-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 1 ก.ย. . * ถั่วแระญี่ปุ่น ถั่วแระไทย
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 1 ก.ย. . * ถั่วแระญี่ปุ่น ถั่วแระไทย

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11621

ตอบตอบ: 31/08/2022 4:46 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 1 ก.ย. . * ถั่วแระญี่ปุ่น ถั่วแร ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 1 ก.ย.

***********************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน . ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา

** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 3 ก.ย. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี .... งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....


****************************************************************
****************************************************************

จาก :(067) 163-52xx
ข้อความ : ขอข้อมูลถั่วแระญี่ปุ่น ถั่วแระไทย บนความเหมือนมีความต่าง บนความต่างมีความเหมือน แล้วมันเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ :

คนถามใหม่ คำถามเก่า คำตอบเดิม :

จาก :
(089) 831-50xx
ข้อความ : คุณลุงคะ วันก่อนซื้อถั่วแระญี่ปุ่นในห้างมากิน ใส่ถุงแค่กำมือเดียว 50 บาท รู้สึกว่าราคาแพงไปหน่อย นึกอยากปลูกขึ้นมาทันที อยากให้คุณลุงพูดเรื่องถั่วแระญี่ปุ่นให้ฟังบ้างค่ะ....

ตอบ :
** ถั่วแระ คือ ถั่วเหลืองฝักสด .... ถั่วแระญี่ปุ่นนำพันธุ์จากญี่ปุ่นมาปรับปรุงพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศประเทศไทย ซึ่งมีคุณภาพดีกว่าถั่วแระ (ถั่วเหลืองฝักสด) พันธุ์ไทยแท้ๆ .... นอกจากถั่วแระแล้ว ถั่วแขก. ถั่วหวาน. ก็น่าสนใจ แต่กรณีถั่วปากอ้า ราคาดีที่สุด แต่ต้องทำให้เป็น เพราะถ้าทำไม่เป็นกินแล้วเป็นพิษ

ความแตกต่างระหว่างถั่วแระญี่ปุ่น กับถั่วเหลืองไร่ :
- ถั่วแระญี่ปุ่นเป็นถั่วเหลืองที่มีฝักขนาดใหญ่ บริโภคเมล็ดในระยะเมล็ดเต่งเต็มที่แต่ฝักยังมีสีเขียวอยู่ อายุเก็บเกี่ยวฝักสดประมาณ 65 วัน หลังจากหยอดเมล็ด ฝักที่ได้มาตรฐานส่งตลาดญี่ปุ่นต้องมีเมล็ดตั้งแต่ 2 เมล็ดขึ้นไป ความยาวฝักไม่น้อยกว่า 4.5 ซม. ฝัก 1 กก. มีจำนวนฝักไม่เกิน 350 ฝัก ไม่มีรอยตำหนิใด ๆ บนฝัก .... บริโภคฝักสดเป็นอาหารว่าง โดยต้มทั้งฝักในน้ำเดือดนาน 5-6 นาที โรยเกลือเล็กน้อยเพื่อเพิ่มรสชาติ หรือแกะเมล็ดออกจากฝักนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ฝัดกับกุ้ง แกงส้ม ข้าวผัด และใช้แทนถั่วลันเตากระป๋องได้เป็นอย่างดี

พันธุ์ปลูกที่เหมาะสม :
- จากการทดสอบพันธุ์ถั่วแระที่นำมาจากญี่ปุ่นมากกว่า 30 พันธุ์ ณ ศูนย์วิจัยพืชผักเขตร้อน มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กำ แพงแสน พบว่าพันธุ์ที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้ดีที่สุด ให้ผลผลิตเฉลี่ยในฤดูกาลต่างๆ สูงสุด และ ฝักสดมีคุณลักษณะตามความต้องการของตลาดญี่ปุ่น คือ พันธุ์ AGS 292 จึงได้รับการตั้งชื่อใหม่ว่า “กพส. 292” ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักแห่งเอเชีย (AVRDC) ไต้หวัน ทดสอบแล้วได้ผลดีเช่นเดียวกัน

เตรียมดิน เตรียมแปลง .... ใส่ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ คลุกเคล้าเข้ากันดีแล้ว รดด้วยน้ำหมักชีวภาพ ระเบิดเถิดเทิง บ่มดินทิ้งไว้ 20-30 วันจึงลงมือปลูก

เตรียมเมล็ด : แช่เมล็ดพันธุ์ใน “น้ำ 50 องศา ซี. 2 ล. + ไบโออิ (แม็กเนเซียม) + แคลซียม โบรอน (โบรอน) 1 ซีซี. + ยูเรก้า (ไคโตซาน) 1 ซีซี.” นาน 6-8 ชม. น้ำขึ้นห่มชื้น 24-48 ชม. เมล็ดเริ่มมีตุ่มรากให้นำไปหยอดลงหลุม

การบำรุง :
ระยะต้นเล็ก :
ทางใบ :
ให้ “น้ำ 20 ล. + ไบโออิ 20 ซีซี.” 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งไต้ใบบนใบลงถึงพื้น เป็นการให้น้ำไปในตัว

ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1 ล.) 1 รอบ หลังยืนต้นได้....ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้นทุก 3 วัน

ระยะก่อนออกดอก :
ทางใบ :
ให้ฮอร์โมนไข่ไทเป 2 รอบ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
ทางราก : ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น ทุก 3 วัน

ระยะติดฝักแล้ว :
ทางใบ :
ให้ “น้ำ 20 ล. + ไบโออิ 10 ซีซี. + ยูเรก้า 10 ซีซี.+ เหล็กคีเลต 1 ช้อนชา” 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 +เพิ่มเลือด (1 ล.) 1 รอบ .... ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้นทุก 3 วัน

หมายเหตุ :
- ถั่วไร่ (เหลือง แดง ดำ เขียว งา....ถั่วแระ) ได้ธาตุเหล็กจะช่วยให้เมล็ดใหญ่ขึ้น .... ถ้าไม่ได้รับเลย ลูกซ้ำเอาเมล็ดทำพันธุ์ต่อ ต่อเรื่อยๆ เมล็ดจะเล็กลงๆ ๆๆ

- เก็บเกี่ยวแล้วไถกลบเศษซากลงดิน จะได้จุลินทรีย์ คีโตเมียม ไรโซเบียม ไมโคไรซ่า ที่มีอยู่ในรากต้นถั่ว นอกจากช่วยให้ต้นถั่วเจริญเติบโต สมบูรณ์ดี เมื่อเปลี่ยน เป็นปลูกพืชอื่นก็พลอยดีไปด้วย

การเก็บเกี่ยว :
- การเก็บเกี่ยวถั่วแระญี่ปุ่นทำโดยการตัดต้นถั่วในระยะที่ฝักไม่แก่และไม่อ่อนเกินไป ถ้าเก็บเร็วเกินไปเมล็ดในฝักยังไม่เติบโตเต็มที่ เปอร์เซ็นต์ฝักลีบมาก ได้ผลผลิตต่ำ แต่ถ้าเก็บเกี่ยวช้าเกินไปฝักจะออกสีเหลือง เมล็ดในฝักแข็ง รสไม่หวานตลาดไม่ต้องการ .... ปกติจะเริ่มเก็บเกี่ยวเมื่อฝักเต่งประมาณ 80% ซึ่งเป็นระยะเวลาประมาณ 30-35 วัน หลังจากดอกบานสะพรั่ง หรือ 60-65 วันหลังจากหยอดเมล็ด อย่างไรก็ดี ถั่วแระญี่ปุ่นแต่ละพันธุ์มีอายุเก็บเกี่ยวไม่เท่ากัน และอายุ การเก็บเกี่ยวยังแปรปรวนตามสภาพแวดล้อม และการปฏิบัติดูแลรักษาด้วย ถ้าปลูกถั่วแระญี่ปุ่น ในสภาพอากาศค่อนข้างเย็น ช่วงการบานของดอกตั้งแต่ดอกแรกถึงดอกสุดท้ายจะสั้นราวๆ 5-7 วัน แต่ถ้าปลูกในฤดูร้อนดอกจะทยอยบานไปเรื่อยๆ ซึ่งบางครั้งยาว นานกว่า 14 วัน ทำ ให้ฝักแก่ไม่พร้อมกัน จึงเป็นการยากที่จะกำหนดวันเก็บเกี่ยว ในด้านการดูแลรักษา ถ้าต้นถั่วมีอาการแคระแกร็นเนื่อง จากการขาดน้ำ ขาดการบำรุงปุ๋ยในระยะที่เหมาะสมก็จะทำ ให้อายุออกดอกล่าช้าออกไป และคุณภาพฝักลดลงด้วย

- การเก็บเกี่ยวควรเก็บเกี่ยวตอนเช้ามืด ไม่ควรเก็บเกี่ยวตอนกลางวันที่มีแดดจัด หลังจากตัดต้นถั่วแล้วต้องรีบนำเข้าร่มไม่ให้ถูกแดดโดยตรง แสงแดดและความร้อนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเร่งให้คุณภาพฝักทั้งภายนอกและภายในเสื่อมลง เช่น สีฝักเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ปริมาณนํ้าตาลในเมล็ดลดลง เป็นต้น

....................................................................................................


จาก : (089) 831-50xx
ข้อความ : คุณลุงคะ วันก่อนซื้อถั่วแระญี่ปุ่นในห้างมากิน ใส่ถุงแค่กำมือเดียว 50 บาท รู้สึกว่าราคาแพงไปหน่อย นึกอยากปลูกขึ้นมาทันที อยากให้คุณลุงพูดเรื่องถั่วแระญี่ปุ่นให้ฟังบ้างค่ะ....
ตอบ :
** การบำรุง :
* ระยะต้นเล็ก :
- ทางใบ
.... ให้ “น้ำ 20 ล. + ไบโออิ 20 ซีซี.” 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน ฉีดพ่นให้เปียกโชกทั้งไต้ใบบนใบลงถึงพื้น เป็นการให้น้ำไปในตัว

- ทางราก .... ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 30-10-10 (1 ล.) 1 รอบ หลังยืนต้นได้....ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้นทุก 3 วัน

* ระยะก่อนออกดอก :
- ทางใบ :
ให้ฮอร์โมนไข่ไทเป 2 รอบ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ
- ทางราก : ให้น้ำสม่ำเสมอ พอหน้าดินชื้น ทุก 3 วัน

* ระยะติดฝักแล้ว :
- ทางใบ :
ให้ “น้ำ 20 ล. + ไบโออิ 10 ซีซี. + ยูเรก้า 10 ซีซี.+ เหล็กคีเลต 1 ช้อนชา” 2 รอบ สลับด้วย แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

- ทางราก : ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 +เพิ่มเลือด (1 ล.) 1 รอบ .... ให้น้ำสม่ำเสมอพอหน้าดินชื้นทุก 3 วัน

.....................................................................................................


ถั่วแระญี่ปุ่นที่แช่เย็นขายในห้างมีประโยชน์อย่างไร และเป็นพืชนำเข้าใช่ไหม

Toon

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ อธิบายว่า "ถั่วแระญี่ปุ่น หรือถั่วเหลืองฝักสด" เป็นแหล่งโปรตีนราคาถูก เมื่อเทียบกับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง นอกจากนี้ยังมีสารไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก ลดอาการวัยทอง มีใยอาหารสูง มีวิตามิน A. B. และ C. และแร่ธาตุที่ร่างกาย ต้องการ เช่น เหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเบต้าแคโรทีน ทั้งนี้ ถั่วแระญี่ปุ่นเป็นถั่วเหลืองที่มีฝักขนาดใหญ่ บริโภคในระยะที่ฝักเริ่มแก่ เมล็ดโตเต็มที่ นั่นคือเมล็ดมีความเต่งและมองเห็นเมล็ดเต็มฝัก ในขณะที่ฝักยังคงมีสีเขียว รสชาติหวานบริโภคได้ทั้งฝักสดหรือต้มรับประทาน

ถั่วแระญี่ปุ่นปัจจุบันผลิตได้ในประเทศไทยโดยนำพันธุ์เข้ามาปลูกเพื่อผลิตฝักสดแช่แข็งส่งออกไปขายยังต่างประเทศมาเนิ่นนาน พอๆ กับการพัฒนาพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสดในบ้านเราที่เริ่มแรกได้นำพันธุ์จากศูนย์พืชผักโลก (The World Vegetable Center) ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกที่ไม่แสวงหากำไร ให้ความร่วมมือสนับสนุนการพัฒนาการผลิตพืชผัก เพิ่มปริมาณและคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อพัฒนาคุณค่าทางโภชนาการของพืชผัก และลดความยากจนของเกษตรกร กำหนดแผนยุทธศาสตร์ สร้างเครือข่ายพันธมิตรเพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากรจากหน่วยงานทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล ในการแก้ปัญหาการผลิตและการบริโภคพืชผัก

การผลิตถั่วเหลืองฝักสดในประเทศไทยแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การผลิตถั่วเหลืองฝักสดเพื่อการบริโภคภายในประเทศ การปลูกยังไม่มากนักเนื่องจากเมล็ดพันธุ์หายากพันธุ์ที่ใช้ปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์เชียงใหม่ 1 แหล่งเพาะปลูกคือ จ.พิจิตร อุทัยธานี เพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สระแก้ว

2. การผลิตถั่วเหลืองฝักสดเพื่อการส่งออก ปัจจุบันประเทศไทยดำเนินการส่งออกถั่วเหลืองฝักสดแช่แข็งโดยบริษัทเอกชนในรูปแบบครบวงจร ปริมาณการส่งออกปีละประมาณ 10,000 ตัน มูลค่าประมาณ 800 ล้านบาท ประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญคือ ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา พันธุ์ที่ใช้ส่งออก คือ AGS 259 และพันธุ์ NO.75 แหล่งผลิตส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ พิษณุโลก สุโขทัย ลำปาง อุตรดิตถ์ น่าน พะเยา ลำพูน เพชรบูรณ์ อุทัยธานี

ถั่วเหลืองฝักสดเป็นพืชที่บริโภคฝักสด จึงต้องดูแลป้องกันไม่ให้มีโรคแมลงเข้าทำลายฝักและเมล็ด เพื่อให้ผลผลิตฝักถั่วสวยงามน่ากินปัญหาที่สำคัญของถั่วเหลืองฝักสดคือ สารเคมีตกค้างในผลผลิตของถั่วเหลืองฝักสดเกินมาตรฐานที่กำหนด

การปลูกถั่วเหลืองฝักสดไม่แตกต่างจากการปลูกถั่วเหลืองไร่ เพียงแต่เก็บเกี่ยวในช่วงระยะที่มีฝักถั่วเต่งเต็มที่ประมาณร้อยละ 80 ในขณะที่ฝักยังมีสีเขียวสด อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 62-68 วัน โดยช่วงระยะเวลาการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองฝักสดที่เหมาะสม และมีคุณภาพดี จะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพียง 2-3 วัน หลังจากนั้นฝักถั่วจะแก่เกินไป การปลูกถั่วเหลืองฝักสดจึงต้องมีการวางแผนการปลูก การเก็บเกี่ยวและการตลาดที่ดี จึงจะได้ผลผลิตถั่วเหลืองฝักสดที่มีคุณภาพดีตามความต้องการของลูกค้า

สำหรับพันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์ เอจีเอส 292 และ NO.75 ซึ่งปลูกเพื่อการส่งออก ส่วนพันธุ์ที่ปลูกเพื่อบริโภคภายในประเทศได้แก่พันธุ์เชียงใหม่ 1 และนครสวรรค์ 1 ปกติการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองฝักสดควรเก็บเกี่ยวในช่วงเช้า โดยใช้เคียวเกี่ยวต้นถั่วทั้งต้น แล้วนำไปวางในที่ร่มเพื่อเด็ดใบและก้านออก ให้เหลือเฉพาะต้นและฝัก จากนั้นจึงมัดต้นถั่วเป็นมัด มัดละ 5 กิโลกรัม เพื่อรอการส่งตลาด จำหน่ายต่อไป

---------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©