-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ผักกาดน้ำ...สมุนไพรกำจัดวัชพืช...ประสบการณ์ตรง (o.k.)
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ห่อผลน้ำดอกไม้ # 4 พัฒนาสี
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ห่อผลน้ำดอกไม้ # 4 พัฒนาสี

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11600

ตอบตอบ: 20/03/2010 7:46 pm    ชื่อกระทู้: ห่อผลน้ำดอกไม้ # 4 พัฒนาสี ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อิทธิพลของการห่อผลต่อการพัฒนาสี คุณภาพของผล
และศัตรูของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์สี่



ชูชาติ วัฒนวรรณ1/ อรุณี วัฒนวรรณ1/ สุภัทรา เลิศวัฒนาเกียรติ2/
จงรักษ์ จารุเนตร3/ เฉลิมพล ชุ่มเชยวงศ์1/ พเยาว์ ร่มรื่นสุขารมย์4/
.........................................................................................


บทคัดย่อ
การศึกษาอิทธิพลของการห่อผลต่อการพัฒนาสี คุณภาพของผล โรคและแมลงศัตรูของมะม่วง
พันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์สี่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของถุงห่อและระยะเวลาที่เหมาะสมในการห่อผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์สี่ และผลกระทบของวัสดุห่อผลต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของผล ทำการทดลองที่แปลงเกษตรกรอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2547-ธันวาคม 2551

โดยทำการห่อผลด้วยถุงกระดาษสองชั้น (ชั้นในสีดำ) 3 ชนิด คือ ถุงกระดาษสองชั้น ชั้นนอกสีน้ำตาลเคลือบมันชั้นนอกสีน้ำตาล และชั้นนอกสีขาว ถุงกระดาษชั้นเดียว 2 ชนิด คือ ถุงกระดาษหนังสือพิมพ์ และถุงกระดาษสีเหลืองทอง เปรียบเทียบกับการไม่ห่อถุง (control) พบว่าการห่อผลทำให้คุณภาพของผลมะม่วงดีขึ้น

โดยระยะเวลาที่เหมาะสม คือ ห่อผลเมื่ออายุผล 40-60 วันหลังดอกบาน ซึ่งสามารถทำให้ผลมีการพัฒนาสีได้ดี โดยไม่มีผลต่อการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนส และโรคขั้วผลเน่า สามารถลดการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ และแมลงวันผลไม้ได้ แต่ไม่สามารถลดการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้ง และพบว่าการห่อด้วยถุงสองชั้น(ชั้นในสีดำ) ชั้นนอกสีน้ำตาล ผลมะม่วงมีน้ำหนักมาก การพัฒนาสีเปลือกดีที่สุด ทำให้เมื่อสุกมีผิวสีเหลืองส้มสวยสะดุดตา ในขณะที่คุณภาพเนื้อภายในผลไม่แตกต่างจากกรรมวิธีอื่น สำหรับการเข้าทำลายของโรคหลังการเก็บเกี่ยว พบว่า ระดับความรุนแรงอยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งแนะนำให้การทารอบโคนต้นมะม่วงด้วยกาวเหนียว ซึ่งสามารถลดการเคลื่อนย้ายของมดที่เป็นพาหะของเพลี้ยแป้ง จึงสามารถลดระดับความรุนแรงในพื้นที่ที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้งได้


ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©