#1
(1) ปั๊มไฟฟ้า "บรูโน - เมด ดิน อิตาลี" 220 โวลท์. 3 แรงม้า เป็นปั๊มประเภทส่งน้ำทางราบ ราคา 7,500 บาท ซื้อที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
(2) ทางน้ำจากกระโหลก (อยู่ในน้ำ) เข้าปั๊ม 3 นิ้ว.....ด้านนี้เรียกว่า "หลังปั๊ม"
(3) ทางน้ำออกจากปั๊ม 3 นิ้ว......ด้านนี้เรียกว่า "หน้าปั๊ม"
(6) ถังน้ำหลังปั๊ม....สำหรับ 1) เป็นถัง ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สมุนไพร ปล่อยไปพร้อมกับน้ำ และ 2)เติมน้ำลงกระโหลก
(5) วาล์วเปิดปิดน้ำเข้าถัง
(7) ปลายท่อน้ำเข้าถัง
(4) วาล์วปล่อย ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สมุนไพร จากถังลงท่อ และ ปล่อยน้ำลงกระโหลก
หมายเหตุ :
- ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สมุนไพร ลงจากถังลงมาผสมรวมกับน้ำที่ปั๊มดูดขึ้นมาจากกระโลกผสมกันแล้วไปตามท่อส่งถึงหัวสปริงเกอรN
- เมื่อน้ำในกระโหลกหมด (เชควาล์วที่กระโหลกมีปัญหา) ไม่ต้องตักน้ำกรอกเติมกระโหลกแต่ให้ปล่อยน้ำจากถังลงไปในกระโลกได้เลย
#2
ท่อน้ำเข้าปั๊มขนาด 3 นิ้ว กระโหลกขนาด 3.5 นิ้ว (อยู่ในน้ำ) ไม่มีกรองระยะสูงจากท่อดูดถึงกระโหลก .50 ม.
หมายเหตุ :
กรณีท่อดูด 3 นิ้ว ขนาดกระโหลกต้องใหญ่เท่าท่อดูด คือ 3 นิ้ว หรือใหญ่กว่าท่อดูด 1/2 นิ้ว คือ 3.5 นิ้ว จะสามารถดูดน้ำได้ดีกว่ากระโหลกที่เล็กกว่าท่อดูด
#3
หม้อปุ๋ยหน้าโซน :
(1) ทางน้ำเข้า 2 นิ้;
(2) วาล์ว 2 นิ้ว ประจำโซo
(3) วาล์ว 4 หุน น้ำเปล่าเข้าหม้อปุ๋p
(4) วาล์ว 4 หุน เติม ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สมุนไพร และไล่ลมจากหม้อปุ๋p
(5) กรวยเติม ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สมุนไพi
(6) หม้อปุ๋ย ขนาดจุ 1.5 ล. (ขวดน้ำปลาดัดแปลง)
(7) วาล์ว 4 หุน ปล่อย น้ำ + ปุ๋ย/ฮอร์โมน/สมุนไพร จากหม้อปุ๋ยๆไปหัวสปริงเกอร์
(8) วาล์วระบายน้ำออกจากหม้อปุ๋ย
(9) ทางน้ำออกไปหัวสปริงเกอร์
#4
(1) ทางน้ำเข้า
(2) วาล์วโซนขวา
(3) วาล์วโซนซ้าย
#5
(1) ทางน้ำเข้า
(2) วาล์วใหญ่ประจำโซน
(3) วาล์วสำหรับให้ทางใบ
(4) วาล์วสำหรับให้ทางราก
#6
(1) ชุดวาล์ว (ใบ + ราก) สำหรับโซนซ้าย
(2) ชุดวาล์ว (ใบ + ราก) สำหรับโซนขวา
#7
(1) วาล์วใหญ่ประจำโซน
(2-3) วาล์วทางใบและทางราก สำหรับโซนซ้าย
(4-5) วาล์วทางใบและทางราก สำหรับโซนขวา
#8
(1) วาล์วสำหรับให้ทางใบ
(2) วาล์วสำหรับให้ทางราก
#9
(1) วาล์วสำหรับให้ทางใบ
(2) วาล์วสำหรับให้ทางราก
#10
หัวสปริงเกอร์คว่ำลง (กะเหรี่ยงหน้าง้ำ) น้ำที่พ่นออกมาเป็นปากกรวยครอบคลุมพื้นที่ทรงพุ่มเฉพะต้นของตัวเอง
#11
ปั๊มบาดาล ใช้ไฟฟ้า 220 โวลท์ 1 แรงม้า ยี่ห้อแฟลงกินส์ เมด อิน ยูเอสเอ.ขนาดท่อดูด 2 นิ้ว สูบน้ำลึก 24 ม.
#12
หม้อปุ๋ยรุ่นใหม่ ขนาดจุ 5-7 ล. ออกแบบโดยสถาปนึกไร่กล้อมแกล้ม
#13
หม้อปุ๋ยรุ่นต่อมาขนาดจุ 5 ล.
#14
รุ่นนี้ราคาประหยัดที่สุด ความจุ 1.5 ล.
#15
ดูใกล้ๆ ให้เห็นข้างใน....ขณะใช้งานสามารถมองเห็นเลยว่า ปุ๋ยในหม้อ ออกช้าหรือเร็ว หรือไม่ออกเลยได้
#16
รุ่นนี้เพิ่มวาล์ว 4 หุน เข้าไปอีก 1 ตัว ที่ช่องระบายอากาศ ช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้น
#17
ชมภาพรวมสำหรับ 2 โซน แต่ละโซนมีวาวล์แยกสำหรับให้ทางใบกับทางราก
#18
รุ่นนี้ความจุ 2 ล. แข็งแรงที่สุด แต่ความสะดวกในการทำงานดูเหมือนะสู้แบบขวดแก้วไม่ได้ เพราะไม่สามารถมองเห็นความเคลื่อนไหวของปุ๋ยในหม้อได้
#19
รุ่นนี้ขนาดจุ 7 ล. เหมาะสำหรับให้ปุ๋ยทางรากซึ่งต้องให้ครั้งละมากกว่าปุ๋ยทางใบ สังเกตุน้ำขณะเข้าหม้อปุ๋ย หรือปุ๋ยที่ผสมน้ำแล้วออกจากหม้อเข้าไปท่อสู่หัวสปริงเกอร์จากท่อพลาสติกใส ซึ่งก็พอกล้อมแกล้มๆ ใช้งานได้
#20
รุ่นนี้ขนาดจุ 10 ล. เพื่อชี้ให้เห็นว่าขนาดใหญ่หรือความจุแค่ไหนก็ทำงานได้ ความจุปุ๋ยขนาดนี้สามารถให้ปุ๋ยทางรากพร้อมกันครั้งละ 2 โซนได้เลย ถ้าแรงดันน้ำพอ
#21
ตัวหม้อปุ๋ยหรือกระบอกใส่ปุ๋ย reuse มาจากขวดน้ำปลา ปิดหัวท้ายด้วยฝาปิด PVC ขนาด 2.5 นิ้ว เข้ากันได้พอดี บางคนสงสัย เอ๊ะ... เข้ากันได้ยังไง ? ก็เลยตอบว่า อ๋อออ...เจ้าของ PVC กับ น้ำปลาตราคนแบกกุ้ง (เป็นกระเทย) คนเดียวกัน โรงงานเดียวกัน เขามีแบบโม.ขนาด 2.5 นิ้ว อยู่แล้ว เลยใช้โม.ตัวเดียวกันจะได้ประหยัดไง....เชื่อ ?
หมายเหตุ :
กระบอกแก้วดัดแปลงจาก "ขวดน้ำปลา" ฝาครอบหัวท้ายใช้ "ฝาปิด พีวีซี" ขนาด 2.5 นิ้ว ทั้งสองอย่างเข้ากันได้พอดีเหมือนบุบเพสันนิวาส
#22
หม้อปุ๋ยรุ่นแรกๆ มักมีปัญหา "น้ำจากซ้ายไปขวา หรือ จากขวาไปซ้าย" ต้องแก้ปัญหาโดยนำชิ้นส่วนไปประกอบกันถึงหน้าโซน แต่วันนี้ หม้อปุ๋ยรุ่นล่าสุดหมดปัญหา น้ำซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้ายแล้ว ด้วยการออกแบบตำแหน่งวาวล์ให้อยู่ตรงกลาง
#23
ออกแบบ หม้อปุ๋ยสำหรับทางใบ กับ หม้อปุ๋ยสำหรับทางราก ในโซนเดียวกัน....หม้อปุ๋ยทางใบจุ 1.5 ล. ส่วนหม้อปุ๋ยทางรากจุ 10 ล. (มาก/น้อย....สร้างได้) ..... ไม่มีอะไรแปลกใหม่แต่ทำเล่นโก้ๆ ประมาณนั้น...... หม้อปุ๋ยทางใบรุ่นนี้ เหมาะสำหรับให้ปุ๋ย 1 หม้อ 1 ครั้ง เมื่อปล่อยปุ๋ยหมดหม้อแล้ว ต้อง "ปิดปั๊ม" ก่อน จึงจะระบายน้ำที่ค้างอยู่ในหม้อปุ๋ยได้ หรือหากต้องการต้องการเพิ่มปริมาณปุ๋ยเป็นหม้อที่ 2 ก็ต้องปิดปั๊มก่อน จากนั้นเติมปุ๋ยลงหม้อ แล้วจึง "เปิดปั๊ม" ทำงานอย่างเดิมได้
#24
อีกแบบหนึ่งที่สามารถทำงานได้......
แบบนี้ยังไม่ใช่ "ที่สุด" แล้ว ถามว่า "แบบใหม่" กว่านี้ยังมีอีกไหม ? รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ?
#25
ออกแบบ หม้อปุ๋ยสำหรับทางใบ กับ หม้อปุ๋ยสำหรับทางราก ในโซนเดียวกัน....หม้อปุ๋ยทางใบจุ 1.5 ล. ส่วนหม้อปุ๋ยทางรากจุ 10 ล. (มาก/น้อย....สร้างได้) ..... ไม่มีอะไรแปลกใหม่แต่ทำเล่นโก้ๆ
หม้อปุ๋ยทางใบรุ่นนี้ เมื่อปล่อยปุ๋ยหมดหม้อแล้ว ไม่ต้อง "ปิดปั๊ม" ก่อน จึงจะระบายน้ำที่ค้างอยู่ในหม้อปุ๋ยได้ หากต้องการต้องการเพิ่มปริมาณปุ๋ยเป็นหม้อที่ 2 ก็เพียงแต่ "ปิดวาวล์" จากท่อเมน เข้า-ออก ทั้ง 2 ตัว ก็สามารถเติมปุ๋ยชุดใหม่ลงหม้อปุ๋ยได้ โดยไม่ต้องปิดวาวล์ใหญ่ หรือสามารถเติมปุ๋ยชุดใหม่ได้ทั้งๆ ที่ยังปล่อยน้ำไปออกหัวสปริงเกอร์
#26
#27
#28
หม้อปุ๋ยตราสิงห์ :
ของเดิมเป็นขวดน้ำปลา (ตราคนแบกกุ้ง-คนแบกเป็นกระเทย) ขนาดขวด 2.5 นิ้ว ตัดหัวตัดท้ายตัวใหม่นี้ใช้ขวดโซดาตราสิงห์ (ยกขาหลัง) ขนาดขวด 2 นิ้ว ตัดหัวตัดท้ายเหมือนกัน ในอนาคตกำลัง มองขวดสปอนเซอร์ ขนาดขวด 1.5 นิ้ว หรือหากมีขวดขนาด 1 นิ้ว ก็คงจะดูกระทัดรัดขึ้นอีก อันนั้น เหมาะสำหรับ 1 หม้อปุ๋ย/1 ต้น
ไอเดียร์ : สวนไพบูลย์ระยองดอทคอม
#29
เนื้อปุ๋ยจากหม้อปุ๋ยหน้าโซน.....
ข้อกังขาที่ 1.... น้ำจากปั๊ม กับ ปุ๋ยจากหม้อ ผสมกันในท่อได้ จริงหรือ ?
ข้อกังขาที่ 2.... ไปถึงไม้ทุกต้นได้ จริงหรือ ?
ข้อกังขาที่ 3.... ไปถึงไม้ทุกต้นด้วยปริมาณเท่ากันทุกต้น หรือไม่ ?
ข้อกังขาที่ 4.... ขณะวิ่งไปตามท่อสู่ไม้แต่ละต้น สม่ำเสมอตลอดเส้นทาง หรือไม่ ?
ข้อกังขาที่ 5.... ค่า pH น้ำ+ปุ๋ย เมื่อออกจากหัวสปริงเกอร์ เท่าไหร่ ?
#30
ข้อกังขาที่ 1.... น้ำจากปั๊ม กับ ปุ๋ยจากหม้อ เข้าผสมกันในท่อได้ จริงหรือ ?
ตอบ :
หลักการและเหตุผล ...... น้ำเปล่ามาจากปั๊มถึงวาวล์หน้าโซนด้วยท่อขนาด 2 นิ้ว น้ำเปล่านี้ส่วนหนึ่งถูกแบ่งให้เข้าไปในหม้อปุ๋ยด้วยท่อขนาด 4 หุน เมื่อน้ำเปล่าเข้า ไปในหม้อปุ๋ยแล้ว ถูกแบ่งออกมาจากหม้อด้วยท่อขนาด 2 หุน เพื่อไปผสมมกับ น้ำเปล่าในท่อ 2 นิ้ว ผสมกันแล้วจึงไปตามท่อสู่หัวสปริงเกอร์ เพื่อการพิสูจน์ทราบว่า "น้ำเปล่า+เนื้อปุ๋ย" แล้วไปตามท่อส่งยังหัวสปริงเกอร์ได้นั้น ทำได้โดยดัดแปลงท่อส่ง พีวีซี ทึบแสงให้เป็นโปร่งแสงโดยการตัดท่อ พีวีซี ออกส่วน หนึ่งแล้วแล้วใส่ท่อแก้วใส (ขวดโซดา ขนาด 2 นิ้ว) แทน ที่ท่อแก้วใสนี้สามารถมองเห็น "น้ำเปล่า (สีขาว)+น้ำปุ๋ย (สีดำ)" เป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ หรือมีความเข้มราว 10 % ของน้ำปุ๋ยเพียวๆ ชัดเจนมาก ลักษณะนี้แสดงว่า ระหว่าง "น้ำเปล่าจากปั๊ม" กับ "เนื้อปุ๋ยจากหม้อ" ผสมเข้าเป็น เนื้อเดียวกันในท่อส่งได้เนียนๆ เลยนั่นเอง
บรรยายภาพ :
ภาพบน : ขวดแก้วใสตรวจสอบฯ อยู่ด้านหน้าหม้อปุ๋ย
ภาพล่าง : ขวดแก้วใสตรวจสอบฯ อยู่ข้างหม้อปุ๋ย
#31
สังเกตุ :
เนื้อปุ๋ยเพียวๆ จากหม้อปุ๋ยใกล้หมดแล้ว แต่ "น้ำ+ปุ๋ย" ที่ท้อแก้วตรวจสอบฯ ยังคงสีเดิม เหมือนเมื่อเริ่มปล่อยปุ๋ยตอนแรกๆ
#32
CLOSE UP ให้เห็นสีที่ "น้ำเปล่า" ผสมกับ "เนื้อปุ๋ย" เรียบร้อยแล้ว จากท่อแก้วตรวจ สอบฯ หน้าหม้อปุ๋ย สังเกตุสีของน้ำจะเรียบเสมอกันตลอดเวลาที่เดินปั๊ม กระทั่งเนื้อปุ๋ยใน หม้อหมดเกลี้ยง น้ำใสแจ๋วเป็นปกติ สีน้ำในท่อแก้วตรวจสอบฯ ก็จะมีสีใสแจ๋วไปด้วย
#33
CLOSE UP ให้เห็นสีที่ "น้ำเปล่า" ผสมกับ "เนื้อปุ๋ย" เรียบร้อยแล้ว จากท่อแก้วตรวจ สอบฯ ข้างหม้อปุ๋ย สังเกตุสีของน้ำจะเรียบเสมอกันตลอดเวลาที่เดินปั๊ม กระทั่งเนื้อปุ๋ยใน หม้อหมดเกลี้ยง น้ำใสแจ๋วเป็นปกติ สีน้ำในท่อแก้วตรวจสอบฯ ก็จะมีสีใสแจ๋วไปด้วย
#34
ท่อแก้วใสกับท่อ พีวีซี ที่วิ่งไปตามพื้นราบโคนต้น ควรใส่ท่อแก้ว ณ จุดสงสัย การมาของ "น้ำเปล่า+ปุ๋ยจากหม้อ" ว่า มีหรือมาจริงหรือไม่ การติดตั้ง มากกว่า 1 จุด ย่อมหมายถึงความมั่นใจ
#35
สังเกตุ :
กระบอกแก้วซ้ายมือ คือ หม้อปุ๋ย ส่วนกระบอกแก้วขวามือ คือ ท่อ แก้วตรวจสอบฯ .... สีของเนื้อปุ๋ยในหม้อปุ๋ยเข้มข้น แต่สีของ น้ำ+ปุ๋ย กับเจือ จาง คิดความเข้มข้นได้ราว 10 % ของความเข้มข้นเดิมของเนื้อปุ๋ย.......ว่ามั้ย
#36
ท่อแก้วใสกับท่อ พีวีซี ที่วิ่งไปตามพื้นราบโคนต้น ควรใส่ท่อแก้ว ณ จุดสงสัย การมาของ "น้ำเปล่า+ปุ๋ยจากหม้อ" ว่า มีหรือมาจริงหรือไม่ การติดตั้ง มากกว่า 1 จุด ย่อมหมายถึงความมั่นใจ
สังเกตุ :
สีของ "น้ำ+ปุ๋ย" เข้มข้นราว 25% ของสีเดิมของเนื้อปุ๋ย นี่เป็นการให้ปุ๋ย ทางราก ซึ่งควรต้องเข้มข้นกว่าปุ๋ยทางใบเล็กน้อย
ข้อกังขาที่ 2.... ไปถึงไม้ทุกต้นได้ จริงหรือ ?
ข้อกังขาที่ 3.... ไปถึงไม้ทุกต้นด้วยปริมาณเท่ากันทุกต้น หรือไม่ ?
ข้อกังขาที่ 4.... ขณะวิ่งไปตามท่อสู่ไม้แต่ละต้น สม่ำเสมอตลอดเส้นทาง หรือไม่ ?
ตอบ :
ตรวจสอบจาก "สี" ของ "น้ำ+ปุ๋ย" ที่ท่อแก้วบนพื้นราบทุกจุด พบว่ามีสีเดียวกันสม่ำเสมอ ตลอดระยะเวลาที่น้ำไหลไป สีไม่เข้มสลับจาง หรือมีอาการวูบวาบๆ สิ่งนี้บ่งบอกถึงปริมาณ ความเข้มข้นของ "น้ำ+ปุ๋ย" ที่ออกทางหัวสปริงเกอร์ ณ จุดใกล้เคียงนั่นเอง
ข้อกังขาที่ 5.... ค่า pH น้ำ+ปุ๋ย เมื่อออกจากหัวสปริงเกอร์ เท่าไหร่ ?
ตอบ :
วิธีที่ 1 ปรับค่า Ph ในถังก่อนใช้งาน....... นำน้ำจากแหล่งที่จะใช้ผสมปุ๋ยทางใบมา 1 ลิตร. วัดค่า pH ได้ 7.5 (สมมุติ) เติมปุ๋ยทางใบที่ต้องการใช้ลงไป 1 ซีซี. (อัตรา 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.) คนให้เข้ากันดีแล้ววัดค่า pH ถ้าได้ค่า pH 5.5-6.5 ถือว่า O.K. ถ้าได้ค่า pH มากกว่า 6.5 ให้เติมน้ำส้มสายชูที่น้ำหรือปุ๋ยทางใบที่จะใช้ ถ้าได้ค่า pH ต่ำกว่า 6.5 ถือว่า O.K. และ ถ้าได้ค่า pH 6.0 ถือว่าเหมาะสมที่สุด
วิธีที่ 2 ปรับค่า pH ในท่อสปริงเกอร์....... โดยวัค่า pH ของปุ๋ยทางใบที่จะใช้ แล้วปรับ ค่า pH ให้ได้ 3.5-4.5 ก่อน จากนั้นจึงใส่ลงไปในหม้อปุ๋ย ....... ด้วยค่า Ph ที่ต่ำถึงต่ำ มากของปุ๋ยทางใบนี้เป็นตัวช่วยปรับค่า pH ของน้ำเปล่าจากปั๊มให้เองโดยอัตโนมัติ หลังจากปล่อยปุ๋ยจากหม้อปุ๋ยออกไปแล้ว สามารถตรวจสอบค่า pH ได้ โดยนำ "น้ำ+ปุ๋ย" ที่หัวสปริงเกอร์มาวัดค่า pH ก็จะรู้ว่า ค่า pH ของปุ๋ยทางใบไปถึงต้นไม้นั้นเหมาะสมหรือไม่
ประสบการณ์ตรง :
ครั้งหนึ่งที่ไร่กล้อมแกล้ม คราวสาธิตให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เห็น ..... นำน้ำมา 10 ล. (วัดค่า pH ได้ 7.5 ) แล้วเติมปุ๋ยทางใบ (ทำเอง.... ยูเรก้า. ไบโออิ. ฮม.ไข่. อเมริกาโน. ระเบิดเถิดเทิง) แต่ละสูตรลงไป 10% คนเคล้าให้เข้ากันดีแล้ววัดค่า pH อีกครั้ง พบว่าได้ค่า pH 6.0 ทั้งๆที่ไม่ได้ปรับค่า pH น้ำก่อน แต่อย่างใด การที่ "ปุ๋ย+น้ำ" แล้วได้ค่า Ph พอดีสำหรับต้นไม้ได้เพราะ ปุ๋ยทางใบ (ทำเอง) ทุกสูตรมีค่า pH 3.5-4.0 อยู่ก่อนแล้วตั้งแต่ตอนทำนั่นเอง นี่คือบทพิสูจน์ว่า "ค่า pH ต่ำของปุ๋ยทางใบ" สามารถปรับค่า pH ของน้ำเปล่าจนกระทั่ง ได้ค่า pH ที่เหมาะสมต่อพืชได้ นั่นเอง.......
ปัจฉิมลิขิต :
ขอเรียนว่า นี่คือ "นวตกรรม หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่" ที่สามารถจดทะเบียนลิขสิทธิ์ได้ ทั้งสิ้นทั้งปวง ทุกขั้นตอน ออกมาจากสมองของ A MAN CALLED KIM ZA GASS โดยแท้ ...... ถ้าคิดว่า SPRINGLE คือความสิ้นเปลืองก็จงกลับไปลากสายยาง สะพายเป้ เดินฉีดทางใบ/ทางราก เอาทีละต้นๆ ๆๆ เถิด SPRINGLE ระบบกะเหรี่ยงที่ไร่กล้อมแกล้ม ต้นทุนไร่ละ 5,000 บาท (ไม่รวมปั๊ม) แต่ SPRINGLE ระบบอิสราเอล (MADE IN THAILAND-มาบตาพุด/ระยอง) ต้นทุนไร่ละ 100,000 ..... หม้อปุ๋ยหน้าโซนซื้อจากบริษัท (MADE IN THAILAND-พระปะแดง) อันละ 3,500-5,000 แต่หม้อปุ๋ยกะเหรี่ยง อันละ 750 บาท (วาวล์ 2 นิ้ว = 600 บาท....) ระบบกะเหรี่ยง เอาแบบไปใช้ได้ในทุกสวนไหม ? คำตอบคือ 50/50-ได้/ไม่ได้ เพราะสวนใครก็สวนใคร COPY ไม่ได้ แต่ APPLY ได้ ป่วยการและเสียเวลาเปล่า (เสียอารมย์ด้วย) ที่ใครบางคนจ้องเอาแต่ "ติ-ตำหนิว่าสิ้นเปลือง" แนวคิดสร้างสรรค์ คือ "ต่อยอด" แล้วแนะนำให้เกษตรกร "ทำ-ใช้" คงดีกว่า........ว่ามั้ย
สวนไม้ผลยืนต้น แบ่งเป็นโซนๆ ละ 20 ต้น ติดสปริงเกอร์-ปั๊มไฟฟ้า ใช้เวลา 10 นาที เท่ากับค่าไฟฟ้า 10 นาที แต่หากลากสายฉีดพ่นทีละต้นก็ต้องใช้ปั๊มไฟฟ้าเหมือนกัน แต่ไม้ผลจำนวน 20 ต้น ใช้เวลาต้นละ 10 นาที รวมเวลา 200 นาที หรือ (3 ชม.กว่า) นั่นเท่ากับค่าไฟฟ้า 3 ชม.กว่า.....ค่าไฟฟ้า 10 นาที กับค่าไฟฟ้า 3 ชม.กว่า ต่อ 1 รอบการทำงาน แล้วหากคิดรวมเวลาทำงาน 1 ปี ค่าไฟฟ้าควรจะต่างกันเท่าไร ?
[--pagebreak--]
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อุปกรณ์ :
[1] ช่องทางน้ำ 2 นิ้ว มาจากปั๊ม ก่อนเข้าวาวล์
[2] วาวล์หลัก 2 นิ้ว ปิด/เปิด น้ำไปหัวสปริงเกอร์
[3] ช่องทางน้ำ 2 นิ้ว ไปหัวสปริงเกอร์
[4] วาวล์ 4 หุน ควบคุมน้ำจากวาวล์หลัก เข้าผสมกับปุ๋ยจากหม้อปุ๋ย ก่อนไปหัวสปริงเกอร์
[5] วาวล์ 4 หุน ควบคุมน้ำจากปั๊มเข้าสู่หม้อปุ๋ย
[6] วาวล์ 4 หุน ระบายน้ำเหลือค้างในหม้อปุ๋ย
[7] กระบอกแก้ว มองดูการไหลของปุ๋ยในหม้อปุ๋ย
[8] วาวล์ 4 หุน ปิด/เปิด เติมปุ๋ยลงหม้อปุ๋ย
[9] กรวย 2 นิ้ว สำหรับเติมปุ๋ยลฃงหม้อปุ๋ย
วิธีใช้งาน :
ขั้นตอนที่ 1. ปิดวาวล์ทุกตัว
ขั้นตอนที่ 2. เปิดวาวล์ [8]
ขั้นตอนที่ 3. เติมปุ๋ยลงหม้อปุ๋ย
ขั้นตอนที่ 4. ปิดวาวล์ [8]
ขั้นตอนที่ 5. เปิดวาวล์หลัก [2] ปล่อยน้ำไปหัวสปริงเกอร์
ขั้นตอนที่ 6. เปิดวาวล์ [5] ให้น้ำจากปั๊มเข้าหม้อปุ๋ย จนเต็ม
ขั้นตอนที่ 7. เปิดวาวล์ [8] ช้าๆ เพื่อไล่ลมในหม้อปุ๋ย
ขั้นตอนที่ 8. เปิดวาล์ [4] ครึ่งหนึ่งของระยะเปิดเต็มที่
ขั้นตอนที่ 9. ลดแรงดันน้ำวาวล์ [2] เพื่อให้ปุ๋ยในหม้อไป เร็ว/ช้า ตามต้องการ
ขั้นตอนที่ 10. ปิดวาวล์ [5] เพื่อหยุดน้ำจากปั๊มเข้าหม้อปุ๋ย
ขั้นตอนที่ 11. ปิดวาวล์ [4] เพื่อหยุดน้ำจากวาวล์หลักเข้าหม้อปุ๋ย
ขั้นตอนที่ 12. เปิดวาวล์ [8] เพื่อให้ลมเข้าหม้อปุ๋ย
ขั้นตอนที่ 13. เปิดวาวล์ [6] เพื่อระบายน้ำในหม้อปุ๋ยออก
ขั้นตอนที่ 14. ปิดปั๊ม
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กำลังปรับปรุงครับ
สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.