ผู้ส่ง |
ข้อความ |
salata |
ตอบ: 01/08/2010 9:02 pm ชื่อกระทู้: |
|
ขอโทษค่ะ ลืมบอก ว่าตอนนี้ได้ซื้อต้นเบาบับหรือต้นขวด สายพันธุ์มาจากแอฟริกา เป็นต้นไม้ใหญ่มาก อยากทำเหมือนต้นดอกชวนชม (ตระกูลเดี่ยวกับ ต้นงิ้ว ต้นทุเรียน) ตอนนี้อายุ ประมาณ 3เดือน
ก็คิดจะขายต้นไม้เป็นงานอดิเรกบางทีอาจจะเป็นงานหลักก็ได้ อยากทำที่ไม่เหมือนใครและให้มีความพิเศษกับต้นไม้ค่ะ(เพราะคนขายต้นไม้เยอะมากเลยอยากลองความสามารถของตัวเองดู)
แต่ต้องอาศัยความรู้จากผู้ชำนาญด้านพืช กับ อาหารต้นไม้ ค่ะ และใกล้จะถึงเทศกาลงานดอกไม้บานที่เชียงรายแล้ว อยากจะนำต้นไม้สมุนไพร และไม้มงคล ออกขายค่ะ
ขอบคุณค่ะ |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 01/08/2010 5:42 pm ชื่อกระทู้: |
|
แล้วมันต้นอะไรล่ะ ระบุชื่อมาเลย เพราะไม้แต่ละอย่างแต่ละชนิดธรรมชาติไม่เหมือนกัน
บางอย่างคงทำไม่ได้ ขืนทำมีหวังตายสถานเดียว
คิดอะไรอยู่น่ะ
ลุงคิมครับผม |
|
|
salata |
ตอบ: 01/08/2010 4:00 pm ชื่อกระทู้: |
|
ขอบคุณมาก ๆๆๆ ค่ะลุงคิม สูตรที่ลุงคิมมีหมดเลยเพราะซื้อมากจาก คาราวานสีสันชีวิตไทย
แล้วได้ผลอย่างไงจะเอาภาพมาให้ดูนะคะ
ปล.ลุงคิมคะถ้าเราอยากบอนไซต้นไม้ เราจะต้องทำอย่างไรบ้างคะ เพราะไม่มีความรู้เลยค่ะ ได้ยินแต่เขาพูดกัน แล้วต้นไม้ต้อง อายุเท่าไหรค่ะ
ขอบคุณค่ะที่ให้ข้อมูลเพราะมีประโยชน์มาก ๆที่สุดเลยค่ะ
ขอบคุณค่ะ |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 31/07/2010 8:50 pm ชื่อกระทู้: |
|
ได้ครับ....ฮอร์โมนขยายขนาดให้ ไม้ใบ = ใบใหญ่, ไม้ดอก = ดอกใหญ่, ไม้ผล = ผลใหญ่, ไม้เถา= เถาใหญ่
... ฮอร์โมนทางใบขยายขนาดที่ได้ผลเร็วก็มี ไคโตซาน. สาหร่ายทะเล. เอ็นเอเอ. อมิโนโปรตีน.....
... ปุ๋ยทางใบขยายขนาดก็คือ 21-7-14 ชนิดให้ทางใบ (เกร็ด/น้ำ).....
... ปุ๋ยทางรากขยายขนาดก็คือ 25-7-7 ชนิดเม็ด......โกสน.ถูกกันมากๆ กับกระดูกสัตว์
ลองตัวนี้หน่อยซี่ "น้ำมะพร้าวแก่ + ไคโตซาน + ธาตุรอง/ธาตุเสริม + สาหร่ายทะเล + แคลเซียม โบรอน" สูตรนี้เป็นชุดใหญ่ แต่ถ้าจะใช้ชุดเล็ก "น้ำมะพร้าวแก่" อย่างเดียวก็ได้นะ
ลองดูนะ
ลุงคิมครับผม |
|
|
salata |
ตอบ: 31/07/2010 7:59 pm ชื่อกระทู้: |
|
ต้องขอบคุณมากนะคะลุงคิมที่หาคำตอบมาให้เพราะสงสัยมานานแล้ว คำตอบเลยกระจ่างแล้วค่ะ
ปล. ลุงคิมคะแล้วถ้าประเภท โกสน จากที่พันธุ์ใบกลมเล็ก แล้วเราเอาฮอร์โมนขยายขนาดมาฉีดพ่นจะเป็นไปได้ไหมคะว่าใบจะใหญ่กว่าเดิม
ขอบคุณค่ะ salata |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 31/07/2010 5:17 pm ชื่อกระทู้: |
|
ยืนยันคำตอบตามคุณ THUMSIRI บอกนั่นแหละ คือ เป็นเรื่องทาง "พันธุกรรม" กับ "เทคโนโลยีรังสี" เท่านั้น จึงเอาข้อมูลที่หาได้ตามเว้บทั่วๆ ไปมาให้...... ส่วนวิธีการที่เป็นแบบ "ภูมิปัญญาพื้นบ้าน" ขอเรียนตามตรงว่า "ไม่มี" .....
ลุงคิมครับผม |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 31/07/2010 3:18 pm ชื่อกระทู้: |
|
รังสีแกรมม่า พัฒนาพันธุ์พืชได้อย่าไง ?
เมื่อนำพืชหรือส่วนของพืชที่ใช้ขยายพันธุ์ได้ เช่น เมล็ด ใบ ราก เหง้า ฯลฯ มาฉายรังสีแกมมา รังสีจะถ่ายเทพลังงานให้กับเซลล์พืชก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีขึ้นกับองค์ประกอบต่างๆ ภายในเซลล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสารพันธุกรรมหรือที่เรียกว่ายีน ซึ่งเป็นตัวกำหนดลักษณะต่างๆ ของพืช ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของเซลล์พืช หรือสารพันธุกรรมเปลี่ยนแปลงเนื่องจากได้รับพลังงานจากรังสีแกมมา ก็จะทำให้หน้าที่ที่สารพันธุกรรมนั้นทำอยู่หรือควบคุมบังคับบัญชาอยู่ เปลี่ยนแปลงไปด้วย เมื่อเซลล์นั้นแบ่งตัวพัฒนาเป็นต้นพืชก็จะได้ลักษณะที่ต่างไปจากเดิมเรียกว่า
เกิดการกลายพันธุ์ พืชที่มีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นเรียกว่า พันธุ์กลาย ซึ่งสามารถขยายเป็นพืชพันธุ์ใหม่ได้
รังสีแกมมาทำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะต่างๆ หรือควบคุมกระบวนการต่างๆ ภายในเซลล์ของพืช เมื่อมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นจากการเหนี่ยวนำด้วยรังสีแกมมา จะทราบได้อย่างไรว่ามีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นในพืช
จะทราบได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏให้เห็น หรือที่เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงทาง ฟีโนไทป์ของพืช ลักษณะที่ปรากฏอาจเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่นการเปลี่ยนแปลงของสีดอก สีใบ รูปทรงดอก รูปทรงใบ ความสูงของต้นพืชเปลี่ยนไป มีอายุการออกดอก ติดผลเร็วขึ้นหรือช้าลง ซึ่งง่ายต่อการคัดเลือกนำมาใช้ประโยชน์ และไม้ดอกไม้ประดับก็อยู่ในกลุ่มของพืชที่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางฟีโนไทป์จะสามารถใช้ประโยชน์ได้โดยง่าย เนื่องจากไม้ดอกไม้ประดับส่วนใหญ่คุณค่าของพืชอยู่ที่ลักษณะที่ปรากฏแก่สายตาไม่ว่าจะเป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสี หรือรูปร่าง ความแปลก และแตกต่างจากพันธุ์เดิมสามารถนำมาขยายพันธุ์เป็นพันธุ์ใหม่ได้ทันที
การกลายพันธุ์ในบางลักษณะเป็นการกลายพันธุ์ที่ไม่สามารถมองให้เห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น ลักษณะทางปริมาณ หรือคุณภาพ เช่นปริมาณของแป้ง น้ำตาล ไขมัน และโปรตีน ของพืชอาหารโดยลักษณะดังกล่าวเมื่อเกิดการกลายพันธุ์หรือเปลี่ยนแปลงไป ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องมีวิธีการคัดเลือกหรือวิธีการวิเคราะห์โดยเฉพาะ ซึ่งวิธีการจะยุ่งยากและมีขั้นตอนมากกว่าในไม้ดอกไม้ประดับ รวมทั้งต้องใช้ระยะเวลายาวนาน ตัวอย่างเช่น การปรับปรุงพันธุ์ข้าวของไทยโดยใช้รังสีแกมมา ต้องใช้เวลากว่า 10 ปี จึงจะได้พันธุ์ข้าวที่กลายพันธุ์ออกมาเป็นพันธุ์ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก ซึ่งได้แก่ กข 6 และ กข 15
ดังนั้น ไม้ดอกไม้ประดับจึงเป็นพืชที่น่าสนใจในการใช้รังสีแกมมามาเหนี่ยวนำให้กลายพันธุ์เนื่องจากลักษณะที่ต้องการในไม้ดอกไม้ประดับ เกิดการกลายพันธุ์ได้ง่าย หลังจากคัดเลือก ขยายพันธุ์เพิ่มจำนวน ก็สามารถออกเป็นพันธุ์ใหม่ได้โดยง่าย ไม่ต้องผ่านขั้นตอนการทดสอบผลผลิต หรือการรับรองพันธุ์เหมือนอย่างในพืชไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชอาหารที่ต้องใช้เวลานานกว่า มีขั้นตอนและยุงยากมากกว่า
เตรียมส่วนของพืชเพื่อฉายรังสี
พิจารณาว่าพืชที่ต้องการสร้างพันธุ์ใหม่มีวิธีการขยายพันธุ์อย่างไร ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดหรือส่วนอื่นๆ ได้ ให้เลือกส่วนที่ขยายพันธุ์ได้ เช่น เมล็ด หัวใต้ดิน ใบ กิ่ง ราก เหง้า หรือเนื้อเยื่อเพาะเลี้ยงหลักการง่ายๆ คือ เลือกส่วนของพืชที่ใช้ในการขยายพันธุ์ตามปกติ ซึ่งสามารถให้ต้นใหม่ หน่อใหม่ กิ่งใหม่ ได้เมื่อนำออกปลูก
ตัวอย่าง
พุทธรักษา - เตรียมเหง้า(ไรโซม) และหน่อจำนวนประมาณ 50 เหง้าเพื่อเตรียมการฉายรังสี
ปทุมมา - เตรียมเหง้าหรือหัวของปทุมมา จำนวน 50 หัวเพื่อเตรียมการฉายรังสี
นำเหง้า และหน่อของพุทธรักษา หรือเหง้า หรือหัวใต้ดินของปทุมมา เข้าฉายรังสีโดยเครื่องฉายรังสีแกมมา มาร์ควัน หรือใช้ห้องฉายรังสี ปริมาณรังสีที่ใช้ 2,000 - 3,000 แรด
เหง้าและหน่อพุทธรักษา
เหง้าหรือหัวของปทุมมา
นำเหง้าและหน่อของพุทธรักษา และเหง้าหรือหัวของปทุมมา ลงปลูกในกระถาง หรือในแปลงที่เตรียมดินเรียบร้อยแล้ว
ดูแลการให้น้ำ กำจัดวัชพืชตามปกติเพื่อให้พุทธรักษา และปทุมมาเจริญเติบโตเกิดต้นใหม่ และหน่อใหม่
เมื่อพุทธรักษา และปทุมมาเจริญเติบโตจนถึงระยะให้ดอกบาน ตรวจสอบลักษณะช่อดอก สีดอก ว่าแตกต่างจากพันธุ์เดิมหรือไม่
หน่อที่เกิดหน่อแรกอาจไม่พบการกลายพันธุ์ แต่จะพบในหน่อที่เกิดหน่อที่ 2 หรือหน่อที่ 3 เป็นต้นไปพุทธรักษาเท่าที่ศึกษาพบว่า ตรวจพบการกลายพันธุ์ได้เร็วที่สุดประมาณ 6 เดือน ที่พบช้าที่สุดประมาณ 18 เดือน หลังจากการฉายรังสี
ให้แยกพันธุ์กลายออกจากกอเดิม นำออกปลูกลงกระถาง เพื่อขยายพันธุ์และตรวจสอบว่ายังคงลักษณะที่กลายพันธุ์อยู่หรือไม่ พุทธรักษาที่แยกออกมามีบางส่วนที่สูญเสียลักษณะที่กลายพันธุ์ไป โดยกลับคืนเป็นลักษณะของพันธุ์เดิม แต่ส่วนใหญ่แล้วเมื่อแยกออกมาจากกอเดิมก็จะให้หน่อใหม่ ต้นใหม่ที่ยังคงลักษณะของพันธุ์กลายไว้ได้
การเปลี่ยนเฉพาะสีดอก ลักษณะสีที่ได้มักจะเป็นสีที่จางกว่าพันธุ์เดิม ออกลักษณะใส หวาน โดยที่ลักษณะของกลีบดอก ช่อดอก หรือทรงต้น คล้ายคลึงพันธุ์เดิมเช่นการเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีเหลือง สีชมพู เปลี่ยนเป็นขาวครีม สีแดงเข้มกระแดง เปลี่ยนเป็นสีชมพูอมเหลืองสดใส
การเปลี่ยนฟอร์มของดอก นอกจากการเปลี่ยนของสีแล้ว บ่อยครั้งที่พบว่าจะมีการเปลี่ยนฟอร์มของดอกและลักษณะกลีบดอกด้วย โดยขนาดของดอกและกลีบดอกเล็กลงกว่าพันธุ์เดิม
การเปลี่ยนแปลงสีของใบและทรงต้นสีของใบและก้านใบเปลี่ยนไปด้วย เป็นการเปลี่ยนก้านใบและสีใบจากสีแดงเป็นสีเขียวล้วนหรือเป็นใบลาย ใบด่าง เปลี่ยนทรงต้นจากสูงเป็นต้นค่อนข้างเตี้ย
การเปลี่ยนแปลงหลายๆ ลักษณะ เช่น ต้นเตี้ยใบด่างลาย ฟอร์มดอกเปลี่ยน สีดอกเปลี่ยนไปด้วย พันธุ์กลายที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างพร้อมกันอาจไม่สวยงามพอที่จะเป็นพันธุ์ใหม่ ให้สันนิษฐานว่าปริมาณรังสีที่ใช้
ในการฉายรังสีสูงเกินไป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อยีนที่ควบคุมลักษณะต่างๆ หลายยีนด้วยกัน ดังนั้น ปริมาณรังสีที่ใช้ต้องไม่สูงเกินไปที่จะทำให้พืชพิกลพิการ และปริมาณรังสีต้องไม่ต่ำเกินไปจนพืชไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง
dokmaiclub.com/webboard/index.php?topic=17.0 - |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 31/07/2010 3:00 pm ชื่อกระทู้: |
|
จันทน์ผา ของเกษตรอำเภอบ้านลาด เพชรบุรี ปลูกมาก ขายได้ราคา โชคดีมีต้นด่าง
จันทน์ผา เป็นไม้ป่าชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พบตามป่าเขาสูง ปัจจุบันถือว่าเป็นไม้ประดับเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าได้มากทีเดียว
ผู้คนนิยมนำไปปลูกเป็นไม้ประดับประจำบ้าน ซึ่งถือว่าเป็นไม้มงคลมีคุณค่าทางจิตใจ บ้านไหนปลูกแล้วออกดอกจะถือว่าเป็นสิริมงคลนำโชคมาให้ บางบ้านก็ปลูกไว้เพื่อเสริมบารมี แต่ของป่าก็มีข้อหวงห้าม หน่วยงานราชการห้ามนำของป่าออกมาจำหน่ายหรือปลูกเลี้ยง จึงเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับนักสะสมพันธุ์ไม้ที่ต้องการนำไม้ป่าตระกูลนี้มาปลูกเลี้ยง
แต่ปัญหานี้ก็หมดไป เพราะมีเกษตรกรหลายท่านสามารถเพาะเมล็ดพันธุ์จันทน์ผาได้ และจำหน่ายให้แก่เกษตรกรผู้ที่สนใจ สามารถนำต้นพันธุ์หรือเมล็ดพันธุ์ไปปลูกเป็นไม้ประดับประจำบ้านได้ ผู้ที่จะนำเรื่องราวมาเล่าให้ฟังในวันนี้คือ คุณชาญณรงค์ พวงสั้น
ปัจจุบัน คุณชาญณรงค์ ทำงานประจำรับราชการในตำแหน่งเกษตรอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 69 หมู่ที่ 7 ตำบลวังจันทร์ อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นสถานที่พักของครอบครัว และพักผ่อนยามเหนื่อยล้าจากการทำงานหนัก โดยส่วนตัวแล้วเกษตรอำเภอท่านนี้ ชื่นชอบต้นไม้เป็นชีวิตจิตใจ รู้จักจันทน์ผามาตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษาอยู่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี เห็นต้นจันทน์ผามาตั้งแต่สมัยนั้น
คุณชาญณรงค์ บอกว่า จันทน์ผา รูปทรงสวยงาม แถมชื่อก็ไพเราะจับหูเหลือเกิน และสงสัยว่าทำไมจันทน์ผาจึงโตช้า พอจบการศึกษาก็สอบเข้ารับราชการ ทำงานในสายงานด้านการเกษตรที่ตนร่ำเรียนมา
อาชีพข้าราชการเงินเดือนก็ไม่พอจับจ่ายใช้สอยสักเท่าใดนัก ด้วยความที่ตนมีความถนัดด้านการเกษตร และใจชอบเป็นทุนเดิม เลยทำให้ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพเสริม อาศัยประสบการณ์และการเรียนรู้จึงยึดอาชีพทำสวนป่าแบบผสมผสานเพื่อที่จะนำมาสู่ความยั่งยืนต่อรุ่นลูกหลานในอนาคต
สวนผสมผสานหมายถึง การปลูกพืชหลายชนิดแซมบนพื้นที่เดียวกัน เกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกัน เพื่อให้ธรรมชาติเป็นตัวจัดการสมดุลสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญสามารถจัดการความเสี่ยงด้านผลผลิต อันได้แก่ ปลูกไม้ยืนต้น (สัก) ประเภทไม้ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว และปลูกไม้ประดับ (จันทน์ผา จันทน์หอม จันทน์หนู เป็นต้น) แซมเพื่อสร้างรายได้ในระยะสั้น นี่คือ วิธีการที่คุณณรงค์เลือกใช้
จันทน์ผา มาจากไหน!
ถามว่า ได้ต้นจันทน์ผามาจากไหน คำตอบที่ได้รับมีอยู่ว่า "ผมก็นำออกมาจากป่าแถวนี้แหละครับ จากเขื่อนแก่งกระจานบ้าง จากชาวบ้านแถบละแวกนี้ด้วย แต่กรณีนี้ไม่ผิดกฎหมายนะ เพราะส่วนที่ผมนำมาไม่มากเกินข้อห้วงห้ามทางกฎหมาย ผมนำมาเพื่อปลูกและขยายพันธุ์ให้เป็นที่แพร่หลาย ไม่มีเจตนาที่จะนำของป่ามาเลี้ยงเพื่อการค้าแต่อย่างใด"
เหตุผลอีกประการที่คุณชาญณรงค์นำจันทน์ผามาปลูกเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์ ก็คือ นักสะสมพันธุ์ไม้มักจะชอบของสวยงาม แม้นว่าอยู่ที่ไหนก็จะสรรหามา ให้สมกับความอยาก โดยเฉพาะตามป่าเขาสูง สู้ราคากันแทบไม่ต้องต่อรอง แม้ว่าจะแพงแสนแพง ต่างก็ยื้อแย่งมาครอบครอง ดังนั้น จึงทำให้เกิดการลักลอบซื้อขายของป่า เพื่อเป็นการตัดปัญหานี้ ตนจึงใช้วิธีการขยายพันธุ์ต้นจันทน์ผาด้วยการเพาะเมล็ด ผลปรากฏว่าประสบความสำเร็จ ต้นจันทน์ผาที่ได้มีลักษณะสวยงาม เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทั่วไป
เมื่อสามารถปลูกและขยายพันธุ์จันทน์ผาได้ คุณชาญณรงค์ ก็เริ่มขยายพื้นที่การปลูก จนปัจจุบันนี้มีพื้นที่ปลูกกว่า 20 ไร่ สภาพพื้นที่ปลูกอยู่บนเขาสูง มีหินภูเขาในปริมาณมาก หากสังเกตสภาพอากาศบริเวณนี้จะเห็นว่าแห้งแล้ง แต่ก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยไม้นานาพรรณ
นอกจากจะปลูกต้นจันทน์ผาแล้ว เจ้าของก็ปลูกต้นสักร่วมด้วย ดินที่นี่เป็นดินทรายแดง ไม่อุ้มน้ำ ส่วนน้ำนั้นไม่มีความจำเป็นสำหรับจันทน์ผาเลย เพราะเป็นไม้ประดับที่ทนความแห้งแล้งได้ดี
การดูแลรักษาจันทน์ผาได้เปรียบกว่าไม้ประดับชนิดอื่นๆ ในส่วนนี้แหละ ไม่จำเป็นต้องดูแลอะไรมากมาย ปุ๋ยก็ไม่ต้องการ เพียงเศษใบของลำต้นที่ร่วงหล่นลงสู่พื้นดินก็เพียงพอแล้ว ถ้าอยากให้ได้รูปทรงที่สวยงามแตกหน่อเป็นหลายหน่อก็ใช้วิธีการชักนำ โดยใช้มีดตัด หรือปล่อยให้แตกเองตามธรรมชาติยิ่งดี
คุณชาญณรงค์ เล่าให้ฟังว่า จันทน์ผาเป็นไม้โตช้า เหมาะสำหรับใช้ในการจัดสวน แต่นักจัดสวนไม่ค่อยให้ความสำคัญในการนำจันทน์ผามาใช้เป็นไม้ประดับนัก เหตุผลเพราะว่าเป็นไม้ป่าและมีราคาสูง ความโดดเด่นของจันทน์ผาจะอยู่ตรงฟอร์มของลำต้น หากจะจัดบริเวณสระน้ำ ก็ควรจะผลักให้ลำต้นเอนเอียงราบไปกับพื้นก็จะสวยงามไปอีกแบบ หากปลูกตามบ้านก็นิยมปลูกเป็นต้นเดียวโดยไม่ปล่อยให้แตกกิ่ง
สำหรับจันทน์ผาที่เหมาะจะนำมาปลูกตามสวนประดับบ้าน อายุที่เหมาะสมประมาณ 5-10 ปี เมื่อมีอายุถึง 5 ปี ก็จะออกดอกและมีเมล็ด หนึ่งช่อมีเมล็ดอยู่ จำนวน 1,000 เมล็ด หากต้นไหนที่สมบูรณ์ก็จะมีเมล็ดพันธุ์มากถึง 5,000 เมล็ด
จันทน์ผาด่าง ราคาสูง
มีอีกเรื่องสำคัญที่จะเล่าสู่กันฟังคือ จันทน์ผาด่าง เป็นที่นิยมของนักสะสมพันธุ์ไม้ในปัจจุบัน ลักษณะต้นด่างเกิดจากการกลายพันธุ์ของจันทน์ผาเขียวทั่วไป เมื่อนำเมล็ดพันธุ์มาเพาะปลูกปรากฏว่าต้นจันทน์ผารุ่นลูกเกิดคล้ายเป็นโรค
จันทน์ผาด่าง เจริญเติบโตได้ดีเหมือนจันทน์ผาเขียวทั่วไป ลักษณะที่ผู้เขียนได้พบเห็นมามี 3 ลักษณะ คือ
หนึ่ง...บริเวณกาบใบมีลายด่างสลับเขียว เหลือง ตามแนวยาวตลอดทั้งใบ
สอง...บริเวณกาบใบมีลักษณะด่างสีเหลืองอยู่ขนาบข้างของใบตรงกลางจะมีสีเขียว
และสาม...บริเวณกาบใบจะมีลักษณะด่างเป็นสีเหลืองตามแนวยาวครึ่งใบ ส่วนอีกครึ่งเป็นสีเขียว ส่วนลักษณะลำต้นก็เหมือนจันทน์ผาเขียวปกติทั่วไป เหล่านี้คือ ความโดดเด่นของจันทน์ผาด่างที่แตกต่างจากจันทน์ผาเขียว
เมื่อกล่าวถึงในส่วนของการเลี้ยงดูและการใช้ประโยชน์แล้ว ต่อไปจะมาพูดถึงเรื่องราคากันบ้าง เจ้าของบอกว่า จันทน์ผาที่สวนของตนก็สามารถจำหน่ายได้ หากมีคนสนใจหรืออยากได้ต้นไหนก็สามารถมาเลือกซื้อได้ตามแต่ใจชอบ ส่วนราคานั้นก็ขึ้นอยู่กับช่วงอายุต้น และการแตกกิ่ง ยิ่งอายุมากแตกกิ่ง 7-9 หน่อ ราคาก็ยิ่งสูง จำหน่ายกันตั้งแต่ต้นอายุ 1 ปีขึ้นจนถึงอายุ 10-20 ปี ช่วงอายุ 10-20 ปี จะเป็นที่ต้องการของคนรักต้นไม้
เมล็ดพันธุ์ จำหน่ายเมล็ดละ 1 บาท บางกรณีมีคนสนใจอยากนำไปปลูก ตนก็จัดส่งผ่านทางไปรษณีย์ ส่วนต้นใหญ่หากอยากได้ก็ต้องมาขนเองที่สวน ราคาสามารถตกลงกันได้ สำหรับต้นจันทน์ผาด่างจะมีราคาสูงเป็นพิเศษ อย่างต้นที่เห็นในภาพที่เจ้าของถ่ายคู่ด้วยนั้นอายุ 5 ปี ราคาประมาณ 50,000 บาท ราคาแตกต่างจากจันทน์ผาเขียวประมาณ 10 เท่า ส่วนต้นใหญ่ที่เห็นในภาพแตกกิ่งหน่อหลายกิ่งนั้น อายุราว 60 ปี มีคนมาให้ราคากว่า 200,000 บาท เจ้าของยังไม่ขาย เพราะเจ้าของหวงมาก
สำหรับจันทน์ผาในปัจจุบัน เริ่มเป็นที่นิยมของผู้ปลูกเลี้ยง แต่หากเปรียบเทียบกับพืชตระกูลปาล์มประดับเห็นจะมีกันเกลื่อน
ตลาดจันทน์ผาจะราคาดีกว่า จันทน์ผาเป็นไม้ป่าที่หายาก จึงน่าสนใจที่จะเพาะพันธุ์ทำเป็นอาชีพเสริม เรื่องกฎหมายข้อหวงห้ามนั้น เจ้าของบอกว่า น่าจะเปลี่ยนจากการหวงห้ามมาเป็นการส่งเสริมให้มีการปลูกเลี้ยงกันมากขึ้นจะเป็นการดีกว่า เพราะจะได้ไม่ต้องลำบากไปนำของป่ามาปลูกเลี้ยง และโอกาสในการพัฒนาเป็นไม้ประดับส่งนอกก็น่าสนอยู่ ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาที่จะชักชวนให้นำของป่าห้วงห้ามมาใช้ในทางที่ผิดหรอกนะ แต่ถ้าหากว่าเรานำออกมาในจำนวนน้อยแล้วสามารถขยายพันธุ์ให้ได้ในปริมาณมาก ความอยากที่จะได้ของป่าก็เบนเป้าหมายมาที่หาได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป ไม่ดีกว่าหรือ
หากเกษตรกรท่านใดที่กำลังมองหาอาชีพเสริมกันอยู่ ก็ลองติดต่อไปพูคคุยแลกเปลี่ยนทรรศนะกับคุณชาญณรงค์ได้ตามที่อยู่ที่ให้ไว้ หรืออยากได้จันทน์ผาด่างมาเลี้ยงไว้สักต้นเสริมบารมี สามารถติดต่อได้ที่โทร. (081) 705-7911 หรือจะไปเดินดูที่ตลาดนัดจตุจักรก็ได้ แต่เป็นตลาดนัดเปิดใหม่นะ เจ้าของเพิ่งนำพันธุ์จันทน์ผาไปวางตลาดเมื่อ 3 เดือน ที่ผ่านมานี้เอง
ชื่อพื้นเมือง จันทน์ผา จันทน์แดง ลักกะจันทน์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dracaena Louriei Gagnep
ชื่อวงศ์ Dracaenaceae
กระจายพันธุ์ ประเทศเขตร้อนทั่วไป พบบนภูเขาหินปูนหรือลูกรังทั่วทุกภาคของไทย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง
ลักษณะ
ต้น ไม้ขนาดเล็ก สูง 3-7 เมตร ไม่ผลัดใบ บางครั้งมีลักษณะเป็นทรงพุ่มเรือนยอด ลำต้นตรง เปลือกต้นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตามยาว โตช้า ชอบแดดจัด ทนแล้ง ไม่ชอบน้ำขังแฉะ
ใบ ใบเดี่ยว ยาวเรียวแคบ กว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 45-60 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ก้านใบเป็นกาบหุ้มซ้อนทับกันรอบต้น
ดอก เป็นช่อดอกขนาดใหญ่ ออกบริเวณซอกใบ กลีบดอก 6 กลีบ สีขาวนวล กลางดอกมีจุดสีแดง มีกลิ่นหอม ออกดอกราวเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม
ผล ทรงกลม ขนาดเล็ก เป็นพวงสีเขียว เมื่อสุกสีแดงคล้ำ
ประโยชน์ เนื้อไม้ที่มีเชื้อราลงจะมีสีแดงเข้ม เรียกว่า จันทน์แดง ใช้เป็นยาเย็นดับไข้ แก่น เป็นส่วนผสมในน้ำยาอุทัย ใช้ทำยาหอม ช่วยบำรุงหัวใจ ฝนทาภายนอกแก้ฟกช้ำ ฝี บวม
ภาวิณี สุดาปัน
ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 31/07/2010 2:42 pm ชื่อกระทู้: |
|
"พุดซ้อนด่าง"ใบสวยเด่น
ไม้ดอกในตระกูล "พุด" มีหลายชนิด รวมทั้ง "พุดซ้อนด่าง" ซึ่งนิยมปลูกใช้ในงานด้านภูมิทัศน์ ไม่เฉพาะใบที่โดดเด่น หรือดอกที่มีกลิ่นหอมใช้ปักแจกันไหว้พระ สรรพคุณทางยาก็มี
สอนเทคนิคการทำให้นุ่มมี40สูตรแถมVCD จากร้านอาหารดังทั่วปท.ทำกินดี-ขายดี
www.chotethanachote.co.thใบใช้ตำพอกแก้ปวดศีรษะ แก้เคล็ดขัดยอก ดอกคั้นน้ำทาแก้โรคผิวหนัง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ ในวงศ์ RUBIACEAE สูง 2-5 เมตร ทรงพุ่มกลม ค่อนข้างหนาทึบ เปลือกสีน้ำตาลดำ ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่กลับ กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ ผิวใบจะสวยเด่น เพราะเป็นใบลายด่างสีเขียวเข้มตัดสีเขียวอ่อนถึงขาวนวล ดูแล้วสวยงาม ดอก สีขาว มีกลิ่นหอมนาน ออกดอกเดี่ยวที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกซ้อน บิดเวียนเป็นเกลียว บานเต็มที่กว้าง 5-8 เซนติเมตร ออกดอกทั้งปี ผล มีทั้งผลสั้น ผลยาว รูปไข่ถึงรูปแกมรูปขอบขนาน เมื่อแก่สีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดด้านในจำนวนมาก ขยายพันธุ์ ตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง เติบโตเร็วในดินร่วนระบายน้ำได้ดี ความชื้นปานกลาง และแสงแดดเต็มวัน
www.komchadluek.net › เกษตร › ไม้ดีมีประโยชน์
อาซาเลียดอกด่าง สวยแปลก
โดยทั่วไปแล้ว อาซาเลียจะมีดอกเป็นสีล้วนๆ ไม่มีแต้มไม่มีด่าง มีด้วยกันหลายสี เช่น สีขาว ชมพู และสีแดง มีทั้งชนิดกลีบดอกชั้นเดียวและหลายชั้น คนส่วนใหญ่รู้จักอาซาเลียเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงนี้อาซาเลียกำลังมีดอกเบ่งบาน มีต้นวางขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ซื้อหาไปมอบเป็นของขวัญได้ถูกใจทั้งผู้ให้ และผู้รับ
แต่ อาซาเลียดอกด่าง เป็น สายพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ในประเทศไทย เป็นชนิดที่มีกลีบดอกชั้นเดียว สีของกลีบดอกจะเป็น 2 สี (ปกติเป็นสีขาวล้วน) โดย บริเวณกลีบดอกจะมีลายสีชมพูแต้มเป็นทางยาวจากโคนกลีบไปจนจดปลายกลีบสวยงาม แปลกตามาก ที่สำคัญเวลามีดอกจะทิ้งใบหมดต้น ทำให้ดูน่ารักยิ่งขึ้น
อาซาเลียดอกด่าง หรือ RHODODENDRON HYBRID (AZALEA) อยู่ในวงศ์ ERICA-CEAE เป็นไม้พุ่ม สูงตั้งแต่ครึ่งเมตรไปจนถึง 2 เมตร (พันธุ์ทั่วไปสูงได้ตั้งแต่ 4-10 เมตร) แตกกิ่งก้านกว้าง เปลือกต้นเรียบ เป็นสีนํ้าตาลเทา จัดอยู่ในจำพวกไม้ ผลัดใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามเป็นคู่ๆ ออกหนาแน่นบริเวณปลายยอด ใบเป็นรูปรีแกมรูปไข่กลับ ปลายใบมนกว้าง โคนใบป้านลึก เนื้อใบค่อนข้างหนาและแข็ง ผิวใบเรียบสีเขียวสดและเป็นมัน
ดอก ออกเป็นช่อกระจะ ออกที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย 3-5 ดอก ซึ่งดอกของ อาซาเลียดอกด่าง เป็นชนิดพันธุ์ที่มีกลีบดอกชั้นเดียว ดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายบานเป็นปากแตรและแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบแหลม เป็นสีขาว มีลายสีชมพูแทงขึ้นจากโคนกลีบดอกไปจนถึงปลายกลีบดอกตามที่กล่าวข้างต้น ดอกเมื่อบานเต็มที่เส้นผ่า ศูนย์กลางประมาณ 3 นิ้วฟุต เวลามีดอกดก และดอกบานสะพรั่งพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามมาก ดอกบานได้ทนนานหลายวัน ดอกออกช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมกราคม ปีถัดไป ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง
ปัจจุบัน อาซาเลียดอกด่าง มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 8 แผง คุณเผือก ราคาสอบถามกันเอง การปลูกเติบโตได้ดีทางภาคเหนือ ตอนบนของประเทศ ไทย และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชอบอากาศหนาวเย็นครับ.
นายเกษตร
thaifolk.blogspot.com/ - |
|
|
kimzagass |
ตอบ: 31/07/2010 2:36 pm ชื่อกระทู้: |
|
ปรับปรุงพันธุ์ 'พุทธรักษา' ด้วยการฉายรังสี
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 53
ผู้ที่ผ่านเข้ามาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จะพบความงดงามของดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ชูช่อดอกสีต่าง ๆ อยู่บนเกาะกลางถนน มีทั้ง สีแดงเข้ม แดงสด ส้มเข้ม ส้มอ่อน เหลืองเข้ม เหลืองอ่อน ชมพูเข้ม จนกระทั่งสีขาวครีม สีปูนแห้ง สีเหลืองทอง กระแดง กระเหลือง กระเหลืองปื้นแดง ที่กระจายอยู่บนพื้นกลีบดอกสีเหลืองหรือขาว สีแดงขลิบรอบกลีบดอกด้วยสีเหลืองทอง หรือกลีบดอกสีแสดสดใส มีขนาดช่อดอกตั้งแต่เล็ก กลางและใหญ่ มีรูปร่างใบ ขนาดใบและสีสันลวดลายบนใบหลากหลายแบบ มีสีใบตั้งแต่สีแดงเข้มปนม่วงแดง ไปจนถึงใบสีแดงปนเขียว ใบด่างลายเขียว-ขาว เขียวลายเหลือง เขียวอ่อน จนกระทั่งเขียวเข้ม ไม้ดอกที่มีลักษณะดังกล่าวนี้มีนามที่ไพเราะและเป็นมงคลว่า พุทธรักษา
พุทธรักษา เป็นพืชที่คนไทยนิยมปลูก ชื่อภาษาไทยของพุทธรักษานั้นไม่มีบันทึกไว้ว่าใครเป็นผู้ตั้ง หลวงบุเรศบำรุงการได้เขียนเกี่ยวกับพุทธรักษาไว้ว่าเป็นพืชดั้งเดิมของอินเดีย มีชื่อว่า พุทธสรณะ แปลว่าพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ชาวพุทธในอินเดียสมัยก่อนใช้เมล็ดพุทธรักษาหรือเมล็ดพุทธสรณะ มาเจาะรูร้อยเป็นพวงลูกประคำใช้ประกอบการสวดมนต์ สันนิษฐานว่าชาวอินเดียที่เข้ามาเผยแผ่พุทธศาสนาในประเทศไทยคงนำพุทธรักษามายังประเทศไทยด้วย เพราะชื่อยังคงเกือบเหมือนเดิมคือพุทธสรณะเป็นพุทธรักษา
พุทธรักษาเป็นพรรณไม้ที่มีชื่อเป็นสิริมงคลและมีความหมายที่ดีมาก เพราะหมายถึงการมีพระเจ้าหรือพระพุทธเจ้าคอยปกป้องคุ้มครองรักษาให้อยู่เย็นเป็นสุข
พุทธรักษา เป็นพรรณไม้ล้มลุกขึ้นเป็นกอ มีอายุหลายปี เนื้ออ่อนอวบน้ำ ลำต้นมีความสูงหลายระดับ ตั้งแต่ต้นเตี้ยจนกระทั่งสูงเป็นเมตร แล้วแต่พันธุ์ มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่าเหง้า มีการเจริญเติบโตโดยแตกหน่อเป็นกอคล้ายกับกล้วย ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับกันรอบลำ สีของแผ่นใบมีตั้งแต่สีเขียวเข้ม เขียวอ่อน แดง น้ำตาล น้ำตาลแดง หรือลายสลับสีซึ่งจัดเป็นพวกใบด่าง ซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะประจำพันธุ์ ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ดอกมีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก ขึ้นอยู่กับพันธุ์ ผล มีลักษณะกลมมีหนามอ่อน ๆ สีเขียว เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ภายในมีเมล็ดแข็งรูปทรงกลมจำนวนหลายเมล็ด ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ซึ่งเกิดจากการผสมตัวเองหรือผสมข้าม หรือโดยการแยกหน่อ พุทธรักษาหลายพันธุ์ไม่ติดเมล็ด จึงไม่สามารถขยายพันธุ์โดยเมล็ด ต้องใช้วิธีการแยกหน่อหรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเข้าช่วย
พุทธรักษาที่มีการติดเมล็ดในธรรมชาติได้ดี สามารถใช้วิธีการผสมข้ามพันธุ์เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ได้ จึงสามารถสร้างลูกผสมได้โดยใช้แหล่งพันธุกรรมที่มีอยู่ในธรรมชาติ แต่พวกที่มีดอกขนาดใหญ่มักมีปัญหาเรื่องการเป็นหมันสูง ไม่ติดเมล็ด การได้พันธุ์ใหม่ไม่สามารถทำได้จากการผสมพันธุ์ มีทางเดียวที่จะได้พันธุ์ใหม่คือคอยให้เกิดการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาแต่เกิดในอัตราที่ต่ำและใช้ระยะเวลานานกว่าจะได้พันธุ์ใหม่ออกมา การที่จะทำให้มีการกลายพันธุ์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเกิดขึ้นในอัตราที่สูงจึงต้องนำเอาเทคนิคการเหนี่ยวนำให้กลายพันธุ์เข้ามาช่วย และสิ่งที่เหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์ที่ดีที่สุดของพุทธรักษาก็คือรังสีแกมมา ศูนย์บริการฉายรังสีแกมมาและวิจัยนิวเคลียร์เทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ร่วมกันปรับปรุงพันธุ์พุทธรักษาโดยการเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยการฉายรังสีแกมมา ทำให้ได้พุทธรักษาพันธุ์ใหม่ (พันธุ์กลาย) ที่มีลักษณะแปลกใหม่ สวยงาม แตกต่างไปจากพันธุ์เดิมหลากหลายพันธุ์ โดยนำเหง้าและหน่อพุทธรักษาเข้าฉายรังสีแกมมา ด้วยเครื่องฉายรังสีแกมมา ในปริมาณ 15-30 เกรย์
จากนั้นนำพุทธรักษาที่ฉายรังสีแล้วไปปลูก เมื่อพุทธรักษามีการสร้างหน่อใหม่และออกดอก ตรวจสอบลักษณะที่เปลี่ยนแปลงหรือกลายไปจากเดิม แยกต้นกลายออกมาปลูก เพื่อให้เกิดหน่อใหม่ หากหน่อใหม่ยังมีลักษณะกลายตามที่ตรวจพบ ก็จะได้พันธุ์ใหม่ที่คงตัวและขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนต่อไปได้ เป็นประโยชน์ในทางสันติอย่างหนึ่งของการนำพลังงานนิวเคลียร์หรือรังสีมาใช้ ในการปรับปรุงพันธุ์พืช
ปัจจุบันได้ขอขึ้นทะเบียนพันธุ์พืช ไว้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้ว จำนวน 37 พันธุ์ ในจำนวนพันธุ์ใหม่ที่คัดได้ มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะต่าง ๆ หลายรูปแบบ ได้แก่ สีดอก รูปทรงดอก ขนาดดอก ความหนาของกลีบดอก สีใบ รูปร่างใบ ความหนาใบ ตลอดจนความสูงของต้น
ผู้สนใจสอบถามได้ที่ ศูนย์บริการฉายรังสีแกมมาและวิจัยนิวเคลียร์เทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน โทร. 0-2942-8652.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2553
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=347&contentID=46295 |
|
|
thumsiri |
ตอบ: 31/07/2010 10:37 am ชื่อกระทู้: |
|
ต้นไม้ที่โดนฉายรังสี
ต้นไม้ต้นนี้ดอกด่างเพราะโดนฉายรังสี การฉายรังสีก็เพื่อให้เกิดอาการด่างหรือกลายพันธุ์
รอเทคนิคดี ๆ จากลุงดีกว่า...เนอะ... |
|
|
salata |
ตอบ: 31/07/2010 8:20 am ชื่อกระทู้: ถามลุงคิม เรื่องไม้ประดับใบด่าง ? |
|
สวัสดีค่ะเป็นสมาชิกใหม่นะคะ แต่รู้จักลุงคิมมานานแล้วค่ะ
ตอนนี้อยากถามลุงคิมว่า ไม้ใบที่ไม่ด่าง
เราทำให้มันด่างได้ไหมค่ะ ลุงคิมมีเทคนิคจะบอกไหมค่ะ
ขอบคุณค่ะ |
|
|