ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
napassorn สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010 ตอบ: 202 ที่อยู่: จ.นครราชสีมา
|
ตอบ: 18/03/2011 10:39 am ชื่อกระทู้: |
|
|
คำพูด: | ใครบอกว่าเอสบายแล้วพี่ตอนนี้ยุ่งมากกกกกกกกกกกกกกกกก พี่ยุทธช่วงนี้ยุ่งไหมพี่แม่เป็นยังไงมั้งครับอากาศเปลี่ยนรักษาสุขภาพด้วยนะพี่
พี่เกียรติกับพี่พรก็อย่าโหมงานมากนะครับพี่ |
เป็นเรื่องปกติของพี่ พร อยู่เฉยไม่เป็นนะ เอ
เอ ถามหน่อยว่า รถปลูกอ้อย ที่ใส่ถังน้ำข้างหน้า
การควบคุมเปิด - ปิดน้ำวิธีไหน แล้วได้ผลดีหรือเปล่า
เขตทางบ้านพี่ยังไม่มีใครใช้ เลยอยากรู้
เอ ก็เหมือนกัน อย่าหักโหมมากนัก เดี๋ยวจะไม่หล่อ
เตรียมตัวเป็นเจ้าชาย เฮ้ย ...เจ้าบ่าว ในเดือนหน้าแล้ว
สมช.ท่านใด จะไปร่วมอวยพร งานน้อง เอ ก็เชิญนะครับ
สอบถามรายละเอียดกับเจ้าตัวได้เลย _________________ <<ไร่อ้อยนภัสสร>> |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
A_Chumphae สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010 ตอบ: 153
|
ตอบ: 18/03/2011 11:10 am ชื่อกระทู้: |
|
|
การควบคุมปิด-เปิดน้ำ เอใช้บอลวาล์ว 1" เอาท่อแปบเหล็กหน้า 1 1/2" มาผ่าสวมเข้าทำด้ามหมุนแค่นี้ครับ
นอกนั้นก็อาศัยการไหลของน้ำมันเอง ได้ผลไหม ตอนนี้ความคิดเอได้ผลมาก เพราะตอนปลูกเราใส่ปุ๋ยรองพื้นพอเจอน้ำมันก็มีความชื้นในดินแล้วก็เรารดน้ำในร่องอ้อย แล้วเครื่องทำการกลบดินแห้งลงตามหลัง
ดินไม่แน่น แต่มีความชื้นพอให้อ้อยเกิดได้ดีในหน้าแล้งครับ
เดี๋ยวเอ ถ่ายรูปอุปกรณ์มาให้ดูวันปลูกอ้อยเอก็ลืมถ่ายรายละเอียดมาให้ดูนึกว่าเค้าใช้กันแบบนี้หมดแล้ว |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
A_Chumphae สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 10/10/2010 ตอบ: 153
|
ตอบ: 18/03/2011 11:15 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เห็น้ำดำๆในถังไหมพี่พอดีขอน้ำขี้ไก่อามาได้ 4 คิว ผสมน้ำอีก 5 คิวเอามาปลูกนี่หมดที่ไม่ไปถ่ายใกล้ๆเพราะโคตรเหม็นรอบต่อไปไม่เอาละเอาน้ำเปล่า+กากน้ำตาลพอ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
napassorn สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010 ตอบ: 202 ที่อยู่: จ.นครราชสีมา
|
ตอบ: 22/03/2011 9:48 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ลดต้นทุนการปลูกอ้อย โดยการทำปุ๋ยละลายช้าใช้ในไร่ ของสมาชิกชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
วันที่ : 01 มี.ค. 2554, 7:54:33 น.
หมวดหมู่ : พืชผัก-พืชไร่ กลุ่ม : พืชไร่
อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอันดับต้นๆของประเทศไทยในปัจจุบัน จะเห็นได้จากข่าวน้ำตาลทรายขาดตลาด ไปเทสโก้โลตัส บิ๊กซี ห้างสะดวกซื้อต่างๆ ก็บังคับให้ซื้อครอบครัวละ 1 ถุง ทำให้เห็นชัดว่าคนไทยบริโภคน้ำตาลเป็นจำนวนมาก แต่วัตถุดิบที่ใช้ผลิตน้ำตาลคืออ้อยนั้นขาดแคลน ทำให้ราคาอ้อยในปัจจุบันจะสูงตามความต้องการและกลไกลตลาดไปด้วย
อ้อยสามารถปลูกได้เกือบทุกภาคของประเทศ มีอายุเก็บเกี่ยว 10-12 เดือน เก็บผลผลิตได้ 2-3 ปี สภาพแวดล้อม พันธุ์ และการบำรุงดูแลรักษาเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มผลิตและคุณภาพของอ้อย
อ้อยสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกประเภท ตั้งแต่ดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย ตอนนี้นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในเขตภาคเหนือแถบจังหวัดกำแพงเพชร สุโขทัย อุทัยธานี เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก
โดยวันนี้ทางผู้เขียนจะนำเทคนิคการทำให้อ้อยโตเร็วเขียวนาน แถมยังลดต้นทุนอีกด้วยของสมาชิกชมรมเกษตรปลอดสารพิษของเรามานำเสนอ เผื่อว่าท่านสมาชิกท่านอื่นๆจะนำเทคนิคนี้ไปปรับใช้ในไร่อ้อยของตัวท่านเองได้
คุณนิภา ฟ้อนบำเรอ อยู่บ้านเลขที่ 62/1 ม.7 ต.น้ำขุม อ.ศรีนคร จ.สุโขทัย ปลูกอ้อยอยู่ 40ไร่ สำหรับเทคนิคที่ว่านี้ของพี่นิภาก็ไม่มีอะไรยุ่งยากเลยครับ ก็แค่ใช้ภูไมท์ซัลเฟต pH 6.5 (กระสอบสีเหลือง) หว่านตอนเตรียมแปลงไร่ละ 2 กระสอบ (40 กก.) เพื่อให้ภูไมท์ซัลเฟตปรับสภาพดินและจับตรึงแร่ธาตุอาหารที่อยู่ในดินไว้รอต้นอ้อย และใส่ภูไมท์ซัลเฟตอีกทีตอนใส่ปุ๋ยยูเรียรอบแรก โดยผสมอัตราส่วน ปุ๋ยยูเรีย 1 กระสอบ ต่อ ภูไมท์ซัลเฟต 1 กระสอบ สูตรผสมปุ๋ยนี้ช่วยทำให้ปุ๋ยยูเรียละลายช้ากว่าปกติ ทำให้การใส่ปุ๋ยรอบสองคุณนิภาไม่ต้องใส่ปุ๋ยเลย เนื่องจากสภาพต้นอ้อยของคุณนิภายังเขียวอยู่เลย ต่างจากปุ๋ยของเกษตรกรใกล้เคียงที่ใส่ปุ๋ยยูเรียอย่างเดียวแค่อาทิตย์เดียวอ้อยก็เริ่มเหลืองแล้ว ทำให้ลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้เป็นอย่างดี
คุณนิภาบอกทางผู้เขียนมาว่าอ้อยที่ปลูกนั้นต่างจากแปลงอ้อยใกล้เคียงที่ปลูกพร้อมๆกันอย่างเห็นได้ชัด ต้นสูงกว่าอย่างเห็นได้ชัด ลำอ้อยใหญ่ น้ำหนักดี ใบเขียวสม่ำเสมอทั่วแปลง เขียวนานกว่าแปลงอื่น ทั้งที่ใส่ปุ๋ยเคมีน้อยกว่า และที่สำคัญอ้อยไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวนเลย
ส่วนแปลงอื่นมีปัญหาเรื่องหนอนกออ้อยระบาดอย่างหนักและเรื่องอ้อยใบเป็นเชื้อราทำให้ใบไหม้ ตอนนี้อ้อยของพี่นิภาใกล้จะตัดแล้วแล้ว ที่ผ่านมาแทบไม่ค่อยมีปัญหาอะไรเลย และจะเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนมีนาคมนี้ ทางผู้เขียนจะไม่ลืมนำข้อมูลผลผลิตอ้อยของคุณนิภามาให้ท่านสมาชิกชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้ทราบกันแน่นอนครับ
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมของคุณนิภา ฟ้อนบำเรอ ได้ที่ คุณจตุโชค จันทรภูมี เจ้าหน้าที่ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ(ผู้ที่เก็บข้อมูล)โทร.085-9205846
เขียนและรายงานโดย : นายจตุโชค จันทรภูมี (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554 เสนอแนะติชม email :
thaigreenagro@gmail.com _________________ <<ไร่อ้อยนภัสสร>> |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
napassorn สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010 ตอบ: 202 ที่อยู่: จ.นครราชสีมา
|
ตอบ: 09/11/2011 6:29 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
สวัสดีครับ..ลุงคิม
และ สมช.ทุกท่าน
ดีใจครับ..ที่สามารถเปิดกระทู้ได้แล้ว _________________ <<ไร่อ้อยนภัสสร>> |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
mongkol สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010 ตอบ: 136
|
ตอบ: 09/11/2011 8:41 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ถ้าน้ำท่วมที่บ้านจะไปอาศัยได้ไหมครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
napassorn สาวดาม
เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2010 ตอบ: 202 ที่อยู่: จ.นครราชสีมา
|
ตอบ: 09/11/2011 9:14 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
mongkol บันทึก: | ถ้าน้ำท่วมที่บ้านจะไปอาศัยได้ไหมครับ |
ยินดีเลย...คุณ หมง
ดูจาก ข่าว สงสารครับ ลำบากมาก _________________ <<ไร่อ้อยนภัสสร>> |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
kongkongna หนาวดึ่ง
เข้าร่วมเมื่อ: 20/04/2013 ตอบ: 1
|
ตอบ: 20/04/2013 8:10 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
Yuth-Jasmine บันทึก: | napassorn บันทึก: | คำพูด: | ต้นกำลัง ยันม่าร์ ๑๐.๕ แรงม้า ปั๊มตู้สำหรับสปริงเกอร์ ๓ นิ้ว รีดเข้าท่อ ๒ นิ้ว
เอาแรงเอาเร็วเข้าว่าน่ะครับ
|
คุณ Yuth อยากรู้ว่า " ความแรงของสปริงเกอร์ " และ รัศมีที่เครื่องทำงาน
ว่าประสิทธิภาพขนาดไหน ??? |
รัศมีทำงานประมาณน่ะครับ ๔๐ เมตร ครับ เปิดสองหัวพร้อมกันครับ
เวลาใช้งานก็วางตามจุดที่ผมลงรูปให้ดูข้างบนน่ะครับพี่
เออจริงสิครับ ความแรงวัดยังไงดีล่ะครับพี่
เอาเป็นว่า น้ำ ๑ คิว เรียบวุธภายในเวลาประมาณ ๕ นาที น่ะครับ
เพราะตามสเป็คแจ้งว่า ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านต่อนาทีน่ะครับ
เท่ากับ ๒๗๒ ลิตร/นาที ครับ ปรับสปริงให้อ่อนที่สุด จะได้สะบัดหัวได้เร็วสุด
เอาไว้ผสมปุ๋ยให้ไปด้วย จะได้ไม่เปลืองครับ เวลาให้น้ำก็ปรับสปริงให้แข็งครับ
หัวสปริงเกอร์ก็จะสะบัดช้าให้น้ำได้นาน ๆ เอาแบบกวาดสองสามรอบน่ะครับ
ไอ้ตัวนี้ปรับองศาการหมุนได้รอบทิศเลยครับ ตั้งแต่แคบแบบ ๑๐ - ๒๐ องศา
ไปจนถึง ๓๖๐ องศาหมุนรอบตัวได้เลย
ผมทำ ๔๐ ไร่ ก็กำลังพอดีต่อการให้น้ำแบบนี้น่ะครับ มือโปรแอบกระซิบว่า
สัดส่วนของน้ำต่อพื้นที่เพาะปลูกประมาณ ไม่เกิน ๕๐ ไร่ ต่อแรงงาน ๒ คน
เวลาทำงานจะพอดี ๆ ครับพี่ ไม่สาหัสจนเกินไป มีเวลาพักบ้างน่ะครับ
หัวสปริงเกอร์ราคาไม่แพงครับ ๑,๕๐๐ บาท ครับ ไม่มีตังค์ซื้อของแพง
แถมอะไหล่มาให้เพียบเลย โคราชก็มีตัวแทนจำหน่ายน่ะครับ
ต้นกำลังเอาแบบที่พี่อ๊อดแนะนำครับ รอบไม่ตก เคยลองเอา ๑๓ แรงเบนซินมา
ทดสอบดู ปรากฏว่า แรงดันน้ำไม่นิ่งครับ สู้เครื่องดีเซลอย่างพี่อ๊อดแนะนำไม่ได้
กำลังคิดว่า ถ้าเป็นดีเซลรถกระบะมือสอง แรงม้าเยอะ ๆ จะเป็นอย่างไรบ้าง
เผื่อจะเพิ่มหัวสปริงเกอร์ได้อีกสัก ๔ - ๕ หัว จะได้ทำงานพร้อมกันและรวดเร็วขึ้น
พี่ๆมีข้อแนะนำอย่างไรบ้างไหมครับ อีกทีก็คงไปขอยืมปั๊มของเจ้าท่าที่เป็นเครื่อง
ดีเซลรถกระบะมาลองให้หายสงสัยกันไปเลย เห็นในต่างประเทศเขาใช้แบบนี้กันทั้งนั้นเลยครับ
ทำงานได้สิบกว่าหัวพร้อมกันเลย เห็นแล้วสวยมากครับ
ไอ้ยู้ดดดดดด...ขะรับ |
พี่ครับอยากทราบเรื่องบิ๊กกันครับอยู่นครสวรรค์ ช่วยแนะนำทีครับพี่ ปลุกข้าวโพดอยู่ครับ
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
|
|