-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * SPRINKLER-VENTURY คิดได้ไง .
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* SPRINKLER-VENTURY คิดได้ไง .

 
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11600

ตอบตอบ: 03/09/2018 2:01 pm    ชื่อกระทู้: * SPRINKLER-VENTURY คิดได้ไง . ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

***************************************


....... S P R I N K L E R - V E N T U R Y ............

...................ไ ร่ ก ล้ อ ม แ ก ล้ ม ..........................

....... A MAN CALLSIGN KIM ZA GASS .............


***************************************
***************************************


........ วิทยุ 594 AM 08.15-09.00 จันทร์-ศุกร์ .........

................. FB พ.ท.วีระ ใจหนักแน่น ...................

................ KASETLOONGKIM.COM ..................

........1188 ฝากข้อความ (081)913-4986 .............


***************************************



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/08/2024 6:59 am, แก้ไขทั้งหมด 41 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11600

ตอบตอบ: 03/09/2018 7:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

หม้อปุ๋ยหน้าโซน :
https://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2687



.........................................................................................................





หม้อปุ๋ยเวนจูรี่ (VENTURI)
หม้อปุ๋ยตัวนี้ สมช.เราทำงานที่แท่นขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทยตั้งชื่อว่า "เวนจูรี่" เพราะเครื่องเวนจูรี่ที่ใช้เจาะน้ำมันไต้พื้นดินทำงานแบบสุญญากาศ .... หม้อปุ๋ยที่นี่ก็อีหร็อบเดียวกัน ถ้าในหม้อปุ๋ยไม่เป็นสุญญากาศ หรือไล่ลมออกไม่หมด น้ำปุ๋ยในหม้อปุ๋ยก็จะไม่ไปเหมือนกัน

ระบบการทำงานระหว่างปล่อย “ปุ๋ย-ยา” แรงดันพ่นน้ำที่หัวสปริงเกอร์ไม่ลด ....
แต่หม้อปุ๋ยประทับตรา MADE IN USA ทำในไทย ระบบการทำงานเวลาปล่อย “ปุ๋ย-ยา” ต้องลดเมนวาวล์เพื่อแบ่งแรงดันน้ำมาดันน้ำที่หม้อปุ๋ย ผลจากการลดเมนวาวล์ทำให้แรงดันพ่นน้ำที่หัวสปริงเกอร์ลดลง

หม้อปุ๋ยRKK ขณะปล่อย“ปุ๋ย/ยา"รัศมีพ่นน้ำที่หัวสปริงเกอร์ 3 ม.(เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 ม.)เท่าเดิม
หม้อปุ๋ยUSA ขณะปล่อย“ปุ๋ย/ยา”รัศมีพ่นน้ำที่หัวสปริงเกอร์ลดลงจากเดิมเหลือแค่ครึ่งเดียว

ตัวนี้ลุงคิมคิดขึ้นมาเอง จดทะเบียนลิขสิทธิ์ได้เลยแต่ไม่จด ขี้เกียจ ใครอยากจดก็ไปจดซี
อเมริกาทำเกษตรใช้วิธี "ให้ปุ๋ยไปกับระบบน้ำ หรือ ให้ปุ๋ยทางท่อ" มานานกว่า 50-70 ปี ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า คนไปเรียนที่อเมริกา เขาไปเรียนอะไรกัน ถึงไม่ได้เรียนเกษตรแต่ก็มีเพื่อนเป็นอเมริกาไม่ใช่เหรอ

เอาเถอะ ถึงไม่ได้ไปเรียนที่อเมริกา แต่อินเตอร์เน็ตอเมริกาในเมืองไทยก็รับได้ไม่ใช่เหรอ ....

สุดท้าย ก็เห็นนะ เคยเจอสื่อสิ่งพิมพ์ (ราชการ) สาขาเกษตร พูดถึงเรื่องหม้อปุ๋ยหน้าโซน ก็งั้นๆ แหละ COPPY (รูป ภาษา ไม่มีคำอธิบาย) เรื่องของต่างประเทศมาลง ลงแล้วก็จบ ไม่มีการขยายผล เรื่องของเรื่องก็คือ ชี้ชัดว่า ปฏิเสธ/ไม่สนับสุน เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงตัวนี้อย่างหัวเด็ดตีนขาด

ก็เคยเจอนะ รู้จักด้วย เรียนจบ ป.เอก สาขาเกษตร พ่อแม่ทำสวนไม้ผล ติดสปริงเกอร์แค่โคนต้น ส่วนทางใบใช้วิธีลากสายยางฉีดเอา


ออกแบบเอง สร้างเอง จดทะเบียนลิขสิทธิ์ได้
- หม้อปุ๋ยเวนจูรี่ RKK ขณะทำงานไม่ต้องลดแรงดันที่เมนวาวล์ ส่งผลให้รัศมีหรือระยะพ่นน้ำของหัวสปริงเกอร์แรงปกติทุกประการ

- ถ้าต้องการให้เนื้อปุ๋ยในหม้อปุ๋ยไปเร็วๆ ทำได้โดยลดแรงดันที่เมนวาวล์ (ลดเล็กน้อย) แรงดันที่เมนวาวล์เมื่อถูกลดจะเปลี่ยนมาดันออกที่หม้อปุ๋ยแทน ... เนื้อปุ๋ยในหม้อปุ๋ยไปช้าๆ สม่ำเสมอๆ เนื้อปุ๋ยจะกระจายทั่วทุกต้น ทั่วทั้งโซนดี แต่ถ้าเนื้อปุ๋ยในหม้อปุ๋ยไปเร็ว เร็วมากๆ ต้นไม้ในโซนต้นแรกๆ จะได้รับเนื้อปุ๋ยมากกว่าต้นท้ายโซน


กับดักแมลง :
* แผ่นกับดักสีเหลือง ทาทับด้วยกาวเหนียว ล่อแมลงกลางวัน
* แผ่นกับดักสีเหลือง (ไม่สีก็ได้) ทาทับด้วยกาวเหนียว ติดหลอดไฟ ล่อแมลงกลางคืน
* หลอดไฟเหนือน้ำ (สระ กะละมัง) ล่อแมลงกลางคืนมาเล่นแสงไฟแล้วตกลงน้ำ
* ขวดน้ำเปล่า ใส่ด้วยก้านสำลีชุบกลิ่นล่อแมลงวันทอง ดักจับแมลงวันทอง
* กาวเหนียว ทาโคนต้น ป้องกันมดแดงขึ้นต้นไม้ แล้วย้ายไปอยู่ที่อื่น
* ปล่อยนกแสก ให้อยู่ในแปลง ช่วยจับหนู

สปริงเกอร์ สั่งได้ :
ตี.5 : ............. ล้างน้ำค้าง ป้องกัน/กำจัด ราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม
สาย : .............. ให้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน
เที่ยง : ............. ป้องกัน/กำจัด เพลี้ยไฟ ไรแดง
ค่ำ : ............... ป้องกันแม่ผีเสื้อเข้าวางไข่ ไข่แมลงฝ่อ ฆ่าหนอนที่ออกหากินลางคืน

กลางวันฝนตก : ... ฝนหยุดแดดออก (ฝนต่อแดด) ล้างน้ำฝน ป้องกัน/กำจัด แอ็นแทร็คโนส
กลางวันฝนตก : ... ไม้ผลระยะสะสมตาดอก หรือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช ก่อนฝนตกหรือหลังฝนหยุด ให้ปุ๋ยทางใบป้องกันการแตกใบอ่อน

ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ ทุกวัน วันต่อวัน วันเว้นวัน ทำได้ตามต้องการ

- ไร่มันสำปะหลัง ติดสปริงเกอร์ โอเวอร์เฮด/หม้อปุ๋ย ให้ "น้ำ+ปุ๋ย" 2 ครั้ง/เดือน ป้องกันศัตรูพืชสำปะหลังชะงัดนัก เผลอๆได้ 60 ตัน/ไร่ อีกด้วย

- สวนยกร่องน้ำหล่อ รดน้ำด้วยเรือปากเป็ด ใช้เวลาเช้ายันเที่ยงบ่าย ให้น้ำได้อย่างเดียว ให้ ปุ๋ย/ยา ต้องสะพายเป้ลากสายยางต่างหาก งานนี้ ค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/คาเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมย์ เทาไหร่ ?....

คิดใหม่-ทำใหม่ ปรับร่องเป็นน้ำเลี้ยงปลา ปลาละร่องๆ เลี้ยงผักบุ้งทอดยอดเย็นตาโฟ เลี้ยงผักกะเฉด ทำค้างคร่อมร่องปลูกมะระฟักเขียวบวบ ได้พื้นที่ คืน/เพิ่ม อีกไม่น้อย....

บนสันแปลงติด สปริงกอร์-หม้อปุ๋ย ช่วยประหยัด ค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/ค่าเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์ เท่าไหร่ ?

- ผักสวนครัวติด สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย ใช้ ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา ทำเอง ให้น้อยแต่บ่อยครั้ง นอกจากช่วยประหยัดต้นทุนค่า ปุ๋ย/ฮอร์โมน/ยา แล้วยังทำให้คุณภาพของผลผลิตดี สร้างเครดิตความน่าเชื่อถือแก่ลูกค้าคนกินอีกด้วย

- ลูกจบปริญญา มีสวนไม้ผลขนาดใหญ่ ปล่อยพ่อแม่ทำ ติดสปริงเกอร์โคนต้นให้น้ำ แต่ลากสายยางฉีดพ่นทางใบต่างหาก ต้นทุน ค่ากตัญญู/ค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/ค่าเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์ เท่าไหร่ ?

- แอร์บลาสส์ คันละล้าน (ตัวแอร์บลาสส์ 5 แสน ตัวแทร็คเตอร์ลาก 6 แสน) ต้องเว้นพื้นสวนให้เป็นถนน (เสียพื้นที่) ทำงานได้เฉพาะเวลาเท่านั้น ค่าน้ำมัน/ค่าแรง/ค่าเวลา/ค่าเนื้องาน/ค่าเครดิต/ค่าโอกาส/ค่าอารมณ์ เท่าไหร่ ?

- ไม่คิด ไม่ยอมรับ ทั้งๆที่รู้ ใช้หม้อปุ๋ยฉีดพ่นสารสมุนไพรอย่างเดียว รุ่นเดียว ก็คุ้มต้นทุน


ใครก็ทำได้ ยกเว้น ..... “?” .......
- แปลงผักสวนครัว ผักทุกประเภท ลุงทุนครั้งเดียวก็คุ้ม ออกแบบดีๆ ติดตั้งครั้งเดียวใช้ได้ตลอดไป... คิดดู
*** ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆ วันต่อวัน วันเว้นวัน ลดสารเคมีได้รุ่นเดียวก็เหลือกำไร
*** ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ทำเอง/ซื้อ รุ่นเดียวก็เหลือกำไร
*** ลดค่าแรง ลากสายยาง-สะพายเป้-แล่นเรือปากเป็ด วันละเท่าไหร่ รุ่นเดียวก็เหลือกำไร


พร้อมทำเอง สอนวิธีทำ ! .... พร้อมซื้อ ขาย ! ......
- สวนยกร่องน้ำหล่อ ลุงทุนครั้งเดียวก็คุ้ม ออกแบบดีๆ ติดตั้งครั้งเดียวใช้ได้ตลอดไป... คิดดู
*** ปิดหัวท้ายร่อง ร่องแรกเลี้ยงปลานิล ร่องที่สองเลี้ยงปลาสลิด ร่องที่สามเลี้ยงกบกระชัง
*** ร่องที่สี่ เลี้ยงผักบุ้งทอดยอดเย็นตาโฟ
*** ร่องที่ห้า เลี้ยงกะเฉด
*** ร่องที่หก ทำค้างปลูกบวบ
*** ร่องที่เจ็ด ทำค้างปลูกฟักเขียว
*** ร่องที่แปด ทำค้างปลูกฟักทอง
*** ร่องที่สิบ สิบเอ็ด สิบสอง เอาน้ำออกแล้วปลูกเผือก

- ทั้งหมดใช้สปริงเกอร์หม้อปุ๋ย
- สปริงเกอร์/หม้อปุ๋ย คือ เครื่องมือฉีดพ่นธรรมดา ปรับปรุง/ดัดแปลง ใช้กับแปลงพืชอะไรก็ได้

ข้อดีของการใช้ปุ๋ยทางใบ :
1. ช่วยให้พืชรับเข้าสู่ต้น ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
2. เพื่อชดเชยธาตุอาหารที่ขาด หรือเพิ่มเติมเพื่อเร่งการเจริญเติบโตแก่พืชได้
3. ใช้ผสมร่วมไปกับสารเคมี หรือสารสกัดสมุนไพร อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง ได้ เพื่อประหยัดเวลาและแรงงาน
4. ใช้กับพืชที่มีปัญหาเกี่ยวกับดิน เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินเหนียวจัด หรือดินที่มีปัจจัยแวดล้อมต่อต้านการดูดใช้ธาตุอาหารทางระบบราก

5. พืชสามารถรับธาตุอาหารโดยทางใบได้มากกว่า และเร็วกว่าการดูดทางราก
6. ช่วยให้พืชฟื้นตัวเร็วหลังจากชะงัก เนื่องจากกระทบ แล้ง น้ำท่วม หรือถูกโรคแมลงทำลาย
7. ปุ๋ยชนิดน้ำมีความสม่ำเสมอของเนื้อปุ๋ยแน่นอนกว่าปุ๋ยชนิดแข็งและปุ๋ยชนิดเกล็ด มีปริมาณเนื้อปุ๋ยรวม (N+P2O5+K2O) สูงกว่าปุ๋ยเม็ด ทำให้ได้ประสิทธิภาพเหนือกว่า

8. ปุ๋ยชนิดน้ำผลิตง่าย และเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสูตรได้ง่าย จึงผลิตได้มากสูตรกว่าปุ๋ยชนิดแข็งหรือชนิดเกล็ด

วัตถุประสงค์หลักในการให้ปุ๋ยทางใบ :
1. เพื่อแก้ไขอาการขาดธาตุอาหาร
2. เพิ่มคุณภาพและผลผลิต
3. เพื่อช่วยให้พืชฟื้นตัวจากปัญหาความขาดแคลนในบั้นปลาย


อัตราใช้ปุ๋ยในหม้อปุ๋ยหน้าโซน :
ถาม : หม้อปุ๋ยหน้าโซนใส่ปุ๋ยครั้งละเท่าไร ?
ตอบ :
- เรื่องนี้ไม่มีมาตรฐานแต่มีหลักการ เพราะไม้แต่ละต้นแต่ละชนิดพันธุ์ต่างกัน
- ที่ RKK ไม้ผลยืนต้น 1 โซน 50 ต้น มีหม้อปุ๋ยประจำหน้าโซน 1 อัน
- ทดสอบอัตราการใช้ปุ๋ยสำหรับ 1 โซน โดยผสมปุ๋ยในเป้สะพาย 20 ล.ใส่ปุ๋ย 20 ซีซี. (อัตราใช้ปกติ) ฉีดพ่นเปียกโชก ไต้ใบบนใบ ปกติ ฉีดพ่นได้ 5 ต้น หรือ 1 โซน = 10 เป้ หรือ 1 โซน = 200 ซีซี. นั่นเอง .... ในขณะที่ขวดที่หม้อปุ๋ย 1 ขวดความจุประมาณ 1.5 ล. (1,500 ซีซี.)

- ว่าแล้วก็เติมปุ๋ยลงในหม้อปุ๋ย 200 ซีซี. สำหรับ 1 โซน (50 ต้น)
- กรณีปุ๋ยทางราก คำนวณจากการหว่านด้วยมือ 250 กรัม/ต้น (สมมุติ) เนื้อที่ 1 โซน 50 ต้น (250 กรัม x 50 ต้น) = 12.5 กก. .... ขั้นตอนต่อไปคือ ละลายปุ๋ย 12.5 กก.ในน้ำ ใส่ลงไปในหม้อปุ๋ย แล้วปล่อยไปตามปกติ เนื้อปุ๋ยทั้ง 12.5 กก. จะลงไปหาไม้เสมอเท่ากันทุกต้น

หมายเหตุ :
นี่คือ การใช้ ปุ๋ย/ยา ทางท่อ หรือไปกับระบบน้ำ

วิธีใช้หม้อปุ๋ยหน้าโซน :
ถาม :
หม้อปุ๋ยหน้าโซนที่โชว์ แบบ 2 ขวดร่วมกัน กับแบบ 2 ขวดแยกกัน ใช้งานยังไง ?
ตอบ :
- แบบ 2 ขวด แม้จะทำโดยขวด 2 ใบ แต่ขวดทั้งสองเชื่อมต่อกันจึงเท่ากับ 1 ขวดนั่นเอง เนื้อปุ๋ยในขวดทั้งสองจึงไปมาหากันได้ แบบนี้สำหรับใช้งานใน 1 โซน ที่ใช้ปุ๋ยสูตรเดียวกัน

- แบบ 2 ขวดแยกกัน ระหว่างขวดทั้งสองมีวาวล์แยกของแต่ละขวด แบบนี้เหมาะสำหรับไม้ 2 โซน เมื่อจะให้ปุ๋ยโซนไหนก็เปิดวาวล์ปล่อยจากขวดหนึ่งไปก่อน กับเมื่อจะให้ปุ๋ยกับอีกโซนหนึ่งก็เปิดวาวล์ปล่อยปุ๋ยขวดที่เหลือ

- แบบ 4 ขวดแยกกัน ระหว่างขวดทั้ง 4 มีวาวล์แยกของแต่ละขวด แบบนี้เหมาะสำหรับไม้ 4 โซน เมื่อจะให้ปุ๋ยโซนแรกก็เปิดวาวล์ปล่อยจากขวดแรกไปก่อน กับเมื่อจะให้ปุ๋ยกับอีกโซนที่ 2 ก็เปิดวาวล์ขวดที่ 2 .... หรือจะให้ปุ๋ยกับอีกโซนที่ 3 ก็เปิดวาวล์ขวดที่ 3 .... จะให้ปุ๋ยกับอีกโซนที่ 4 ก็เปิดวาวล์ขวดที่ 4 นั่นเอง

- แบบ 4ขวด 6ขวด 8ขวด 10ขวด แยกกัน ก็ทำได้ด้วยหลักการนี้ จะทำแบบเชื่อมต่อทุกขวดให้ถึงกันแล้วใช้งานเป็นขวดเดียว ด้วยปุ๋ยสูตรเดียวกัน หรือมีวาวล์แยกแต่ละขวดแล้วใช้งานทีละขวดก็ได้ ด้วยปุ๋ยสูตรละขวดๆ






------------------------------------------------------------------------------------




.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/08/2024 8:08 am, แก้ไขทั้งหมด 41 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11600

ตอบตอบ: 04/09/2018 10:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

https://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2687






http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5892&sid=33450de97c9bc3d1b736850ae860c096
หม้อปุ๋ยหน้าโซน.... สมช


http://www.konglakuentin.com/glaroo/180531020803
เครื่องให้ปุ๋ย+ฮอร์โมน+สารไล่แมลงผ่านระบบสปริงเกอร์อัตโนมัติ



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/07/2024 6:56 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11600

ตอบตอบ: 04/09/2018 10:44 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
https://www.youtube.com/watch?v=3KP3wkZVlVE&feature=youtu.be
หม้อปุ๋ยหน้าโซน....

https://www.youtube.com/watch?v=lmovICjXwi0
หม้อปุ๋ยหน้าโซน....

https://www.youtube.com/watch?v=2Cdu-sW6C3U
หม้อปุ๋ยหน้าโซน....

https://www.youtube.com/watch?v=lkfLQv1BaTs
หม้อปุ๋ยหน้าโซน....

https://www.youtube.com/watch?v=3LxYoEdpPY8
หม้อปุ๋ยหน้าโซน....

---------------------------------------------------------------------------------


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/11/2019 5:50 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11600

ตอบตอบ: 09/10/2018 5:40 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.

รอบรู้้เกษตร-ไร่กล้อมแกล้ม 5/12
https://www.youtube.com/watch?v=xVsQ-JkW5Dc


รอบรู้เกษตร ไร่ลุงคิมหมอปุ๋ย3/10
https://www.youtube.com/watch?v=-gPe8rSdDUU


รอบรู้้เกษตร-ไร่กล้อมแกล้ม 3/12
https://www.youtube.com/watch?v=3KP3wkZVlVE


หม้อปุ๋ยหน้าโซน
https://www.youtube.com/watch?v=ypejlLrw-vc



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/12/2023 7:17 am, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11600

ตอบตอบ: 25/10/2018 10:02 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ระบบน้ำ RKK ....

1. สระน้ำ :
..................... น้ำ คือ ชีวิต ....................
............... มีน้ำ ไม่มีไฟฟ้า คนอยู่ได้ .............
.............. ไม่มีน้ำ มีไฟฟ้า คนอยู่ไม่ได้ ...........

พระบรมราโชวาท ใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9


ขนาด : เนื้อที่ 1/2 ไร่, ลึก 2-2.5 ม. (ขนาดไม่สำคัญ ที่สำคัญสุด คือ น้ำเติมสระ)
คุณภาพ : น้ำใสสอาด ดื่มได้ เล่นได้ ตลอดปี พีเอช.8.0
น้ำต้นทุน : จากบาดาลข้างบ่อ +จากลำลางไส้ไก่ชลประทานหน้าสวน
ประโยชน์ : ให้ต้นไม้ สัตว์บก สัตว์น้ำ คน
คุ้มทุน : ลงทุนครั้งเดียวใช้ได้ตอดชีวิต เพิ่มมูลค่าที่ดิน

--------------------------------------------------------------------------------


2. ปี๊ม :
ปั๊มไฟฟ้า 220 โวลท์, 3 แรงม้า, หน้าปั๊มมีเชควาวล์, ท่อน้ำ เข้า-ออก 3 นิ้ว, กะโหลก 3.5 นิ้ว, กะโหลกต่ำกว่าปั๊ม 1/2 ม., ที่กะโหลกมีเชควาวล์,
หมายเหตุ :
- ตำแหน่งติดตั้งปั๊มกับกะโหลกให้ห่างกัน (ทางดิ่ง) น้อยที่สุด เพื่อให้ปั๊มใช้แรงดูดน้ำน้อยที่สุด แล้วใช้กำลังที่เหลือไปส่งน้ำแทน
- ถ้าระดับน้ำต่ำมากๆ (น้ำในสระลึก) แนะนำให้สร้างแพติดตั้งปั๊มที่ผิวน้ำ
- เส้นทางเดินท่อจากปั๊มเฉียงขึ้นพื้นตลิ่งให้ติด “เชควาวล์” ป้องกันน้ำไหลย้อนตอนหยุดปั๊ม
- ขนาดสระ กว้าง/ยาว/ลึก หมายถึงความจุน้ำไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่เรื่องสำคัญคือ “น้ำต้นทุน” ต่างหาก เพราะถึงแม้สระจะใหญ่ขนาดไหน เมื่อไม่มีน้ำเติมสระ สระนั้นก็ไม่มีความหมาย

--------------------------------------------------------------------------------


3. ถัง ปุ๋ย/น้ำ ที่ปั๊ม :
ถังปุ๋ย :

ข้อดี :
- ผสม ปุ๋ย/ยา ได้ครั้งละมากๆ เพียงพอสำหรับการใช้
- ปุ๋ย/ยา ที่ค้างท่อ ใช้งานรอบใหม่ ปุ๋ย/ยา ที่ค้างจะออกไปเอง เท่ากับให้ซ้ำ หรือให้น้อยบ่อยครั้ง
- ปล่อยน้ำกลับไปกะโหลก เมื่อกะโหลกเก็บน้ำไม่อยู่
ข้อเสีย :
- กรณีแบ่งแปลงเป็นโซนๆ ต้องใช้แรงงาน 2 คน คนหนึ่งเปิดวาวล์ที่หน้าโซน อีกคนหนึ่งคุมระดับน้ำในถังปุ๋ยไม่ให้
- กรณีแบ่งแปลงเป็นโซนแต่ละโซนใช้ ปุ๋ย/ยา โซนละสูตร แบบนี้หม้อปุ๋ยที่ปั๊มทำไม่ได้
- น้ำในถังปุ๋ยหมด (หมดเกลี้ยง) ระบบส่งน้ำจากสระจะไม่ทำงาน ทั้งๆที่ปั๊มยังทำงานเพราะมีอากาศเข้าไปในท่อส่ง แก้ไขด้วยการหยุดปั๊มแล้วเติมน้ำลงไปในท่อให้เต็มใหม่
หมายเหตุ :
- ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สมุนไพร จากถังลงมาผสมรวมกับน้ำที่ปั๊มดูดขึ้นมาจากกระโลก ผสมกันแล้วไปตามท่อส่งถึงหัวสปริงเกอร์
- เมื่อน้ำในกะโหลกหมด (เชควาวล์ที่กะโหลกมีปัญหา) ไม่ต้องตักน้ำกรอกเติมกะโหลกแต่ให้ปล่อยน้ำจากถังลงไปในกระโลกได้เลย

----------------------------------------------------------------------------------


4. กรองกะโหลก :
เข่งพลาสติกใหญ่กว่ากะโหลก 4-5 เท่า ตาข่ายไนล่อน 2 ชั้นหุ้มกะโหลก ป้องกันเศษหญ้าเข้ากะโหลก วันดีคืนดีล้างโคลนที่เกาะตาข่ายออกบ้างให้น้ำไหลเข้าคล่องๆ

----------------------------------------------------------------------------------


5. เชควาวล์ :
ติดตั้งหน้าปั๊ม (ปั๊มไปหัวสปริงเกอร์) และหลังปั๊ม (ปี๊มไปกะโหลก) ทั้งสองทางเพื่อป้องกันน้ำไหลกลับ เป็นเหตุให้ปั๊มทำงานใหม่ไม่ได้

------------------------------------------------------------------------------------




6. บาดาล :
ถาม (ตรวจสอบความน่าเชื่อถือ....ไม่เรียงลำดับ) คนรับจ้าง ....
- เคยทำมานานหรือยัง ?
- มีผลงานที่ไหนบ้าง ?
- คาดว่าตรงนี้ลึกเท่าไหร่ ?
- เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบไหน ?
- อุปกรณ์/เครื่องมือ/แรงงาน อย่างไร ?
- ใช้เวลานานเท่าไร ? เหตุผล ?
- ปั๊มน้ำไต้ดิน ยี่ห้อ/ประสิทธิภาพแค่ไหน ?
- ซื้อ ซ่อม อะไหล่ ได้ที่ไหน ?
- การบริการหลังการขายเป็นอย่างไร ?
- น้ำที่ขึ้นมาคุณภาพ ใส/ขุ่น/จืด/เหม็น ?
- ผลงานจากที่นี่ ใกล้สุดอยู่ที่ไหน ?
- วันนี้ยังใช้งานได้อยู่หรือไม่ ?
- ค่าจ้าง แบ่งจ่าย 3 งวด งวดแรกก่อนเริ่มลงมือ งวด 2 งานเสร็จครึ่งหนึ่ง งวด 3 รับมอบงาน
- รับประกัน สูบน้ำตลอด 3 วัน 3 คืน การสูบน้ำไม่สะดุดหรือหยุดชะงัก
- คำแนะนำเฉพาะในการใช้งาน
หมายเหตุ :
- ปั๊มไฟฟ้า 220 โวลท์ ใช้ไฟบ้านได้เลย กำลังสูงสุด 3 แรงม้า
- ปั๊มไฟฟ้า 220 โวลท์ กำลังสูงกว่า 3 แรงม้า ต้องใช้ไฟฟ้า 3 เฟต (ระดับโรงงาน)
- เลือกใช้ปั๊มแบบท่อ น้ำเข้า/น้ำออก 3 นิ้ว คุ้มค่าที่สุด

--------------------------------------------------------------------------------



7. แทงค์น้ำ :
วัตถุประสงค์ คุณสมบัติ :
- ใช้สำหรับคน สัตว์ พืช
- ความจุ
- ชนิด ใต้ดิน/บนดิน
- รูปทรง (กลม/เหลี่ยม/ตั้ง/นอน)
- การนำน้ำไปใช้ (ปั๊ม กาลักน้ำ)
- วัสดุ (เหล็ก/ไฟเบอร์/ซิเมน)
- สูงจากพื้น
- น้ำเติม (บาดาล รถบรรทุกน้ำ)

-----------------------------------------------------------------------------------


8. แบ่งโซน :
แถวปลูก 7 แถว แถวละ 7 ต้น รวม 49 ต้น คิดเป็น 1โซน :
ทั้ง 7 แถววางท่อวิ่งโคนต้น ที่ทุกหัวท่อวิ่งโคนต้นต่อพ่วงกัน เรียกว่า "ขึงหน้า-ขึงท้าย" ใส่ วาวล์ หม้อปุ๋ยที่ขึงหน้า เปิดวาวล์ตัวเดียวปล่อยน้ำ น้ำจะกระจายไปทั่วตลอดทั้งโซน นักไฟฟ้าบอกว่าต่อแบบนี้เหมือน "อนุกรม" ประมาณนั้น

เปิดโซนเดียว : หัวสปริงเกอร์ “บนทรงพุ่ม” รัศมีพ่นน้ำ 4 ม. (ศก. 8 ม.) เท่ากันทั้ง 49 หัว สามารถลดรัศมี 4 ม. ลงมา 3 ม. ลงมา 2 ม. ลงมา 1 ม.ได้ เท่ากันทุกหัว หัวไหนลดไม่ได้แสดงว่าชำรุด เปลี่ยนใหม่

หัวสปริงเกอร์ “โคนต้น” รัศมีพ่นน้ำ 3 ม. เท่ากันทั้ง 48 หัว สามารถลดรัศมี 3 ม. ลงมา 2 ม. ลงมา 1 ม.ได้ เท่ากันทุกหัว หัวไหนลดไม่ได้แสดงว่าชำรุด เปลี่ยนใหม่ .... เปิดพร้อมกัน ทั้ง “บนทรงพุ่มและโคนต้น” บนทรงพุ่มพ่นน้ำได้รัศมี 2 ม. โคนต้นพ่นน้ำได้รัศมี 1 ม.

เปิด 2 โซน : หัวสปริงเกอร์ “บนทรงพุ่ม” รัศมีพ่นน้ำ 2 ม. (ศก. 4 ม.) เท่ากันทั้ง 98 หัว สามารถลดรัศมี 2 ม. ลดลงมา 1 ม.ได้ เท่ากันทุกหัว หัวไหนลดไม่ได้แสดงว่าชำรุด เปลี่ยนใหม่

หัวสปริงเกอร์ “โคนต้น” รัศมีพ่นน้ำ 1 ม. เท่ากันทั้ง 98 หัว รัศมี 1 ม. ลดลงไม่ได้ เพราะแรงดันไม่พอ เพราะปั๊มแค่ 3 แรงม้าเท่านั้น ระบบสปริงเกอร์แบบนี้ใช้หม้อปุ๋ยได้ เนื้อปุ๋ยจะไปทั่วแปลงเสมอกัน ทดสอบโดยปล่อยยิบซั่มแล้วปล่อยไว้ 2-3 ชม. จนยิบซั่มแห้ง จะเห็นยิบซั่มแห้งจับยอดหญ้าทุกยอดทั่วทั้งโซน

ใช้หม้อปุ๋ยรุ่น 2 ขวดแยก

--------------------------------------------------------------------------------



9. แบ่งโซน ใกล้-ไกล :
บางครั้งรูปแปลงยาวสี่เหลี่ยมผืนผ้า แม้จะขึงหน้าขึงหลังแล้ว หัวต้นทางแรงแต่หัวปลายทางค่อย แก้ไขโดยปรับโซนให้เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส แบ่งเป็น 2 โซน โซนใกล้กับโซนไกลมีวาวล์แยก วาวล์แยกระหว่างโซนใกล้โซนไกล จะอยู่ที่หัวแปลงหรือใจกลางแปลง สำหรับเปลี่ยนโซนก็ว่าไป

ใช้หม้อปุ๋ยรุ่น 4 ขวดแยก

---------------------------------------------------------------------------------



10. แบ่งโซนใช้หม้อปุ๋ย :
[1] ติดหม้อปุ๋ยแบบ 2 ขวดแยก
[2] ติดหม้อปุ๋ยแบบ 4 ขวดแยก

--------------------------------------------------------------------------------------





11. ระบบรวม ทางใบ/ทางราก ในโซนเดียวกัน :
ในโซนเดียวกัน 50 ต้น เมนวาวล์อันเดียวที่หน้าโซน (หม้อปุ๋ย) แต่มีวาวล์ให้ทางใบกับให้ทางรากแยกกัน

ให้ทางใบ : เปิดวาวล์ทางใบ-ปิดวาวล์ทางราก
ให้ทางราก : เปิดวาวล์ทางราก-ปิดวาวล์ทางใบ
ให้พร้อมกัน เปิดทั้งสองวาวล์พร้อมกัน
เปิดวาวล์เดียว (ใบหรือราก) รัศมีพ่นน้ำเต็มที่ (3 ม.)
เปิดพร้อมกัน (ใบ+ราก) รัศมีพ่นน้ำลดลงกึ่งหนึ่ง

1โซน50ต้น เปลี่ยนวาวล์เลือกให้ที่หน้าโซนครั้งเดียว ไม่ต้องเดินเปลี่ยนวาวล์ประจำโคนต้นๆ ๆๆ

ลงทุนวางท่อ 2 เท่า แต่ประโยชน์ประสิทธิภาพประสิทธิผลเหนือกว่าหลาย 10 เท่า
ใช้หม้อปุ๋ยรุ่น 2 ขวดแฝด หรือรุ่น 2 ขวดแยก

----------------------------------------------------------------------------------


12. แปลงไม้ไม่เป็นแถว : :
- รวมต้นไม้เป็นกลุ่ม หรือโซนเดียวกัน
- วางท่อเมนแบ่งกลุ่ม
- วางท่อล้อมด้านนอกของทั้งกลุ่มก่อน แล้ววางท่อเชื่อมต่อระหว่างต้นริมกลุ่ม เพื่อให้น้ำในกลุ่มไหลแบบหมุนวน (ไฟฟ้าอนุกรม)
- ติดตั้งหม้อปุ๋ยหน้าโซนที่ท่อเมน พร้อมกับทางแยกจากหม้อปุ๋ยไปกลุ่มต้นไม้

-------------------------------------------------------------------------------


13. ผ่ากลางทรงพุ่ม :
- รวมต้นไม้เป็นกลุ่ม หรือโซนเดียวกัน
- วางทิ พีอี. (ราคาถูกกว่า/โค้งง่ายกว่า พีวีซี) พาดระหว่างทรงพุ่ม ณ ความสูงสุดของทรงพุ่มเท่าที่จะพึงทำได้ .... ระหว่างต้นถ้า พีอี.ตกท้องช้างให้ทำเสาไม้ง่ามรองรับ
- พีอี กึ่งกลางลำต้น (ทรงพุม) ใส่ท่อแยกแล้วติดหัวสปริงเกอร์ 1 หัว หรือ 2 หัวสำหรับต้นขนาดทรงพุ่มขนาดใหญ่
- ติดท่อน้ำ (จากหม้อปุ๋ย) เข้าด้านหนึ่ง แล้วติดท่อน้ำออก (พร้อมวาวล์) สำหรับล้งตัวเองด้านตรงข้าม

--------------------------------------------------------------------------------


14. ระบบแยกให้ ทางราก/ทางใบ ในต้นเดียวกัน :
วาวล์แยกประจำต้น ให้ ทางใบ/ทางราก ทีละต้น
ทำเป็น 2 ระบบ (บนทรงพุ่ม-โคนต้น) ในโซนเดียวกัน ซ้อนกันไปคู่กัน มีวาวล์แยกกัน....วาวล์ตัวหนึ่งสำหรับทางใบ วาวล์อีกตัวหนึ่งสำหรับทางราก

ให้ “ทางราก” เสาสปริงเกอร์เตี้ยระดับครึ่งแข้ง มีวาวล์เฉพาะ..
ให้ “ทางใบ” เสาสปริงเกอร์สูงเหนือยอด มีวาวล์เฉพาะ....

เปิดวาล์ทางใบ ให้ทางใบ.... เปิดวาวล์ทางราก ให้ทางราก
เปิดพร้อมกัน ให้ ทางใบ/ทางราก พร้อมกันได้
เลือกทำเฉพาะต้น หรือทุกต้นได้ตามอัธยาศัย

1โซน50ต้น 20โซน1,000ต้น เดินเปลี่ยนวาวล์ทีละต้นๆ .... ระวังหน้ามืด !

------------------------------------------------------------------------------------



15. ล้างตัวเอง :
การอุดตันที่ท่อสปริงเกอร์ แก้ไขด้วยการ “ถอดท่อตั้ง” ติดหัวปริงเกอร์ ท่อใดท่อหนึ่งเพียงท่อเดียว น้ำที่วิ่งในเขตโซนนั้นจะมาออกที่รูนี้ หะแรกน้ำขุ่นแสดงว่ามีโคลนในท่อ ปล่อยน้ำพุ่งระยะหนึ่งน้ำจะค่อยๆใสขึ้นเอง กระทั่งใสเป็นที่พอใจก็ให้สวมท่อตั้งที่ถอดออกเข้าที่เดิม

---------------------------------------------------------------------------------------





16. ซ่อมแคะ :
ขั้นตอน 1 : ทากาว จุดไฟ เอียงไปเอียงมาให้ไฟลามทั่วบริเวณทากาว
ขั้นตอน 2 : ดับไฟ ใช้ไขควงปากแบนแทงแคะจนหลุด .... ถ้าปากแบนแคะไม่ออก ให้ทากาวใหม่ จุดไฟอีกครั้ง แล้วแคะด้วยปากแบนซ้ำอีกครั้ง

ขั้นตอน 3 : แคะหลุดแล้วใช้คีมปากจิ้งจกคีบแล้วดึงออก
ขั้นตอน 4 : ระหว่าง ติดไฟ-ปากจิ้งจก แคะ อย่างให้กระทบชิ้นส่วนที่ต้องเก็บไว้ใช้งาน

---------------------------------------------------------------------------------------



17. ซ่อมปะ :
[1]กระดาษทราย, [2]ท่อแตก, [3]แผ่นท่อปะ, [4]ปากนกแก้ว, [5]กาว, [6]ลวด
ขั้นตอน 1 : ใช้แอลกอฮอร์ทำความสะอาดทอแตกบริเวณที่จะปะซ่อม
ขั้นตอน 2 : ตัดท่อปกติ ขนาดเดียวกัน ผ่าครึ่ง ได้ขนาด กว้าง/ยาว กว่ารอยแตกของท่อที่จะปะซ่อม
ขั้นตอน 3 : ทากาว (หนา) บนท่อที่จะปะซ่อม ทั่วพื้นที่แตก
ขั้นตอน 4 : วางแผ่นท่อที่ตัดเตรียมไว้แล้วทับลงบนแผล ขยับไปมาให้แนบสนิท
ขั้นตอน 5 : ใช้ลวดรัดแผ่นท่อที่ปะ 2 จุดหัวท้าย หรือ 3 จุด ถ้าแผลนั้นยาว
ขั้นตอน 6 : ใช้คีมปากนกแก้วขันปลายลวดรัดให้แน่นๆ

------------------------------------------------------------------------------------


18. กาว :
เลือกยี่ห้อที่มีแปรง (พู่กัน) ในตัวเอง

-------------------------------------------------------------------------------


19. เครื่องมือตัดท่อ :
[1] ตัดท่อ 2 นิ้ว, [2] ตัดท่อ 1/2 - 1 นิ้ว, [3] เลื่อยตัดเหล็ก,

--------------------------------------------------------------------------------


20. ตัดขวดด้วยเหล็กร้อน :
ขั้นตอน 1 : เผาเหล็กตัดขวดที่เตรียมไว้ (ขนาดเท่าขวดที่จะตัด) จนแดง
ขั้นตอน 2 : ทาบวงเหล็กร้อนบนขวด คลึงไปมา ให้ความร้อนกระทั่วขวด
ขั้นตอน 3 : จุ่มขุดที่คลึงความร้อนแล้วลงน้ำ ถ้าความร้อนเพียงพอขวดจะขาดทันที ถ้าความร้อนไม่เพียงพอ จวดจะไม่ขาด ให้ทำซ้ำ

------------------------------------------------------------------------------------



21. ตัดด้วยไฟเผา :
ขั้นตอน 1 : ใส่น้ำในขวด ณ ความสูงที่ต้องการตัด
ขั้นตอน 2 : ใช้เศษผ้าชุดน้ำมันโซล่า พันรอบขวดที่ระดับน้ำในขวด
ขั้นตอน 3 : จุดไฟผ้าชุบน้ำมัน .... ความร้อนจะทำให้โมเลกุลของแก้ว (ขวด) ขยายตัวแล้วแตกแยกออกจากกันเอง

-------------------------------------------------------------------------------------


22. วาวล์ :

--------------------------------------------------------------------------------


23. หัวสปริงเกอร์-การพ่นน้ำ :
[1] ทางราก เม็ดน้ำ 80 ละอองน้ำ 20
[2] ทางใบ ละอองน้ำ 80 เม็ดน้ำ 20 พ่นน้ำกระจายทางราบ
[3] ทางใบ ละอองน้ำ 80 เม็ดน้ำ 20 พ่นน้ำกระจายคว่ำลง
[4] สปรย์หมอก ละอองน้ำ 100
[5] สปรย์หมอก ละอองน้ำ 100
[6] หัวผีเสื้อ ละอองน้ำ 50 เม็ดน้ำ 50
[7] ทางใบ ทางราก เม็ดน้ำ 80 ละอองน้ำ 20 พ่นน้ำด้านเดียว

-------------------------------------------------------------------------------------



24. วาวล์แข็งแรงช้างฉุดไม่หลุด :
บอลล์วาวล์ ใช้ไปนานๆ หลุด กาวทาต่อใหม่ไม่ติด แก้ไขด้วยการใช้สกรูเกลียวปล่อยยิงลงไป .... เพื่อไม่เสียเวลา แนะนำให้ทำตั้งแต่แรกใช้

---------------------------------------------------------------------------------



25. หม้อปุ๋ยหน้าโซน :
[1] ทางใบโซนซ้าย, [2] ทางรากโซนซ้าย, [3] ทางรากโซนขวา, [4] ทางใบโซนขวา
ข้อดี :
- เลือก ปุ๋ย/ยา/น้ำเปล่า ตรงตามพืชได้
- เลือกเวลาทำงาน (เช้ามืด สาย เที่ยง ค่ำ ฝนต่อแดด)
- สิ้นเปลือง แรงงาน/ไฟฟ้า/เวลา น้อย
- ใช้งานได้นาน หลายๆสิบปี
- เครดิต ความน่าเชื่อถือสูง
ข้อเสีย :
- ตัดแต่งกิ่ง ห่อผล ไม่ได้
- กันขะโมยไม่ได้

------------------------------------------------------------------------------



26. ตรวจสอบการกระจายปุ๋ยโดยหม้อปุ๋ย
ตรวจสอบที่ท่อแก้ว :
ท่อแก้วใสต่อกับท่อ พีวีซี ที่วิ่งไปตามพื้นราบโคนต้น ใส่ท่อแก้ว ณ จุดสงสัยการมาของ "น้ำเปล่า+ปุ๋ยจากหม้อ" ว่า มีหรือมาจริงหรือไม่ การติดตั้งมากกว่า 1 จุด ย่อมหมายถึงความมั่นใจ
สังเกต :
- สีของ "น้ำ+ปุ๋ย" เข้มข้นราว 25% ของสีเดิมของเนื้อปุ๋ย นี่เป็นการให้ปุ๋ย ทางราก ซึ่งควรต้องเข้มข้นกว่าปุ๋ยทางใบเล็กน้อย

- กังขา 1.... ไปถึงไม้ทุกต้นได้ จริงหรือ ?
- กังขา 2.... ไปถึงไม้ทุกต้นด้วยปริมาณเท่ากันทุกต้น หรือไม่ ?
- กังขา 3.... ขณะวิ่งไปตามท่อสู่ไม้แต่ละต้น สม่ำเสมอตลอดเส้นทางหรือไม่ ?

ตรวจสอบจาก "สี" ของ "น้ำ+ปุ๋ย" ที่ท่อแก้วบนพื้นราบทุกจุด พบว่ามีสีเดียวกันสม่ำเสมอ ตลอดระยะเวลาที่น้ำไหลไป สีไม่เข้มสลับจาง หรือมีอาการวูบวาบๆ สิ่งนี้บ่งบอกถึงปริมาณ ความเข้มข้นของ "น้ำ+ปุ๋ย" ที่ออกทางหัวสปริงเกอร์ ณ จุดใกล้เคียงนั่นเอง
-------------------------------------------------------------------------------



27. พ่นน้ำทางเดียว :
หัวสปริงเกอร์ (เม็ดน้ำ80 ละออง20) ริมทางเดินพ่นน้ำเข้าต้น ทำให้ทางเดินไม่เปียก หรือพ่นไปทางทิศเฉพาะที่ต้องการ

--------------------------------------------------------------------------------


28. หม้อปุ๋ย VENTURY แบบขวดเดียว
ใช้งาน :
1. ปิดวาวล์ทุกตัว
2. เปิด [2] ปล่อยน้ำไปสปริงเกอร์
3. เปิด [6] [7]
4. เติม ปุ๋ย/ยา ที่ [7]
5. ปิด [6] [7]
6. เปิด [5] ให้น้ำเข้าหม้อปุ๋ยจนหยุด
7. เปิด [6] ระบายอากาศออกจากหม้อปุ๋ยจนหมด
8. ปิด [6]
9. เปิด [8] ปุ๋ย-ยา ออกจากหม้อปุ๋ยไปผสมกับน้ำที่มาจากปั๊ม ไปสปริงเกอร์
หมายเหตุ :
- ต้องการให้ปุ๋ย/ยา ไปเร็ว/ช้า เปิดเพิ่ม/ลด ที่ [8] และ/หรือ [2]
- ปล่อย ปุ๋ย/ยา ไปเร็ว ไม้ต้นแรกๆหน้าโซนได้มาก ไม้ต้นท้ายๆท้ายโซนได้น้อย
- เสร็จงานต้องปล่อยน้ำจากหม้อปุ๋ยให้หมด ป้องกันเกิดตะไคร่ในขวด
เลิกใช้งาน :
1. ปิด [5]
2. ปิด [8]
3. เปิด [6]
4. เปิด [4]

-------------------------------------------------------------------------------


29. หม้อปุ๋ย VENTURY แบบ 2 ขวดแฝด
ใช้งาน :
1. ปิดวาวล์ทุกตัว
2. เปิด [2] ปล่อยน้ำไปสปริงเกอร์
3. เปิด [6] [5]
4. เติม ปุ๋ย/ยา ที่ [6]
5. ปิด [5] [6]
6. เปิด [4] ให้น้ำเข้าหม้อปุ๋ยจนหยุด
7. เปิด [5] ระบายอากาศออกจากหม้อปุ๋ยจนหมด
8. ปิด [6]
9. เปิด [7] ปุ๋ย-ยา ออกจากหม้อปุ๋ยไปผสมกับน้ำที่มาจากปั๊ม ไปสปริงเกอร์
หมายเหตุ :
- ต้องการให้ปุ๋ย/ยา ไปเร็ว/ช้า เปิดเพิ่ม/ลด ที่ [8] และ/หรือ [2]
- ปล่อย ปุ๋ย/ยา ไปเร็ว ไม้ต้นแรกๆหน้าโซนได้มาก ไม้ต้นท้ายๆท้ายโซนได้น้อย
- เสร็จงานต้องปล่อยน้ำจากหม้อปุ๋ยให้หมด ป้องกันเกิดตะไคร่ในขวด
เลิกใช้งาน :
1. ปิด [5]
2. ปิด [8]
3. เปิด [6]
4. เปิด [4]
-------------------------------------------------------------------------------


30. หม้อปุ๋ย VENTURY แบบ 2 ขวดแยก
ใช้งาน :
1. ปิดวาวล์ทุกตัว
2. เปิด [2] ปล่อยน้ำไปสปริงเกอร์
3. เปิด [6] [7]
4. เติม ปุ๋ย/ยา ที่ [7]
5. ปิด [6] [7]
6. เปิด [5] ให้น้ำเข้าหม้อปุ๋ยจนหยุด
7. เปิด [6] ระบายอากาศออกจากหม้อปุ๋ยจนหมด
8. ปิด [6]
9. เปิด [8] ปุ๋ย-ยา ออกจากหม้อปุ๋ยไปผสมกับน้ำที่มาจากปั๊ม ไปสปริงเกอร์
หมายเหตุ :
- ต้องการให้ปุ๋ย/ยา ไปเร็ว/ช้า เปิดเพิ่ม/ลด ที่ [8] และ/หรือ [2]
- ปล่อย ปุ๋ย/ยา ไปเร็ว ไม้ต้นแรกๆหน้าโซนได้มาก ไม้ต้นท้ายๆท้ายโซนได้น้อย
- เสร็จงานต้องปล่อยน้ำจากหม้อปุ๋ยให้หมด ป้องกันเกิดตะไคร่ในขวด
เลิกใช้งาน :
1. ปิด [5]
2. ปิด [8]
3. เปิด [6]
4. เปิด [4]

---------------------------------------------------------------------------------


31. หม้อปุ๋ย VENTURY แบบ 4 ขวดแยก
ใช้งาน :
1. ปิดวาวล์ทุกตัว
2. เปิด [2] ปล่อยน้ำไปสปริงเกอร์
3. เปิด [6] [7]
4. เติม ปุ๋ย/ยา ที่ [7]
5. ปิด [6] [7]
6. เปิด [5] ให้น้ำเข้าหม้อปุ๋ยจนหยุด
7. เปิด [6] ระบายอากาศออกจากหม้อปุ๋ยจนหมด
8. ปิด [6]
9. เปิด [8] ปุ๋ย-ยา ออกจากหม้อปุ๋ยไปผสมกับน้ำที่มาจากปั๊ม ไปสปริงเกอร์
หมายเหตุ :
- ต้องการให้ปุ๋ย/ยา ไปเร็ว/ช้า เปิดเพิ่ม/ลด ที่ [8] และ/หรือ [2]
- ปล่อย ปุ๋ย/ยา ไปเร็ว ไม้ต้นแรกๆหน้าโซนได้มาก ไม้ต้นท้ายๆท้ายโซนได้น้อย
- เสร็จงานต้องปล่อยน้ำจากหม้อปุ๋ยให้หมด ป้องกันเกิดตะไคร่ในขวด
เลิกใช้งาน :
1. ปิด [5]
2. ปิด [8]
3. เปิด [6]
4. เปิด [4]

---------------------------------------------------------------------------------


32. หม้อปุ๋ย VENTURY แบบ 6 ขวดแยก
ใช้งาน :
1. ปิดวาวล์ทุกตัว
2. เปิด [2] ปล่อยน้ำไปสปริงเกอร์
3. เปิด [6] [7]
4. เติม ปุ๋ย/ยา ที่ [7]
5. ปิด [6] [7]
6. เปิด [5] ให้น้ำเข้าหม้อปุ๋ยจนหยุด
7. เปิด [6] ระบายอากาศออกจากหม้อปุ๋ยจนหมด
8. ปิด [6]
9. เปิด [8] ปุ๋ย-ยา ออกจากหม้อปุ๋ยไปผสมกับน้ำที่มาจากปั๊ม ไปสปริงเกอร์
หมายเหตุ :
- ต้องการให้ปุ๋ย/ยา ไปเร็ว/ช้า เปิดเพิ่ม/ลด ที่ [8] และ/หรือ [2]
- ปล่อย ปุ๋ย/ยา ไปเร็ว ไม้ต้นแรกๆหน้าโซนได้มาก ไม้ต้นท้ายๆท้ายโซนได้น้อย
- เสร็จงานต้องปล่อยน้ำจากหม้อปุ๋ยให้หมด ป้องกันเกิดตะไคร่ในขวด
เลิกใช้งาน :
1. ปิด [5]
2. ปิด [8]
3. เปิด [6]
4. เปิด [4]

----------------------------------------------------------------------------------



33. พีวีซี. VS กระบอกแก้ว :
พีวีซี. ขนาด 2 นิ้ว ของ พีวีซี.มาตรฐานแน่นอน
กระบอกแก้ว หลายมาตรฐาน ต้องเลือกที่มาตรฐานตรงกับ พีวีซี.

---------------------------------------------------------------------------------





34. พ่นน้ำแบนราบ :
ให้ทางใบ น้ำสัมผัสใบแล้วตกลงพื้น เท่ากับให้น้ำทางรากไปในตัว (2 เด้ง)
ให้ทางใบ ลมพัดแรง ละอองน้ำตลบม้วนลงไต้ใบ ช่วยใบเปียก ไต้ใบบนใบ 100%

----------------------------------------------------------------------------------



35. ให้น้ำคว่ำลง :
เหมาะสำหรับไม้ที่ต้นยังเล็ก น้ำสัมผัสใบแล้วตกลงพื้น เท่ากับให้น้ำทางรากไปในตัว (2 เด้ง)
ให้ทางใบ สัมผัสใบแล้วตกลงพื้น เท่ากับให้น้ำทางรากไปในตัว (2 เด้ง)
ให้ทางใบ ลมพัดแรง ละอองน้ำตลบม้วนลงไต้ใบ ช่วยใบเปียก ไต้ใบบนใบ 100%


---------------------------------------------------------------------------------


36. พ่นน้ำแบนราบ + พ่นน้ำทางเดียว :
พ่นน้ำแบนราบ : กลางแปลง
พ่นน้ำทางเดียว : ต้นริมแปลงติดทางเดิน ป้องกันคนเปียก
ให้ทางใบ น้ำสัมผัสใบแล้วตกลงพื้น เท่ากับให้น้ำทางรากไปในตัว (2 เด้ง)
ให้ทางใบ ลมพัดแรง ละอองน้ำตลบม้วนลงไต้ใบ ช่วยใบเปียก ไต้ใบบนใบ 100%

----------------------------------------------------------------------------------




37. พ่นฝอยละอองน้ำ
ให้ทางใบ น้ำสัมผัสใบแล้วตกลงพื้น เท่ากับให้น้ำทางรากไปในตัว (2 เด้ง)
ให้ทางใบ ลมพัดแรง ละอองน้ำตลบม้วนลงไต้ใบ ช่วยใบเปียก ไต้ใบบนใบ 100%

--------------------------------------------------------------------------------



38. แยกให้ ทางราก/ทางใบ ในต้นเดียวกัน
ให้ทางใบ : เปิดทางใบ ปิดทางราก
ให้ทางราก : เปิดทางรก ปิดทางใบ
ทำต่อไม้ทุกต้นในโซนเดียวกัน
ให้ทางใบ น้ำสัมผัสใบแล้วตกลงพื้น เท่ากับให้น้ำทางรากไปในตัว (2 เด้ง)
ให้ทางใบ ลมพัดแรง ละอองน้ำตลบม้วนลงไต้ใบ ช่วยใบเปียก ไต้ใบบนใบ 100%

---------------------------------------------------------------------------------


39.


40.

-------------------------------------------------------------------------------------


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/10/2022 6:15 am, แก้ไขทั้งหมด 18 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11600

ตอบตอบ: 26/10/2018 3:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
หม้อปุ๋ยรุ่นพิพิธภัณฑ์....























.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/12/2018 7:00 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11600

ตอบตอบ: 31/10/2018 7:23 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.

https://www.thairath.co.th/content/752796
เรือรดน้ำพ่นยา17หัวฉีด คนสวนคิดเอง 52,000บ.

https://www.youtube.com/watch?v=vKvsOe7PwsQ
เรือรดน้ำสวนมะพร้าว

https://www.youtube.com/watch?v=TOQc5ehfKwU
เรือรดน้ำสวนปาล์ม

https://www.youtube.com/watch?v=vjQz4N0fPOo
เรือรดน้ำรุ่นใหม่

https://www.youtube.com/watch?v=mXA33nLkbEk
เรือรดน้ำอัตโนมัติ

https://www.youtube.com/watch?v=BWM-n-OY7zM
Boat sprayer เรือสแตนเลส โดย ร้านพับเรือคลอง 9 โทร 0867723435

https://www.youtube.com/watch?v=ToAESsSy9do
ธรรมพรแอร์เชียร์ แบบ 2 หัวพ่นติดตั้งในเรือ

https://www.youtube.com/watch?v=aHlt3KqZ-Po
DIY เครื่องพ่นยา Air Bus "ตัวจิ๋ว พลังแจ๋ว"

https://www.youtube.com/watch?v=gYdeyCA5Yhw
เรือรดน้ำ 2 เขา(เบนซิล) By อุดมการช่างคลอง10

https://www.youtube.com/watch?v=T1rgpte3o-s
Mist blower (Air blast sprayer) AGP 400 ENU

https://www.youtube.com/watch?v=iEsq0GX9Mu4
CAFFINI ATOMIZZATORI TREND PLUS

https://www.youtube.com/watch?v=szLQQubRsU4
T.4+4 e T.5+5





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11600

ตอบตอบ: 18/11/2021 5:28 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.


ขออนุญาตแนะนำตัวครับลุงคิม
ผมชื่อวรายุทธ์์ ชูสิงห์
อยู่ จ.นครศรีธรรมราช ผมศึกษาการทำเกษตรของลุงคิมจากเวปนี้ ด้านการทำน้ำหมัก เครื่องให้ปุ๋ยผ่านระบบน้ำ เมื่อปี 2558 แล้ววันที่ 19 ธ.ค.2559 ผมไปเรียนที่ไร่กล้อมแกล้ม 2 วัน

เมื่อเรียนเสร็จผมก็จดจำเท่าที่จำได้มาทดลองทำในแบบฉบับของผมเอง ภายใต้แนวคิดที่ลุงคิมสอนมา

และผมก็ได้ขออนุญาตลุงคิมในเรื่องการ เอาหม้อปุ๋ยมาทำใช้เองถ่ายทอดความรู้ให้ผู้สนใจ และถ้าใครทำไม่ได้ผมก็ทำขาย

ตอนนี้ก็เป็นที่สนใจของคนระดับนึงเพราะเค้าไม่เชื่อในประสิทธิภาพเครื่องให้ปุ๋ย แต่ในส่วนตัวผมเชื่อสนิทใจว่าดีจริงๆ



--------------------------------------------------------------------

karn_khon บันทึก:
.
.






ขออนุญาตแนะนำตัวครับลุงคิม
ผมชื่อวรายุทธ์์ ชูสิงห์
อยู่ จ.นครศรีธรรมราช ผมศึกษาการทำเกษตรของลุงคิมจากเวปนี้ ด้านการทำน้ำหมัก เครื่องให้ปุ๋ยผ่านระบบน้ำ เมื่อปี 2558 แล้ววันที่ 19 ธ.ค.2559 ผมไปเรียนที่ไร่กล้อมแกล้ม 2 วัน

เมื่อเรียนเสร็จผมก็จดจำเท่าที่จำได้มาทดลองทำในแบบฉบับของผมเอง ภายใต้แนวคิดที่ลุงคิมสอนมา

และผมก็ได้ขออนุญาตลุงคิมในเรื่องการ เอาหม้อปุ๋ยมาทำใช้เองถ่ายทอดความรู้ให้ผู้สนใจ และถ้าใครทำไม่ได้ผมก็ทำขาย

ตอนนี้ก็เป็นที่สนใจของคนระดับนึงเพราะเค้าไม่เชื่อในประสิทธิภาพเครื่องให้ปุ๋ย แต่ในส่วนตัวผมเชื่อสนิทใจว่าดีจริงๆ



.



รมช.เกษตรสนใจเครื่องใหปุ๋ย แล้วกำชับให้เกษตรจังหวัดลงมาดูที่สวน






--------------------------------------------------------------------



1

2

3


4

5
6

7

8

9

10


11

12

13

14

15

16


17

18

19





.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11600

ตอบตอบ: 08/01/2024 2:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

....
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   กระทู้นี้ถูกปิดคุณไม่สามารถแก้ไขคำตอบหรือตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©