ปุ๋ย-สารประกอบที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช
2.1 ปุ๋ย คืออะไร ?
ปัจจุบันบุคคลส่วนใหญ่ทั้งในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตรรวมถึงผู้บริหารประเทศบางท่านมีความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่าปุ๋ยยังไม่ถูกต้องครบถ้วนนัก ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจากบุคคลบางกลุ่ม โดยเฉพาะแนวความคิดที่ชักนำให้เข้าใจกันผิดๆว่าปุ๋ยเคมีเป็นสารประเภทเดียวกับสารกำจัดศัตรูพืช จึงก่อให้เกิดกระแสสังคมที่ต้านการใช้ปุ๋ยเคมี และส่งเสริมให้หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ประเภทต่างๆแทน แท้จริงแล้วปุ๋ยเคมี คือสารประกอบอนินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืชเพียงแต่ผ่านกระบวนการผลิตทางเคมี เมื่อนำมาใส่ลงไปในดินที่มีความชื้น สารประกอบเหล่านี้จะละลายและพืชสามารถดูดกินไปใช้ในการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตได้
ปุ๋ยเคมีคือสารประกอบอนินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืช
ในขณะที่ สารกำจัดศัตรูพืช นั้น เป็นสารประกอบอินทรีย์ซึ่งเป็นพิษกับแมลงและศัตรูพืชหลายชนิด (ภาพที่ 2.2) หากใช้อย่างไม่ระมัดระวังอาจเป็นพิษต่อสุขภาพของผู้ใช้และผู้บริโภคผลผลิตได้ เช่นสารกำจัดศัตรูพืชบางชนิดใช้แล้วต้องทิ้งไว้ 20 วัน จึงจะเก็บเกี่ยวได้ แต่เกษตรกรผู้ปลูกได้เก็บเกี่ยวพืชก่อนถึงวันที่กำหนดจึงทำให้มีสารพิษตกค้างอยู่ในผลผลิตและเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้
สารกำจัดศัตรูพืชคือสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นพิษต่อแมลงและศัตรูพืชต่างๆ
ส่วนปุ๋ยอินทรีย์นั้นหมายถึงสารประกอบที่ได้จากสิ่งมีชีวิต (ภาพที่ 2.3) ได้แก่พืช สัตว์ จุลินทรีย์ โดยผ่านกระบวนการผลิตทางธรรมชาติ มีประโยชน์ในการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินเป็นต้นว่า ทำให้ดินโปร่ง ร่วน ซุย เพิ่มความสามารถในการระบายน้ำและอากาศ ทำให้การชอนไชของรากเพื่อหาธาตุอาหารง่ายขึ้น ส่วนเรื่องปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์นั้นก็พอมีอยู่บ้าง แต่มีอยู่ในปริมาณที่น้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของสารประกอบอินทรีย์เช่น มีธาตุไนโตรเจนอยู่ในสารประกอบจำพวกโปรตีน แต่เมื่อใส่ลงไปในดิน สารประกอบเหล่านี้ไม่สามารถเป็นประโยชน์กับพืชได้ทันที จำเป็นต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินเสียก่อน โดยสุดท้ายจะปลดปล่อยธาตุอาหารในรูปสารประกอบอนินทรีย์ชนิดเดียวกับปุ๋ยเคมี
ปุ๋ยอินทรีย์คือสารประกอบที่ได้จากสิ่งที่มีชีวิต
การนำปุ๋ยอินทรีย์มาใช้โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อชดเชยธาตุอาหารในดินที่หายไปกับการเก็บเกี่ยวผลผลิตออกจากพื้นที่จึงจำเป็นต้องใช้ในปริมาณมหาศาล และการปรับปริมาณการใช้เพื่อให้เกิดความสมดุลของแต่ละธาตุทำได้ลำบาก ยากต่อการปฏิบัติของเกษตรกรโดยทั่วไป ดังนั้นแนวทางที่ดีและเหมาะสมสำหรับการใช้ที่ดินผลิตพืชเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดบนรากฐานที่ยั่งยืนควรมีการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมกับการจัดการที่ถูกต้อง เหมาะสม ประหยัด และมีประสิทธิภาพ
ปุ๋ยคือวัสดุที่ใส่ลงไปในดินเพื่อเพิ่มเติมธาตุอาหารให้กับพืช
ปุ๋ยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
2.2.1 ปุ๋ยเคมี :
เป็นสารประกอบที่ผลิตจากกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมี ธาตุอาหารที่มีอยู่ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปที่พืชดูดกินได้ทันทีเมื่อละลายน้ำ หรือใส่ลงดิน เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ ฯลฯ เป็นต้น ปุ๋ยเคมีสามารถแบ่งได้เป็น
(1) ปุ๋ยไนโตรเจนได้แก่ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารไนโตรเจนเป็นหลัก เช่น ปุ๋ยยูเรีย ซึ่งมีธาตุไนโตรเจน 46% หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ซึ่งมีธาตุไนโตรเจน21%
(2) ปุ๋ยฟอสฟอรัส ได้แก่ปุ๋ยที่ให้ธาตุฟอสฟอรัสเป็นหลักได้แก่ ปุ๋ยทริปเปิลซุปเปอร์ฟอสเฟตซึ่งมีฟอสฟอรัส 46% หรือปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต ซึ่งมีฟอสฟอรัส 46% และมีไนโตรเจน 18%
(3) ปุ๋ยโพแทสเซียม ได้แก่ปุ๋ยที่ให้โพแทสเซียมเป็นหลักได้แก่ ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์มีโพแทสเซียม 60% หรือปุ๋ยโพแทสเซียมซัลเฟตมีโพแทสเซียม 50%
2.2.2 ปุ๋ยอินทรีย์ :
เป็นวัสดุที่ได้มาจากสิ่งที่มีชีวิต ธาตุอาหารส่วนใหญ่อยู่ในรูปที่พืชดูดกินไม่ได้ ต้องผ่านการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์เสียก่อน เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด เลือดแห้ง เศษเนื้อพังผืด กากเมล็ดฝ้าย กากเมล็ดละหุ่ง กากน้ำปลา กระดูกป่น หินฟอสเฟต ฯลฯ เป็นต้น
การบ่งบอกปริมาณธาตุอาหารหลักในปุ๋ยเคมี
บนฉลากปุ๋ยเคมีทุกชนิดจะระบุปริมาณธาตุอาหารหลักเป็นตัวเลข 3 จำนวนเรียงกันเรียกว่า “สูตรปุ๋ย” โดยตัวเลขจะหมายถึง % โดยน้ำหนักของไนโตรเจน-ฟอสฟอรัส-โพแทสเซียม หรือ เอ็น-พี-เค เรียงตามลำดับ ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยสูตร 13-0-46 แสดงว่ามีไนโตรเจน 13% ไม่มีฟอสฟอรัส และมีโพแทสเซียม 46% สำหรับธาตุอาหารอื่นๆ ในปุ๋ยเคมี ผู้ผลิตจะระบุหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าระบุก็จะเขียนบอกบนฉลากปุ๋ยว่ามีธาตุอะไรบ้าง และมีเท่าไร รูปของธาตุอาหารหลักในปุ๋ยเคมี
2.4.1 ไนโตรเจน (เอ็น):
ในปุ๋ยเคมีอาจจะอยู่ในรูปแอมโมเนียมหรือไนเตรตหรือยูเรีย ปริมาณไนโตรเจนในสูตรปุ๋ย หมายถึงปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดที่มีอยู่ในปุ๋ยเคมี เมื่อใส่ลงไปในดิน พืชสามารถดูดกินได้ทันที
2.4.2 ฟอสฟอรัส (พี):
ในปุ๋ยเคมีอาจจะมีอยู่ทั้งในรูปที่พืชดูดกินได้ที่เรียกว่า รูปที่เป็นประโยชน์ และบางส่วนอาจจะอยู่ในรูปที่พืชดูดกินไม่ได้ ตัวเลขที่บอกปริมาณฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยจะหมายถึง เฉพาะรูปที่เป็นประโยชน์เท่านั้น ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยหินฟอสเฟตบด ถ้ามีฟอสฟอรัสทั้งหมด 30% แต่อยู่ในรูปที่พืชดูดกินได้ เพียง 3% ก็จะมีสูตรเป็น 0-3-0 เท่านั้น
2.4.3 โพแทสเซียม (เค):
ในปุ๋ยเคมีก็อาจจะมีอยู่ทั้งในรูปที่พืชดูดกินได้ หรือที่เรียกว่า รูปที่ละลายน้ำได้ และรูปที่พืชดูดกินไม่ได้ ซึ่งตัวเลขในสูตรปุ๋ยก็จะหมายถึงเฉพาะรูปที่พืชดูดกินได้เท่านั้น
ข้อดีและข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์-ปุ๋ยเคมี
ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์ |
ข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์ |
1. ช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น |
1. ปริมาณธาตุอาหารต่ำ |
2. อยู่ในดินนาน (ค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหาร) |
2. ใช้เวลานานกว่าจะเป็นประโยชน์ |
3. ส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์ดีขึ้น |
3. ราคาแพงต่อหน่วยธาตุอาหารพืช |
4. ส่งเสริมสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดิน |
4. หายาก |
5. มีจุลธาตุ |
|
ข้อดีของปุ๋ยเคมี |
ข้อเสียของปุ๋ยเคมี |
1. มีปริมาณธาตุอาหารสูงมาก (ใช้นิดเดียวก็เพียงพอ) |
1. ปุ๋ยพวกแอมโมเนียมทำให้ดินเป็นกรด |
2. ราคาถูก |
2. ไม่มีคุณสมบัติปรับปรุงดิน |
3. หาง่าย |
3. มีความเค็ม |
4. ใช้ง่าย |
4. การใช้ต้องการความรู้พอสมควร |
5. ให้ผลเร็ว |
|
ปุ๋ยปลอมและปุ๋ยด้อยมาตรฐานเป็นอย่างไร ?
เนื่องจากประเทศไทยยังผลิตปุ๋ยเคมีได้ในปริมาณไม่เพียงพอต่อการใช้ จึงต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศมาจำหน่าย หรือมาผสมเป็นปุ๋ยผสมสูตรต่างๆ ทำให้ปุ๋ยเคมีมีราคาแพง อีกทั้งปุ๋ยเคมีมีสีสัน และลักษณะเม็ดปุ๋ยแตกต่างไปได้หลายแบบ ไม่สามารถสังเกตได้ว่ามีธาตุอาหารอยู่หรือไม่ ทำให้มีผู้ผลิต "ปุ๋ยปลอม" ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ไม่มีธาตุอาหารเลย หรือผลิต "ปุ๋ยด้อยมาตรฐาน" ซึ่งเป็นปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุอาหารไม่ตรงตามสูตรปุ๋ยและโดยปกติจะมีปริมาณน้อยกว่าตัวเลขในสูตรปุ๋ยมาก เกษตรกรที่ซื้อปุ๋ยปลอมและปุ๋ยด้อยมาตรฐานไปใช้ ก็จะไม่ได้ผลหรือได้ผลน้อย และขาดทุน การตรวจสอบปุ๋ยปลอม และปุ๋ยด้อยมาตรฐานทำได้อย่างไร
การที่จะบอกว่าปุ๋ยเคมีเป็นปุ๋ยปลอม หรือปุ๋ยด้อยมาตรฐานหรือไม่ เราไม่สามารถสังเกตได้จากกลิ่น สี รูปร่างลักษณะเม็ดปุ๋ย การละลายน้ำ หรือความรู้สึกเย็นเมื่อสัมผัส การตรวจสอบจะต้องทำโดยวิธีการทางเคมีเท่านั้น ซึ่งวิธีการนี้แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
2.7.1 การตรวจสอบอย่างละเอียด เป็นการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ วิธีการวิเคราะห์ยุ่งยาก ใช้เครื่องมือราคาแพง ต้องใช้นักวิชาการที่มีความรู้ความชำนาญ ใช้เวลานาน และค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์แพงมาก แต่ผลที่ได้ละเอียดถูกต้องดี เป็นการตรวจสอบเพื่อรับรองธาตุอาหารในปุ๋ยตามกฎหมาย
2.7.2 การตรวจสอบแบบรวดเร็ว เป็นวิธีทางเคมีที่ดัดแปลงให้ง่ายขึ้น ใช้เวลาน้อย เกษตรกรตรวจสอบเองได้ และที่สำคัญค่าใช้จ่ายถูกกว่ากันมาก อย่างไรก็ตามวิธีนี้ไม่ละเอียดพอที่จะใช้ตรวจสอบอ้างอิงในทางกฎหมาย แต่ตรวจสอบได้ว่าปลอมหรือด้อยมาตรฐานหรือไม่ เพื่อเกษตรกรจะได้เลือกใช้ปุ๋ยที่ดี และถูกต้อง ชุดตรวจสอบปุ๋ยเคมี มก. 4 เป็นชุดตรวจสอบปุ๋ยเคมีแบบรวดเร็ว ซึ่งได้ผลิตโดย คณะนักวิจัยของ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สามารถใช้ตรวจสอบปุ๋ยปลอม หรือปุ๋ยด้อย มาตรฐานได้ แต่ไม่ใช่วิธีที่ใช้ตรวจสอบเพื่อรับรองธาตุอาหารในปุ๋ยตามกฎหมาย
วิธีการผสมปุ๋ย
2.8.1 การผสมปุ๋ยเพื่อให้ได้ตามสูตรที่ต้องการ เกษตรกรควรรู้จักผสมปุ๋ยใช้เอง โดยใช้แม่ปุ๋ยที่หาซื้อได้ในท้องตลาด ซึ่งอาจเป็น 18-46-0, 16-20-0 หรือ 15-15-15 และเติมธาตุอาหารที่ขาดหายไป โดยใช้ปุ๋ย 0-0-60 หรือ 46-0-0 เป็นต้น ตัวอย่างข้างล่างเป็นการผสมปุ๋ยสูตร 15-20-15 จากแม่ปุ๋ย 3 ชนิด คือ 18-46-0, 0-0-60 และ 46-0-0
|
|
|
|
|
ต้องการผสมปุ๋ย |
15-20-15 |
|
โดยมีแม่ปุ๋ย 3 ชนิด คือ |
DAP (18-46-0) |
|
|
|
|
KCl (0-0-60) |
|
|
|
|
Urea (46-0-0) |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปุ๋ย DAP (18-46-0) หมายความว่า |
|
|
ฟอสฟอรัส 46 กก. มาจากปุ๋ย 18-46-0 |
เท่ากับ |
100 กก. |
|
|
|
ถ้าต้องการฟอสฟอรัส 20 กก. จะต้องใช้ปุ๋ย 18-46-0 |
เท่ากับ |
|
= 43.5 กก. |
|
|
ปุ๋ย 18-46-0 100 กก. มี ไนโตรเจน |
เท่ากับ |
18 กก. |
|
|
|
ฉะนั้น ปุ๋ย 18-46-0 43.5 กก. มี ไนโตรเจน |
เท่ากับ |
|
= 7.8 กก. |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปุ๋ย KCl (0-0-60) หมายความว่า |
|
|
โพแทสเซียม 60 กก. มาจากปุ๋ย 0-0-60 |
เท่ากับ |
100 กก. |
|
|
|
ถ้าต้องการโพแทสเซียม 15 กก. จะต้องใช้ปุ๋ย 0-0-60 |
เท่ากับ |
|
= 25 กก. |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ได้ไนโตรเจนจาก 18-46-0 เท่ากับ 7.8 กก. |
|
|
ต้องการผสมปุ๋ยให้มีไนโตรเจน 15 กก. ดังนั้นต้องเพิ่มไนโตรเจนอีก 7.2 กก. |
|
ปุ๋ย (46-0-0) หมายความว่า |
|
|
ไนโตรเจน 46 กก. มาจากปุ๋ย 46-0-0 |
เท่ากับ |
100 กก. |
|
|
|
ถ้าต้องการไนโตรเจน 7.2 กก. จะต้องใช้ปุ๋ย 46-0-0 |
เท่ากับ |
|
= 15.6 กก. |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ดังนั้นให้ผสมปุ๋ย |
18-46-0 |
43.5 กก |
|
|
|
|
0-0-60 |
25 กก. |
|
|
|
|
และยูเรีย |
15.6 กก. |
|
|
|
|
|
|
= 84.1 กก. |
|
|
ใส่สารตัวเติมอีก |
|
100-84.1 |
= 15.9 กก. |
|
|
|
|
|
|
|
|
ได้สูตร 15-20-15 ถ้าไม่ใส่สารตัวเติมสูตรก็จะเปลี่ยนเป็น 17.8-23.8-17.8 |
|
|
|
|
|
|
|
|
2.8.2 การผสมปุ๋ยตามคำแนะนำที่ได้ โดยใช้ปุ๋ยสูตรที่มีจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด คือ 16-20-0,
0-0-60 และ 46-0-0 เช่น
|
|
|
|
|
|
|
คำแนะนำปุ๋ยคือ 8 - 4 – 8 กก.ไร่ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
แบ่งใส่เป็นสองครั้ง รวม (N-P-K) |
8-4-8 กก. ไร่ |
|
|
|
|
ครั้งที่ 1 (N-P-K) |
3.2 – 4 – 8 กก.ไร่ |
|
|
|
|
ครั้งที่ 2 (N-P-K) |
4.8 – 0– 0 กก.ไร่ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปุ๋ย 16-20-0 หมายความว่า |
|
|
ฟอสฟอรัส 20 กก. มาจากปุ๋ย 16-20-0 |
เท่ากับ |
100 กก. |
|
|
|
ถ้าต้องการฟอสฟอรัส 4 กก. จะต้องใช้ปุ๋ย 16-20-0 |
เท่ากับ |
|
= 43.5 กก. |
|
|
ปุ๋ย 16-20-0 100 กก. มีไนโตรเจน |
เท่ากับ |
16 กก. |
|
|
|
ดังนั้นปุ๋ย 16-20-0 20 กก. มีไนโตรเจน |
เท่ากับ |
|
= 3.2 กก. |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปุ๋ย 0-0-60 หมายความว่า |
|
|
โพแทสเซียม 60 กก. มาจากปุ๋ย 0-0-60 |
เท่ากับ |
100 กก. |
|
|
|
ถ้าต้องการโพแทสเซียม 8 กก. จะต้องใช้ปุ๋ย 0-0-60 |
เท่ากับ |
|
= 13.3 กก. |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปุ๋ย 46-0-0 หมายความว่า |
|
|
ไนโตรเจน 46 กก. มาจากปุ๋ย 46-0-0 |
เท่ากับ |
100 กก. |
|
|
|
ถ้าต้องการไนโตรเจน 4.8 กก. จะต้องใช้ปุ๋ย 46-0-0 |
เท่ากับ |
|
= 10.4 กก. |
|
|
|
|
|
|
|
ดังนั้นให้ผสม 16-20-0 จำนวน 20 กก. + 0-0-60 จำนวน 13 กก. เป็นปุ๋ยครั้งที่ 1 ซึ่งจะได้ธาตุอาหาร 3.2-4-8 กก./ไร่ และให้ใส่ปุ๋ย 46-0-0 ครั้งที่ 2 จำนวน 10.4 กก./ไร่ จะได้ธาตุอาหารตามคำแนะนำคือ 8-4-8 กก./ไร่
การคำนวณราคาปุ๋ย
เกษตรกรมักพิจารณาราคาปุ๋ยโดยเทียบราคาปุ๋ยต่อ 1 หน่วยน้ำหนักของปุ๋ย ที่ถูกต้องแล้วจะต้องเทียบราคาของปุ๋ยต่อน้ำหนักธาตุอาหาร 1 หน่วย ตามตัวอย่างข้างล่าง
|
|
|
|
|
2.9.1 เปรียบเทียบราคาปุ๋ย 46-0-0 และปุ๋ย 21-0-0 |
|
|
|
|
|
|
1 ปุ๋ย 46-0-0 ราคาตันละ 13,400 บาท |
ปุ๋ย 46-0-0 หมายความว่า ปุ๋ย 1,000 กก. มี |
|
ไนโตรเจน 460 กก. ราคา |
= |
13,400 |
บาท |
|
|
ฉะนั้น ไนโตรเจน 1 กก. |
= |
|
|
|
|
|
= |
29.1 |
บาท |
|
|
2 ปุ๋ย 21-0-0 ราคาตันละ 8,000 บาท |
ปุ๋ย 21-0-0 หมายความว่า ปุ๋ย 1,000 กก. มี |
|
ไนโตรเจน 210 กก. ราคา |
= |
8,000 |
บาท |
|
|
ฉะนั้น ไนโตรเจน 1 กก. |
= |
|
|
|
|
|
= |
38.1 |
บาท |
|
|
|
|
|
|
|
|
ดังนั้นปุ๋ย 21-0-0 มีราคาแพงกว่าปุ๋ย 46-0-0 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
2.9.2 เปรียบเทียบราคาปุ๋ย 15-15-15 และปุ๋ย 16-20-0 |
|
|
|
|
|
|
1 ปุ๋ย 15-15-15 ราคาตันละ 12,000 บาท |
ปุ๋ย 15-15-15 หมายความว่า ปุ๋ย 1,000 กก. มี |
|
ธาตุอาหาร 450 กก. ราคา |
= |
12,000 |
บาท |
|
|
ฉะนั้น ธาตุอาหาร 1 กก. |
= |
|
|
|
|
|
= |
26.6 |
บาท |
|
|
2 ปุ๋ย 16-20-0 ราคาตันละ 11,000 บาท |
ปุ๋ย 16-20-0 หมายความว่า ปุ๋ย 1,000 กก. มี |
|
ธาตุอาหาร 360 กก. ราคา |
= |
11,000 |
บาท |
|
|
ฉะนั้น ธาตุอาหาร 1 กก. |
= |
|
|
|
|
|
= |
30.5 |
บาท |
|
|
|
|
|
|
|
|
ดังนั้นปุ๋ย 16-20-0 มีราคาแพงกว่าปุ๋ย 15-15-15 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
2.9.3 คำนวณราคาปุ๋ยอินทรีย์ |
|
|
|
|
|
|
วิธีคำนวณ |
ปุ๋ยอินทรีย์ (2-1-0) ราคาตันละ 3,000 บาท |
|
|
ปุ๋ย 1,000 กก. มีธาตุอาหาร 30 กก. ราคา |
= |
3,000 |
บาท |
|
|
ฉะนั้น ธาตุอาหาร 1 กก. |
= |
|
|
|
|
|
= |
100 |
บาท |
|
|
|
|
|
|
|
|
ดังนั้นจะเห็นว่าปุ๋ยอินทรีย์มีราคาแพงมาก เมื่อเทียบราคาธาตุอาหาร 1 หน่วย ในปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ย อนินทรีย์ นอกจากนั้นปริมาณธาตุอาหาร 30 กก. ในปุ๋ยอินทรีย์ 1 ตันนั้นพืชไม่สามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้ทันที จุลินทรีย์จะต้องทำการย่อยสลาย และเปลี่ยนรูปจากอินทรีย์มาเป็นอนินทรีย์สารก่อน อัตราการย่อยสลายนี้ช้ามาก ประมาณกันว่าปุ๋ยอินทรีย์จะปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาในปีแรก 10% และปลดปล่อยออกมาเรื่อยๆ ดังนั้นจึงควรพิจารณาให้ถ่องแท้ในการเลือกซื้อปุ๋ยแต่ละชนิดไปใช้
|