-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 673 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว






ข้าวพื้นบ้าน...ทรัพยากรมั่นยืน

 ดอกสะแบง

         
เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว...ผมได้ไปร่วมกิจกรรมกับ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดสัมมนาในหัวข้อ ทำนาอย่างไรให้เหลือเก็บ งานนี้วิทยากรท่านหนึ่งคือ คุณตะวัน ห่างสูงเนิน เกษตรกรอินเตอร์แห่งลุ่มแม่น้ำปิง ประธานเครือข่าย เรนโบว์ฟาร์ม บอกว่าเขาสามารถทำรายได้ปีละ 2 แสนบาท จากนาเพียง 5 ไร่...ซึ่งเป็น เกษตรอินทรีย์ และก็ทำได้จริงๆ
         
เกษตรอินทรีย์ นี้...มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ แผนงานฐานทรัพยากรอาหาร ดำเนินงาน โครงการข้าวปลาอาหารอีสานมั่นยืน เพื่อสร้างเครือข่าย การพัฒนา และ อนุรักษ์ฐานทรัพยากรอาหารของชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี 
         
นายไพบูลย์ ภาระวงศ์ หรือ พ่อบูน ของชาวบ้านหนองพรานคาน ตำบลท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ วัย 54 ปี ซึ่งได้ ปรับเปลี่ยนแนวคิดการทำนาเป็นแบบพึ่งพาธรรมชาติ ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ เล่าว่า...
         
เมื่อก่อนก็ ปลูกข้าวที่ท้องตลาดนิยมเหมือนกับคนอื่นๆทั่วไป เริ่มมาฉุกคิดและสนใจการทำนารูปแบบใหม่ เมื่อปุ๋ยและยามีราคาแพงขึ้น เรื่อยๆอีกทั้งเห็น เพื่อนชาวนาเริ่มป่วยเป็นโรคเบาหวาน อันมีสาเหตุมาจาก ข้าวไม่เหลือสารอาหารที่เป็นประโยชน์เพราะถูกขัดสีไปจนหมด...และก็พากันกินข้าวพันธุ์เดียวนานนับปี
         
ซึ่งก็มามองว่า...ปัจจุบันปลูก ข้าวพื้นบ้านของจังหวัดอุบลราชธานี และที่อื่นๆ รวม 10 สายพันธุ์ได้แก่ มะลิแดง มะลิดำ หอมเสงี่ยม สันป่าตอง หอมพม่า ข้าวเหนียวแดง แสนสบาย ยืนกาฬสินธุ์ ข้าวเหนียวอุบล และ นางนวล
         
ข้าวพื้นบ้านเหล่านี้จะให้ผลผลิตดี อีกทั้ง ไม่ต้องใช้ปุ๋ย และ ยาเพราะทนทานต่อโรค และ ขยายพันธุ์ข้าวไว้ปลูกเองได้ โดยไม่ต้องซื้อ
         
อีกรายคือ พ่อสี...สี ทอนไสระ อายุ 58 ปี แกนนำเกษตรกร บ้านหนอง-พรานคาน กล่าวเสริมว่า....ทุกวันนี้ หันกลับมาทำการเกษตรย้อนยุคเหมือนอย่างที่ปู่ย่าตายายทำในอดีต ซึ่งมีต้นทุนการผลิตถูก แต่ให้ผลผลิตมาก...
         
ที่นา 6 ไร่ ปลูกข้าวพันธุ์พื้นบ้านถึง 20 สายพันธุ์ พบว่าข้าวพื้นบ้านหลายๆ สายพันธุ์ มีเมล็ดขนาดใหญ่กว่า และ น้ำหนักก็มากกว่าเท่าตัว นาปีก็จะปลูกข้าวพันธุ์พื้นบ้านเก็บเอาไว้กิน ส่วนนาปรังก็จะปลูกข้าวพันธุ์อายุสั้นเพื่อขาย
         
ข้าวที่ได้จะนำมารวมกันก่อนนำไปสี เพื่อให้เกิดการคละสายพันธุ์ข้าว และ คงคุณค่าทางอาหารของข้าวไว้ให้ได้มากสุด (ข้าวหอมมะลิแดง ข้าวหอมสามกอ ข้าวมันเป็ด หรือข้าวเหนียวอุบล มีน้ำตาลต่ำ วิตามินสูง ช่วยป้องกันโรคเบาหวานและรักษาโรคความดันได้)
         
ผลที่ได้....ทำให้สุขภาพของเราเองก็ดีขึ้น โรคภัยไข้เจ็บก็ลดลง เลิกกินข้าวที่มีแต่แป้ง แล้ว หันมากินวิตามินและสารอาหารอื่นที่มีประโยชน์กันเถอะ.....พ่อสี ตบท้ายด้วยการชักชวนอย่างนั้น...!!
     

       
muj,k  :  ไทยรัฐ









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-06-06 (1444 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©