-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 225 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สารสมุนไพร





หลากหลายสูตรการหมักสมุนไพร



       สูตรเฉพาะ :  
       หมายถึง  การเลือกใช้พืชสมุนไพรเพียง 1 อย่าง  ที่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับชนิดของแมลงโดยเฉพาะ  หรือตรงกับชนิดของหนอนโดยเฉพาะ  หรือตรงกับชนิดของโรคโดยเฉพาะ  นำมาสกัดตามแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน  โดยแยกพืชสมุนไพรแต่ละชนิด  ไม่ปะปนกัน  เช่น        

        ถัง-1     สกัด   "สะเดา"      อย่างเดียวเพื่อใช้กำจัดหนอน
        ถัง-2     สกัด   "ขมิ้นชัน"     อย่างเดียวเพื่อใช้กำจัดเพลี้ย  ไร
        ถัง-3     สกัด   "มังคุด"      อย่างเดียวเพื่อใช้กำจัดรา  แบคทีเรีย 
      
        เมื่อสกัดพืชสมุนไพรตัวใดก็จะได้เฉพาะสารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรตัวนั้นเท่านั้น  เป็นสารออกฤทธิ์ที่ตรงกับชนิดของศัตรูพืช  และมีความเข้มข้นมากที่สุด  สูตรนี้เหมาะสำหรับการกำจัดและทำลายโดยตรง.....เรียกว่า  "สูตรตัวต่อตัว" 
           


        
สูตรรวมมิตร :
         หมายถึง  การเลือกพืชสมุนไพร  2-5 ชนิด  ที่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับหนอนเหมือนๆกัน  หรือตรงกับแมลงเหมือนๆกัน  หรือตรงกับโรคเหมือนๆกัน  นำมาสกัดเอาสารออกฤทธิ์ตามแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน  โดยแยกสกัดพืชสมุนไพรแต่ละชนิดไม่ปะปนกัน  เช่น 

          ถัง-1      สกัดว่านน้ำ  ตะบูน  กระเทียม   ร่วมกันเพื่อใช้กำจัดเชื้อรา
          ถัง-2      สกัดใบน้อยหน่า สะเดา หางไหล  ร่วมกันเพื่อใช้กำจัดแมลง
          ถัง-3      สกัดฝักคูน แมงลักคา โหระพา ร่วมกันเพื่อใช้กำจัดไข่แม่ผีเสื้อ 

          แบบนี้จะทำให้ได้สารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรหลายชนิดที่ตรงกับโรคและแมลงศัตรูพืชเพียงตัวเดียว  ส่งผลให้ได้ประสิทธิ์ภาพสูง  สูตรนี้ใช้ได้ทั้งป้องกันและกำจัด .....เรียกว่าสูตร  "ตัวต่อตัวมีรุม" 



          สูตรรวมมิตรแบบผสม : 
          หมายถึง   การเลือก........
       -  ใช้พืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์กำจัดหนอนโดยตรง 3-5 ชนิด  
       -  ใช้พืชสมุนไพรประเภทที่มีสารออกฤทธิ์กำจัดแมลงโดยตรง 3-5 ชนิด  
       -  ใช้พืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์กำจัดรา แบคทีเรีย ไวรัส โดยตรง 3-5 ชนิด
          นำพืชสมุนไพรทั้ง 3 ประเภท  มาสกัดรวมกันตามแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน ในถังเดียวกัน  พร้อมๆกัน และด้วยวิธีการเดียวกันแบบนี้จะทำให้ได้สารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรทุกตัวที่สามารถป้องกันกำจัดหนอน แมลง และโรค ได้ในครั้งเดียวกันซึ่งเหมาะสำหรับการใช้เพื่อป้องกันมากกว่าเพื่อกำจัด  เรียกว่า   "สูตรตะลุมบอน" 



         สูตรข้างทาง : 
         หมายถึง  การเลือกพืชทั้งที่กินได้ และวัชพืช  ที่ขึ้นตามพื้นที่ทั่วไป  เช่น  ข้างถนน   ในสวน  ในป่า  ชายน้ำ  บนภูเขา  ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวตามธรรมชาติ  เช่น  กลิ่นฉุน/เหม็น   รสฝาด/ขม/เผ็ด/ร้อน   มียางมากอวบน้ำ  ไม่มีโรค  หนอนและแมลงรบกวน  ซึ่งแสดงว่าในพืชนั้นมีสารออกฤทธิ์บางอย่างที่คุ้มครองตัวมันเองได้  เมื่อนำพืชที่มีคุณสมบัติดังกล่าวมาสกัดตามแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านก็จะได้สารออกฤทธิ์นั้นในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้  เรียกว่า  "สูตรเหมาจ่าย" 

          หมายเหตุ :
        - มีพืชสมุนไพรเพียงจำนวนน้อย  ที่ผ่านงานวิจัยโดยนักวิชาการ และผ่านการรับรองทั้งในประเทศและต่างประเทศแล้ว  ในขณะที่ยังมีพืชสมุนไพรอีกจำนวนมากที่ยังไม่ผ่านงานวิจัย และยังไม่มีการรับรองใด  แต่ก็ยังมีการใช้และยินยอมให้ใช้ได้โดยผ่านกรรมวิธีแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน
        - เกษตรกรทั่วโลกรู้จักและเคยใช้สารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรทดแทนสารเคมี  ทั้งในการป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชและในกิจกรรมเพื่อการดำรงชีวิตอื่นๆมานานแล้ว  และวันนี้สารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรกำลังได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
        - มร.สตอลล์ แกสบี้.นักวิชาการเยอรมัน  ร่วมกับ ศ.ดร.ขวัญชัย  สมบัติสิริ  ศึกษาวิจัยสะเดา และพืชสมุนไพรอื่นๆ  อีกกว่า 30 ชนิดในประเทศไทยจนประสบความสำเร็จ  ข้อมูลเรื่องนี้รัฐบาลเยอรมันได้ตีพิมพ์เป็นภาษาต่างๆทั่วโลก 14 ภาษา ยกเว้นภาษาไทยเพราะเห็นว่าประเทศไทยมีนักวิจัยร่วมอยู่ด้วยแล้ว
       - เมื่อราว 3-5 ปีที่แล้ว  เยอรมันได้สั่งนำเข้า หนอนตายหยากจากไทย.  สะเดาจากอินเดีย.  หางไหลจากอินโดเนเซีย. นำไปสกัดเอาสารออกฤทธิ์ด้วยเทคโนโลยีสูง จนสามารถ  Q.C. คุณภาพ และปริมาณของสารออกฤทธิ์ได้ตามต้องการ  








วิธีสกัดพืชสมุนไพรแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน 

 
      1.หมักน้ำเปล่า
 
        วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :
        เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบดละเอียดปริมาณ 1-2 กก. น้ำที่ออกมาอย่าทิ้งใส่ลงในถังพลาสติก เติมน้ำเปล่า 10-20 ล. คนให้เข้ากันดี   
        ทิ้งไว้ 24-48 ชม. ระหว่างนี้ให้คน 2-3 รอบ ครบกำหนด 24-48 ชม. ก็จะได้สารสกัดสมุนไพรเข้มข้น พร้อมใช้งาน
      หมักต่อไป 15-20 วัน หรือเมื่อเห็นว่าพืชสมุนไพรเปื่อยยุ่ย นอนก้นถังดี ให้กรองเอากากออก เก็บน้ำใสไว้ใช้งานจะดีมาก กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูก หรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี
      สูตรนี้ไม่แนะนำให้เก็บไว้นานเพราะจะเน่าหรือบูด กรณีพืชสมุนไพรประเภทหัว ซึ่งมีแป้งเป็นส่วนผสมหลักจะบูดเน่าเร็วกว่าสมุนไพรประเภทใบ/ดอก/ผล ดังนั้นจึงควรทำครั้งละเพียงพอต่อการใช้ 1 ครั้ง แต่หากต้องการเก็บนานให้เติมเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์ อัตรา 1 ล.ต่อน้ำสกัด 10 ล. แอลกอฮอร์จะช่วยแก้อาการบูดเน่าได้     



    2.สูตรหมักเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์ 
      วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :
      เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ  สับเล็กหรือบดละเอียดปริมาณ 1-2 กก. น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง ใส่ลงในถังพลาสติก เติมเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์ (อย่างใดอย่างหนึ่ง)1-2 ล. เติมน้ำส้มชายชู 1 ล. อัตราเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์กับน้ำส้มสายชูให้ได้พอท่วมสมุนไพร ถ้าไม่ท่วมให้เติมน้ำเปล่าเพิ่มจนกระทั่งพอท่วม คนเคล้าให้เข้ากันดี ทิ้งไว้ 24-48 ชม.ระหว่างนี้ให้คน 2-3 รอบ  เพื่อให้แอลกอฮอร์กับน้ำส้มสายชูจะสกัดเอาสารออกฤทธิ์ในสมุนไพรออกมา ครบกำหนด 24-48 ชม.แล้วให้เติมน้ำเปล่า 10-20 ล.ก็จะได้สารสกัดสมุนไพรเข้มข้น พร้อมใช้งาน
      หมักต่อไป 15-20 วัน หรือเมื่อเห็นว่าพืชสมุนไพรเปื่อยยุ่ย นอนก้นถังดี ให้กรองเอากากออก เก็บน้ำใสไว้ใช้งานจะดีมาก กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูกหรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี      



      3.สูตรแช่น้ำร้อน
 
       
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :
        เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบดละเอียดปริมาณ 1-2 กก. น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง  ใส่ลงในถังพลาสติกที่มีน้ำต้มเดือดแล้ว 10-20 ล. คนให้เข้ากันดี ทิ้งไว้ 24-48 ชม. ระหว่างนี้ให้คน 2-3 รอบ ครบกำหนด 24-48 ชม. ก็จะได้สารสกัดสมุนไพรเข้มข้น พร้อมใช้งาน
      หมักต่อไป 15-20 วัน หรือเมื่อเห็นว่าพืชสมุนไพรเปื่อยยุ่ย นอนก้นถังดี ให้กรองเอากากออก เก็บน้ำใสไว้ใช้งานจะดีมาก กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูกหรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี
      สูตรนี้ไม่แนะนำให้เก็บไว้นานเพราะจะเน่าหรือบูด กรณีพืชสมุนไพรประเภทหัว ซึ่งมีแป้งเป็นส่วนผสมหลักจะบูดเน่าเร็วกว่าสมุนไพรประเภทใบ/ดอก/ผล ดังนั้นจึงควรทำครั้งละเพียงพอต่อการใช้ 1 ครั้ง แต่หากต้องการเก็บนานให้เติมเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์ อัตรา 1 ล.ต่อน้ำสกัด 10 ล. แอลกอฮอร์จะช่วยแก้อาการบูดเน่าได้
        

         4.สูตรต้มพอร้อน
           วัสดุส่วนผสม :
           เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบดละเอียดปริมาณ 1-2 กก.น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง   ใส่ลงในถังโลหะ (ปี๊บ)ที่มีน้ำ 10-20 ล. คนให้เข้ากันดี ยกขึ้นตั้งไฟ ต้มพอเดือด เสร็จแล้วยกลงปล่อยให้เย็น ก็จะได้สารสกัดสมุนไพรเข้มข้น พร้อมใช้งาน
           เมื่อน้ำต้มเย็นลงแล้วให้กรองเอากากออก เก็บน้ำใสไว้ใช้งาน กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูก หรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี 
           สูตรนี้ไม่แนะนำให้เก็บไว้นานเพราะจะเน่าหรือบูด กรณีพืชสมุนไพรประเภทหัว ซึ่งมีแป้งเป็นส่วนผสมหลักจะบูดเน่าเร็วกว่าสมุนไพรประเภทใบ/ดอก/ผล ดังนั้นจึงควรทำครั้งละเพียงพอต่อการใช้ 1 ครั้ง แต่หากต้องการเก็บนานให้เติมเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์ อัตรา 1 ล.ต่อน้ำสกัด 10 ล. แอลกอฮอร์จะช่วยแก้อาการบูดเน่าได้            



         5.สูตรต้มเคี่ยว
           
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :
           เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบดละเอียดปริมาณ 1-2 กก. น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง   ใส่ลงในถังโลหะ (ปี๊บ)ที่มีน้ำ 10-20 ล.   ยกขึ้นตั้งไฟ    
          ต้มครั้งที่ 1 ........ ให้เดือดจัด เสร็จแล้วใช้ตะแกงกรองเอาสมุนไพรที่ต้มแล้วออกทิ้งไป   ใส่สมุนไพรตัวเดิม ปริมาณเท่าเดิมลงไปแทน เตรียมต้มรอบ 2
          ต้มครั้งที่ 2 ........ เดือดจัดแล้วใช้ตะแกงกรองเอาสมุนไพรที่ต้มแล้วออกทิ้งไป ใส่สมุนไพรตัวเดิม ปริมาณเท่าเดิมลงไป เตรียมต้มรอบ 3
          ต้มครั้งที่ 3 ........ เดือดจัดแล้วใช้ตะแกงกรองเอาสมุนไพรที่ต้มแล้วออกทิ้งไป ใส่สมุนไพรตัวเดิม ปริมาณเท่าเดิมลงไปแทน แล้วต้มจนเดือดจัดเป็นครั้งสุดท้าย เสร็จแล้วยกลง ปล่อยให้เย็น แล้วให้กรองเอากากออกก็จะได้หัวเชื้อน้ำต้มสมุนไพรเข้มข้นพร้อมใช้งาน    
          กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูก หรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี
          สูตรนี้ไม่แนะนำให้เก็บไว้นานเพราะจะเน่าหรือบูด กรณีพืชสมุนไพรประเภทหัว ซึ่งมีแป้งเป็นส่วนผสมหลัก จะบูดเน่าเร็วกว่าสมุนไพรประเภทใบ/ดอก/ผล ดังนั้นจึงควรทำครั้งละเพียงพอต่อการใช้ 1 ครั้ง แต่หากต้องการเก็บนานให้เติมเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์ อัตรา 1 ล.ต่อน้ำสกัด 10 ล. แอลกอฮอร์จะช่วยแก้อาการบูดเน่าได้

          หมายเหตุ :
          สูตรต้มเคี่ยวทำได้ 2 แบบ  คือ
          แบบที่ 1. ....... ต้มเคี่ยวครบ 3 รอบแล้วกรองเอากากออกได้น้ำใสเท่าไรก็ได้เท่านั้น  ใช้งานได้เลย  ความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์มีเท่าไรก็มีเท่านั้น
          แบบที่ 2. ........ ต้มเคี่ยวครบ 3 รอบ กรองเอากากออกจนได้น้ำใสแล้ว ให้ต้มเคี่ยวต่อโดยไม่ต้องเติมพืชสมุนไพรอีก ต้มเคี่ยวจนกระทั่งน้ำระเหยไปไอหายไป เหลือ 1 ใน 4 ของครั้งแรก เสร็จแล้วปล่อยทิ้งให้เย็น ความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์จะแรงขึ้น      



        6.สูตรกลั่น

          ถังกลั่น :
          - เป็นถังโลหะทรงสูง
          - ใส่น้ำเปล่าก้นถัง ปริมาณตามความเหมาะเมื่อเทียบกับปริมาณของพืชสมุนไพรที่จะกลั่น ไม่ควรเกิน 1 ใน 4 ของความสูงถัง
          - มีตะแกงติดในถัง ณ ระดับความสูง 3 ใน 4 จากก้นถังของความสูงถัง
          - มีฝาปิดสนิทป้องกันไอระเหยออกได้  
          - ที่ฝาปิดมีท่อให้ไอระเหยผ่านไปสูงระบบควบเย็นได้สะดวก
          - ท่อนี้จะผ่านระบบควบเย็น  ส่วนปลายดัดแปลงให้แทงเข้าไปในถังกลั่น เพื่อให้ไอระเหยที่ถูกควบเย็นจนกลายเป็นน้ำแล้วกลับเข้าไปกลั่นซ้ำในถังอีกครั้ง  
          
ส่วนผสมและวิธีทำ :
          เลือกพืชสมุนไพรประเภทสกัดด้วยวิธีกลั่นโดยเฉพาะ มีสารออกฤทธิ์ตรงกับชนิดศัตรูพืช สดหรือแห้ง สับเล็กหรือบดละเอียด การกลั่นทำได้ 2 แบบ        
          แบบที่ 1 ....... กลั่นแบบต้มเหล้าป่า (ชาวบ้านแอบทำ /เหล้าเถื่อน)หรือเหล้าขาว (รัฐบาลทำ)การกลั่นแบบนี้ต้องอาศัยความร้อนสูง น้ำที่ต้มเพื่อเอาไอระเหยต้องเดือดจัด 100 องศาเซลเซียส ทำให้ได้  "น้ำ + สารออกฤทธิ์" ซึ่งจะมีน้ำ 70 เปอร์เซ็นต์ สารออกฤทธิ์ 30 เปอร์เซ็นต์  ถ้าน้ำที่ต้มเพื่อเอาไอระเหยร้อน 60-70 องศาเซลเซียส จะทำได้เปอร์เซ็นต์ของสารออกฤทธิ์สูงขึ้น อัตราส่วน น้ำ 30 เปอร์เซ็นต์ สารออกฤทธิ์ 70 เปอร์เซ็นต์ แต่เนื่องจากความร้อนเพียงเท่านี้ไอน้ำจะไม่พุ่งออกมาสู่ระบบควบเย็นได้  แก้ไขโดยการใช้ตัวดูดไอระเหย (แว็คกั้ม)....... สารออกที่ได้ใช้งานได้เลย หากต้องการเก็บนานให้เติมแอลกอฮอร์ 10-20 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำกลั่นสารออกฤทธิ์
          แบบที่ 2 ........ กลั่นซ้ำ เป็นการกลั่นแบบให้ความร้อนสูงเดือดจัด ไอระเหยที่ถูกควบเย็นแล้วผ่านท่อที่ดัดแปลงเป็นการเฉพาะไหลกลับเข้าไปในหม้อกลั่นอย่างเดิมรวมกับน้ำก้นถังกลั่นอีกครั้ง แล้วถูกต้มกลายเป็นไอระเหยสูงขึ้นสู่ระบบควบเย็นซ้ำโดยอัตโนมัติ น้ำจะถูกกลั่น
เป็นไอน้ำ ถูกควบเย็นเป็นน้ำไหลกลับเข้าถังกลั่น หมุนเวียนซ้ำอย่างนี้จนเป็นที่พอใจ น้ำก้นถังกลั่น คือ น้ำกลั่นสารออกฤทธิ์ มีน้ำกับสารออกฤทธิ์ 1 : 1 ใช้งานได้เลย
          แบบที่ 3 ........ กลั่นด้วยเครื่องกลั่นเฉพาะแบบ "แยกน้ำ-แยกน้ำมัน" น้ำมันที่ได้เป็นสารออกฤทธิ์ 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีน้ำปน สารออกฤทธิ์ที่ได้ใช้งานได้เลย และสามารถเก็บนานได้โดยไม่ต้องเติมแอลกอฮอร์






    ประสบการณ์ตรงที่ไร่กล้อมแกล้ม


     สูตรข้างทางต้มพอเดือด 
     เลือกเก็บพืชสมุนไพรที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ สภาพสดใหม่ สมบูรณ์ มีงานวิจับรองรับ ในพื้นที่ทั่วๆไป เช่น  

    
เก็บจากข้างถนน :
     สาบเสือ.  สบู่ต้น.  แมงลักคา.  สะเดา.  ผกากรองป่า.  ว่านน้ำ.  กะเพราผี. ฝักคูน.  ชุมเห็ด.

     เก็บจากหลังบ้าน-หน้าบ้าน-ในครัว :
     ตะไคร้.  ข่า.   พริก.  กระชาย.  กะเพรา.  โหระพา.   แมงลัก.  
 
     
เก็บในสวนตัวเอง-สวนเพื่อนบ้าน :
     ใบน้อยหน่า.  บอระเพ็ด.  ฟ้าทะลายโจร.  ลูกใต้ใบ.  ใบฝรั่ง.  เสลดพังพอน.   

     เก็บมาอย่างละกำมือใหญ่ๆ ปริมาณเท่าๆ กัน ทุกอย่างสดใหม่  อัดลงปี๊บได้ประมาณ 3 ใน 4 ของความจุ  ใส่น้ำให้เต็มปี๊บ  ยกขึ้นตั้งไฟ  เร่งไฟอ่อนๆ (เร่งมากเปลืองแก๊ส)  ระหว่างต้มคนพอเป็นพิธี  ต้มพอเดือดปุดๆ เสร็จแล้วดับไฟ  ยกลง  ทิ้งให้เย็น.......เย็นแล้วกรองกากออกเอาไปใส่โคนไม้  เท่านี้ก็ได้สารสกัดสมุนไพรสูตรข้างทาง  เป็นสารสกัด  "เข้มข้น"  พร้อมใช้งาน......ถ้าจะใช้เลย  ให้เจือจางกับน้ำเปล่า 3-4 เท่า  
     ถ้าต้องการเก็บนาน ให้เติมแอลกอฮอร์ 1-2 ส่วนต่อน้ำต้มสมุนไพร 10 ส่วนและเติมน้ำส้มสายชู 1-2 ส่วนต่อแอลกอฮอร์ 10 ส่วน.....อัตราใช้ 20-50 ซีซี./น้ำ 20 ล.         

     หมายเหตุ :
- เลือกพืชสมุนไพรอะไรก็ได้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว เผ็ด/ร้อนจัด. ขมจัด. ฝาดจัด. มีฤทธิ์เบื่อเมา.
    

- น้ำพริกแกงเผ็ดซึ่งมี พริก. มะกรูด. ตะไคร้. สามารถพัฒนาให้เป็นสารสกัดสมุนไพรได้ โดยเติมเพิ่ม ข่า. ขิง. ขมิ้น. ไพล. ฯลฯ  
    

- พืชปลูกบางชนิดเมื่อสัมผัสกับแอลกอฮอร์แล้วเกิดอาการใบกร้าน  ให้เลิกใช้แอลกอฮอร์แล้วใช้เหล้าขาวแทน
    

- ปุ๋ยทางใบที่มีกากน้ำตาล. หรือกลูโคส.เป็นส่วนผสม  เนื่องจากความหวานของสารดังกล่าวอาจจะเป็นตัวเรียกเชื้อราเข้ามาได้  แก้ไขโดย  ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบช่วงกลางวัน แล้วฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรกำจัดเชื้อราในช่วงเย็นหรือค่ำของวันเดียวกัน  











สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-09 (4828 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©