-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 85 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





ทำนาแบบชีวภาพของกลุ่มชาวนาตำบลปากพนังฝั่งตะวันตก
อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช



วัตถุประสงค์โครงการ :
1. เพื่อดำเนินการเรียนรู้และปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำนาแบบชีวภาพในเรื่องต่อไปนี้ 1.1 การตามหาพันธุ์ข้าวพื้นเมืองและการทดลองเพาะพันธุ์ข้าว 1.2 การเรียนรู้และทำน้ำชีวภาพ โดยใช้วัตถุดิบ และวัสดุต่างๆที่หาได้ใน
บทคัดย่อ :
ความเป็นมาของโครงการ
ข้อมูลพื้นฐานของโครงการ มีดังนี้ ตำบลปากพนังฝั่งตะวันตก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปากพนัง ห่างจากที่ว่าการอำเภอปากพนัง ประมาณ 12 กิโลเมตร และห่างจากศาลากลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ประมาณ 34 กิโลเมตร ปัจจุบันมีครัวเรือน 1,771 ครัวเรือน มีประชากรประมาณ 5,698 คน มีเนื้อที่ประมาณ 16.98 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 10,612.50 ไร่ ประกอบด้วย 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บางทวด-บางผึ้ง-แหลมปี้, หมู่ที่ 2 บ้านบนเนิน-บางลึก หมู่ที่ 3 ,บ้านเสม็ดเอน และหมู่ที่ 4 บ้านบนเนิน-ท้องโกงกาง มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่อื่น ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ อ่าวไทย
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลหูล่อง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตเทศบาลปากพนัง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลคลองกระบือ

สภาพภูมิประเทศที่ติดกับอ่าวไทยทำให้ตำบลปากพนังฝั่งตะวันตก ประกอบด้วย พื้นที่ราบทั้งที่ราบลุ่มน้ำจืดและที่ลุ่มชายฝั่งน้ำเค็ม มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 3-8 เมตร ลาดเทจากทางทิศตะวันตกไปทาง ทิศตะวันออกจนจดแม่น้ำปากพนัง มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญไหลผ่าน ได้แก่ 1) แม่น้ำปากพนังไหลผ่านทางตอนเหนือ คลองสุขุมไหลผ่านทางด้านทิศตะวันออกและทางทิศใต้ 2) คลองบางสระไหลผ่านทางด้านทิศตะวันตกของตำบล 3) คลองบางทวดไหลผ่านทางตอนกลางของตำบล ด้วยเหตุนี้ชาวปากพนังฝั่งตะวันตกจึงประกอบอาชีพอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะการทำนา ทำไร่นาสวนผสม เลี้ยงสัตว์น้ำ และการประมง

แต่เดิมอาชีพหลักของคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ตำบลปากพนังฝั่งตะวันตกคือการทำนา และทำอาชีพอย่างอื่นประกอบบ้าง เช่น การทำประมง การทำน้ำตาลจาก การเผาถ่านไม้โกงกาง ชาวบ้านจะทำนาบนที่ดินที่ตนเองบุกเบิกมาจากที่ดินซึ่งเดิมเคยเป็นป่า ส่วนครัวเรือนที่อพยพมาภายหลังที่ไม่มีที่ดินให้บุกเบิกอีกแล้วก็จะทำนาบนที่ดินเช่า ระบบการทำนาในอดีตเป็นการทำนาปีที่เรียกว่า “นาหยาม” โดยชาวนาจะปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองหลายชนิด เช่น ข้าวสีรัก ข้าวทองเนี่ยว ข้าวขม ข้าวยาโค ข้าวนางแน็บ ข้าวช่อจำปา ข้าวขาว ข้าวลูกลาย ข้าวนางพญา ข้าวรากแห้ง ข้าวช่อจังหวัด ข้าวลูกราย ข้าวอ้ายเหลือง ข้าวอ้ายเขียว ข้าวช่อรางสาด ข้าวนางขาวช่อ การปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง ข้าวพันธุ์พื้นเมืองเหล่านี้สามารถต้านทานโรคระบาดและแมลงได้ดี ชาวบ้านจึงไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง นอกจากนี้ชาวบ้านยังสามารถเก็บพันธุ์ข้าวเอาไว้ปลูกในปีต่อไปได้ ต้นทุนการทำนาในอดีตจึงต่ำ อีกทั้งยังสามารถนำข้าวพันธุ์พื้นเมืองไปป่นทำแป้งเพื่อปรุงเป็นขนมนานาชนิด อาทิ ขนมจีน ขนมกวน ขนมลา ลอดช่อง ซึ่งสร้างรายได้เสริมให้แก่ชาวบ้านอีกทางหนึ่ง

ประมาณกลางทศวรรษ 2520 กรมส่งเสริมการเกษตรเข้ามาส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกข้าวพันธุ์ดี ซึ่งให้ผลผลิตสูง เช่น ข้าว กข. 7 ข้าวแก่นจันทร์ ข้าวเชี่ยง ข้าวเข็มทอง ข้าวช่อหลุมพี ข้าวเล็บนก แทนการปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง ช่วงนี้เป็นช่วงที่ชาวบ้านเน้นปลูกข้าวเพื่อขาย ในเงื่อนไขที่ชาวบ้านเริ่มหันมาปลูกข้าวขายกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันนี้เอง ที่ระบบการผลิตได้เปลี่ยนมาเป็นการทำนาปรัง หรือทำนาปีละ 2 ครั้ง และมีทั้งระบบการทำนาหว่านและนาดำ ตลอดจน การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น รถไถเดินตาม แทนการใช้ควายไถนาอย่างกว้างขวาง การปลูกข้าวเพื่อขายดังกล่าวชาวนาไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นมาก ในขณะที่ราคาขายข้าวต่ำ อีกทั้งต้องประสบปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืช ระบาดอยู่เนืองๆ บางปีต้องประสบปัญหาข้าวเสียจากฝนแล้งหรือฝนตกมากเกินไป ชาวนาจึงเริ่มเลิกทำนา ประจวบกับเกิดการขยายตัวของนากุ้งเข้ามาในพื้นที่ ชาวนาส่วนหนึ่งที่พอมีที่ดินอยู่ในเขตน้ำเค็มจึงเลิกทำนาและหันไปเลี้ยงกุ้ง แม้การทำนามีแนวโน้มสร้างความยั่งยืนในการดำรงชีพให้แก่ชาวบ้านตำบลปากพนังฝั่งตะวันตก แต่ยังคงมีอุปสรรคบางประการซึ่งทำให้การทำนาไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างชาวนาจากหลายหมู่บ้าน ชาวนาระบุปัญหาของการทำนาหลายประการ ได้แก่ ราคาผลผลิตตกต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตน้อย พันธุ์ข้าวไม่ดี ศัตรูพืชมาก แหล่งน้ำไม่เพียงพอ ขาดเครื่องมือในการทำนาที่เหมาะสม ขาดองค์ความรู้ในการจัดการไร่นาอย่างยั่งยืน อาหารตามธรรมชาติลดลง วัฒนธรรมเกี่ยวกับการทำนาที่มีอยู่เดิมสูญหาย ชาวนาขาดความภูมิใจในอาชีพของตนเอง

จากสภาพปัญหาดังกล่าวทำให้มีชาวนาประมาณ 40 คน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และต้องการการแก้ไขปัญหาอย่างมีส่วนร่วม โดยใช้การทำวิจัยแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาโดยการเรียนรู้ ทดลองปฏิบัติการการทำนาแบบชีวภาพให้บังเกิดผลและ เป็นทางออกของชาวนาได้ ทั้งนี้ จะศึกษาและ ทดลองทั้งด้านการควบคุมโรคแมลงในนาข้าวโดยชีววิธี การปรับปรุงบำรุงดินโดยชีววิธี การปรับปรุงพันธุ์ข้าวสำหรับนาอินทรีย์


คำถามการวิจัย
1. จะเรียนรู้และสร้างกระบวนการทำนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการควบคุมโรคแมลงในนาข้าวโดยชีววิธี การปรับปรุงบำรุงดินโดยชีววิธี การปรับปรุงพันธุ์ข้าวสำหรับนาอินทรีย์ ได้อย่างไร
2. จะสร้างกลุ่มชาวนาให้เข้มแข็งได้อย่างไร จนสามารถเป็นพลังในการเรียนรู้ การดำเนินการการผลิต และการดำเนินการด้านการตลาด
3. จะทำให้การทำนาของชาวบ้านกลายเป็นวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมได้อย่างไร


วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อดำเนินการเรียนรู้และปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำนาแบบชีวภาพในเรื่องต่อไปนี้
1.1 การตามหาพันธุ์ข้าวพื้นเมืองและการทดลองเพาะพันธุ์ข้าว
1.2 การเรียนรู้และทำน้ำชีวภาพ โดยใช้วัตถุดิบ และวัสดุต่างๆที่หาได้ในท้องถิ่น
1.3 การเรียนรู้และดำเนินการกำจัดแมลงในผืนตาตามหลักการชีววิธี
1.4 การทำนาแบบชีวภาพแบบครบขั้นตอน

2. เพื่อสร้างกลุ่มของชาวนาให้เข้มแข็งทั้งโดยใช้กระบวนการเรียนรู้และกระบวนการปฏิบัติงานจริง

3. เพื่อแสวงหารูปแบบการดำเนินการและการดำเนินการจริงเกี่ยวกับการสีข้าวกล้อง การผสมผสานข้าวพันธ์ต่างๆ ที่สีแล้วให้เข้ากันอย่างพอดี และการบรรจุถุงข้าวเพื่อนำออกจำหน่าย

4. เพื่อศึกษาฟื้นฟูวัฒนธรรมเกี่ยวกับการทำนาในเรื่องต่อไปนี้
4.1 ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำนาที่เหมาะสมกับยุคสมัยปัจจุบัน
4.2 กิจกรรมทางประเพณีที่กระทำในช่วงต่างๆของการทำนา เช่น พิธีเเรกนาขวัญ พิธีเก็บข้าวขวัญ พิธี
เชิญเเม่โพสพขึ้นยุ้งฉาง


พื้นที่ดำเนินการ
ตำบลปากพนังฝั่งตะวันตก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช


วิธีการดำเนินโครงการ
1.กิจกรรมการเตรียมความพร้อมทีมวิจัย
2.กิจกรรมบอกเล่าเก้าสิบ
3.การศึกษาดูงาน
4.กิจกรรมตามหาพันธุ์ข้าว
5.กิจกรรมการเพาะพันธุ์ข้าว
6.การพัฒนาน้ำหมักชีวภาพ
7.การทำนาจริง
8.การกำจัดศัตรูพืช
9.การฟื้นความเชื่อ พิธีกรรมและประเพณีเกี่ยวกับการทำนา
10.การสีข้าวและการจำหน่ายผลผลิต
11.การพัฒนากลุ่ม
12.การวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงาน


ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำนาชีวภาพครบถ้วน ทั้งความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ข้าว การทำน้ำชีวภาพ โดยใช้วัตถุดิบและวัสดุต่างๆ ในท้องถิ่น การกำจัดแมลงในผืนนาตามหลักการชีววิธี และเกิดการเคลื่อนไหวของ ชาวนาที่จะดำเนินการทำนาแบบชีวภาพอย่างจริงจัง

2. สามารถสร้างกลุ่มของชาวนาให้เข้มแข็ง จนมีความพร้อมในการบริหารจัดการเรื่องการทำนาแบบชีวภาพการจัดการด้านผลผลิต และอื่นๆได้อย่างเหมาะสม

3. ได้รูปแบบการดำเนินการและการดำเนินการจริงเกี่ยวกับการสีข้าวกล้อง การผสมผสานข้าวพันธ์ต่างๆ ที่สีแล้วให้เข้ากันอย่างพอดี และการบรรจุถุงข้าวเพื่อนำออกจำหน่าย

4. ได้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมการทำนา เช่น ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำนาที่เหมาะสมกับยุคสมัยปัจจุบัน กิจกรรมทางประเพณีที่กระทำในช่วงต่างๆของการทำนา เช่น พิธีเเรกนาขวัญ พิธีเก็บข้าวขวัญ พิธีเชิญเเม่โพสพขึ้นยุ้งฉาง เป็นต้น และเกิดการฟื้นฟูความเชื่อ พิธีกรรม และงานประเพณีบางอย่างขึ้นมาอย่างเหมาะสมกับยุคปัจจุบัน
 

ที่มา  :  สกว.









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (2784 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©