ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11600
|
ตอบ: 29/01/2011 10:49 am ชื่อกระทู้: สะเดา จากกำจัดศัตรูพืช ถึง 1 ไร่ล้าน.... |
|
|
การใช้สะเดาป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช
ข้อมูลโดย ศ.ดร.ขวัญชัย สมบัติศิริ แห่งภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร ม.
เกษตรศาสตร์ จากเอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ เรื่อง หลักการและวิธีการใช้สะเดา
ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช ระบุไว้ว่า การสกัดสารอะซาไดแรค ตินจากเมล็ด
หรือผลสะเดาทําได้หลายวิธีด้วยกัน สิ่งที่สําคัญคือ ส่วนของสะเดาที่ใช้ต้องบดให้
ละเอียด สําหรับตัวสกัดที่เหมาะสมในการผลิตเป็นการค้าคือ แอลกอฮอล์ อาจเป็น
เอทิล แอลกอฮอล์ หรือเมทิล แอลกอฮอล์ ก็ได้ แต่เมทิลแอลกอฮอล์ราคาถูกกว่า
มาก ถ้าใช้เมทิลแอลกอฮอล์ ต้องระวังอย่าให้เข้าปากหรือเข้าตา ในกระบวนการ
สกัดสารถ้าต้องการผลิตใช้เอง ตัวสกัดที่เหมาะสม คือ นํ้า ซึ่งเกษตรกรเป็นจํานวน
ไม่น้อยใช้น้ำในการสกัดสารจากผลสะเดาที่ได้จากผลแห้ง
การสกัดเพื่อใช้เอง ให้นำผงสะเดาที่ ได้จากการบดผลสะเดาแห้ง จํานวน 10
กิโลกรัม ใส่ในภาชนะบรรจุ เติมนํ้าให้ท่วมประมาณ 200 ลิตร (ผงสะเดา 1
กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร) แช่ไว้นานประมาณ 24 ชั่วโมง ในระหว่างการแช่นํ้า อาจ
ใช้ไม้ยาวกวนให้ผลสะเดารวมกับน้ำเป็นครั้งคราว เมื่อครบกําหนดเวลาจึงกรองนํ้ายา
ผ่านตาข่ายพลาสติกสีเขียว ในกรณีที่ใช้เครื่องพ่นสูบโยกที่ใช้แรงคน เกษตรกรบาง
รายที่ต้องการประหยัดผงสะเดา อาจแช่ครั้งแรกประมาณ 3 ชั่วโมงจึงกรองนํ้ายา
ออก จากนั้นเติมนํ้าลงไปในกากสะเดาใหม่ แต่ใช้นํ้าน้อยลง อาจเป็น 100-150
ลิตร แช่ไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง จึงกรองนํ้ายาไปใช้ นอกจากนั้น เกษตรกรอาจใช้
แอลกอฮอล์ร่วมสกัดโดยการนําผงสะเดาที่รู้นํ้าหนักแล้ว บรรจุในภาชนะที่มีฝาปิด
สนิท เติมเมทิลแอลกอฮอล์ให้ท่วมผงสะเดา จะแช่ไว้นานเท่าใดก็ได้ แต่อย่างน้อย
ควรนานกว่า 1 วัน จากนั้นนําผลสะเดาที่แช่ในแอลกอฮอล์ไปแช่ในนํ้า โดยคิดอัตรา
ส่วน ผงสะเดา 1 กิโลกรัม (ไม่รวม นํ้าหนักของแอลกอฮอล์) ต่อนํ้า 20 ลิตร แช่ใน
นํ้าเป็นเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง จึงกรองเหมือนวิธีเดิม
ศ.ดร.ขวัญชัย กล่าว
ข้อมูลจาก กลุ่มส่งเสริมการผลิตและการจัดการผลผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัด
นนทบุรี บอกไว้ว่า ประสิทธิภาพของสารสะเดาต่อแมลงศัตรูพืช แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1. ใช้สารสกัดสะเดาได้ผลดี เช่น หนอน กระทู้ผัก หนอนหลอดหอม หนอนใยผัก
หนอนม้วนใบ หนอนชอนใบ เพลี้ยจักจั่นฝ้าย หนอน กระทู้หอม เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่
แจ้ หนอนแก้วส้ม หนอนผีเสื้อหัวกะโหลก
2. ใช้สารสะเดาได้ผลปานกลาง เช่น หนอนเจาะฝักถั่ว หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอน
เจาะดอกมะลิ หนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว หนอนเจาะยอดและผลมะเขือเทศ หนอน
เจาะยอดคะน้า และแมลงหวี่ขาวยาสูบ
3. ใช้สารสะเดาไม่ได้ผล เช่น เพลี้ยไฟ มวนแดง มวนเขียว หมัดกระโดด เต่าแตง
แดง เต่าแตงดำ ด้วงกุหลาบ และแมลงปีกแข็งอีกหลายชนิด
สำหรับการใช้สารสะเดาเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืชนั้น สามารถใช้ได้หลายทาง คือ
การใช้ทางดิน ตัวอย่าง เช่น
1. ควบคุมตัวอ่อนด้วงหมัดผักในพืชตระกูลกะหล่ำ เช่น ผักกาดหัว คะน้า กะหล่ำ
ดอก กวางตุ้ง เป็นต้น ให้หว่านเมล็ดสะเดาบดแห้ง หลัง ย้ายกล้าหรือหลังงอก 7-
10 วัน อัตรา 20-25 กก. ต่อไร่ หรือโรยรอบโคนต้น อัตรา 2.5-3 กรัมต่อหลุม
2. ควบคุมหนอนแมลงวันเจาะโคนต้นถั่ว ในถั่วฝักยาว ถั่วเหลือง ถั่วแระญี่ปุ่น ถั่ว
แขก ถั่วพู เป็นต้น ให้หว่านเมล็ดสะเดาบดแห้ง หลังจากถั่วงอกพ้นดิน 7-10 วัน
อัตรา 10 หรือ 15 กก. ต่อไร่ หรือ 5 กรัมต่อหลุม
3. ควบคุมหนอนกระทู้ผักในแปลงหน่อไม้ฝรั่ง ให้โรยเมล็ดสะเดาบดรอบกอ อัตรา
5 กรัมต่อกอ ทุก 45-60 วัน
การหยอดยอด
ใช้เมล็ดสะเดาบดแห้ง ผสมทรายหรือดินหรือขี้เลื่อยอัตราส่วน 1 : 1 โดยปริมาณ
เพื่อควบคุมหนอนเจาะลำต้นข้าวโพดที่อาศัยหลบซ่อนบริเวณส่วนยอดในใบ
รูปกรวย แบ่งการหยอดเป็น 2 ครั้ง คือ ครั้งแรก เมื่อข้าวโพดอายุ 3-4 สัปดาห์
อัตรา 1 กรัมต่อยอด หรือ 8 กิโลกรัมต่อไร่ และหยอดอีกครั้งก่อนข้าวโพดออก
ดอกตัวผู้ในอัตราเดียวกัน
การพ่น
นำเมล็ดสะเดาบด จำนวน 1 กิโลกรัม ห่อด้วยถุงผ้าแช่ในน้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้
ประมาณ 12 ชั่วโมง กวนเป็นครั้งคราว นำน้ำที่ผ่านการกรองแล้วไปผสมสารจับใบ
พ่นที่ต้นพืชได้ทันที ทุก 5-7 วัน จนถึงใกล้เก็บเกี่ยว สามารถ ป้องกันกำจัดเพลี้ย
อ่อน เพลี้ยจักจั่น เต่าแตงแดง และดำ หนอนใยผัก หนอนหลอดหอม หนอนกระทู้
ผัก หนอนคืบ หนอนแก้วส้ม หนอนเจาะฝักและผลได้
ข้อจำกัดของการใช้สารสกัดจากสะเดา
1. สารสกัดจากสะเดาไม่สามารถฆ่าแมลงได้ทุกชนิด โดยเฉพาะที่อยู่ในระยะตัว
เต็มวัย
2. ในช่วงที่เกิดการระบาดรุนแรง การใช้สารสกัดสะเดาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถ
ลดความเสียหายได้ทันทีเนื่องจาก สะเดาไม่สามารถฆ่าแมลงได้ตายทันทีเหมือน
สารเคมี
3. สารสกัดจากสะเดา สลายตัวอ่อนค่อนข้างไว ดังนั้นช่วงระยะเวลาในการฉีดพ่นจึง
สั้นลงประมาณ 5-7 วันต่อครั้ง แต่ถ้าฉีดพ่นในโรงเก็บ ไม่ถูกแสงแดดสามารถออก
ฤทธิ์ป้องกันกำจัดแมลงได้อย่างน้อย 3 สัปดาห์
หมายเหตุ : ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศ.ดร. ขวัญชัย สมบัติศิริ และสำนักงานเกษตร
จังหวัดนนทบุรี.
http://news.enterfarm.com
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/09/2017 9:07 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11600
|
ตอบ: 29/01/2011 6:57 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
http://www.google.co.th
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 20/09/2017 9:08 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11600
|
ตอบ: 29/01/2011 8:47 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ต่อยอด....
.... นานร่วม 10 ปีมาแล้ว ลุงคิมเคยกุ๊กกิ๊กๆ กับ อ.ขวัญชัย สมบัติศิริ. และ อ.
สำรวล ดอกไม้หอม. ตะลอนๆไปตามสวนต่างๆ เพื่อติดตามผลการใช้ "สารสกัด
สะเดา" ในพืชแต่ละชนิด เช่น...
- สนง.เกษตร จ.สุพรรณบุรี จัดงานสาธิตการทำและใช้สะเดา งานนี้จำได้ ดร.
อนันต์ ดาโรดม ไปเป็นประธาน.....สารสกัดสะเดาที่นำมาโชว์ ลุงคิมเห็นแล้วต้อง
ร้อง อภิโธ่ อภิถัง น้องนางบ้านนา.... นี่มัน "น้ำแช่สะเดา" ธรรมดาๆนี่เอง
อุตส่าห์เรียก "สารสกัด-สารสกัด" ซะโก้หรู แรกๆก็นึกอยู่เหมือนกันว่า แล้วชาว
บ้านจะมี "เครื่องสกัด" รึ ..... ลุงคิมสอดรู้สอดเห็นไปหน่อย ทำตัวเป็นหน่วยกล้า
ตาย เอามือล้วงลงไปในถังน้ำแช่สะเดา แล้วยกใส่ปาก รสชาดเฉยๆ ไม่ขม ไม่ขื่น
ไม่เผ็ด ไม่ร้อน บรรดาคนที่ล้อมถังเห็น มองหน้าลุงคิม บางคนหน้าเบ้ บางคนร้อง
ยี้ แต่ลุงคิมกลับเฉยๆ เอามือล้วงลงไปในถังอีก แล้วใส่ปากอีก ทำอยู่ 2-3 ครั้ง ก็
ไม่เห็นมีอะไรเกิดขึ้น งานนั้นสร้างเครดิตให้เกษตรจังหวัดชนิดเต็มร้อย รับเนื้อๆไป
เลย.....
- กับ อ.ขวัญชัยฯ อ.สำรวลฯ คู่เดิม ไปติดตามผลงานแปลงมะม่วงขนาด 40 ไร่
ที่ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา จำชื่อเจ้าของสวนไม่ได้ หลังบ้านมีกองขวดสาร
เคมีสูงเหมือนปิรามิต ความสูงราว 5 ม. ฐานวงกลมราว 7-8 ม. นั่นคือ อนุสาวรีย์
สารเคมี สารพัดยี่ห้อ ทุกยี่ห้อที่มีขายในเมืองไทย ทั้งขวด กล่อง แกลลอน ครบทุก
แบบ สำหรับสวนมะม่วง 40 ไร่ ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา.....ทำมะม่วงนอก
ฤดูได้เงินทุกปี ส่งลูกเรียนจนจบปริญญาได้ทั้ง 3 คน แล้วยังเหลือเงินเก็บอีกนับ
ล้าน เพียง 3 ปี ก่อนที่พวกเรา 3 คนจะไป เงินล้านที่เคยเก็บได้นั้นหมดเกลี้ยงแล้ว
แถมมีหนี้สินขึ้นมาแทน เมื่อผู้เป็นเมียป่วยเป็นโรคหาสาเหตุไม่ได้ ต้องเข้า รพ.
อาทิตย์ละครั้ง จ่ายครั้งไม่น้อยกว่า 10,000 เป็นอย่างนี้อยู่ร่วมปี โรคไม่รู้สาเหตุก็
ไม่หาย หนักๆเข้า เงินเดือนของลูกทั้ง 3 ต้องเอามารักษาชีวิตไม่ คนเป็นพ่อสงสาร
ลูก ต้องไปกู้เงินจากสารพัดแห่งมาใช้ กระทั่งหมอเห็นใจ ช่วยหาทางลดค่าใช้จ่าย
ให้ เหลืออาทิตย์ละ 3 พันกว่าบาท .... คำตอบจากหมอ คือ เป็นโรคร่างกายเสีย
สมดุลย์เนื่องจากสะสมสารเคมีไว้มาก
ลูกทั้ง 3 รักพ่อรักแม่ ขอร้องให้พ่อกับแม่เลิกทำสวน แล้วทั้งสามคนสัญญาว่าจะหา
เลี้ยงพ่อกับแม่เอง แต่พ่อกับแม่ไม่ยอม จะขอยอมตายกับสวนนี่แหละ
ลุงคิมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า เจ้าลูกคนเล็กรู้แล้วติดต่อกับ อ.ขวัญชัยฯ ครั้งแรกได้
อย่างไร งานทดสอบสารสกัดสะเดาจึงมาลงที่สวนแห่งนี้
พวกเราไปที่สวนนั้นเดือนละครั้ง รวม 3 เดือน ภาพปรากฏเปลี่ยนไปราวหน้ามือหลัง
มือ บรรดาแมลงศัตรูพืช หนอน-แมลง บรรดาโรค รา/แบคทีเรีย ไม่มีให้เห็นเลย
แม้แต่อาการยางไหล โรคประจำเขียวเสวย ที่เกิดจากไวรัสเพราะขาดธาตุรอง/ธาตุ
เสริมอย่างรุนแรง ไม่ปรากฏให้เห็นเลยแม้แต่ต้นเดียว
มะม่วงส่วนใหญ่แตกยอดใหม่ โดยเฉพาะน้ำดอกไม้สีทองซึ่งเป็นมะม่วงเบาออก
ดอกติดผลง่ายโดยธรรมชาติสายพันธุ์อยู่แล้ว จึงพากันแทงยอดแล้วออกดอกมา
เต็มทั้งสวน
ผลการวิเคราะห์ของ อ.ขวัญชัยฯ บอกว่า สารอะเซดิแร็คติน.ในสะเดา ช่วยกำจัด
โรคและแมลงศัตรูพืชให้ ในผลสะเดาแก่สุกมีน้ำตาล อ.สำรวลฯ ได้ให้ข้อมูลว่า เจ้า
น้ำตาลตัวนี้นี่แหละที่ทำให้ด้นได้สะสม "แป้งและน้ำตาล" แล้วทำให้ออกดอกได้
จาก 3 เดือน เป็น 6 เดือน กระทั่งครบปี สวนนี้เลิกใช้สารเคมีทุกชนิดอย่างเด็ด
ขาด ศัตรูพืชทั้งโรคและแมลงมีพอให้เห็นเท่านั้น เพียงไม่กี่ต้น แต่ละต้นเพียงไม่กี่
ยอด แต่ละยอดเพียงไม่กี่ใบ ไม่สร้างความสูญเสียระดับเศรษฐกิจ รายจ่ายค่าสาร
เคมีลดลงจนเป็นศูนย์ ปุ๋ยเคมีใช้น้อยเพราะต้นมีความสมบูรณ์ในตัวเองเป็นพื้นฐาน
รองรับ เมื่อรายจ่ายลด รายรับเพิ่ม ทุกคนในบ้านสุขภาพจิตดีขึ้น อาการป่วยของผู้
เป็นแม่เริ่มทุเลา กระทั่งหมอยังสงสัย เพียง 1 ปี กับการใช้สารสะเอา แม่หายสนิท
อ้วนท้วน สมบูรณ์ แข็งแรง คนที่ดีใจที่สุดคือลูกทั้งสาม ที่รู้ว่าไม่ต้องเสียแม่นั่นเอง
- อ.ขวัญชัยฯ ทำงานวิจัยเรื่องสะเดาร่วมกับเยอรมัน ไม่รู้เหมือนกันว่า ได้งบช่วย
เหลือจากเยอรมันหรือไม่ เท่าที่รู้ภายหลัง คือ เมื่อเยอรมันกลับไปแล้ว สั่งนำเข้า
สะเดาช้างจากอินเดีย ปีละ 5,000 ตัน, สั่งนำเข้าหางไหลขาว จากอินโดเนเซีย ปี
ละ 3,000 ตัน, สั่งนำเข้าหนอนตายหยาก จากไทยปีละ 100 ตัน
เยอรมันเอาไปทำสารสกัดสมุนไพรสูตรเข้มข้นแล้วใช้ในประเทศเขายังไงล่ะ
เยอรมันชื่อ "สตอล แกสบี้" เขียนหนังสือเรื่องสารสกัดสมุนไพรเพื่อการเกษตร
แล้วแปลเป็นภาษาต่างๆทั่วโลก 14 ภาษา ยกเว้นภาษาไทย ให้เหตุผลว่า ประเทศ
ไทยมีนักวิจัยเรื่องนี้มากอยู่แล้ว
- คุณชาตรี จำปาเงิน. ได้รับอณุญาตหรือลิขสิทธิ์ (ไม่แน่ใจ) ให้ผลิตสารสกัด
สะเดาเพื่อจำหน่ายเป็นการค้าได้ ภายใต้แบลนด์ "สะเดาไทย 111" คุณชาตรีฯ
บอกว่า ตลาดเมืองไทยขายไม่ออก นอกจากขาดการส่งเสริมอย่างจริงจังจากทาง
ราชการหรือรัฐบาลแล้ว เกษตรกรยังไม่ยอมรับอีกด้วย วันนี้ซึ่งนานนับ 10 ปี
แล้ว "สะเดาไทย 111" ส่งออกต่างประเทศทั้งหมด ที่เห็นในตลาดในประเทศน่ะ
น้อยมากๆ
- ในสะเดามีสารอะเซดิแร็คติน.ที่เป็นพิษต่อหนอนแท้ๆ แต่สะเดาก็ถูกหนอนทำลาย
ได้ นั่นคือ เหนือฟ้ายังมีฟ้า เมื่อสะเดาถูกหนอนเข้าทำลายให้กำจัดหนอนทำลาย
สะเดาด้วยสมุนไพรตัวอื่น เช่น หางไหล. หนอนตายหยาก. ฟ้าทะลายโจน.
เมล็ดมันแกว. เมล็ดน้อยหน่า. เปลือกต้นซาก เป็นต้น
สะเดา 1 ไร่ล้าน...
- ญี่ปุ่น (ก็น่าจะรวมถึงชาติอื่นด้วย) ชอบลายและสีตามธรรมชาติของเนื้อไม้สะเดา
มาก ถึงขนาดตั้งฉายาว่า "สักเดา" นิยมเอาไปทำเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งภายใน ดัง
นั้นหากจะปลูกสะเดาเป็นไม้ใช้สอย ให้เป็นเงินเป็นทอง "ไร่ละล้าน" จึงเป็นไปได้
โดยทำยังงี้...
..... ปลูกสะเดาเพาะเมล็ด ระยะชิดพิเศษ 1 x 1 = 400 ต้น/ไร่ (เหตุผล : ต้นที่
เกิดจากเพาะเมล็ด เมื่อโตขึ้นจะได้ลำเปล้าสูงตรง ไม่แตกกิ่งข้าง และยิ่งสูงต้นก็จะ
สลัดกิ่งข้างทิ้งเองเหลือแต่ลำเปล้า ประกอบกับระยะห่างระหว่างต้นเพียง 1 ม. ยิ่ง
ทำให้ต้นต้องเร่งความสูงแข่งกันเพื่อรับแสงแดด ก็จะยิ่งได้ลำเปล้าสูงขึ้นอีก....ลำ
เปล้า หมายถึง ลำต้นที่ล้มลงมาแล้ว คือ ต้นซุง และต้นซุงเมื่อเลื่อยแล้วก็คือ ไม้
กระดานนั่นเอง)
..... บำรุงต้นระยะต้นเล็กอย่างประณีต มีการให้น้ำและสารอาหารสม่ำเสมอ เมื่อ
ต้นสูง 1-2-3 ม. อาการต้นเบียดกันมากขึ้นให้ตัดออก "ต้นเว้นต้น" ก็จะได้ระยะ
ห่างใหม่ จาก 1 x 1 ม. เป็น 2 x 2 ม. ต้นเล็กที่ตัดออกนำไปใช้ประโยชน์ได้
ส่วนต้นที่เหลือกก็ให้บำรุงต่อตามปกติ
..... สะเดาเป็นไม้ป่าโตเร็วตามธรรมชาติเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อมาได้รับน้ำและ
สารอาหารสม่ำเสมอในฐานะไม้เลี้ยง อัตราการเจริญเติบโตก็จะเร็วยิ่งขึ้น....ต้น
อายุ 10 ปี อยู่ใกล้น้ำ ได้น้ำและสารอาหารร่วมกับไม้อื่นๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำ
ต้นได้กว่า 10 นิ้ว
..... เมื่อต้นสูง 9-10 ม. ให้ตัดส่วนยอด เหลือความสูงลำเปล้าจากพื้นดินที่ 8 ม.
แล้วบำรุงเลี้ยงต่อไปตามปกติ (เหตุผล : ลำต้นที่ถูกตัดยอดแล้วจะไม่เจริญเติบโต
ทางสูงต่ออีก อย่างดีก็แค่แตกยอดใหม่เป็นพุ่มที่ยอดปลายรอยตัดเท่านั้น จากนั้น
ต้นจะเจริญเติบโตทางข้าง ซึ่งจะทำให้ได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นใหญ่ขึ้น แล้วก็
ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆตามอายุ.... เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นยิ่งใหญ่มากเท่าไหร่ เมื่อเลื่อย
เป็นไม้กระดานก็จะยิ่งได้ไม้กระดานขนาดหน้ากว้างขึ้น และไม้กระดานที่กว้างขึ้น
หมายถึงมูลค่าที่มากขึ้นนั่นเอง)
..... อายุต้นเริ่มมากขึ้น (5-6 ปีขึ้นไป) เนื้อไม้เริ่มเกิดลาย เร่งการเกิดลายโดย
ปล่อยให้กระทบแล้งอย่างหนักช่วงหน้าแล้ง อาจเสริมความแล้งโดยเผาหญ้าโคนต้น
ทั่วแปลง จนกระทั่งใบสลด ทิ้งไว้ 1-2 เดือนแล้วระดมให้น้ำเพื่อฟื้นต้นใหม่ จาก
นั้นบำรุงต่อตามปกติ (เหตุผล : ลายไม้ คือ "วงปี" ในรอบปีมักมีหน้าแล้ง 1 ครั้ง
ช่วงกระทบแล้งนี้ ไม้ใหญ่จะหยุดการเจริญเติบโตภายนอก แต่จะเจริญเติบโตภายใน
ลำต้น นั่นคือ เนื้อไม้แน่นขึ้น ....ตัวอย่าง - ไม้สักมีสายพันธุ์เดียว คือ สักทอง การ
ที่เนื้อไม้สักมีคุณภาพเป็นสักทองได้เนื่องจากความแล้งหรือขาดน้ำ โดยเฉพาะไม้สัก
ที่ปลูกในพื้นที่ตั้งแต่เหนือ จ.กำแพงเพชรขึ้นไป ส่วนต้นสักที่ปลูกในพื้นที่ๆต่ำกว่า จ.
กำแพงเพชรลงมา พื้นที่นี้มีน้ำทั้งบนดินและใต้ดินมาก ต้นสักจึงเจริญเติบโตได้
ตลอดปี เป็นเหตุให้เนื้อไม้ไม่แน่นแล้วเรียกว่า "สักหยวก - สักขี้ควาย" นอกจากนี้
พื้นที่ปลูกที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง (เส้นรุ้ง/โซนภูมิศาสตร์โลก) ยังมีผลต่อ
การเจริญเติบโตและคุณภาพเนื้อไม้ด้วย....สนสามใบ ปลูกได้ตั้งแต่พื้นที่เหนือ
อุทยานน้ำหนาว จ.เพรบูรณ์ขึ้นไป พื้นที่ต่ำกว่านี้ลงมาปลูกได้แต่ไม่โต....)
..... ล้มไม้เป็นไม้ซุง ตัดลำต้น ณ ความสูงเหนือพื้นดิน 1 ม. เท่ากับได้ไม้ซุงยาว
7 ม. เมื่อส่งเข้าโรงเลื่อยจะตัดปลายหัวท้ายออกปลายละ 50 ซม. นั่นคือ ได้ไม้
ซุงพร้อมแปรรูปเป็นไม้กระดาน ความยาว 6 ม. ตามมาตรฐานไม้กระดานเกรดสูง
..... สร้างมูลค่าเพิ่ม .... 1) ตอหรือคอดินที่พื้นความยาว (สูง) ตัดขวางเป็นไม้
หน้าเขียงจนชิดพื้น จะได้ไม้หน้าเขียงประมาณ 10 แผ่น ..... 2) ปีกไม้จากไม้ซุง
ซอยย่อยเป็นไม้ระแนง หรือปาเก้ ..... 3) ขุดรากในดินขึ้นมาแล้วแปรรูปเป็นปา
เก้ หรือเฟอร์นิเจอร์ไม้ชิ้นเล็กๆ .... กิ่งก้านเล็กๆน้อยๆ และใบ บดย่อยทำปุ๋ย
อินทรีย์ ....
หมายเหตุ :
- ระหว่างที่ยังไม่ตัดต้นเป็นไม้ซุง หรือต้นอยู่ระหว่างการเจริญเติบโตนั้น สามารถ
เก็บดอกหรือผลจำหน่ายได้ หรือเลี้ยงมดแดง เก็บไข่มดแดงขายได้อีกด้วย.....
- อนาคตอีก 10 ปีข้าง ทั่วโลกไม้ใช้สอยทำเฟอร์นิเจอร์จะขาดแคลนหรือหา
ยากอย่างหนัก ฉนี้แล้ว ด้วยระยะเวลาปลูกเลี้ยงเพียง 10 ปี เป็นไปได้หรือไม่ที่
สะเดา 1 ไร่ล้าน ได้
- ปลูกสะเดา 100 ไร่ (100 ไร่ x 200 ต้น = 20,000 ต้น) ระยะเวลา 10 ปี ลง
ทุนเท่าไหร่ ? แปรรูปจำหน่ายได้เท่าไหร ? เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ผลหรือพืชอื่น
ที่ต้องลงทุนตลอดปี
ลุงคิมครับผม
ปล.
หลักการและเหตุผลเดียวกันนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับไม้โตเร็วชนิดอื่นๆได้ทุก
ชนิด เช่น ยูคาลิปตัส. สนประดิพัทธ์. ฯลฯ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/01/2011 10:31 am, แก้ไขทั้งหมด 8 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11600
|
ตอบ: 30/01/2011 7:46 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เจ้าชายกับต้นสะเดา
นิทานธรรม ฉบับพิเศษ
จัดพิมพ์โดย ธรรมสภา
พระเจ้าพรหมทัตแห่งเมืองพาราณสี แคว้นกาสี ทรงมีพระโอรสพระองค์หนึ่งเป็นคน
เกเรดุร้ายหยาบคาย ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าของเราเกิดเป็นฤาษี ได้รับมอบหมายให้
อบรมพระโอรส พระอานนท์เกิดเป็นพระเจ้าพรหมทัต
ฤาษีออกบวชจากตระกูลพราหมณ์ผู้มั่งคั่ง หลังจากบิดามารดาถึงแก่กรรม ครั้งเป็น
ฆราวาสได้เดินทางไปศึกษาไตรเพทและศิลปวิทยาที่เมืองตักสิลา เมื่อจบการศึกษา
แล้วจึงได้สละทรัพย์สมบัติออกบวชเป็นฤาษี อยู่ในป่าหิมพานต์ บำเพ็ญฌานสมาบัติ
จนได้บรรลุคุณวิเศษต่างๆ คือ ตาทิพย์ หูทิพย์ เหาะเหินเดินอากาศได้
ต่อมา ฤาษีประสงค์จะเดินทางมาเยี่ยมบ้านเกิด จึงเหาะจากป่าหิมพานต์มาลงที่เขต
เมืองพาราณสีแล้วเดินทางเข้าไปอาศัยอยู่ในพระอุทยานของพระเจ้าพรหมทัต เช้า
วันรุ่งขึ้นท่านภิกขาจารอย่างสำรวมเรื่อยไปจนกระทั่งถึงลานหน้าพระราชวัง
ขณะนั้น พระเจ้าพรหมทัตประทับนั่งอยู่ในพระตำหนักทอดพระเนตรลงมาทางช่อง
พระแกล (หน้าต่าง) เห็นฤาษีเดินภิกขาจารอย่างสำรวมแล้วเกิดเลื่อมใส ตรัสกับตัว
เองว่า
ขอถวายพระพร เจ้าชายยังอบรมได้อยู่ แต่ว่าต้องใช้กุศโลบาย ฤาษีกราบทูล
วันนั้นก่อนเสด็จกลับ ทรงมอบเจ้าชายให้อยู่กับฤาษีในพระอุทยาน
ลูกพ่อ พ่ออยากให้ลูกอยู่กับพระคุณท่านสักวันหนึ่งก่อนนะ ตกเย็นพ่อจะให้คนมา
รับ พระเจ้าพรหมทัตตรัสบอกเจ้าชาย
ครั้นพระเจ้าพรหมทัตเสด็จกลับไปแล้ว ฤาษีก็ได้ชวนเจ้าชายสนทนาด้วยเรื่องต่างๆ
องค์ชายมีพี่น้องกี่คน ฤาษีเริ่มสนทนา
องค์เดียว เจ้าชายตรัสเสียงห้วน
นับว่าองค์ชายโชคดี
โชคดียังไง
โชคดีที่ไม่ต้องมีใครแย่งความรักจากพระบิดาพระมารดา
เจ้าชายทรงพอพระทัยมากกับคำพูดของฤาษี เมื่อคุ้นเคยกับเจ้าชายแล้ว ฤาษีก็พา
เจ้าชายไปเดินเที่ยวเล่นในพระอุทยาน องค์ชายเสด็จมาเที่ยวบ่อยไหม ฤาษีชวน
สนทนาต่อ
นานๆ ที เจ้าชายตรัสตอบและยิ้มให้
องค์ชายรู้จักต้นไม้นั่นไหม ฤาษีตรัสถามพลางชี้ไปที่ต้นสะเดาอ่อนต้นหนึ่งซึ่งสูง
ได้ ๔ นิ้ว และมีใบ ๒ ใบ
ไม่รู้จัก เจ้าชายสั่นพระเศียร
ลองไปเด็ดมาเคี้ยวดูซี่
เจ้าชายทรงทำตามที่ฤาษีทูลแนะนำ ไปเด็ดใบสะเดาใบหนึ่งมาเคี้ยว แต่ยังมิทันไรก็
ทรงบ้วนทิ้งและตะโกนเสียงดังลั่น ใบอะไร ขมจังเลย
เป็นอะไรไปหรือเจ้าชาย ฤาษีแกล้งทูลถาม
ก็ใบไม้นี้นะซี เจ้าชายชี้ไปที่ต้นสะเดาด้วยท่าทางโกรธ
มันใบต้นอะไร ขมจังเลย ต้นแค่นี้มันยังมีพิษร้ายขนาดนี้ ถ้าโตขึ้นพิษมันจะร้าย
ขนาดไหน ใครเผลอกินเข้าไปไม่ตายกันหมดหรือ ว่าแล้วเจ้าชายก็เสด็จรี่ไปถอน
ต้นสะเดา แล้วขยำจนแหลกละเอียด มิหนำซ้ำยังทรงเหยียบซ้ำ
ฤาษีเห็นเหตุการณ์กำลังดำเนินไปตามแผน เนื่องจากได้สิ่งเปรียบเทียบ แล้วจึงทูล
ต่อไปว่า องค์ชาย พระองค์ทรงถอนต้นสะเดาทิ้งก็เพราะพิโรธว่ามันมีรสขม และ
ทรงรังเกียจว่าหากปล่อยให้มันโตใหญ่ขึ้นไปจะเป็นอันตรายต่อคนได้ องค์ชายก็
เหมือนกัน ขณะนี้ทุกคนทั้งในและนอกพระราชวัง ต่างเห็นองค์ชายเป็นเหมือนต้น
สะเดา และเชื่อได้ว่าต่อไปในภายภาคหน้า พวกเขาจะทำลายองค์ชายเหมือนอย่างที่
องค์ชายทำลายต้นสะเดา
เจ้าชายยืนฟังฤาษีพูดด้วยความตกตะลึง เพราะทรงนึกไม่ถึงว่าจะมีผู้บังอาจ
สอนพระองค์ได้อย่างแหลมคมเช่นนี้ ฤาษีเข้าใจท่าทีของเจ้าชายได้ดี จึงถือโอกาส
นั้นถวายการอบรมว่า องค์ชายจะต้องไม่ทำตัวเหมือนต้นสะเดาอีกต่อไปนับแต่นี้
ขอให้ทรงมีเมตตากรุณาต่อทุกคน และมีความอดทนหนักแน่นให้มาก ไม่ควรพูดให้
ใครเจ็บช้ำน้ำใจ แต่ควรพูดให้เกิดความรักความสามัคคี เพราะคนเหล่านี้ต่อไปก็คือผู้
ค้ำบัลลังก์ขององค์ชาย
ถึงตรงนี้ เจ้าชายมีอาการเศร้าซึมอย่างเห็นได้ชัด พระองค์เริ่มสำนึกผิดน้ำพระเนตร
คลอ พระคุณท่าน นับว่าโชคดีที่เสด็จพ่อได้พาข้าพเจ้ามาพบท่าน มิฉะนั้นแล้ว
ข้าพเจ้าคงหลงตัวทะนงตนไปอีกนาน ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณท่านมาก
ครั้นแล้ว เจ้าชายก็ก้มลงกราบฤาษีและทรงกล่าวปฏิญาณตนเป็นคนดีตลอดไป
นิทานธรรมเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การแก้ไขที่ยากลำบากนั้น คือการแก้ไขนิสัยคน ซึ่ง
บางครั้งต้องใช้เวลาและกลวิธีที่แยบยล เหมือนพระเจ้าพรหมทัตและฤาษีจากป่า
หิมพานต์แก้ไขนิสัยเจ้าชายทุฏฐกุมารได้ ก็เพราะใช้เวลาและกลวิธีที่แยบยลฉะนั้น
........................................ เอวัง .....................................
http://www.dhammakid.com/board/1oo1aaadon1ao/aeoaoanoe1edao-(aaaeao)/
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/01/2011 8:05 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11600
|
ตอบ: 30/01/2011 8:05 am ชื่อกระทู้: |
|
|
สะเดาพาผัวกลับบ้าน....
ทางคติอินเดียถือว่า ผู้ใดนอนใต้ต้นสะเดาแล้วโรคภัยไข้เจ็บจะหายไป เพราะสะเดา
เวลาคายน้ำออกจะมีสารระเหยบางชนิด ที่เข้าใจว่ามีคุณสมบัติทางยาใช้รักษาโรค
ถึงกับมีเรื่องเล่ากันว่า ภรรยาชาวอินเดียที่ไม่ยอมให้สามีออกไปต่างบ้าน พยายาม
สั่งสามีว่า เมื่อจะไปให้ได้ก็ไม่ว่า แต่ในระหว่างเดินทางไปจะพักนอนที่ไหน ขอให้
นอนใต้ต้นมะขาม เมื่อนึกจะกลับบ้านก็ขอให้นอนใต้ต้นสะเดา สามีก็เชื่อฟังภรรยา
เมื่อออกจากบ้านก็นอนใต้ต้นมะขามเรื่อยไป ต้นมะขามกล่าวกันว่า เป็นต้นไม้ที่ทำ
ให้เกิดความเจ็บไข้ เมื่อนอนใต้โคนอยู่เรื่อยๆ ก็เกิดอาการไม่สบาย ไม่สามารถจะ
เดินทางต่อไปได้จึงคิดเดินทางกลับบ้าน
เมื่อนึกถึงคำภรรยาสั่งไว้ว่าขากลับให้นอนใต้ต้นสะเดา จึงนอนใต้ต้นสะเดา
เรื่อยมา ฤทธิ์ทางยาของไม้สะเดาก็รักษาอาการไข้ของชายคนนั้นให้หายไปทีละ
น้อยๆ และหายเด็ดขาดเมื่อกลับมาถึงบ้านพอดีนับว่า หญิงอินเดียมีกุศโลบายดีมาก
การที่พระพุทธเจ้าจำพรรษาใต้ต้นสะเดาจะเกี่ยวข้องกับคติดังกล่าวหรือไม่คงไม่มี
ใครทราบ
แต่คตินี้ก็น่าจะให้ข้อคิดบางอย่าง เพราะแพทย์แผนปัจจุบันพยายามสกัดสาร
พวกอัลคอลอยด์บางอย่างไปใช้ผสมยา เช่น ทำยาธาตุ ยาแก้ท้องเสีย ฯลฯ ฉะนั้น
เวลากลางคืนสะเดาจะคายน้ำรวมทั้งคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ย่อมจะมีสาร
ระเหยพวกนี้ออกมาด้วย เมื่อสูดเข้าไปเรื่อยๆ ก็อาจเป็นการบริโภคได้ทางหนึ่ง
มะขามมักจะอยู่ตามโคกและตามโคกมักจะมีสัตว์พวกงูพิษซุ่มอยู่ คนนอนก็จะ
ต้องคอยระมัดระวัง จะไม่เป็นอันหลับอันนอน ก็ย่อมจะเพลียไม่มีแรงเดินทางต่อ
และพาลจะเจ็บป่วยไปด้วย แต่สะเดาชอบขึ้นตามที่ราบโล่ง บรรดาสัตว์ร้าย เช่น งูไม่
ชอบอาศัย คนนอนก็นอนสบายทำให้มีกำลังแข็งแรง คนเราถ้านอนได้เต็มที่ก็
สามารถสร้างภูมิต่อสู้กับโรคภัยได้เช่นกันก็เป็นได้
http://www.infoforthai.com/forum/index.php?topic=6119.0 |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11600
|
ตอบ: 02/02/2011 12:03 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ต่อยอด......
เกร็ดความรู้เรื่องสารสกัดสมุนไพร :
- พืชสมุนไพรปรเภทกลิ่น สกัดด้วยวิธีกลั่น
- พืชสมุนไพรประเภทรสขม สกัดด้วยวิธีต้ม
- พืชสมุนไพรประเภทรสฝาด สกัดด้วยวิธีหมักหรือแช่
- แหล่งข้อมูลทางวิชาการว่าด้วยสารออกฤทธิ์ในสมุนไพร คือ ข้อมูลขององค์การ
เภสัชกรรม ส่วนแหล่งข้อมูลทางวิชาการว่าด้วยเรื่องศัตรูพืช คือ ข้อมูลจากกรม
วิชาการเกษตร หรือกรมส่งเสริมการเกษตร ดังนั้นการนำใช้ จึงจำเป็นต้องอาศัย
ข้อมูลทางวิชาการจากทั้ง 2 หน่วยงานผสมผสานกันอย่างมีเหตุมีผลจึงจะได้ผลสูงสุด
เทคนิคการทำสารสกัดสะเดาข้มข้น :
- ใช้ผลหรือใบแก่ อย่างใดอย่างหนึ่งเท่าที่หาได้ สดใหม่ ใส่ปี๊บ 20 ล.จนเต็ม เติม
น้ำพอท่วม ตั้งไฟต้มจนกระทั่งน้ำร้อนมีไอกรุ่นๆ ลอยขึ้นมา เอาไฟออก ทิ้งให้เย็น
ได้น้ำต้มสะเดา "น้ำ-1" พร้อมปรุงต่อ
- น้ำต้มสะเดา น้ำ-1 กรองเอากากออกทิ้งไป ใส่ใบหรือผลแก่ชุดใหม่ลงไปเต็ม
ปี๊บเหมือนครั้งแรก เติมน้ำพอท่วม ต้มต่อจนกระทั่งน้ำร้อนมีไอกรุ่นๆลอยขึ้นมา
เอาไฟออก ทิ้งไว้ให้เย็น ได้น้ำต้มสะเดา "น้ำ-2" พร้อมปรุงต่อ
- น้ำต้มสะเดา น้ำ-2 กรองเอากากออกทิ้งไป ใส่ใบหรือผลแก่ชุดใหม่ลงไปเหมือน
ครั้งแรก หรือครั้งที่ 2 ลงไปให้เต็มปี๊บ เติมน้ำพอท่วม ต้มต่อจนกระทั่งน้ำร้อนมีไอ
กรุ่นๆลอยขึ้นมา เอาไฟออก ทิ้งไว้ให้เย็น กรองเอากากออก ได้น้ำต้มสะเดา "น้ำ-
3" พร้อมใช้งาน
- น้ำต้มสะเดา "น้ำ-3" โดยธรรมชาติจะมีสารออกฤทธิ์แรงกว่า "น้ำ-1 และ น้ำ-
2" แต่ไม่ควรเก็บนานเพราะจะเกิดอาการบูดเน่า แต่หากต้องการเก็บนาน
สามารถทำได้โดย เมื่อได้น้ำ-3 มาแล้ว เติมแอลกอฮอร์ลงไป 10% ของน้ำต้ม
กับเติมน้ำส้มสายชู 10% ของแอลกอฮอร์ จะช่วยให้เก็บได้นาน
หมายเหตุ :
- พิจารณาเลือกสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ในการกำจัดหนอนเหมือนสะเดา เช่น
หนอนตายหยาก. หางไหลขาว. ใบ/เมล็ดน้อยหน่า. เปลือกต้นซาก. เมล็ด
มันแกว. ฟ้าทะลายโจน. บอระเพ็ด. ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายๆอย่าง
(มากอย่างดีกว่าน้อยอย่าง) ใส่รวมต้มไปด้วยพร้อมกัน เรียกว่า "สูตรรวมมิตร"
ก็จะได้สารพัดสารออกฤทธิ์สำหรับหนอนสารพัดชนิดในเวลาเดียวกัน
- นอกจากสารสกัดสมุนไพรกำจัดหนอนแล้ว ยังมีสารสกัดสมุนไพรกำจัดโรค (รา-
แบคทีเรีย-ไวรัส) หรือแม้แต่ศัตรูพืชตัวอื่นๆ อีกมาก ซึ่งคงต้องนำมาบอกกล่าวเล่า
สิบกันต่อไป
ลุงคิมครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|