-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 265 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สารสมุนไพร








 

ขั้นตอนการทำสารสกัดสมุนไพรขับไล่แมลง




วัตถุดิบ
(สมุนไพรต่างๆ) 3 ส่วน + น้ำเปล่า 10 ส่วน หมักนาน 3 เดือน จะได้ สารสกัดสมุนไพร


วิธีทำ
นำวัตถุดิบหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ลงในถังที่เตรียมไว้ เอาน้ำตาลมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วเติมน้ำเปล่าลง เว้นช่องว่างอากาศในถัง 1:5 เสร็จแล้วปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ที่ไม่ถูกแดด หมั่นเปิดดูทุก 5 – 7 วัน พร้อมกับการคนไปด้วย หมักทิ้งไว้ 3 เดือน จึงนำจุลินทรีย์ไปใช้ได้


ห้ามใช้ภาชนะที่เป็นอลูมิเนียมหรือโลหะ





สมุนไพรกำจัดหนอน
เถาบอระเพ็ด , ลูกควินนิน , เมล็ดมันแกว , เปลือกต้นไกรทอง , เถาวัลย์ยาง , เถาวัลย์แดง , ต้นส้มเช้า , เปลือกต้นจิกสวน , เมล็ดลางสาด , ใบแก่ดาวเรือง , ชะพลู , เปลือก/ผลมังตาล , ฝักคูนแก่ , ลูกยี่โถ , ใบมะสินรก , หัวขมิ้นชัน , หัวกลอย , ใบหนามขี้แรด , สาบเสือ , ผล/เมล็ดฟักข้าว , เมล็ดสะเดา , ลูกสลอด , จิกแล , เมล็ด/ใบ/ต้นสบู่ต้น , เทียนหยด , ยาสูบ , กานพลู ใบยอ , หางไหลขาว/แดง , มะกล่ำตาหนู , พลูป่า , หัวขมิ้นชัน , หนอนตายหยาก




สมุนไพรไล่แมลง
ใบผกากรอง , ใบยอ , ต้นยาสูบ , ใบ/ดอกตูมดาวเรือง , ใบมะระขี้นก , ยาฉุน , ใบคำแสด , หางไหลขาว/แดง , เมล็ดแตงไทย , พริกไทย , ดีปลี , ใบ/เมล็ดน้อยหน่า , ใบมะเขือเทศ , สะระแหน่ , ข่า , ใบ/เมล็ด/ต้นสบู่ต้น , กระเทียม , หัวกลอย , กระชาย , เปลือกว่านหางจระเข้ , โหระพา , ขิง , พริกสด , ใบ/ดอก/ผลลำโพง , ทุเรียนเทศ , เมล็ดละหุ่ง , ดอกแคขาว , ตระไคร้หอม/แกง , เมล็ดโพธิ์ , ยี่หร่า , ดอกเฟื่องฟ้า , กลีบดอกชะบา , ดอกยี่โถ , ดอกตองตรึง , ปะทัดจีน , สาบเสือ , มะกรูด , ว่านน้ำ




สมุนไพรกำจัดโรค
(รา , แบคทีเรีย , ไวรัส)
ว่านน้ำ , ลูกกะบูร , ลูกครัก , ลูกเสม็ด , สบู่ต้น , ลูกอินทนินป่า , ลูกตะโก , ลูกมะเกลือ , เปลือกเงาะ , เปลือกมังคุด , สาบเสือ , เปลือกว่านหางจระเข้ , ชะพลู , ลูกยอสุก , ต้นแสยะ , เปลือกมะม่วงหิมพานต์ ใบยูคาลิปตัส , หัวไพล , ใบมะรุม , ต้นกระดูกไก่ , กานพลู , หัวขมิ้น , ลูกกล้วยอ่อน , เปลือกงวงกล้วย, ต้นเทียนหยด , ใบหูเสือ , พริกสด , เปลือกต้นประดู่ , ใบมะเขือเทศ , หน่อไม้สด , ลูกหมากสด , สะระแหน่ , โหระพา ,ยางมะละกอ , รากหม่อน , ตระไคร้หอม/แกง , หญ้าดอกขาว , เหง้ามหาหงส์ , เปลือกต้นแค , เปลือกต้นอินทรีย์ , กระเทียม ,คื่นฉ่าย



สมุนไพรสูตรรวมมิตร
(ป้องกันกำจัด หนอน / แมลง / โรค)
ว่านน้ำ , สาบเสือ , น้อยหน่า , หนอนตายหยาก , ละหุ่ง , ขมิ้นชัน , ชะพลู , สบู่ต้น , ยาสูบ , บอระเพ็ด, ดีปลี , พริกไทย , ข่า , กระเทียม , หางจระเข้ , ตระไคร้หอม , กะบูร , มังคุด , เงาะ , แค , ปะทัดจีน , ยี่โถดาวเรือง , พริกสด , หางไหล , ขอบชะนาง , ขิง , แสยะ , งวงกล้วย , สะเดา



ที่มา  :  BIOGANG




ขั้นตอนในการสกัดสมุนไพรด้วยตัวทำละลาย

ในการสกัดสมุนไพรนั้น ทำได้หลายวิธี แต่ที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ การสกัดด้วยตัวทำละลาย โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการเลือกตัวทำละลาย ก็จะต้องดูว่า เราต้องการสารอะไรออกมาจากสมุนไพรนั้น มีขั้ว/ไม่มีขั้ว (polar/nonpolar) หากต้องการพวกน้ำมันซึ่งเป็นพวกที่ไม่มีขั้ว ก็ใช้ตัวทำละลายไม่มีขั้ว ถ้าต้องการพวกที่มีขั้วขึ้นมาหน่อย ก็ใช้ตัวทำละลายที่มีขั้วสูงขึ้นมา

ตัวทำละลายที่ใช้ในห้องปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ เช่น เฮกเซน คลอโรฟอร์ม เอทิลอะซิเตด เมทานอล ฯลฯ ซึ่งแต่ละตัว ก็มีขั้วที่ต่างๆ กัน



ขั้นตอนในการสกัดสมุนไพรด้วยตัวทำละลาย ก็มีดังนี้ (แบบคร่าวๆ)
นำพืชสมุนไพรมาอบให้แห้งที่อุณหภูมิไม่เกินประมาณ 40 องศาเซลเซียส หรือตากลมให้แห้ง แล้วบดให้ละเอียด(ที่สุดเท่าที่จะละเอียดได้) นำไปแช่ในตัวทำละลายทิ้งไว้อย่างน้อย 3 วัน แล้วกรองเอาส่วนที่เป็นของเหลวออกมา (สามารถแช่ซ้ำอีกได้โดยเติมตัวทำละลายลงไปอีก) นำสารละลายที่ได้มาระเหยแห้งก็จะได้สารสกัดหยาบออกมา ซึ่งอาจมีสารที่เราต้องการปนอยู่กับสารชนิดอื่นก็ได้

แนะนำว่า ถ้าต้องการเอาไปใช้กับคน ควรแยกสารให้ได้สารที่บริสุทธิ์ หรือที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่เราต้องการจริงๆ ไม่ควรนำสารสกัดหยาบไปใช้ทันที เพราะอาจมีผลข้างเคียงจากสารอื่นๆ ในสารละลายนั้นก็ได้

ข้อควรระวังก็คือ ตัวทำละลายอินทรีย์ทุกชนิด ล้วนเป็นอันตรายต่อร่างกายทั้งสิ้น อาจถึงตาย หรือพิการได้ เพราะชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นตัวทำละลายของสารอินทรีย์ และร่างกายเราก็เป็นสารอินทรีย์เหมือนกัน ดังนั้น ในการทำสารพวกนี้ ต้องมีการป้องกันตัว โดยการสวมผ้าปิดจมูก แว่นตาแล็บ เสื้อคลุม และถุงมือให้เรียบร้อย เพื่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์(สิน)

หรือถ้าใช้วิธีแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน ก็คือ จะใช้เอทานอล หรือแอลกอฮอลล์กินได้ หรือ เหล้าขาว มาเป็นตัวทำละลาย แต่ไม่ควรนำมาทานโดยตรง อาจใช้เป็นยาทาภายนอก (แล้วแต่สรรพคุณ) หรืออาจสกัดด้วยน้ำกลั่นก็ได้ แล้วแต่ ว่าต้องการสารอะไร









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-09 (5581 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©