-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 101 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว







 

ชาวพิจิตร หันปลูกข้าวหอมนิลเมล็ดสีดำ

โพสต์ทูเดย์ - 

   นายสมจิตร ทาแสง อายุ 64 ปี ชาวนาบ้านเพชรพิจิตร หมู่ 8 ต.หนองโสน อ.สามง่าม จ.พิจิตร กล่าวว่า เดิมเคยทำนา 25 ไร่ ปลูกข้าวหอมมะลิแต่เวลาขายกลับได้เป็นราคาข้าวหอมจังหวัด ซึ่งถูกกว่าข้าวหอมมะลิปกติ ซึ่งถือว่าเป็นการเอาเปรียบชาวนา จึงเกิดแนวคิดอยากเปลี่ยนพันธุ์ข้าวและได้รับคำแนะนำจากสถาบันการเงินชุมชน ต.หนองโสน ว่า ต้องการและรับประกันราคา รับ – ซื้อ ข้าวหอมนิลเมล็ดสีดำ โดยรับซื้อตันละ 12,000 บาท ทั้งนี้ ในปี 2552 จึงทดลองปลูกอยู่ 10 ไร่ ได้ผลผลิต 7 ตัน ขายได้เงิน 84,000 บาท ซึ่งได้ดีกว่าการปลูกข้าวหอมมะลิ

   จากนั้นก็ทำเรื่อยมาและปีนี้ก็ได้เพิ่มพื้นที่ปลูกเป็น 25 ไร่ แต่ประสพปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลกัดกินต้นข้าว คาดว่าคงได้ผลผลิตราว 10 ตัน แต่ราคาที่สถาบันการเงินชุมชน ต.หนองโสน ขอรับซื้อตามราคาประกันสูงถึง 14,000 บาท ซึ่งก็คงมีกำไรงบ้าง และต่อไปนี้จะหันมาปลูกรวมทั้งแนะนำเพื่อนบ้านให้หันมาปลูกข้าวหอมนิลเมล็ดสีดำ ซึ่งขณะนี้มีเพื่อนบ้านเกือบร้อยครอบครัว พร้อมทั้งพื้นที่กว่า 2 พันไร่ หันมาปลูกข้าวดังกล่าวแล้ว

   นางสุนันท์  จันทร์ทัด เกษตกรผู้ปลูกข้าว กล่าวว่า ตนเองปลูกข้าวหอมนิลเมล็ดสีดำบนพื้นที่นาทั้งหมด 33 ไร่ เป็นปีที่ 2 แล้ว แต่ปีนี้ประสพปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเช่นเดียวกับชาวนาคนอื่นๆ จึงใช้สารส้มควันไม้ และ พืชสมุนไพร สารชีวภาพ ฉีดพ่นจนสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ถึง 20 ตัน ได้เงินมากถึง 280,000 บาท จึงเชื่อว่าน่าจะดีกว่าการปลูกข้าวหอมมะลิ

   นายสุคล   สุริยวงศ์  ผู้จัดการสถาบันการเงินชุมชน ต.หนองโสน อ.สามง่าม จ.พิจิตร กล่าวว่า ทางสถาบันฯ รับซื้อข้าวเปลือกหอมนิลเมล็ดสีดำจากสมาชิกอย่างไม่มีการกำหนด โดยให้ราคาตันละ 14,000 บาท ในความชื้นเหมารวม จากนั้น ก็นำไปให้โรงสีชุมชนแปรรูปเป็นข้าวสารหอมนิลเมล็ดสีดำ แล้วจะขายได้ในราคา กก.ละ 70 บาท หรือตันละ 7 หมื่นบาท  ซึ่งในขณะนี้ประเทศญี่ปุ่นได้มีคำสั่งซื้อ ให้จัดส่งข้าวสารหอมนิลให้ทุกเดือน เดือนละ 8 ตัน เช่นเดียวกับประเทศใต้
หวันก็ให้ส่งข้าวสารหอมนิลให้เดือนละ 6 ตัน ด้วยเช่นกัน

   นอกจากนี้ก็ยังมีผู้บริโภคภายในประเทศที่เป็นกลุ่มผู้รักสุขภาพที่เป็นลูกค้าประจำสั่งซื้ออีกจำนวนมาก เพราะมีผลการวิจัยทางการแพทย์ว่าการบริโภคข้าวหอมนิลจะมีสารที่ทำให้รักษาโรคเหน็บชาและต้านโรคมะเร็ง จึงทำให้ตลาดสดใส
 


http://www2.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.-%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84/%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B9%8C/%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2/5140/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3-%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B3

www2.posttoday.com/.../


ข้าวเจ้าหอมนิล

ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวที่ได้รับการคัดเลือกและพัฒนาจนได้ข้าวที่มีเมล็ดข้าวกล้องเรียวยาว สีม่วงเข้ม ข้าวกล้องเมื่อหุงสุกจะนุ่ม เหนียว หอม ข้าวสารหุงสุกมีสีม่วงอ่อน นุ่ม และมีกลิ่นหอมเช่นกัน คุณสมบัติที่สำคัญของข้าวเจ้าหอมนิลคือ ข้าวกล้องมีโปรตีนสูงถึง 12.5 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณคาร์โบไฮเดรต 70 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณ amylose 16 เปอร์เซ็นต์ และยังประกอบไปด้วยธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง แคลเซียม และโพแทสเซียม ซึ่งสูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ (ตารางที่ 1) นอกจากนี้ลักษณะดีเด่นของข้าวเจ้าหอมมะลิที่พบนอกจากคุณค่าทางโภชนาการได้แก่ ทรงต้นเตี้ย แตกกอดี เมล็ดมีน้ำหนักดี อายุสั้นเพียง 90 วัน ทำให้สามารถปลูกได้ถึง 3 ครั้งต่อปี ดังนั้นหากได้รับการจัดการที่เหมาะสมในการผลิตต่อปีสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่น ๆ


ตารางที่ 1
คุณค่าทางโภชนาการของข้าวเจ้าหอมนิลเทียบกับข้าวขาวดอกมะลิ 105
คุณค่าทางโภชนาการข้าวเจ้าหอมนิลข้าวขาวดอกมะลิ 105

โปรตีน (เปอร์เซ็นต์)
12.56 6.0
คาร์โบไฮเดรต (เปอร์เซ็นต์) 70.0 80.0
ธาตุเหล็ก (มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) 3.26 -
สังกะสี (มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) 2.9 -
แคลเซียม (มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) 4.2 -
โพแทสเซียม (มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) 339.4 -
ทองแดง (มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) 0.1 -
ตารางที่ 2 ปริมาณวิตามินบางชนิดในข้าวและข้าวสาลี


วิตามินข้าวกล้องข้าวขัดขาวข้าวสาลี
B1 (มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) 0.34 0.07 0.57
B2 (มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) 0.05 0.03 0.12
B3 (มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) 4.7 1.6 7.4
B6 (มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) 0.62 0.04 0.36
Folic acid (ไมโครกรัมต่อ 100 กรัม) 20 16 78


ที่มา : Chrispeels, M.L. and E.S. David, 1994. Plants, Genes and Agriculture. Jones and Bartlett
                 Publishers. London. England. 478 p.


ลักษณะประจำพันธุ์

ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวนาสวน ไม่ไวแสง สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี อายุเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 95 วันหลังหว่าน ลำต้นสูงประมาณ 50 เซนติเมตร การแตกกอดี ใบและลำต้นมีสีเขียวเข้มปนสีม่วง เปลือกหุ้มเมล็ดข้าวมีสีม่วงเข้ม เมล็ดข้าวกล้องยาวประมาณ 6.5 มิลลิเมตร ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และแมลงโดยทั่ว ๆ ไป


การผลิตและการตลาดข้าวเจ้าหอมนิล
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบริษัทเกษตรรุ่งเรืองมาร์เก็ตติ้ง จำกัด ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการผลิตข้าวเจ้าหอมนิลออกสู่ตลาดผู้บริโภค เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2543 ที่ผ่านมา โดยในข้อตกลงดังกล่าวนี้ พันธุ์ข้าวเจ้าหอมนิลยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเป็นเจ้าของสิทธิบัตร หากมีการจดสิทธิบัตรในต่างประเทศทั่วโลก

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้ดำเนินการผลิตข้าวเปลือกที่มีคุณภาพส่งให้กับบริษัทฯ ในราคาประกัน โดยบริษัทคิดราคาให้ในราคาสูงสุดของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ณ โรงสี ตามประกาศของกรมการค้าภายใน ในวันที่ส่งข้าวแต่ละครั้ง แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 7,000 บาทต่อตันข้าวเปลือก ทั้งนี้บริษัทฯ ยังได้สนับสนุนเงินทุนส่วนหนึ่งกลับคืนมาจากมูลค่าของข้าวเปลือกที่ส่งให้กับบริษัทฯ เพื่อเป็นการสนับสนุนและพัฒนางานวิจัของมหาวิทยาลัย และยังจะได้ค่าตอบแทนสิทธิ์ในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าข้าวเปลือกที่ส่งให้กับบริษัทฯ เป็นเวลา 10 ปีด้วย

ส่วนบริษัทเกษตรรุ่งเรืองมาร์เก็ตติ้ง จำกัด เป็นผู้รับซื้อข้าวเปลือกจากมหาวิทยาลัย แปรรูป และจำหน่ายข้าวเจ้าหอมนิลในรูปของผลิตภัณฑ์ ข้าวเจ้าหอมนิล เพื่อนไทย และข้าวหอมไตรรงค์ เพื่อนไทย ขณะนี้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตของโลตัส จัสโก้ และท๊อป เนื่องจากข้าวเจ้าหอมนิลเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในโครงการต่อไป บริษัทเอกชนรายอื่น ๆ ที่มีศักยภาพและความสนใจข้าวเจ้าหอมนิลจะได้นำข้าวไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีก เช่น น้ำนมข้าว breakfast cereal เป็นต้น



http://www.ku.ac.th/e-magazine/april44/agri/rice1.html

www.ku.ac.th/e-magazine/april44/agri/rice1.html -




มารู้จักข้าวหอมนิลกันครับ

ข้าวเจ้าหอมนิล เป็นข้าวเจ้าสีดำ เมล็ดใส ที่ได้จากการคัดพันธ์กลายของข้าวเหนียวดำต้นเตี้ยจากจีน ข้าวเจ้าหอมนิลสูงประมาณ 60-75 เซนติเมตร มีอายุวันเก็บเกี่ยว 95-105 วัน มีการแตกกอดี ใบและลำต้นสีเขียวปนม่วง มีหูใบ โคนต้น ดอก และเมล็ดมีสีม่วงเข้ม ผลผลิตประมาณ 400-700 กิโลกรัม/ไร่ จากการศึกษาเอกลักษณ์พันธุกรรม โดยใช้ microsatellite จำนวน 48 ตำแหน่ง ชี้ให้เห็นว่า ข้าวเจ้าหอมนิลมีความแตกต่างข้าว Hei Bao และ Xua Bue Huq จากจีน ซึ่งมีปริมาณโปรตีนและธาตุเหล็กสูง แสดงให้เห็นว่า ข้าวทั้ง 3 ไม่ได้เป็นข้าวพันธุ์เดียวกัน 
         
 ข้าวเจ้าหอมนิลนับเป็นข้าวที่มีโภชนาการสูง เหนียวนุ่ม เมล็ดยาว และมีกลิ่นหอม ข้าวเจ้าหอมนิลมีโปรตีนอยู่ในช่วงประมาณ 10-12.5 % มีแคลเซียม 4.2 มิลลิกรัม/100 กรัม ธาตุเหล็กแปรปรวนระหว่าง 2.25-3.25 มิลิกรัม/ 100 กรัม และธาตุสังกะสีประมาณ 2.9 มิลลิกรัม 
          
ข้าวเจ้าหอมนิลมีปริมาณแป้ง amylose ประมาณ 12-13 % ข้าวกล้องของข้าวเจ้าหอมนิลหุงสุก นุ่มมีกลิ่นหอมแบบข้าวเหนียวดำและข้าวหอม มีปริมาณสาร 2-acety-1-pyrroline ปานกลาง ร่วมกับสารหอมระเหยจำเพาะ เช่น Cyclohexanone ในปริมาณมาก 
          
ข้าวเจ้าหอมนิลมีปริมาณ antioxidation สูงประมาณ 293 ไมโครโมล/กรัม มีน้ำมันรำข้าว 18 % ซึ่ง 80 % เป็นชนิด C18 : C18:2 และพบว่ามี omega-3 ประมาณ1-2 % รำข้าวเจ้าหอมนิล มีปริมาณ digestible fiber ถึง 10 % จากข้อมูลคุณภาพแป้ง และโภชนาการนับได้ว่าข้าวเจ้าหอมนิล เป็นข้าวที่มีศักยภาพในการแปรรูปทางอุตสาหกรรมอาหารสูง ในการทำ cracker หรือ cooky 
          
นอกจากนี้ ข้าวเจ้าหอมนิลยังมีความสามารถในการต้านทานโรคไหม้ และไหม้คอรวงระดับสูง ทนน้ำท่วมและทนแล้งระดับปานกลาง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าหอมนิลระยะต่อมา ได้เข้าคู่ผสมกับข้าวหอมมะลิ 105 และได้ทำการเพาะเลี้ยงอับเรณู (anther culture) จากรุ่น F3 ควบคู่กับการทำ pedigree จนในที่สุดได้ลูกที่เป็น double haploid ที่มีเมล็ดสีม่วงหนึ่งสายพันธุ์คือ ข้าวเจ้าหอมนิล DH และลูกที่ได้จากากรคัดเลือก pedigree พันธุ์ใหม่คือ ข้าวเจ้าหอมนิล # 1 ซึ่งให้ผลผลิตสูงกว่า เมล็ดเรียวยาว และให้สีเมล็ดเข้มสม่ำเสมอตลอดปี ในคู่ผสมอื่น ๆ ก็ได้เน้นการปรับปรุงต้านทานแมลง เพิ่มผลผลิต และคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีข้าวที่มีโภชนาการเทียบเท่าข้าวเจ้าหอมนิลออกสู่ ผู้บริโภคต่อไป


http://forums.212cafe.com/khothai15/board-3/topic-2.html
forums.212cafe.com/khothai15/board-3/topic-2.html -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (3270 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©