตาดอก
- ถ้าต้นมีความสมบูรณ์สะสมสูง ประมาณ 2 อาทิตย์ก็จะมีตาดอกแทงขึ้นมา
-----------------------------------------------------------------------------------
.
|
|