-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 100 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





ลดปัญหาเพลี้ยกระโดดชาวนาใช้วิธีไถกลบตอซัง


เพื่อตัดวงจรอาหารของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ที่เป็นพาหะของโรค และเว้นระยะการทำนา 2 เดือน และควรเปลี่ยนพันธุ์ข้าว อาทิ พันธุ์ กข 29 กข 31 กข 41 พิษณุโลก 2 สุพรรณบุรี 2...

นายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยถึงรายงานที่ได้รับจากศูนย์อำนวยการควบคุมกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (War room) ที่สำรวจพบพื้นที่การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งผลจากการประเมินสถานการณ์พบว่า

พื้นที่การระบาดใน 8 จังหวัด คือ พิษณุโลก อุทัยธานี กำแพงเพชร พิจิตร อ่างทอง ปทุมธานี ชัยนาท และลพบุรี มีปริมาณลดลงเหลือ 3.98 แสนไร่

แต่ยังคงพบการระบาดของโรคใบหงิก โรคเขียวเตี้ย ซึ่งมีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นพาหะใน 11 จังหวัด คือ จังหวัดพิษณุโลก อุทัยธานี กำแพงเพชร พิจิตร อ่างทอง ปทุมธานี ชัยนาท นครสวรรค์ สุพรรณบุรี นครนายก และนนทบุรี ซึ่งมีแนวโน้มการระบาดเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างยั่งยืน อีกทั้งเป็นการตัดวงจรอาหารของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่เป็นพาหะของโรค เกษตรกรต้องทำการไถกลบต้นข้าวในพื้นที่ระบาดและเว้นระยะการทำนา 2 เดือน สำหรับการป้องกันกำจัดโรคเขียวเตี้ยและโรคใบหงิก

นอกจากวิธีดังกล่าวแล้วหากพบต้นที่เป็นโรคน้อยกว่าร้อยละ 10 ให้ถอนฝังดินหรือเผา ส่วนแปลงที่พบโรคในระยะรวงหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ให้ดำเนินการไถกลบตอซัง เพื่อเป็นการทำลายแหล่งสะสมของโรค ที่ก่อให้เกิดการระบาดในรอบการปลูกครั้งต่อไป และควรเปลี่ยนพันธุ์ข้าว อาทิ พันธุ์ กข 29 กข 31 กข 41 พิษณุโลก 2 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 3 และสุพรรณบุรี 90 ในฤดูการเพาะปลูก.


ที่มา  :  ไทยรัฐ










สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (2413 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©