kimzagass หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11777
|
ตอบ: 30/07/2014 8:45 pm ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบปัญหาเกษตร 30 JUL *ไรซ์เบอร์รี่พันธะสัญญา, ต้นทุนยางฯ |
|
|
.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางรายการวิทยุ 30 JUL
AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)
********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก
@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6
... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็ม.แคล--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112
... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986
----------------------------------------------------------------------------------------------
ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ เคมี)
1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) คุณชาตรี (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)
3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) คุณล่า (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี
5) คุณประเสริฐ (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) คุณอรุณ (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.
7) คุณพรพรรณ (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) คุณน้ำส้ม (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :
** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม
** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)
มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
.... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .........
.... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .........
-----------------------------------------------------------
จาก : (087) 820-82xx
ข้อความ : ลุงคิมครับ เดี๋ยวนี้ชาวนานิยมปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่กันมาก เฉพาะบ้านผมรวมแล้วกว่า 1,000 ไร่ โรงสีที่เคยปฏิเสธต้องปรับตัวมารับซื้อ บอกรับไม่อั้น ยิ่งมากยิ่งดี แต่ไม่ประกันราคา รับซื้อตามราคาตลาดวันนั้น แบบนี้ชาวนาจะเสียเปรียบไหมครับ .... ชาวนาอู่ทอง
ตอบ :
- เนื้อที่ 1,000 ไร่ ต่างคนต่างทำ หรือรวมกลุ่มกันทำ เพราะ 2 แบบนี้ มีปัญหาและวิธีแก้ปัญหาไม่เหมือนกัน
- ราคาที่ได้ ณ วันนี้ ถือว่าเป็นโอกาสมทองของชาวนาข้าวไร์ซ์เบอร์รี่โดยเฉพาะ นี่แหละที่บอกว่า คนเราแพ้ชนะกันที่โอกาส ช่วงราคาดีๆไม่ทำ พอตลาดวายถึงมาทำ เชื่อว่าไม่นานราคาก็จะลงมา เพราะ DEMAND SUPPLY อุปสงค์ อุปทาน ถึงอย่างไรก็จะคงราคาดีว่าข้าวสีขาวทั่วๆไป เพราะคุณภาพของตัวมันเอง
- ถ้าโรงสีไม่ประกันราคาหรือไม่แจ้งราคาก่อนแล้วจะรับซื้อยังไง แม้แต่โรงสีที่ได้ข้าวเปลือกไรซ์เบอร์รี่ไปแล้วเขาจะขายยังไง ขายเป็นข้าวปลูกหรือสีข้าวพร้อมหุงขายก็ยังไม่รู้แน่ เพราะตลาดข้าวไรซ์เบอร์รี่ยังอยู่ในวงจำกัด ทั้งตลาดในประเทศ ตลาดต่างประ เทศ
- ทางออกหนึ่งของโรงสี คือ เมื่อรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนามาแล้ว โรงสีก็จะติดต่อกับบริษัทรับซื้อเป็นข้าวสีพร้อมหุงแล้ว ภายไต้เงื่อนไขอะไรก็ว่ากันไปตามสไตล์มืออาชีพระดับโรงสีกับบริษัทรับซื้อ ที่แน่ๆ กำไรของบริษัทรับซื้อ กำไรของโรงสี จะถูกหักหรือบวกด้วยราคาที่โรงสีรับซื้อ ซึ่งก็คือ รายได้ของชาวนาต้องลดลงนั่นเอง
- ในเมื่อรวมพื้นที่กันได้ 1,000 ไร่ เป็นกลุ่มแล้ว ทำไมชาวนาไม่ติดต่อขายตรงให้กับบริษัทรับซื้อโดยตรงเลย ซื้อขายกันแบบ เกษตรพันธะสัญญา ไม่ได้ต้องผ่านโรงสี ก็เห็นมีหลายกลุ่ม หลายหมู่บ้าน ที่ทำกันได้ รวมกลุ่มกันผลผลิต รวมกลุ่มกันขาย เราก็ทำแบบนั้นได้นี่นา ว่าแต่ว่า ข้าวสินค้า คือ ข้าวที่เราผลิตออกมา ทุกอย่างมันโดนตาโดนใจคนรับซื้อหรือเปล่าเท่านั่นแหละ ไม่ใช่ว่า ตัวเองผลิตเองยังไม่กิน พอขายไม่ออกก็มาโวยวาย ปิดถนนเดินขบวน
- ในอินเตอร์เน็ต มีบริษัทรับซื้อข้าวพร้อมหุงเป็นร้อยๆบริษัท ให้ลูกหลานไปเปิดอินเตอร์เน็ต เปิดกูเกิ้ล พิมพ์คำว่า จำน่ายข้าว สาร แล้วกดเอ็นเตอร์ จึ้งเดียวก็ออกมาเป็นร้อยบริษัทแล้ว เจอแล้วจดชื่อบริษัท จดเบอร์โทร หรือเงื่อน ไขน่าสนใจอย่างอื่นมา แล้วเจรจาการค้าการขายกับเขา ว่าแต่ชาวนามีของดียังไงบ้างล่ะ
@@ เงื่อนไขของชาวนา เตรียมเจรจากับผู้รับซื้อ ....
* ที่อยู่ ......................... จังหวัดอัตตะปือ
* ปริมาณพื้นที่ ................ ติดกัน ห่างกัน
* ระบบน้ำ ..................... สมบูรณ์ดีตลอดปี, ตามฤดูกาล
* ผู้สนับสนุนโครงการ .......... อิสระ, มูลนิธิ, ราชการ
* ชนิดพันธุ์ข้าว ................ ไรซ์เบอรี่, พันธุ์อื่นๆเอาไหม ? ทั้งข้าวขาวข้าวดำ
* ผลิตภัณฑ์ ................... ข้าวเปลือก, ข้าวสีพร้อมหุง, ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง
* คุณภาพ ..................... เกรด, ข้าวปน, ข้าวป่น, ข้าวเรื้อ, ความชื้น,
* ใบรับรอง ..................... จีเอพี, คิว,
* แบบการบำรุง ................. อินทรีย์, เคมี, อินทรีย์-เคมี
* แบบการกำจัดศัตรูพืช ........ เคมี, สมุนไพร, เคมี-สมุนไพร, ไอพีเอ็ม.
* แบบการทำ ................... นาดำ นาหว่าน
* ประวัตการทำนา .............. ทำมาแล้วกี่รุ่น ? ความสำเร็จ ? ความล้มเหลว ?
* ประวัติการค้าขาย ............ ขายให้โรงสี, ขายให้บริษัท, แปรรูปขาย
* วัน/เดือน/ปี .................. วันเกี่ยว
* ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย กรณีผิดสัญญา
* ฯลฯ
@@ เงื่อนไขของบริษัทรับซื้อกำหนด ....
* ต้องเป็นสมาชิก
* ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท
* ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์
* ค่าขนส่ง
* ตลาดในประเทศ, ส่งออก
* เปอร์เซ็นต์ความบริสุทธิ์ของข้าว
* ความชื้น
* ค่าทดสอบ
* ค่าประกัน
* มีบุคลากร หรือนักวิชาการให้คำแนะนำ
* ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกรณีผิดสัญญา
* ฯลฯ
@@ เทคนิคการบริหาร :
* ทำนาดำแบบประณีต
* วันดำ วันเกี่ยว +/- 5-7 วัน
* เมล็ดพันธุ์เกรดเดียวกัน
* บำรุงสูตรเดียวกัน
* ปฏิบัติบำรุงวิธีการเดียวกัน
* เครื่องมือหรือเครื่องทุ่นแรง
* มีความรู้เรื่องกฎหมาย กรณีฟ้องร้องเมื่อผิดสัญญา
* ประชุม-เสวนา-แลกเปลี่ยน-แนะนำ เทคโนโลยีการผลิต การบริหาร
* ทรัพยากรบุคคลที่ช่วยได้ คือ จนท.เกษตร ลูกหลานที่จบปริญญา ครู พระ และสุดท้าย คือ สับปะเหร่อ
* ฯลฯ
@@ ปัญหา และการแก้ปัญหา
- ใจ ........................................ แก้ปัญหาโดย ฟังลูกหลานพูด
- ลดต้นทุนค่า ปุ๋ย/ยา/ฮอร์โมน ............. แก้ปัญหา โดยรวมกลุ่มทำเอง
- สั่งซื้อแล้วส่งถึงที่ ........................... แก้ปัญหาโดยรวมกลุ่มสั่งซื้อ
- สมช.ไม่มีความรู้ ........................... แก้ปัญหาโดยคนมีประสบการสอนด้วยมือ
- สมช. มิจฉา ทิฐิ ........................... แก้ปัญหาโดย พระเทศน์ ปล่อยเขาไป
- ฯลฯ
@@ แผนการในอนาคต
- การโฆษณา ปชส.
- ขยายขนาดกลุ่ม ขยายพื้นที่ ตั้งกลุ่มสาขา
- เพิ่มปริมาณ และคุณภาพผลผลิต
- สร้างผลิตให้ได้ตามหลักเกณฑ์ที่ผู้รับซื้อกำหนด
- สร้างมาตรฐานสากลในการผลิต
- จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้
- -ฯลฯ
ปล.
* เงื่อนไข หรือข้อตกลง หรือกิติกา หรือสัญญา หรือฯลฯ ระหว่างคนซื้อกับคนขาย :
- ลูกหลานวุฒิภาวะระดับปริญญา ไม่รู้ ....................... ก.ไม่เชื่อ
- คนเป็นพ่อเป็นแม่ ทำนามาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ ไม่รู้ .......... ก.ไม่เชื่อ
- คนระดับอาจารย์สอนมหาลัย ปล่อยพ่อแม่พี่น้องตัวเองเผาฟางใส่ยูเรีย
สอนลูกศิษย์ลูกหามาตลอดอายุราชการ ไม่รู้ ................... ก.ไม่เชื่อ
--------------------------------------------------------------
จาก : (081) 847-5695xx
ข้อความ : สวัสดีครับลุงคิม และผู้ที่กำลังฟังอยู่ รายการสีสันชีวิตไทย ควรที่จะเป็นรายการวิทยุแห่งชาติ และย้ายไปอยู่ของวิทยุแห่งประเทศไทย เพื่อที่จะเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรทั่วแผ่นดิน เพราะเราเป็นประเทศเกษตรกรรม ไม่ใช่ประเทศอุตสาหกรรม (เคมี) และเหมาะกับเหตุการณ์ในขณะนี้ เพื่อคืนความสุขให้กับแผ่นดิน และประชาชนอย่างแท้จริง...
ตอบ :
- NO COMMENT
--------------------------------------------------------------
จาก : (082) 109-43xx
ข้อความ : ดู ทีวี.ช่อง 3 พูดถึงยางพาราภาคตะวันออก บอกว่าต้นทุน กก.ละ 65 บาท ของไทยต้นทุนสูงที่สุด ของอินโด 54 บาท มาเล 43 บาท เวียดลาวกัม 35 บาท เรื่องนี้ผู้พันมีความคิดเห็นอย่างไร .... ขอบคุณครับ
ตอบ :
- ไม่ใช่แต่ยางพาราเท่านั้น นาข้าวก็ด้วย .... เขาสำรวจมาแล้วว่า นาข้าวไทยต้นทุนสูงสุดในอาเซียน นาข้าวเวียดนามต้นทุนต่ำสุด
- วันนี้ยางพาราไทยทำได้แค่ ถุงมือ ถุงยางอนามัย กับยางหนังสติ๊กรัดถุง ไม่ถึง 10% ของยางดิบที่ผลิตได้ ที่เหลือส่งออก แล้วประเทศที่นำเข้า เขาเอาไปทำอะไรล่ะ
กรณีของอินโดเนเซีย มาเลเซีย ค่านิยมหรือทัศนคติต่อการเกษตรไม่ต่างจากไทยนัก ก็ไม่รู้ว่าที่นั่น เคมีจ๋า เหมือนบ้านเราหรือเปล่า แต่ลาว กัมพูชา เวียดนาม รัฐบาลเขาพยายามไม่นำเข้าปุ๋ยเคมี สารเคมี อันนี้รู้จาก สมช.ของเราไปที่นั่นมาเล่าให้ฟัง เกษตร กรเลยไม่มีปุ๋ยใส่ ลงท้ายจึงไม่ได้ใส่ เมื่อไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมีดินก็เลยไม่เสีย ดินไม่เสียก็คือดินดีไง กอร์กัป ลาว กัมพูชา เวียดนาม ไม่ได้เน้นหรือไม่ได้ทำโครงการประชานิยม ก็เลยปล่อยไปตามเวรตามกรรม ถึงเขาจะไม่มียางพาราส่งออกหรือส่งออกไม่มาก เขาก็อยู่ของเขาได้ ผิดกับบางประเทศที่ชอบสร้างโครงการประชานิยม พอส่งออกไม่ได้ก็มาโวยวาย ปิดถนน
- วันนี้ คสช. พูดถึงการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มยางพารา โดยส่งเสริมการลงทุนสร้าง ยางรถยนต์ ยางรถจักรยานยนต์ ยางชิ้นส่วนอุปกรณ์ทุกชนิด แม้แต่เอามาแทนยางมะตอยทำถนน เรื่องทำนองนี้ ทหารคิดได้ แล้วทำไมนักการเมือง ระดับด็อกเตอร์ นักธุรกิจอาชีพ ทั้งนั้น กลับคิดไม่ได้ หรือคิดได้แต่เพราะ ก.ได้น้อย เลยไม่คิดมั้ง
สร้างโรงงานทำยางรถจักรยานยนต์ที่ จ.บึงกาฬ แล้วส่งไปขายเวียดนาม ประเทศเดียวก็คุ้มเกินคุ้ม เพราะเวียดนามใช้รถจักรยาน
ยนต์มากกว่าเรา 200% .... ส่งเสริมการลงทุนที่นั่น แรกๆ ก็ลดภาษีให้ก่อน เท่านั้นแหละ
* วิเคราะห์ปัญหาต้นทุน :
- ค่าปุ๋ย .... เพราะ ใส่ปุ๋ยผิด (ผิดสูตร ผิดวิธี ผิดปริมาณ ผิดดิน)
ค่าปุ๋ย .... เพราะ ไม่ทำเอง ซื้อทุกอย่าง สากกะเบือยันเรือรบ ยิ่งแพงยิ่งซื้อ
- ค่าปุ๋ย .... เพราะ ไม่บำรุงดิน ใส่ปุ๋ยแล้วไม่งาม หาว่าใส่น้อยเลยใส่เพิ่ม
- ค่าน้ำ .... ไม่ได้ให้ เพราะไม่มีน้ำ
- ค่าแรง .... เพราะ อยากให้ + อยากรับ ค่าแรงแพง
- ผิดหลักธรรมชาติ .... เพราะ ยึดติดเคมี ไม่เชื่อไม่รับ อินทรีย์นำ เคมีเสริม
- ขาดความรู้ที่แท้จริง รู้แค่โฆษณา ทำตามกระแส
- ผู้ส่งเสริม ขาดอุดมการณ์ ทำงานเชิงรับมากกว่าเชิงรุก
- ฝากอนาคตไว้กับยางพาราอย่างเดียว ไม่ลงพืช แซม/แทรก ใดๆ
-------------------------------------------------------------
. |
|