-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 300 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สารสมุนไพร





ตะไคร้หอมไล่แมลง


ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cymbopogon nardus (Linn.) Rendle,
Cymbopogon winterianus Jowitt.

ชื่อวงศ์

Gramineae

ชื่ออังกฤษ

Citronella grass

ชื่อท้องถิ่น

จะไคมะขูด, ตะไครมะขูด, ตะไคร้แดง





หลักฐานทางวิทยาศาสตร์


1.ฤทธิ์ไล่ยุงและแมลง
น้ำมันตะไคร้หอม (Citronella oil) ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยสกัดจากต้นตะไคร้หอมสามารถใช้ไล่แมลงได้ (1) ครีมที่มีน้ำมันจากใบตะไคร้หอม ความเข้มข้น 1.25, 2.5 และ 5% มีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัด เมื่อทดสอบกับยุงก้นปล่อง โดยมีระยะเวลาในการป้องกัน นาน 2 ชม. และที่ความเข้มข้น 10% จะมีระยะเวลาในการป้องกันได้มากกว่า 4 ชม.  ตำรับครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันข่า 5% น้ำมันตะไคร้หอม 2.5% และวานิลลิน 0.5%  จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัดได้เช่นกัน โดยมีระยะเวลาในการป้องกัน นานกว่า 6 ชม.  (2, 3) และเมื่อทดสอบกับยุงรำคาญ พบว่าตำรับครีมผสม สามารถป้องกันยุงกัดได้ดีกว่าครีมที่ไม่มีน้ำมันหอมระเหย  เมื่อนำน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม มาทดสอบกับยุงที่เป็นพาหะของโรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก และเท้าช้าง พบว่ามีผลป้องกันยุงกัดได้นาน 8-10 ชม. (4) และในการทดสอบกับยุงลาย พบว่าความเข้มข้นที่ผลในการป้องกันยุงได้ร้อยละ 50 (EC50) และร้อยละ 95 (EC95) มีค่าเท่ากับ 0.031 และ 5.259% ตามลำดับ และน้ำมันหอมระเหย ความเข้มข้น 1% สามารถป้องกันยุงกัดได้ 75.19% (5)  สารสกัด 90% เอทานอลจากตะไคร้หอม และสารสกัดตะไคร้หอมที่ผสมกับน้ำมันมะกอกและน้ำมันหอมระเหยกลิ่นชะมดเช็ด เมื่อนำมาทดสอบกับยุงลายและยุงรำคาญตัวเมีย จะมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงได้นาน โดยมีค่าเฉลี่ยช่วงเวลาอยู่ที่ 114-126 นาที นอกจากนี้ยังมีผลในการควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงได้ด้วย (6)

               
น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม ความเข้มข้น 10% มีฤทธิ์ดีในการไล่ตัวอ่อนของเห็บ โดยให้ผลในการไล่ได้นานถึง 8 ชม.  (7)  นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ไล่แมลงที่จะมาทำลายเมล็ดข้าวที่เก็บไว้ได้ โดยไม่มีผลต่อคุณภาพของข้าว (8) ตะไคร้หอมยังมีฤทธิ์ไล่ผีเสื้อกลางคืน (9) และพวกแมลงบินต่างๆ ได้ (10)

2.  สารสำคัญในการออกฤทธิ์ไล่ยุง

น้ำมันตะไคร้หอมมีส่วนประกอบที่สำคัญในการออกฤทธิ์ คือ camphor (11, 12), cineol (13-15), eugenol (16-19), linalool (20), citronellal, citral (17)




3.การทดลองทางคลินิกใช้ในการไล่ยุง
มีการศึกษาผลของครีมที่มีส่วนผสมน้ำมันหอมระเหย 14% ในการทาป้องกันยุงรำคาญกับอาสาสมัคร 40 คน เปรียบเทียบกับครีมที่ไม่มีตัวยา พบว่าสามารถป้องกันยุงได้ 13 คน ในอาสาสมัครที่ทาครีม 20 คน ขณะที่อาสาสมัครที่ทาครีมที่ไม่มีตัวยา จะไม่สามารถป้องกันยุงได้ (21)

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ทดลองประสิทธิภาพป้องกันยุงกัดของครีมตะไคร้หอม 14% พบว่ามีผลป้องกันยุงกัดได้นาน 2 ชม. ซึ่งใกล้เคียงกับครีมจากสารสังเคราะห์ (dimethyl phthatate 20% + diethyl toluamide 5%) (22)




4.ฤทธิ์ฆ่าแมลง
น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม เมื่อนำมารมเมล็ดถั่ว นาน 72 ชม.  มีผลฆ่าแมลง Callosobruchus maculatus ที่จะมาทำลายเมล็ดถั่วได้ น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยไม่มีผลต่อการงอกของถั่ว (23) แต่มีผลต่อ parasite ของแมลงชนิดนี้มากกว่า (24)  สารสกัดตะไคร้หอมผสมกับสารสกัดจากเมล็ดสะเดา และข่า ในอัตรา 200 มล./น้ำ 20 ลิตร มีผลลดการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนและหนอนเจาะฝักซึ่งเป็นแมลงศัตรูถั่วฝักยาวได้ แต่ไม่สามารถควบคุมการเข้าทำลายของแมลงวันเจาะต้นถั่ว (25)  สารสกัดตะไคร้หอม ความเข้มข้น 100 ppm จะให้ผลน้อยมากในการควบคุมแมลงศัตรูกะหล่ำ (26) แต่จะมีผลทำให้ไรแดงกุหลาบตายร้อยละ 95 ภายใน 20.70 ชม. (27)  นอกจากนี้สารสกัด10% เอทานอล (ต้นตะไคร้หอมแห้ง 200 ก./4 ลิตร)  จะให้ผลดีในการลดปริมาณของหมัดกระโดดซึ่งเป็นแมลงศัตรูคะน้า แต่มีแนวโน้มที่จะทำให้น้ำหนักของคะน้าลดลง (28) แชมพูที่ส่วนผสมของสารสกัดตะไคร้หอม สามารถฆ่าเห็บ หมัดในสัตว์เลี้ยงได้ (29)




5.การทดสอบความเป็นพิษ
เมื่อฉีดสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์และน้ำ (1:1) จากต้น ขนาด 1 กรัม/กิโลกรัม เข้าทางช่องท้องหนูถีบจักร ไม่พบความเป็นพิษ (30)





การใช้ตะไคร้หอมไล่ยุง

1. ใช้ต้นตะไคร้หอม ทุบวางไว้ข้างๆ

2. ใช้สารสกัดตะไคร้หอมด้วยแอลกอฮอล์ ชุบสำลีวางไว้ใกล้ๆตัว





เอกสารอ้างอิง

1.Cos ND.   Flea treatment composition for animals.   US Patent R 193, 986, 1980.


2.กิตติพันธ์ ตันตระรุ่งโรจน์.  การพัฒนาตำรับยาทากันยุงจากสมุนไพร.  รวมบทคัดย่องานวิจัยการแพทย์แผนไทยและทิศทางการวิจัยในอนาคต สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2543.


3.วรรณภา สุวรรณเกิด และ กิตติพันธ์ ตันตระรุ่งโรจน์.  การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรในการป้องกันยุงกัด.  วารสารโรคติดต่อ.  2537;20(1):4-11.


4.Tyagi BK, Shahi AK, Kaul BL.  Evaluation of repellant activities of Cymbopogon essential oils against mosquito vectors of malaria, filariasis, and dengue fever in India.  Phytomedicine 1998;5(4):324-9.


5.สมเกียรติ บุญญะบัญชา   กสิน ศุภปฐม  เอื้อมเดือน ศรีสุระพัตร.  การทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันยุงลาย (Aedes aegypti L.) ด้วยน้ำมันหอมระเหย 6 ชนิด โดยใช้เครื่องทดสอบสารป้องกันยุงที่ประดิษฐ์ขึ้น.  ว กรมวิทย พ  2540;39(1):61-6.


6.เนาวรัตน์ ศุขะพันธุ์  สมคิด แก้วมณี  ไพโรจน์ เปรมปรีดิ์  สุชาติ อุปถัมภ์  ยุพา รองศรีแย้ม.  ประสิทธิภาพการแสดงฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรในการขับไล่ยุง.  การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 19, หาดใหญ่, 27-29 ตุลาคม 2536: 480-1.


7.Thorsell W, Mikiver A, Tunon H.  Repelling properties of some plant materials on the tick Ixodes ricinus L..  Phytomedicine 2006;13:132-4.


8.Paranagama P, Abeysekera T, Nugaliyadde L, Abeywickrama K.  Effect of the essential oils of Cymbopogon citratus, C. nardus and Cinnamomum zealanicum on pest incidence and grain quality of rough rice (paddy) stored in an enclosed seed box.  J Food Agri Environ 2003;1(2):134-6.


9.Sinchaisri N, Roongsook D, Areekul S.  Botanical repellant against the diamonback moth, Plutella xylostella L..  Kasetsart J (Witthayasan Kasetsart)  1988;22(5):71-4.


10.Sugiura M, Ishizuka T, Neishi M.  Flying insect repellents containing essential oils.  Patent: Jpn Kokai Tokkyo Koho JP 2002 173,404, 2002:7pp.


11.Masui K, Kochi H.   Camphor and tricyclodecane in deodorants and insect repelling compositions.  Patent: Japan Kokai-74 1974;100(239): 4.


12.Schearer WR.   Components of oil of Tancy (Tanacetum vulgare) that repel colorado potato beetes (Leptinotarsa Decemlineata).   J Nat Prod 1984;476:964-969.


13.Scriven R, Meloan CE.   Determining the active component in 1,3,3-trimethyl-2-oxabicyclo [2,2,2] octane (cineole) that repels the American *****roach, Periphaneta americanna.   Ohio J Sci 1984;843:85-8.


14.Verma MM.   The isolation and identification of a *****roach repellent in Bay leaves and a flourescence method for determination of protein in wheat.   Diss Abstr Int B 1981;41:4514.


15.Hwang YS, Wu KH, Kumamoto J, Axclrod H, Mulla MS.   Isolation and identification of mosquito repellents in Artemisia vulgaris.   J Chem Ecol 1985;119:1297-306.


16.Chogo JB, Crank G.  Chemical composition and biological activity of the Tanzanian plants, Ocimum suave.   J Nat Prod 1981;433:308-11.


17.Vartak PH, Sharma RN.  Vapour toxicity and repellence of some essential oils and terpenoids to adults of Ades Algypti (L) (Doptera: Culicidae).  Indian J Med Res 1993;973:122-7.


18.Tunon H, Thoreell W, Bohlin L.  Mosquito repelling activity of compounds occurring in Achillea Millefolium L. (Astraceae).   Econ Bot 1994;482:111-20.


19.Marcus C, Lichtenstein EP.  Biologically active components of anise: toxicity and interactions with insecticides in insects.  J Agr Food Chem 1979;276:1217-23.


20.Bower WS, Oretego F, You XQ, Evans PH.   Insect repellants from Chinese pickly ash Zanthoxylum bungenanum.   J Nat Prod 1993;566: 935-8.


21.สมยศ จารุวิจิตรวัฒนา และคณะ.   ผลของการใช้ครีมตะไคร้หอมในการป้องกันยุงเปรียบเทียบกับครีมที่ไม่มีตัวยา.  หนังสือรวบรวมผลงานวิจัยโครงการพัฒนาการใช้สมุนไพรและยาไทยทางคลินิก (2525-36) มหาวิทยาลัยมหิดล, 2536: 63-8. 


22.ศศิธร วสุวัต และคณะ.  ประสิทธิภาพป้องกันยุงกัดของครีมตะไคร้หอม วท.  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  2533;5(2):62-7.


23.Ketoh GK, Koumaglo HK, Glitho IA, Auger J, Huignard J.  Essential oils residual effects on Callosobruchus maculatus (Coleoptera: Bruchidae) survival and female reproduction and cowpea seed germination.  International J Trop Insect Sci 2005;25(2):129-33.


24.Ketoh GK, Glitho AI, Huignard J.  Susceptibility of the bruchid Callosobruchus maculatus (Coleoptera: Bruchidae) and its parasitoid Dinarmus basalis (Hymenoptera: Pteromalidae) to three essential oils.  J Economic Entomology 2002;95(1):174-82.


25.อรัญ งามผ่องใส  สุนทร พิพิธแสงจันทร์  วิภาวดี ชำนาญ.  การใช้สารฆ่าแมลงและสารสกัดจากพืชบางชนิดควบคุมแมลงศัตรูถั่วฝักยาว.  ว สงขลานครินทร์ วทท 2546;25(3):307-16.


26.ชาญณรงค์ ศรีทรงเมือง.  การจัดการแมลงศัตรูพืชตระกูลกะหล่ำภายในสภาพโรงเรือนมุ้งตาข่าย.  รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2002.


27.กนก อุไรสกุล.  การใช้สมุนไพรบางชนิดยับยั้งการเจริญเติบโตของไรแดงกุหลาบ.  รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2002.


28.สุรัตน์วดี จิวะจินดา  ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล  อุดม แก้วสุวรรณ์.  การควบคุมแมลงศัตรูผักโดยสารสกัดจากพืช.  สรุปผลการดำเนินงานวิจัย ทุนอุดหนุนวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการวิจัย KIP (KURDI INITIATED PROJECT) ประจำปี 2536, ณ ห้องประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์, วันที่ 16-19 พฤษภาคม 2537 1993:101-3.


29.วสุ วิฑูรย์สฤษฎ์ศิลป์  ศุทธิชัย พจนานุภาพ.  แชมพูสมุนไพรสำหรับสัตว์เลี้ยง.โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล, 2545.


30.Dhar MLOS, Dhar MN, Dhawan BN, Mehrotra BN, Srimal RC, Tandon JS.   Screening of Indian plants for biological activity.  Part IV.   Indian J Exp Biol 1973;11:43.




ที่มา  :  ไม่ระบุ









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-09 (3334 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©