-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 259 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สารสมุนไพร








ข้อมูลจำเป็นเพื่อการวินิจฉัยโรค พิมพ์ ส่งเมล์
เขียนโดย Fah   


Imageเคยเป็นไหมค่ะ ที่เมื่อเราพบสิ่งผิดปกติกับพืช  แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้  เพราะไม่ทราบสาเหตุ  จะถามใครๆก็ตอบให้ไม่ได้  เพราะ บอกรายละเอียดต่างๆได้ไม่ครบถ้วน ก็ได้รับคำแนะนำมาแบบครึ่งๆกลางๆ    แล้วเราก็เอามาใช้แบบมั่วๆสุ่มๆไป  คิดว่าบุญมีโชคช่วย ก็รักษากันทัน  แต่ช่วงที่พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก  อาจจะพบการตายหมู่ของพืชได้  วันนี้ฟ้าจะมาเล่าขั้นตอนการเก็บข้อมูล เพื่อใช้ในการวินิจฉัยการขาดธาตุอาหาร และโรค หากยังเป็นมือใหม่  จะได้ให้ข้อมูลกับอาจารย์ได้ครบถ้วน เพื่อง่ายต่อการแนะนำ  หรือเมื่อเราเริ่มแก่กล้า  ก็สามารถวิเคราะห์เองได้ค่ะ



ขั้นตอนการวินิจฉัยการขาดธาตุอาหารของพืช
1. ข้อมูลในแปลงปลูก

                   2. พิจารณาอาการผิดปกติ


  1. ข้อมูลในแปลงปลูก ช่วยให้การสรุปสาเหตุนั้นแคบลง  การวินิจฉัยจะรวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น  และยังเป็นประโยชน์กับการแก้ปัญหาในแปลง และการวางแผนปลูกในรอบต่อไป  ข้อมูลในแปลงที่ต้องสังเกตุ คือ
     - ลักษณะการกระจายตัวของพืชที่มีอาการขาดธาตุ  เช่น พืชแสดงอาการทั่วทั้งแปลง  หรือ แสดงเป็นหย่อมๆ  ซึ่งโดยปกติ อาการขาดธาตุอาหาร มักจะแสดงอาการพร้อมกันเป็นบริเวณกว้าง หรือพร้อมกันทั้งแปลง เนื่องจากใช้สารละลายร่วมกันเสมอทั้งแปลง  แต่หากมาจากสาเหตุอื่น เช่น พืชเป็นโรค  การแสดงอาการจะเป็นหย่อมๆ หรือเฉพาะต้นที่เป็นโรค

     - การพัฒนาของอาการ  การขาดธาตุอาหารมักแสดงอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป  อาการที่แสดงออกแบบเฉียบพลัน มักเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น ยาฆ่าแมลง  ฝนตกหนัก  หรือร้อนจัด

     - ค่า pH ของสารละลาย หากสูงหรือต่ำเกินไป จะมีผลต่อการดูดใช้ธาตุอาหารของพืช  พืชจะแสดงอาการขาดธาตุอาหารได้

     - ค่า EC ของสารละลาย การให้ปุ๋ยมาก หรือน้อยเกินไป ทำให้พืชขาดธาตุอาหารได้  หรือการใส่ปุ๋ยบางตัวเกินไป เช่น ไนโตรเจนสูงเกินไป พืชจะดูดใช้แคลเซียมและแมกนีเซียมไปใช้ได้น้อยลง  ทำให้เกิดอาการขาดธาตุอาหารได้

     - โรคและแมลงอื่นๆ

     - การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอย่างฉับพลัน  อาจมีผลกับพืช ทำให้เราเข้าใจไขว้เขว้ได้


       2. พิจารณาอาการผิดปกติ 

     - ตำแหน่งผิดปกติบนต้นพืช  เช่น เป็นที่ใบแก่ หรือ ใบอ่อน หรือที่ลำต้น  ซึ่งจะวิเคราะห์ได้จาก ความสามารถในการเคลื่อนย้ายของธาตุอาหารต่างๆในต้นพืช  อาการขาดธาตุที่เคลื่อนย้ายได้ดีในพืช  มักแสดงอาการที่ใบแก่ก่อน  เนื่องจากธาตุอาหารถูกย้ายไปใช้ที่ใบอ่อน ซึ่งกำลังเจริญเติบโตก่อน  เป็นต้น

     - สีและรูปแบบของอาการ ดูการเปลี่ยนสีของใบ ซึ่งมีความสัมพันธุ์กับระบบเส้นใบ




ที่มา : รศ.ดร.ศุภลักษณ์  สิงหบุตร









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-09 (2267 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©