ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ
ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพเป็นรูปแบบของการเพิ่มธาตุอาหารพืชและอาหารสัตว์ กลับคืนสู่ระบบนิเวศในดิน เป็นการนำวัสดุอินทรีย์ต่างๆ กลับมาใช้ใหม่ เป็นรูปแบบของการปรับปรุงดินให้มีคุณสมบัติดีขึ้น โดยมีการเพิ่มเติมปริมาณอินทรียวัตถุกลับคืนสู่ดิน ทำให้ดินมีชีวิต เนื่องจากอินทรียวัตถุเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ สัตว์ขนาดเล็กในดิน และยังมีส่วนช่วยในการดูดซับธาตุอาหารพืชไม่ให้ถูกชะล้างไปจากดินได้โดยง่าย ในระบบการผลิตทางการเกษตรแผนปัจจุบัน ได้มีความพยายามที่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อให้การผลิตพืชและสัตว์เกิดความยั่งยืน กล่าวคือ ทำให้ดินมีปริมาณธาตุอาหารเพียงพอ และมีสภาพทางกายภาพอันได้แก่ การอุ้มน้ำ การถ่ายเทอากาศที่เหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตในดินรวมถึงรากพืชจะเจริญอยู่ได้อย่างสมดุล ทำให้ธาตุอาหารพืชไม่สูญเสียไปจากระบบได้ง่าย เป็นการลดต้นทุนจากการนำปัจจัยการผลิตจากภายนอกชุมชนที่มีราคาแพง เช่น ปุ๋ยเคมี ได้ส่วนหนึ่ง
ในขณะที่ระบบการผลิตพืชและสัตว์ในระบบเกษตรธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ และเกษตรผสมผสาน จะต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพเป็นหลักในการให้ธาตุอาหารพืชและสัตว์จากอัตราการสลายตัวของปุ๋ยอินทรีย์เหล่านี้ เนื่องจากการใช้จุลินทรีย์ช่วยเพิ่มธาตุอาหารพืชและสัตว์จากการแปรรูปธาตุอาหารจากรูปที่พืชและสัตว์ใช้ไม่ได้มาอยู่ในรูปที่มีประโยชน์ต่อพืชและสัตว์
ในระบบการผลิตแบบเกษตรธรรมชาตินะเน้นการนำวัสดุอินทรีย์ที่มีอยู่รอบชุมชน มาใช้ในการผลิตพืชและสัตว์ ลดการนำปัจจัยการผลิตจากภายนอกมาใช้ให้น้อยที่สุด อันเป็นระบบที่พึ่งตนเองและพยายามลดต้นทุนปัจจัยการผลิตต่างๆ ที่ต้องซื้อหาให้น้อยที่สุด แต่เน้นการผลิตปัจจัยการผลิตเหล่านั้นด้วยตนเองหรือภายในชุมชนของตน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ จึงเป็นทางออกที่สำคัญในระบบการผลิตแบบเกษตรธรรมชิและเกษตรอินทรีย์
ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ จะมีเทคนิคการผลิตและการนำไปใช้ได้หลาบแบบ ปุ๋ยอินทรีย์ที่สำคัญ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด มีรูปแบบที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากในอดีต โดยเน้นอัตราการสลายตัว เพื่อให้ได้ธาตุอาหารที่รวดเร็วขึ้นจากเดิมในอดีต องค์ความรู้ด้านการนำจุลินทรีย์มาใช้ในการผลิตพืช มีการพัฒนาไปเป็นลำดับ การใช้เชื้อไรโซเบียม อะโซโตแบคเตอร์ มัยคอร์ไรซา สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินในแหนแดง เชื้อไตรโคเดอมา หรือที่เรียกรวมกันว่าเป็นปุ๋ยชีวภาพ ก็เป็นองค์ความรู้ที่ร่วมกันพัฒนาก่อนหน้านี้ รูปแบบการผลิตในระบบเกษตรธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์หรือในระบบการผลิตแผนปัจจุบันที่ใช้สารเคมีเป็นหลัก จะพัฒนาต่อไปได้ในสัดส่วนที่แตกต่าง แต่จะมีวิธีที่ช่วยลดต้นทุนของเกษตรกร ลดการสูญเสียเงินตราออกต่างประเทศ ถ้าได้มีการพัฒนาในแนวทางที่ถูกต้อง เหมาะสมกับเทคโนโลยีพื้นบ้าน และช่วยการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
รายละเอียดของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพจะแบ่งตามแต่ละชนิดออกได้ดังนี้
1.) ปุ๋ยอินทรีย์
1.1 ปุ๋ยคอก (Farm Manure)
1.2 ปุ๋ยพืชสด (Green Manure)
1.3 ปุ๋ยหมัก (Compost)
1.3.1 ปุ๋ยหมักแบบกลับกอง
1.3.2 ปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกองระบบกองเติมอากาศ
1.3.3 ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน
1.3.4 ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
2.) ปุ๋ยชีวภาพ
2.1 ไรโซเบียม (Rhizobium)
2.2 อะโซโตแบคเตอร์ (Azotobacter)
2.3 สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue Green algae)
2.4 แหนแดง (Azolla)
2.5 เชื้อราไมคอร์ไรซ่า (Mycorrhiza)
2.6 เชื้อราไตรโคเตอร์มา
ที่มา : แนวคิด หลักการ เทคนิคปฎิบัติในประเทศไทย เกษตรธรรมชาติ ประยุกต์
โดย รศ. ดร.อานัฐ ต้นโช
http://www.maejonaturalfarming.org
|