-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 310 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

จุลินทรีย์




หน้า: 2/2




จุลินทรีย์ท้องถิ่น : การเพาะขยายและการประยุกต์ใช้

ปัจจุบันเกษตรกรได้หันมาผลิตพืชเชิงเดี่ยวเพื่อการค้าและการส่งออกมากยิ่งขึ้น ซึ่งการปลูกพืชซ้ำๆ กันในพื้นที่เดิมเป็นระยะเวลานานโดยไม่มีการบำรุงดินย่อมส่งผลให้ดินเสื่อมโทรม ผลผลิตตกต่ำ ต้องใช้ปุ๋ยและสารเคมีเพิ่มมากขึ้น การพึ่งพาปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกษตรกรเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เนื่องจากราคาผลผลิตถูกผูกขาดและกำหนดราคาโดยกลไกของระบบตลาดทุน ซึ่งเกษตรกรรายย่อยไม่สามารถควบคุมได้ เมื่อปัจจัยการผลิตมีราคาแพงขึ้น ในขณะที่ปริมาณและราคาผลผลิตไม่ได้เพิ่มขึ้น  ทำให้เกษตรกรประสบกับภาวะขาดทุนและมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมากทุกปี สุขภาพกายและสุขภาพจิตเสื่อมโทรมลงเนื่องจากการใช้ปุ๋ยและสารเคมีเหล่านี้

            
การนำจุลินทรีย์ท้องถิ่นหรือจุลินทรีย์พื้นบ้านมาปรับใช้กับระบบผลิตของเกษตรกรอาจเป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวให้กับเกษตรกรได้ เนื่องจากเป็นเทคนิคที่สอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่นที่แตกต่างกันเพราะมีการนำเอาจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ภายในท้องถิ่นนั้นๆ มาทำเป็นหัวเชื้อสำหรับนำไปขยายและประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ ช่วยปรับปรุงบำรุงดินให้ดีขึ้น สามารถปลูกพืชงอกงาม ให้ผลผลิตสูง ทำให้ธรรมชาติเกิดความสมดุล โรคและแมลงศัตรูพืชลดลง รวมทั้งเกษตรกรก็ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในการผลิต ทำให้ช่วยลดต้นทุนการผลิต เกษตรกรสามารถพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น คุณภาพชีวิตของเกษตรกรก็ดีขึ้นตามไปด้วย

จุลินทรีย์ท้องถิ่นคืออะไร 
             
จุลินทรีย์ท้องถิ่นหรือจุลินทรีย์พื้นบ้าน ได้แก่ จุลินทรีย์หลากหลายชนิดที่อยู่ในดินตามธรรมชาติ โดยเฉพาะดินดีที่ไม่เคยผ่านการใช้สารเคมีหรือดินดีจากป่าไม้ที่มีอยู่ภายในท้องถิ่น  จุลินทรีย์ท้องถิ่นเหล่านี้มีประสิทธิภาพดีกว่าจุลินทรีย์ที่ได้จากน้ำหมักอีเอ็ม หรือ พ.ด. สูตรต่างๆ เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์จำนวนมาก หลากหลายชนิด สามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นๆ และประการสำคัญคือ จุลินทรีย์ท้องถิ่นนั้น เกษตรกรไม่ต้องไปซื้อหาที่ไหนเพราะมีอยู่แล้วภายในท้องถิ่น อีกทั้งสามารถผลิตใช้ได้เองไม่ยุ่งยาก สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย รวมทั้งสามารถพัฒนาคิดค้นสูตรที่เหมาะสมกับระบบการผลิตของตนเองได้อีกด้วย
  

การเพาะขยายจุลินทรีย์ท้องถิ่นทำอย่างไร 
              
จุลินทรีย์ท้องถิ่นนั้น เกษตรกรสามารถนำมาเพาะขยายด้วยตนเองได้อย่างง่ายๆ เพียงแต่เกษตรกรมีดินดีในท้องถิ่นก็สามารถนำมาขยายจนกลายเป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากมาย ซึ่งมีขั้นตอนโดยรวมดังรูปต่อไปนี้
             

จากรูปดังกล่าวทำให้เห็นขั้นตอนโดยรวมของการเพาะขยายจุลินทรีย์ท้องถิ่นว่าเริ่มจากการไปเก็บดินดีจากป่าไม้ในท้องถิ่นหรือจากดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ใกล้บ้าน เช่น บริเวณใต้โคนต้นไม้ บริเวณจอมปลวก เป็นต้น นำดินดีที่เก็บได้มาผสมคลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุและส่วนผสมต่างๆ หมักทิ้งไว้
5-7 วัน ก็ได้เป็น “หัวเชื้อแห้ง” เมื่อนำมาผสมกับน้ำแล้วหมักทิ้งไว้ 30 วัน ก็จะกลายเป็น “หัวเชื้อน้ำ” ที่มีความเข้มข้นซึ่งคุณสมบัติดีกว่า สารอีเอ็ม หรือ สาร พ.ด.ที่ขายตามท้องตลาดทั่วไป โดย “หัวเชื้อน้ำ” ที่ผลิตขึ้นเองเหล่านี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย ทั้งการทำเป็นจุลินทรีย์น้ำสำหรับย่อยสลายอินทรียวัตถุ ทำเป็นสารไล่แมลงและป้องกันโรค ทำเป็นปุ๋ยน้ำหมักช่วยเร่งโต เร่งดอก ใบ ผล (แต่ไม่ควรนำไปรดต้นไม้โดยตรง) อีกทั้งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆ ได้อีกมากมายแล้วแต่เกษตรกรจะสามารถพัฒนาขึ้นมาใช้งานให้เหมาะสมกับความต้องการของตน
            
ทั้งนี้ การเพาะขยายจุลินทรีย์ท้องถิ่นนอกเหนือจากการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ แล้ว หัวใจสำคัญของเทคนิคนี้คือ การส่งเสริมให้เกษตรกรเป็น “เกษตรมือหนึ่ง” กล่าวคือ เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น เนื่องจากเป็นผู้พัฒนาสูตรต่างๆ ขึ้นมาใช้งานเอง ไม่ต้องไปยึดติดกับสูตรจากที่อื่นๆ เพียงอย่างเดียว อีกทั้งได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของสูตรเฉพาะของตัวเองนับเป็นความภาคภูมิใจอันหนึ่งของเกษตรไทย     

สำหรับรายละเอียดของการเพาะขยายจุลินทรีย์ท้องถิ่นมี 2 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การทำหัวเชื้อแห้งหัวเชื้อแห้ง ได้จากการนำดินดีจากป่าหรือที่ดินที่อุดมสมบูรณ์คลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุต่างๆ และหมักไว้จนกระทั่งจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่อยู่ในดินดี (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์) ให้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นสำหรับนำไปขยายเป็นหัวเชื้อน้ำต่อไป

1.1 ส่วนผสมและอัตราส่วน
      
1.1.1 ดินที่เก็บมาจากป่าที่อุดมสมบูรณ์ ประมาณ 1 ส่วน ดินเป็นแหล่งที่มาของจุลินทรีย์ โดยนำดินมาจากป่าที่อุดมสมบูรณ์ แหล่งที่ไม่มีการใช้สารเคมี ดินจากโคนจอมปลวก โคนต้นไม้ โคนต้นไผ่ ขอนไม้ผุ ลักษณะของดินที่ดี เมื่อจับแล้วนุ่มมือ มีกลิ่นหอม มีน้ำหนักเบา การเก็บดินให้เก็บบริเวณหน้าดินที่มีความชื้นเล็กน้อย และควรนำเศษซากอินทรียวัตถุ เช่น ใบไม้ ใบไผ่ ติดมาด้วย


1.1.2 สารให้ความหวาน เช่น กากน้ำตาล หรือ น้ำตาลปีบ ประมาณ 1 ทัพพี ละลายในน้ำ ประมาณ 1 ลิตร  โดยทั่วไปมักใช้กากน้ำตาลเป็นสารให้ความหวาน แต่ในปัจจุบันเริ่มมีความต้องการใช้กากน้ำตาลเพิ่มมากขึ้นทำให้กากน้ำตาลมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นเพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต และลดการพึ่งพาปัจจัยจากภายนอก ควรใช้สารให้ความหวานจากธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาใช้แทนกากน้ำตาล เช่น อ้อย มะพร้าว ตาล จาก มันเส้นบดละเอียด หรือ แป้งผสมน้ำ เป็นต้น
 
1.1.3 รำอ่อน ประมาณ 1 ส่วน  รำอ่อนจะเป็นอาหารของจุลินทรีย์ในดิน ดังนั้นหากต้องการให้จุลินทรีย์เพิ่มปริมาณขึ้น(หรือที่เรียกว่า เชื้อเดิน) อย่างรวดเร็วก็สามารถใส่รำอ่อนเพิ่มมากขึ้นได้ เพียงแต่โดยทั่วไปจะไม่ใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไปเนื่องจากเป็นการสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น


1.1.4 อินทรียวัตถุ ประมาณ 5 ส่วน  สำหรับอินทรียวัตถุจะใช้เป็นสิ่งใดก็ได้ที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น ไม่ควรนำมาจากภายนอกเพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุนนอกจากนี้อินทรียวัตถุเหล่านี้ไม่ควรปนเปื้อนสารเคมี เช่น ฟางข้าว ใบไผ่ แกลบกาแฟ เปลือกถั่ว เป็นต้น ที่ได้มาจากการเพาะปลูกแบบอินทรีย์ เนื่องจากอินทรียวัตถุที่ปนเปื้อนสารเคมีนั้น จะมีสารเคมีที่ตกค้างไปทำลายจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินดีที่นำมาผสมได้
ส่วนผสมข้างต้นระบุเป็นสัดส่วนเพื่อให้ง่ายต่อการปรับปริมาณการผสม เช่น หากได้ดินดีมาปริมาณน้อยก็ให้ใช้ส่วนผสมอื่นๆ น้อยไปด้วยในอัตราส่วนเดียวกัน หากต้องการผลิตในคราวเดียวปริมาณมากๆ ก็ให้เพิ่มปริมาณส่วนผสมในสัดส่วนดังกล่าวลงไป กล่าวคือ ถ้ามีดินดี 1 กิโลกรัม ก็ควรใช้อินทรียวัตถุประมาณ 5 กิโลกรัม หากมีดินดี 10 กิโลกรัม ก็ควรใช้อินทรียวัตถุเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 50 กิโลกรัม เป็นต้นอย่างไรก็ตาม ส่วนผสมและสัดส่วนที่นำเสนอนี้ เป็นเพียงแนวทางเบื้องต้นเท่านั้น เกษตรกรสามารถเพิ่มหรือลดสัดส่วนได้ตามความเหมาะสมของส่วนผสมชนิดต่างๆ เช่น หากได้สารให้ความหวานที่มีความหวานมากก็สามารถลดปริมาณการใช้ลงได้ หรือ รำอ่อนที่นำมาเป็นอาหารให้กับจุลินทรีย์ก็สามารถใส่เพิ่มมากขึ้นได้หากต้องการให้เกิดเชื้อเดินเร็วขึ้น เป็นต้น
          

1.2 วิธีการทำหัวเชื้อแห้ง 
1.2.1 ปูกระสอบป่าน หรือกระสอบปุ๋ยในที่ร่ม จากนั้นนำดิน อินทรียวัตถุ และสารให้ความหวานตามสัดส่วนข้างต้นมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน 
              
1.2.2 นำรำอ่อนมาผสมคลุกเคล้าตาม ให้มีความชื้นประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ (หากส่วนผสมแฉะเกินไปการเดินของเชื้อจะไม่ดี ถ้าส่วนผสมแห้งเกินไปเชื้อจะใช้เวลาในการเดินช้า) สังเกตโดยการเอามือกำส่วนผสมดู ถ้าไม่มีน้ำไหลออกตามง่ามมือ แบมือแล้วยังจับตัวกันเป็นก้อน เมื่อเอานิ้วแตะแล้วแตกแสดงว่าใช้ได้ แต่ถ้าแฉะเกินไปก็ให้เพิ่มอินทรียวัตถุ หรือถ้าแห้งเกินไปให้เติมน้ำตามความเหมาะสม
              
1.2.3 พับกระสอบห่อส่วนผสมที่คลุกเคล้ากันเรียบร้อยแล้วเก็บไว้ในที่ร่มและแห้ง เช่น ใต้ชายคา หรือ ใต้ต้นไม้ ทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน ก็จะมีใยหรือฝ้าสีขาวขึ้นถือเป็น”หัวเชื้อแห้ง” ที่นำมาใช้ได้ ทั้งนี้ไม่จำเป็นว่าใยหรือฝ้าที่เกิดขึ้นจะมีสีขาวเสมอไป อาจเป็นสีอื่นๆ ได้ ยกเว้นสีดำ แต่ที่มักเห็นเป็นฝ้าสีขาวเพราะเกิดจากเชื้อราที่แสดงลักษณะเด่นมากกว่าตัวอื่นๆ ข้อสำคัญคือเมื่อดมแล้วถ้ามีกลิ่นหอมก็นับว่าใช้ได้  การเก็บรักษาหัวเชื้อแห้งทำได้ 2 วิธีขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ใช้ คือการเก็บแบบชื้น โดยเก็บไว้ตามโคนต้นไม้ ต้นไผ่ คลุมด้วยเศษไม้ ถ้าฝนไม่ตกให้รดน้ำพอชุ่ม และการเก็บแบบแห้ง โดยการห่อไว้ในกระสอบ ในกล่องหรือ
ถุงพลาสติก แล้วนำมาเก็บในที่ร่ม   

ขั้นตอนที่ 2   
การทำหัวเชื้อน้ำ
หัวเชื้อน้ำเกิดจากการนำหัวเชื้อแห้งที่ทำขึ้นในขั้นตอนที่ 1 มาผสมกับน้ำและสารให้ความหวาน หมักเพาะขยายเชื้อจนได้เป็นของเหลวที่เข้มข้นไปด้วยจุลินทรีย์ท้องถิ่นที่มีประโยชน์จำนวนมาก ซึ่งหัวเชื้อน้ำที่ทำขึ้นนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้หลากหลาย
 
2.1 ส่วนผสมและอัตราส่วน
2.1.1 หัวเชื้อแห้งที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 ประมาณ 1 กิโลกรัม 
2.1.2 สารให้ความหวาน ประมาณ 10 กิโลกรัม 
          
2.1.3 น้ำ ประมาณ 200 ลิตร  น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำสะอาด เช่น น้ำฝน น้ำบ่อ น้ำจากแหล่งน้ำที่ไม่ปนเปื้อนสารเคมี หากต้องการใช้น้ำประปาควรเปิดน้ำประปาใส่ถัง ปิดฝาแล้วนำไปตากแดด เพื่อไล่กลิ่นคลอรีนออกให้หมด เพราะสารละลายคลอรีนจะไปทำลายจุลินทรีย์
2.1.4 รำอ่อน ประมาณ 1-2 กำมือ


2.2 วิธีการทำหัวเชื้อน้ำ 

2.2.1 ผสมสารให้ความหวานเข้ากับน้ำในถังพลาสติก 200 ลิตร ใช้ไม้คนเพื่อให้สารให้ความหวานละลายจนทั่ว
          
2.2.2 ใส่หัวเชื้อแห้งลงในถัง คนให้เข้ากัน เพื่อความสะดวกในการนำไปฉีดพ่น สามารถป้องกันเศษใบไม้หรือ ตะกอนดินอุดตันเครื่องฉีด โดยการใช้ตาข่ายไนล่อนหรือผ้าบางห่อหัวเชื้อแห้ง มัดผูกห้อยไว้ตรงกลางถังพลาสติก ก็จะช่วยให้เชื้อกระจายตัวได้ดี 
          
2.2.3 ปิดฝาถังพลาสติก หมักทิ้งไว้ในที่ร่ม 7 วัน แล้วเปิดดูจะเห็นฝ้าสีขาว ให้โรยรำอ่อน 1-2 กำมือ จากนั้นปิดฝาทิ้งไว้นาน 1 เดือน ถ้ามีกลิ่นหอมถือว่าใช้ได้ แต่ถ้ามีกลิ่นเปรี้ยวหรือกลิ่นฉุนควรเติมกากน้ำตาลเพิ่มเข้าไปเพื่อเป็นอาหารของจุลินทรีย์ กวนให้เข้ากันแล้วหมักไว้จนกว่าจะมีกลิ่นหอม
ทั้งนี้ ไม่ควรนำหัวเชื้อน้ำไปรดต้นไม้โดยตรง เนื่องจากอาจทำให้ต้นไม้ตายได้เพราะหัวเชื้อน้ำมีความเข้มข้นมาก จึงควรทำไปเจือจางก่อนใช้ โดยการทำเป็นจุลินทรีย์น้ำ หรือ ปุ๋ยน้ำหมัก เป็นต้น  นอกจากนี้ ในการทำหัวเชื้อน้ำควรเหลือช่องว่างภายในถังไว้ประมาณ 1 คืบ เพื่อให้จุลินทรีย์ที่ใช้อากาศได้หายใจ และควรเปิดฝาเพื่อระบายอากาศทุก 5-7 วันการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่นทำอย่างไร จุลินทรีย์ท้องถิ่นที่นำมาขยายจนกลายเป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ (หัวเชื้อน้ำ) สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ทำเป็นจุลินทีย์น้ำช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุ ทำเป็นสารไล่แมลงและป้องกันโรค ทำเป็นปุ๋ยน้ำหมักช่วยเร่งโต เร่งดอก ใบ หรือทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ เป็นต้น ขึ้นอยู่กับการประดิษฐ์คิดค้นของเกษตรกรแต่ละท่านให้เหมาะสมกับการผลิตของตน ซึ่งในที่นี้จะนำเสนอตัวอย่างการประยุกต์ใช้บางประการ เพื่อให้เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาต่อไป


ตัวอย่างที่
1
การทำจุลินทรีย์น้ำช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถ
 
จุลินทรีย์น้ำ คือ สารเจือจางของหัวเชื้อน้ำที่ทำขึ้น มีคุณสมบัติในการย่อยสลายอินทรียวัตถุต่างๆ ในสวน ไร่นา ให้กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ตอซังข้าวที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวเมื่อรดด้วยจุลินทรีย์น้ำก็จะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยคืนให้กับผืนนา หรือ เศษหญ้าเศษใบไม้ในสวนหากได้รดด้วยจุลินทรีย์น้ำก็จะย่อยสลายทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น
            
1.1 ส่วนผสม
- หัวเชื้อน้ำ ประมาณ 5 ลิตร 
- สารให้ความหวาน ประมาณ 10 กิโลกรัม 
- น้ำ ประมาณ 200 ลิตร 
           
1.2 วิธีการทำ 
- ผสมกากน้ำตาลกับน้ำในถังพลาสติก ใช้ไม้คนเพื่อให้กากน้ำตาลละลาย
- เติมหัวเชื้อน้ำลงในถังพลาสติก คนให้เข้ากัน
- ปิดฝาถังพลาสติก โดยเหลือช่องว่างภายในถังไว้ประมาณ 1 คืบ เพื่อให้จุลินทรีย์ที
ใช้อากาศได้หายใจ และควรเปิดฝาเพื่อระบายอากาศทุก 5-7 วัน หมักทิ้งไว้ในที่ร่ม
7 วัน ก็สามารถนำไปฉีดย่อยสลายเศษพืชในสวนไร่นาให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้
            
1.3 วิธีการใช้  
โดยทั่วไปเมื่อนำจุลินทรีย์น้ำไปรดในสวน ไร่นา จนทั่วแล้ว ให้
เกษตรกรพิจารณาความเหมาะสมในการรดเพิ่มด้วยตนเอง เนื่องจากวิธีการใช้ไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัว เกษตรกรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสภาพในท้องถิ่นของตน เพราะจุลินทรีย์แต่ละแหล่งก็มีคุณสมบัติที่ดีแตกต่างกันไป


ตัวอย่างที่
2 การทำสูตรแก้หนอนกอและเพลี้ยกระโดด 
               
2.1 ส่วนผสม
ตะไคร้หอม ประมาณ 1 กิโลกรัม 
ข่าแก่ ประมาณ 1 กิโลกรัม 
ลูกมะกรูดผ่าซีก ประมาณ 1 กิโลกรัม
บอระเพ็ด ประมาณ 1 กิโลกรัม
เมล็ดสะเดาทุบให้แตก ประมาณ 1 กิโลกรัม
ยาสูบ ประมาณ 1 กำมือ
ใบหนอนตายอยาก ประมาณ 1 กำมือ
ใบยูคาลิปตัส ประมาณ 1 กิโลกรัม
                     
หัวเชื้อน้ำ ประมาณ 1-2 ลิตร
สารให้ความหวาน ประมาณ 1-2 ลิตร
น้ำ ประมาณ 15 ลิตร 
              
2.2 วิธีการทำ 
สับสมุนไพรให้ละเอียดผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ทั้งนี้การใช้สมุนไพรหลายอย่างดีกว่าน้อยอย่าง ตัวไหนได้มาก่อนก็หมักก่อน ถ้าได้มาหลังก็หมักตามหลังในภาชนะหมักเดียวกันได้
หมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จึงนำไปฉีดพ่นได้
            
   
บทสรุปเทคนิคเกี่ยวกับจุลินทรีย์ท้องถิ่นไม่ได้เป็นเพียงเทคนิคสำหรับการปรับปรุงบำรุงดินเท่านั้น หากแต่ชวนให้ตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนความคิดความเชื่อของเกษตรกรไทย จากการเป็น
“เกษตรกรมือสอง” ที่คอยแต่พึ่งพาเทคโนโลยีของระบบทุน ให้กลับมาเป็น “เกษตรกรมือหนึ่ง” ที่สร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมของตนเองขึ้นมาดังเช่นเกษตรกรในอดีตที่ได้สร้างสรรค์ภูมิปัญญาขึ้นมามากมาย รวมถึงแสดงให้เห็นถึงแนวทางในการปรับเปลี่ยนระบบการผลิต จากการผลิตที่ถูกครอบงำโดยปัจจัยภายนอก มาเป็นการผลิตที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรี
            
แม้ในวันนี้การปรับเปลี่ยนกระบวนความคิดและระบบการผลิตของเกษตรกรไทยโดยรวมยังเป็นสิ่งที่ยากลำบาก แต่เมื่อใดก็ตามที่ยังมีเกษตรบางส่วนเลือกที่ศึกษาภูมิปัญญาดังเดิมและพัฒนาองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับวิถีการผลิตและวัฒนธรรมของชุมชน (ดังเช่นการศึกษาเทคนิคจุลินทรีย์ท้องถิ่นและนำไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม) ก็เชื่อได้ว่าเกษตรกรเหล่านี้จะคอยเป็นแรงผลักดันอันมีค่าที่จะช่วยขับเคลื่อนขบวนการเกษตรกรไทยให้เดินไปสู่วิถีการเกษตรแบบยั่งยืนได้ในที่สุด






www.sathai.orgมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) 







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (4620 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©