-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 4 ม.ค. * บอนสี มีกี่สายพันธุ์ ?
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
ตอบตอบ: 03/01/2023 4:10 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 4 ม.ค. * บอนสี มีกี่สายพันธุ์ ?

.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 4 ม.ค.

***********************************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย-ยา-ไฟฟ้า-เวลา-ค่าแรง-ค่าที่-อารมย์-เทคนิค-เทคโนฯ-โอกาส-ตลาด-ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....

รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ....... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ..... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ..... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ........ ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปา ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน ... ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา
** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด

*** วันจันทร์ ทุกวันจันทร์ เฉพาะวันจันทร์ สมช.สีสันชีวิตไทย “คุณล่า” (081) 944-8494 ไปที่ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสะดวก ราชบุรี พร้อมกับ ระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ไทเป. ยูเรก้า. ยาน็อค. กับหนังสือหัวใจเกษตรไทย มินิ ไปจำหน่าย....
*** ด้วยประสบการณ์ร่วม 20 ปี พบเห็นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวมามากมาย ใครสนใจใคร่รู้ก็ไปคุยกัน แล้วจะรู้ว่า อ้อออ เป็นอย่างนี้นี่เอง....

*** งานสีสันสัญจรวันเสาร์ เสาร์นี้วันที่ 7 ม.ค. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี, ....
*** งานนี้ ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม หนังสือไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม........ใครไม่ซื้อ ไม่ซื้อแต่แจก แจกหนังสือไม้ผลแนวหน้า คนละ 1 เล่ม


***********************************************************************
***********************************************************************

จาก : 08 623x 797x
ข้อความ : ขอเรื่องบอนสี ทำขายครับ

จาก : 09 187x 241x
ข้อความ : ลุงไม่เคยพูดเรื่องบอนสีเลย บอนสีมีกี่สายพันธุ์คะ


MOTIVATION แรงบันดาลใจ :

ขยายพันธุ์บอนสี ทำขายสร้างรายได้แม้อยู่บ้าน :

ช่วงนี้เทรนด์ไม้ใบสีคงไม่มีอะไรฮิตเท่า “บอนสี” ที่ได้รับสมญานามมาแต่อดีตว่าเป็น “ราชินีแห่งไม้ใบ” ด้วยลวดลายและสีสันของใบที่มีแปลกและแตกต่างกันไปดูไม่เบื่อ นี่คือเหตุผลที่ทำให้บอนสีกลายเป็นไม้ใบยอดฮิตกันในขณะนี้ จนมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ

บอนสีมีรูปใบหลายแบบทั้ง ใบไทย ใบยาว ใบกลม ใบกาบ และใบไผ่ ซึ่งแต่ละประเภทก็มีความหลากหลายของรูปทรงและสีสันที่สวยงามแตกต่างกันไป จนอดใจไม่ไหวต้องหาซื้อมาปลูกสะสมไว้จนเต็มบ้าน และเมื่อมีจำนวนพันธุ์มากมายอย่างนี้ จะมี วิธีขยายพันธุ์บอนสี ไว้จำหน่าย เพื่อสร้างรายได้อย่างไรบ้าง โดยที่ต้นแม่ต้นเดิมยังสวยงามเหมือนเดิมและไม่ล้มตายไป

วันนี้ลองมาเรียนรู้ วิธีขยายพันธุ์บอนสี อย่างง่ายกัน ด้วยวิธีผ่าหัวบอนสีแบบไม่ล้มต้น กันค่ะ ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะสามารถขยายพันธุ์ได้จำนวนมากในระยะเวลาที่สั้นแล้ว ยังมักกลายพันธุ์เกิดเป็นบอนแผลงและบอนป้าย ซึ่งจะมีสีสันและลวดลายที่ต่างไปจากเดิม และทำให้เกิดพันธุ์ใหม่ที่มีราคาสูงขึ้นได้อีกด้วย


Step 1 : เริ่มจาก ล้างหัวบอนที่ต้องการขยายพันธุ์ให้สะอาด อาจใช้แปรงเล็ก ๆ ขัดดินออกให้หมด ระวังอย่าให้เขี้ยวหัก และเป็นแผลถลอก ผึ่งลมให้แห้งในที่ร่ม แล้วตัดโคนต้นให้เหลือส่วนหัวและรากติดอยู่ เพื่อนำไปปลูกต่อ ทาปูนแดงที่บาดแผลส่วนโคนต้นที่มีรากติด ผึ่งให้แห้งก่อนนำไปปลูก

Step 2 : นำหัวไปผ่าเป็นชิ้นเล็ก ๆ ระวังอย่าให้มือสัมผัสน้ำยางในหัวบอน เพราะ อาจทำให้เกิดอาการคันได้

Step 3 : ล้างน้ำยางออกให้สะอาด จนไม่ลื่น สังเกตได้ว่าน้ำจะขุ่นจากน้ำยางที่ละลายออกมา หรืออาจนำไปใส่น้ำแกว่งสารส้ม แล้วทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที

Step 4 : ผึ่งหัวบอนให้พอแห้งในที่ร่ม
Step 5 : นำไปชำในภาชนะ เช่น กะละมังพลาสติกที่บรรจุขุยมะพร้าวที่ผ่านการแช่น้ำแล้วคั้นเอาน้ำสีน้ำตาลออกเหมือนคั่นกะทิ 3-4 ครั้ง กดชื้นบอนเบา ๆ ให้จมลงในขุยมะพร้าวเล็กน้อย ติดป้ายระบุชื่อพันธุ์และวันเดือนปี และจำนวนชิ้นที่ปักชำ อาจฉีดพ่นสารละลายป้องกันกำจัดเชื้อราเพื่อป้องกันชิ้นบอนเน่า

Step 6 : ใช้พลาสติกใสคลุมภาชนะ มัดเชือกให้แน่น เพื่อควบคุมความชื้น และห้ามโดนแสงเลย 25-26 วัน

Step 7 : อีก 3-4 สัปดาห์จะเริ่มผลิยอดเล็ก ๆ
Step 8 : ต่อมา 1-2 สัปดาห์ เมื่อต้นแข็งแรงขึ้น จึงย้ายปลูกลงในกระถางขนาดเล็ก โดยใช้ดินใบก้ามปูที่ผ่านการหมักจนย่อยสลายแล้ว และนำไปวางในกระโจมพลาสติก เพื่อควบคุมความชื้น รอจนต้นบอนผลิใบมากขึ้น ใบมีสีสันมากขึ้นหรือที่เรียกกว่า “กัดสี” จึงพร้อมนำไปจำหน่าย

ตู้พลาสติก เป็นอีกสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการปลูกเลี้ยงบอนสีให้สวยงาม และเมื่อต้องการผลิตเป็นการค้า เพราะจะช่วยควบคุมความชื้นให้สม่ำเสมอ ทำให้ต้นบอนสีแข็งแรงและเติบโตได้สวยงาม ในอดีตทำด้วยโครงไม้ ปัจจุบันทำด้วยโครงเหล็ก และมีซาแรนพรางแสง โดยแต่ละตู้สามารถวางกระถางบอนขนาดเล็กได้หลายร้อยต้น

อาจสร้างตู้พลาสติกบนพื้นปูนซึ่งสะดวกในการควบคุมวัชพืชในกระโจม

ดอกบอนสี เป็นอีกส่วนหนึ่งของต้นบอนที่ช่วยให้นักปลูกเลี้ยงสามารถปรับปรุงพันธุ์ให้มีลักษณะใหม่ ๆ ที่แตกต่างจากเดิม และมีความแข็งแรงทนทานมากขึ้น ปัจจุบันจึงมีบอนสีหลายพันธุ์ที่สามารถปลูกเลี้ยงในสภาพธรรมชาติโดยไม่ต้องอยู่ในตู้พลาสติกแล้ว

เมล็ดบอนสีทีได้จากการผสมเกสร พร้อมนำไปเพาะพันธุ์ เพื่อสร้างพันธุ์ใหม่ ๆ ที่แตกต่างจากเดิม

หลังจากนำเมล็ดมาเพาะ จะเกิดเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ ที่ให้สีสันใบแตกต่างกัน เมื่อต้นกล้าเติบโตจนแน่น นักปลูกเลี้ยงจึงเริ่มคัดเลือกต้นที่คาดการณ์ว่าต้นไหนจะมีลักษณะใบที่หวังไว้ และนำไปปลูกเลี้ยงในภาชนะต่อไป เพื่อรอดูใบที่เติบโตเต็มที่ว่าสวยงามเพียงใด


พันธุ์บอนสี :
“ฟ้อนนางไหม”
บอนใบยาวลูกผสมใหม่จากรังบอนแก่นคร จุดเด่นของพันธุ์นี้คือ ใบที่บิดม้วนคล้ายการฟ้อนรำ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ

“สองฝั่งชี” บอนสีใบยาวลูกผสมใหม่จากรังบอนแก่นนคร มีแผ่นใบหนา ก้านแข็งแรง เส้นใบเป็นร่างแหดูสวยงาม

“ชายชล” บอนสีใบไทย ที่กลายพันธุ์จากพันธุ์อัปสรสวรรค์ เป็นอีกพันธุ์หนึ่งที่เลี้ยงนอกตู้ได้ เพราะ แข็งแรงทนทาน

“ไทยนิยม” บอนใบไทยพื้นใบสีขาว กระดูกสีเขียว เม็ดสีแดงเด่นชัด ก้านแข็งแรง เป็นบอนสีทีสามารถปลูกเลี้ยงนอกตู้พลาสติกได้

“ยูเรนัส” บอนใบกลมลูกผสมจากสวนพิพัฒน์พงษ์ มีแผ่นใบขนาดใหญ่ จุดเด่นของพันธุ์นี้คือเม็ดสีแดงที่ดูโดดเด่นสะดุดตา

“เรือวาสุกรี” เป็นบอนสีพันธุ์เก่าที่เกิดขึ้นมานานกว่าเกือบสี่สิบปีแล้ว
“อุทยานหลวงราชพฤกษ์” ลูกผสมใหม่ของสวนพิพัฒน์พงษ์ ที่เพิ่งตั้งชื่อจดทะเบียนเมื่อปลายปี พ.ศ. 2563 จุดเด่นของพันธุ์นี้คือป้ายสีเขียวอมเหลืองบนใบที่เด่นสะดุดตา

“เมืองเกาะเกร็ด” บอนสีใบไทยที่มีป้ายสีขาวอมเขียวอ่อน ดูคล้ายบอนใบด่าง ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน
“ไผ่ธารสวรรค์” บอนใบไผ่อีกต้นที่มีสีหวาน จุดเด่นของบอนใบไผ่คือ ต้นเตี้ยดูคล้ายบอนแคระ และใบเรียวแหลมคล้ายใบไผ่สมชื่อ ถ้าปลูกในตู้ทรงพุ่มใบจะสวยงามกว่าเลี้ยงนอกตู้

ยังมีเทคนิคการปลูกเลี้ยงบอนสี และบอนสีลูกผสมใหม่ ๆ ที่นักปลูกเลี้ยงบอนสีผลิตขึ้นอีกมากมาย ไว้ให้ผู้ที่ชื่นชอบบอนสีได้ศึกษาเรียนรู้ อ่านเพิ่มเติมในหนังสือ “บอนสี : Caladium” โดยสมาคมบอนสีแห่งประเทศไทย

สั่งซื้อออนไลน์ได้ที่ >>https://bit.ly/3haOsJy
เรื่อง วิฬาร์น้อย
ภาพ อภิรักษ์ สุขสัย
https://www.baanlaesuan.com

รังสีแกรมมา พัฒนาพันธุ์พืช :
เมื่อนำพืชหรือส่วนของพืชที่ใช้ขยายพันธุ์ได้ เช่น เมล็ด ใบ ราก เหง้า ฯลฯ มาฉายรังสีแกมมา รังสีจะถ่ายเทพลังงานให้กับเซลล์พืชก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีขึ้นกับองค์ประกอบต่างๆ ภายในเซลล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสารพันธุกรรมหรือที่เรียกว่ายีน ซึ่งเป็นตัวกำหนดลักษณะต่างๆ ของพืช ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของเซลล์พืช หรือสารพันธุกรรมเปลี่ยนแปลง เนื่องจากได้รับพลังงานจากรังสีแกมมา ก็จะทำให้หน้าที่ที่สารพันธุกรรมนั้นทำอยู่หรือควบคุมบังคับบัญชาอยู่ เปลี่ยนแปลงไปด้วย เมื่อเซลล์นั้นแบ่งตัวพัฒนาเป็นต้นพืชก็จะได้ลักษณะที่ต่างไปจากเดิมเรียกว่าเกิดการกลายพันธุ์ พืชที่มีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นเรียกว่า พันธุ์กลาย ซึ่งสามารถขยายเป็นพืชพันธุ์ใหม่ได้

รังสีแกมมาทำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะต่างๆ หรือควบคุมกระบวนการต่างๆ ภายในเซลล์ของพืช เมื่อมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นจากการเหนี่ยวนำด้วยรังสีแกมมา จะทราบได้อย่างไรว่ามีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นในพืช

จะทราบได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏให้เห็น หรือที่เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงทาง ฟีโนไทป์ของพืช ลักษณะที่ปรากฏอาจเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่นการเปลี่ยนแปลงของสีดอก สีใบ รูปทรงดอก รูปทรงใบ ความสูงของต้นพืชเปลี่ยนไป มีอายุการออกดอก ติดผลเร็วขึ้นหรือช้าลง ซึ่งง่ายต่อการคัดเลือกนำมาใช้ประโยชน์ และไม้ดอกไม้ประดับก็อยู่ในกลุ่มของพืชที่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางฟีโนไทป์จะสามารถใช้ประโยชน์ได้โดยง่าย เนื่องจากไม้ดอกไม้ประดับส่วนใหญ่คุณค่าของพืชอยู่ที่ลักษณะที่ปรากฏแก่สายตาไม่ว่าจะเป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสี หรือรูปร่าง ความแปลก และแตกต่างจากพันธุ์เดิมสามารถนำมาขยายพันธุ์เป็นพันธุ์ใหม่ได้ทันที

การกลายพันธุ์ในบางลักษณะเป็นการกลายพันธุ์ที่ไม่สามารถมองให้เห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น ลักษณะทางปริมาณ หรือคุณภาพ เช่นปริมาณของแป้ง น้ำตาล ไขมัน และโปรตีน ของพืชอาหารโดยลักษณะดังกล่าวเมื่อเกิดการกลายพันธุ์หรือเปลี่ยนแปลงไป ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องมีวิธีการคัดเลือกหรือวิธีการวิเคราะห์โดยเฉพาะ ซึ่งวิธีการจะยุ่งยากและมีขั้นตอนมากกว่าในไม้ดอกไม้ประดับ รวมทั้งต้องใช้ระยะเวลายาวนาน ตัวอย่างเช่น การปรับปรุงพันธุ์ข้าวของไทยโดยใช้รังสีแกมมา ต้องใช้เวลากว่า 10 ปี จึงจะได้พันธุ์ข้าวที่กลายพันธุ์ออกมาเป็นพันธุ์ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก ซึ่งได้แก่ กข 6 และ กข 15

ดังนั้น ไม้ดอกไม้ประดับจึงเป็นพืชที่น่าสนใจในการใช้รังสีแกมมามาเหนี่ยวนำให้กลายพันธุ์เนื่องจากลักษณะที่ต้องการในไม้ดอกไม้ประดับ เกิดการกลายพันธุ์ได้ง่าย หลังจากคัดเลือก ขยายพันธุ์เพิ่มจำนวน ก็สามารถออกเป็นพันธุ์ใหม่ได้โดยง่าย ไม่ต้องผ่านขั้นตอนการทดสอบผลผลิต หรือการรับรองพันธุ์เหมือนอย่างในพืชไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชอาหารที่ต้องใช้เวลานานกว่า มีขั้นตอนและยุงยากมากกว่า

เตรียมส่วนของพืชเพื่อฉายรังสี
พิจารณาว่าพืชที่ต้องการสร้างพันธุ์ใหม่มีวิธีการขยายพันธุ์อย่างไร ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดหรือส่วนอื่นๆ ได้ ให้เลือกส่วนที่ขยายพันธุ์ได้ เช่น เมล็ด หัวใต้ดิน ใบ กิ่ง ราก เหง้า หรือเนื้อเยื่อเพาะเลี้ยงหลักการง่ายๆ คือ เลือกส่วนของพืชที่ใช้ในการขยายพันธุ์ตามปกติ ซึ่งสามารถให้ต้นใหม่ หน่อใหม่ กิ่งใหม่ ได้เมื่อนำออกปลูก

การเปลี่ยนแปลงสีของใบและทรงต้นสีของใบและก้านใบเปลี่ยนไปด้วย เป็นการเปลี่ยนก้านใบและสีใบจากสีแดงเป็นสีเขียวล้วนหรือเป็นใบลาย ใบด่าง เปลี่ยนทรงต้นจากสูงเป็นต้นค่อนข้างเตี้ย

การเปลี่ยนแปลงหลายๆ ลักษณะ เช่น ต้นเตี้ยใบด่างลาย ฟอร์มดอกเปลี่ยน สีดอกเปลี่ยนไปด้วย พันธุ์กลายที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างพร้อมกันอาจไม่สวยงามพอที่จะเป็นพันธุ์ใหม่ ให้สันนิษฐานว่าปริมาณรังสีที่ใช้

ในการฉายรังสีสูงเกินไป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อยีนที่ควบคุมลักษณะต่างๆ หลายยีนด้วยกัน ดังนั้น ปริมาณรังสีที่ใช้ต้องไม่สูงเกินไปที่จะทำให้พืชพิกลพิการ และปริมาณรังสีต้องไม่ต่ำเกินไปจนพืชไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1137&start=0&postdays=0&postorder=asc&highlight=

ในปัจจุบันถึงแม้ว่ารังสีแกมมาจะไม่เป็นที่รู้จักและใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วไปในปัจจุบัน เหมือนอย่างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ ที่คนทั่วไปมักรู้จักกันดี เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ หรือแม้แต่รังสีเอกซ์ ที่มีความคล้ายคลึงกับรังสีแกมมาที่สุดแล้ว เนื่องจากการใช้ประโยชน์ของรังสีแกมมา ไม่ค่อยได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้คนเท่าไร ส่วนใหญ่มักจะใช้ในงานวิจัยและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย แต่คุณสมบัติพิเศษของมันในเรื่องของพลังงานที่สูงกว่าคลื่นชนิดอื่น ๆ จึงทำให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ในงานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

เทคโนโลยีพันธุกรรม (Genetic Technology) :
รังสีแกมมาใช้ในการเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในสิ่งมีชีวิต เพราะมันมีพลังงานสูง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับดีเอ็นเอ โดยปกติสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตมีหน้าที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต เมื่อเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมจะทำให้เกิดหน่วยพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น สีของดอก รูปลักษณะของลำต้น ใบ เป็นต้น

https://th.wikipedia.org

ต้นบอนสีเลี้ยงง่าย แค่รู้วิธี :
ต้นบอนสีทุกชนิดเป็นไม้อวบน้ำที่ชอบน้ำและความชื้นมาก แต่ก็คายความชื้นมาในอากาศได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน ทำให้ต้นบอนสีไม่ชอบแสงแดดเป็นที่สุด เพราะแสงแดดเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้น้ำและความชื้นในดินระเหยหายไปอย่างรวดเร็ว การปลูกไว้ในกระถางดินเผาเพื่อชะลอการระเหยของความชื้นในดินจึงเหมาะกว่าการปลูกในกระถางพลาสติก แต่ใช่ว่าจะชอบดินที่แน่นอุ้มน้ำมาก เพราะเป็นไม้ที่ชอบน้ำจึงควรปลูกด้วยดินร่วนผสมกากมะพร้าวเพื่อให้ยังคงอุ้มน้ำไว้บ้าง อากาศสามารถถ่ายเทเพื่อเติมออกซิเจนให้ดินและรากเพื่อไม่ให้รากและหัวเน่าได้ง่าย

ดิน :
บอนสีเป็นไม้ที่ชอบดินร่วนซุย สามารถระบายน้ำได้เร็ว ดินปลูกควรระบายอากาศได้ดี โดยผสมกาบมะพร้าวสับ หรือแกลบลงไปในดิน และควรเป็นดินที่มีแร่ธาตุ และสารอาหารสูง

น้ำ :
เป็นไม้ที่ต้องการน้ำมากพอสมควร หากปลูกลงดินทั่วไป ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น แต่ไม่ควรฉีดน้ำที่โคนต้นโดยตรง เพราะอาจจะทำให้ต้นบอนสีหักได้ง่าย หากปลูกบอนสีในกระถาง ควรมีจานรองใส่น้ำไว้อย่าปล่อยให้แห้ง

แดด :
ระดับของแสงแดดจะส่งผลต่อสีสัน ลวดลายของบอนสี หากได้รับแสงแดดน้อยเกินไป ใบจะซีดไม่สดใส หากได้แสงแดดมากเกินไป ก็จะทำให้ใบเหี่ยวและไหม้เป็นรอยได้ ควรให้รับแสงแดดที่พอเหมาะ เช่น แสงรำไรในช่วงเช้าและช่วงบ่ายค่อนเย็น ให้อุณหภูมิไม่ร้อนจัดมาก หากได้แดดพอเหมาะ จะทำให้บอนสีมีสีสดใส ใบเข้ม ลวดลายสวยงาม

ความชื้น :
บอนสีเป็นไม้ชอบความชื้น จะเติบโตได้ดีในหน้าฝนที่มีความชื้นในอากาศสูง ส่วนในฤดูหนาวและฤดูร้อนจะไม่ค่อยแตกใบ หากต้องการเลี้ยงบอนสีในฤดูหนาวและฤดูร้อน ควรเลี้ยงในตู้หรือในโรงเรือนหลังคาเตี้ย เพื่อช่วยรักษาระดับความชื้นในอากาศ ที่จะส่งผลให้บอนสีเติบโตสวยงาม

ปุ๋ย :
ใช้ปุ๋ยธรรมชาติหรือปุ๋ยคอก ที่เป็นปุ๋ยจากมูลหมูและมูลไก่จะเหมาะกับบอนสีมากกว่าปุ๋ยมูลวัว หรือใช้ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 16-16-16 ใส่ครั้งละไม่มาก และต้องระวังไม่ให้ปุ๋ยโดนใบบอน เพราะจะทำให้เกิดรอยไหม้ขึ้นมาได้

การขยายพันธุ์บอนสี :
แยกหน่อ :

บอนสีเมื่อโตได้ประมาณ 4 เดือน จะเริ่มออกหน่อที่โผล่พ้นออกมาใหม่ จากบริเวณโคนต้นแม่ เราสามารถขุดแบ่งหน่อไปปลูกใหม่ได้

ผ่าหัว :
หรือเหง้าบอนสีที่มีอายุตั้งแต่ 3 เดือน – 1 ปี สามารถแบ่งผ่าให้มีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร จากนั้นนำไปล้างให้สะอาด แล้วนำไปชำไว้ในกระบะทราย ประมาณ 15 วัน ก็จะงอกขึ้นมา จากนั้นให้นำไปปลูกลงดินหรือลงกระถางได้เลย

ผสมเกสร :
ช่วงเวลาที่บอนสีออกดอกและบานคือหนึ่งทุ่มถึงสองทุ่ม ให้เราทำการผสมเกสรในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ และจะแก่เต็มที่ภายในเวลา 1 เดือน เราก็สามารถนำเมล็ดไปเพาะทรายให้งอกใหม่ได้ ภายในเวลา 15 วัน

เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหรือปั่นตา :
สามารถนำเนื้อเยื่อบอนสีไปเพาะเลี้ยงในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิความชื้น และแสงสว่าง แต่การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ อาจจะทำให้บอนสีกลายพันธุ์ได้สูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์

ต้นบอนสี พืชเศรษฐกิจที่ต่างชาติต้องการ :
อย่างที่รู้กันว่า “ต้นบอนสี” นั้นเป็นพืชมงคลในบ้านเราที่มีความหมายและความเชื่อในทางที่ดีแล้ว ต้นบอนสียังช่วยฟอกอากาศภายในห้องโดยการคายความชื้นออกมาในอากาศ ช่วยให้ภายในห้องหรืออาคารที่ปลูกนั้นสดชื่นขึ้นอีกด้วย แถมเป็นพืชเศรษฐกิจที่เป็นที่ต้องการของต่างชาติ โดยความนิยมในต้นบอนสีของต่างชาติและคนไทยเรานั้นแตกต่างกันมาก โดยคนไทยจะนิยมปลูกต้นบอนสีที่มีใบด่าง สีสันสวยงาม แต่ในต่างประเทศนั้นจะนิยมบอนที่มีใบสีเขียวหรือเหลืองมากกว่าสีสันฉูดฉาด ราคาในตลาดต่างประเทศมีตั้งแต่หลักสิบและสูงสุดถึง 40,000 บาทเลยก็ว่าได้

“ต้นบอนสี” หาง่าย ราคาดี :
เพราะเป็นต้นไม้ประดับที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนานและมีเกษตรกรเพาะพันธุ์ขายเป็นจำนวนมาก จึงไม่เป็นเรื่องยากที่จะหาซื้อต้นบอนสีได้ตามท้องตลาดต้นไม้ทั่วไป แนะนำให้ซื้อตามท้องตลาดหรือตลาดนัดต้นไม้ดีกว่า ด้วยความที่ต้นบอนสีมีลายบนใบไม่ตายตัว ทำให้เราควรไปเห็นด้วยตาดีกว่าสั่งซื้อออนไลน์ แต่การสั่งซื้อออนไลน์ก็ไม่ได้แย่ทั้งหมด เพราะสะดวกสบาย ไม่ต้องออกไปข้างนอกให้วุ่นวายอีกด้วย บางร้านอาจจะส่งทั้งต้นและกระถางรวมมาด้วย แต่บางร้านก็จะจัดส่งมาแค่เฉพาะหัวมาให้เราลงดินเอง ราคาของต้นบอนสีนั้นไม่แพงเลย มีตั้งแต่หลักสิบจนถึงหลักร้อยนั้นเอง

แหล่งอ้างอิง :
https://guru.sanook.com/2627/
https://kaset.today

ปลูกบอนสี สูตรลุงคิม :
เตรียมดิน :
อินทรีย์วัตถุ ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ
ทางใบ : ไบโออิ 25-5-5 + ยาน็อค
ทางราก : ระเบิดเถิดเทิง 8-24-24

------------------------------------------------------------------------------------


.