-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 385 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เทคโนฯ เกษตร









 

การกำจัดสัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM)


              

1.    
เป็นการเลือกเอาวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เหมาะสมหลายๆ วิธีมาใช้ในการควบคุมศัตรูพืชโดยลดการใช้สารเคมี
ลง  และนำเอาสิ่งอื่นที่ปลอดภัยกว่า และได้ผลดีมาใช้แทน
  


การเตรียมแปลง

1. ไถดินตากแดดเพื่อให้แสงแดดเผาทำลายเชื้อโรคและแมลงศัตรูพืชในดิน

2. แก้ไขดินเปรี้ยวและดินด่างโดยการปรับดินไม่ให้เป็นกรดโดยการใส่ปูนขาวหรือไม่ให้ดินเป็นด่างโดยใช้กำมะถัน

3. ปรับโครงสร้างของดินให้ระบายน้ำระบายอากาศได้ดีโดยการเติมปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยคอก  หรือโดยปลูกพืชตระกูลถั่ว  และไถกลบ

4. ใส่เชื้อต่อต้านโรคลงในดิน  โดยนำเชื้อราต่างๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อคน  สัตว์ และสิ่งแวดล้อมมาเลี้ยงขยาย
พันธุ์ในปุ๋ยหมักแล้วใส่ลงดินเพื่อให้กำจัดศัตรู

- ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่าที่เกิดจากเชื้อรา

- ใช้เชื้อราเพซิโลมัยซีส  และอาโธรโบทริสควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม

- ใช้ไส้เดือนฝอยที่มีประโยชน์กำจัดหนอนกัดเคาะรา และต้นพืช



การเตรียมเมล็ดพันธุ์ต้นกล้า 

5. เลือกใช้พันธุ์พืชที่ต้านทานโรค และแมลง

6. ควรใช้เมล็ดพันธุ์  และต้นกล้าที่ปลอดโรค และแมลง

- ใช้ต้นกล้าจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  และใช้กิ่งพันธุ์เมล็ดพันธุ์  จากต้นแม่ที่แข็งแรง  ปลอดโรค

- กำจัดเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ดโดยแช่น้ำอุ่นที่อุณหภูมิ 50-55oC นาน 15-30 นาที  แช่ในสารละลาย
จุลินทรีย์หรือคลุกเคล้าสารเคมี



ช่วงปลูก

7. เดินตรวจแปลงปลูกทุกวัน  เมื่อพบใบพืชแสดงอาการของโรคหรือพบแมลงศัตรูพืชให้พิจารณาจัดการ ดังนี้

- เด็ดใบพืชที่เป็นโรคหรือถอนต้นที่เป็นโรคนำออกมาจากแปลงปลูก

- จับหนอนออกทำลาย

- ใช้ตัวห้ำ  ตัวเบียน และยาเชื้อ (ชีวภัณฑ์) สำหรับกำจัด

8. อย่าให้แปลงปลูกรกรุงรัง  กำจัดวัชพืชให้หมดเพื่อไม่ให้แย่งอาหารและไม่เป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูพืช

9. ให้น้ำและปุ๋ยอย่างเพียงพอ  พืชจะได้แข็งแรง โตเร็ว และไม่อ่อนแอต่อโรค

10. การปลูกพืชหลายชนิดในแหล่งเดียวกัน  พืชผักอายุสั้น อายุยาว และพืชสุมนไพร

11. การใช้พืชกับดัก เช่น ปลูกพืชบางชนิดที่ปล่อยสารพิษออกมาทำให้เชื้อโรคลดน้อย เช่น ดาวเรือง สาระแหน่ 
โหระพา  ป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยได้

12. การใช้พืชสมุนไพรไล่แมลง


 
หลังเก็บเกี่ยว

10. เก็บเศษซากพืชที่เหลือในแปลงออกเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมโรคและแมลงศัตรูพืช

11. ปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อรักษาธาตุอาหารในดินให้คงอยู่อย่างสมบูรณ์ และตัดวงจรชีวิตของศัตรูพืช



 
ที่มา  :  ไม่ระบุ






2.

การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน (Integrated Pest Management : IPM)

หมายถึง การเลือกใช้วิธีควบคุมศัตรูพืชที่มีอยู่อย่างรอบคอบ แล้วนำมาผสมผสานกันอย่างเหมาะสม เพื่อลดปริมาณศัตรูพืชและคงไว้ซึ่งระดับการใช้
สารกำจัดศัตรูพืชหรือการใช้สิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ อย่างคุ้มค่าและลดหรือหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม IPM เน้นการปลูกพืช
ให้แข็งแรง ให้มีการกระทำที่อาจรบกวนระบบนิเวศเกษตรน้อยที่สุด และสนับสนุนกลไกการใช้ศัตรูธรรมชาติควบคุมศัตรูพืช


การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธ
หมายถึง การใช้สิ่งมีชีวิตในการควบคุมแมลงศัตรูพืชให้อยู่ภายใต้ระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจที่กำหนด
เช่น


ไส้เดือนฝอย
ฉีดพ่นไส้เดือนฝอยให้สัมผัสตัวแมลง โดยเฉพาะในระยะไขและระยะตัวหนอน ไส้เดือนฝอยจะเข้าไปตามช่องเปิดของลำตัว

แมลง แล้วเข้าไปอยู่ในกระแสเลือดของแมลง จากนั้นแบคทีเรียซึ่งอยู่ในทางเดินอาหารของไส้เดือนฝอยเริ่มขยายพันธุ์ เพิ่มปริมาณ และเคลื่อนตัว
ออกทางทวารของไส้เดือนฝอย เข้าไปอยู่ในช่องว่างลำตัวแมลง เข้าทำลายของเหลวภายในตัวแมลงทำให้เลือดเป็นพิษ และตายภายใน 3-4 วัน
ลักษณะอาการของตัวหนอนที่ถูกทำลายมีสีครีม น้ำตาลอ่อน ลำตัวเหนียว ไม่เละ ไส้เดือนฝอยสามารถเคลื่อนที่เข้าหาเหยื่อได้ ในระยะใกล้ ๆ ได้


เชื้อแบคทีเรีย
พ่นเชื้อแบคทีเรียให้จับอยู่ที่ใบพืช เมื่อตัวหนอนกินใบพืช เชื้อแบคทีเรียที่จับตามใบพืชจะเข้าสู่ร่างกาย ไปรบกวนการย่อยอาหารของ
ตัวหนอน ทำให้ตัวหนอนไม่สามารถกินอาหารได้ตามปกติ และตายในที่สุด ตัวหนอนได้รับแบคทีเรียทางปาก การตายจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับชนิดของ
แบคทีเรีย สภาพแวดล้อม อาหารหนอน ความเป็นกรด-ด่างในลำไส้ แบคทีเรียไม่มีอันตรายต่อคน สัตว์เลือดอุ่น ตัวห้ำ ตัวเบียน


เชื้อรา
จะทำลายโดยการทำลายเนื้อเยื่อ เส้นใยจะเจริญอยู่ในลำตัวทำให้แมลงแห้งตาย


ไวรัส
มีความเฉพาะเจาะจงกับแมลงอาศัย เช่น NPV ของหนอนกระทู้หอม จะเกิดกับหนอนกระทู้หอมเท่านั้น เมื่อตัวหนอนกินกินไวรัสที่ปะปนอยู่บน
พืชอาหาร ไวรัสจะไปเพิ่มจำนวนอยู่ในนิวเคลียสของเยื่อหุ้มต่าง ๆ ของหนอน เช่น เม็ดเลือด ไขมัน ทางเดินอาหาร ท่อหายใจ และผนังลำตัวหนอนจะ
เป็นโรค และตายภายใน 2-7 วัน ขึ้นอยู่กับขนาดตัวหนอน


ตัวห้ำ
หมายถึง สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตโดยการกินแมลงศัตรูพืชเป็นอาหารเพื่อการเจริญเติบโตจนครบวงจรชีวิต ตัวห้ำมีทั้งสัตว์มี
กระดูกสันหลัง เช่น นก งู กิ้งก่า กบ และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหรือแมลง ต่าง ๆ เช่น มวนพิฆาต มานเพชฌฆาต ด้วงเต่า
ลาย แมงมุม


ตัวเบียน
หมายถึง แมลงซึ่งอาศัยกินและเบียนแมลงอื่น ๆ แมลงเบียนมีขนาดตัวเล็กกว่าเหยื่อ และมีความเฉพาะเจาะจงกับ
ชนิดของเหยื่อ ไข่ของแมลงเบียนบางชนิดมีความสามารถในการแบ่งตัว เพื่อเพิ่มปริมาณให้มากขึ้นได้ การทำลายเหยื่อของ
แมลงเบียนมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป แมลงเบียนจะเข้าทำลายในระยะต่าง ๆ ของการเจริญเติบโต เช่น ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้
และตัวเต็มวัย ทำให้เหยื่อค่อย ๆ ตายไปในที่สุด


การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยวิธีเขตกรรม
หมายถึง การดูแลและปรับปรุงสภาพแวดล้อมของต้นพืชให้มีความอุดมสมบูรณ์ เช่น การตัดแต่งกิ่ง การ
กำจัดวัชพืช การไถพรวนดิน การปรับสภาพดินให้มีความเหมาะสม นอกจากจะเป็นการทำลายแหล่งอาศัยของศัตรูพืชแล้ว พืชจะเจริญเติบโตได้ดี แข็ง
แรงสามารถทนต่อการเข้าทำลายของแมลงได้ด้วย


การปรับสภาพดิน
เช่น การเตรียมดินให้มีระดับ pH ที่เหมาะสม มีแร่ธาตุอาหารสมบูรณ์ มีความสม่ำเสมอของหน้าดิน


การไถพรวน
เป็นการกลับหน้าดินขึ้นเพื่อทำลายไข่และตัวอ่อนของแมลงที่อยู่ในดิน และกำจัดวัชพืชได้อีกทางหนึ่งด้วย


การกำจัดวัชพืช
เพื่อจำกัดแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลง และเป็นการลดการแก่งแย่งอาหาร ทำให้พืชที่ปลูกดูดซึมน้ำ แร่ธาตุ อาหารได้อย่างเต็มที่


การตัดแต่งกิ่ง
เพื่อจำกัดที่อยู่อาศัยของแมลง ทำให้แสงแดดส่องผ่านได้มากยิ่งขึ้น การสังเคราะห์แสงของพืชทำได้เต็มที่ การจัดการกับต้นพืช และ
แมลงก็ทำได้สะดวกขึ้น


การปลูกพืชหมุนเวียน
คือ การหลีกเลี่ยงไม่ให้มีแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของแมลงนั้น ๆ เป็นเวลานาน เพื่อควบคุม แมลงที่มีการเคลื่อนที่ไม่ไกล
แมลงที่มีชนิดอาหารจำกัด และมีการผสมพันธุ์ช้า


การปลูกพืชแบบผสมผสาน
เพื่อจำกัดแหล่งอาหารของศัตรูพืช


การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยวิธีกล
คือ เมื่อพบว่ามีศัตรูพืชเข้าทำลาย ถ้าพบจำนวนน้อยสามารถจะใช้มือหรือวัสดุช่วยในการทำลาย หรือการใช้กับ
ดักชนิดต่าง ๆ ในการควบคุม


การจับทำลายใช้มือ
ในการทำลายเมื่อพบแมลงศัตรู การป้องกันกำจัดแบบง่าย ๆ คือการจับแมลงด้วยมือ หรือเขย่าต้นไม้ หรือการเก็บดักแด้ของ
หนอนกินใบสักที่อยู่ตามเศษใบไม้แห้งบนพื้นดิน


การใช้ตาข่ายคลุมแปลง
เพื่อป้องกันแมลงจากภายนอกแปลงเข้ามาทำลายภายในแปลงได้ เช่น การทำผักกางมุ้ง


การใช้เครื่องยนต์
เช่น เครื่องจับตั๊กแตน หรือเครื่องดูดแมลง


การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยสารสกัดจากธรรมชาติ
คือ การนำสารที่สกัดได้จากธรรมชาติมาใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืช เช่น สารสกัดจาก
สะเดา ตะไคร้หอม พลูป่า หางไหล เป็นต้น


การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยการใช้สารเคมี
คือ การใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เช่น การใช้สารเคมีกำจัดแมลง การใช้เหยื่อพิษ
การใช้สารล่อ เป็นต้น


การเลือกใช้สารเคมีที่มีความเฉพาะในการป้องกันกำจัด
ควรเลือกสารเคมีที่กำจัดเฉพาะแมลงศัตรูพืชป่าไม้เท่านั้น เพื่อป้องกันศัตรูธรรมชาติของ
แมลงที่เป็นตัวรักษาสมดุลธรรมชาติ


การใช้สารล่อ
โดยการสังเคราะห์สารฟีโรโมนเพศของแมลงที่พบว่ามีการระบาด แล้วสร้างกับดัก นำฟีโรโมนมาเป็นสารล่อ แมลงที่มาติดกับดักจะเป็น
แมลงเพศเดียวกัน เป็นการช่วยลดการผสมพันธุ์ และลดจำนวนประชากรของแมลง


การใช้เหยื่อพิษ
ทำให้อาหารของแมลงศัตรูพืชเป็นพิษ โดยจะให้ผลเมื่อศัตรูพืชมากินเหยื่อ


การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยทางฟิสิกส์
คือ การนำเอาวิธีทางฟิสิกส์เข้ามาใช้ เช่น การใช้รังสี ทำให้แมลงวันผลไม้เป็นหมันหรือการใช้กับดักแสง
ไฟเพื่อควบคุมปริมาณผีเสื้อกลางคืน เป็นต้น


การใช้รังสีในการปราบแมลง
เช่น การฉายรังสีทำให้แมลงวันผลไม้เป็นหมัน


การใช้เครื่องทำเสียง
เพื่อไล่แมลง


การใช้ความร้อน
เช่น การนำดินมาผ่านความร้อนเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืชในดิน


การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยการสำรวจศัตรูพืช
คือ การศึกษาสำรวจ และสำรวจแมลงศัตรู เช่น การสุ่มสำรวจนับแมลงศัตรูพืช หรือการศึกษา
ระดับเศรษฐกิจของแมลงศัตรูพืช


การยึดระดับเศรษฐกิจ
คือ การศึกษาการระบาดของแมลงระดับความเสียหายของพืชว่าอยู่ในระดับใดที่ควรจะมีการป้องกันกำจัดเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ถ้าหากมีความเสียหายยังไม่มากก็ยังไม่ต้องทำการป้องกันกำจัด เนื่องจากไม่คุ้มค่า


การนับศัตรูพืช
สำรวจการระบาดของศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ ว่ามีมากน้อยเพียงใด


สุ่มสำรวจ 10 จุด
เพื่อนับเปอร์เซ็นต์การระบาดของแมลง


การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยการใช้กฎหมาย

มีกฎหมายสำหรับป้องกันและกำจัดแมลง เช่น มีพระราชบัญญัติกักกันพืช มีกฎหมายปราบศัตรูพืช


การคัดเลือกสายพันธุ์

ทำการคัดเลือกสายพันธุ์ หรือแม่ไม้ที่ดี มีความต้านทานสูงทั้งทางด้านโรคและแมลงได้ดี


คัดเลือกเมล็ดจากแม่ไม้ที่มีคุณภาพ
มีความแข็งแรง ปลอดภัยจากโรคและแมลง


คัดเลือกสายพันธุ์
เลือกจากสายพันธุ์ที่มีความต้านทาน


คัดเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสม
พื้นที่ที่ทำการปลูกควรเป็นแหล่งที่เคยมีไม้ชนิดนั้นขึ้นในธรรมชาติได้ดีมาก่อน

       

         

ศูนย์วิจัยกีฏวิทยาป่าไม้ที่ 2
ตู้ ปณ. 3 โนนหัน อ. ชุมแพ จ. ขอนแก่น 40290
เบอร์โทร. 083-3554545  E-mail :: insectkhonkaen
@yahoo.co.th







3.

การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน 

ในการผลิตข้าวอย่างถูกต้องและเหมาะสมนั้น นอกจากจะต้องการผลผลิตสูง คุณภาพได้มาตรฐาน ขบวนการผลิตจะ
ต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ไม่เกิดมลพิษ เกิดสมดุลทางการเกษตร  การบริหารจัดการศัตรูพืชต้องหลีก
เลี่ยงการใช้สารเคมี ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพร่างกาย  ยังเป็นการทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติ  ในการ
ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช จึงใช้หลายๆวิธีร่วมกัน โดยเริ่มตั้งแต่การปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว  
          

๑. พันธุ์ข้าวที่ต้านทาน ต่อโรค-แมลง
                  

๒. การใส่ปุ๋ย การเพิ่มอัตราปุ๋ยไนโตรเจน จะทำให้เนื้อเยื่อพืชอวบน้ำและนุ่มอ่อนแอต่อการเข้าทำลาย มักเกิดการ
ระบาดของโรค แมลงมากขึ้น โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  หนอนห่อใบข้าว โรคไหม้ กาบใบแห้ง ก่อนใส่ปุ๋ย
ควรพิจารณาจากความอุดมสมบูรณ์ของดินก่อนเป็นพื้นฐาน
                  

๓. วิธีการปลูก การปลูกที่มีความหนาแน่นสูงเกินไป ความชื้นระหว่างต้นข้าวสูง  โรคไหม้เข้าทำลายมากขึ้น  เมื่อ
ต้นข้าวเจริญเติบโตก็ยังเป็นที่อยู่อาศัยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแพร่พันธุ์ทำลายต้นข้าวได้ง่ายขึ้น
        

๔. การจัดการน้ำ การควบคุมระดับน้ำสามารถลดปัญหาการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ โดยในระยะข้าวยัง
เล็ก ถ้ามีการอพยพของแมลงมาวางไข่ในแปลงนา  ให้ไขน้ำเข้าให้ท่วมต้นข้าว ๖-๗ วัน จะลดจำนวนไข่ที่ฟักได้

๕. เลือกระยะเวลาปลูกที่เหมาะสม ทำให้ระยะการเจริญเติบโตของต้นข้าวไม่เหมาะกับการเข้าทำลาย   เป็นการ
หลีกเลี่ยงการทำลายของแมลงที่อพยพมาจากที่อื่น 
                  

๖. การจัดการระบบการปลูกพืช  ควรมีการปลูกพืชหมุนเวียน
                  

๗. การทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็น วัชพืช  ตอซัง  ข้าวป่า   ควรไถทำลายก่อนการปลูก
    

๘. การใช้สารสกัดจากพืช  พืชสมุนไพร สะเดา คูณ ใบยูคา ขี้เหล็ก  บอระเพ็ด สาบเสือ ซาด กลอย  ไหลแดง
ตะไคร้หอม หนอนตายอยาก เป็นต้น  เช่น ใช้เมล็ดสะเดาหรือรากหางไหลอัตรา๑ กิโลกรัม ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร (๑ ปี๊บ)
บดแช่วัน ๑ คืน แล้วกรองน้ำด้วยผ้า ก่อนไปฉีดควรผสมสารจับใบ ฉีดพ่นในช่วงเวลาตอนเย็น
           

๙. ชีววิธี โดยปกติในธรรมชาติ ศัตรูธรรมชาติจะมีจำนวนมากกว่า แมลงศัตรูข้า ๕-๖ เท่า แต่ถ้ามีการใช้สารเคมีก็จะ
เป็นการทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติที่มีประโยชน์ได้   เช่น มวนเขียวดูดไข่มีบทบาทมากในการทำลายไข่ของเพลี้ย
กระโดดสีน้ำตาล  จึงควรมีการอนุรักษ์แมลงที่มีประโยชน์ไว้
                  

๑๐. การใช้สารเคมี เป็นทางเลือกสุดท้ายใช้เฉพาะที่มีความจำเป็น และมีผลกระทบน้อยที่สุด เกษตรกรควรหมั่น
ตรวจแปลงเสมอเพื่อนำมาพิจารณาก่อนใช้สารเคมี
                   



ศัตรูธรรมชาติ ในการปลูกข้าวมีแมลงศัตรูที่ทำลายข้าวมากกว่า 20 ชนิด แต่มีปัจจัยธรรมชาติที่คอยควบคุมไว้ มีเพียง
๕-๖ ชนิดเท่านั้น ที่ทำลายข้าวจนถึงระดับเสียหาย  ปัจจัยธรรมชาติที่คอยควบคุมปริมาณของแมลงแบ่งได้เป็น ๒
ปัจจัยใหญ่ คือ

ปัจจัยที่เป็นสิ่งไม่มีชีวิต
  (อุณหภูมิ ความชื้น แสงแดด ) 
ปัจจัยที่เป็นสิ่งมีชีวิต ( ตัวห้ำ  ตัวเบียน เชื้อโรค) 

ในระบบนิเวศการปลูกข้าวจะมีความหลากหลายทางชีวภาพ ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตมากมายหลายชนิด โดยเฉพาะแมลง
ศัตรูธรรมชาติรวมตัวห้ำ ตัวเบียน มากกว่า ๑๐๐ ชนิด
    

ตัวห้ำ
คือ สัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งที่กินแมลงศัตรูข้าว ที่มีขนาดเล็กกว่า  อ่อนแอกว่าเป็นอาหารเพื่อการเจริญเติบโต 
ตัวห้ำสามารถกินเหยื่อได้หลายชนิด ทุกวัยของการเจริญเติบโตของเหยื่อไม่ว่าจะเป็น ไข่ ตัวอ่อน  ตัวหนอน 
ดักแด้  ตัวเต็มวัย  ตัวอย่างของตัวห้ำ ได้แก่ งู นก กบ คางคก ปาด แมงมุม ไรตัวห้ำ ด้วงเต่าปีกลายหยัก  ด้วงเต่า
สีส้ม ด้วงดิน  ด้วงก้นกระดก แมลงช้าง แมลงปอ  แมลงวันดอกไม้ แมลงวันหัวบุบ มวนเพชฌฆาต   มวนพิฆาต
มวนกิ่งไม้  ตั๊กแตนตำข้าว  ตั๊กแตนหนวดยาว  และต่อ

ตัวเบียน
คือ สัตว์ขนาดเล็กที่ใช้ชีวิตอยู่ได้ด้วยการเกาะกินอยู่บน หรือ ในตัวสัตว์อาศัยที่มีขนาดใหญ่กว่า ทำสัตว์
อาศัยอ่อนแอและตาย  เฉพาะตัวเบียนเพศเมียเท่านั้นที่สามารถเข้าทำลายและเจริญเติบโต ในสัตว์อาศัยทุกระยะ 
โดยการวางไข่ของตัวเบียนลงในตัวสัตว์อาศัย  ตัวอย่างตัวเบียน เช่น  แตนเบียนไข่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  แตน
เบียนหนอนห่อใบข้าว

 
                                                                                                                         คุณลิขิต  KM Team อ.พระนครศรีอยุธยา 





4.
การป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชแบบผสมผสาน

   การ ป้องกันโรคและแมลง หากกระทำในเชิงเดียวเดี่ยวๆ มักจะไม่สามารถป้องกันหรือกำจัดได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
พืชที่ถูกโรคหรือแมลงเข้าทำลายเสียหายแล้ว ก็ไม่มียาหรือวิธีการใดทำให้ส่วนที่เสียหายไปแล้วกลับคืนมาได้ดัง
เดิม ดังนั้นการป้องกันก่อนถูกเข้าทำลายจึงเป็นวิธีการที่ เหมาะสมที่สุด เพื่อลดความเสียหาย แต่จะใช้วิธีการใดวิธี
การหนึ่งย่อมไม่ได้ผลดีตามที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการผสมผสานหลายๆรูปแบบเข้ามาจัดการ ทั้งนี้เกษตรกร
จะต้องเข้าใจและรู้ถึงศัตรูของพืชที่เพาะปลูกว่า มีโรคและแมลงชนิดใดเข้าทำลายบ้าง  ช่วงเวลาใด ระยะการเจริญ
เติบโตช่วงใด และ นี่เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการป้องกันในหลายๆรูปแบบ ที่นำมาเผยแพร่ให้พอได้ทราบเป็นแนว
ทาง โดยนำเอาวิธีการปฎิบัติจากเกษตรกรที่ทำจริงและหลายๆแนวทางจากหลักวิชาการ นำมาศึกษา เช่น

1.เขตกรรม
  หมายถึง การปรับปรุงดิน น้ำ อากาศ แสงแดด สภาพแวดล้อม ให้มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบ
โตของพืช การบำรุงให้พืชมีความสมบูรณ์อยู่เสมอ จะทำให้พืชมีความแข็งแรงทนทานต่อการเข้าทำลายของโรค
และแมลงศัตรูพืชได้

2.กับดักกาวเหนียว
หมายถึง  การใช้กาวเหนียวในการเกษตร ทาลงบนวัสดุสี เหลือง,ขาว,ฟ้า เพื่อเป็นการล่อ
แมลงให้เข้ามาเล่นสีแล้วติดกับกาว

3.แสงล่อ
  หมายถึง  การใช้แสงสว่างล่อแมลงกลางคืนเข้ามาเล่นไฟ โดยอาจจะล่อเหนือบ่อปลา หรือในนา
แปลงข้าว โดยทากาวเหนียวจับแมลงไว้ใกล้ๆแสงล่อ

4.แสงไล่
   หมายถึง การใช้แสงไฟสีส้ม ติดตั้งริมแปลง โดยมีที่บังแสงด้านในสวน ให้แสงออกนอกสวนทาง
เดียว แมลงกลางคืนที่เห็นแสงสีส้มก็จะไม่เข้ามารบกวน

5.แสงล่อ – แสงไล่
หมายถึง การใช้แสงทั้ง2 ชนิด เข้าจัดการพร้อมกัน โดยแสงล่อจะใช้ภายในสวนและแสงไล่
จะใช้อยู่ริมแปลงสวน

หมายเหตุ
 แมลงกลางวันจะชอบเข้าเล่นวัสดุที่มีสีเหลือง เหมาะสำหรับ เพลี้ยไฟ, ไร, แมลงหวี่ขาว, และแมลงอื่นๆอีก
หลาย  ชนิดแสง สีม่วง ใช้ได้ผลดีกับ แม่ผีเสื้อหนอนเจาะสมอฝ้าย, หนอนกระทู้, หนอนกระทู้ดำ, หนอนกอ
ข้าว, หนอนหงอนมันฝรั่ง, เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล, เพลี้ยจักจั่นสีเขียว, แมลงหล่า, แมลงบั่ว

6.ห่อผล
  หมายถึง การใช้ถุงกระดาษหรือพลาสติกหรือถุงห่อผลไม้ เพื่อป้องกันแมลงปากกัก-ดูด เข้าทำลาย
ผล เช่นแมลงวันทอง,แม่ผีเสื้อเข้าวางไข่ หรือใช้ตาข่ายห่อผลทุเรียนเพื่อป้องกันกระรอก กระแต หรือค้างคาว

7.ตัวห้ำ-ตัวเบียน
หมายถึง แมลงหรือสัตว์ตามธรรมชาติ ที่ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยการกินไข่หรือตัวอ่อนหรือแมลงที่
เป็นศัตรูพืช เป็นอาหาร

8.ชีววิธี
หมายถึง การใช้จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคของศัตรูพืชเข้าทำลายศัตรูพืช

9.ซ้ำที่ แต่ไม่ซ้ำดิน
หมายถึง  การปลูกพืช(พุ่มเตี้ย) ในถุงดินที่ผ่านการกำจัดเชื้อโรคและบ่มด้วยจุลินทรีย์มา
แล้วเป็นอย่างดี แล้วบรรจุถุงหรือภาชนะปลูกที่เหมาะสมกับพืชนั้นๆ แล้วนำไปปลูกในแปลงตามปกติ

10.ควันไล่
  หมายถึง การอาศัยกลิ่นที่เกิดจากการเผาไหม้ โดยกลิ่นนั้นๆจะไปรบกวนประสาทการรับรู้ของแมลง
ศัตรูพืช ให้หนีไป

11.กลิ่นไล่
หมายถึง การใช้กลิ่นระเหยที่สามารถรบกวนประสาทนำทางของแมลงศัตรูพืชไม่ให้เข้าใกล้

12.กลิ่นล่อ
หมายถึง การใช้กลิ่นสังเคราะห์หรือกลิ่นธรรมชาติ ล่อแมลงเข้ามาติดกับ

13.รสไล่
หมายถึง การใช้น้ำคั้นจากพืชสมุนไพรที่มีรสขมจัด เผ็ดจัด ร้อนจัด นำไปฉีดพ่นลงในพืชที่ศัตรูชอบเข้า
มากัดกิน

14.เสียงไล่
หมายถึง การทำให้เกิดเสียงดังในรูปแบบวิธีการต่างๆ เพื่อให้สัตว์ที่เป็นศัตรูพืชตกใจและหนีไป

15.แสงไล่
หมายถึง การใช้วัสดุสะท้อนแสงที่เคลื่อนไหวไปมาได้ เพื่อสะท้อนแสงเข้าตาสัตว์ที่จะเข้าทำลายให้
ตกใจได้

16.แสงแดดกำจัดไข่และแมลงหรือหนอน
หมายถึง การตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อให้แสงแดดและอากาศผ่าน
เข้ามาได้โดยสะดวก

17.น้ำเปล่ากำจัดไข่แมลง
หมายถึง การใช้น้ำเปล่ารดหรือฉีดพ่นให้เปียกทั่วทั่งในและนอกทรงพุ่ม เพื่อป้องกัน
ไม่ให้แมลงหรือผีเสื้อกลางคืนมาวางไข่

18.แสงแดดกำจัดรา
หมายถึง การตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งเพื่อให้แสงแดดส่องกระจายทั่วในทรงพุ่มจนเกิดความ
ร้อน ที่สามารถกำจัดเชื้อราได้

19.การทำน้ำท่วม
หมายถึง การปล่อยน้ำให้ท่วมพื้นที่นา เพื่อเป็นเป็นการไล่หนู,ปูที่ทำรูอยู่ตามคันนา

20.การปลูกพืชแซม
หมายถึง การปลูกพืชรองประเภทที่มีกลิ่นที่แมลงศัตรูไม่ชอบ แทรกหรือสลับลงในพืช
ประธาน

21.ตัดวงจร
หมายถึง การเลิกหรือระงับการปลูกพืชที่เคยเกิดการระบาดของโรคและแมลงศัตรู

22.น้ำมันลวงตา
หมายถึง การฉีดพ่นสารที่เป็นน้ำมัน เช่นน้ำมันพืช ลงบนต้นพืชช่วงกลางวัน

23.กลิ่นลวง
หมายถึง การใช้กลิ่นพืชชนิดอื่น ฉีดพ่นลงบนต้นพืชเพื่อให้แมลงกลางคืนที่เดินทางโดยใช้กลิ่นนำ
ทาง จะเกิดความเข้าใจผิด

24.สัตว์กำจัดแมลง
หมายถึง การอนุรักษ์ กบ เขียด งู ตะปาด จิ้งจก นกฮูก หรือสัตว์อื่นใด ที่ดำรงชีวิตด้วยการ
กินแมลง/สัตว์ที่เป็นศัตรูของพืช

25.กำจัดเชื้อโรคปนเปื้อน
หมายถึง การแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำเกลือเจือจาง นาน 6-12 ชม. เพื่อกำจัดโรคที่มา
กับเมล็ดพันธุ์

26.พันธุ์ต้านทาน
หมายถึง การใช้เมล็ดพันธุ์หรือต้นพันธุ์ที่มีภูมิต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิดได้

27.การอนุรักษ์แมลงธรรมชาติ
หมายถึง การปล่อยให้หญ้าวัชพืชหรือพืชอื่นๆไว้ในสวน จนดูรก และงดใช้สาร
เคมีบริเวณนั้นอย่างเด็ดขาด เพื่อปล่อยให้แมลงธรรมชาติที่เป็นศัตรูของแมลงศัตรูพืชได้อยู่อาศัย

28.วิธีอื่นๆ
เช่น การโรยทรายใส่โคนทางมะพร้าวเพื่อป้องกันด้วงกัดมะพร้าว เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีวิธีอื่นอีกมาก
มายหลากหลายตามภูมิปัญญาของแต่ละท่าน ข้อสำคัญ “จงเข้าใจในศัตรูพืช ทั้งโรคและแมลงเสียก่อน” จึงจะทำให้
การป้องกันหรือกำจัดง่ายขึ้น

ท่านใดมีวิธีการอื่นใดที่น่าสนใจ ก็นำเอามาเผยแพร่กันนะครับ

 
อ้างถึง


ที่มา  : WWW.LOCALS.IN.TH





5.
การควบคุมศัตรูพืช หรือ การจัดการศัตรูพืช?


“การควบคุมศัตรูพืช” และ “การจัดการศัตรูพืช” มีความแตกต่างกันอย่างไร?

หลายปีมาแล้วการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานได้เริ่มดำเนินการขึ้นโดยใช้ชื่อว่า “การควบคุมศัตรูพืชแบบผสม
ผสาน”ซึ่งคำว่า“ควบคุม” นั้นกล่าวถึงการฆ่าศัตรูพืช(โดยปรกติวิธีคือการใช้สารสังเคราะห์) ซึ่งไม่คำนึงถึงการป้องกัน
ปัญหาศัตรูพืชแต่อย่างใด “การควบคุม” ศัตรูพืชหมายถึงการแก้ปัญหาภายหลังที่ปัญหาได้เกิดขึ้นแล้ว (วิธีการรักษา)
ซึ่งโดยทั่วไปการแก้ปัญหาจะไม่ส่งผลในระยะยาว ปัญหาศัตรูพืชจะกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้ง

ดังนั้น ต่อมาจึงเปลี่ยน คำว่า  “ควบคุม”  เป็น  “การจัดการ”  เป้าหมายของโปรแกรม “การจัดการ” ศัตรูพืชคือ
การป้องกันไม่ให้ศัตรูพืชสร้างความเสียหายต่อพืชผลทางการ เกษตร ดังนั้นการจัดการศัตรูพืชจึงไม่จำเป็นต้องหมาย
ถึงการกำจัดศัตรูพืช หากแต่เป็นการป้องกันศัตรูพืชไม่ให้เพิ่มจำนวนจนถึงจุดที่จะก่อให้เกิดปัญหา

วิธีการ ไอพีเอ็ม(IPM)นั้น การตัดสินใจในการจัดการกับศัตรูพืชจะยึดตามหลักของความจำเป็นและประสิทธิผลเสมอ
มิใช่การปฏิบัติตามตารางกำหนดการ หัวใจหลักของไอพีเอ็มคือการวางแผนล่วงหน้า ติดตามสถานการณ์ เพื่อคาด
การณ์ล่วงหน้า และเตรียมการณ์ก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น

สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักคือ ไอพีเอ็ม (IPM) มิได้มีความหมายเพียงแค่การจัดการกับศัตรูพืช แต่ยังหมายรวมถึงการ
จัดการระบบนิเวศเกษตรทั้งระบบให้อยู่ในสมดุลย์ และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ทำการเกษตร
 

ที่มา  :  ไม่ระบุ




6.









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (1826 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©