ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
Pum_NWF_Rayong สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 29/07/2009 ตอบ: 177
|
ตอบ: 07/12/2009 10:56 pm ชื่อกระทู้: เจ้าหน้าที่เกษตรจากเนปาลเยี่ยมชมสวน |
|
|
เมื่อวันที่ 6 ธ.ค 52 ทางสวนของเราได้รับเกียรติจาก ดร. อัมพร
วิโนทัย นักวิชาการจากสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร นำเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรจากประเทศเนปาลจำนวน 12 ท่าน เข้าเยี่ยมชมสวนของเราในฐานะเป็นสวนเพื่อการเรียนรู้การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานหรือ IPM (Integrated Pest Management) เนื่องจากมีการใช้ระบบ IPM แล้วเห็นผลชัดเจนมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ซึ่งสวนของเราได้รับการสนับสนุนแมลงและข้อมูลต่างๆ จากศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดชลบุรี
มาถึงก็ขอเข้าสวนก่อนเป็นอันดับแรกเลย ทางเราก็เลยจัดให้
คุณดำกำลังให้ข้อมูลเรื่องการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าในการควบคุมเชื้อราไฟทอบเทอร์ร่าร่วมกับการใช้ยิบซั่มในการปรับสภาพดิน
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Pum_NWF_Rayong สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 29/07/2009 ตอบ: 177
|
ตอบ: 07/12/2009 10:58 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ถือโอกาสเก็บภาพดอกทุเรียนตรงทางเข้าบ้านที่ออกก่อนฤดูขณะพาแขกเยี่ยมชมสวน
อ. อัมพร (คนกลาง) กำลังตอบคำถามเจ้าหน้าที่เนปาล เกี่ยวกับแมลงช่วยกำจัดแมลงที่พบในสวนของเรา ส่วนคนขวามือเป็นเจ้าหน้าที่จากศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดชลบุรี
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Pum_NWF_Rayong สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 29/07/2009 ตอบ: 177
|
ตอบ: 07/12/2009 11:00 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ผ่านต้นมะยงชิดที่มีอยู่แค่ 2 ต้นที่ปลูกไว้กินกันเองในครอบครัว ตอนนี้ออกดอกเต็มต้น
คุณดำกำลังชี้ร่องรอยของกระแตหนึ่งในตัวห้ำที่กำจัดหนอนชอนเปลือกในลองกอง
กระดังงาและพิลังกาสาที่อยู่ข้างบ้าน
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Pum_NWF_Rayong เมื่อ 07/12/2009 11:07 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Pum_NWF_Rayong สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 29/07/2009 ตอบ: 177
|
ตอบ: 07/12/2009 11:00 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
คุณดำกำลังแนะนำสมุนไพรต่างๆที่ใช้ในการกำจัดแมลง ก่อนนำเสนอประมวลภาพและผลจากการใช้วิธี IPM และเชื้อราบิวเวอเรียในฤดูกาลที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
ส่วนหนึ่งของภาพนำเสนอในการใช้แตนเบียน กำจัดเพลี้ย
ไข่ของแมลงช้างปีกใส เจ้าตัวนี้ก็กำจัดเพลี้ยแป้ง นอกจากนี้ก็ยังมีแมลงวันเสือ แมลงวันขายาวที่กำจัดแมลงด้วยกันเอง เป็นต้น
ดักแด้แตนเบียนเซอโรสปิรัส อิเจนิอัส (Cirrospillus ingenuus)
ดักแด้แตนเบียนอเจนิแอสปิส ซิตริโคล่า (Ageniaspis citricola)
ตัวเต็มวัยของแตนเบียนอเจนิแอสปิส ซิตริโคล่า
ตัวอ่อนด้วงเต่าลายหยักขณะกำลังกินเพลี้ยไก่แจ้
ตัวเต็มวัยด้วงเต่าลายหยัก
ผลจากการใช้เชื้อราบิวเวอเรียในการกำจัดเพลี้ยไก่แจ้ในสวนทุเรียนของเรา
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Pum_NWF_Rayong เมื่อ 08/12/2009 12:22 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Pum_NWF_Rayong สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 29/07/2009 ตอบ: 177
|
ตอบ: 07/12/2009 11:05 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ก่อนคณะกลับก็ถ่ายรูปหมู่เก็บไว้เป็นที่ระลึกสักนิด
ตกค่ำ ก็รีบรุดมาถ่ายดอกทุเรียนในสวนด้านในที่ตอนกลางวันถ่ายไม่ได้เพราะย้อนแสงจนมองไม่เห็น ภาพตอนกลางคืนนี่เห็นชัดจัง
เห็นแล้วชื่นใจ ต่อไปก็ต้องประคบประหงมยิ่งกว่าไข่ในหิน
|
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kimzagass หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009 ตอบ: 11621
|
ตอบ: 08/12/2009 5:58 am ชื่อกระทู้: |
|
|
TO PUM.....
ช่วยเล่า "ขั้นตอนการบำรุง" ทั้ง มะยงชิด-ทุเรียน ที่ออกดอกมาให้เห็นหน่อยซี่
วิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบกับขั้นตอนของ "คุณอ้อ" แล้ว ได้ผลไม่ต่างกันนัก แต่ที่เห็นชัดของคุณอ้อ. คือ ประหยัดต้นทุน กับอนาคตความสมบูรณ์ต้นชัดเจน
วิเคราะห์ในเชิง "เศรษฐศาสตร์การลงทุน" นะ
ลุงคิมครับผม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Pum_NWF_Rayong สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 29/07/2009 ตอบ: 177
|
ตอบ: 09/12/2009 2:08 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ขั้นตอนการบำรุงทุเรียนที่สวนคุณดำ
หลังการเก็บเกี่ยวจากฤดูกาลที่แล้ว ก็ทำการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อรับฤดูกาลถัดไปด้วยยิบซั่ม ปุ๋ยหมักและอื่นๆจากนั้นเตรียมความพร้อมของต้นโดยใช้แคลเซียมโบรอน ฉีดพ่นทางใบ 1 รอบ ฮอร์โมนน้ำดำ 1 รอบ เมื่อเห็นว่าต้นพร้อมดีแล้วจึงทำการสะสมตาดอกโดยให้น้ำหมักระเบิดฯ ทางดิน1 รอบ จากนั้นหาโอกาสให้ทางใบด้วยแคลเซียมโบรอนและฮอร์โมนน้ำดำ อีกอย่างละ 1 รอบ (หาโอกาสใช้ Mg และ Zn ที่มีอยู่แล้วในฮอร์โมนน้ำดำเพื่อเสริมความต้านทานของต้นอีก) ใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 0-42-56 เพื่อสะสมตาดอก 1 รอบ เมื่ออากาศเริ่มเย็นลงและสังเกตุเห็นตุ่มตาดอกตามกิ่งจึงทำการเปิดตาดอกด้วยฮอร์โมนไข่สูตรเปิดตาดอก (0-52-34) ไป 1 รอบ แต่มีฝนตกมา 2-3 วัน ทำให้การออกดอกของทุเรียนชะงักไประยะหนึ่ง เมื่อหมดฝนดีแล้วและอากาศเริ่มเย็นลงระยะหนึ่ง จึงเห็นดอกเริ่มออกมากขึ้นอีกครั้ง จึงให้ฮอร์โมนไข่สูตรเปิดตาดอกอีก 1 รอบ และปุ๋ยสูตร 8-24-24 ทางดินร่วมด้วย ตอนนี้ดอกที่ออกก่อนฤดูมีอยู่ประมาณ 10 กว่าต้น คิดเป็น 10% ของทุเรียนที่มีทั้งหมด ในขณะที่ดอกที่ออกในฤดู มีประมาณ 2 รุ่นทั้งสวน
สรุปการใช้ปุ๋ย/ฮอร์โมนทำเอง
แคลเซียมโบรอน 2 ครั้ง
ฮอร์โมนน้ำดำ 2 ครั้ง
น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง 1 ครั้ง
ฮอร์โมนไข่สูตรเปิดตาดอก 2 ครั้ง
สรุปการใช้ปุ๋ยธาตุหลัก
ปุ๋ยทางใบสูตรสะสมตาดอก 0-42-56 = 1 รอบ
ปุ๋ยทางดินสูตรเปิดตาดอก 8-24-24 = 1 รอบ
ในแง่ของการลดต้นทุนที่เป็นตัวเงินไม่ถือว่าลดจากเดิมมากนัก เพราะเราทำปุ๋ยใช้เองอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นจุลินทรีย์หน่อกล้วย ฮอร์โมนผลไม้ ฯล พอมาปีนี้ ทำแคลเซียมโบรอนใช้ได้เองอีกจึงลดต้นทุนส่วนนี้ไปได้นิดหน่อย แต่ก็จะมีเพิ่มในส่วนปุ๋ยสูตรสั่งตัดของลุงเข้ามาซึ่งก็นับว่าถูกกว่าซื้อใช้นอกจากนี้ ในปีนี้เราเน้นการปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ยิบซั่มมากขึ้นเพราะต้นเริ่มโทรมจากการให้ผลผลิตมานาน จึงทำให้ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ไปตกอยู่ที่ส่วนนี้แทน แต่เมื่อมองในระยะยาวแล้วยังถือว่าคุ้ม เพราะเราได้ทั้งความสมบูรณ์ของต้นไม้และดินกลับคืนมาอย่างมาก เห็นได้จากที่เราทำการสะสมตาดอกไปเพียงแค่ครั้งเดียวแต่มีดอกที่ออกก่อนฤดูอยู่ 10 กว่าต้น (ถ้าไม่ติดฝน น่าจะมากกว่านี้) และดอกที่ออกส่วนใหญ่จะไล่ออกจากโคนกิ่งไปเลย นั่นเพราะต้นมีความความสมบูรณ์มากนั่นเอง
สำหรับมะยงชิดนั้นปลูกไว้กินเองไม่ได้ขายจึงไม่ได้เน้นการบำรุง แต่อยู่ในโซนเดียวกันกับทุเรียน เวลาให้ปุ๋ยก็เลยให้เขาด้วยเพราะเป็นทางผ่าน ประกอบกับปีนี้หนาวเร็วกว่าทุกปี ตอนนี้จึงออกดอกเต็มต้น แม้ว่ามะยงชิดจากที่ไม่ได้ปลูกเพื่อขาย มาในปีนี้ถ้าเราเริ่มบำรุงดอก-ผลให้มากกว่าปกติ ไม่แน่เจ้า 2 ต้นนี้อาจจะช่วยเพิ่มรายได้ในสวนเราได้อีกทางหนึ่ง
ปุ้ม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
ott_club หาวด้า
เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009 ตอบ: 718
|
ตอบ: 11/12/2009 10:09 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
พี่ดำได้พูดถึงการให้ปุ๋ย และฮอร์โมนต่างๆ ตลอดจนแนวทางลดต้นทุนให้กับคณะผู้เข้าเยี่ยมชมฟังหรือเปล่า และได้โชว์ ฮ.ไข่ ฮ.น้ำดำ แคลเซี่ยม-โบรอน ให้เขาดูหรือเปล่า หรือเขาสนใจแต่การอารักขาพืช แต่ไม่สนใจการบำรุงพืช
ถ้าดูแต่ศัตรูพืช บ้านเขากับบ้านเรามันจะเหมือนกันหรือ เขาพูดกับเราว่าอย่างไรบ้าง เขาจะกลับไปส่งเสริมเกษตรกรบ้านเขาทันทีเลยไหม หรือไปๆ มาๆ ก็แค่ "มาดูงาน" |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
Pum_NWF_Rayong สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 29/07/2009 ตอบ: 177
|
ตอบ: 12/12/2009 9:34 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
จุดประสงค์หลักในการเข้าชมสวนของคณะนี้คือมาศึกษาการใช้วิธี IPM ว่าได้ผลประการใดและมีแมลงศัตรูพืชและการควบคุมแมลงศัตรูพืชเหมือนบ้านเขาหรือไม่ ซึ่งจากการเดินดูในสวนแล้วเจอแมลงต่างๆ เขาก็รู้จักหมด ก็แสดงว่าแมลงบ้านเขากับบ้านเราน่าจะเหมือนกัน เกษตรกรเนปาลนั้นก็ใช้เคมีกันบ้าเลือดเหมือนกัน เจ้าหน้าที่กลุ่มนี้จึงพยายามส่งเสริมให้เกษตรกรของเขาลดการใช้สารเคมีแล้วหันมาใช้การควบคุมด้วยวิธีธรรมชาตินี้แทน ซึ่งยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรเพราะเกษตรกรไม่มีความมั่นใจ เขาจึงได้มาดูงานจากแหล่งที่ใช้วิธีนี้แล้วเห็นผล เพื่อนำกลับไปใช้ และเป็น case study สำหรับเกษตรกรบ้านเขาด้วย
ในเรื่องฮอร์โมนต่างๆนั้น ไม่ได้นำมาแสดงด้วยค่ะ เพราะเขาไม่ได้สนใจเรื่องการผลิตหรือการลดต้นทุนการผลิต เราจึงเน้นในเรื่องการใช้สมุนไพรธรรมชาติเช่นหมาก สะเดา ตระไคร้หอม เชื้อราบิวเวอร์เรียที่ทำเอง และจุลินทรีย์หน่อกล้วยที่ทำเองเท่านั้น เพื่อให้สอดคล้องกับหัวข้อที่เขาต้องการรู้ และพูดเสริมเล็กน้อยว่าเราสามารถลดต้นทุนการผลิตจากการทำปุ๋ยใช้เองด้วยเช่นกัน ซึ่งเขาก็ไม่ได้มีคำถามอะไร อีกอย่างเขามีเวลาเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งจะต้องบินไปดูงานต่อที่เชียงใหม่ ซึ่งก่อนหน้ามาสวนเรา ก็แวะไปที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ จ. ระยองมาแล้ว
เจ้าหน้าที่กลุ่มนี้นอกจากจะมาศึกษาเรื่อง IPM ของไทยแล้ว เขายังต้องการรู้ว่าเราใช้วิธีอะไรในการที่จะทำให้เกษตรกรเชื่อแล้วหันมาใช้วิธีทางธรรมชาติแทนการใช้สารเคมี ในขณะเดียวกันทำไมเราซึ่งเป็นเกษตรกรถึงเชื่อและหันมาใช้วิธีนี้แทนการใช้สารเคมีด้วยเช่นกัน เขาจะได้นำไปใช้กับเกษตรกรบ้านเขาบ้างก็เท่านั้นค่ะ
กลัวอ๊อดจะรอนานถ้าจะให้พี่ดำมาตอบ ก็เลยขออนุญาตตอบให้ก่อนคงไม่ว่ากันนะ พอดีอยู่ช่วยในวันนั้นด้วย และก็ได้ตอบข้อซักถามต่างๆ ด้วยเหมือนกัน ถ้ามีอะไรเพิ่มเติมพี่ดำคงเข้ามาเสริมให้อีกทีจ้ะ
ปุ้ม |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|